กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

แถลงการณ์ของกรีนพีซเรื่องอาหารทะเลของไทยยูเนี่ยนเชื่อมโยงกับการบังคับใช้แรงงานและแรงงานเด็ก

 

วอชิงตัน ดีซี/กรุงเทพฯ, 14 ธันวาคม 2558- การสืบสวนของสำนักข่าวเอพี(Associated Press)ที่เผยแพร่ในวันนี้พบว่า ไทยยูเนี่ยน เจ้าของแบรนด์ Chicken of the Sea ในสหรัฐอเมริกามีส่วนเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้แรงงานและสภาพการทำงานที่เลวร้ายในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง งานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนนี้เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยที่ทีมข่าวของสำนักข่าวเอพีทำการติดตามรถบรรทุกส่งกุ้งจากโรงงานแกะเปลือกกุ้งแห่งหนึ่งไปจนถึงบริษัทส่งออกกุ้งรายใหญ่ของไทย และติดตามไปจนถึงผลิตภัณฑ์กุ้งที่วางขายทั่วโลก

รายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนระบุว่าแรงงานย้ายถิ่นรวมถึงเด็กถูกบังคับใช้แรงงานโดยได้รับค่าตอบแทนน้อยมากและไม่ได้รับเลยจากการแกะเปลือกกุ้ง ที่เป็นผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็งวางขายอยู่ในร้านค้าทั่วอเมริกา รวมถึงในยุโรป และเอเชีย

“ไทยยูเนี่ยนในฐานะเป็นผู้นำและเชี่ยวชาญอาหารทะเลระดับโลกได้ตอบรับเรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นใหม่แต่ละเรื่องอย่างคับแคบเท่าที่จะเป็นไปได้” จอห์น โฮซิวา ผู้อำนวยการรณรงค์ด้านมหาสมุทร กรีนพีซ สหรัฐอเมริกากล่าว “ไทยยูเนี่ยนทำเพียงเพื่อกลบกระแสข่าวในขณะที่ยังคงแสวงผลกำไรจากแรงงานอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านที่ถูกบังคับใช้แรงงานตลอดห่วงโซ่อุปทานของตน”

“ข้อกล่าวหาล่าสุดที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเรื่องราวที่บอกว่าไทยยูเนี่ยนรับรู้ประเด็นการบังคับใช้แรงงานและมีเจ้าหน้าที่ของบริษัทตรวจเยี่ยมโรงงานแกะเปลือกกุ้งเป็นประจำทุกวัน เป็นที่ชัดเจนอย่างยิ่งว่า ไทยยูเนี่ยนไม่อาจเพิกเฉยต่อการบังคับใช้แรงงานในห่วงโซ่อุปทานได้อีก มันต้องใช้สิ่งที่มากกว่าคำสัญญาลอยๆ ที่เป็นเงื่อนไขต่ำสุดเพื่อทำให้ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจของลูกค้าของไทยยูเนี่ยนกลับคืนมา”

ไทยยูเนี่ยน ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกระบุว่าห่วงโซ่อุปทานนั้นเชื่อมโยงกับการบังคับใช้แรงงานในรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนทั้งของ สำนักข่าวนิวยอร์กไทม์ ( New York Times ) และเอพี  (Associated Press) ได้รับกุ้งแกะเปลือกมาจากโรงงานแกะกุ้ง Gig และโรงงานอีกแห่งซึ่งโดนจับกุมในเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีคนงานถูกบังคับใช้แรงงานเป็นเวลานานโดยไม่มีวันหยุด ในโรงงานแกะกุ้งดังกล่าว หญิงตั้งท้องแปดเดือนถูกบังคับให้แท้งลูกบนพื้นและยังต้องแกะเปลือกกุ้งต่อไปอีก 4 วันแม้จะมีอาการตกเลือดอยู่ เด็กเล็กๆ ที่มาด้วยและตกลงจากที่สูง 12 ฟุตก็ถูกปฏิเสธการรักษาทางการแพทย์ ส่วนแรงงานหญิงที่ตั้งครรภ์อีกคนหนึ่งพยายามหนีแต่ถูกจับและบังคับให้ใช้แรงงานโดยสวมกุญแจมือไว้กับอีกคนหนึ่ง แรงงานที่ทำงานอยู่ระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ของไทยยูเนี่ยนมาตรวจเยี่ยมโรงแกะเปลือกกุ้งนี้เป็นประจำทุกวัน

