กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

การลงทุนมีความเสี่ยง “ต่อสิ่งแวดล้อม” ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุน



เขียน โดย รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์

“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน” นี่คือคำเตือนของสำนักงาน ก.ล.ต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ที่เรามักได้ยินกันบ่อยคอยเตือนใจนักลงทุนทั้งมือเก่าและมือใหม่ก่อนการลงทุนทุกครั้ง เพราะไม่มีสิ่งใจที่ได้ผลตอบแทนมาโดยไม่มีความเสี่ยง ทั้งด้านเสี่ยงต่อการขาดทุน การล้มละลาย และหากคุณเป็นนักลงทุนหัวใจสีเขียวรักสิ่งแวดล้อมแล้วล่ะก็ อีกปัจจัยสำคัญที่เราควรคำนึงถึงคือ บริษัทที่คุณคิดจะลงทุนด้วยนั้นมีความเชื่อมโยงกับการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่?

การลงทุนและสิ่งแวดล้อม เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

ก่อนที่จะเข้าสู่โลกของการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุน ตราสารหนี้ และอื่นๆ คุณจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุน ปัจจุบันนี้ทิศทางของการลงทุนกำลังให้ความสำคัญกับการลงทุนที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า  “ส่งเสริมให้ผู้ลงทุนตระหนักถึงการลงทุนระยะยาวในรูปแบบการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (responsible investment) ควบคู่ไปด้วย โดยส่งเสริมให้ผู้ลงทุนพิจารณาข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุนด้วย ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ มีความเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เราควรพิจารณาก่อนการลงทุนว่าบริษัทหรืออุตสาหกรรมที่เราสนใจลงทุนด้วยนั้นมีความรับผิดชอบต่อสังคมแหละสิ่งแวดล้อมเพียงใด หรือกำลังเป็นตัวการทำลายสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชนอยู่ ซึ่งหากเราร่วมลงทุนกับบริษัทที่ดำเนินอุตสาหกรรมอย่างไม่ยั่งยืน เราอาจจะเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยไม่รู้ตัว

investment-and-environment

ข้อควรคำนึงก่อนการลงทุน สำหรับนักลงทุนหัวใจสีเขียว

1. ศึกษาข้อมูลของบริษัทหรืออุตสาหกรรมก่อนการลงทุน
สิ่งที่มักเป็นเรื่องผิดพลาดสำหรับนักลงทุนเสมอ คือ การลงทุนตามกระแสหรือตามเพื่อน โดยที่ไม่ศึกษาอย่างละเอียดว่าตรงกับความสนใจของเราหรือไม่ หรือมีเบื้องหลังที่เชื่อมโยงกับการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่

2. ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของบริษัทหรืออุตสาหกรรม
บางบริษัทมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และระบบการจัดการทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งนโยบายเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่เราอาจต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงการนำนโยบายนั้นมาปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรมและตรวจสอบได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

3. ตระหนักเสมอว่านักลงทุนคือหัวใจที่สำคัญ
หลายอุตสาหกรรมมีความเชื่อมโยงกับการทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมถ่านหินกับการสร้างมลพิษและการเร่งให้เกิดวิกฤตโลกร้อน อุตสาหกรรมการประมงขนาดใหญ่ที่ดำเนินการด้วยวิธีการประมงเกินขนาดและทำลายล้าง ที่กำลังให้ปลาในทะเลของเราหมดไป เป็นต้น การร่วมซื้อหุ้นหรือกองทุนจึงเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมดังกล่าวยิ่งขึน แต่ในทางกลับกัน นักลงทุนคือผู้ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เพียงแค่ปฏิเสธไม่ร่วมลงทุนกับบริษัทที่มีความเชื่อมโยงกับการสร้างผลกระทบอันเลวร้ายต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

การลงทุนมีความเสียง แต่การลงทุนโดยที่ไม่มีความรู้ และส่งเสริมบริษัทที่มีความเชื่อมโยงกับการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยที่ไม่รู้ตัวนั้นมีความเสี่ยงมากที่สุด ก่อนลงทุนครั้งหน้า ลองศึกษาให้แน่ใจก่อนนะคะว่า เงินทุนของคุณจะไม่ถูกนำไปใช้ทำลายสิ่งแวดล้อม


ที่มา: Greenpeace Thailand




 

Create Date : 22 เมษายน 2559   
Last Update : 22 เมษายน 2559 13:11:36 น.   
Counter : 1017 Pageviews.  


