กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

เืชื้อเพลิงชีวภาพอาจร้ายมากกว่าดี Biofuels May do More Harm than Good

เืชื้อเพลิงชีวภาพอาจร้ายมากกว่าดี Biofuels May do More Harm than Good

English text is after Thai.

ตำรวจไทยประกาศขอรับน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้วเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงรถลาดตระเวน เนื่องจากในขณะนี้น้ำมันซึ่งกำลังแตกฟองสบู่ มีมูลค่าเกินงบประมาณสำหรับต่อสู้กับอาชญากรรม

นั่นเป็นเรื่องดีทีเดียวเพราะเป็นการนำของที่จะทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมกลับมาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้เชื้อเพลิงชีวภาพยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน เมื่อไม่นานมานี้ภาวะโลกร้อนทำให้ทั่วโลกตื่นตัวโดยมีนโยบายเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันไปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ

ผู้คนจำนวนมากเห็นว่าเชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งผลิตจากข้าวโพด น้ำมันปาล์ม อ้อย และผลิตผลการเกษตรอื่นๆ นั้นเป็นวิธีในการตอบสนองความต้องการพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นของโลกที่สะอาดและถูกกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในขณะที่ราคาน้ำมันพุ่งสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เชื้อเพลิงชีวภาพกลายมาเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่ดึงดูดสำหรับประเทศยากจน ซึ่งบางประเทศใช้เงินเพื่อนำเข้าน้ำมันมากกว่าการสาธารณสุขถึง 6 เท่า

แต่ เรื่องเลวร้ายก็คือ.......ในขณะที่โลกเห็นว่าเชื้อเพลิงชีวภาพเป็น "โอกาสทอง" ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก.....

นักสิ่งแวดล้อมได้เตือนในรายงานของสหประชาชาติเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ว่าความเห่อในเชื้อเพลิงชีวภาพอาจทำลายสิ่งแวดล้อมได้เท่าๆ กับเชื้อเพลิงฟอสซิล

การเพิ่มขึ้นของการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจะทำให้เกิดความต้องการที่ดินและแหล่งน้ำของโลกเพิ่ื่อขึ้นเมื่อความต้องการของผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตผลจากป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นสภาพคาร์บอนในดินและปริมาณคาร์บอนในป่าและป่าพรุที่เปลี่ยนแปลงไปอาจอาจเป็นผลร้ายมากกว่าผลดีจากการลดก๊าซเรือนกระจก

การปลูกพืชขนาดเล็กในบริเวณกว้างอาจนำไปสู่การสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การกัดกร่อนของหน้าดิน และสารอาหารในพืชที่ลดลง ดังนั้นการลงทุนในพลังงานชีวภาพควรกระทำอย่างรอบคอบที่สุดในระดับประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจมีผลกระทบอย่างไม่สามารถกลับเป็นเหมือนเดิมได้

.....นี่เป็นข้อสรุปจากรายงานของสหประชาชาติ

ในแง่ของสิทธิมนุษยชนนั้น Oxfam องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนชื่อดังเตือนว่า เชื้อเพลิงชีวภาพจะทำร้ายประชากรที่ยากจนของโลกด้วย เนื่องจากประเทศพัฒนา เช่น สหภาพยุโรปจะต้องนำเข้าพืชผล เช่น อ้อยและปาล์มน้ำมามาจากประเทศกำลังพัฒนาเพื่อใช้ทำเชื้อเพลิงชีวภาพ และในขณะที่บริษัทและประเทศต่างๆ เดินหน้าตอบสนองความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพ ประชาชนจะถูกขับไล่ออกจากที่ดินของตนเองและชีวิตความเป็นอยู่ถูกทำลาย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การรณรงค์ต่อต้านการทำลายป่าพรุในอินโดนีเซียเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันของกรีนพีซเมื่อเร็วๆ นี้ โดยกรีนพีซได้เข้าไปตั้งค่ายผู้พิทักษ์ป่าและสร้างเขื่อนชั่วคราวเพื่อป้องกันการดึงน้ำออกจากป่าพรุเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน

“บริษัทน้ำมันปาล์มนี้กำลังทำสิ่งที่ผิดกฎหมายและทำลายสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบริเวณผืนป่าพรุแห่งนี้” ฮัปโซโร ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านป่าไม้ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว “และนอกจากนี้ยังส่งผลไปสู่ภาวะโลกร้อนอีกด้วย”

การตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณหนึ่งในห้าของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก การทำลายป่าพรุเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศอินโดนีเซียสูงขึ้นมาก

กรีนพีซเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่จะปกป้องมวลมนุษย์จากความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น วิกฤตการณ์น้ำ อากาศ และความอดอยากได้ โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้และผลิตพลังงาน รวมทั้งมีคำมั่นที่จะหยุดการทำลายป่าไม้ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นรัฐบาลจะต้องให้คำมั่นสัญญาที่จะตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากขึ้นในช่วงระยะที่สองของพิธีสารเกียวโต ซึ่งจะต้องมีการเจรจากันในการประชุมด้านสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติที่จะมีขึ้นที่บาหลี อินโดนีเซียในเดือนธันวาคมนี้

- กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย



-----

Thai police have put out an all-points bulletin for used cooking oil to fuel its patrol fleet as ballooning oil prices eat away the annual crime-fighting budget.

That is a good thing to recycle the waste and it can reduce greenhouse gas emissions from oil. Recently, the world has woken up to global warming and rising oil price by changing policies to use biofuels instead of oil.

Biofuels, which are made from corn, palm oil, sugar cane and other agricultural products, have been seen by many as a cleaner and cheaper way to meet the world's soaring energy needs than with greenhouse-gas emitting fossil fuels.

With oil prices at record highs, biofuels have become an attractive alternative energy source for poor countries, some of which spend six times as much money importing oil than on health care.

But while saying bioenergy represents an "extraordinary opportunity" to reduce greenhouse gas emissions..............

environmentalists have warned that the biofuel craze can do as much or more damage to the environment as dirty fossil fuels a concern reflected throughout the report, which was being released in May 2007 in New York, by U.N.-Energy, a consortium of 20 U.N. agencies and programs.

"Rapid growth in liquid biofuel production will make substantial demands on the world's land and water resources at a time when demand for both food and forest products is also rising rapidly."

Changes in the carbon content of soils and carbon stocks in forests and peat lands might offset some or all of the benefits of the greenhouse gas reductions, it said.

"Use of large-scale monocropping could lead to significant biodiversity loss, soil erosion and nutrient leaching," it said, adding that investments in bioenergy must be managed carefully, at national, regional and local levels to avoid new environmental and social problems "some of which could have irreversible consequences."

In Human Rights' viewpoint, Oxfam has warned that increasing use of biofuels could harm some of the world's poorest people.

The fuel is increasingly being seen as an environmentally-friendly energy source and EU proposals would make it mandatory for biofuels to make up ten per cent of all member states' transport fuels.

Oxfam believes that in order to meet this target the EU will have to import biofuels from crops such as sugar cane and palm oil from developing countries.

As companies and countries seek to meet this demand the charity is concerned that poor people will be forced from their land and have their livelihoods destroyed.

The distinct example is Greenpeace's campaign to halt peat lands destruction in Indonesia recently. They set up Forest Defenders' camp and built dams to prevent drainage to plant palm oil.

"Palm oil companies are breaking the law and draining the very life out of Indonesia's remaining peatland forests," said Hapsoro, Greenpeace South East Asia forest campaigner. "And they are adding substantially to the problem of global warming."

Greenpeace believes it take a revolution in the way we use and produce energy, and a strong commitment to halt deforestation worldwide. More governments need to commit to tougher emissions reduction targets in the second phase of the Kyoto Protocol which will be discussed in the UN climate meeting in Bali, Indonesia this December.

---

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย
Greenpeace Southeast Asia, Thailand




 

Create Date : 15 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2550 18:38:36 น.   
Counter : 956 Pageviews.  


