กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

วันปลอดรถ ลดโลกร้อน Bangkok Car Free Day

กรุงเทพฯ, 22 กันยายน 2550 - กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ปั่นจักรยานรณรงค์ลดโลกร้อนในวันคาร์ฟรีเดย์ (Car Free Day) เพื่อร่วมกันรณรงค์พร้อมกันทั่วโลก ในการลดการใช้พลังงาน ลดมลพิษ เพื่อนำไปสู่การลดปัญหาโลกร้อน ตามเส้นทางสายมังกร จากสนามศุภชลาศัยไปยังศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และขี่กลับมายังสนามศุภชลาศัย รวมระยะทาง 12.5 กิโลเมตร อาสาสมัคร ผู้บริจาค และเจ้าหน้าที่ของกรีนพีซ 113 คน พร้อมวีเจชลลี่ แห่งสไมล์ทีวี และปุ้ม ดลรส จากภาพยนตร์เรื่องสวยลากไส้ เป็นนักแสดงอาสา ที่มาร่วม ขี่รณรงค์ปลุกจิตสำนึกการประหยัดพลังงาน เพื่อหยุดโลกร้อน ตลอดเส้นทาง

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดงาน โดยมีผู้นำจักรยาน 1221 คัน เข้าจัดรูปขบวนเป็นแผนที่ประเทศไทย ความยาว 75 เมตร กว้าง 45 เมตร ภายในสนามศุภชลาศัย ก่อนเคลื่อนขบวนรณรงค์จักรยานความยาวกว่า 500 เมตร ผ่านเส้นทางสายมังกร (เยาวราช) สู่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และเคลื่อนขบวนกลับสนามศุภชลาศัย ในเวลา 12.00 น. ในช่วงบ่ายเป็นภาคงานนิทรรศการ กรีนพีซเปิดคลินิกโลกร้อน ตรวจสอบการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนบุคคล และให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับโลกร้อน






-----

1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้
2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

-----

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : www.greenpeace.or.th




 

Create Date : 26 กันยายน 2550   
Last Update : 26 กันยายน 2550 16:21:02 น.   
Counter : 1519 Pageviews.  


มาเป็นอาสาสมัครกรีนพีซเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกกันเถอะ



ร่วมเป็นอาสาสมัคร

คุณเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้ เพียงร่วมกันเป็นพลังขับเคลื่อนพร้อมกับกรีนพีซ
พลังของคุณ ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นได้ทุกนาที


สมัครเป็นอาสาสมัครกรีนพีซ
มีงานอาสาที่กรีนพีซรอคุณอยู่มากมาย
เพียงสละเวลาไม่ว่าจะวันธรรมดาหรือวันหยุด
คุณจะได้ประสบการณ์ชีวิตอันยิ่งใหญ่
งานง่ายๆ ตั้งแต่ติดซองจดหมายส่งข่าวสิ่งแวดล้อม
ไปจนถึงร่วมลงเรือกรีนพีซไปรณรงค์ยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก

อาสาสมัครทุกคนจะได้รับการฝึกอบรมการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี
เพื่อก้าวสู่การเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมตัวจริง
เพื่อนของเราหลายคนเริ่มงานที่กรีนพีซ จากการเป็นอาสาสมัคร

ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยปกป้องโลกได้ทุกวัน สิ่งเล็กๆ ที่คุณทำในวันนี้ ย่อมก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ในอนาคต เพียงช่วยกันปฎิบัติต่อโลกอย่างอ่อนโยน

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระ ทำงานรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวทางการเผชิญหน้าอย่างสร้างสรรค์ และด้วยสันติวิธิ เพื่อเปิดโปงปัญหาสิ่งแวดล้อม และนำเสนอแนวทางแก้ไขที่จำเป็นต่ออนาคตที่ยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

สนใจสมัครเป็นอาสาสมัคร โปรดติดต่อ 081 935 3327 หรือที่ bubpachart@th.greenpeace.org





<




 

Create Date : 25 กันยายน 2550   
Last Update : 25 กันยายน 2550 11:05:02 น.   
Counter : 1180 Pageviews.  


