กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

ขอเชิญร่วมกิจกรรม มหกรรม ‘ปฏิวัติพลังงาน’ เพื่อสนับสนุนกฎหมายพลังงานหมุนเวียนฉบับแรกของไทย

มหกรรม ‘ปฏิวัติพลังงาน’
วันที่ 1-18 สิงหาคม 2555  
เวลา 10.00-12.00 และ 15.00-20.00 น.
ณ ลานพลาซ่า ราชมังคลากีฬาสถาน หัวหมาก

รู้จักกับ ‘โดมกู้วิกฤตโลกร้อน’

เป็นอาคารทรงกลมสูง 12 เมตร จุดเด่นคือ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนใช้ได้เอง
อย่างพอเพียงตลอดทั้งกิจกรรมโดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าจากแหล่งภายนอก ไฟฟ้าที่ได้ผลิตมาจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์และกังหันลมที่ติดตั้งมาพร้อมกับตัวโดม กรีนพีซใช้โดมนี้ในงานรณรงค์ด้านพลังงานในหลายประเทศ
ถือเป็นอาคารต้นแบบที่ใช้พลังงานที่ไม่ทำลายสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม


ภายในโดมประกอบด้วย

•    นิทรรศการภาพถ่ายเกี่ยวกับการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพในประเทศต่างๆ
•    มุมรับแขก พร้อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านจากพลังงานหมุนเวียน เช่น หลอดไฟ พัดลม ตู้กดน้ำร้อนน้ำเย็น กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เครื่องต้มกาแฟ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์
•    รับรู้ข้อมูลเรื่องกฎหมายพลังงานหมุนเวียนผ่าน Info graphic
พบกับ
•    คอนเสิร์ตปฏิวัติพลังงาน เป็นการรวมพลังศิลปินบนเวทีโดมกู้วิกฤตโลกร้อนที่ใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนตลอดทั้งคอนเสิร์ต ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 4, 11, 12 และ 18 ส.ค. โดย สิงโต นำโชค, เครสเชนโด้, Playground, Diamond วงดนตรีคนตาบอด, สุนทรี เวชานนท์, ลานนา คัมมินส์, ทอดด์ ทองดี, ฟุตบาธแฟมิลี่, ศักดิ์สิริ มีสมสืบ, พิบูลศักดิ์ ละครพล และผองเพื่อนมาชารี พร้อมร่ายกวีโดยกวีซีไรต์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์
•    เวทีเสวนา “อาบแดด ตากลม ดมขี้ คลุกคลีกากพืช กับกฎหมายพลังงานหมุนเวียน” โดย ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ ชุมชนเครือข่าย และนักคิดนักเขียน
-    ลานสาธิตพลังงานหมุนเวียนจากเครือข่ายต่างๆ เช่น เตาชีวมวล จากกลุ่มเกษตรกรบ้านดอนผิงแดด จ.เพชรบุรี,  ระบบผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋ว จากกลุ่มคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช, จักรยานผลิตไฟฟ้า จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.รังสิต

ช่วยกัน

•    รณรงค์ออนไลน์บนรถพลังงานแสงอาทิตย์ของกรีนพีซ เพื่อร่วมปฏิวัติพลังงานผ่านกฏหมายพลังงานหมุนเวียน
•    ปั่นจักรยานกำเนิดไฟฟ้า เพื่อต่อไฟไปใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น พัดลม, เครื่องชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ, ป้ายไฟ “Go Renewable”
•    Upload ภาพถ่ายในงาน หัวข้อ “ฉัน (เรา) กับพลังงานหมุนเวียน” ผ่าน social network เพื่อเชิญชวนให้เพื่อนๆ เข้าร่วมงานปฏิวัติพลังงานกันทุกวัน
•    ทำดินสอกังหันลมจิ๋ว เพื่อเป็นที่ระลึกการร่วมปฏิวัติพลังงาน

ร่วมกันรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์

  • เราต้องการพลังเสียงจากคนไทยอย่างน้อย 55,555 คน ร่วมลงชื่อเพื่อสนับสนุนกฎหมายพลังงานหมุนเวียนฉบับแรกของไทย
  • ร่วมติดป้าย "ปฏิวัติพลังงาน" ที่รูปโปรไฟล์ Facebook หรือ Twitter เพื่อแสดงพลังสนับสนุนกฎหมายพลังงานหมุนเวียนฉบับแรกของไทย




 

Create Date : 31 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 31 กรกฎาคม 2555 15:52:30 น.   
Counter : 1995 Pageviews.  


