กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

เนสท์เล่มอบการหยุดพักให้ป่าฝนแล้ว

กรุงเทพฯ, 17 พฤษภาคม 2553 - เนสท์เล่ บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ประกาศในวันนี้ว่าบริษัทจะยุติการใช้ผลิตภัณฑ์จากการทำลายป่าฝนเขตร้อน

การ ประกาศครั้งนี้เป็นผลมาจากการรณรงค์ของกรีนพีซในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาใน การเปิดโปงการใช้น้ำมันปาล์มในผลิตภัณฑ์ที่เนสท์เล่ผลิตขึ้น อย่างเช่น คิทแคท (Kit Kat) ทั้งนี้ การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันและเยื่อกระดาษทำให้เกิดการทำลายล้างป่าฝนเขตร้อนและป่าพรุในอินโดนีเซีย และเป็นแรงกดดันให้อุรังอุตัง เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

อ่านต่อ




 

Create Date : 17 พฤษภาคม 2553   
Last Update : 17 พฤษภาคม 2553 19:49:10 น.   
Counter : 1232 Pageviews.  


คลองเชียงรากน้อยกับสารพิษที่มองไม่เห็น

23 เมษายน 2553

การเดินทางของหน่วยศึกษาและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำยังคงดำเนินต่อไป วันนี้เราเดินทางฝ่าเปลวแดดอันร้อนระอุมายังคลองเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี คลองเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใกล้กับสถานีสูบน้ำดิบสำแล แหล่งน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาที่สำคัญที่สุดของภาคกลาง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ บริเวณนี้กลับเป็นที่ตั้งของโรงงานมากมาย และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร แหล่งรวมโรงงานมลพิษ อาทิ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ ผลิตสารเคมี ผลิตพลาสติก เป็นต้น ทั้งหลายล้วนใช้สารเคมีอันตรายก่อมะเร็งหลากหลายชนิด


 จุดรับน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อนำมาผลิตเป็นน้ำประปา ซึ่งอยู่ในจังหวัดปทุมทานี

ทีมงานกลับมายังจุดปล่อยน้ำเสียของนิคมอุตสาหกรรมนวนคร บริเวณคลองซอยเล็กๆ หลังชุมชนซอยเชียงราก 11 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่หลบจากสายตาจากสาธารณชน แต่เป็นภาพที่ชินตาของชุมชนชาวเชียงรากน้อย ภาพท่อขนาดใหญ่วางเรียงรายพร้อมกับมีน้ำสีและกลิ่นที่ไม่สามารถบรรยายได้พวยพุ่งออกมาอย่างเกรี้ยวกราด ท้าทายความรู้สึกของพวกเราอย่างมาก


จุดปล่อยน้ำเสียจากนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงกับคลองเชียงรากน้อยที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา


คลองเชียงรากน้อยเชื่อมกับจุดปล่อยน้ำเสียจากนิคมอุตสาหกรรมนวนคร มีสีดำสกปรกและกลิ่นเหม็นในบางครั้ง

การกลับมาพบภาพเดิมๆ อีกครั้ง จาก 5 ปีที่แล้วที่เราเคยนำน้ำตัวอย่างไปตรวจ และพบสารโลหะหนักและนิกเกิลปนเปื้อน สะท้อนให้เห็นว่าการจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรมของประเทศไทยยังคงเป็นบริบทเดิมๆ คือกฎหมายและการบังคับใช้ที่หละหลวม และโรงงานผู้ก่อมลพิษที่ขาดความรับผิดชอบ โดยทั้งภาครัฐและอุตสาหกรรมมักต่างประสานเสียงเหมือนกันว่า “โรงงานมีการบำบัดน้ำเสียแล้ว และปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด”


 ภาพมุมสูง จุดปล่อยน้ำเสียจากนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงกับคลองเชียงรากน้อยที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

