กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

พลังงานลม! เรือนักรบสายรุ้งเริ่มล่องแล้ว

คุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่คิดว่าโลกเราจะมีพลังงานจากลมในปริมาณมากใช่มั้ย ผมขอท้าผู้ที่คิดเช่นนั้นว่าให้มายืนอยู่บนดาดฟ้าของเรือนักรบสายรุ้งขณะที่เรือมุ่งหน้าไป 14 องศา ด้วยโครงสร้างเหล็กถึง 838 ตันที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 12.8 น็อตมีผ้าใบสี่ผืน เสาเรือจะส่งเสียงดังขณะที่เรือแล่นผ่านคลื่น และนี่ก็เป็นพลังงานของลมที่ไม่อาจจะจินตนาการได้นั่นเอง



เมื่อวานนี้ขณะที่เราหยุดพักเพื่อเดินทางต่อจากฮัมบวร์กไปยังอัมสเตอร์ดัม เราก็ต้องตกตะลึงกับสิ่งที่ได้เห็นเกี่ยวกับพลังงานจำนวนมหาศาลจากลม ทุ่งกังหันลมพริ้นเซสอามาเลียซึ่งมีกังหันลมขนาดใหญ่ถึง 60 เครื่อง ตั้งตระหง่านอยู่ในทะเลเหนือสามารถผลิตพลังงานสะอาดได้มากกว่า 120 เมกะวัตต์ ซึ่งก็เพียงพอที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนถึง 35,000 หลังคาเรือนในสหรัฐฯ หรือก็เกือบสองเท่าของครัวเรือนผู้ใช้ไฟฟ้าในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งใช้ไฟน้อยกว่ามาก พริ้นเซสอมาเลียเป็นทุ่งกังหันลมแห่งเดียวในทะเลเหนือที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศ

และในขณะนี้ แม้กำลังการผลิตยังคงมีอยู่ไม่มากนัก แต่เราก็คาดว่าการผลิตไฟฟ้านอกชายฝั่งยุโรปน่าจะมีถึง 40 กิกะวัตต์เป็นอย่างน้อยภายในปีพ.ศ. 2563 ภายใต้แผนที่มีอยู่ในปัจจุบัน



ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซสากล คูมิ ไนดู อยู่บนเรือด้วยเพื่อชื่นชมกับพลังงานลม พร้อมด้วยสมาชิกหน้าใหม่ของเรือ ทั้งพาโบลและฮาร์โมนี่ เราทั้งหมดมองไปยังสัญลักษณ์แห่งความหวังอันน่ามหัศจรรย์แห่งอนาคต และไม่อาจจินตนาการได้ว่าจะมีใครคิดว่าโครงสร้างเหล่านี้เป็นมลพิษทางสายตา



และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเพิ่งออกมาจากมลพิษทางสายตาของจริง เมื่อครั้งที่เรือนักรบสายรุ้ง ดำเนินภารกิจแรกในการต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะก่อสร้างขึ้นที่เมือง Eemshaven ทั้งๆที่มีการต่อต้านจากชุมชนในท้องถิ่น กลุ่มอนุรักษ์สัตว์ป่า กลุ่มประมง และเจ้าของธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพที่ตั้งอยู่บนเกาะด้านท้ายลมและเป็นสถานที่พักฟื้นของผู้ป่วยโรคปอดอีกด้วย

ลมเป็นเพื่อนเรา ที่นี่เมื่อเราอยู่บนเรือนักรบสายรุ้ง และมีดาวเนปจูนช่วยอวยพรให้เรามีลมแรงพอเพื่อจะ ทดสอบเสากระโดงเรือใหม่นี้ "แรงลมระดับ 7 ถึง 8 พอมั้ย" เนปจูนถาม "ใช้ได้" ลูกเรือตอบ แล้วก็มีลมพัดมาจริงๆ หม้อชามปลิวว่อนในห้องครัว พวกเราบางคนลื่นไถลออกมาจากห้องทำงานมาตามทางลาดเท และนี่ก็เป็น วีดีโอสั้นจาก iPhone ของผม เพื่อให้คุณเห็นภาพว่าคืนนั้นวุ่นวายกันขนาดไหน