แผนพลังงานติดบ่วง

โดย จริยา เสนพงศ์

“ผมขอโทษประชาชนว่าไม่สามารถทำได้ในทางปฎิบัติ เพราะมีอะไรเข้ามาอย่างรวดเร็ว มีคำสั่งมาตอนเย็นประชุมตอนเช้า ผมไม่เคยปิดข้อมูล เพียงแต่ว่ามอง 2 ระดับได้ไหม คือ หากลงพื้นที่ค่อยทำให้เกิดการยอมรับของประชาชน”

“ครม.เห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงาน ผมไม่ได้ปฏิเสธมติครม. ผมแค่เอามา 20 เปอร์เซ็น”

เหล่านี้คือคำขอโทษและคำชี้แจงจากหน่วยงานด้านการวางแผนพลังงานของประเทศไทยในเวทีสัมมนาระดมความคิดเห็นการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี 2010 ปรับปรุงครั้งที่ 3) เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา และเร่งรัดให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อนุมัติภายในวันศุกร์นี้ เพื่อให้แผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าของประเทศมีผลบังคับใช้ให้เร็วที่สุด

บ่วงที่ผูกมัดคนไทยให้แบกรับภาระจากความพิการของกระบวนการจัดทำแผนพลังงานที่ขาดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเหมือนกันในทุกฉบับที่ผ่านมา จึงไม่แปลกที่ผลมักจะลงเอยกับผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจทุนผูกขาดด้านพลังงาน ครั้งนี้ดูเหมือนจะเป็นการกลับชาติมาเกิดของแผนพีดีพีครั้งก่อน โดยมีการเร่งรีบรวบรัดเปิดเวทีรับความคิดเห็นจากประชาชนในการจัดทำแผนพีดีพี คือให้เวลาเพียง 5 วัน คือในวันอังคารที่ 5 มิถุนายนที่มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และเสนอให้ฯพณฯนายกรัฐมนตรีอนุมัติภายในวันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน โดยการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนได้ถูกจัดขึ้นเฉพาะกรุงเทพฯ ส่วนคนไทยอีก76จังหวัดที่เหลือ หน่วยงานภาครัฐจะแจ้งให้ประชาชนทราบเมื่อจังหวัดเหล่านั้นเป็นพื้นที่ศึกษาและเป้าหมายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม แต่ในเบื้องต้นให้ถือว่าประชาชนทั้งประเทศเห็นด้วยกับแผนพลังงานฉบับนี้แล้วอีกทั้งการพิจารณาอนุมัติแผนพีดีพีทั้งครั้งก่อนและครั้งนี้ถูกเร่งรัดพิจารณาระหว่างความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นเช่นกัน เพียงแต่แค่เปลี่ยนผู้เล่นเท่านั้นเอง 


คำขอโทษของหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงพลังงานในวันนั้น จึงกำลังรัดคอคนไทยทุกคนด้วยโซ่ที่เรียกว่า “ประชาชนยอมรับโดยปริยาย” ทั้งๆที่การจัดทำแผนพลังงานของประเทศครั้งนี้เป็นการไม่เคารพสิทธิในข้อมูลข่าวสารตามความในมาตรา 56-57 และแนวนโยบายด้านการมีความมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรา 87 และการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปีพ.ศ. 2550 และขัดแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีของ ฯพณฯ นายกยิ่งลักษณ์เอง ที่ได้เห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2554 ซึ่งระบุถึงศักยภาพในการประหยัดพลังงานของประเทศได้ถึง 17,470 เมกะวัตต์ แต่กลับนำมาใช้ในแผนพีดีพีฉบับนี้เพียงแค่ร้อยละ 20 หรือเพียงแค่ 3,494 เมกะวัตต์ ทั้งๆที่หากนำส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 80 มาใช้ในแผนนั้น เราจะสามารถลดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จะต้องเพิ่มขึ้นได้ถึง 14 โรงจากแผนทั้งหมดทั่วประเทศ 55 โรง โดยจะสามารถทดแทนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 4 โรง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 2 โรงและโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติอีก 8 โรง ซึ่งแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีก็เป็นที่ยอมรับกันทุกภาคส่วน แม้แต่รัฐบาลเองก็เป็นผู้เห็นชอบมาตั้งแต่ต้นเพราะเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุดและไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน


แต่หากในวันศุกร์นี้ ฯพณฯ นายกยิ่งลักษณ์ในฐานะประธานกพช.เห็นชอบกับกระบวนการจัดทำแผนพลังงานที่พิการดังกล่าว บ่วงพลังงานที่รอรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์มาแก้ปัญหาก็ยากที่จะปลด ประชาชนก็คงจะต้องแบกรับกรรมภาระจ่ายค่าไฟฟ้าสูงขึ้นจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและก๊าซที่เป็นธุริกิจผูกขาด และผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่จะตามมาจากโครงการโรงไฟฟ้าสกปรกที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่สีเขียวหรือแหล่งอาหารของคนไทย

ที่มา : //www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/energy-is-a-snare/blog/40836/

edit @ 9 Jun 2012 17:03:32 by กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้




 

Create Date : 09 มิถุนายน 2555   
Last Update : 9 มิถุนายน 2555 17:18:41 น.   
Counter : 1320 Pageviews.  


ผู้พันแซนเดอร์ ในป่าไม้อินโดนีเซียที่ถูกทำลาย

ที่มา : //www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/kfcs-chainsaw-colonel-visits-indonesian-rainf/blog/40734/

เมื่อคิดถึง KFC หลายคนมักจะนึกถึงกล่องใส่ไก่ทอด KFC แต่ปัญหาของมันคืออะไรล่ะ ทำไม KFC ถึงเกี่ยวข้องกับประเทศอินโดนีเซียเป็นพิเศษ และทำไมกรีนพีซในอินโดนีเซียจึงจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้าน KFC เมื่อวันพุธที่ผ่านมา 

KFC เป็นหนึ่งในบริษัทอาหารฟาสฟู้ดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีสาขามากกว่า 400 แห่ง และยังมีโอกาสเติบโตและขยับขยายเป็น 1,000 แห่งภายในปี 2558 ซึ่งนั่นหมายความว่าป่าไม้ของเรามีโอกาสถูกตัดทำลายมากขึ้น

ในความเป็นจริง ในอินโดนีเซียมีร้าน KFC มากกว่าเสือสุมาตราที่เหลืออยู่เสียอีก และที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้น การจัดซื้อกระดาษเพื่อทำบรรจุภัณฑ์อาหารของ KFC ยิ่งส่งผลกระทบให้เสือสุมาตราที่มีจำนวนน้อยอยู่แล้วนั้น มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้นไปอีก

KFC ใช้กระดาษที่มาจากการตัดไม้ในป่าฝนเขตร้อนในประเทศอินโดนีเซียเพื่อผลิตเป็นหีบห่อบรรจุอาหารและกระดาษเช็ดปาก สุดท้ายแล้วป่าฝนที่เป็นแหล่งขุมทรัพย์ของอินโดนีเซียกลับลงเอยที่การเป็นเศษขยะในร้าน KFC ซึ่งถ้า KFC ยังคงซื้อกระดาษจากบริษัท Asia Pulp and Paper (APP) ที่เป็นตัวการหลักในการตัดไม้แล้ว เสือสุมาตราและป่าไม้ในอินโดนีเซียก็ยังคงต้องเผชิญกับปัญหานี้อย่างไม่รู้จบ

