กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

#RightToCleanAir แค่เรื่องของลมหายใจ



เขียน โดย รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์

มลพิษทางอากาศ คือปัญหาใหญ่ที่เรามองไม่เห็น ถึงเวลาหรือยังที่เราจะเรียกร้องสิทธิในการเข้าถึงอากาศดีกลับคืนมา

ไม่ว่าจะเป็นหมอกควันพิษจากการเผาในที่โล่ง การคมนาคม โรงงานอุตสาหกรรม และและการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลโดยเฉพาะถ่านหิน สิ่งเหล่านี้คือต้นเหตุของฝุ่นพิษขนาดเล็กไม่เกิน2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ที่กำลังคุกคามสุขภาพของคนไทย เราไม่จำเป็นต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงทางสุขภาพและสูดอากาศที่เป็นพิษ หากภาครัฐกำหนดนโยบายที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องชีวิตผู้คนจากมลพิษทางอากาศ และนี่คือเหตุผลที่เราขออากาศดีคืนมาให้กับลมหายใจของเรา

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในประเทศไทย และกล่าวถึงผลกระทบทางสุขภาพของฝุ่นพิษ PM2.5 นี้ พร้อมกับเรียกร้องกรมควบคุมมลพิษให้นำเอาดัชนีคุณภาพอากาศ PM 2.5 มาใช้ เพื่อความแม่นยำในการที่จะระบุถึงผลกระทบต่อสุขภาพ  จากการศึกษาโดย Institute for Health and Evaluation มหาวิทยาลัยวอชิงตัน พบว่ามลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เนื่องจากมีส่วนประกอบของสารเคมีหลายชนิด ทั้งที่เป็นสารระคายเคืองไปจนถึงสารก่อมะเร็ง จึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง ก่อให้เกิดการตายก่อนวัยอันควรในประเทศไทย ประมาณ 50,000 คนต่อปี 

เมืองใดของประเทศไทยมีปัญหามลพิษฝุ่นละออง PM2.5สูงสุด?

ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีแน่นอนหากเมืองที่เราอยู่ถือว่ามีอันดับมลพิษอยู่สูง โดยจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 12 สถานี ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศของกรมควบคุมมลพิษระบุข้อมูลไว้ว่า ในปี 2559 (เดือนมกราคม-กรกฎาคม) ลำดับเมืองที่มีปัญหามลพิษฝุ่นละออง PM2.5สูงสุด 5 อันดับคือ เชียงใหม่ ขอนแก่น ลำปาง กรุงเทพฯ และราชบุรี “จากค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) ในแต่ละพื้นที่ มีถึง 10 พื้นที่ที่เกินค่ามาตรฐานในบรรยากาศทั่วไปในเวลา 1 ปี ซึ่งกำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร ของมาตรฐานของประเทศไทย แต่ทุกลำดับล้วนสูงกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก นี่คือวิกฤตมลพิษทางอากาศที่ประเทศไทยกำลังเผชิญและเกิดขึ้นซ้ำรอยทุกปี โดยค่าเฉลี่ยสูงขึ้นจะเด่นชัดในช่วงต้นปี ลดลงกลางปีและสูงขึ้นปลายปี” ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

อ่านข้อมูลฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่ 10 จังหวัด ฉบับเต็มได้ที่นี่

ฝุ่นพิษ PM2.5 คืออะไร มาจากไหน และร้ายกาจอย่างไร

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มาจากภาคการขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต ที่อยู่อาศัย ธุรกิจการค้า และการเผาในที่โล่ง แบ่งได้เป็นฝุ่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดโดยตรงและฝุ่นที่เกิดจากการรวมตัวของก๊าซและมลพิษอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจน ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ยังเป็นมลพิษข้ามพรมแดนและปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศได้นาน เป็นฝุ่นอันตรายไม่ว่าจะมีองค์ประกอบทางเคมีใดๆ ก็ตาม เช่น ปรอท แคดเมียม อาร์เซนิก หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(PAHs) เป็นต้น ในปี พ.ศ.2556 องค์การอนามัยโลก(WHO) จึงกำหนดอย่างเป็นทางการให้ PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง

หากจิตนาการไม่ออกว่า 2.5 ไมครอนนั้นเล็กเพียงใด ลองนึกถึงขนาดที่เล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม ซึ่งเล็กมากจนกระทั่งลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่กระแสเลือดได้ ในขณะที่ฝุ่นขนาดใหญ่กว่านี้จะติดอยู่ที่จมูก ปาก หรือในปอด ถูกขับออกมาเป็นเสมหะ แต่ PM2.5 สามารถผ่านเข้าสู่กระแสเลือดกระจายไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อสะสมนานหลายปีฝุ่นที่อยู่ในอวัยวะใดก็เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งของอวัยวะนั้น