จากภาพที่พบคำถามจึงเกิดขึ้น “เอ๊ะ! ชาวบ้านแถวนี้เค้ายังคงใช้น้ำในคลองอยู่หรือปล่าวหนอ” หรือถ้าจะเป็นคำถามที่ถูกต้องที่สุดก็คือ “แล้วชาวบ้านที่ต้องใช้ทรัพยากรน้ำตรงนี้ในการดำรงชีวิต เขาจะทำกันอย่างไร จะได้รับผลกระทบกันอย่างไร” ความกังวลที่เกิดขึ้นกับพวกเราทันทีคือการที่ปลาและผักบุ้ง ผักกระเฉดในคลองนี้ที่ชาวบ้านจับกินและเก็บเกี่ยวไปขายในตลาดนั้น มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะปนเปื้อนไปด้วยสารพิษอันตราย


ชาวบ้านปลูกผักกระเฉดตามคลองเพื่อนำไปขาย และยังมีการดักจับปลาเพื่อนำไปประกอบอาหาร

เดินทางลัดเลาะชายคลองมาเรื่อยๆ กับความสงสัย สายตาก็ไปสะดุดกับหอบผักกระเฉดสองหอบใหญ่ในมือคุณป้าที่กำลังขนขึ้นมาบรรจุถุงขายข้างคลอง ไม่รอช้าพวกเราจึงรีบเข้าไปคุยกับคุณป้าด้วยความอยากรู้ คุณป้าสง่าเป็นชาวจังหวัดปทุมธานีโดยกำเนิด อาศัยอยู่ข้างคลองเชียงรากน้อย คุณป้าเล่าว่า “ตอนเด็กๆคลองหน้าบ้านสะอาดมากมีกุ้งมีปลาให้กินตลอด สามารถว่ายน้ำเล่นได้ไม่ต้องกลัวคัน ช่วงหน้าน้ำเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ น้ำจะใสเห็นพื้นข้างล่างเลย แต่พอเริ่มมีโรงงานเข้ามาน้ำเริ่มเน่าเสียปลาลอยตายเป็นแพ” คุณลุงบุญสืบสามีป้าเล่าเสริมว่า “ยิ่งเมื่อก่อน ตอนโรงงานเข้ามาแรกๆน้ำดำขุ่นเหม็นดูไม่ได้เลย แต่เดี๋ยวนี้ดีขึ้นบ้าง เนื่องจากชาวบ้านร้องเรียนไปกับทางนิคมฯ”


คุณป้าสง่าเก็บเกี่ยวรวบรวมผักกระเฉดเพื่อนำไปขาย

ฟังคุณลุงเล่าไปก็เกิดข้อสงสัยว่าที่ไม่เห็นปลาลอยตายเป็นเพราะน้ำดีขึ้นหรือไม่มีปลาอยู่ในคลองนี้แล้ว? จึงถามคุณป้าต่อว่า “แล้วปลากับผักที่หามาได้จากคลองนี้คุณป้าเคยสงสัยหรือปล่าวว่า มันถูกปนเปื้อนสารพิษจากน้ำทิ้งโรงงานรอบๆชุมชน” ป้าตอบว่า “ก็รู้ว่ามี แต่ไม่รู้ว่ามีอะไรบ้าง ถ้าเค้าบอกเราก็ดี” นี่เป็นเสียงหนึ่งจากชุมชนซึ่งต้องอยู่กับมลพิษที่มองไม่เห็นรอบตัว ขณะที่เขาก็ไม่ได้ใช้หรือมีสิทธิการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวมลพิษและสารพิษที่ถูกปลดปล่อยจากโรงงานที่เขาเหล่านั้นต้องทนอยู่ด้วย


เด็กๆ จับกลุ่มเล่นกันริมคลองใต้ต้นไม้ แต่เด็กๆ เหล่านี้กลับไม่เคยได้ลงเล่นน้ำเลยเนื่องจากคลองเน่าเสีย

การเดินทางยังคงดำเนินต่อไปในคลองเชียงรากน้อย บ้านเรือนกระจายเป็นกลุ่มห่างๆ กัน จนผ่านมาบ้านหลังหนึ่ง มีเงาต้นไม้ร่มครึ้มเย็นจนแปลกใจว่านี่เป็นชุมชนใกล้นิคมอุตสาหกรรมที่มีเป็นร้อยๆ โรงงานได้อย่างไร คุณป้าแสวงและญาติๆกำลังนั่งคุยกันอยู่หน้าบ้าน กำลังนึ่งขนมข้าวต้มมัดควันฉุย เราจึงกล่าวสวัสดีและแนะนำตัวว่าเรามาทำอะไรกัน คุณป้าหัวเราะร่วนอารมณ์ดี เชื้อเชิญนั่งอย่างเป็นกันเอง พร้อมน้ำใสเย็นๆ คลายร้อนได้เป็นอย่างดี นี่แหละน้ำใจใสๆ ของคนไทย