15 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับเชอร์โนบิล



เขียน โดย Celine Mergan

เช้าตรู่วันที่ 26 เมษายน 2529 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลจำนวนสี่เครื่องระเบิด สหประชาชาติประกาศว่า เป็นหายนะด้านสิ่งแวดล้อมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ การระเบิดที่เชอร์โนบิลเป็นอุบัติเหตุที่อุตสาหกรรมนิวเคลียร์เคยมั่นใจอยู่เสมอว่า จะไม่มีทางเกิดขึ้น

ยี่สิบห้าปีต่อมา อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะในญี่ปุ่นทำให้เรายิ่งต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดหายนะอย่างเชอร์โนบิลขึ้นได้อีกในทุกที่ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์

รังสีนิวเคลียร์จากเชอร์โนบิลยังแพร่กระจายและยังคงอยู่ในอีก 30 ปีต่อมา ส่งผลถึงการดำรงชีวิตของผู้คนอีกหลายล้านคน นี่คือความจริง 15 ประการ ที่คุณอาจยังไม่รู้ถึงหายนะที่กำลังเกิดขึ้น: 

1. เมื่อ 30 ปีก่อน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ที่ยูเครน เกิดการระเบิดขึ้น ประชาชนเกือบห้าล้านคนยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อนจนถึงทุกวันนี้

Local Family with Wagon of Potatoes in Ukraine  © Denis Sinyakov / Greenpeace

2. ปริมาณของรังสีที่แพร่กระจายออกมา มีอานุภาพมากกว่ารังสีจากระเบิดปรมาณูที่ถล่มใส่เมืองนางาซากิและฮิโรชิมะถึงอย่างน้อย 100 เท่า

Remains of the kindergarten in the town of Pripyat  © Greenpeace / Steve Morgan

3. ประชาชนในเมืองใกล้เคียงอย่าง พริเพียต (Pripyat) อพยพออกจากพื้นที่ทันทีภายในสองวันหลังเกิดหายนะภัย ในช่วงเวลานั้นหลายคนได้รับรังสีปนเปื้อนในระดับสูง

Life in the 30 km Zone of Chernobyl  © Jan Grarup / Noor / Greenpeace

4. ฝนกรดจากกัมมันตรังสีแพร่กระจายไปไกลถึงไอร์แลนด์ โดยยูเครน เบลารุส และ รัสเซีย เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากหายนะภัยเชอร์โนบิลมากที่สุด คือมีพื้นที่ปนเปื้อนรังสีมากถึงร้อยละ 63 

Decontamination Centre in Pripyat  © Clive Shirley / Signum / Greenpeace

5. เมืองพริเพียต ถูกทิ้งร้างเนื่องเนื่องจากระดับการแพร่กระจายของรังสีอยู่ในปริมาณสูง กลายเป็นที่อยู่ของสุนัขป่า ม้าป่า บีเวอร์ หมูป่า และสัตว์อื่นๆ

Wild Horses in Pripyat © Vaclav Vasku / Greenpeace

6. สัตว์ที่หากินอยู่ในละแวก 30 กิโลเมตรโดยรอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล มีอัตราการตายก่อนอายุขัยสูงมากขึ้น มียีนผิดปกติมากขึ้น และมีอัตราการเกิดลดลง

 Stray Dog in Pripyat © Vaclav Vasku / Greenpeace

7. คุณอาจคิดว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องอื่นๆ ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล คงจะปิดทำงานไปแล้ว แต่ความจริงคือ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อีกสามเครื่องเริ่มเดินเครื่องและใช้งานแล้วหลังจากเกิดหายนะภัยเพียง 13 ปีให้หลัง

Reactor 1 and 2 at Chernobyl Nuclear Plant © Greenpeace / Stefan Füglister

8. วัตถุดิบกัมมันตรังสียังอยู่ในแท่นซีเมนต์ปรักหักพังที่สร้างครอบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยอาคารขนาดใหญ่หลังใหม่ถูกสร้างขึ้นครอบแท่นซีเมนต์ ซึ่งน่าจะใช้งานได้อีกอย่างน้อย 100 ปี

 The new giant structure is intended to contain the nuclear reactor. © Denis Sinyakov / Greenpeace

9. ป่าโดยรอบพื้นที่หายนะภัย มีชื่อใหม่ว่า “ป่าแดง” เนื่องจากรังสีนิวเคลียร์ทำให้ใบเป็นสีน้ำตาลแดง และ ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่

Measuring Radiation at the Red Forest in Pripyat © Vaclav Vasku / Greenpeace

10. อุตสาหกรรมนิวเคลียร์และรัฐบาลที่มีนโยบายสนับสนุนนิวเคลียร์ ทั้งในยูเครน รัสเซีย และ เบลารุส ยังเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์มูลค่าหลายพันล้าน โดยเพิกเฉยต่อความรับผิดชอบที่ต้องช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเชอร์โนบิล รัฐบาลประเมินผลกระทบจากหายนะภัยในขั้นต่ำสุด และหลบเลี่ยงความจริงที่เกิดขึ้นในเชอร์โนบิล