เมื่อวันพุธที่ผ่านมากรีนพีซอินโดนีเซียจึงได้นำกล่องใส่อาหารของ KFC ขนาดใหญ่ไปวางไว้ในพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนที่ถูกทำลาย พร้อมกับนักกิจกรรม 2 คนที่แต่งตัวเป็นเสือสุมาตรา

โดยป่าไม้ในบริเวณนี้เพิ่งถูกตัดทำลายไปโดยบริษัท APP เพื่อนำไม้ไปใช้ทำกระดาษ ตอบสนองความต้องการของลูกค้ารายหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ KFC

พื้นที่ป่าพรุแห่งนี้อยู่ใน Senepis เกาะสุมาตรา ในปี 2547 ที่ผ่านมาสำนักงานป่าไม้ได้เสนอให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์เสือใน Senepis เนื่องจากเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์เสือสุมาตราในพื้นที่แห่งนี้

แต่บริษัทจัดหาวัตถุดิบของ APP สองแห่ง ซึ่งได้แก่ PT RUJ – Main Jaya และ PT RUAS SGP – Suntara Gaja Pati กลับทำสวนทางโดยได้ตัดไม้บางส่วนในพื้นที่ด้านในของเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า

ภาพถ่ายเหล่านี้ได้อธิบายทั้งหมด พื้นที่ป่าฝนที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ได้ระบุไว้ในแผนที่ว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของเสือสุมาตรานั้นได้ถูกทำลายไปแล้ว

และแม้ว่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจนซึ่งระบุไว้ในรายงาน “เคเอฟซีเปลี่ยนป่าฝนเขตร้อนให้เป็นขยะได้อย่างไร” แต่ KFC ก็ยังคงปฏิเสธว่าไม่มีความเกี่ยวโยงกับบริษัททำลายป่าอย่าง APP หรือบางทีผู้บริหารของ KFC ควรหาเวลาอ่านข้อความบนกล่องอาหารของตัวเองให้มากกว่านี้?

ทีมวิจัยของกรีนพีซได้ลงพื้นที่สำรวจร้าน KFC ในอินโดนีเซีย และได้พบว่ากล่องกระดาษเช็ดปากของ KFC มีโลโกของโรงงานผลิตสินค้าของ APP ปรากฏอยู่อย่างชัดเจน

และแน่นอน APP ได้พยายามเบี่ยงประเด็นเช่นเคย

ที่จริงแล้ว “ไม้เนื้อแข็งผสมโซนเขตร้อน หรือ Mixed Tropical Hardwood อยู่ในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้อยู่ทุกวัน” ดังนั้นจึงค่อนข้างไม่ยุติธรรมเลยที่ APP ตกเป็นเป้าหมายแต่เพียงผู้เดียว แต่มันก็เป็นข้อเท็จจริงที่น่าเศร้าที่เยื่อไม้จากป่าฝนเขตร้อนนี้อยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ของ APP ทั้งที่ๆมันไม่ควรเป็นเช่นนั้นและไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้น 

APP ชี้แจงว่าเยื่อไม้ที่ APP นำมาใช้นั้นเป็นไม้ “เหลือทิ้ง” หรือเป็นเยื่อไม้รีไซเคิล แต่คำถามคือ APP จะอธิบายภาพการทำลายป่าที่เราเห็นได้อย่างไร เพราะนั่นได้แสดงที่มาของไม้ที่ APP นำไปใช้ได้อย่างชัดเจน

พวกเรา ชาวอินโดนีเซีย ไม่ควรถูกบังคับให้เลือกระหว่างการปกป้องเสือและป่าไม้ กับ การซื้ออาหารของ KFC สำหรับเรา เสือสุมาตราเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศและยังเป็นตัวแทนถึงความกล้าหาญ ถ้า KFC ต้องการชนะใจชาวอินโดนีเซียแล้ว เขาควรจะแสดงความกล้าหาญโดยการยกเลิกสัญญากับบริษัท APP

