กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

ความเงียบและการปนเปื้อนกัมมันตรังสี มรดกของอุบัติภัยนิวเคลียร์ในฟูกูชิมา

เกือบ 1 ปีหลังจากที่เกิดอุบัติภัยฟูกูชิมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น  ถึงเวลาที่จะต้องมองกลับไปดูที่สิ่งที่เราทิ้งไว้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลัง และใช้โอกาสนี้เพื่อที่จะยืนหยัดกับผู้คนที่ยังคงประสบกับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง เรากำลังเรียกร้องให้ไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  ใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทนในอนาคต และเชิญคุณมาร่วมกับเราที่จะส่งข้อความนี้เพื่อสนับสนุนและเป็นความหวังให้กับชาวญี่ปุ่น

ความเงียบและการปนเปื้อนกัมมันตรังสีถูกทิ้งไว้เบื้องหลังอุบัติภัยฟูกูชิมา ผ่านนิทรรศการภาพถ่ายออนไลน์ “ดินแดนในเงาหม่น (Shadowlands)” โดย
โรเบิร์ต  นอท์ท  ภาพหลอนของหมู่บ้านว่างเปล่า สนามเด็กเล่นและทุ่งนารกร้าง ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เตือนให้เราขนหัวลุกถึงของต้นทุนของพลังงานนิวเคลียร์ แต่มันจะเป็นแรงผลักดันต่อการเรียกร้องอนาคตที่ปลอดภัยจากความเสี่ยงของพลังงานนิวเคลียร์ นอกจากนี้เรายังนำเรื่องราวของหลายผู้คนซึ่งต้องมีชีวิตอยู่กับความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพของบุตรหลานที่ได้รับผลกระทบจากกัมมันตรังสี”

shadowlands

“สำหรับเราแล้ว นิทรรศการครั้งนี้เกี่ยวข้องกับความสูญเสีย การสูญเสียวัฒนธรรมและประเพณี การสูญเสียชุมชนและวิถีชีวิต และการสูญเสียสุขภาพ และแม้แต่การสูญเสียชีวิตเอง หมู่บ้านเหล่านี้เคยมีผู้อาศัยมากว่า 2,000 ปี

ต่กลับต้องมีการอพยพและถูกทิ้งไว้ให้ว่างเปล่า การที่คนเราจะใช้ชีวิตได้อย่างกลมกลืนเข้ากับพื้นที่ได้อย่างลงตัวนั้น จำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ความละเอียดลออ และความใส่ใจ คุณสามารถมองเห็นถึงการเคารพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของคนญี่ปุ่นได้จากการสร้างอาคารบ้านเรือน การจัดตกแต่งสวน และวิถีการทำเกษตรกรรมของเกษตรกร และการดูแลปศุสัตว์ ทว่า ในช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน ทุกสิ่งทุกอย่างที่หยั่งรากลึกและได้รับการอนุรักษ์มาอย่างดีนับหลายศตวรรษกลับเริ่มเลือนหายไป” –  photographer Robert Knoth

นับตั้งแต่วิกฤตนิวเคลียร์ฟูกูชิมาเริ่มขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม 2554 ผู้เชียวชาญด้านรังสีของกรีนพีซทำการสำรวจบันทึกผลกระทบของการปนเปื้อนรังสี ต่อสิ่งแวดล้อม อาหารและอาหารทะเล  เพื่อแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลของญี่ปุ่นนั้นได้ประเมินและรายงานผล กระทบจากรังสีรอบๆ พื้นที่แถบฟูกูชิมาคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง

ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสี  Rianne Teule ที่ทำงานเป็นนักรณรงค์ของกรีนพีซด้านนิวเคลียร์มากว่าสิบปี ได้เห็นตัวอย่างผลกระทบจากอุบัติภัย Chernobyl  ดังนั้นหลังจากที่เธอได้ยินเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ฟูกูชิมา ความคิดแรกของเธอต่อคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง  คือ "ฉันรู้ว่ามีประชากรจะได้รับความเสี่ยงอย่างไร ตลอดจนความยุ่งยากและระยะเวลาที่ยาวนานต่อผลที่จะตามมาของอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่จะเกิดขึ้นได้"

ปีต่อมา 150,000 คนญี่ปุ่นต้องย้ายออกจากบ้านของพวกเขาเพราะอุบัติภัยในฟูกูชิมา – และบางคนก็ ไม่สามารถที่จะกลับมาที่เดิมได้

