กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

ความเสี่ยงมลพิษจากการกู้นิคมฯ จากน้ำท่วม


โดยธรรมชาติของน้ำแล้ว น้ำเป็นของเหลวที่มีคุณสมบัติที่สามารถชะล้างสิ่งต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นน้ำที่ท่วมไหลผ่านสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่ไร่นา ที่จะชะล้างเอาสารอินทรีย์และสารเคมีเกษตร ถนนและบ้านเรือนที่น้ำจะชะล้างเอาฝุ่น น้ำมัน ขยะและสิ่งปฏิกูล โรงงานอุตสาหกรรมที่นอกจากความสกปรกทั่วไปแล้ว ยังมีสารเคมีอันตราย ขยะและกากอุตสาหกรรมจากกระบวนการผลิต และกากตะกอนเคมีปริมาณมหาศาลที่อยู่ในบ่อบำบัดน้ำเสียได้ที่น้ำได้ชะล้างออก มา นอกจากนี้ยังมีท่อระบายน้ำในเมือง บ่อและที่ทิ้งขยะที่ล้วนเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคมากมาย น้ำท่วมครั้งนี้จึงย่อมนำพาสิ่งสกปรกทั้งหลายหรือสารมลพิษต่างๆ มาพร้อมกับน้ำ

หนึ่งในประเด็นที่ประชาชนกังวลเป็นอย่างยิ่งจึงหนีไม่พ้นสารพิษรั่วไหลจากโรงงานหลายแห่งที่ล้วนต้องจมอยู่ใต้น้ำ น้ำ ท่วมครั้งนี้ได้ทำให้มีโรงงานนับพันแห่งต้องจมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในนิคมทั้ง 7 แห่งคือ นิคมฯสหรัตนนคร นวนคร บ้านหว้า (หรือไฮเทค) บางปะอิน แฟคทอรี่แลนด์ โรจนะ และบางกระดี แม้กระบวนการป้องกันและการตรวจสอบของทั้งภาครัฐและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับมลพิษ ที่อาจปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมจากโรงงานที่ถูกน้ำท่วมยังไม่มีให้เห็นอย่าง เป็นรูปธรรม  ล่าสุดรัฐบาลยังประกาศภารกิจเร่งด่วนคือการกู้นิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม โดยเริ่มยกคันดินรอบนิคมฯ ให้สูงและแข็งแรงมากขึ้นเพื่อสูบน้ำออก


การดำเนินการกู้นิคมฯ ด้วยวิธีการสูบน้ำออกดังกล่าวได้สร้างความ วิตกกังวลและปัญหามลพิษต่อชุมชนรอบนิคมฯ ซึ่งมีอาชีพและความเป็นอยู่ที่หลากหลาย เช่น ทำนา ทำสวน และเป็นที่อยู่อาศัยของแรงงานและชุมชนดั้งเดิมที่อยู่มาช้านาน ซึ่งน้ำที่ถูกสูบออกจากโรงงานและนิคมฯ นั้นเป็นน้ำที่มีความสกปรก จากทั้งการที่ท่วมขังมานานและผ่านการชะล้างสารมลพิษต่างๆ ที่อยู่ในโรงงานและเครื่องจักรอุตสาหกรรม ชิ้นส่วน วัตถุดิบต่างๆ ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิต รวมทั้งการปนเปื้อนจากบ่อบำบัดน้ำเสียและเตาเผาสิ่งปฏิกูลต่างๆ สามารถผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย และเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษต่างๆ จนทำให้เกิดการเจ็บป่วยในระยะยาว


การสูบน้ำออกจากโรงงานยังเป็นการเพิ่มระดับน้ำให้กับชุมชนรอบนิคมฯ ถือเป็นการซ้ำเติมให้ชุมชนต้องแบกรับเพิ่มมากขึ้น บางชุมชนได้มีการรวมตัวพร้อมรายชื่อเสนอเพื่อให้โรงงานได้ชะลอการสูบน้ำออก ให้รอจนกว่าน้ำจะแห้งและควรดำเนินการโดยมีการปรึกษาหารือกับชุมชน ที่ สำคัญชุมชนขอให้มีการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำที่สูบออกมาปราศจากการปน เปื้อนจากสารเคมีและเชื้อโรค แต่ทางนิคมฯ ไม่ได้ให้ความสนใจต่อข้อเรียกร้องดังกล่าว แม้แต่รัฐบาลเองก็มิได้แถลงให้ชัดเจนว่าการกู้นิคมครั้งนี้มีหลักประกันใน การสร้างมาตรการความปลอดภัยให้กับชีวิต สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และมีระบบการทดแทนหรือเยียวยาอย่างไร ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างไร



ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐได้ตอบถึงความกังวลของภาคประชาชนเกี่ยวกับ ปัญหามลพิษที่จะเกิดขึ้นว่า จะยังคงให้สูบหรือปล่อยระบายน้ำทิ้งออกจากบริเวณนิคมฯไปก่อน และจะเฝ้าตรวจคุณภาพน้ำตามไป  หากมีปัญหาตรงไหนก็จะหามาตรการแก้ไขเป็นกรณีไป ซึ่งเป็นคำตอบที่ ไร้จิตสำนึกถึงความห่วงใยต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน ขยายปัญหาที่เป็นเฉพาะจุดและอยู่ในขอบเขตที่อาจควบคุมได้มาสู่เป็นปัญหา บริเวณกว้างนอกพื้นที่ของตน และซึ่งจะไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายปนเปื้อนได้ เป็นแนวทางที่ตรงข้ามกับแนวปฏิบัติที่เหมาะสมที่จะต้องมีการสำรวจว่ามลพิษใน บริเวณนิคมฯ ว่ามีมากน้อยเพียงใด มีสารเคมีประเภทใด บริเวณใดหรือโรงงานใดมีการใช้สารเคมีอันตรายและมีความเสี่ยง และควรกักเก็บไว้ก่อนเพื่อหาหนทางบำบัดให้ดีขึ้นก่อนจะปล่อยระบายออก นอกบริเวณ  นอกจากนี้ยังควรที่จะกักตะกอน ดักน้ำมัน และเก็บขยะทั้งอันตรายและไม่อันตรายออกก่อนที่จะปล่อยออกสู่ภายนอก

การ วิเคราะห์ถึงสารเคมีปนเปื้อนในน้ำนั้น จะต้องรู้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าบริเวณใดมีความเสี่ยงปนเปื้อนของสารเคมีชนิดใด และทำอย่างครบถ้วนและไม่ควรจำกัดวิเคราะห์เพียงชนิดสารที่กำหนดอยู่ใน มาตรฐานน้ำทิ้ง ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมและไม่ได้วิเคราะห์สารที่ไม่รู้ว่าอาจมีปะปนอยู่  ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกได้ว่ามีการปนเปื้อนหรือไม่และมีอยู่ในปริมาณมากน้อย เพียงใด

จากปัญหาดังกล่าว ตัวแทนจากภาคประชาชนและนักวิชาการ ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง “กู้นิคมอย่างไรให้ปลอดภัย” โดยมีข้อสรุปว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาทั้งในทางเทคนิคและปัญหาทางนโยบาย ซึ่งปัญหาทางนโยบายนั้นรัฐบาลควรมีแนวทางในการกู้นิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำ ท่วม ดังต่อไปนี้



  1. รัฐบาลควรเปิดเผยรายชื่อคณะกรรมการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้ประชาชนและภาคส่วนต่างๆได้ทราบว่ากรรมการเหล่านี้ประกอบด้วยใครบ้าง และกรรมการนี้ก็ควรมีตัวแทนมาจากหลายภาคส่วน และควรประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ เพราะการจัดการของเสียเป็นเรื่องทางเทคนิค

  2. ควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนทราบ และสื่อสารผ่านช่องทางสาธารณะโดยไม่ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก

  3. โรงงานทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรมที่กำลังจะถูกน้ำท่วม รัฐบาลควรเข้าไปแนะนำการป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีและของเสียอันตราย

  4. ควรมีการปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่เรื่องการแก้ปัญหาและการตัดสิน ใจที่ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้มีการกู้นิคมอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็วและประชาชนได้รับผลกระทบน้อย ที่สุด

  5. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่างๆควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งแม้หน่วยงานของรัฐเหล่านี้จะมีการตรวจสอบการจัดการของเสียของโรงงานตาม กฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ก็ต้องพิจารณาความสอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นกฎหมายสูงสุด

  6. รัฐบาลควรมีแนวทางบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมและคราบน้ำมันตามหลัก วิชาการอย่างชัดเจน ซึ่งต้องพิจารณา 3 ปัจจัย ได้แก่ อัตราการเจือจางของสารเคมีในน้ำ ความเข้มข้นของสารที่ทิ้งออกไป และชนิดของสารเคมีที่ทิ้งออกไป

  7. การกู้นิคมอุตสาหกรรมย่อมมีผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง รัฐบาลอาจมีการตั้งกองทุนเร่งด่วนเพื่อการเยียวยาประชาชน (Environmental Guarantee Fund) ที่ได้รับผลกระทบ



นอกจากนี้ ภายหลังจากการดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วนแล้ว รัฐบาลควรมีการดำเนินการต่อเพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยใช้กลไก ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และมีการปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินการตามแนวทางดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ภายใต้หลักการของธรรมาภิบาล

เหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้จะสามารถเป็นเครื่องเตือนคนไทย ให้ตระหนักถึงผลกระทบด้านมลพิษทางน้ำ ดังนั้นเราทุกคนจึงควรมองถึงต้นเหตุของปัญหาและป้องกันมิให้เกิดขึ้น และสิ่งที่เราเกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นเหตุของปัญหาก็คือขยะที่เกิดจากการ บริโภคของเราเอง และสำหรับภาครัฐแล้ว ควรนำปัญหาด้านมลพิษในครั้งนี้มาเป็นบทเรียนเพื่อพัฒนามาตรการรับมือป้องกัน แก้ไข มีมาตรการตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลด้านมลพิษให้รู้ถึงการใช้และปลดปล่อยสาร เคมีอันตราย รวมถึงมาตรการปกป้องแหล่งน้ำจากมลพิษ

หมายเหตุ

ข้อมูล บางส่วนดัดแปลงมาจากบทความของ ศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เรื่องปัญหามลพิษจากการเร่งกู้นิคมฯ และจากบทสรุปงานเสวนาเรื่อง “กู้นิคมอย่างไรให้ปลอดภัย” โดยตัวแทนนักวิชาการและ ภาคประชาชนประกอบด้วยคณะกรรมาธิการด้านการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มูลนิธิบูรณะนิเวศ มูลนิธิเอเชีย สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า และกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



อ่านบล็อกฉบับสมบูรณ์ คลิกที่นี่



Free TextEditor




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2554   
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2554 11:45:10 น.   
Counter : 2281 Pageviews.  


เทปโก้ยังไม่มีการเตรียมการรับมือกับอุบัติภัยที่เกิดขึ้นที่ฟูกูชิม่า ไดอิจิ: เรื่องราวต่อเนื่อง



อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ยังคงเดินหน้าสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าเตาปฏิกรณ์นั้นมีความปลอดภัย แต่ จากข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่ยังคงมีการเปิดเผยออกมา หลักฐานต่างๆที่เกิดขึ้นกลับทำให้การสร้างความมั่นใจกับประชาชนนั้นบ่อย ครั้งขาดความน่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อ เท็จจริงที่ทั้งอุตสาหกรรมนิวเคลียร์และรัฐบาลญี่ปุ่นประสบความล้มเหลวที่จะ ดำเนินการเพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนชาวญี่ปุ่น




การรายงานของสื่อเกี่ยวกับ เอกสารคู่มือการดำเนินการของบริษัทเทปโก้ที่ออกมาสัปดาห์นี้ กล่าวว่า เอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง “การ ขาดการเตรียมการและความพร้อมของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ในการจัดการกับ เหตุการณ์ฉุกเฉินนั้น นับเป็นปัจจัยหลักที่นำไปสู่การหลอมละลายและความล้มเหลวของเหตุการณ์ภายหลัง จากสึนามิ-แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม” ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่า ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้พยายามปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดต่อสาธารณะ ทั้งนี้ทางองค์การเพื่อความปลอดภัยด้านอุตสาหกรรมและนิวเคลียร์ได้พยายามเรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวด้วย


และนี่ก็เป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี…


ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 เหตุแผ่นดินไหวนอกชายฝั่ง Chūetsu ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ-คาริว่าของบริษัท เทปโก้ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของญี่ปุ่นต้องปิดตัวลง แผ่นดินไหวครั้งนั้นทำให้ตู้ที่เก็บกากนิวเคลียร์พลิกคว่ำลง ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีสู่อากาศ เกิดการรั่วไหลของน้ำที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีภายในอาคารเตา ปฏิกรณ์หลายแห่ง อีกทั้งบางส่วนยังไหลออกสู่ทะเลของญี่ปุ่นอีกด้วย


จากข้อมูลของสือพิมพ์รายวันโยมิอุริ “มี การค้นพบว่าทางเทปโก้เองไม่ได้ทำการสำรวจการรั่วไหลอย่างละเอียดถี่ถ้วนใน บริเวณรอบๆโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (คาชิวาซากิ-คาริว่า) อีกทั้งมาตรการการรับมือกับเหตุแผ่นดินไหวก็ไม่เพียงพอ” และนี่ก็เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทฯได้ยอมรับในปีพ.ศ. 2545 ว่า มีการจัดทำรายงานด้านความปลอดภัยที่เป็นเท็จอย่างจงใจเพื่อปกปิดอุบัติเหตุจำนวนมากที่เกิดขึ้นกับเตาปฏิกรณ์ เรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นย้อนกลับไปเมื่อช่วงทศวรรษ 1980 จนถึง 1990 นั้น แสดงให้เห็นถึง ความล้มเหลวของเทปโก้ในการดำเนินการติดตามตรวจสอบด้านความปลอดภัยที่สำคัญในบริเวณเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์