KFC จะต้องมีนโยบายใหม่ที่สร้างความมั่นใจได้ว่าการจัดซื้อจัดหาแหล่งกระดาษไม่มีความเชื่อมโยงกับการทำลายป่าฝนเขตร้อนและถิ่นที่อยู่ของเสือ

โชคดีที่พวกเราไม่ได้ลงมือทำเพียงกลุ่มเดียว ผมขอขอบคุณทุกคนทั่วโลกที่ได้ร่วมมือรณรงค์กับเรา ขอบคุณที่ร่วมผลักดันให้เสียงของป่าไม้และเสือสุมาตราได้ยินไปถึงผู้ที่พยายามรุกรานพวกเขา หากคุณยังไม่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ครั้งนี้ ก็สามารถทำได้โดยการบอกให้ KFC เปลี่ยนพฤติกรรมการทำลายป่าและไม่เพิกเฉยต่อสิ่งที่ตนเองได้ทำลงไป

ร่วมรณรงค์ได้ที่นี่เลยครับ




 

Create Date : 02 มิถุนายน 2555   
Last Update : 2 มิถุนายน 2555 1:05:46 น.   
Counter : 2470 Pageviews.  


แคมเปญ KFC ในทั่วโลก

Blogpost โดย บุสตาร์ ไมทาร์

สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นการรณรงค์ล่าสุดของกรีนพีซทั่วโลกที่ร่วมบอก KFC ให้หยุดพฤติกรรมการทำลายป่าฝนเขตร้อน โดยเลิกใช้กระดาษที่มาจากการทำลายป่าในห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์

นักกิจกรรมกรีนพีซได้ร่วมกันส่งข้อความถึง KFC ในขณะที่ผู้คนหลายหมื่นทั่วโลกได้ร่วมกันหยุดสูตรลับทำลายป่าฝนของ KFC

ทีมสืบสวนของเราได้พบข้อมูลว่า KFC ใช้เยื่อไม้จากป่าฝนในกล่องบรรจุภัณฑ์อาหาร ที่ใช้ในประเทศอังกฤษ จีน และอินโดนีเซีย และยังพบว่า KFC ใช้กระดาษจากบริษัท Asia Pulp and Paper หรือ APP ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกับที่กรีนพีซเปิดโปงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่ามีไม้ผิดกฎหมายในห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท

การรณรงค์ครั้งนี้เริ่มขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท KFC และ Yum! (ซึ่งคนมักเรียกสำนักงานแห่งนี้ว่า “ทำเนียบขาว”) โดยนักกิจกรรมกรีนพีซได้แขวนแบนเนอร์ขนาดใหญ่เพื่อส่งข้อความถึงผู้บริหาร KFC แต่สุดท้ายกลับได้รับคำตอบที่แตกต่างกันจากแต่ละแผนกของบริษัท โดย Yum! อ้างว่าร้อยละ 60 ของกระดาษที่บริษัทใช้นั้นมาจาก แหล่งจัดหาวัตถุดิบที่ “ยั่งยืน” แต่ KFC กลับเพิ่มจำนวนตัวเลขดังกล่าวเป็นร้อยละ 80 ผ่านทางเฟสบุค ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือจากการชี้แจงข้อความที่ไม่สอดคล้องกัน สิ่งที่น่าคิดคือ KFC ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “แหล่งจัดหาวัตถุดิบที่ยั่งยืน”ว่าหมายถึงอะไร จึงไม่แปลกใจที่ทั้ง KFC และ Yum! ไม่มีนโยบายหรือมาตรฐานการสั่งซื้อกระดาษเลย คำว่า “ยั่งยืน” ที่ทางบริษัทใช้ จึงยังคงแล้วแต่การตีความของแต่ละคน 

ในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ KFC นักกิจกรรมกรีนพีซในชุดอุรังอุตังและเสือได้ออกไปเรียกร้องหน้าร้าน KFC ในกรุงปักกิ่ง พร้อมถือป้ายผ้าที่มีข้อความว่า “บ้านของเรา ไม่ใช่กล่องบรรจุอาหารของคุณ”

ที่ประเทศอังกฤษ นักกิจกรรมได้วางถังใส่อาหารของ KFC ขนาดใหญ่บนถนนในกรุงลอนดอน โดยเริ่มวางจากที่หน้าสำนักงานใหญ่ของ KFC แล้วเคลื่อนไปยังห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่บนถนน Oxford บนถังมีภาพผู้พันแซนเดอร์ถือเลื่อย และเสียงการตัดไม้ เพื่อย้ำเตือนผู้คนที่ผ่านไปมาถึงโศกนาฏกรรมการทำลายป่าฝนเขตร้อนของโลกเพื่อนำไปทำเป็นห่ออาหารที่กลายเป็นเศษขยะได้ทุกเมื่อ

KFC ในประเทศอังกฤษได้ออกมาตอบรับว่าบรรจุภัณฑ์ของเขาทั้งหมดมาจากแหล่งวัตถุดิบที่ยั่งยืน แต่คำถามที่เกิดขึ้นคือเขาจะอธิบายถึงเยื่อไม้ของป่าฝนในห่ออาหารของพวกเขาได้อย่างไร เพราะในรายงานการศึกษาของเราได้ระบุอย่างชัดเจนถึงความเชื่อมโยงที่ชัดเจนของ KFC (รวมถึง KFC ประเทศอังกฤษ) และบริษัททำลายป่ายักษ์ใหญ่อย่าง APP

ความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ไกลเกินเอื้อม ผู้คนมากมายได้ร่วมปกป้องป่าฝนของอินโดนีเซียจาก KFC แล้วและจำนวนนี้กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากคุณยังไม่ได้เข้าร่วมรณรงค์ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่รูปกล่องห่ออาหารของ KFC และแชร์ให้เพื่อนๆของคุณได้ทราบ หากการบอกต่อมีมากเท่าใด เราก็สามารถผลักดัน KFC ได้มากขึ้นเท่านั้น เพราะ KFC จะไม่สามารถเพิกเฉยต่อการเรียกร้องจากผู้บริโภคทั่วโลกที่ต้องการให้หยุดการทำลายป่าเพียงเพื่อนำไปผลิตเป็นเศษขยะได้

ร่วมกับเราและเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงสูตรลับทำลายป่าของ KFC ได้ที่นี่ครับ




 

Create Date : 29 พฤษภาคม 2555   
Last Update : 29 พฤษภาคม 2555 11:36:21 น.   
Counter : 2149 Pageviews.  


สูตรลับของ KFC: ทำลายป่าฝนเขตร้อน

ไม่ว่าคุณจะมีมุมมองต่ออาหารจานด่วนอย่างไร แต่คุณจะไม่มีวันเห็นด้วยที่ป่าฝนเขตร้อนต้องมาลงเอยที่การเป็นกล่องห่ออาหารที่กลายเป็นขยะ แต่สิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นจริง เมื่อ KFC ได้จัดซื้อกระดาษที่มาจากป่าฝนเขตร้อนในประเทศอินโดนีเซียจากบริษัท Asia Pulp & Paper หรือ APP เพื่อผลิตกล่องใส่อาหาร

ผู้พันแซนเดอร์ตัวจริงคงไม่ได้นึกว่าบริษัทที่เขาก่อตั้งในมลรัฐเคนตั้กกี้ ประเทศสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 2473 จะมีส่วนทำลายป่าฝนเขตร้อนในอีกฟากหนึ่งของโลก

