กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

รวมพลอาสาสมัครกรีนพีซ ขี่จักรยานทางไกล ลดโลกร้อน



อาสาสมัครกรีนพีซรวมตัว ขี่จักรยานรณรงค์ลดการใช้พลังงานเพื่อหยุดโลกร้อน สร้างจิตสำนึกประหยัดพลังงาน ยืนยันหยุดโลกร้อนยังไม่สาย พลังมวลชนต้องร่วมกันแก้ไข

รองศาสตราจารย์ดร. บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเป็นประธานปล่อยขบวนจักรยานทางไกล ลดโลกร้อน ของอาสาสมัครกรีนพีซ ประมาณ 20 คน จากหลากหลายสาขาอาชีพ อันเป็นส่วนหนึ่งในงานรณรงค์ลดโลกร้อนอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมหลากหลาย รูปแบบของกรีนพีซ





นายสมบัติ กัณหา หนึ่งในอาสาสมัครกรีนพีซ กล่าวถึงการขี่จักรยานรณรงค์ลดโลกร้อนครั้งนี้ในฐานะเป็นผู้หนึ่งที่ใช้จักรยาน ในชีวิตประจำวันว่า อาสาสมัครกรีนพีซเป็นตัวอย่างของพลังมวลชนซึ่งเป็น สิ่งสำคัญมากในการแก้วิกฤตโลกร้อนขณะนี้ ซึ่งทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข อย่างจริงจัง การขี่จักรยานเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการปลูกป่ายังเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้โลก

เส้นทางขี่จักรยานทางไกล ลดโลกร้อน เริ่มจากลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เข้าอำเภอนางรอง และสิ้นสุดด้วยการนำเมล็ดพันธุ์ ที่อาสาสมัครเก็บ และรับบริจาคระหว่างทางไปปลูกป่าบริเวณภูอังคาร ในพื้นที่ป่า 27,681 ไร่ ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ อันเป็นป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ เป็นบ้านของนกเงือก และเป็นป่าต้นน้ำแม่มูล

กิจกรรมครั้งนี้เป็นการรณรงค์ให้ใช้จักรยานเป็นพาหนะ ลดการใช้พลังงาน และลดโลกร้อน โดยมีกำหนดเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา และบุรีรัมย์ เพื่อมอบธง “เราจะประหยัดพลังงาน หยุดโลกร้อน” เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการให้คำมั่นร่วมกันตระหนักถึงการประหยัดพลังงาน เพื่อหยุดโลกร้อนของจังหวัดนั้นๆ พร้อมกับมีการแจกจ่ายคู่มือ กู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ โดยประชาชนยังสามารถเข้าร่วมขบวนรณรงค์ครั้งนี้ ได้ตลอดเส้นทาง ระหว่างกรุงเทพฯ – บุรีรัมย์ รวม 5 วัน ระยะทาง 450 กิโลเมตร ระหว่างวันที่ 15 – 19 ตุลาคม 2550

เอื้อพันธ์ ชำนาญเอื้อ ผู้ประสานงานกิจกรรม กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า กรีนพีซสนับสนุนงานอาสาสมัคร เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนที่มีความสำคัญยิ่งต่องานรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะวิกฤตโลกร้อนซึ่งเกิดจากน้ำมือมนุษย์ ดังนั้นพลังมวลชนจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการแก้ปัญหาโลกร้อน

................

วิธีง่ายๆ ร่วมหยุดโลกร้อน



คลินิกโลกร้อนกรีนพีซ



................

1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้






 

Create Date : 16 ตุลาคม 2550   
Last Update : 17 ตุลาคม 2550 14:51:33 น.   
Counter : 3206 Pageviews.  