ก่อนที่ผมจะเข้านอน ผมทวีตข้อความออกไปจากทะเลเหนือว่า ผมกำลังจะไปนอนในปราสาทโครงเครง ผมไม่สามารถบรรยายความรู้สึกดีที่เกิดขึ้นออกมาได้เมื่อเตียงนอนกระเด้งตัวคุณขึ้นไปในอากาศเหมือนตอนสมัยเป็นเด็ก และตัวคุณยังกระแทกเบาๆกับผนังอีกด้วยพอเรือแล่นกระทบกับคลื่น เช้าวันต่อมาก็มีผู้สนับสนุนคนหนึ่งทวีตตอบกลับมาว่า “ผมคิดว่าผมเป็นเจ้าของที่นอนคุณนะ” ซึ่งจริงๆแล้วที่นอนก็เป็นหนึ่งในหลายๆอย่างที่ผู้สนับสนุนสามารถซื้อได้ในร้านขายของออนไลน์ของเรา คุณสามารถซื้อตอม่อ กลอนประตู ชิ้นส่วนใบเรือ เครื่องทำน้ำจืดอุปกรณ์เพื่อการสื่อสาร เรือเร็วบรรทุกปั้นจั่น หน้าต่างใต้ท้องเรือ หัวฝักบัว นาฬิกา และอื่นๆอีกมากมายที่ผมกำลังมองดูจากในห้องทำงานรณรงค์ที่ผมนั่งอยู่ในขณะนี้ ห้องนี้มีพื้นที่กว้างขวางและมีอุปกรณ์เพื่อการประชุมทางวีดีโอและผมขอขอบคุณทุกคนอย่างมาก ผู้ที่ได้ให้การสนับสนุนทุกๆตารางเมตรของเรือ ทุกคนทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมมากเมื่อวานนี้

เรือลำนี้ไม่ใช่เป็นเพียงหลักฐานว่าการล่องเรือที่ยั่งยืนควรจะเป็นอย่างไรเท่านั้น แต่เป็นสัญลักษณ์ของ
การปฏิวัติพลังงาน เลยทีเดียว



Free TextEditor




 

Create Date : 08 พฤศจิกายน 2554   
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2554 21:31:19 น.   
Counter : 1279 Pageviews.  


ผู้หญิงจากฟูกูชิมาร่วมชุมนุมเพื่อ “สร้างความหวังและกำลังใจท่ามกลางความท้อแท้และสูญเสีย”จากนิวเคลียร์

ผู้หญิงจากฟูกูชิมาร่วมชุมนุมเพื่อ“สร้างความหวังและกำลังใจท่ามกลางความท้อแท้และสูญเสีย” จากอุบัติภัยนิวเคลียร์



เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผู้หญิงเกือบ 200 คนจากฟูกูชิมาเริ่มต้นวันแรกของกิจกรรมการนั่งประท้วงสามวัน บริเวณด้านนอกกระทรวงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เมืองโตเกียว เพื่อ เรียกร้องให้มีการอพยพเด็กออกจากพื้นที่ที่มีระดับกัมมันตรังสีสูงและเรียกร้องให้มีการหยุดเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ปิดเดินเครื่องอยู่ในขณะนี้อย่างถาวร การประท้วงอย่างสันตินี้เป็นการกระทำที่มีพลังมากในประเทศที่ปกติการกระทำดังกล่าวถือว่าต้องเป็นเหตุรุนแรงทีเดียว คนที่มาร่วมชุมชนกันนี้ไม่ใช่กลุ่มผู้หญิงที่ปกติจะออกมาประท้วงเรียกร้อง แต่เป็นกลุ่มแม่ของเด็กๆที่เป็นห่วงและกังวลถึงความปลอดภัยและอนาคตของลูกๆ รวมทั้งย่าและยายของครอบครัวอีกด้วย ที่กลุ่มผู้หญิงออกมาเรียกร้องผ่านการนั่งประท้วงเป็นเวลา 3 วันนี้แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่น่าเป็นกังวลที่ผู้หญิงและครอบครัวกำลังประสบอยู่ในขณะนี้นับตั้งแต่เกิดเหตุหายนะจากนิวเคลียร์