แต่รายงานการศึกษาวิจัยของกรีนพีซสากลฉบับล่าสุด ที่มีชื่อว่า “KFC มีส่วนทำลายป่าฝนเขตร้อนได้อย่างไร” ได้ศึกษาไปถึงห่วงโซ่อุปทานของ KFC ทั้งหมดและพบว่ากระดาษบรรจุภัณฑ์ที่ KFC ใช้นั้นทำมาจากไม้ในป่าฝนเขตร้อน ที่ดำเนินการจัดหาโดยบริษัท APP โดย APP ได้นำไม้ดังกล่าวมาจากแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือสุมาตรา เมื่อสัปดาห์ก่อน APP ได้ประกาศสิ่งที่บริษัทเรียกว่า “ข้อตกลงใหม่เพื่อการปกป้องป่า” แต่ในความเป็นจริงพวกเขายังคงเดินหน้าทำลายป่าฝนเขตร้อนของอินโดนีเซียต่อไป

กรีนพีซได้เปิดตัวงานรณรงค์พร้อมกันทั่วโลกเพื่อชักชวน KFC และบริษัทแม่ที่มีชื่อว่า Yum! ให้หยุดการใช้วัตถุดิบที่มาจากการทำลายป่าในทั้งห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ เราได้ผลิตวิดิโอผู้พันแซนเดอร์และปฏิกิริยาของเขาหลังทราบว่าเบื้องหลังสูตรเด็ดของอาหารเขาคือการทำลายป่า 


ในขณะเดียวกัน นักกิจกรรมของเราได้ไปยืนอยู่หน้าสำนักงานใหญ่ของ KFC ที่ Louisville มลรัฐเคนตั้กกี้ เพื่อย้ำเตือนผู้บริหาร KFC ที่กำลังเดินเข้ามาทำงานในตอนเช้า ว่าพวกเขาไม่ควรนิ่งเฉยต่อเรื่องนี้ โดยนักกิจกรรมกรีนพีซได้ติดป้ายผ้าขนาดใหญ่พร้อมรูปเสือสุมาตรา ข้อความว่า “KFC หยุดทำลายบ้านเราเถอะ” ที่หน้าสำนักงาน นักกิจกรรมอีกกลุ่มยังได้ติดป้ายผ้าที่ตึกของบริษัท Yum! ด้วยข้อความเดียวกัน

KFC และ Yum! ไม่มีนโยบายที่ยั่งยืนเหมือนกับบริษัทอาหารฟาสท์ฟู้ดแบรนด์อื่นๆที่จะไม่ใช้กระดาษที่มาจากการทำลายป่าฝนเขตร้อน และยังเพิกเฉยต่อหลักฐาน หลังจากที่เราพยายามให้ทั้งสองบริษัทเปลี่ยนแหล่งจัดหาวัตถุดิบ ทั้งสองแห่งยังคงดำเนินการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า ทั้งๆที่ทั้งคู่จะต้องไม่หันหลังให้กับปัญหานี้อีกต่อไป หากยังคงต้องการให้เสือสุมาตราที่ใกล้สูญพันธุ์มีแหล่งที่อยู่อาศัยในผืนป่า

คุณสามารถร่วมกับเราเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ได้

เรารู้ว่า KFC และ Yum! สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของพวกเขาได้ ร่วมกันบอก KFC ว่าสูตรอาหารทำลายป่าจานนี้มันไม่ดีเลย ในตอนนี้ ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ตั้งแต่อินโดนีเซียถึงจีน ออสเตรเลียถึงอเมริกา และยุโรป ต่างต้องการให้ KFC ไม่เปลี่ยนผืนป่าของเราให้เป็นเศษขยะ

คุณสามารถร่วมกับเราในการเปลี่ยนนโยบายทำลายป่าของ KFC ได้ หลายวิธี
(บอกวิธีที่คนสามารถร่วมได้ เช่น พวกลิงค์ที่เราอยากให้เขาช่วยคลิกหรือช่วยบอกต่อ ฟอเวิดให้เพื่อน etc.)




 

Create Date : 26 พฤษภาคม 2555   
Last Update : 26 พฤษภาคม 2555 11:38:07 น.   
Counter : 2680 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com