และนี่ก็ทำให้เราได้เห็นว่า เทปโก้มีประวัติที่ยาวนานในเรื่องการขาดการเตรียมความพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินและไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัย ไม่ เพียงเท่านั้น หน่วยงานที่ดูแลและกำกับอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นเองก็ล้วนแต่ประสบ ความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าในการควบคุมดูแลให้เทปโก้มีมาตรฐานการดำเนิน การด้านความปลอดภัยที่สำคัญและรัดกุม และขณะนี้ สื่อก็กำลังรายงานถึงหลักฐานที่หน่วยงานรัฐที่ควรจะปฏิบัติหน้าที่ควบคุม ดูแลอุตสาหกรรมนิวเคลียร์นั้น กลับมีความพยายาม ที่จะบิดเบือนความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องนิวเคลียร์ให้เป็นไปในทิศทางที่ตนต้องการ


และที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น “ยังไม่มีกฎหมายในการเข้าตรวจประเมินประเด็นด้านความปลอดภัยในพื้นที่เป็นระยะๆ” ตามที่เจ้าหน้าที่รัฐกล่าวกับองค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2551 และในเดือนตุลาคม ปีนี้ ก็มีรายงานที่แสดงให้เห็นว่า เทปโก้นั้นรู้มาก่อนแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่า ไดอิจิ นี้ มีความเสี่ยงต่อสึนามิ แต่กลับปกปิดข้อมูลดังกล่าวไว้ และไม่ดำเนินการปรับปรุงแผนการรับมือและแผนฉุกเฉินของโรงไฟฟ้า ซึ่งนี่ก็เป็นเพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ด้วย..


ความล้มเหลวด้านความปลอดภัยต่อเหตุหายนะที่ฟูกูชิม่านี้ ก่อให้เกิดความสูญเสียโดยตรงต่อเทปโก้และเป็นความล้มเหลวที่น่าละอายของรัฐบาลที่ ไม่สามารถดูแลควบคุมการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพได้ และนี่ก็ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความล้มเหลวด้านระบบของกลุ่มอุตสาหกรรม นิวเคลียร์และรัฐบาลต่างๆทั่วโลกที่จะรับประกันว่าการดำเนินการจะเป็นไปตาม ระดับความปลอดภัยที่เหมาะสมอย่างเคร่งครัด และเมื่อพิจารณาถึงขอบเขตและระดับของอันตรายและความสูญเสียของอุบัติเหตุ นิวเคลียร์แล้ว สิ่งที่เราได้เห็นที่ญี่ปุ่นก็นับเป็นความล้มเหลวด้านการเป็นผู้นำ ด้านความรับผิดชอบ และความหน้าเชื่อถือ ที่จะปกป้องคุ้มครองประชาชน


และขณะนี้ เราก็ได้รับรู้ว่า ปริมาณสารกัมมันตภาพรังสีที่ปล่อยออกมาเตาปฏิกรณ์ฟูกูชิม่านั้นเป็นสองเท่าของปริมาณที่รัฐประกาศ นายก รัฐมนตรีโนดะ ควรจะต้องประกาศออกมาว่าอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นประสบความล้มเหลวโดย สิ้นเชิง และยกเลิกแผนที่จะเปิดดำเนินการเตาปฏิกรณ์เครื่องเก่าหรือสร้างเตาปฏิกรณ์ เครื่องใหม่โดยทันที


เราจะต้องไม่ลืมว่า ขณะที่เทปโก้กับรัฐบาลมีความสัมพันธ์กันอยู่และไม่ให้ความสำคัญกับประเด็น ด้านความปลอดภัย การที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่าตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะประสบอุบัติเหตุหรือภัยพิบัติที่จะสร้างความสูญเสียต่อ ชีวิตประชาชนจำนวนมาก และญี่ปุ่นก็จะต้องอยู่กับผลที่เลวร้ายไปอีกยาวนานทีเดียว





 





 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2554   
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2554 3:06:23 น.   
Counter : 889 Pageviews.  


ศูนย์เก็บข้อมูลแห่งใหม่ของเฟสบุ๊ค : มิตรของพลังงานหมุนเวียนหรือไม่



ทุกวันนี้สื่อทางเทคโนโลยีและธุรกิจทวิตเตอร์ล้วนลงข้อความเกี่ยวกับเฟสบุ๊คหลังจากที่มีข่าวออกมาว่าบริษัทจะสร้างศูนย์เก็บข้อมูลแห่งใหม่นอก สหรัฐฯใกล้กลับบริเวณอาร์คติกที่เมืองLule ประเทศสวีเดน ศูนย์ข้อมูลที่ติดตั้งที่เมืองนี้ใช้ระบบหล่อเย็นจากสภาพอากาศที่เย็นและยังมีพลังงานหมุนเวียนจากเขื่อนพลังน้ำที่อยู่ใกล้ๆอีกด้วย


ถ้าคุณ “ชอบ” ข่าวของเฟสบุ๊คนี้ บอกพวกเขาได้ที่หน้า เฟซบุ๊ค : ถ่านหินไม่มีความเป็นมิตร และชักชวนเพื่อนๆมารณรงค์ร่วมกัน–ภารกิจนี้ยังไม่จบสิ้น!