กรีนพีซเชิญร่วมประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ“วิกฤติน้ำ วิกฤติชีวิต”



กรีนพีซ องค์กรรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมรณรงค์แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยส่งภาพถ่ายเข้าประกวดภายใต้หัวข้อ "วิกฤติน้ำ วิกฤติชีวิต"



วัตถุประสงค์
1. ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหามลพิษทางน้ำที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
2. สนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดปัญหามลพิษทางน้ำและผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
3. กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกและรับผิดชอบต่อการก่อปัญหามลพิษทางน้ำ
4. เพื่อนำผลงานต่างๆที่ได้รับคัดเลือกไปจัดแสดง รวมถึงกิจกรรมรณรงค์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง

การประกวดภาพถ่าย
ในหัวข้อ “วิกฤติน้ำ วิกฤติชีวิต” ลักษณะของภาพถ่ายจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงวิกฤติปัญหาของแหล่งน้ำกินน้ำใช้หรือแหล่งน้ำธรรมชาติที่ถูกกระทำย่ำยีโดยกิจกรรมมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆที่ขาดความรับผิดชอบ จนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นภาพถ่ายที่นำเสนอยังสามารถขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ถ่ายที่ต้องการถ่ายทอดเรื่องราวในลักษณะอื่นๆ หรือนำเสนอเป็นเชิงสัญลักษณ์ที่สามารถสื่อถึงหัวข้อประกวดได้ โดยทุกเหตุการณ์ที่บันทึกภาพจะต้องเกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น

กลุ่มเป้าหมาย
1. กลุ่มช่างถ่ายภาพ
2. กลุ่มเยาวชนไทย
3. ประชาชนทั่วไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. มูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว (กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
2. สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ภ.ท.)

ประเภทของภาพถ่าย
ภาพถ่ายฟิล์มสี-ฟิล์มขาวดำ, Digital

ผู้มีสิทธิ์ส่งภาพเข้าประกวด
ประชาชนคนไทยทั่วไปและชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทย

เงื่อนไขข้อกำหนดในการส่งภาพภาพถ่ายเข้าประกวด
1. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดสามารถถ่ายภาพโดยใช้ได้ทั้งกล้องบรรจุฟิล์มและกล้องดิจิตอล
2. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดเป็นภาพสี-ขาวดำ ขนาดของภาพ 10x12 นิ้ว บวก-ลบได้ไม่เกิน 2 นิ้ว (ภาพที่เกินกว่าขนาดที่กำหนดจะไม่ได้รับการพิจารณาตัดสิน) พร้อมทั้งส่งฟิล์มหรือ Digital File Jpeg Large ที่มีคุณสมบัติ High Resolution ไม่ต่ำกว่า 300 dpi โดยบันทึกลงแผ่นซีดี มาพร้อมภาพถ่ายผลงานที่เข้าร่วมประกวด และฟิล์มหรือแผ่นซีดีจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรีนพีซ
3. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ห้ามตกแต่งภาพจนเกินจากความเป็นจริง
4. ส่งผลงานภาพถ่ายเข้าประกวดได้ท่านละไม่เกิน 10 ภาพ (ไม่ต้องติดการ์ดและกรอบใดๆทั้งสิ้น)
5. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ผู้ส่งจะต้องเขียนชื่อภาพ ชื่อสถานที่ในภาพ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ของผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดอย่างชัดเจนในใบสมัครที่กำหนด และผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดจะต้องเป็นผู้ถ่ายภาพที่ส่งเข้าประกวดด้วยตนเอง
6. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด กรีนพีซมีสิทธิ์คัดเลือกนำไปจัดแสดงในที่ต่างๆ และมีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานในสูจิบัตร เอกสารสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสารสนเทศทุกประเภทและกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ

การพิจารณาคัดเลือกและตัดสินภาพถ่าย
คณะกรรมการตัดสินภาพจะพิจารณาจากคุณค่าของผลงานเป็นหลัก คณะกรรมการมีสิทธิ์กำหนดวิธีการตัดสิน การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินจะพิจารณาคัดเลือกเฉพาะผลงานที่มีคุณภาพเหมาะสมเข้าร่วมแสดง

คณะกรรมการตัดสิน
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์
2. อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง
3. ดาว วาสิกศิริ
4. Von Hernandez (Campaign Director, Greenpeace SEA)
5. John Novis (Photo Editor, Greenpeace International)