Village Drosdyn near Chernobyl © Jan Grarup / Noor / Greenpeace

11. วันนี้ คุณสามารถจองทัวร์ไปเยี่ยมชมเขตต้องห้ามในเชอร์โนบิล บริษัทท่องเที่ยวจัดโปรแกรมเที่ยววันเดียวไปเมืองร้างพริเพียต

Thirty years after the nuclear disaster Greenpeace revisits the site and the Unit 4 with the New Safe Confinement (NSC or New Shelter). © Denis Sinyakov / Greenpeace

12. พริเพียต อยู่ในสถานะของเมืองที่มีการปนเปื้อนระดับสูง และยังคงถูกทิ้งร้าง เนื่องจากต้องกำจัดพลูโตเนียมที่แพร่กระจายปกคลุมไปทุกหนแห่ง โดยคาดว่าต้องใช้เวลามากกว่า 24,000 ปี เพื่อลดปริมาณความเข้มข้นครึ่งหนึ่งที่ปรากฎในขณะนี้

Abandoned City of Pripyat in Ukraine © Denis Sinyakov / Greenpeace

13. รังสีนิวเคลียร์มีอานุภาพมากพอที่ทำให้ตาของนักดับเพลิงอย่างวลาดิมีร์ ปราวิก เปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีฟ้า

Abandoned Hospital in Pripyat © Vaclav Vasku / Greenpeace

14. สวีเดนเป็นประเทศแรกที่ประกาศต่อชาวโลกถึงหายนะภัยจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ขณะที่รัฐบาลยูเครนเลือกที่จะปิดปากเงียบในตอนแรก

Deserted City of Pripyat © Clive Shirley / Signum / Greenpeace

15. ในพื้นที่ปนเปื้อนหลายแห่ง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลมีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในทุกมิติ รังสีจากเชอร์โนบิลปนเปื้อนในอาหารที่กิน ในนม ในน้ำที่ดื่ม ในโรงเรียน ในสวนสาธารณะ และในสนามเด็กเล่นที่ลูกหลานของเราใช้ และ ในป่าที่พวกเขาต้องเข้าไปตัดฟืนมาเผาเอาไออุ่น

Resident Sells Local Produce in Russian Market © Denis Sinyakov / Greenpeace

โปรดช่วยกันเป็นปากเป็นเสียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับผู้รอดชีวิตจากเชอร์โนบิล ร่วมกันส่ง twitter thunderclap

เซลินา เมอร์แกน เจ้าหน้าที่ฝึกหัดด้านโซเชียลมีเดีย กรีนพีซเบลเยี่ยม


ที่มา: Greenpeace Thailand




 

Create Date : 21 เมษายน 2559   
Last Update : 21 เมษายน 2559 14:22:31 น.   
Counter : 701 Pageviews.  


รู้จักกับชุมชนเทพา จ.สงขลา ในระยะ 5 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน



เขียน โดย กรวรรณ บัวดอกตูม

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา คือพื้นที่เป้าหมายของโรงไฟฟ้าถ่านหินตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2558-2579 (PDP 2015) ที่นี่จะกลายเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีกำลังการผลิตถึง 2,200 เมกะวัตต์ ที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ที่ชุมชนเทพาพึ่งพาอาศัย ไม่ว่าจะเป็นบนผืนดินและผืนน้ำ แม้แต่ในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรจากศูนย์กลางของโครงการ ซึ่งเป็นบริเวณในระยะการศึกษาผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเทืยบเรือถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามที่สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (ส.ผ.) กำหนดขั้นต่ำของการศึกษาผลกระทบ ลองมาทำความรู้จักกับชุมชนเทพาไปพร้อมกับเรา ว่าวิถีชิวิตอันอุดมสมบูรณ์ของเมืองน่ารักแห่งสงขลานี้เป็นอย่างไร

ภาพโดย กานต์ วรรธนะพินทุ

ภาพโดย กานต์ วรรธนะพินทุ

กะปิเทพาสีชมพู จากความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวไทย

นอกจาก “ไก่ทอดเทพา” สถานีรถไฟกลิ่นอายเมืองเก่า ทะเลสวยสงบ และอากาศดีๆ แล้ว อำเภอเทพา จังหวัดสงขลายังมีความอุดมสมบูรณ์ที่หล่อหลอมความเป็นชุมชนชาวเทพาไว้ไม่ว่าจะเป็นชายฝั่งทะเลและอาหารที่ขึ้นชื่ออย่าง “กะปิเทพา”