บทบาทและความรับผิดชอบของกลุ่มผู้หญิงเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ หนึ่งในผู้หญิงที่มาร่วมประท้วงชื่อ นางสาวซาเอโกะ อูโนะ ได้อพยพออกจากเมืองฟูกูชิมาพร้อมกับลูกสาววัย 4 ขวบเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในวันที่ 11 มีนาคม ขณะนี้ได้อาศัยอยู่ในอีกเมืองหนึ่ง แต่สามีของเธอไม่สามารถลาออกจากงานที่เมืองฟูกูชิมาได้ อูโนะจึงต้องเดินทางเข้าออกไปมายังฟูกูชิมา เธอไม่มีความสุขนักกับการที่ต้องแยกกันอยู่กับสามี แต่ก็ต้องยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของเธอหลังจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ อูโนะเข้าร่วมกิจกรรมการประท้วงในครั้งนี้เพื่อต้องการบอกกล่าวกับผู้คนทั่วโลกว่าเมืองฟูกูชิมาไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในเมืองฟูกูชิมาเอง ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกัมมันตรังสีไม่ได้รับความใส่ใจจากรัฐบาลให้อพยพออกจากพื้นที่ ความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นนี้เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้อูโนะและผู้หญิงอีกจำนวนมากเดินทางมาร่วมประท้วงที่กรุงโตเกียวในครั้งนี้

ผู้หญิงเหล่านี้มาจากหลายพื้นที่และหลากหลายอาชีพ เป็นทั้งคนหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ (มีหญิงชราอายุ 86 ปีร่วมด้วย) กลุ่มครูและกลุ่มชาวนา เป็นต้น ในช่วงที่นั่งประท้วง เหล่าผู้หญิงก็จะช่วยกันถักห่วงโซ่ด้วยไหมเป็นทางยาว เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของผู้หญิงที่มาร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ ผู้หญิงกลุ่มนี้ก็ยังเรียกร้องให้ผู้หญิงจากพื้นที่อื่นๆของญี่ปุ่นและจากทั่วโลก เข้ามาร่วมกัน ในวันที่ 30 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันแรกผู้หญิงบางคนได้ร่วมประท้วงต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาเป็นเวลาหลายปีแล้วก่อนที่จะเกิดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ และก็มีอีกหลายคนที่เพิ่งเข้ามาร่วมภายหลังจากที่การรั่วไหลของกัมมันตรังสีเริ่มส่งผลกระทบต่อครอบครัวและลูกๆ และที่สำคัญที่สุดนั้น
อูโนะกล่าวเพิ่มเติมว่า พวกผู้หญิงต้องการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันและต้องการสร้างความหวังและกำลังใจ ท่ามกลางความท้อแท้และสิ้นหวังที่ได้นำพาให้พวกเขามาพบเจอกัน



Free TextEditor




 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2554   
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2554 19:18:40 น.   
Counter : 987 Pageviews.  


ใครคือจำเลยสิ่งแวดล้อมตัวจริง ?



เมื่อ พูดถึง “จำเลยสิ่งแวดล้อม” เรานึกภาพออกว่าหมายรวมถึงการกระทำใดๆ ของคนที่มุ่งทำลายสิ่งแวดล้อม แต่วันนี้คำว่า “จำเลยสิ่งแวดล้อม” กำลังย้อนศรชี้ความผิดไปยังชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาปกป้องสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง

โจทก์จึงกลับกลายเป็นกลุ่มทุนและบริษัทฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายชาวบ้านผู้คัดค้านในฐานะจำเลยหลักล้านบาทหรือฟ้องให้ดำเนินคดีตามคดีอาญา



ในขณะที่ “หน่วยงานของรัฐ” ที่มีหน้าที่ในการอนุมัติโครงการการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในชุมชนกลับลอยนวล ทั้งๆ ที่รายงานประจำปีด้านสิ่งแวดล้อมสวยหรูที่หน่วยงานเหล่านั้นนำเสนอต่อหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ มาจากการร่วมมือกันปกป้องสิ่งแวดล้อมของคนไทยทุกคน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านที่หากินและใช้ประโยชน์กับทรัพยากรธรรมชาติมายาวนาน ย่อมรู้ดีว่า ความมั่นคงทางด้านพลังงานกับความมั่นคงทางด้านอาหารจะต้องสอดคล้องกัน มิใช่การต้องถูกบังคับเลือกด้วยข้อเสนอของรัฐที่ขาดวิสัยทัศน์ในการเชื่อมโยง นโยบายพลังงานกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนชุมชน


การต่อสู้คัดค้านโครงการถ่านหิน ชาวบ้านคือด่านแรกที่ต้องแลกด้วยชีวิตหรือหมดเสรีภาพในคุกเพื่อหยุดโครงการดัง กล่าว สิ่งที่กรีนพีซต้องการนำเสนอในครั้งนี้จึงมิใช่การก้าวล้ำเพื่อวิพากษ์คำตัดสินของศาลแต่อย่างใด หากแต่มุ่งหวังจะให้สังคมไทยในทุกระดับ มองปัญหาอย่างเชื่อมโยงกันและคิดค้นเครื่องมือที่จะสร้างความยุติธรรมให้กับชาวบ้านในฐานะจำเลยสิ่งแวดล้อมตัวปลอม โดยเฉพาะการเข้ามามีบทบาทร่วมกันของกระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรมและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