การไม่แก้ปัญหาภาวะโลกร้อนเหมือน "ความไม่รับผิดชอบต่ออาชญากรรม"

คณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The Intergovernmental Panel on Climate Change; IPCC) จัดประชุมเริ่มต้นเมื่อวานนี้ในเมืองวาเลนเซีย สเปน เพื่อกลั่นกรองรายงานทางวิทยาศาสตร์เรื่องภาวะโลกร้อน 3 ฉบับใหญ่ที่เผยแพร่เมื่อต้นปีนี้และย่อให้เป็นบทสรุป 25 หน้าสำหรับรัฐบาลทั่วโลก คาดว่านักสิ่งแวดล้อมและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบภาวะโลกร้อนจะล๊อบบี้ให้บทสรุปนี้มีภาษาเข้มข้นเพื่อแสดงอย่างชัดแจ้งถึงหายนะของการลงมือทำเพียงน้อยนิดหรือไม่ทำอะไรเลย
รัฐบาลบองประเทศ ซึ่งคาดว่าจะรวมถึงสหรัฐ จีน และอื่นๆ จะเจรจาเพื่อหาทางลดภัยคุกคามของภาวะโลกร้อน ตอกย้ำความไม่แน่นอนต่างๆ และกล่าวยกย่องการลงมือปฏิบัติโดยสมัครใจ ก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น ผู้นำของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (U.N. Framework Convention on Climate Change; UNFCCC) คือ Yvo de Boer เน้นย้ำความจำเป็นในการปฏิบัติอย่างจริงจัง "ภาวะโลกร้อนที่โจมตีประเทศที่ยากจนและเปราะบางที่สุดอย่างรุนแรงที่สุด อย่างไรก็ตามทุกคนจะสามารถรับรู้ถึงผลกระทบโดยรวมของภาวะโลกร้อน และในบางกรณีจะเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของประชาชน" Yvo de Boer กล่าว "ความล้มเหลวในการรับรู้ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนและไม่ลงมือปฏิบัติก็เหมือนการไม่รับผิดชอบกับอาชญากรรมซักเรื่อง"

กรีนพีซทักทาย IPCC ด้วยป้ายผ้าที่มีข้อความ "เตือนภัย: ปกป้องสภาพอากาศเดี๋ยวนี้" (“Warning: save the climate now.” )




.........
กรีนพีซต้องการความช่วยเหลือจากคุณ! เราต้องการให้คุณช่วยบอกต่อเกี่ยวกับกรีนพีซและงานรณรงค์ขององค์กรโดยช่วยบอกให้พวกเขามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา - www.greenpeace.or.thและมีส่วนร่วมโดยสมัครการรณรงค์ออนไลน์และร่วมในการรณรงค์ทางออนไลน์ของกรีนพีซ


1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ่นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

.........

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซเป็นองค์กรรณรงค์อิสระระดับโลก
ที่ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
เปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม
ปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
และส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้



Greenpeace is an independent, campaigning organization that uses non-violent, creative confrontation to expose global environmental problems, and force solutions for a green and peaceful future. Greenpeace's goal is to ensure the ability of the Earth to nurture life in all its diversity.

Greenpeace Southeast Asia, Thailand





 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2550 13:14:59 น.   
Counter : 904 Pageviews.  


กรีนพีซเตือนภัยจากพืชจีเอ็มโอ โปรดร่วมลงชื่อ

กรีนพีซเตือน หลังพบรายงานว่าการประชุม ครม. ในวันที่ 13 พ.ย. 50 กระทรวงเกษตรฯ อาจผลักดันให้มีการล้มมติครม. 3 เมษายน 2544 ที่ห้ามทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอทุกชนิดในพื้นที่เปิดอีกครั้ง ท่ามกลางกระแสคัดค้านจากหลายฝ่าย

เหตุการณ์ในอดีตชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามนุษย์เราไม่สามารถควบคุมการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอได้ ท้ายสุดเมื่อจีเอ็มโอปนเปื้อนออกไปสู่สิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นมลพิษทางพันธุกรรม ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของประเทศ ประเด็นที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม รัฐจึงควรเห็นแก่ประโยชน์ของเกษตรกรไทยมากกว่าการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทข้ามชาติซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีจีเอ็มโอ เพราะจีเอ็มโอจะเข้ามาสร้างปัญหาให้ภาคเกษตรของไทยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้

ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ พยายามดิ้นรนให้มีการล้มมติ ครม. ดังกล่าวมาแล้วหลายครั้ง นับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2550 กรีนพีซออกโรงเตือนกระทรวงเกษตรฯ พร้อมประกาศจับตาดู หากพบว่ากระทรวงเกษตรฯ พยายามล้มมติ ครม.ดังกล่าว ก็พร้อมเคลื่อนไหวคัดค้าน เพราะการล้มมติ ครม.ดังกล่าว ถือเป็นการเปิดประตูรับจีเอ็มโอหรือมลพิษทางพันธุกรรมอย่างเต็มตัว และจีเอ็มโอจะเข้ามาทำลายระบบเกษตรกรรมดั้งเดิมของไทย

กรีนพีซ รณรงค์เรื่องพืชจีเอ็มโออย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องให้ประเทศไทยปลอดจากจีเอ็มโอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวซึ่งเป็นพืชส่งออกที่สำคัญของประเทศ ซึ่งไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของพืชจีเอ็มโอในหลายประเด็น ได้แก่ 1) ความเสี่ยงทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคเนื่องจากยังไม่มีการยืนยันความปลอดภัยในระยะยาว 2) เป็นมลพิษทางพันธุกรรมหากพบว่าเกิดการปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อม จะไม่สามารถเรียกสิ่งแวดล้อมเดิมกลับคืนมาได้ 3) เป็นภัยคุกคามระบบเกษตรกรรมไทย หากไทยรับเอาจีเอ็มโอเข้ามาในประเทศ เกษตรกรไทยต้องแบกรับภาระความเสี่ยง ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำของบริษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ และภาวะผู้บริโภคทั่วโลกปฏิเสธจีเอ็มโอ

เพียงแค่การทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิด ก็สามารถสร้างความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล เนื่องจากพืชจีเอ็มโอไม่สามารถควบคุมการปนเปื้อนได้ ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ ล้มเหลวในการจัดการปัญหาการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอ และจากรายงาน “ธุรกิจแห่งความเสี่ยง” ของกรีนพีซที่เปิดเผยเมื่อสัปดาห์ก่อนชี้ชัดถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 4 หมื่น 8 พันล้านบาท บทเรียนราคาแพงของสหรัฐอเมริกาที่ปล่อยให้มีการทดลองข้าว จีเอ็มโอในพื้นที่เปิดซึ่งสุดท้ายปนเปื้อนออกสู่ตลาดข้าวโลก และจนถึงปัจจุบันกระทรวงเกษตรฯ สหรัฐอเมริกายังไม่สามารถเปิดเผยที่มาของการปนเปื้อนได้

ตลาดส่งออกของประเทศไทยก็เคยประสบปัญหาเนื่องจากการปนเปื้อนจีเอ็มโอเช่นกัน ในเดือนกรกฎาคม 2547 กรีนพีซเปิดโปงกระทรวงเกษตรฯ ว่าเป็นสาเหตุทำให้มะละกอไทยปนเปื้อนจีเอ็มโอ โดยมีการทดลองปลูกมะละกอจีเอ็มโอที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 ส่วนแยกพืชสวน จ.ขอนแก่น และปล่อยให้มีการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์มะละกอที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอให้กับเกษตรกรไทยกว่า 2,669 ราย ใน 37 จังหวัดทั่วประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กระทรวงเกษตรฯ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการควบคุมการแพร่กระจายของพืชจีเอ็มโอ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรไทย การปนเปื้อนที่ผิดกฎหมายและไม่พึงประสงค์นี้เป็นเหตุให้ตลาดโลกโดยเฉพาะในยุโรปขาดความเชื่อมั่นต่อการส่งออกมะละกอไทย