หาดเทพา  มีอวนสำหรับดักเคยวางอยู่บริเวณหาด น้อยคนนักที่รู้ว่าหาดเทพาจะกลายเป็นที่ตั้งของท่าเรือขนส่งถ่านหินที่ลำเลียงผ่านมหาสมุทรมาโดยเรือใหญ่จากอินโดนีเซียและแอฟริกา น้ำทะเลหน้าหาดไกลออกไปที่ 300-500 เมตรจะถูกสูบเข้า

มาใช้ในกระบวนการหล่อเย็นและปล่อยออกสู่ทะเล ซึ่งทะเลแถบนั้นจะพบ เคย สัตว์น้ำเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลที่จะต้องสูญเสียไปให้กับโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ภาพโดย กานต์ วรรธนะพินทุ

ในช่วงเดือนกุมพาพันธ์ถึงเมษายน เคยจะขึ้นที่บริเวณหาดเทพาแห่งนี้ทุกปี โดยเดือนมีนาคมถือเป็นช่วงที่ทำรายได้ดีที่สุดในรอบปี  วิธีการหาเคยคือแค่เดินลงไปในทะเลระดับเข่า และจะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกว่าสัตว์น้ำชนขา เป็นสัญญาณให้ชาวประมงต้องนำอวนมาวาง หรือเรียกว่าการรุนเคยขึ้นมา จากนั้นจึงช้อนเคยหรือกุ้งขนาดเล็กมาทำความสะอาดแล้วนำมาใส่กระสอบ โดยเฉลี่ยแล้วจะได้เคยที่ 100 กิโลกรัมต่อวัน บางวันสามารถหาได้มากถึง 200 กิโลกรัมโดยราคารับซื้ออยู่ที่ 120-140 บาทต่อกิโลกรัม เส้นทางของเคยถูกนำไปแปรรูปให้เป็นกะปิ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลที่เทพา ทำให้ “กะปิเทพา” สีชมพูจากเคล็ดลับการหมักด้วยเกลือตามสูตรในระยะเวลาที่เหมาะสม กะปิที่นี่จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นกะปิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งจากทะเลอ่าวไทย นอกจากการแปรรูปแล้วการนำเคยสดมาเป็นส่วนผสมในการทำไข่เจียว ปรุงรสด้วยน้ำบูดู แล้วนำลงทอด เป็นอีกเมนูหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อได้มาเทพาในช่วงที่มีเคยขึ้น

หาดเทพาแห่งนี้เป็นที่ทำมาหากินของขาวประมงในพื้นที่และผู้ที่ทำประมงจากหมู่บ้านข้างเคียง จะเห็นตั้งแต่เรือเล็กขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ หากมองออกไปจากฝั่ง ช่วงเวลาและกระแสน้ำจะนำมาซึ่งสัตว์น้ำ เช่น ตอนเช้าตรู่ชาวประมงจะพากันออกมาวางอวนและเก็บในช่วงที่สายหน่อย ตอนเที่ยงจะมีกุ้ง เรือแต่ละลำก็มีเครื่องมือจับสัตว์น้ำ เลือกใช้จับอย่างเหมาะสมตามแต่ช่วงเวลา ตกเย็นน้ำลด ชาวบ้านในพื้นที่ก็จะมาหาหอยเสียบ  จะเห็นได้ว่าหาดเทพาเป็นที่ทำมาหากินได้ตลอดทั้งวันของชาวประมง  

หากมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นที่นี่ อาจมีผลกระทบตามมา ไม่เพียงแต่กับสัตว์น้ำที่จะสูญเสียที่อยู่อาศัย แต่ชุมชนก็อาจจะสูญเสียรายได้จากการทำประมงด้วย

แตงโม ยาง ข้าว ปาล์มน้ำมัน… ใครว่าดินเทพาปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น?