ข่าวนี้เป็นข่าวใหญ่ของกิจกรรมการรณรงค์ถ่านหินไม่มีความเป็นมิตรของเรา ในช่วงกว่า 20 เดือนที่ผ่านมา พวกเรากว่า 70,000 คนได้ทำกิจกรรมรณรงค์ทางออนไลน์ทั่วโลกเพื่อให้เฟสบุ๊คมีการดำเนินการที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ต้องกดดันเฟสบุ๊ค เนื่องจากศูนย์ข้อมูลสองแห่งแรกของบริษัทจะดำเนินการโดยใช้พลังงานจากถ่านหิน ดังนั้น เมื่อเราได้ข่าวการ อ้างถึง คำพูดของไมเคิล เคอร์คแลนด์ โฆษกของเฟสบุ๊คที่ได้ประกาศว่าศูนย์ข้อมูลที่ Luleå นี้



“จะเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งแรกของเฟสบุ๊คที่ดำเนินการโดยใช้พลังงานหมุนเวียน... นี่เป็นการตัดสินใจที่สำคัญสำหรับเราทีเดียว”


เราจึงเห็นว่านี่เป็นความก้าวหน้าอย่างมาก อย่างไรก็ดีเฟสบุ๊คยังไม่ได้ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลหรือ วิธีการที่จะนำพลังงานนั้นมาใช้

แต่เราก็ชื่นชอบในสิ่งที่เราได้ยินมีความเป็นไปได้หลายทางที่เฟสบุ๊คจะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนในศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่นี้ เราได้รับคำถามบ่อยครั้งมากโดยเฉพาะจากผู้คนที่พึ่งรู้จักกิจกรรมการรณรงค์ถ่านหินไม่มีความเป็นมิตรว่าทำไมการที่เฟสบุ๊คจะหันไปใช้พลังงานหมุนเวียน จึงเป็นประเด็นที่สำคัญมาก เราพบว่าผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับทราบว่าสังคมที่ติดต่อกันทางอินเตอร์เน็ตใช้ พลังงานไฟฟ้ามากขนาดไหนชีวิตดิจิตัลที่ปรากฏทางออนไลน์อยู่ในก้อนเมฆ ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ วีดีโอสตรีมมิ่ง หรือการอัพเดตสถานะทางเฟสบุ๊ค ก้อนเมฆนี้บางส่วนดำเนินการจากศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่และอุปกรณ์ขนาดใหญ่เหล่า นี้ต้องอาศัยไฟฟ้ามหาศาลในความเป็นจริงแล้วถ้าเปรียบก้อนเมฆนี้กับประเทศมันจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าของโลกในด้านการใช้ไฟฟ้า

ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นที่เก็บเซิร์ฟเวอร์ศูนย์กลางข้อมูลประมาณร้อยละ 40 ของทั่วโลก มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากศูนย์ข้อมูลเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 40 ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ปีพ.ศ.2550-2553 และเมื่อเราได้เผยแพร่ รายงาน"ข้อมูลของคุณสกปรกแค่ไหน?" เมื่อต้นปีนี้ ผู้คนจึงตกใจอย่างมากเมื่อรับทราบว่าเฟสบุ๊คและแอปเปิ้ลดำเนินการทางออนไลน์ โดยใช้พลังงานจากถ่านหิน

นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลเฟสบุ๊คในสหรัฐฯแต่ละแห่งใช้พลังงานไฟฟ้าเทียบเท่ากับปริมาณการใช้จากบ้านเรือนประมาณ 30,000 หลังในสหรัฐฯซึ่ง ทำให้เกิดมลพิษจากถ่านหินเพิ่มขึ้นในเวลาที่เราจำเป็นต้องการลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลลง ศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่นี้ถูกสร้างมาเพื่อผู้ใช้เฟสบุ๊คหลายล้านคนในยุโรปและ อาจจะมีศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ที่น่าจะถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้ใช้เฟสบุ๊ค ทั่วโลกการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้เป็นสาเหตุที่เราต้องการก้อนเมฆสีเขียวและ ไม่สกปรกและเป็นสาเหตุที่ข่าวที่ได้รับในวันนี้เป็นก้าวที่สำคัญของเฟสบุ๊ค