“เม็ดเลือดเรามีขนาด 5 ไมครอน แต่ฝุ่นมีขนาด 2.5 เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของเม็ดเลือดแดง ฝุ่นจึงเล็ดลอดเข้ามาได้ เข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะ ฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระ คล้ายสำลี ฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย คือ ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก หากไม่มีตัววัดอย่างดัชนีคุณภาพอากาศ เราจะมองไม่เห็นและไม่รู้อะไรเลยว่ามลพิษทางอากาศมีมากแค่ไหน” นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา กล่าว

“ฝุ่นอนุภาคใหญ่จะตกลงพื้น แต่อนุภาคเล็กจะลอยอยู่ในบรรยากาศ และเกิดจากแหล่งกำเนิดที่มาจากก๊าซ และรวมตัวกับโลหะหนัก ฝุ่นพิษขนาดเล็กไม่เกิน2.5ไมครอน เกิดจากหลายแหล่ง อย่างเช่นโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิล ยานพาหนะ แต่สิ่งที่ร้ายแรงของฝุ่นพิษ PM2.5 คือสามารถเล็ดลอดเข้าจมูกสู่ปอดและหลอดลม ในขณะที่ PM10 จะค้างอยู่ที่ปากและจมูก ดังนั้นเราจึงควรมีแนวทางจัดการคุณภาพอากาศในระยะยาว ดังที่กรีนพีซเรียกร้องให้รวม PM2.5 ในการวัดและรายงานดัชนีคุณภาพอากาศ หัวใจของการแก้ไขคือการจัดการที่ต้นเหตุมลพิษ รวมถึงปรับมาตรฐานดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสร้างความตระหนักแก่ประชาชน ร่วมรับรู้ และเรียกร้องให้ภาครัฐดำเนินตามเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมจริง” ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการด้านมลพิษทางอากาศ กรมทางหลวง กล่าว

ค่ามาตรฐานมลพิษ ความต่างที่มองไม่เห็น

ทางแก้ปัญหาด้วยการตรวจวัด PM 2.5 AQI ทุกสถานีตรวจวัดและปลายปล่องอุตสาหกรรม

ทุกวันนี้เราไม่รู้ว่ามลพิษทางอากาศสูงเกินมาตรฐานและนั่นคือที่มาว่าทำไมทุกวันนี้คนไทยยังป่วยจากมลพิษทางอากาศอยู่ ดังที่ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ กล่าวไว้ว่า หากไม่มีตัววัดอย่างดัชนีคุณภาพอากาศ เราจะมองไม่เห็นและไม่รู้อะไรเลยว่ามลพิษทางอากาศมีมากแค่ไหน มาตรฐานในการตรวจวัดและรายงานคุณภาพอากาศของประเทศไทยที่ยังต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำนั้นจึงเป็นเรื่องอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดค่าเฉลี่ย PM 2.5 ในการคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ (PM 2.5 AQI) กรณีนี้เห็นได้ชัดเมื่อต้นปีที่ผ่านมากับวิกฤตหมอกควันพิษที่เชียงใหม่จากการเผาในที่โล่งเพื่อเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว แต่กรมควบคุมมลพิษยังคงรายงานว่าอากาศยังปลอดภัย เนื่องจากเป็นการวัดคุณภาพอากาศแค่ PM10 สถานกงศุลอเมริกาประจำประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่จึงเรียกร้องให้วัดด้วย PM2.5 และเผยแพร่ข้อมูลฝุ่นมลพิษ PM2.5 รายวัน เพื่อให้ประชาชนรับทราบว่ามลพิษที่แท้จริงเป็นอย่างไร และสามารถป้องกันตนเองได้

"มลพิษทางอากาศเป็นสิ่งที่เล็กเกินมองเห็น แต่เป็นปัญหาใหญ่เกินมองข้าม ถึงเวลาหรือยังที่กรมควบคุมมลพิษจะให้ความสำคัญกับ PM2.5 ได้แล้ว ทำไมต้นทุนของผู้ปล่อยมลพิษทางอากาศจึงสำคัญกว่าต้นทุนชีวิตของประชาชน ด้วยการติดตั้งและรายงาน PM2.5 ในทุกสถานีตรวจวัด ใช้มาตรฐานเดียวกับสากล มีการตรวจวัดมลพิษและดัชนีคุณภาพอากาศที่ปลายปล่องอุตสาหกรรม ดำเนินการแก้ปัญหาหมอกควันพิษข้ามพรมแดน ภาครัฐต้องเร่งเดินหน้าแก้ปัญหาเพื่อปกป้องสุขภาพของเราทุกคน" จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