จากทะเลสู่บนฝั่ง ยกพลขึ้นบกมาดูความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดินเทพา ในเอกสาารจากรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ใช้ประกอบประชุม ค.3 บ่งชี้ว่าทรัพยากร/คุณภาพดินอยู่ในระดับต่ำ สำหรับบริเวณที่ตั้งโครงการ ส่วนใหญ่เป็นดินทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป เนื้อดินหยาบ ไม่อุ้มน้ำ ซึ่งลักษณะของดินนี้เหมาะสำหรับแก่การเพาะปลูกแตงโม แตงโมเทพารสชาติหวานเป็นผลไม้หลักที่เกษตรกรเพาะปลูกในพื้นที่ สองข้างทางจะเห็นร้านขายแตงโมและฟักทองเรียงรายเชื้อเชิญให้ผู้คนที่สัญจรผ่าน แวะซื้อฝากคนปลายทาง  

ดินเทพาที่ว่าไม่อุดมสมบูรณ์นั้น คนในพื้นที่เล่าว่าตัวชี้วัดดูง่ายๆจากการปลูกต้นยาง ต้นยางที่นี่สามารถปลูกได้ห่างจากทะเลในระยะ 500 เมตร  โดยปกติแล้วต้นยางจะไม่เจริญเติบโตในระยะที่ใกล้น้ำทะเล  ชวนให้เกิดคำถามย้อนกลับว่า แล้วใครกันที่ว่าดินเทพาปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น?  

ข้าว อาหารหลักของคนไทย ที่เทพามีทุ่งเกาะครก ทุ่งนาผืนใหญ่ของคนเทพาปลูกข้าวนานาพันธุ์ เช่น ข้าวสังหยด ข้าวช่อขิง ข้าวเล็บนก ฯลฯ  ชาวนาเพิ่งเสร็จฤดูเก็บเกี่ยวและจะถูกส่งเข้าสู่โรงสีชุมชนขนาดเล็ก เพื่อสีและนำไปขายที่ตามตลาดจนไปถึงเมืองใหญ่ข้างเคียง  คงเป็นเรื่องน่าเสียดายเมื่อพืชเศรษฐกิจอันเป็นความมั่นคงทางอาหารของไทยเหล่านี้ จะได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในอนาคต

คลองเทพามีแต่สัตว์น้ำตัวโต!

คลองตุหยง เป็นพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ในเขตสงขลาไปจนถึงปัตตานี กับลำน้ำที่มาจากเทือกเขาสันกลาคีรี เทือกเขาสำคัญที่กั้นพรมแดนระหว่างประเทศ อีกครั้งที่เครื่องมือทำประมงที่หลากหลายถูกนำมาเลือกสรรใช้อย่างเหมาะสมกับการจับสัตว์น้ำในแต่ละประเภท ถูกรังสรรขึ้นมาจากภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ ที่ปรับใช้อย่างลงตัวกับทรัพยากรในท้องถิ่น  

ในป่าแห่งนี้ริมฝั่งคลองมีดงสมุนไพรขนาดใหญ่ ระหว่างทางเราจะพบไซปู วางดักปูอยู่  พื้นที่สองฝั่งคลองที่นี่ยังอุดมสมบูรณ์ดีมาก มีสวนปาล์ม และนากุ้งร้างซึ่งเดิมมีการใช้พื้นที่ในการเลี้ยงกุ้ง และปล่อยน้ำเสียลงสู่ในลำคลอง แต่ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้กุ้งราคาตกและโรคกุ้ง ทำให้กิจการบ่อกุ้งต้องปิดตัวลง

การล่องคลอง ทำให้เห็นบ้านเรือน วิถีชีวิต ชุมชนริมฝั่งคลอง และป่าแสมขนาดใหญ่  ระหว่างล่องเรือ เราพบแมงกระพรุนตัวสีขาวใหญ่ ซึ่งพบในบางช่วงเวลาเท่านั้น ต้นมะพร้าวสองฝั่งคลอง ก็เป็นอีกหนึ่งรายได้ของคนในพื้นที่ เรือที่ใช้ในคลองส่วนใหญ่จะเป็นเรือไม้ เพราะกินน้ำน้อย

ริมฝั่งคลองเราได้พบเห็นการแปรรูปสัตว์น้ำที่ได้จากในลำคลองแห่งนี้ คือการทำปลาตากแห้ง ที่ตากปลาวางเรียงรายอยู่ ปลาแห้งเทพาที่มีชื่อเสียง หาซื้อได้ที่ตลาดพระพุทธและตลาดท้องถิ่นทั่วไปในอำเภอเทพา ปลาแห้งจากเทพาถูกส่งขายไปไกลถึงนาทวี สะบ้าย้อย และในตัวเมืองหาดใหญ่ เป็นการเพิ่มมูลค่าจากสัตว์น้ำสดนำมาแปรรูปและเก็บรักษาได้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น