ข้อเสนอประการแรกในการกำจัดข้อจำกัดในการพิจารณาคดี เป็นที่ทราบกันดีว่าหลักในการพิจารณาคดีอาญานั้น หลักฐานที่จะนำมาใช้เพื่อประกอบการพิจารณาคดีนั้นจะต้องเป็นหลักฐานที่มีความเกี่ยวข้องทางตรงกับคดีโดยแท้ สิ่งเหล่านี้กลายเป็นข้อจำกัดมัดตัวชาวบ้านผู้ตกอยู่ในฐานะจำเลย เนื่องจากมูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิดเชื่อมโยงกับการต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อหยุดโครงการถ่านหิน ดังนั้นรัฐและหน่วยงานข้างต้นจะมีมาตรการอย่างไรเพื่อให้การพิจารณาคดีหรือ กระบวนการคุ้มครองชาวบ้านผู้ตกที่นั่งในฐานะจำเลยสิ่งแวดล้อมได้รับการคุ้มครอง และเป็นธรรม


ตั้งแต่อดีตจนถึงวันนี้ ประเทศไทยมีจำนวนนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเสียชีวิตและถูกดำเนินคดีมาโดยตลอด รัฐยังคงเพิกเฉยต่อการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่ถูกละเมิดมานาน การสูญเสียในแต่ละครั้งของนักรณรงค์สิ่งแวดล้อมมิเคยได้รับการชดเชย ความช่วยเหลือให้กับครอบครัวหรือการเหลียวแลจากรัฐเลย นักต่อสู้เหล่านั้นไม่ได้ต้องการธงชาติห่มร่างกายเมื่อสิ้นลม พวกเขาไม่เคยหวังการยกย่องจากสังคมทั้งๆ ที่พวกเขายืนหยัดทำสิ่งเหล่านี้มายาวนาน หากแต่รัฐต้องเหลียวกลับมาทำหน้าที่เพื่อคุ้มครองการต่อสู้ของประชาชนเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม อย่าปล่อยให้โจทก์จำเลยตกเป็นข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับชาวบ้าน แต่รัฐกลับเป็น ตาอยู่ หยิบชิ้นปลามัน อิ่มแปร้กับผลประโยชน์ แต่กลับโยนผลกระทบรุนแรงให้กับชาวบ้านและประเทศ


การโฆษณาจำนวนเงินมหาศาลหลายร้อยล้านบาทที่จะมาพร้อมกับ โครงการโรงไฟฟ้าในพื้นที่เพื่อตอบแทนการยินยอมของชาวบ้านให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้า โดยกำหนดพื้นที่ที่ได้รับผลประโยชน์เพียง 5 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านั้น หลักของกองทุนรอบโรงไฟฟ้าจึงเอื้อสิทธิให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ยอมรับโครงการ โรงไฟฟ้าเท่านั้น หากแต่ตัดสิทธิตั้งแต่ต้นสำหรับชาวบ้านในพื้นที่ที่ร่วมกันคัดค้านโครงการเหล่า นั้น เพราะชาวบ้านเหล่านี้จะไม่ได้ผลประโยชน์จากกองทุนรอบโรงไฟฟ้าแม้แต่บาทเดียว ทั้งๆที่ผลกระทบของโครงการเกิดขึ้นตั้งแต่หน่วยงานของรัฐเข้าไปสำรวจความเป็นไปได้ในการทำพัฒนาโครงการ โดยไม่มีการแจ้งให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการ ขาดการนำเสนอข้อมูลทั้งด้านดีและด้านเสีย การขาดความโปร่งใสในการทำประชาพิจารณ์ เป็นต้น