“ไม่มีใครต้องการซื้ออาหารทะเลที่มาจากการบังคับใช้แรงงาน และเรารู้ว่าประเด็นนี้ไปไกลกว่าเฉพาะกุ้ง” โฮซิวา กล่าวเสริม “ทุกๆ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การทำประมงทะเลไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ตที่ขายอาหารทะเล จะต้องถือเป็นภาระรับผิดสำหรับผู้คนนับร้อยนับพันที่ทนทุกข์ภายใต้สภาพการทำงานอันเลวร้ายเยี่ยงนี้”

“เรื่องราวจากรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนนี้นำไปสู่การตั้งข้อสังเกตต่อประเด็นที่ว่าทั้งไทยยูเนี่ยนและภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยโดยรวมได้ตอบสนองและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด”โฮซิวา กล่าวเสริม “การละเลยของอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั้งหมดและเพียงการออกแถลงการณ์ให้ดูดีนั้นไม่อาจยอมรับได้ ถึงเวลาที่ไทยยูเนี่ยนและผู้ค้าทั้งหมดต้องตรวจสอบดูแลและทำให้ความเชื่อมโยงทุกอันในห่วงโซ่อุปทานปราศจากซึ่งการบังคับใช้แรงงานและการละเมิดสิทธิของแรงงานในทันที ไม่ใช่เพียงแต่การแก้ปัญหาเฉพาะเมื่อเกิดเรื่องอื้อฉาวล่าสุดขึ้น”

หมายเหตุ

อ่านรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนทั้งหมดได้ที่ Associated Press investigation

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

มิเรียม ฟอลอน ผู้ประสานงานสื่อมวลชนด้านอาหารทะเล กรีนพีซ สหรัฐอเมริกา
โทร. +1-708-546-9001 อีเมล: myriam.fallon@greenpeace.org

แดน ไซมอล แซลมอน หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรด้านปลาทูน่า กรีนพีซ นิวซีแลนด์
โทร.+ 64-21-394-311 อีเมล: dan.salmon@greepeace.org

ฝ่ายข่าวกรีนพีซสากล
โทร. +31 (0) 20 718 2470 อีเมล: pressdesk.int@greenpeace.org

สมฤดี ปานะศุทธะ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โทร. 081 929 5747 อีเมล: spanasud@greenpeace.org


Download English version here

ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/press/releases/ThaiUnion-seafood-connected-to-forced-and-child-labour/


 




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2558   
Last Update : 15 ธันวาคม 2558 17:14:17 น.   
Counter : 849 Pageviews.  


ต้นทุนชีวิตโรงไฟฟ้าถ่านหิน ราคาที่แท้จริงของถ่านหินกับภัยต่อสุขภาพ

Blogpost โดย รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ -- พฤศจิกายน 19, 2558 ที่ 22:48


ถ่านหินคือพลังงานที่มีต้นทุนถูกที่สุดจริงหรือ? แล้วต้นทุนที่แลกมาด้วยการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร สิ่งแวดล้อมที่ถูกทําลาย สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน และผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ซึ่งเราต้องจ่ายให้กับการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินที่คุ้มกับการเสียแล้วหรือ? รายงาน “ต้นทุนชีวิตโรงไฟฟ้าถ่านหินกับภัยคุกคามต่อสุขภาพของคนไทย” โดยกรีนพีซและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้เปิดเผยถึงต้นทุนจริงของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและผลกระทบต่อประชาชนที่รัฐบาลไทยอาจนำมาตัดสินใจใหม่ว่า ควรแล้วหรือที่จะให้ประชาชนเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายต่างๆ จากมลพิษทางอากาศของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งที่มีพลังงานที่ปลอดภัยและยั่งยืนกว่าอย่างพลังงานหมุนเวียน

ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2558-2579 (PDP2015) รัฐมนตรีพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ประกาศเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่รวมกำลังผลิต 7.3 กิกะวัตต์ ขณะที่การใช้ถ่านหินในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงในเชิงโครงสร้าง และทั่วโลกกำลังเตรียมตัวเจรจาข้อตกลงร่วมกันในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of Parties: COP) ณ เมืองปารีส ฝรั่งเศสในเดือนธันวาคม 2558 ที่จะถึงนี้ ตอนนี้จึงเป็นโอกาสของรัฐบาลไทยที่จะขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงระบบพลังงาน เลือกก้าวข้ามยุคถ่านหินและเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ  และในวันนี้ (19 พฤศจิกายน 2558) กรีนพีซร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เปิดเผยผลการวิจัยในรายงาน “ต้นทุนชีวิต: โรงไฟฟ้าถ่านหินกับภัยคุกคามต่อสุขภาพของคนไทย” เป็นการศึกษาเกี่ยวกับอัตราการเจ็บป่วยและการตายที่เกี่ยวเนื่องกับโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย ซึ่งชี้ว่าจนถึงปี พ.ศ. 2554 โรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ในประเทศไทยเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรประมาณ 1,550 คนต่อปี และหากรัฐบาลไทยเดินหน้าขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ในประเทศ อัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอาจเพิ่มขึ้นถึง 5,300 คนต่อปี จำนวนต้นทุนที่แท้จริงทั้งด้านสุขภาพและชีวิตที่ต้องเสียไปเพื่อได้มาซึ่งพลังงานที่กล่าวว่ามีราคาถูกนี้ เมื่อต้องเทียบกับชีวิตของผู้คนที่ต้องสูญเสียไปนั้น... ถูกแล้วจริงหรือ?

สุขภาพของชาวไทย ที่ต้องแลกกับพลังงานถ่านหิน “สะอาด”

ในวันนี้ พี่น้องกว่า 100 คน จากชุมชนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้มารวมตัวกันเป็นเครือข่ายประชาชน 12 จังหวัดปกป้องพื้นที่จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน  เดินทางมาร่วมรับฟังข้อมูลในเวทีนำเสนอผลการศึกษาวิจัยนี้ พวกเขาเหล่านี้คือตัวแทนจากจังหวัดชุมพร สตูล ลำปาง สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช ตรัง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สงขลา กระบี่ ชัยภูมิ และระยอง อีกทั้งยังมีภาคประชาสังคมจากพม่า รวมถึงยังมีประชาชนอีกจำนวนมากเข้ามารับฟังข้อมูลด้านผลกระทบที่มีต่อสังคมจากถ่านหิน

จากรายงานเผยถึงข้อมูลศึกษาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและที่มีการวางแผนเปิดดำเนินการใช้จริงทั้งหมดแล้ว โดยไม่รวมโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา กำลังผลิต 2,200 เมกะวัตต์ เนื่องจากในขณะที่จัดทำรายงานยังไม่มีการประกาศเกี่ยวกับการสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้ เผยว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินปล่อยมลพิษจํานวนมหาศาลออกมา ไม่ว่าจะเป็น สารประกอบออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) สารประกอบออกไซด์ของซัลเฟอร์ (SO2) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในการเกิดฝนกรด และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน โรงไฟฟ้าถ่านหินยังปล่อยเขม่า และอนุภาคที่นําาไปสู่การเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน รวมถึงโลหะหนักที่เป็นพิษต่างๆ เช่นปรอทและสารหนู เป็นต้น มลพิษจากถ่านหินได้คร่าชีวิตและทําให้คนเจ็บป่วยเป็น จําานวนมาก ในปี พ.ศ. 2554 องค์การอนามัยโลกได้รวบรวมข้อมูลด้านคุณภาพอากาศจากเมือง 1,100 แห่งใน 91 ประเทศ และพบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจําานวนมากกําลังเผชิญกับฝุ่นละออง ขนาดเล็กที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หนึ่งในแหล่งกําาเนิด หลักของฝุ่นละอองเหล่านี้คือโรงไฟฟ้าถ่านหิน

“มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินทำให้เกิดฝุ่นละอองและมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผลวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่า การขยายการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินตามแผนที่วางไว้จะทำให้มลพิษทางอากาศเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นทุนสุขภาพและชีวิตของผู้คนจากมลพิษถ่านหินควรจะต้องนำมาพิจารณาตัดสินใจถึงทางเลือกอนาคตพลังงานของไทย” แซนนอน คอบลิซ นักวิจัยทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ในรายงานจะศึกษาเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ซึ่งถูกโฆษณาว่าเป็น “ถ่านหินสะอาด” แต่ปริมาณมลพิษทางอากาศที่ปล่อยออกมาจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้มากถึง 1,800 คนในช่วงระยะเวลา 40 ปีของการดำเนินงาน  และหากนำมลพิษทางอากาศที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพีและเก็คโค่วันที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดรวมเข้าไปด้วย จะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 14,000 คนตลอดระยะเวลา 40 ปีของการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า