ป่าโกงกางที่ขึ้นหนาแน่นริมฝั่งคลอง รากของมันเป็นบ้าน ที่ปลากระพงตัวโตเข้ามาอยู่อาศัย  คลองเทพา  ใช้เวลาแค่เพียงครึ่งชั่วโมงก็สามารถมีรายได้จากการจับกุ้งได้แล้ว ชาวประมงผู้หญิงหลบแดดรอคอยเวลาเก็บอวนกุ้งที่วางไว้กั้นคลอง ครบเวลาเก็บ ก็จะปลดกุ้งออกจากอวน กุ้งที่ได้ตัวโตจากในคลองก็จะเต็มกระติกเล็กๆ ราคาขายกุ้ง อยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 200 บาท ในวันหนึ่งพวกเขาแค่ต้องการกุ้งให้เต็มกระติกเล็กๆ เพื่อเก็บไว้ทานและขายในส่วนที่เหลือ

ชาวประมงและผู้อยู่อาศัยที่ข้างคลองแห่งนี้ต่างปรับตัวและใช้ทรัพยากรอย่างอนุรักษ์ ใช้เครื่องมือที่ถูกต้องในการหาสัตว์น้ำ พวกเขารู้และช่วยกันรักษาทรัพยากรที่มีมากให้มีอยู่ มีใช้นานๆ ได้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน คลองแห่งนี้สมบูรณ์จนสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน ที่พ่อค้าหลายพื้นที่ต้องการซื้อลูกปลาขนาดเล็กเพื่อนำไปเลี้ยง โดยมีการมารับซื้อถึงในพื้นที่

รู้จักกับชุมชนเทพา จ.สงขลา ในระยะ 5 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ภาพโดย กานต์ วรรธนะพินทุ

คลองแห่งนี้มีความหมาย มีความง่าย และเอื้อประโยชน์ให้ชุมชนอย่างแท้จริง หอยนางรม เป็นสัตว์น้ำที่อยู่เฉพาะที่ คลองแห่งนี้สามารถหาหอยนางรมได้อย่างง่ายไม่ต้องดำน้ำลึก เพื่อเก็บหอย แค่ก้มลงหรือมุดไปเก็บโดยใช้มือเปล่า เก็บใส่ถุงกระสอบแล้วนำไปขาย หอยนางรมสดจากคลองเทพา นำรายได้ที่สามารถเลี้ยงปากท้องคนสองฝั่งคลองได้

ในเวลาสองวันกับการสำรวจพื้นที่พบทรัพยากร ในบริเวณ 5 กิโลเมตรรอบพื้นที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ยิ่งทำให้เราแปลกใจและตั้งคำถามว่า “ใครว่าเทพาไม่มีอะไร?”  เพราะเทพาเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ และไม่ควรเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะคุกคามความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่มีในผืนดินและผืนน้ำให้สูญหายไป


ที่มา: Greenpeace Thailand




 

Create Date : 21 เมษายน 2559   
Last Update : 21 เมษายน 2559 10:46:51 น.   
Counter : 1326 Pageviews.  


พอกันทีกับผลกระทบต่ออาหารและอากาศจากเชอร์โนบิล



เขียน โดย Rashid Alimov

ผมอยู่ที่แคว้นแบรงสค์ (Bryansk) ในรัสเซีย ระยะทางห่างจากเชอร์โนบิลมากกว่า 180 กิโลเมตร แม้ว่าหายนะภัยเชอร์โนบิลจะผ่านมาแล้ว 30 ปี แต่เครื่องวัดกัมมันตภาพรังสีของผมก็ยังจับคลื่นรังสีได้อยู่

รังสีอันตรายที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นความจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของผู้รอดชีวิตชาวเชอร์โนบิล 5 ล้านคนที่ยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อนในยูเครน เบลารุส และรัสเซีย พวกเขายังกินลูกแบร์รีและผักที่ปนเปื้อน ยังหายใจเอาควันจากไฟป่าที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีในเชอร์โนบิล

ชุมชนหลายแห่งในแคว้นแบรงสค์ สมควรจะต้องอพยพไปอยู่ที่ไหนสักแห่ง แต่ก็ไม่เคยได้ไปไหน

ที่แย่กว่านั้น รัฐบาลรัสเซียตัดมาตรการป้องกันรังสีและการสนับสนุนใดๆให้กับประชาชนที่นี่เพื่อประหยัดงบประมาณ เมื่อปีที่แล้ว ประชาชนสามแสนคนถูกทิ้งขว้างเมื่อรัฐบาลเปลี่ยนสถานภาพของชุมชนหลายร้อยแห่งโดยไม่มีการหารือสาธารณะ

ผมได้พบกับดอกเตอร์วิกเตอร์ คานาเยฟ ศัลยแพทย์ที่อยู่เมือง Novozybkov ไม่ไกลจากที่นี่มากนัก บรรยากาศของโบสถ์เก่าๆรายล้อม ทำให้ผมนึกถึงเมืองประวัติศาสตร์หลายแห่งของรัสเซีย ที่มิใช่เมืองเชอร์โนบิล เมืองที่มีรังสีที่มองไม่เห็นปรากฎขึ้นมาลางๆ เป็นฉากหลัง 