รางวัล
รางวัลชนะเลิศ
จำนวน 1 รางวัล
เงินรางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
จำนวน 1 รางวัล
เงินรางวัล รางวัลละ 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
จำนวน 1 รางวัล
เงินรางวัล รางวัลละ10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลชมเชย
จำนวน 10 รางวัล
เงินรางวัล รางวัลละ 4,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

กำหนดการส่งผลงานภาพถ่าย
ทางไปรษณีย์หรือด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 21 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2550 (ตัดสินภาพ 7 ธันวาคม 2550)
ส่งถึง ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ
มูลนิธิเพื่อสันติภาพเขียว (กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

138/1 ชั้น 2 อาคารทอง ถนนสุทธิสาร
สามเสนใน พญาไท กทม. 10400
โทร 02-357-1921 โทรสาร 02-357-1929

วันจัดแสดงภาพและสถานที่จะแจ้งให้ทราบหลังประกาศผลตัดสิน

________________________________________

ผู้ถ่ายภาพ .....................................................



ติดสำเนาบัตรประชาชนที่นี่



ที่อยู่.................................................
รหัสไปรษณีย์.................

โทรศัพท์....................

E-mail....................................


สิ่งที่แนบมาด้วย
__ซีดี
__ฟิล์ม
ชื่อภาพ..............................................
สถานที่..............................................
ภาพที่...............................................

**ใช้แบบฟอร์มนี้ติดด้านหลังภาพทุกภาพ**
________________________________________


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเข้าไปที่ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้




 

Create Date : 25 กันยายน 2550   
Last Update : 25 กันยายน 2550 10:46:30 น.   
Counter : 1474 Pageviews.  


ออสเตรเลียและสหรัฐไม่สนใจสนธิสัญญาเกียวโต สร้างความไขว้เขวด้วยสิ่งอื่น

เมื่อวันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2550 กรีนพีซ พร้อมทั้งกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอื่นๆ จัดงานแถลงข่าวขึ้นด้านหน้าศูนย์สื่อมวลชนนานาชาติ 30 นาทีหลังจากนายจอห์น โฮเวิร์ดเสร็จสิ้นการแถลงการณ์เกี่ยวกับการเจรจาเพื่อลดสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่การประชุมเอเปค

กรีนพีซตอบโต้ว่าคำประกาศแห่งซิดนีย์ที่เอเปคเป็นการทำให้ประชาชนไขว้เขว เพราะหากปราศจากเป้าหมายที่มีข้อผูกมัดทางกฎหมายแล้ว "การสร้างความไขว้เขวแห่งซิดนีย์" ก็ไม่เกี่ยวข้องและไร้ความหมายในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้
2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

กรีนพีซ เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้

=====

On September 8, 2007, afternoon, Greenpeace along with other environmental groups held a press conference in front of the international media center, 30 minutes after John Howard's statement that climate change negotiations have ended at the APEC.

Greenpeace slammed the APEC Sydney Declaration as a Distraction. With no legally-binding targets, the "Sydney Distraction" is irrelevant and meaningless in addressing climate change.

1: Donate Now - Help Greenpeace Take a Stand. Become a Member Today.

2: Take Action - Become a member of the Greenpeace cyberactivist community

3: Volunteer - There is a lot to be done when protecting the planet for future generations and help is always welcome.

Greenpeace Southeast Asia




 

Create Date : 13 กันยายน 2550   
Last Update : 13 กันยายน 2550 18:55:00 น.   
Counter : 1038 Pageviews.  


ออสเตรเลียและสหรัฐไม่สนใจแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

ออสเตรเลียและสหรัฐไม่สนใจแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

เป็นเรื่องชัดเจนว่า ประเทศจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยจะไม่ยอมถูกกดดันให้ต่อต้านพิธีสารเกียวโต

ประเทศเหล่านี้ได้ลงนามในพิธีสารเกียวโตเรียบร้อยแล้ว และระลึกเป็นอย่างดีว่าในอนาคตพวกเขาจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และใช้ทางออกที่แท้จริง เช่น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและพลังงานหมุนเวียน

เป็นเรื่องที่น่าเย้ยหยันที่รัฐบาลของประเทศเช่นออสเตรเลียกำลังเร่งให้ใช้ทางออก เช่น ถ่านหิน ซึ่งเป็นอาชญากรโลกร้อนอันร้ายกาจ โดยผลักดันให้กับประเทศกำลังพัฒนาอย่างฟิลิปปินส์ ซึ่งติเตียนประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ว่าทำให้คำประกาศเรื่องสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงต้องชะงักอยู่กับที่