ด้วยเหตุนี้จึงยังเป็นข้อถกเถียงว่า ในเมื่อประเทศไทยมีกำลังไฟฟ้าสำรองเพียงพออีก 10 ปี แล้วทำไมจึงต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน รวมถึงยังมีการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านอีก แต่ไม่มีการระบุว่าซื้อไฟฟ้าประเภทใด ซึ่งอาจจะเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินประเทศอื่น อย่างไรก็ดีการขายไฟฟ้าที่มาจากการผลิตเกินกำลังให้กับพม่าไม่ใช่คำตอบของประเทศไทย เพราะสิ่งเหล่านี้ประเทศไทยต้องจ่ายต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมไปทุกวัน และยังมีต้นทุนทางสุขภาพที่รัฐบาลไม่เคยพูดถึง

 

“ฝุ่นละอองมลพิษขนาดเล็กจากโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้หยุดอยู่แค่ปอด แต่เข้าไปในกระแสเลือด ก่อให้เกิดโรคทางทางเดินหายใจและโรคมะเร็งได้ ซึ่งปัญหามลพิษนี้ข้อมูลวิจัยจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งระบุว่า ทำให้ผู้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 160,000 คน ทั่วโลกต่อปี ไม่เพียงแค่ชุมชนพื้นที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ทุกคนต่างได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศทั้งสิ้นจากการพัดของลมและมรสุม อาทิ ในกรณีของโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ที่มลพิษอาจลอยไปถึงภูเก็ตหากเกิดมรสุมในทะเลอันดามัน เถ้าลอยที่เกิดจากการเผาถ่านหินที่มีสารโลหะหนักอย่างสารปรอท ทำให้เกิดฝนกรด และส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมได้เช่นกัน น่ายินดีที่การใช้ถ่านหินในระดับโลกมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรปนั้นลดลงอย่างรวดเร็ว กำลังผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นใหม่ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป มาจากพลังงานหมุนเวียน ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าในจีนที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดมาจากแหล่งพลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิลนับตั้งแต่ปลายปี 2554” นายลาวรี่ มิลลีเวียตา ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กรีนพีซสากลกล่าว

“จมูกมีสองรู แต่ปล่องโรงไฟฟ้าถ่านหินมีจำนวนมาก แม้ว่าจะไม่มีปล่องโรงไฟฟ้าถ่านหินใดไม่เกินมาตรฐาน แต่ว่าแต่ละปล่องมีฝุ่นละออง มีคาร์บอน มีตะกั่ว และปรอท ไม่มีใครรู้ว่าสารเหล่านี้สะสมนานๆ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นในร่างกาย แต่แน่นอนว่าไม่ใช่สิ่งปกติ และการได้รับมลพิษที่ไม่เกินมาตรฐาน แต่บ่อยครั้งทุกวันเป็นระยะเวลานานย่อมเกิดภาวะในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการรับสารพิษหลายตัวในช่วงเวลาเดียวกัน ต้นทุนสุขภาพไม่เคยมีการวัดในรายงาน EHIA  สิ่งเหล่านี้คือต้นทุนจริงที่ต้องเสียไป ในความเป็นจริงสุขภาพไม่ใช่แค่โรคที่เกิดขึ้นฉับพลัน สามารถวัดได้ แต่เราอาจรู้ตัวในอีก 30-40 ปี ทำไมถึงต้องให้ชาวกระบี่ เทพา และระยอง ต้องเสียสละถึงเพียงนี้” นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลจะนะและชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ กล่าวถึง ต้นทุนสุขภาพจากถ่านหิน 

หากจินตนาการไม่ออกว่าฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน นั้นมีขนาดเล็กมากเพียงใด อยากให้ลองนึกว่าฝุ่นละอองเหล่านั้นมีขนาดที่เล็กเกินกว่าที่ขนจมูกจะกรองได้ เป็นฝุ่นผงที่เข้าไปทำลายปอด และก่อมะเร็ง ในวันนี้อาจก้าวเกินจุดที่จะถกเถียงกันว่าเราจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มหรือไม่แล้ว แต่ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐจะหันมาผลักดันกฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่เอื้อต่อการผลิตและพัฒนาพลังงานหมุนเวียนอย่างแท้จริง

อ่านเพิ่มเติม: การลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินของประเทศไทย และทางออกของพลังงานที่ชุมชนเลือก

ที่มา: ต้นทุนชีวิตโรงไฟฟ้าถ่านหิน ราคาที่แท้จริงของถ่านหินกับภัยต่อสุขภาพ




 

Create Date : 20 พฤศจิกายน 2558   
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2558 20:23:58 น.   
Counter : 1256 Pageviews.  