ดอกเตอร์คานาเยฟ กังวลมากเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นที่คนไข้ของคุณหมอต้องทาน พวกเขาไม่มีเงินมากพอจะไปซื้ออาหารนำเข้าราคาแพง คุณหมอบอกผมว่า “มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่ให้คนชนบทกินผักกินเนื้อจากผืนดินและจากสวนของพวกเขา โดยเฉพาะเมื่อเงินชดเชยจากรัฐบาลให้มาน้อยมาก”

“พวกหน่วยงานเขตก็พยายามกันหลายวิธี แต่เงินก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ งบประมาณที่ได้มาเหมือนผ้าห่มผืนสั้นๆที่ดึงกันไปมา แต่ยังไงก็คลุมไม่ได้ทั้งตัว บางส่วนก็ไม่ครอบคลุมอะไรเลย”

แต่ผู้คนเหล่านี้ก็ไม่เคยย่อท้อ

ชาวบ้านมากกว่า 50 คน จากแคว้นแบรงสค์ เพิ่งไปขึ้นศาลสูงของรัสเซียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อขอให้รัฐบาลทบทวนการตัดสินใจที่ตัดเงินสนับสนุนและสิทธิ์ในการย้ายถิ่นฐาน

นาตาเลีย คานดิก หนึ่งในโจทก์ครั้งนี้ บอกผมว่า “เราเป็นประชาชนที่มีชีวิต เรารับไม่ได้กับการปฏิบัติเช่นนี้ เขาบอกโดยไม่มีหลักฐานใดๆมาอ้างได้ว่า เมืองและหมู่บ้านเหล่านั้นสะอาดแล้ว เรารู้ดีว่า มันไม่ใช่อย่างนั้น”

โชคไม่ดีที่ศาลสูงเป็นของรัฐบาลและไม่ใช่ผู้รอดชีวิตจากแบรงสค์ ผู้พิพากษายกฟ้อง

แต่เมื่อผมได้คุยกับชาวบ้าน พวกเขาตัดสินใจที่จะสู้ต่อ

“เราจะขออุทธรณ์ต่อคำตัดสิน” แมกซิม เชฟตสอฟ แห่งองค์กรเชอร์โนบิล ยูเนี่ยน-โนโวซิบคอฟ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนผู้รอดชีวิตจากเชอร์โนบิล บอกไว้ว่า “เราจะสู้ให้ถึงที่สุดให้ถึงศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป เพื่อปกป้องสวัสดิภาพของเรา”

นาตาเลียบอกผมว่า “เราจะต่อสู้ เราไม่มีอะไรต้องเสียอีกแล้ว”

ประชาชนกำลังต่อสู้เพื่อสิทธิ์ของเขาและยืนหยัดต่อความไม่รู้ผิดชอบของระบบบริหารของภาครัฐ และ รัฐบาลควรจะยอมรับความผิดชอบในการช่วยเหลือและปกป้องผู้รอดชีวิตจากหายนะเชอร์โนบิลเหล่านี้

ราชิด อลิมอฟ เจ้าหน้าที่รณรงค์ด้านนิวเคลียร์ กรีนพีซรัสเซีย


ที่มา: Greenpeace Thailand




 

Create Date : 11 เมษายน 2559   
Last Update : 11 เมษายน 2559 10:39:18 น.   
Counter : 1011 Pageviews.  


พลังงานหมุนเวียน : ทางเลือกอันชาญฉลาดต่อวิกฤตพลังงานในยุโรปตอนใต้





เขียน โดย Tina Peternel

แปล โดย อัญมณี คันธะวงศ์ อาสาสมัครกรีนพีซในโครงการแปลเปลี่ยนโลก

ฉันยังคงจดจำภาพของเหล่าอาสาสมัคร นักท่องเที่ยว และคนท้องถิ่น หลายร้อยชีวิตมุ่งหน้าไปยังชายหาดยอดนิยมต่างๆใน โครเอเชีย (Croatia) กรีซ (Greece) อิตาลี(Italy) และ สเปน (Spain) เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลของพวกเขาปกป้องจุดหมายปลายทางในวันหยุดของพวกเขาจากพลังงานสกปรกและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ไม่เคยหมดไปจากประเทศ นั่นคือแสงแดดและสายลม  