จริงๆ แล้วหลายประเทศ อย่างเช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น ได้มีมาตรการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากประชาชนตั้งแต่ต้นและให้เกิดการตรวจ สอบผลกระทบของโครงการโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ประเทศดังกล่าวผลักดันให้เกิดการลงุทนหรือถือหุ้นร่วมกันของคนในชุมชนและ บริษัท โดยจะต้องมีการหารือเพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินการเพื่อผลิตพลังงานให้ชุมชนนั้นใช้ก่อน จากนั้นที่เหลือจึงส่งขายให้กับพื้นที่อื่น และกระบวนการทั้งหมดในการดำเนินการชุมชนและบริษัทจะต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของ ชุมชนตั้งแต่ต้นและมาจากหลายฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดการพลังงานมี ประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ให้เกิดการจัดการพลังงานที่ชุมชนต้องการอย่างแท้จริง น่าเสียดายที่หน่วยงานด้านพลังงานมุ่งหวังเพียงเพื่อนำแนวคิดเรื่องการใช้เงิน เพื่อซื้อ “ความยินยอมของประชาชน” ในการดำเนินการโครงการด้านพลังงานให้สำเร็จ


ขณะนี้โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นโครงการที่ไม่มีการแจ้งให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการว่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่ใดบ้าง การลวกจิ้มจึงเกิดขึ้นอย่างลับหูลับตาประชาชนตาดำๆ ที่นั่งรอรับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ตราบใดที่ประเทศไทยยังขาดผู้กำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ นโยบายในการจัดการพลังงานของประเทศก็ยังคงไร้สมรรถภาพ และย่อมส่งผลให้ประชาชนทุกจังหวัดตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงและรอลุ้นว่า “หวยถ่านหิน” จะออกที่บ้านของพวกเขาเมื่อไหร่หรือหากพวกเขาออกมาคัดค้านจะถูกดำเนินคดีหรือละเมิดสิทธิเพียงใด และจะต้องตกอยู่ภายใต้มาตรการเป็นศูนย์ที่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิประชาชนในการลุกขึ้นมาปกป้องสิ่งแวดล้อมของรัฐ แต่รัฐกลับคุ้มครองจำเลยด้านสิ่งแวดล้อมตัวจริงอย่างกลุ่มนายทุนเต็มร้อย








Free TextEditor




 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2554   
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2554 16:11:20 น.   
Counter : 1176 Pageviews.  


ว่าด้วยเรื่อง “มลพิษ” ความกังวลในสภาวะการณ์น้ำท่วม



สถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลายและเหมือนว่ากำลังจะหนักขึ้นเมื่อมวลน้ำปริมาณมหาศาลกำลังจ่อไหลกลึนเมืองหลวงกรุงเทพมหานครในเร็วๆ นี้  ซึ่งมีประชากรและบ้านเรือนหนาแน่น ผลกระทบจึงยิ่งมหาศาลทวีคูณ และปัญหาที่คนในเมืองอาจหลีกหนีไม่พ้นคือ ปัญหา “มลพิษ” ขยะ สิ่งปฏิกูล และคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมจากการชะล้างสิ่งต่างๆ และการขังของน้ำเป็นเวลานานนั้นเอง 


หลายวันผ่านไปหลังน้ำได้ทยอยท่วมบริเวณอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ตั้งขวางทางไหลของน้ำและไม่สามารถทานพลังมหาศาลของน้ำได้ โรงงานหลายแห่งล้วนต้องจมอยู่ใต้น้ำ ข่าวการรั่วไหลของสารเคมีและทำให้ผู้คนบาดเจ็บเริ่มเกิดขึ้นจริงในหลายพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีน้ำท่วมได้เพิ่มความกังวลของผู้คนต่อประเด็นการรั่วไหลสารเคมี และน้ำเสียและกากตะกอนเคมีปริมาณมหาศาลที่อยู่ในบ่อบำบัดน้ำเสียของแต่ละโรงงานหรือนิคมอุตสาหกรรมย่อมกระจายออกมาปนเปื้อนเจือในน้ำที่กำลังไหลมาสู่กรุงเทพในเร็ววันนี้

ตอนนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่ามีการรั่วไหลของสารเคมีลงสู่น้ำและอากาศ แน่นอนว่าบริเวณประกอบอุตสาหกรรมย่อมมีความอันตราย ไม่มีใครรู้ว่ามีสารเคมีอยู่ที่ใดบ้างและรั่วไหลจากที่ไหนบ้างปริมาณเท่าใด แต่ก็ยังโชคดีว่าตอนนี้ยังไม่เกิดใดๆ เหตุการณ์ที่รุนแรงกระทบเป็นวงกว้าง บริเวณบ่อฝังกลบขยะก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่ต้องเฝ้าระวังและยังไม่มีหน่วยงานใดที่เข้าไปตรวจสอบว่ามีบ่อขยะใดถูกน้ำท่วมบ้าง ซึ่งน้ำที่ไหลหรือซึมออกมาจากบ่อขยะจะเป็นน้ำเสียที่อันตรายมาก มีทั้งเชื้อโรคและสารพิษที่สามารถก่อผลกระทบได้ในระดับรุนแรง
ขณะนี้หลายพื้นที่กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมขังเน่าเหม็น และจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียหรือมลพิษจากโรงงาน ขยะและสิ่งปฏิกูลที่แช่อยู่ในน้ำ และน้ำเน่าจากท่อน้ำและลำคลองก็ล้วนเป็นแหล่งสะสมและแพร่กระจายให้เกิดในวงกว้าง