โต้วาที ปะทะคารมเพื่อจัดการปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง!



โต้วาที ปะทะคารมเพื่อจัดการปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง!

กรีนพีซขอเชิญชวนเยาวชนหัวใจสีเขียวคารมเด็ดในระดับชั้นมัธยมปลาย ปริญญาตรี และปริญญาโท เข้าร่วมการแข่งขันโต้วาทีเป็นภาษาอังกฤษ ในประเด็นปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในกิจกรรม "Environmental Debate Championship 2015" ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ระหว่างวันที่ 20 - 21 พ.ย. 2558 นี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมระดับโลก climatestrike.net ของกลุ่มเยาวชนจากนานาประเทศกับการออกมาแสดงพลังผลักดันให้ผู้นำโลกในการประชุม COP21 Paris จัดการกับปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจังและเร่งด่วน

รายละเอียดการรับสมัคร
- ทีมโต้วาที สมาชิกทีมละ 3 คน
- ค่าสมัคร 650 บาท/ทีม (รวมอาหารและที่พัก)
- กรอกใบสมัครที่ //goo.gl/forms/gbmNgcrgu5
- รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ 094-082-3272
หรือที่ Facebook: Assumption Debate Nation
*กิจกรรมนี้ใช้ภาษาอังกฤษ

มาร่วมเป็นพลังเปล่งเสียงโต้คารมเพื่อโลกของเรานะคะ

----------------------------------------
The Green Debate. Speak your mind. Speak out about climate change!

Call for applications from high school, undergraduate, and master degrees students to join “Environmental Debate Championship 2015”, a debate competition about climate change and global warning. The event will be held at Assumption University (Suvarnabhumi campus) between the 20th- 21st of November 2015. Join us and take part in a global youth initiative (climatestrike.net) to demand climate justice and call attention for the need for climate solutions.

Details of the application
- 3 Debaters per team
- Fees: 650 baht/person (food and accommodation)
- Accommodation: Hotel in Assumption University
- Register your team here: //goo.gl/forms/gbmNgcrgu5
- Contact: 094-082-3272 or Facebook: Assumption Debate Nation
*Debate will be in english

Save the date and join us.

ที่มา: Greenpeace Youth Thailand




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2558   
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2558 16:47:55 น.   
Counter : 1842 Pageviews.  


โซ่ตรวนกลางทะเล: การละเมิดสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมปลาทูน่าโลก

โซ่ตรวนกลางทะเล: รายงานสืบสวนของกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)ผู้ผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋องที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ได้ดำเนินการอย่างเพียงพอเพื่อแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานปลาทูน่า

ในรายงาน กรีนพีซสัมภาษณ์แรงงานประมงผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานในอินโดนีเซีย พวกเขาเผชิญกับการกดขี่ขูดรีดและไม่ได้รับอาหารบนเรือประมงนอกน่านน้ำจากประเทศไทย เรือประมงนอกน่านน้ำเหล่านั้นขนถ่ายปลาทูน่าและปลาทะเลอื่นๆ ส่งให้เรือมารีนวัน(Marine one) ของบริษัท ซิลเวอร์ซี ไลน์ จำกัดที่ดำเนินการโดยคนไทย และยังเป็นบริษัทเดียวกับที่สำนักข่าวเอพีรายงานว่าทำการขนส่งอาหารทะเลจากการบังคับใช้แรงงานประมงและเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบให้กับไทยยูเนี่ยน

ขณะนี้แรงงานประมงจากกระบวนการค้ามนุษย์นับพันที่ถูกบังคับใช้หาปลารวมถึงปลาทูน่า หากไม่ใช่เป็นคนตกเรือ ก็ถูกทิ้งไว้ในอินโดนีเซียอย่างไร้อนาคต


ดาวน์โหลดรายงานได้ที่นี่

ที่มา: //www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/supply-chained




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2558   
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2558 17:07:47 น.   
Counter : 1425 Pageviews.  