เมื่อนึกถึงทวีปยุโรปตอนใต้ หลายคนอาจนึกถึงแสงแดดและสายลม แหล่งพลังงานหมุนเวียนจึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ในด้านพลังงานได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงนั้นค่อนข้างเป็นไปในทางตรงกันข้าม รัฐบาลส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปตอนใต้มักตอบสนองต่อการต่อสู้ด้านเศรษฐกิจ(economic struggles) ด้วยโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่และแท่นขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง ทั้งหมดนี้ แม้ว่ามีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ออกมาอย่างแน่ชัดแล้วว่าเราไม่จำเป็นต้องขุดเชื้อเพลิงฟอสซิลขึ้นมาใช้ เพื่อที่เราจะได้หลีกเลี่ยงผลกระทบอันเลวร้ายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกที่เป็นไปได้เท่านั้น แต่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และยังเป็นทางออกจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ รวมถึงยังเป็นการปูทางไปสู่อนาคตที่สะอาดสดใส  พลังงานหมุนเวียนช่วยสร้างอาชีพใหม่ ทำให้มีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจใหม่ ปกป้องระบบนิเวศและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เรามอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญทำการศึกษาวิจัยใน สเปน กรีซ อิตาลี และโครเอเชีย เพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของพลังงานหมุนเวียน รวมถึงโครงการประหยัดพลังงานต่างๆในประเทศดังกล่าว

แล้วตัวเลขดังต่อไปนี้ แสดงให้เห็นถึงอะไรบ้าง

  • ในประเทศโครเอเชีย เราได้พิสูจน์ให้เห็นผลลัพธ์เชิงบวกหลายประการจากการนำเอาพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในโรงแรม แคมป์ โรงเรียน และ พื้นที่การเกษตรตามแนวชายฝั่งโครเอเชีย บนเกาะและบนพื้นแผ่นดินใหญ่ การเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% จะสร้างงานใหม่ให้กับประเทศมากมายหลายพันตำแหน่ง และช่วยให้ประเทศประหยัดเงินได้  4 ถึง 5 พันล้านยูโร ต่อปีด้วยการเลิกนำเข้าพลังงานราคาแพง

  • ในประเทศกรีซ แม้ว่าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจจะไม่ดีนักและมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด ผู้เชี่ยวชาญของเรากำลังแสดงให้เห็นว่ายังคงเป็นไปได้ที่จะลดต้นทุนพลังงานไฟฟ้า ลดความขาดแคลนพลังงาน และจัดหาพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ชาวกรีกจะสามารถประหยัดเงินหลายพันล้านยูโร และสร้างงานใหม่ได้อีกหลายพันตำแหน่งในแต่ละปี หากทำตามแผนประสิทธิภาพพลังงานและดำเนินแผนการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ตามที่กรีนพีซได้นำเสนอ

  • เช่นเดียวกันกับในประเทศอีตาลี บนเกาะเล็กๆ 20 เกาะที่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับกริดการจ่ายไฟฟ้าได้ กระแสไฟฟ้าถูกผลิตจากระบบดีเซลที่สกปรกและมีราคาแพง หลายๆเกาะทั่วโลกต่างก็เผชิญกับข้อจำกัดเช่นเดียวกัน กรณีศึกษาของอีตาลี จึงเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปใช้บนเกาะอื่นๆ เพื่อคำนวณหาแนวของตนเองในการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ให้ได้ 100%

  • ในประเทศสเปน เรามุ่งเน้นไปที่ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนบนหมู่เกาะคาร์นารี่ ที่ซึ่งห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ของสเปน ปัจจุบันบนหมู่เกาะทั้งหมดใช้พลังงานที่มาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระบบดีเซล ด้วยการปฏิวัติพลังงานของพวกเราบนหมู่เกาะคาร์นารี่ เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในปี 2593 นั้นเป็นไปได้ เราแสดงให้เห็นว่าสามารถประหยัดเงินได้ถึง สี่หมื่นสองพันล้านยูโร ด้วยการลงทุน 2 หมื่นล้านยูโรไปกับพลังงานหมุนเวียน

แสงอาทิตย์ช่วยสร้างโอกาสในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและเป็นทรัพยากรที่สามารถผลิตและเป็นเจ้าของโดยท้องถิ่นเอง นอกจากนี้ยังสามารถสร้างงานได้หลายพันตำแหน่ง ถึงเวลาแล้วที่ประเทศแถบเมดิเตอเรเนียนจะแสดงให้ประเทศยุโรปที่เหลือได้เห็นถึงพลังที่แท้จริงของพลังงานแสงอาทิตย์


 ที่มา: Greenpeace Thailand




 

Create Date : 10 เมษายน 2559   
Last Update : 10 เมษายน 2559 13:34:32 น.   
Counter : 788 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com