กรีนพีซเตือนสถานการณ์วิกฤตน้ำในไทย



กรีนพีซเตือนสถานการณ์วิกฤตน้ำในไทย: ปัญหามลพิษทางน้ำและการขาดแคลนน้ำสะอาด

กรีนพีซเตือนประเทศไทยกำลังก้าวสู่สถานการณ์วิกฤตน้ำหากขาดการนำมาตรการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำที่มีประสิทธิภาพมาใช้ ด้วยเหตุที่มลพิษทางน้ำเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นตัวการในการทำให้สถานการณ์
ขาดแคลนแหล่งน้ำสะอาดในประเทศรุนแรงขึ้น
“การที่แหล่งน้ำจืดและน้ำใต้ดินเกิดการปนเปื้อนจากสารมลพิษจะทำให้ปริมาณของแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นลดลง ถึงแม้ว่าภาครัฐได้มีมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันมลพิษทางน้ำ แต่แนวโน้มของสถานการณ์น้ำในประเทศกลับแย่ลง” พลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

เพื่อเป็นการป้องกันการลดลงของแหล่งน้ำสะอาดในประเทศจากการปนเปื้อนสารมลพิษในน้ำ กรีนพีซได้เปิดตัวโครงการน้ำสะอาด โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระตุ้นให้มีการรักษาแหล่งน้ำในประเทศ พร้อมกับเปิดเผยรายงาน “สถานการณ์น้ำในประเทศไทย” ซึ่งสรุปผลสำรวจการปนเปื้อนของสารมลพิษในแหล่งน้ำบริเวณพื้นที่อุตสาหกรรมบางแห่งของประเทศในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

รายงานฉบับนี้กล่าวถึงผลสำรวจล่าสุดที่พบว่าน้ำเสียที่ปล่อยจากนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยองและนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานีมีการปนเปื้อนของโลหะหนักในปริมาณสูง เช่น นิกเกิลและสังกะสี และสารประกอบประเภทคลอรีน เช่น ไดคลอโรมีเทน คลอโรฟอร์ม และไตรคลอโรอีเทน และสารเคมีที่มีผลกระทบต่อต่อมไร้ท่อประเภทอื่นๆที่ใช้ในกระบวนการผลิต

ในจังหวัดลำพูนมีการตรวจสอบพบว่าแหล่งน้ำผิวดินซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงงานบำบัดน้ำเสียนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีการปนเปื้อนของ
สารประกอบอินทรีย์หลายชนิดรวมถึงอาคริเลสที่เป็นอันตรายต่อผิวหนังและระบบการย่อยอาหาร และที่สำคัญ พบการปนเปื้อนของทองแดง แคดเมียมและสังกะสีค่อนข้างสูงในตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินที่ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคในชุมชนบริเวณดังกล่าว ปริมาณของสารเคมีทั้ง 3 ชนิดนี้สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานโดยทั่วไปและมากกว่าความเข้มข้นสูงสุดที่กำหนดไว้ของคุณภาพน้ำดื่มไทย

“ในขณะที่การศึกษาของเรายังไม่สามารถที่จะสรุปได้อย่างชัดเจนว่าสารมลพิษที่มีต้นกำเนิดจากแหล่งอุตสาหกรรมนั้นมีโอกาสปนเปื้อนไปในแหล่งน้ำ
อุปโภคบริโภคในทุกพื้นที่ แต่ก็สามารถชี้ให้เห็นถึงการคุกคามของมลพิษอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นอยู่ การที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้นั้น ควรที่จะมีมาตรการที่นอกเหนือจากมาตรฐานควบคุมปริมาณสารพิษในน้ำทิ้ง เช่น ยกเลิกการใช้สารพิษอันตรายและส่งเสริมการผลิตที่สะอาด” พลาย ภิรมย์
กล่าวเพิ่มเติม

ธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เคยทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งหลายครั้งในประเทศว่าการที่จะป้องกันไม่ให้วิกฤตน้ำต้องรุนแรงไป
มากกว่านี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจัดการกับปัญหาการปนเปื้อนของแหล่งน้ำจากมลพิษภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

กรีนพีซได้เสนอให้รัฐบาลบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวมและเน้นให้ความสำคัญเร่งด่วนในเรื่องการผลิตที่สะอาด รวมทั้งผลักดันให้มีมาตรการป้องกันแหล่งน้ำใต้ดินของประเทศให้ปราศจากการปนเปื้อนของสารมลพิษเพื่อเป็นการปกป้องความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำในประเทศ


นอกจากนี้กรีนพีซยังร่วมกับสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จัดการประกวดภาพถ่ายภายใต้หัวข้อ “วิกฤตน้ำ วิกฤตชีวิต” ซึ่งเป็นกิจกรรมรณรงค์แรกของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหามลพิษทางน้ำที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการ
ถ่ายทอดปัญหามลพิษทางน้ำและผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ผ่านทางภาพถ่าย

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เชิญผู้สนใจร่วมประกวด "ภาพถ่ายปัญหาสิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 1 ชิงเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร หัวข้อ "วิกฤตน้ำ วิกฤตชีวิต"

................

1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้






 

Create Date : 16 ตุลาคม 2550   
Last Update : 16 ตุลาคม 2550 10:55:45 น.   
Counter : 1233 Pageviews.  


ร่วมลงชื่อ คนไทยไม่เอาจีเอ็มโอ



กรุงเทพฯ, 9 ตุลาึคม 2550 - วันนี้กรีนพีซออกล่ารายชื่อ ?คนไทยไม่เอาจีเอ็มโอ? ทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องให้พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรีพิจารณาไม่ยอมรับ การล้มมติ ครม. พืชจีเอ็มโอของกระทรวงเกษตรฯ พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาล สนับสนุนการเกษตรยั่งยืนและเกษตรธรรมชาติ

กรีนพีซรวบรวมรายชื่อจากสาธารณชนเพื่อร่วมแสดงความเชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรีให้รักษา ความเป็นผู้นำด้านการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย และย้ำเตือนถึงผลเสีย ที่จะตามมาหากมีการเริ่มทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิดว่าจะทำให้เกิดการแพร่กระจาย และปนเปื้อนไปสู่พืชผลและสิ่งแวดล้อมของไทยอย่างไม่อาจเรียกกลับคืนมาได้ ซึ่งส่งผลให้ การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรไปให้แก่ตลาดโลก เช่น สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นต้องหยุดชะงัก เนื่องจากประเทศเหล่านี้ปฏิเสธพืชจีเอ็มโอ อย่างชัดเจน นอกจากนี้กรีนพีซยังเน้นย้ำถึงการยกเลิกมติ ครม.ว่าจะส่งผลกระทบอย่าง ใหญ่หลวงต่อ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน เพราะยังไม่มีการพิสูจน์ใดๆ ว่าพืชจีเอ็มโอนั้นปลอดภัย ในระยะยาว

โปรดร่วมลงชื่อในจดหมายถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเลิกล้มความพยายามในการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในไร่นาเปิดอันจะนำหายนะมาสู่สิ่งแวดล้อมและเกษตรกรรมไทย

..................................

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด
ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2550   
Last Update : 11 ตุลาคม 2550 12:38:21 น.   
Counter : 952 Pageviews.  


กรีนพีซเชิญร่วมประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ“วิกฤตน้ำ วิกฤตชีวิต” (UPDATED VERSION)



English version is below.

กรีนพีซ องค์กรรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมรณรงค์แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยส่งภาพถ่ายเข้าประกวดภายใต้หัวข้อ "วิกฤตน้ำ วิกฤตชีวิต"



วัตถุประสงค์



1. ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหามลพิษทางน้ำที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

2. สนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดปัญหามลพิษทางน้ำและผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์

3. กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกและรับผิดชอบต่อการก่อปัญหามลพิษทางน้ำ

4. เพื่อนำผลงานต่างๆที่ได้รับคัดเลือกไปจัดแสดง รวมถึงกิจกรรมรณรงค์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง



การประกวดภาพถ่าย



ในหัวข้อ “วิกฤตน้ำ วิกฤตชีวิต” ลักษณะของภาพถ่ายจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตปัญหาของแหล่งน้ำกินน้ำใช้หรือแหล่งน้ำธรรมชาติที่ถูกกระทำย่ำยีโดยกิจกรรมมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆที่ขาดความรับผิดชอบ จนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นภาพถ่ายที่นำเสนอยังสามารถขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ถ่ายที่ต้องการถ่ายทอดเรื่องราวในลักษณะอื่นๆ หรือนำเสนอเป็นเชิงสัญลักษณ์ที่สามารถสื่อถึงหัวข้อประกวดได้ โดยทุกเหตุการณ์ที่บันทึกภาพจะต้องเกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น



กลุ่มเป้าหมาย



1. กลุ่มช่างถ่ายภาพ

2. กลุ่มเยาวชนไทย

3. ประชาชนทั่วไป



หน่วยงานที่รับผิดชอบ



1. มูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว (กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

2. สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ภ.ท.)



ประเภทของภาพถ่าย



ภาพถ่ายฟิล์มสี-ฟิล์มขาวดำ, Digital



ผู้มีสิทธิ์ส่งภาพเข้าประกวด

ประชาชนคนไทยทั่วไปและชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทย



เงื่อนไขข้อกำหนดในการส่งภาพภาพถ่ายเข้าประกวด



1. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดสามารถถ่ายภาพโดยใช้ได้ทั้งกล้องบรรจุฟิล์มและกล้องดิจิตอล

2. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดเป็นภาพสี-ขาวดำ ขนาดของภาพ 10x12 นิ้ว บวก-ลบได้ไม่เกิน 2 นิ้ว (ภาพที่เกินกว่าขนาดที่กำหนดจะไม่ได้รับการพิจารณาตัดสิน) พร้อมทั้งส่งฟิล์มหรือ Digital File Jpeg Large ที่มีคุณสมบัติ High Resolution ไม่ต่ำกว่า dpi โดยบันทึกลงแผ่นซีดี มาพร้อมภาพถ่ายผลงานที่เข้าร่วมประกวด และฟิล์มหรือแผ่นซีดีจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรีนพีซ 300

3. ต้องเป็นภาพที่ถ่ายระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 - 30 พฤศจิกายน 2550

4. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ห้ามตกแต่งภาพจนเกินจากความเป็นจริง

5. ส่งผลงานภาพถ่ายเข้าประกวดได้ท่านละไม่เกิน 10 ภาพ (ไม่ต้องติดการ์ดและกรอบใดๆทั้งสิ้น)

6. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ผู้ส่งจะต้องเขียนชื่อภาพ ชื่อสถานที่ในภาพ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ของผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดอย่างชัดเจนในใบสมัครที่กำหนด และผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดจะต้องเป็นผู้ถ่ายภาพที่ส่งเข้าประกวดด้วยตนเอง

7. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด กรีนพีซมีสิทธิ์คัดเลือกนำไปจัดแสดงในที่ต่างๆ และมีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานในสูจิบัตร เอกสารสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสารสนเทศทุกประเภทและกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ



หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกและตัดสินภาพถ่าย



คณะกรรมการตัดสินภาพจะพิจารณาจากคุณค่าของผลงานเป็นหลัก คณะกรรมการมีสิทธิ์กำหนดวิธีการตัดสิน การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินจะพิจารณาคัดเลือกเฉพาะผลงานที่มีคุณภาพเหมาะสมเข้าร่วมแสดง



คณะกรรมการตัดสิน



1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์

2. อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง

3. ดาว วาสิกศิริ

4. Von Hernandez (Campaign Director, Greenpeace SEA)

5. John Novis (Photo Editor, Greenpeace International)



รางวัล



รางวัลชนะเลิศ

จำนวน 1 รางวัล

เงินรางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร



รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1

จำนวน 1 รางวัล

เงินรางวัล รางวัลละ 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร



รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

จำนวน 1 รางวัล

เงินรางวัล รางวัลละ10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร



รางวัลชมเชย

จำนวน 10 รางวัล

เงินรางวัล รางวัลละ 4,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร



กำหนดการส่งผลงานภาพถ่าย



ทางไปรษณีย์หรือด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 21 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2550 (ตัดสินภาพวันที่ 7 ธันวาคม 2550)