วันนี้เธอจะส่งข้อความของเธอเองเพื่อความสมานฉันท์ให้กับชาวญี่ปุ่น:

"ฉันขอเป็นกำลังใจให้คุณ ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความทุกข์ของคุณจะไม่ถูกลืมเลือนและว่ามันจะทำหน้าที่คอยปลุกคนทั่วโลก ฉันขออธิษฐานให้การเกิดอุบัติภัยในฟูกูชิมาครั้งนี้ จะเป็นบทเรียนและกรุยทางไปสู่การปฏิวัติพลังงาน  และช่วยผลักดันโลกไปสู่อนาคตพลังงานที่สะอาดอย่างแท้จริง."

คุณสามารถส่งข้อความของคุณเพื่อเป็นกำลังใจให้ชาวญี่ปุ่นได้ที่ Facebook หรือ Twitter twitter link  #msgFukushima


Free TextEditor




 

Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2555   
Last Update : 26 พฤษภาคม 2555 11:39:43 น.   
Counter : 1196 Pageviews.  


ร่วมฉลองปีมังกรกับกรีนพีซ





เนื่องในเทศกาลตรุษจีนปี 2555 นี้ คุณสามารถร่วมเป็นส่วนสำคัญในการดูแลโลกใบนี้กับกรีนพีซได้ โดยการสั่งซื้อซองอั่งเปากรีนพีซ ใน แต่ละซองที่คุณสั่งซื้อ จะมีการ์ดของขวัญที่คุณสามารถระบุจำนวนเงินที่คุณต้องการมอบให้แก่สิ่งแวด ล้อม เพื่อความเป็นสิริมงคล และความสุขตลอดปีใหม่จีนนี้ และสามารถแบ่งปันให้แก่เพื่อนและครอบครัวของคุณได้ด้วย


ขอให้ท่านมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง เจริญรุ่งเรือง และมีความสุขสมหวังยิ่งๆขึ้นตลอดปีมังกรนี้


เงินบริจาคของท่านสำหรับเทศกาลตรุษจีนนี้ เราจะนำไปใช้เพื่อปกป้องพลังงาน อากาศ และแหล่งน้ำเพื่อให้คงความบริสุทธ์ สะอาด รวมทั้งแหล่งอาหารที่ปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์



วิธีการสั่งซื้อซองอั่งเปา


เพื่อมอบเป็นของขวัญพิเศษ และเพื่อเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่ดี คุณสามารถอีเมลมาที่  supporterservices.th@greenpeace.org  หรือโทร 02-357-1921 ต่อ 120 หรือ 140 และระบุจำนวนซองที่ต้องการเพื่อเป็นของขวัญพิเศษเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี ยิ่งขึ้นของเรา เงินบริจาคของคุณอาจเริ่มต้นที่ 100 บาทต่อ 1 ซอง หรือมากกว่านั้น และคุณสามารถสั่งซื้อซองอั่งเปาได้มากเท่าที่ต้องการ


แจ้งความประสงค์มาได้ถึง 20 มกราคม 2555 นี้


กรีนพีซทำงานรณรงค์ด้วยหลักการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และสันติภาพ





 





 

Create Date : 17 มกราคม 2555   
Last Update : 17 มกราคม 2555 18:16:29 น.   
Counter : 1026 Pageviews.  


หนังสือจด “เริ่มที่เรา...ปฏิวัติพลังงาน” เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ

“เมื่อกล่าวถึงวรรณคดีไทย เรามักคิดถึงเรื่องราวในอดีตที่หล่อหลอมคนไทยในด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสนา และความเชื่อต่างๆ มีตัวละครมากมายที่น่าจดจำและเป็นอยู่ในหัวใจของเราทุกคนมาช้านาน  เมื่อตัวละครไทยคือตัวชูโรงความเป็นไทย ไฉนเลยในโลกปัจจุบัน ตัวละครจะไม่พูดเรื่องพลังงานซึ่งอยู่ในวิถีชีวิตของเราเช่นกัน หนังสือจด “เริ่มที่เรา...ปฏิวัติพลังงาน” เล่มนี้จึงเป็นจุดร่วมของโลกวรรณคดีกับโลกปัจจุบันในการปฏิวัติพลังงาน โดยไม่มีเจตนาบิดเบือน ความสวยงามของวรรณคดีไทยแต่เป็นการให้ความสำคัญกับบทบาทของตัวละครในวรรณคดี ไทย เราจะได้พบกับ ท้าวแสนปม แก้วหน้าม้า  ลิลิตพระลอ พระอภัยมณี ไกรทอง สังข์ทอง ปลาบู่ทอง และพระสุธน มโนราห์ มาโลดแล่นในโลกพลังงานอย่างน่าอัศจรรย์”