ปัญหาที่กำลังเป็นที่สนใจของคนในเมืองคงหนีไม่พ้นเรื่องของน้ำประปา ซึ่งเกี่ยงข้องโดยตรงกับประชากรในเมืองทุกคนที่ปัจจุบันล้วนต้องอาศัยพึ่งพาน้ำประปาในการดำรงชีวิต น้ำได้ไหลท่วมเข้าไปปนเปื้อนแหล่งขนส่งน้ำดิบหรือคลองประปา และในขณะเดียวกันแหล่งน้ำดิบซึ่งคือแม่น้ำเจ้าพระยาก็กำลังประสบปัญหาคุณภาพเสื่อมโทรม เหตุเป็นเพราะน้ำจากคลองต่างๆ ที่พัดพาขยะ สิ่งเน่าเสียล้วนไหลลงสู่แม่น้ำ จึงเป็นเรื่องไม่เกินความคาดหมายที่การผลิตน้ำประปาย่อมเกิดปัญหา น้ำประปาในบางพื้นที่อาจมีกลิ่นเหม็น มีสีเขียว สีน้ำตาล หรืออื่นๆ ที่แตกต่างไป ซึ่งมีสาเหตุจากปัญหาคุณภาพน้ำดิบที่ และอาจมีความเป็นไปได้ว่าท่อส่งประปาอาจมีการรั่วไหลในบางจุดที่ทำให้น้ำท่วมอาจซึมเจือปนสู่น้ำประปา

สิ่งปนเปื้อนในน้ำอาจมีหลายชนิด ตั้งแต่พาโทเจนหรือเชื้อโรค (แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตรซัว) และสารเคมีต่างๆ เช่น โลหะหนัก สารอินทรีย์อันตราย และสารระเหยอินทรีย์ ซึ่งล้วนสามารถส่งผลต่อมนุษย์จากการสัมผัสและกลืนเข้าสู่ร่างกายได้แบบเฉียบพลันและระยะยาว เชื้อโรคส่วนใหญ่สามารถส่งผลได้อย่างเฉียบพลัน ในขณะที่สารเคมีส่วนใหญ่อาจส่งผลในระยะยาวจากการสะสมในร่างการมนุษย์ สารเคมีเหล่านี้หลายชนิดไม่ย่อยสลายและสามารถสะสมได้ในสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหาร สารเคมีอันตรายเหล่านี้อาจสามารถตกค้างอยู่ในพื้นที่ที่มีการท่วมขังหรือไหลปนเปื้อนลงสู่แม่น้ำและอ่าวไทยซึ่งเป็นแหล่งอาหารของคนไทย  

น้ำที่ไหลชะล้างแหล่งกำเนิดมลพิษเหล่านี้ย่อมทำให้มีการกระจายตัวในวงกว้าง แต่ด้วยปริมาณน้ำมหาศาลเหล่านี้ ย่อมเจือจางความเข้มข้น โดยเฉพาะสารเคมีอันตรายที่เจือจางและการไหลของน้ำอาจทำให้การตรวจสอบหรือตรวจวัดไม่สามารถชี้วัดได้ จึงไม่แปลกที่หน่วยงานภาครัฐจะรีบออกมาบอกว่าไม่พบสารพิษ ไม่พบการปนเปื้อนที่เป็นนัยสำคัญ นั้นก็เพราะมันไหลกระจายไปแล้ว แต่สิ่งที่ภาครัฐควรที่จะต้องบอกกับประชาชน คือแหล่งกำเนิดมลพิษเหล่านี้อยู่ที่ไดบ้าง มีการจัดการอย่างไร และยอมรับถึงมาตรการการจัดการสารเคมีของประเทศไทยที่หละหลวมและไม่สามารถสร้างความปลอดภัยอะไรให้กับประชาชนได้เลย

ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในสภาวะการณ์น้ำท่วมเช่นนี้ อาจดูเหมือนไม่ใช่ประเด็นเร่งด่วนหรือปัญหาลำดับสำคัญมากกว่าการแก้ปัญหาน้ำท่วมและการช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่เราก็ไม่ควรลืมเรื่องสิ่งแวดล้อมไปเพราะมันมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับมนุษย์นั้นเอง 








Free TextEditor




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2554   
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2554 14:31:49 น.   
Counter : 1142 Pageviews.  