“เป็นความล้มเหลวของกระทรวงเกษตรฯ หากพยายามยกเลิกมติครม. ดังกล่าว เพื่อปูทางให้มีการทดลองพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิด ทั้งๆ ที่ควรจะปกป้องสิ่งแวดล้อมและระบบเกษตรกรรมไทยให้ปลอดจากจีเอ็มโอ การยัดเยียดเทคโนโลยีจีเอ็มโอให้กับเกษตรกรไทย เท่ากับเป็นการพยายามทำลายอนาคตของเกษตรกรรมไทยและเดินตามรอยความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาโดยที่ไม่ฟังเสียงคัดค้านจากประชาชน” นางสาวณัฐวิภา อิ้วสกุล กล่าว

โปรดร่วมลงชื่อยุติภัยคุกคามจากพืชจีเอ็มโอ สนับสนุนการเกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์ ที่นี่

.........
กรีนพีซต้องการความช่วยเหลือจากคุณ! เราต้องการให้คุณช่วยบอกต่อเกี่ยวกับกรีนพีซและงานรณรงค์ขององค์กรโดยช่วยบอกให้พวกเขามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา - //www.greenpeace.or.th และมีส่วนร่วมโดยสมัครการรณรงค์ออนไลน์และร่วมในการรณรงค์ทางออนไลน์ของกรีนพีซ


1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ่นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

.........

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้





 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2550 11:43:27 น.   
Counter : 863 Pageviews.  


Linkin Park Live in Bangkok



English text is after Thai.

Linkin Park Live in Bangkok 11 พ.ย. 2550

(เราจะมาโพสรูปทีหลัง)

ชาวกรีนพีซประมาณ 30 คนร่วมกิจกรรมคอนเสิร์ต Linkin Park เมื่อวานนี้ ซึ่งทำให้ผู้จัดงานตกใจ ผู้จัดงานขอให้เราจำกัดจำนวนเจ้าหน้าที่พราะสายรัดข้อมือที่ต้องใช้เข้างานคอนเสิร์ตได้ฟรีมีจำกัด ชาวกรีนพีซที่ไม่มีสายรัดข้อมือไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมคอนเสิร์ตหรือแม้แต่ทำงานที่บู๊ทของเรา

พื้นที่ของกรีนพีซมีคลินิกโลกร้อน ทีมระดมทุน และบู๊ทขายเสื้อยืดสำหรับหาทุน เราพร้อมตั้งแต่เช้า จากนั้นประตูเปิดเวลา 4 โมงเย็น วงดนตรีที่เล่นเปิดคอนเสิร์ต (Futon, Retrospect, Slot Machine และ Ebola) เริ่มเล่นเวลา 5 โมงเย็น นั่นแสดงว่าเรามีเวลา 1 ชั่วโมงในการรณรงค์และระดมทุนก่อนที่สาวก Linkin Park จะกรูกันเข้าสู่ประตูคอนเสิร์ต

เราถูกบันทึกเทปโดยเอ็มทีวีและยูบีซี ช่อง 5 ฝาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ด้านสภาพภูมิอากาศถูกขอให้เป็นผู้นำรายการยูบีซี ช่อง 5 ก่อนที่คอนเสิร์ตจะเริ่ม บู๊ทประมูลเสื้อมีผู้คนสนใจจำนวนมาก และมีผู้ลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครกรีนพีซ 47 คน นอกจากนี้เรายังได้รับเงินบริจาค 20,000 บาทสำหรับเสื้อยืดที่วาดลวดลายโดยดารา

ในขณะที่วงดนตรีเปิดกำลังเล่น พิธีกรได้ประกาศไปยังผู้ชม 40,000 คนให้ช่วยสนับสนุนกรีนพีซโดยคลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา ให้สมัครเป็นนักกิจกรรมรณรงค์ทางอินเทอร์เน็ต และให้ร่วมเป็นอาสาสมัคร นอกจากนี้ยังโชว์เสื้อยืดกรีนพีซ กระเป๋าผ้าที่มีข้อความ "Try Me, I'm Not Plastic ของกรีนพีซ และเชิญชวนให้ผู้ชมคลิกเข้าไปที่เว็บไซต์กรีนพีซภาษาไทย

ผู้จัดงานประกาศชื่อกรีนพีซหลายครั้งโดยกล่าวว่ากรีนพีซเป็นองค์กรที่ต่อสู้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมก่อนที่คอนเสิร์ตจะเริ่ม นอกจากนี้แผ่นพับเล็กๆ เกี่ยวกับวิธีง่ายๆ เพื่อต่อสู่กับภาวะโลกร้อนยังถูกแทรกไว้กับบัตรตอนเสิร์ต 40,000 ใบเหล่านั้นด้วย

และสุดท้ายเราก็โยกหัวและกระโดดไปกับวงดนตรีร็อคเกอร์

กรีนพีซขอขอบคุณทุกคนที่ไปช่วยงานและขอโทษอาสาสมัครและพนักงานที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานได้

------

Linkin Park Live in Bangkok, 11 Nov 07

(We will post the pictures later).