จอห์น โฮเวิร์ด และ จอร์จบุชมีความน่าเชื่อถือน้อยมากในเรื่องนี้ที่การประชุมเอเปค (องค์กรความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค) โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลของ 2 ประเทศนี้ใช้เวลานับทศวรรษในการทำลาบข้อตกลงเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อนลงอย่างลับๆ ทีละน้อย

ทั้งโฮเวิร์ดและบุชควรเลิกกดดันผู้นำเอเปคให้รับรองข้อตกลงนานาชาติฉบับใหม่ที่เป็นทางเลือกของสนธิสัญญาเกียวโต

หากโฮเวิร์ดและบุชจริงใจในการแก้ปัญหาโลกร้อน ทั้ง 2 รัฐบาลก็ควรให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต และจัดตั้งเป้าหมายที่ผูกมัดตามกฎหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์

กรีนพีซ 7 กันยายน 2550

-------------


เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา นักกิจกรรมกรีนพีซ 12 คน ถูกจับกุมหลังเปิดโปงเนื้อหาการประชุมที่แท้จริงของการประชุมเอเปค นั่นก็คือ การที่ออสเตรเลียผลักดันให้มีการส่งออกถ่านหิน และเมื่อวันพุธและเมื่อวานนี้นักกิจกรรมกรีนพีซก็ได้ทำกิจกรรมเรียกร้องให้ออสเตรเลียให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต

ผู้นำเอเปคจะลงนามในคำประกาศแห่งซิดนีย์หรือไม่ เมื่อพิจารณาจากร่างคำประกาศที่รั่วไหลออกมาแล้ว ไม่มีการกล่าวถึงพิธีสารเกียวโตหรือเป้าหมายผูกมัดอย่างถูกกดหมายเพื่เอลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้

-------------

1. ร่วมบริจาค โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้
2. ลงมือทำ เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
3. เป็นอาสาสมัคร มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

----------

STATEMENT SEPTEMBER 7, 2007

It is very unusual during an APEC meeting for discussions on a declaration to under go a debate. Currently, discussions on the APEC Climate Change declaration went till 8pm last night and discussions will begin again at 2pm.

Clearly, countries such as China, Indonesia, Malaysia, Philippines and Thailand will not agree to being pushed into an anti-Kyoto agreement in Sydney.

These are the countries who have already signed up to Kyoto, with the full realization that in the future they will need to reduce their green house gas emissions and embrace real solutions such as energy efficiency and renewable energy.

It is ironic that a government such as Australia who is peddling false solutions such as coal, a climate culprit, to developing countries such as the Philippines is also blaming developing nations for the deadlock on the APEC Climate Change Declaration.

John Howard and George Bush have very little credibility on the issue at the APEC specially that both governments spent a decade undermining global agreements to combat climate change.

Both Howard and Bush should just give up pushing at the APEC for a new international agreement that is alternative to Kyoto.

If Howard and Bush are sincere in addressing the issue of climate change, both governments should ratify Kyoto and set legally-binding targets to reduce green house gas emissions.


Last Sunday, 12 activists were arrested and given absurd bail conditions after exposing the true agenda of APEC which is Australia Pushing Export Coal. The team challenged the restrictions last Thursday and all the bail conditions were thrown out by the court.

---------

Last Wednesday, Greenpeace polar bears paraded ice heads of John Howard and George Bush at key sites of Sydney such as the Sydney Harbor, Bondi Beach and the Central Train Station. The bears held messages urging Australia and US government to Ratify the Kyoto Protocol.

Yesterday, activists staged a satire on nuclear barrels and wind turbine costumes battling for Putin and Howard's attention. Climbers also hanged a banner in one of the buildings along Darling Harbor which said Australia Pushing Export Coal. Below is the statement I delivered during the press conference on how the APEC Sydney Declaration is met by skepticism by developing nations.

Today, APEC will leaders sign the Sydney Declaration. Based on a leaked draft from late last night, there is no mention of Kyoto or legally-binding targets.
This is unacceptable.











 

Create Date : 10 กันยายน 2550   
Last Update : 10 กันยายน 2550 18:20:32 น.   
Counter : 1013 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com