เรือนักรบสายรุ้งลำใหม่พร้อมแล่นแล้ว

ในเมืองเบรแมร์ฮาเวน ประเทศเยอรมนี เราได้จัดพิธีเปิดตัวเรือลำแรกของโลกที่สร้างขึ้นมาตามวัตถุประสงค์การใช้ งาน มีการระดมทุนสร้างจากประชาชน และเป็นเรือเพื่อปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม และนั่นก็คือเรือนักรบสายรุ้งลำใหม่




หากคุณเป็นหนึ่งในแสนคนที่ร่วมบริจาคเพื่อจัดซื้อกลอนประตู เรือยางเล็ก สมอเรือ ชาร์ตตารางสำหรับการเดินเรือ ที่รองสบู่ อุปกรณ์หรือส่วนต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ในห้องควบคุมเรือ เราขอขอบคุณต่อทุกคนที่สนับสนุนอย่างสูง ไม่ว่าคุณจะเป็นหนึ่งในสามล้านคนที่เป็นผู้ร่วมบริจาครายปีของเรา หรือเป็นหนึ่งใน 17 ล้านสมาชิกทางอีเมลล์หรือโทรศัพท์มือถือ แฟนทางเฟซบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ หรือเป็นหนึ่งใน 14,000 คนที่เป็นอาสาสมัครของเรา เราขอขอบคุณทุกคน


เราได้เคยพูดไว้ว่า โลกเราต้องการนักรบคนใหม่ และแต่ละคนก็เห็นด้วย ในวันนี้ เรามาร่วมยินดีด้วยแชมเปญบนกราบเรือ และมาร่วมเปิดตัวเรือลำแรกของโลกที่ได้ประกอบสร้างขึ้นมาเพื่อปฏิบัติการกอบ กู้โลกของเราจากการคุกคามสิ่งแวดล้อม


เสาเรือที่เป็นกรอบแบบตัวอักษรเอสองเสา ทำให้เรารู้ว่าเรือลำนี้ไม่ใช่เรื่อธรรมดา แต่เป็นเรือที่มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความใส่ใจเรื่องความยั่งยืนในทุกรายละเอียด ตั้งแต่สีทาตัวเรือที่มีส่วนผสมของซิลิกอนเป็นหลัก ห้องเคบินในเรือที่ทำจากไม้ที่ได้รับการรับรองภายใต้ FSC ไปจนถึงระบบการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่บนเรือ และระบบการบำบัดของเสียโดยวิธีทางชีวภาพ


นักรบสายรุ่งลำใหม่นี้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และลมเป็นหลัก โดยมีทางเลือกในกรณีที่สภาพอากาศไม่อำนวย ก็จะใช้ระบบพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากน้ำมันดีเซลที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบเสาเรือใหม่นี้จะทำให้เรือล่องได้นานขึ้น รวมทั้งมีพื้นที่สำหรับเสาวิทยุ เสาอากาศ เพื่อทำให้การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตและดาวเทียมสะดวกมากขึ้น และนี่ก็จะทำให้เราสามารถส่งภาพวีดีโอมาจากบริเวณที่อยู่ห่างไกลได้ สามารถพูดคุยด้วยทวิตเตอร์จากอีกด้านของมหาสมุทรได้ นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ในการตัดต่อวีดีโอ มีห้องประชุม ห้องทำงานด้านการรณรงค์ เรือเล็กที่พร้อมดำเนินการอย่างรวดเร็วสองลำ เว็ปแคม ที่แขวนเฮลิคอปเตอร์ และดาดฟ้าลานจอดเฮลิคอปเตอร์ เรือสามารถรองรับคนได้ 30 คน


เมลิน่า ลาโบคาน-มาสซิโม (Melina Laboucan-Massimo) ชนเผ่าครี (Cree) ชนชาติแรกจากตอนเหนือของรัฐอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา เธอเป็นแม่ย่านางเรือ การทำนายอนาคตของเรนโบว์ วอริเออร์ ก็มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ในอเมริกาเหนือ เหมือนกับเผ่าครีนี้