There were about 30 Greenpeacers at the activity yesterday which amazed the organizer. We were asked to limit the number of greenpeacers due to the limited wristbands that all were asked to wear to watch the concert for free. The rest without the wristband were not allowed to join the concert or even to work at our booth.

We had Climate Clinic, fundraising team and t-shirt booth for raising fund, and games. We were ready since in the morning, then the main gate opened at 4PM and the opening bands (Futon, Retrospect, Slot Machine and Ebola) started playing at 5PM. That meant we had about 1 hour to campaign and raise fund before those audiences flooded into the gate inside.

We were covered by MTV and UBC cable TV, channel 5. Fa, our climate campaign person was asked to take the lead for the programme before the show started. The t-shirt auction was crowded with people and we got 47 new people signing up to be our volunteers. Moreover, we got a special donation for our t-shirts that were painted by celebrities, a total of 20,000 baht.

While the opening bands were playing, the host announced to those 40,000 audience to support Greenpeace by clicking on our website, to be out activists in our online community and to be Greenpeace's volunteers. They showed GP t-shirts, cloth bags (the "Try Me, I'm Not Plastic" cloth bags) and aked the audience to click on the Thai Greenpeace website.

The organizer announced GP name as a leading organization to fight the environmental problems quite often before the bands started. In addition, our small leaftlet on simple actions to fight climate change was attached with those 40,000 tickets.

At the end we were shaking heads and jumping with the rockers.

Many thanks to everyone involved and we are sorry for both volunteers and staffs who were not able to join the show.

.........
กรีนพีซต้องการความช่วยเหลือจากคุณ! เราต้องการให้คุณช่วยบอกต่อเกี่ยวกับกรีนพีซและงานรณรงค์ขององค์กรโดยช่วยบอกให้พวกเขามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา - //www.greenpeace.or.th และมีส่วนร่วมโดยสมัครการรณรงค์ออนไลน์และร่วมในการรณรงค์ทางออนไลน์ของกรีนพีซ


1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

.........

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซเป็นองค์กรรณรงค์อิสระระดับโลก
ที่ดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
เปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม
ปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
และส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - //www.greenpeace.or.th

Greenpeace is an independent, campaigning organization that uses non-violent, creative confrontation to expose global environmental problems, and force solutions for a green and peaceful future. Greenpeace's goal is to ensure the ability of the Earth to nurture life in all its diversity.

Greenpeace Southeast Asia, Thailand - //www.greenpeace.or.th




 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2550 14:59:13 น.   
Counter : 890 Pageviews.  


สินค้ายี่ห้อดัง “ปรุงโลกให้ร้อนขึ้น”/กรีนพีซหยุดการทำลายป่าพรุเพื่อทำน้ำมันปาล์ม

เหลือเวลาเพียง 1 เดือนก่อนจะถึงวันที่รัฐบาลทั่วโลกจัดการประชุมที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซียเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการขั้นต่อไปเพื่อต่อสู่กับภาวะโลกร้อน กรีนพีซได้เปิดเผยการตรวจสอบสินค้ายี่ห้อชั้นนำของโลกจำนวนหนึ่งที่เป็นสาเหตุของทำลายป่าพรุในอินโดนีเซีย และทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่การทำลายป่าพรุนั้นทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโลกไปแล้ว 4%