ส่งถึง ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ

มูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว (กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

138/1 ชั้น 2 อาคารทอง ถนนสุทธิสาร

สามเสนใน พญาไท กทม. 10400

โทร. 02-357-1921 โทรสาร 02-357-1929



หมายเหตุ: วันจัดแสดงภาพและสถานที่จะแจ้งให้ทราบหลังประกาศผลตัดสิน


คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดใบสมัคร


------------

Photo Contest: “Endangered Water, Endangered Lives”



Greenpeace Southeast Asia, in collaboration with the Royal Photographic Society of Thailand under the Royal Patronage of H.M. the King, hosts a photo contest to bring people together to celebrate and protect our important freshwater sources. The theme of the photo contest is: “Endangered Water, Endangered Lives” Submission of entries: September 21 to November 31, 2007


The Photo Contest



Under the Title “Endangered Water, Endangered Lives”, the photographs must feature freshwater and freshwater sources in Thailand, taken from January 1, 2007 to November 31, 2007. Examples are lakes, rivers, streams, springs, tap water, etc. Photos should convey how freshwater is important to people / the environment (‘celebrating water’), or how clean water is being threatened by sources of pollution (‘water at threat’). Marine water (seas, oceans) are not considered.

Target Groups


1. Photographers
2. Thai Youths
3. General Public

Responsible Organizations



1. Greenpeace Southeast Asia
2. The Royal Photographic Society of Thailand Under the Royal Patronage of H.M. The King (RPST)

Photo Contest Guidelines



1. Who may join: The competition is open to all photographers, photojournalists, and photo enthusiasts who are residents of Thailand except for staff of Greenpeace Southeast Asia and relatives of up to the 1st degree of consanguinity.
1.1 Entrants under 18 years of age will be required to submit a waiver signed by the entrant’s legal guardian.
2. Theme:
- Celebrating Thailand fresh waters (rivers, lakes, aquifers, springs, and groundwater sources, etc) and looking at the threats
3. All entries should have been taken within Thailand from January 1, 2007 to November 31, 2007.
4. Entries should be taken with any camera using at least 35 mm film or a digital camera.
4.1 For digital photos, entries should be taken with at least a 3 Mega Pixel digital camera at the highest setting. Submitted entries should be in JPEG format (jpg or jpeg), 1200 pixels on the longest side, with at least 300 dpi resolution.

Entrants will be asked to submit the original file for the exhibit after the judges have made their decisions.

Emailed entries should be submitted to greenpeaceth.photocontest@gmail.com

4.1.1 The file name of the entry should follow the following format: Initials of the entrant (first name, middle name, last name) [dash] entry number depending on how many entries are being submitted [dash] date in (ddmmyy format) photo was submitted to contest [dot] jpg

For Example, photos submitted by Ply H. Pirom on September 5, 2007 should have the file names:
Php-1-050907.jpg
Php-2-050907.jpg

4.2 Print entries should be 8R in size and mailed and addressed to:

Greenpeace Project Water Photo Contest
Greenpeace Southeast Asia
138/1 2nd Floor, Thong Building, Suthisarn Road,
Samsennai, Payathai, Bangkok 10400

Not later than the date specified in item 5.

Greenpeace will not be responsible for prints damaged during postage/delivery.

4.3 There should be no markings (names, logo, or any writing) on photo entries.

5. Deadline for submission of all entries is November 31, 2007. All email entries received after midnight of September 28 and all print entries received by the Greenpeace office after 5:00pm of November 31, 2007, will not be accepted.
Greenpeace is not responsible for any postal or technical delay.

6. Only complete entries will be considered.
6.1 A complete entry for a digital photo submitted via email is as follows:
- entry form
- photo entry in the required parameters (see item 3.1)
- waiver for minors, if applicable

6.2 A complete print entry is as follows:
- entry form
- 8R print
- waiver for minors, if applicable

7. Images must not have been altered / enhanced in any way other than simple cropping. Any alteration or enhancement made (aside from cropping) would mean disqualification of the entry.