ผู้บริโภค คือพลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมปลาทูน่า

Blogpost โดย รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์

กฎพื้นฐานอย่างหนึ่งของอุปสงค์และอุปทาน คือ เมื่อผู้บริโภคเลือกไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชนิดใด และมีปริมาณความต้องการซื้อลดลง ปริมาณความต้องการขายก็จะลดลงตามไปด้วย เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องที่ผู้บริโภคจากทั่วโลกกำลังร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดความเป็นธรรมและยั่งยืนอยู่ในขณะนี้ หากคุณไม่เชื่อว่าพลังจากผู้บริโภคสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตที่ดีกว่าให้กับอุตสาหกรรมปลาทูน่าได้ ลองอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ

อีกด้านหนึ่งของอุตสาหกรรมประมงทูน่าที่ไม่สามารถควบคุมได้ยังคงใช้การประมงแบบทำลายล้าง คร่าชีวิตของสัตว์ที่ไม่ใช่เป้าหมาย เช่น เต่าและฉลาม ไม่เพียงแต่ระบบนิเวศจะตกอยู่ในอันตรายเท่านั้น แต่กฎหมายที่หละหลวมทำให้อุตสาหกรรมประมงมีช่องโหว่ในการใช้แรงงานที่ได้มาจากการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานบนเรือประมงต่างๆ โดยไม่ได้ขึ้นฝั่งเลยติดต่อกันหลายปี และศูนย์กลางของอุตสาหกรรมนี้ คือ ไทยยูเนี่ยน เจ้าของแบรนด์ทูน่ากระป๋องอย่าง Sealect  ที่ผ่านมา บริษัทผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าทำการประมงราวกับถือคติว่า ไกลตา ไกลใจ ผู้บริโภคไม่เห็นจึงไม่ใส่ใจ แต่ตอนนี้ประชาชนกว่า 225,000 คนจากทั่วโลกกำลังออกมาเปล่งเสียงให้อุตสาหกรรมปลาทูน่าได้รับรู้ว่า พวกเขาใส่ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมาเป็นทูน่ากระป๋องในซูเปอร์มาร์เก็ต

แบรนด์ทูน่ากระป๋องหลายแบรนด์ออกมาแสดงเจตนารมณ์พร้อมเปลี่ยนแปลง

หลายแบรนด์ อาทิ Connétable ประเทศฝรั่งเศส Sealord ประเทศนิวซีแลนด์ Oriental Pacific สหราชอาณาจักร ซุปเปอร์มาร์เก็ตได้ออกมาแสดงเจตนารมณ์หันมาสนับสนุนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋องที่มาจากการประมงด้วยวิธีที่ปราศจากการใช้อุปกรณ์ล่อปลา (FAD-free) หลังจากที่ประชาชนในฐานะผู้บริโภคที่มีความตระหนักหลายหมื่นคนร่วมกันส่งเสียงเรียกร้อง

นอกจากนี้ แบรนด์ทูน่ากระป๋องชื่อดังของออสเตรเลียต่างๆ ได้แก่ Coles, Woolworths, Aldi, John West, IGA, Sirena และ Greenseas ได้ออกมาประกาศยุติการใช้การใช้อุปกรณ์ล่อปลา (FAD-free) หลังจากที่ชาวออสเตรเลียกว่า 50,000 คนออกมาแสดงพลังเรียกร้อง

ภาพด้านบนนี้คือเรือ Albatun Tres ซึ่งเป็นเรืออุตสาหกรรมประมงปลาทูน่าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ใช้อวนล้อมประกอบกับอุปกรณ์ล่อปลา สามารถจับปลาทูน่าได้ครั้งละ 3,000 ตัน ซึ่งนับว่ามากกว่าปริมาณที่ชาวประมงในบางประเทศทางหมู่เกาะแปซิฟิคสามารถจับได้ต่อปี การทำประมงปลาทูน่าส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์ล่อปลา (FADs) ร่วมกับอวนล้อมขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นวิธีการทำประมงแบบกวาดล้อมและคร่าชีวิตสัตว์น้ำทุกชนิดที่เข้ามาในอวน ไม่ว่าจะเป็นปลาทูน่าที่เป็นเป้าหมาย ไปจนถึงฉลาม เต่าทะเล วาฬขนาดเล็ก และปลาวัยอ่อนชนิดอื่นๆ สัตว์น้ำเหล่านี้เรียกว่าการจับสัตว์น้ำพลอยได้ (Bycatch) ซึ่งหากยังประมงด้วยวิธีทำลายล้างเช่นนี้ต่อไป จะเป็นการเร่งให้ปลาทูน่าบางสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ครีบเหลือง และครีบน้ำเงิน เสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์ได้