รายงานของกรีนพีซที่ชื่อ ปรุงโลกให้ร้อน (Cooking the Climate) แสดงให้เห็นว่าบริษัท เช่น ยูนิลีเวอร์ (Unilever) เนสท์เล่ (Nestlé) และพร็อกเตอร์ แอนด์ แกมเบิ้ล (Procter & Gamble) เป็นตัวการของการทำลายป่าพรุในอินโดนีเซียจากสาเหตุการใช้น้ำมันปาล์มในอาหาร เครื่องสำอาง และเชื้อเพลิง ป่าพรุในอินโดนีเซียเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไว้มากที่สุดในโลก ดังนั้นการทำลายป่าพรุเหล่านี้จึงเป็นตัวการที่นำไปสู่ภาวะโลกร้อนอย่างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

“การตรวจสอบนี้แสดงให้เห็นว่าท้ายที่สุดแล้ว บริษัทนานาชาติเพียงไม่กี่แห่งนี้เป็นผู้ทำลายและเผาป่าพรุของอินโดนีเซียเพื่อนำไปผลิตอาหาร น้ำมัน และน้ำยาซักผ้า สินค้ายี่ห้อที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดบางยี่ห้อได้กำลังเพิ่มความร้อนให้กับภูมิอากาศอย่างแท้จริง” เอ็มมี่ ฮาฟิลด์ ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

อาสาสมัครกรีนพีซยุติการทำลายระบบนิเวศน์ป่าพรุในพื้นที่ของบริษัทน้ำมันปาล์มพีที ดูทา พาลมา ที่จังหวัดรีอาล (Riau) ในสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย อาสาสมัครกำลังสร้างเขื่อนชั่วคราว 5 แห่งในบริเวณคลองน้ำลึก 3 เมตร ที่ใช้ในการทำซุงและดึงน้ำออกจากพื้นที่ป่าพรุเพื่อเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งขัดต่อกฎหมายอินโดนีเซียในเรื่องการปกป้องป่าและยังส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมหาศาล

อาสาสมัครกรีนพีซกว่า 30 คนทำงานร่วมกับชุมชนจากหมู่บ้านใกล้เคียงในกัวลาเชนากูเพื่อสร้างเขื่อนชั่วคราวกั้นไม่ให้มีการระบายน้ำออกจากป่าพรุซึ่งจะทำให้พื้นที่บริเวณนั้นไม่เหือดแห้งและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกออกมา เขื่อนชั่วคราวนี้จะช่วยป้องกันบริษัทน้ำมันปาล์มจากการเผาพื้นที่ป่าพรุอย่างผิดกฎหมาย ก่อนที่จะมีการนำไปใช้เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะเพิ่มให้เกิดภาวะโลกร้อนมากขึ้น

“บริษัทน้ำมันปาล์มนี้กำลังทำสิ่งที่ผิดกฎหมายและทำลายสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบริเวณผืนป่าพรุแห่งนี้” ฮัปโซโร ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านป่าไม้ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว “และนอกจากนี้ยังส่งผลไปสู่ภาวะโลกร้อนอีกด้วย”

------------

กรีนพีซเป็นองค์กรต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยรัฐบาลและบริษัท เราไม่รับเงินบริจาคจากรัฐบาลและเอกชน จึงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความช่วยเหลือจากประชาชนเช่นคุณ

กรีนพีซต้องการความช่วยเหลือจากคุณ! เราต้องการให้คุณช่วยบอกต่อเพื่อของคุณเกี่ยวกับกรีนพีซและงานรณรงค์ของกรีนพีซโดยบอกให้พวกเขาไปเยี่ยมเว็บไซต์ของกรีนพีซ – //www.greenpeace.or.thและมีส่วนร่วมโดยสมัครจดหมายข่าวนักกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการณรงค์ทางอินเทอร์เน็ต

1. บริจาควันนี้ – ช่วยกรีนพีซให้ดำรงอยู่ สมัครสมาชิกวันนี้
2. ลงมือทำ – เป็นสมาชิกของชุมชนนักกิจกรรมออนไลน์กรีนพีซ
3. เป็นอาสาสมัคร – มีหลายอย่างที่ต้องทำเพื่อปกป้องโลกใบนี้สำหรับคนรุ่นต่อไป และเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ




 

Create Date : 10 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2550 14:20:21 น.   
Counter : 1137 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com