เรือลำแรกที่มีชื่อเดียวกันนี้ เป็นเรือลากอวนปลาที่มีการถอดชิ้นส่วนของเรือออกด้วยมือ พร้อมกับมีการทาสีและเขียนเป็นรูปนกนางนวลและสายรุ้ง สร้างประวัติศาสตร์ในการช่วยชีวิตปลาวาฬ หยุดยั้งการทิ้งของเสียที่มีการปนเปื้อนของสารกัมมันตภาพรังสี อีกทั้งยังล่องตรงเข้าไปยังเขตหวงห้ามที่มีการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์จาก มหาสมุทรแปซิฟิกไปยังแอตแลนติก


การเดินทางของเรือลำแรกจบลงด้วยระเบิดสองลูกในปีพ.ศ. 2528 เมื่อนักการเมืองที่ตื่นกลัวในเมืองปารีสสั่งให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสปฏิบัติ การจมเรือบริเวณนิวซีแลนด์ซึ่งคาดว่าจะสามารถหยุดยั้งการต่อต้านการทดสอบ อาวุธนิวเคลียร์ของเราได้ ลูกเรือที่เป็นช่างภาพชื่อ เฟอร์นันโด เพเรียราเสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น นับเป็นการคาดการณ์ที่ผิดมหันต์ แต่กลับเร่งให้เกิดการต่อต้านไปทั่วแปซิฟิก สร้างความเข้มแข็งให้กับกรีนพีซและเร่งให้เรารีบสร้างเรือลำใหม่เพื่อกลับมา ปฏิบัติงาน ผู้สนับสนุนคนหนึ่งในโอ๊คแลนด์พูดว่า “คุณไม่สามารถจมเรือเรนโบว์ได้” ซึ่งคำกล่าวนี้ได้กลายเป็นคำขวัญในเวลาต่อมา และเมื่อเรากลับไปเมืองโมรูรัวด้วยเรือลำต่อมาที่ตกแต่งขึ้นมาใหม่ เรือนักรบสายรุ้ง II ซึ่งเป็นตำนานของนักรบสายรุ้งที่มีความกล้าหาญอดทน ปัจจุบันเรือลำนี้ได้ปลดระวางและเปลี่ยนเป็นเรือสำหรับปฎิบัติการด้าน มนุษยธรรม ปฐมพยาบาลและบรรเทาทุกข์อยู่ในประเทศอินเดีย


เรือนักรบสายรุ้ง III ลำใหม่นี้ถูกสร้างขึ้นอย่างมีจุดประสงค์ โดยจะเป็นตัวแทนของมหาสมุทร ป่า ภูมิอากาศ และอนาคตของพวกเรา ด้วยอายุใช้งานได้นานถึงอย่างน้อย 50 ปี เรือลำนี้จะเป็นคำมั่นสัญญาต่อคุณและเหล่าผู้สนับสนุนให้ยืนหยัดต่อไป ไม่ล้มเลิก และไม่ยอมแพ้


คูมิ ไนดู ผู้อำนวยการบริหารกรีนพีซสากล กล่าวในงานว่า “เรือนักรบสายรุ้งลำใหม่นี้เป็นเรือที่สมบูรณ์แบบที่จะแล่นไปเพื่อติดตามวิกฤตด้านระบบนิเวศ เศรษกิจและวิกฤตด้านประชาธิปไตยของโลก”


“เจ้าหน้าที่ประจำการบนเรือจะมาจากหลากหลายประเทศ เพราะเรือนักรบสายรุ้งจะต้องเผชิญกับอาชญากรรมด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลก เรือจะทำหน้าที่สืบหาข้อเท็จจริงและเปิดโปงกิจกรรมที่ทำลายล้างแต่ขณะเดียว กันก็จะสร้างความหวังและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการดำเนินการในทุกๆที่ที่ เรือล่องไป”


“หากคุณยังไม่ได้เข้าเป็นส่วนร่วมในการสร้างเรือนักรบสายรุ้งนี้ ก็สามารถเข้ามาร่วมกันและเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางของเรือนี้ได้ โลกนี้ต้องการนักรบอีกคนเช่นคุณ”


>> ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Rainbow Warrior I และ Rainbow Warrior II





 

Create Date : 18 ตุลาคม 2554   
Last Update : 18 ตุลาคม 2554 14:33:37 น.   
Counter : 1180 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com