“กลุ่มเยาวชนยุคพลังงานสะอาด ( Solar Generation) กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัว“หนังสือจด “เริ่มที่เรา...ปฏิวัติพลังงาน” ซึ่งเป็นหนังสือที่อ่านได้ จดดี ที่ทำขึ้นเพื่อสรุปความคิดรวบยอดของการปฏิวัติพลังงานด้วยการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งตกผลึกจากงานมหกรรมพลังงานในแต่ละภาคของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงหนือ และภาคใต้ ตลอดปี ๒๕๕๔ นี้ หนังสือเล่มนี้ทำขึ้นเพื่อเด็ก เยาวชนและนักทำได้ที่มีพลังในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบรู้ทัน และมีใจรักในสิ่งแวดล้อมและบ้านเกิดของตน”
 


เชิญอ่านด้วยใจ และคุณจะพบหัวใจพองโตที่มีแต่ให้



                                    คลิกที่รูปหนังสือเพื่อเพื่ออ่านในรูปแบบ ebook  



“หนังสือ จด “เริ่มที่เรา...ปฏิวัติพลังงาน" พิมพ์ออกมา ๖,๐๐๐ เล่ม  ซึ่งจะกระจายไปตามโรงเรียน มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และเครือข่ายเยาวชนด้านพลังงานในจังหวัดต่างๆตามรอยมหกรรมพลังงานปี ๒๕๕๔ ดังนี้ ฉะเชิงเทรา  ตราด ระยอง เชียงราย ลำปาง อุดรธานี อุบลราชธานี สุรินทร์ กาญจนบุรี  สุพรรณบุรี นครสวรรค์ นนทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช และสมุยและกรุงเทพฯ”


ดาวน์โหลดหนังสือในรูปแบบ Pdf





 

Create Date : 13 มกราคม 2555   
Last Update : 13 มกราคม 2555 14:39:57 น.   
Counter : 1265 Pageviews.  


เลือกของขวัญวันคริสต์มาสและวันปีใหม่ ด้วยคู่มือแกดเจ็ตสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม!!!


ใกล้ช่วงเทศกาลคริสต์มาสและวันปีใหม่เข้ามาแล้ว หลายคนอาจกำลังมองหาของขวัญสำหรับคนที่รักในช่วงวันพิเศษนี้อยู่ และสำหรับท่านที่กำลังมองอุปกรณ์แกดเจ็ตอยู่ กรีนพีซขอเสนอ คู่มือการจัดอันดับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกสรรสิ่งดีดีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับคนที่เรารัก



คู่มือการจัดอันดับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียวของกรีนพีซ ฉบับนี้ตีพิมพ์ครั้งที่ 17 แล้ว และยังมาในรูปแบบของ อี-การ์ด ซึ่งนักชอปทั้งหลายสามารถใช้เพื่อเปิดแอพจากมือถือได้เลย เมื่อสแกนบาร์โค้ด แอพจะเปิดตัวขึ้นมา พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดอันดับของแบรนด์ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ โดยเรียงตามความพยายามของแต่ละบริษัทในการลดการทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อ ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้ออุปกรณ์แกดเจ็ตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับเทศกาลคริสต์มาสและวันปีใหม่ โดยใช้วิธีเลือกสินค้าจากผู้ผลิตที่ได้อันดับต้นๆ

ทอม ดาวเดล นักรณรงค์อาวุโสของกรีนพีซสากล กล่าวว่า “แอพคู่มือสี เขียวของเรามีจุดมุ่งหมายที่จะให้โอกาสผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกอุปกรณ์ แกดเจ็ตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดสำหรับวันคริสต์มาส นี่ถือเป็นโอกาสอันดีที่พวกเราสามารถมีบทบาทในการกดดันให้บริษัทเครื่องใช้ ไฟฟ้าลดการทำลายสิ่งแวดล้อมลงในอนาคต”

แบรนด์เอชพี(HP)ได้รับอันดับหนึ่ง ในคู่มือสีเขียวฉบับล่าสุด เนื่องจากได้คะแนนในการที่บริษัทหมั่นตรวจวัดและลดการปล่อยคาร์บอนในสายห่วง โซ่อุปทาน รวมทั้งลดการปล่อยคาร์บอนของโรงงานของตนเองและส่งเสริมการออกกฎหมายเกี่ยว กับสภาพแวดล้อมทางอากาศ