ซูเปอร์มาร์เก็ตและตัวแทนจัดจำหน่ายออกมาร่วมแสดงความรับผิดชอบต่อมหาสมุทรและผู้บริโภค

ไม่ใช่เพียงแค่แบรนด์ทูน่ากระป๋องเท่านั้น แต่ผู้บริโภคในหลายประเทศก็สามารถผลักดันให้ซูเปอร์มาร์เก็ตออกมาแสดงจุดยืนสร้างการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ดังเช่นในประเทศสหราชอาณาจักร  Tesco, Morrison และ Asda ได้ออกมาแสดงเจตนารณ์สนับสนุนการประมงปลาทูน่าอย่างยั่งยืนเช่นกัน รวมถึงยังมี Système U ประเทศฝรั่งเศส และที่ประเทศอเมริกา ตัวแทนจัดจำหน่ายอย่างบริษัท Hy-Vee ก็ได้ออกมาให้คำมั่นว่าจะจำหน่ายปลาทูน่าที่มาจากการประมงอย่างยั่งยืนขึ้นเช่นกัน

การที่ผู้บริโภคออกมาร่วมกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือการที่ผู้บริโภคออกมาแสดงจุดยืนว่าไม่ต้องการทูน่ากระป๋องที่เชื่อมโยงกับการทำลายระบบนิเวศของมหาสมุทร หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการส่งสาส์นเตือนไปยังแบรนด์ทูน่ากระป๋องว่า ผู้บริโภคกำลังจับตามองพฤติกรรมทั้งดีและร้ายของอุตสาหกรรมอยู่

ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังผลักดันให้ไทยยูเนี่ยนออกมาสร้างการเปลี่ยนแปลง

หลายแบรนด์ หลายตัวแทนจำหน่ายออกมาแสดงเจตนารณ์พร้อมเปลี่ยนแปลงแล้ว และในครั้งนี้ผู้บริโภคกำลังเรียกร้องให้ไทยยูเนี่ยน อุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดของโลก หันมาใช้วิธีการทำประมงแบบยั่งยืน ส่งผลกระทบต่อมหาสมุทรน้อยที่สุด รวมถึงคุ้มครองแรงงานบนเรือประมงตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพราะหากเราสามารถเปลี่ยนแปลงไทยยูเนี่ยนได้ อุตสาหกรรมปลาทูน่าทั้งหมดก็จะปรับเปลี่ยนตามได้เช่นกัน ไทยยูเนี่ยน เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีความเชื่อมโยง และยังคงเพิกเฉยกับการทำลายสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานบนเรือประมง แต่พลังของเราสามารถเปลี่ยนแปลงไทยยูเนี่ยนได้ ดังเช่นการผลักดันของผู้บริโภคที่ทำให้ ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำของอังกฤษต่างหันมาใช้ปลาทูน่ามาจากการประมงแบบยั่งยืนมาแล้ว

อุตสาหกรรมปลาทูน่าที่ยั่งยืนและเป็นธรรม หมายถึงอุตสาหกรรมที่แรงงานได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ชุมชนชายฝั่งได้รับผลประโยชน์จากทรัพยากรในท้องทะเล ระบบนิเวศในมหาสมุทรไม่ถูกทำลาย สัตว์ทะเลไม่ถูกคร่าชีวิตไปกับการเป็นผลพวงของการทำประมงแบบทำลายล้าง และปลาทูน่าสายพันธุ์ต่างๆ มีโอกาสเจริญเติบโตแพร่พันธุ์ได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม อุตสาหกรรมเช่นนี้สามารถเป็นจริงได้ เพียงแค่ทุกคน ทุกฝ่ายร่วมมือกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ด้วยพลังของผู้บริโภค

ร่วมลงชื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่นี่ #NotJustTuna


ที่มา: www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/54553/




 

Create Date : 27 ตุลาคม 2558   
Last Update : 27 ตุลาคม 2558 15:02:21 น.   
Counter : 2040 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com