เราขอแสดงความยินดีกับความก้าวหน้าของเฟสบุ๊ค---และยินดีกับพวกคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้

แต่ภารกิจยังไม่เสร็จสิ้น— เฟสบุ๊คสามารถและน่าจะกำหนดนโยบายระยะยาวในการสร้างศูนย์ข้อมูลโดยใช้ พลังงานหมุนเวียนในการดำเนินการและเปิดเผยข้อมูลรอยเท้าคาร์บอนทั้งหมด อีกทั้งใช้อำนาจการซื้อในการเรียกร้องให้บริษัทคู่ค้าที่จัดหาพลังงานไฟฟ้า ให้เฟสบุ๊คในศูนย์ข้อมูลที่นอธแคโรไลนาและออเรกอนให้ใช้พลังงานหมุนเวียนด้วย

มาร่วมใช้โอกาสนี้แสดงความยินดีกับก้าวที่สำคัญของเฟสบุ๊คและร่วมระลึกว่าพวกเรา
– รวมทั้งผู้ใช้ที่เรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากบริษัทและจากเฟสบุ๊คเอง ได้มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการทำให้เฟสบุ๊คเป็นสีเขียวเพื่อผู้ใช้กว่า 800 ล้านคนในสังคมออนไลน์ 


ขอแสดงความยินดี !







Free TextEditor




 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2554   
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2554 1:41:14 น.   
Counter : 1156 Pageviews.  


กรีนพีซเรียกร้องให้มีมาตรการจัดการปัญหามลพิษในช่วงน้ำท่วม



กรุงเทพฯ, 10 พฤศจิกายน 2554 - กรีนพีซเรียกร้องรัฐบาลไทยออกมาตรการจัดการปัญหามลพิษในสถานการณ์น้ำท่วมโดยด่วน และรณรงค์ให้ประชาชนร่วมช่วยแก้ปัญหาโดยลด แยก และยุติการทิ้งขยะลงสู่แหล่งน้ำ น้ำท่วมครั้งนี้ได้นำพาสารมลพิษและขยะจำนวนมหาศาลมารวมกันในน้ำท่วมขัง เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียในหลายพื้นที่ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพได้ อย่างร้ายแรง






สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศขณะนี้ยังไม่ดีขึ้นและได้ขยายวงกว้างสู่กรุงเทพมหานครซึ่งมีประชากรอาศัยหลายล้านคน ปัญหา ที่น่ากังวลขณะนี้คือมลพิษและผลกระทบทางสุขภาพ โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำ อย่างเช่น อหิวาตกโรค ฉี่หนู ไทฟอยด์ และโรคอื่นๆเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวัง นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารเคมีอันตรายในแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค อย่างเช่นในแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองต่างๆที่เป็นภัยคุกคามต่อประชาชนได้ทั้งในระยะสั้นและยาว  



“เหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้เป็นเครื่องเตือนคนไทยให้ตระหนักถึงผลกระทบ ด้านมลพิษทางน้ำ และดังนั้นเราทุกคนจึงควรมองถึงต้นเหตุของปัญหาและป้องกันมิให้เกิดขึ้น สิ่งที่เราเกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นเหตุของปัญหาก็คือขยะที่เกิดจากการบริโภคของเราเอง” นายพลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว



“ช่วงเวลานี้ตรงกับประเพณีลอยกระทง ซึ่งเราควรระลึกถึงคุณูปการของสายน้ำและขอขมาที่เราได้ล่วงเกิน ทุกคนสามารถที่จะร่วมลดมลพิษในแหล่งน้ำโดยช่วยกันการเก็บขยะทั้งบนบกในในน้ำ ที่ท่วมขัง รวมถึงการแยกขยะหลังการบริโภค” นายพลายกล่าวเสริม



จากการสำรวจของกรีนพีซพบว่าพื้นที่น้ำท่วมหลายแห่งกำลังเผชิญกับปัญหามลพิษทางน้ำที่รุนแรง ซึ่งมีหลายปัจจัยที่เราควรพิจารณาเพื่อจัดการแก้ไข นั่นคือ น้ำที่ไหลมาจากพื้นที่อุตสาหกรรม การเกษตร และชุมชน ที่อาจนำพาสารมลพิษต่าง ๆ รวมถึงสารเคมีอันตรายที่อาจมีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนลงสู่น้ำอุปโภคบริโภค ของประชาชน ขยะหลังการใช้อย่างเช่น กล่องโฟมและพลาสติกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ขยะเปียกและของเสียขับถ่ายจะเป็นเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคต่างๆหากถูกทิ้งลง สู่แหล่งน้ำ นอกจากนี้ หลังจากน้ำลดจะมีขยะอันตรายจากบ้านเรือนอย่างเช่น แบตเตอรี่และขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ล้วนเป็นขยะอันตรายจำนวนมหาศาลที่จะเป็น ปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษคาดว่าจะมีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในช่วงน้ำท่วมทั้งสิ้นราว 3 ล้านตัน 



“เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการกับ ขยะจำนวนมหาศาล ขยะบางประเภทที่เป็นขยะอันตรายจะต้องมีวิธีการจัดการที่แตกต่างออกไป นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐควรตรวจสอบคุณภาพของแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการผลิตน้ำดื่ม อย่างเช่นในแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากน้ำที่ไหลท่วมมาจากหลายพื้นที่นั้นมีสารเคมีหลากหลายชนิดและท้าย สุดได้ไหลลงสู่แม่น้ำ”



กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลลงมือจัดการปัญหามลพิษที่มาจากอุทกภัย อย่างเร่งด่วน ตั้งแต่การเก็บขยะและกระบวนการจัดการอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  และในระยะยาวเราควรนำปัญหาด้านมลพิษในครั้งนี้มาเป็นบทเรียนเพื่อและพัฒนา มาตรการรับมือป้องกันแก้ไข มีมาตรการตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลด้านมลพิษให้รู้ถึงการใช้และปลดปล่อยสาร เคมีอันตราย รวมถึงมาตรการปกป้องแหล่งน้ำจากมลพิษ




 





 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2554   
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2554 23:52:09 น.   
Counter : 938 Pageviews.  


ท่วมแต่ยังไม่... “เต็ม”

ในสถานการณ์น้ำท่วมเช่นนี้ หลายคนคงได้ยิน ได้เห็น “ไฟฉายฉุกเฉินพลังงานแสงอาทิตย์” แจกจ่ายไปตามพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยในหลายพื้นที่ ซึ่งโดนตัดน้ำ ตัดไฟ แนวคิดนิ้เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของทีมคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อีสาน และทีมงานอาสาสมัครโซล่าร์เซลล์ ของ อ.นันท์ ภักดี โดยอาศัยวิชาความรู้และประสบการณ์ บวกกับศักยภาพการผลิตพลังงานของประเทศไทยที่มีอยู่มาก ซึ่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆในการผลิตไฟฉายได้มาจากการบริจาคของผู้ใจบุญทั่วประเทศ ทั้งภาคเอกชน และภาคประชาชน




กลุ่มเยาวชนยุคพลังงานสะอาด และท่านผู้ปกครอง จากกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รวมพลกันอาสาช่วยทำไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์ ณ ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก หลังจากที่ฝึกฝีมือกันมาจากอบรม “ปฏิวัติพลังงาน” ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ถึงคราวนี้จึงได้ลงสนามจริง ใช้ความรู้และทักษะที่มีช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม





คุณว่าไหม ชีวิตคนเราก็เหมือนกับการเดินทางของเส้นรอบวง ที่มีจุดเริ่มต้นและจุดบรรจบจุดเริ่มต้นอีกครั้ง


จุดเริ่ม “เต็ม” ในอดีตโลกเราอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ น้ำ ดิน และสัตว์ป่า


จุดต่อ “ขาด” แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ ไม่เคยเต็มในสิ่งที่ตนเองมี จึงพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อความสะดวกสบาย สร้างตึกรามบ้านช่องอาคารบ้านเรือน แข่งความร่ำรวย แข่งความใหญ่โต แข่งยศฐาบรรดาศักดิ์ มีความอยากเป็นแรงผลักดัน ฉันอยากมี ฉันอยากเป็น


จุดแจ้ง “ขาด” ความตระหนักรู้ถึงคุณประโยชน์ของธรรมชาติ ยิ่งมนุษย์สร้างเทคโนโลยีมาเพื่อตอบสนองความสะดวกสบายมากขึ้นเท่าใด ความสุขทางใจกลับหนีห่างออกไปมากขึ้นเท่านั้น และความสมุดลทางธรรมชาติก็เสื่อมลง น้ำท่วมครานี้รุนแรงมาก เป็นบทพิสูจน์ของความโง่เขลาของมนุษย์ในการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมระบบทุนนิยมจนไม่ลืมหูลืมตา ตัดต้นไม้และถมที่สร้างสิ่งก่อสร้าง แก้มลิงหายไป เหลือแต่แก้มตอบไร้ที่ให้ชุ่มน้ำ พลังของมนุษย์ตัวเล็กๆหลายล้านคนรวมกันก็ไม่สามารถจัดการกับมวลน้ำขนาดใหญ่ได้ทัน นี่เป็นการเตือนภัยทางธรรมชาติที่ย้ำเตือนว่าไม่มีมนุษย์คนไหนอยู่เหนือธรรมชาติได้