จุดประสงค์ของคู่มือก็เพื่อกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ เพิ่มระยะเวลาการรับประกันสินค้าซึ่งจะทำให้สินค้ามีวงจรชีวิตที่นานขึ้น อาทิเช่น การผลิตสายชาร์จแบตเตอรี่ที่สามารถใช้กับโทรศัพท์มือถือได้ทุกรุ่น แบตเตอรี่ที่มีอายุใช้งานนานขึ้น อะไหล่ที่เปลี่ยนได้เฉพาะส่วน และความสามารถในการอัพเดทชิ้นส่วนหรือซอฟท์แวร์ใหม่ๆ ได้ง่าย

คู่มือนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของงานรณรงค์ของกรีนพีซที่พยายามส่ง เสริมให้ภาคอุตสาหกรรมไอทีร่วมกันหาทางออกในการลดการปล่อยคาร์บอนในระดับโลก ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนให้เฟซบุ๊คเปลี่ยนจากการใช้พลังงานถ่านหินมาเป็นพลังงานหมุนเวียนสำหรับศูนย์ข้อมูลต่างๆ

กรีนพีซทำงานรณรงค์ด้วยหลักการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ

ข้อมูลเพิ่มเติม


อ่านคู่มือการจัดอันดับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว

อี-การ์ดเทศกาลคริสต์มาส สแกน QR โค้ดเพื่อดาวน์โหลดแอพ

แอพสำหรับโทรศัพท์มือถือ

ยอดขายอิเล็กทรอนิกส์รวมทั่วโลก

ผลงานของคู่มือสีเขียวซึ่งได้ส่งเสริมพัฒนาการต่าง ๆ เหล่านี้

แคมเปญรณรงค์ใหญ่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอทีของกรีนพีซ

แคมเปญเฟซบุ๊คของกรีนพีซ




 





 

Create Date : 23 ธันวาคม 2554   
Last Update : 3 มกราคม 2555 14:42:27 น.   
Counter : 5902 Pageviews.  


ยกนิ้วให้ Facebook ที่หันมาใช้พลังงานหมุนเวียน


กว่า 20 เดือนที่การผลักดัน พูดคุย และต่อรองเพื่อให้ Facebook รักษ์สิ่งแวดล้อม ในที่สุดวันนี้ยักษ์ใหญ่แห่งอินเตอร์เน็ตก็ได้ประกาศเป้าหมายที่จะหันมาใช้ พลังงานหมุนเวียน การมีส่วนร่วมของผู้คนมากกว่า 700,000 คนจากทั่วโลกได้ทำให้ชัยชนะครั้งนี้เกิดขึ้น!



ข้อความที่ชัดเจนของ Facebook ส่งถึงผู้ผลิตพลังงานคือ : ลงทุนในพลังงานหมุนเวียนทันที และก้าวให้ห่างไกลจากพลังงานถ่านหิน


นอกจากนี้ กรีนพีซและ Facebook จะร่วมกันส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและสนับสนุนส่งเสริมให้มีระบบ สาธารณูปโภคที่สำคัญในการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียน (อ่านแถลงการณ์ที่นี่)


เฟซบุ๊คยังได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาโปรแกรมร่วมกับกรีนพีซเพื่อทำให้ผู้ใช้ เฟซบุ๊คสามารถเข้าถึงวิธีประหยัดพลังงาน และทำให้ชุมชนของพวกเขาหันมาสนใจประเด็นพลังงานสะอาด อีกทั้งมีความเป็นไปได้ในการช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนพลังของผู้คนทั่วโลก เพื่อที่จะระดมผู้คนเหล่านั้นเปิดตัวการปฏิวัติพลังงานที่กำลังจะเริ่มต้น


 คุณสามารถดูระยะเวลาของแคมเปญที่นี่.
นับตั้งแต่วันนี้ เฟซบุ๊คจะมีนโยบายขององค์กรที่ส่งเสริมสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่ง เป็นพลังงานสะอาดสำหรับศูนย์ข้อมูลในอนาคต แม้ว่าเฟซบุ๊คจะยังใช้ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินอยู่สำหรับตอนนี้ แต่ตามที่มีการหารือกันในส่วนของด้านไอทีแล้ว ถ่านหินจะถูกคัดค้าน


ขอแสดงความยินดีและขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันทำให้การปฏิวัติพลังงาน ครั้งนี้สำเร็จ ถึงเวลาที่จะต้องป่าวประกาศให้โลกรู้ว่า คุณมีส่วนร่วมกับความสำเร็จในการรณรงค์ต่อเฟซบุ๊ค แคมเปญ Facebook ของเรา บนหน้าเฟสบุ๊คของตัวคุณเอง
คุณสามารถดูแถลงการณ์ความร่วมมือของเฟซบุ๊คกับกรีนพีซ บน Green Page ของพวกเขา  และอย่าลืม กด likeให้พวกเขาหากคุณ'ชอบ'


Mobilising to green Facebook


การรณรงค์เพื่อให้เฟซบุ๊คหันมาใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 หลังจากทางบริษัทเฟซบุ๊คประกาศแผนการที่จะสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ โดยใช้พลังงานถ่านหินขับเคลื่อนระบบเทคโนโลยีเป็นหลัก



ผู้คนหลายแสนคนจากทั่วโลกเข้าร่วมการรณรงค์ครั้งนี้ พวกเขามาจากคนสำคัญหลากหลายสาขาอาชีพ นักเรียน อาสาสมัครและนักกิจกรรมจากอาร์เจนตินาไปถึงซิมบับเว และในทุกๆ เมืองที่มีสำนักงานของ Facebook ตั้งอยู่พวกเราได้แสดงออกทั้ง ภาพถ่าย การล้อเลียน การเรียกร้อง, วิดีโอ, เพลงและ เต้นรำ – และ เรือเหาะ บอลลูน บินเหนือสำนักงานใหญ่ของเฟซบุ๊คใน Palo Alto, แคลิฟอร์เนียผู้ร่วมสนับสนุนแคมเปญได้ถูกบันทึก บันทึกสถิติโลกในกินเนสบุ๊ค (สำหรับการแสดงความคิดเห็นบน Facebook มากที่สุดภายใน 24 ชั่วโมง)


ก้อนเมฆของคุณสีอะไร?


 พลังงานที่ใช้ในศูนย์ข้อมูลช่น ผู้ให้บริการทางเว็บไซต์และออนไลน์ของ Facebook, Apple, Microsoft, Twitter และอื่น ๆ บริษัท ไอทีรายใหญ่เหล่านี้ใช้พลังงานไฟฟ้ามหาศาล คิดเป็นกว่าร้อยละ 2 ของความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศสหรัฐฯ และคาดว่าจะเติบโตถึง 12 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าในแต่ละปี

วิดีโอรูป ภาพและข้อมูลอื่น ๆ ที่ถูกเก็บไว้ในเทคโนโลยี "ก้อนเมฆ" นี้จะส่งข้อมูลไปยังบ้านและสำนักงานวินาทีต่อวินาที  หากเปรียบก้อนเมฆเป็นประเทศ มันจะมีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 5 ของการใช้ไฟฟ้าจากทั่วโลก

ก้อนเมฆนี้ปกติจะถูกขับเคลื่อนมาจากสถาน ที่ที่มีการพึ่งพึงการใช้กระแสไฟฟ้าอย่างมาก จากหลากหลายของแหล่งที่มาของพลังงงาน ได้แก่ ถ่านหินซึ่งเป็นแหล่งของพลังงานที่สกปรก และเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดแห่งเดียวที่ปล่อยมลพิษทำให้เกิดโลกร้อน




ถ้าบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้าน Internet ทั้งหมดจะหันหลังให้พลังงานถ่านหิน ข้อความปฏิวัติพลังงาน ต้องไม่ถูกเพิกเฉยและควรที่จะถูกส่งไปยังผู้ใช้และนักลงทุนเหล่านั้น วันนี้ผู้ก่อตั้ง Facebook และซีอีโอ Mark Zuckerberg ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าบริษัทผู้นำไอทีต่างๆ ก็ควรจะทำ
ประสิทธิภาพ ในการใช้พลังงานเป็นสิ่งสำคัญ แต่การปฏิวัติพลังงานเพื่อปกป้องโลก เรายังจำเป็นต้องอัพเกรดในเรื่องพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ใครจะเป็นรายต่อไป ?

ลงมือทำ






 

Create Date : 17 ธันวาคม 2554   
Last Update : 17 ธันวาคม 2554 12:17:18 น.   
Counter : 963 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com