8. Photographs that include sculptures, statues, paintings, and other works of art will be accepted as long as they do not constitute copyright infringement or fraud; provided that entrants provide a release form as described below in “Releases.” When photographing the work of others, it must be as an object in its environment and not a full-frame close up of another person’s art.

9. Photographs that include other persons will be accepted, provided that entrants submit a release form as described below in “Releases.”

10. Each entrant can send as many as five (10) entries but can only win once.

11. Entries must be exclusive to this contest, unpublished, and must not have been submitted as an entry in previous contests. By entering the contest, entrant represents, acknowledges and warrants that the submitted photograph is an original work created solely by the entrant and that no other party has any right, title, claim or interest in the photograph.

12. The Board of judges will be composed of respected photo journalists, as well as Greenpeace Southeast Asia’s Campaigns Director, and Greenpeace International’s Photo Chief.

13. Criteria for judging is as follows:
Relevance to the theme- 50%
Technical Excellence-25%
Visual Impact and Creativity-25%

14. Prizes are as follows:
First prize: THB 30,000.00 with a certificate
Second prize: THB 20,000.00 with a certificate
Third prize: THB 10,000.00 with a certificate
Consolation Prizes: 10 prizes; THB 4,000 each with a certificate

14.1 Winners will be announced and prizes awarded on December 7, 2007.

14.2 Prizes not claimed within 30 days after the awarding ceremonies shall be forfeited.

15. By participating, the entrant shall grant to Greenpeace SEA Environmental Trust Inc. (Greenpeace)
- right to use the photo in all Greenpeace campaign and organizational materials (captioned (c)photographer).
- right to distribute the photo as part of Greenpeace's media releases (captioned (c)photographer/Greenpeace handout)
- both above rights for the period of three or for the duration of our water project

Entrant further grants Greenpeace the rights to use the photo beyond the period specified above in campaign and organizational materials (but not for distribution) so long as the use of the photo pertains to the water project and the caption shall additionally read "this photo was [an entry/winner] in the Greenpeace water project photo contest held in December 2007.

The rights granted to Greenpeace SEA Environmental Trust, Inc. shall also be granted to its global licensing intermediary Greenpeace International BV.

16. By joining this contest, entrants agree
(a) to be bound by these official rules
(b) that the decisions of the judges are final on all matters relating to the contest. All national and local taxes, fees and surcharges on prizes are the sole responsibility of the prize winners. In the event that the selected winner(s) of any prize are/is ineligible or refuses the prize, the prize will be forfeited and Greenpeace, in its sole discretion, may choose whether to award the prize to another winner.

17. Greenpeace reserves the right to disqualify entries, or to forfeit the prize for a winning entry, that
-have been altered/enhanced in any way other than simple cropping
-are obscene or contain objectionable content as determined by Greenpeace
-are not original
-are illegible, incomplete, damaged, irregular, altered, and/ or counterfeit
-have been produced through fraud
-have been obtained through theft
or entries whose details have been misrepresented in the entry form.

Board of Judges


1. Assistant Professor Thaworn Koudomwit
2. Dow Wasiksiri
3. Anuchai Srijaroonputhong
4. Von Hernandez (Campaign Director, Greenpeace SEA)
5. John Novis (Photo Editor, Greenpeace International)

You can download the registration form here

.




 

Create Date : 05 ตุลาคม 2550   
Last Update : 5 ตุลาคม 2550 11:35:08 น.   
Counter : 1215 Pageviews.  


กรีนพีซโต้กรมวิชาการเกษตรเซ็นเอ็มโอยูกับคอร์แนล ไทยเสียประโยชน์

กรีนพีซโต้กรมวิชาการเกษตรเซ็นเอ็มโอยูกับคอร์แนล ไทยเสียประโยชน์

กรุงเทพฯ – กรีนพีซประณามกรมวิชาการเกษตร กรณียื่นร่างเอ็มโอยู ที่ตกลงเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ในมะละกอจีเอ็มโอร่วมกับมหาวิทยาลัยคอร์แนล พร้อมย้ำว่าภาคเกษตรกรรมไทยจะเสียผลประโยชน์หากมีการเปิดรับพืชจีเอ็มโอ
กรีนพีซเรียกร้องให้กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยรายละเอียดของบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ระหว่างกรมวิชาการเกษตร และมหาวิทยาลัยคอร์แนลให้สาธารณชนรับทราบโดยเร็วเนื่องจากประเด็นดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อทั้งภาคเกษตรกรรมและมูลค่าของสินค้าเกษตรไทย และก่อนที่กระทรวงเกษตรจะวิ่งโร่ไปหาคอร์แนล คนไทยควรได้รับทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับอนาคตของพวกเขา

กรีนพีซได้เรียกร้องกรมวิชาการเกษตรให้เปิดเผยร่างบันทึกข้อตกลงมาหลายครั้งแล้ว แต่ได้รับคำปฏิเสธทุกครั้ง

“ดูเหมือนกรมวิชาการเกษตรไม่เคยจดจำบทเรียนจากกรณีมะละกอปนเปื้อนจีเอ็มโอที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเกิดจากการไร้ความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร เป็นที่น่าสงสัยว่าการที่กรมวิชาการเกษตรพยายามทำข้อตกลงดังกล่าวกับคอร์แนลครั้งนี้ จะเอื้อประโยชน์ต่อการยกเลิกมติครม. 3 เมษายน 2544 ที่ห้ามทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิดและเปิดทางให้มะละกอจีเอ็มโอเข้าประเทศไทยได้ง่ายยิ่งขึ้น เราขอให้ทางกรมวิชาการเกษตรเปิดเผยข้อมูลในร่างเอ็มโอยูนี้ก่อน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจและอธิบายให้สาธารณชนได้รับทราบ” นางสาวณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพันธุวิศวกรรม (จีเอ็มโอ) กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

จากการรายงานของกระทรวงเกษตรฯ ที่กล่าวอ้างว่าการลงนามบันทึกข้อตกลงเอ็มโอยูกับมหาวิทยาลัยคอร์แนลนั้นประเทศไทยได้รับส่วนแบ่งจากผลกำไรจากการค้ามะละกอจีเอ็มโอ แต่สิทธิบัตรนั้นจะเป็นสิทธิบัตรร่วมกันกับมหาวิทยาลัย

“หากเรื่องดังกล่าวเป็นจริง ถือว่าเป็นโชคร้ายของเกษตรกรและคนไทย เนื่องจากเกษตรกรจะต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรให้แก่สถาบันต่างชาติทั้งๆที่ไม่ควรจะจ่าย เท่านั้นยังไม่พอหากมีการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอเกิดขึ้น ประเทศไทยก็จะสูญเสียตลาดส่งออกทั่วโลกที่ไม่ยอมรับผลผลิตจีเอ็มโอ นี่หรือคือข้อตกลงที่กระทรวงเกษตรฯ ต้องการหยิบยื่นให้แก่คนไทย” ณัฐวิภากล่าวเสริม

กรีนพีซรณรงค์เพื่อต่อต้านพืชจีเอ็มโอรวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของพืชจีเอ็มโอทั้งหมด ซึ่งเป็นกลไกสำคัญบนหลักการของความยั่งยืน ทั้งนี้เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัย การตัดต่อพันธุกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยและไม่เป็นที่ต้องการของสังคมโลกอีกทั้งยังทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความเสี่ยงให้กับผู้บริโภค

-----------
กรีนพีซเป็นองค์กรที่ยืนหยัดอยู่ได้ด้วยการรับเงินบริจาคจากผู้ที่รักสิ่งแวดล้อม และปฏิเสธที่จะรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลและภาคเอกชนเราจึงเป็นองค์กรที่ดำเนินงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง

เราเชื่อว่าโลกอันแสนเปราะบางใบนี้รอการปกป้องและแก้ไขปัญหาด้วยการลงมือกระทำ....มาช่วยกันรักษา สิ่งแวดล้อมเมืองไทยกันเถอะ

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2550   
Last Update : 4 ตุลาคม 2550 14:48:19 น.   
Counter : 830 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com