คุณป้าแสวงกำลังทำข้าวต้มมัดเพื่อนำไปขายในตลาดหรือคนงานในนิคมฯ โดยเป็นข้าวต้มมัดที่ใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นทั้งสิ้น

ป้าแสวงเล่าให้ฟังว่า “เมื่อก่อนแถวนี้ชาวบ้านทำนากันเป็นส่วนใหญ่ น้ำในคลองหน้าบ้านก็เอามาแกว่งสารส้มให้ใสและดื่มกินได้เลยไม่ต้องซื้อน้ำกินหรือใช้น้ำปะปาเหมือนเดี๋ยวนี้ พออากาศร้อนมากๆ เด็กๆ ก็จะใช้คลองนี้แหละเป็นที่เล่นสนุกสนานคลายร้อน โดดกันตู้มต้ามสนุกสนาน แต่เดี๋ยวนี้พอร้อนก็ต้องออกไปเดินห้างๆ ตากแอร์กัน” ป้าคุยไปยิ้มไปอย่างอารมณ์ดี ถามป้าต่อว่าปลาในคลองนี้ยังพอหาได้หรือปล่าวคะ ป้าบอกว่า “ก็พอมีแต่กินไม่ได้เนื้อมันเหม็นน้ำมัน”


 การจับปลาในลำคลอง แต่ปัจจุบันเหลือปลาอยู่น้อยมาก และเนื้อปลามักมีกลิ่นเหม็นน้ำมันและสารเคมี

มลพิษปนเปื้อนในสัตว์น้ำเป็นอีกผลพวงของการปล่อยสารพิษในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน สารพิษเหล่านี้แม้จะไม่แสดงอาการให้เห็นในทันที แต่การสะสมอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ก่อให้เกิดความผิดปกติแก่ผู้ที่ได้รับ เกิดโรคร้ายแก่ผู้รับเอง และสามารถส่งต่อทางพันธุกรรมได้อีกด้วย ภัยที่มองไม่เห็นเหล่านี้ยังคงอยู่รอบตัวเราโดยไม่รู้ตัว

อีกนานเท่าไหร่ป้าแสวง คนในชุมชนนี้และชุมชนอื่นๆ ที่ต้องอาศัยอยู่กับอุตสาหกรรมสกปรกเอาเปรียบธรรมชาติ จะได้สภาพแวดล้อมและทรัพยากรพื้นฐานกลับคืนมา และเมื่อไหร่ประชาชนจะได้รับสิทธิในการรับรู้ข้อมูลเพื่อปกป้องตนเองและครอบครัว สิ่งดังกล่าวเป็นคำถามที่เรากำลังพยายามช่วยกันหาคำตอบและผู้รับผิดชอบกันต่อไป

ลงมือทำ
» ลงชื่อผลักดันสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2553   
Last Update : 13 พฤษภาคม 2553 11:55:09 น.   
Counter : 2916 Pageviews.  


จากงานอาสา มาเป็นความประทับใจ “ชวนน้องสนุกกลางทุ่ง คุยฟุ้งเกษตรอินทรีย์”์








สวัสดีค่ะ

ขอเชิญอ่านบทความความประทับใจในธรรมชาติ จากค่ายเกษตรกรรมอินทรีย์ครั้งที่ 2 เรื่อง

จากงานอาสา มาเป็นความประทับใจ “ชวนน้องสนุกกลางทุ่ง คุยฟุ้งเกษตรอินทรีย์”์






“ใครอาสาไปค่ายเกษตรอินทรีย์กับเด็กๆบ้าง” เสียงพี่ชูชัย ผู้จัดการฝ่ายบริการสมาชิกถาม ขณะพวกเรากำลังประชุมทีม