“คนจำเป็นต้องพึ่งพาไฟฟ้า ต้องกินอาหาร พอน้ำท่วมหนหนึ่ง ก็เกิดการแย่งน้ำ อาหาร ขาดไฟฟ้า จึงเป็นเหตุให้ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติแห่งนี้เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งผลิตไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ถ้าโดนตัดน้ำ ตัดไฟ ยังไงก็ยิ้มได้ หากเราไม่ฝึกเรียนรู้กระบวนการพึ่งพาตัวเองและการใช้ชีวิตรอบตัว เงินเดือนกี่หมื่นกี่แสนก็ไม่ช่วยอะไรอาจารย์ปัญญา ปุลิเวคินทร์ หัวหน้าผู้ดูแลศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ


“ผมมองว่าน้ำท่วมครั้งนี้คือ “เผาหลอก” ระบบไฟฟ้ายังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ถ้าในอนาคตเกิด “เผาจริง” น้ำจะท่วมสูงกว่าเดิมมาก คนกรุงอยู่ไม่ได้แน่นอนเพราะคนส่วนใหญ่ต้องพึ่งไฟฟ้า ตอนนี้เราสร้างเรือโนอาห์ไม่ได้ แต่เราสอนให้แต่ละคนสร้างเรือของตัวเอง สำหรับตัวเองและครอบครัวได้” อาจารย์พีระพงษ์ ภัทรพันธุ์ชัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสาน


จุดเต็ม “เต็ม” นานมากแล้วที่เราตามหาความสุขและคำตอบของชีวิตด้วยการวิ่งตามเส้นรอบวงมองไปข้างหน้า แต่ไม่เคยมองรอบตัว จนตอนนี้ยุคของเรากำลังวิ่งใกล้ถึงจุดเริ่มอีกครั้ง แต่ก่อนถึงจุดนั้น ลองมองด้านข้าง เราจะพบที่ว่างอันกว้างใหญ่มหาศาลที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยคิดจะก้าวเข้าไป...สร้าง “พื้นที่แห่งการเติมเต็ม” ฐานทรัพยากรที่มีอยู่อย่างร่อยหรอและความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งมีไม่สิ้นสุดจะก้าวไปด้วยกันได้ด้วย “หลักเศรษฐกิจพอเพียง” ตามพระราชดำรัสของในหลวง โดยลดความต้องการที่เกินความจำเป็นและสร้างธนาคารอาหารและพลังงานขึ้นมา พลังงานหมุนเวียนที่ไม่มีวันหมดไปจึงเป็นคำตอบของความยั่งยืนในอนาคต




อาจารย์นันท์ ภักดี หนึ่งในคนต้นคิดไฟฉายฉุกเฉิน ซึ่งเป็นแสงเทียนเล่มสำคัญที่กำลังส่องไฟนำทางให้กับทางออกของวิกฤตสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และจุดไฟเรื่องพลังงานหมุนเวียนต่อให้กับเด็กและเยาวชน รวมถึงประชาชนทั่วไป กล่าวว่า “โซลาร์เซลล์ไม่ใช่ใหม่และไม่ใช่เรื่องยาก ไฟฉายฉุกเฉินนี้ก็ผลิตมาจากการพลิกแพลง จับแพะชนแกะ เอาอุปกรณ์ที่ได้จากการบริจาค มาประกอบกัน ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด สุดท้ายแล้วเราก็กลับมาสู่ความเรียบง่าย ผมเห็นว่าถ้าทุกครัวเรือน ทุกหมู่บ้าน ติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้เหมือนต่อไฟบ้านได้ ทุกบ้านก็จะสร้างพลังงานใช้เองได้ ถึงคราวนั้นก็ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่เป็นต้นเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมต่างๆ”


ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้ถูกส่งต่อไปยังเครือข่ายพลังงาน ผ่านองค์กรต่างๆและผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเขตพื้นที่ต่างๆ


ทางกรีนพีซได้กระจายไฟฉาย 40 ชุด ไปยังเต้นท์หน้าโรงแรมดุสิต บางกะปิ อ่างทอง ลพบุรี ดอนเมืองและรังสิต


พื้นที่ว่างในวงกลมกำลังอ้าแขนรับทุกคน เข้ามาเติมพลังงานหมุนเวียน พลังงานแห่งอนาคตอันยั่งยืนให้เต็มวง และพร้อมจะขยายขนาดของวงให้กว้างพอที่สู้ภัยน้ำท่วมได้


รู้จัก "ไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์" หรือ "เจ้าเต่าไฟ" มากขึ้น





 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2554   
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2554 22:14:36 น.   
Counter : 1076 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com