ฉันยกมือขึ้นก่อนใคร โดยที่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากิจกรรมที่ว่านี่จะมีขึ้นเมื่อไหร่ รู้ตัวอีกที ฉันก็ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมงานกิจกรรมครั้งนี้ไปโดยปริยาย มีน้องๆ ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมนี้เป็นจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นน้องๆ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เรียกได้ว่า เป็นเด็กเมืองขนานแท้

.........’งานนี้ท่าจะสนุกไม่หยอก’ ฉันคิด และตั้งตารอคอยให้วันนั้นมาถึงอย่างใจจดใจจ่อ

» อ่านต่อ



ยังมีลิงค์ที่น่าสนใจอีกดังนี้ค่ะ



» เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ผ่านการ์ตูนอินเตอร์แอคทีฟสวยๆ

» ภาพสไสด์ค่ายเกษตรอินทรีย์ครั้งที่ 1

» ภาพสไสด์ค่ายเกษตรอินทรีย์ครั้งที่ 2






ขอให้สนุกกับการอ่าน และขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนกิจกรรมดีๆ เช่นนี้ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า



ณัฐวิภา อิ้วสกุล
ผู้ประสานงานรณรงค์เกษตรกรรมยั่งยืน


เกร็ดความรู้

ปุ๋ยธรรมชาติผลิตอาหารที่ปลอดภัยกว่า


ปุ๋ยธรรมชาติช่วยเกษตรกรปลูกพืชที่ปลอดภัยกว่า เพราะไม่มีสารเคมี ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า และมีความยั่งยืน เพราะวัตถุดิบที่ใช้ล้วนหาได้ในชุมชนและมาจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นไส้เดือน จุลินทรีย์ มูลสัตว์ เป็นต้น





 

Create Date : 10 พฤษภาคม 2553   
Last Update : 10 พฤษภาคม 2553 15:22:29 น.   
Counter : 1083 Pageviews.  


กระดานคะแนนผู้นำบริษัทไอทีสุดเจ๋ง เผยความแตกแยกมากขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างคำพูดและการกระทำ เรื่ิองโลกร้อน

มาดูกันว่าบริษัทไอทีแห่งใดเป็นผู้นำด้านการลงมือแก้ปัญหาโลกร้อน และบริษัทใดยังล้าหลัง ในกระดานคะแนนผู้นำบริษัทไอทีสุดเจ๋งฉบับล่าสุดของเรา ที่เพิ่งเผยแพร่ไป ที่นี่

การจัดอันดับด้านสภาพภูมิอากาศของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ฉบับใหม่ล่าสุดของเราเปิดเผยว่า บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกไม่กี่แห่งกำลังเป็นผู้นำอย่างไร พวกเขากำลังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของวิธีแก้ปัญหาทางไอที ในการช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงาน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะที่บริษัทอื่นๆ ดูเหมือนไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าวิธีแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศโดยใช้วิธีทางไอทีนั้น เป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญยิ่ง หรือเป็นเพียงแค่กลยุทธ์ทางการตลาด
อ่านต่อที่นี่




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2553   
Last Update : 6 พฤษภาคม 2553 11:47:35 น.   
Counter : 911 Pageviews.  


หายนะน้ำมันรั่วไหลในอ่าวเม็กซิโก ของ BP



สหรัฐอเมริกา - อุบัติเหตุที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน "ทะเลลึกสุดขอบฟ้า" (Deepwater Horizon) ในทะเลลึก และน้ำมันรั่วไหลในอ่าวเม็กซิโกนั้น เป็นหายนะที่ค่อยๆ เผยให้เราเห็นต่อหน้าต่อตาเรา ชีวิต 11 ชีวิตสูญเสียไปในการระเบิดเริ่มแรก และการสูญเสียที่เหลือคณานับนั้น เพิ่มขึ้นทุกๆ วัน ในขณะที่น้ำมันยังคงไหลไปเรื่อยๆ ดูภาพสไลด์ วีดิโอ และอ่านเรื่องราวที่นี่




 

Create Date : 04 พฤษภาคม 2553   
Last Update : 4 พฤษภาคม 2553 14:31:18 น.   
Counter : 1284 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com