ถ่ายทอดสดงาน #RightToCleanAir ขออากาศดีคืนมา . 13.00-13.30 น. ทำไมต้องขออากาศดีคืนมา #RightToCleanAir โดย จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ . 13.30-13.45 น. การจัดลำดับพื้นที่ในประเทศไทยที่มีมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมโครกรัม โดย ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ . 13.45-14.45 น. ชวนคุยเรื่อง “ฝุ่น : ภาระทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากฝุ่นพิษ PM2.5และทางออก” โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา และ ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ กรมทางหลวง . 14.45-15.00 น. แลกเปลี่ยนซักถาม . ร่วมลงชื่อเพื่อปกป้องสุขภาพของเราจากมลพิษทางอากาศ ▸▸ bit.ly/2ca6NoJ

Posted by Greenpeace Thailand on Monday, September 5, 2016

“การวัดปากปล่องโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลจึงเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นมลพิษที่น่ากลัวที่สุด เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เพราะก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจนสามารถรวมตัวกันกลายเป็นฝุ่นพิษ PM2.5 ได้ ขณะนี้โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าพลังงานฟอลซิลต่างปล่อยมลพิษไม่เกินค่ามาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ แต่ทุกความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคที่เพิ่มขึ้น แม้คุณภาพอากาศไม่เกินมาตรฐานแต่ก็มีอาการป่วย ซึ่งเกิดมาจากการรับมลพิษต่ำแต่เป็นระยะเวลานาน” นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา กล่าว

ควันบุหรี่ เกสรดอกไม้ ละอองทราย หรือควันจากเตาถ่านที่เรามองเห็นได้แปลว่ายังมีขนาดใหญ่ แต่ PM2.5 เราไม่สามารถมองเห็นได้ ที่คือภัยร้ายที่เรามองไม่เห็น แต่เราสามารถป้องกันตนเองได้หากกรมควบคุมมลพิษรายงานค่า PM2.5 ให้กับประชาชน รวมถึงลดปัญหามลพิษจากผู้ก่อมลพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าถ่านหินเดิมที่เดินเครื่องอยู่ด้วยการวัด PM2.5 ที่ปลายปล่อง ซึ่งจะเป็นการปกป้องสุขภาพของชาวไทยมากกว่าเอื้อให้กับผู้ปล่อยมลพิษ รับประกันถึงสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงอากาศสะอาด คืนอากาศดีให้กับประชาชน เพราะอากาศสะอาดนั้นมีความสำคัญทุกลมหายใจ

ร่วมลงชื่อเพื่อปกป้องลมหายใจของเราจากฝุ่นพิษ PM2.5 ที่นี่


ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/righttocleanair/blog/57448




 

Create Date : 08 กันยายน 2559   
Last Update : 8 กันยายน 2559 16:04:08 น.   
Counter : 1113 Pageviews.  


5 วิธีแปลงโฉมสมาร์ทโฟนเก่าให้เป็นของใหม่



เขียน โดย Robin Perkins


หากลองค้นลิ้นชักที่บ้านคุณอาจจะเจอโทรศัพท์มือถือเก่า ๆ อยู่ในนั้น ถูกวางทิ้งไว้นิ่ง ๆ โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร จากการสำรวจข้อมูล โดย กรีนพีซ เอเชียตะวันออก เผยว่า ที่สหรัฐอเมริกา โดยเฉลี่ยแล้ว แต่ละครัวเรือนจะมีโทรศัพท์มือถือกันบ้านละ 3 เครื่อง ประเทศเกาหลีใต้โดยเฉลี่ยแล้วมีครัวเรือนละ 4 เครื่อง และประเทศเม็กซิโกมีครัวเรือนละ 5 เครื่อง (ทั้งที่ใช้กำลังใช้อยู่และไม่ได้ใช้) แทนที่โทรศัพท์มือถือของคุณจะนอนนิ่ง ๆ อยู่ในลิ้นชัก จะดีกว่าไหมหากโทรศัพท์มือถือเหล่านั้นสามารถเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และสร้างแรงบันดาลใจได้ นอกจากที่เราจะผลักดันให้สมาร์ทโฟนแบรนด์โปรดของเรารีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์เก่า ๆ แล้ว เรามีวิธีนำโทรศัพท์มือถือเก่ากลับมาใช้งานใหม่ได้แบบเท่ ๆ มาแนะนำ

1) ซ่อมแซมและบริจาค

การซ่อมแซมโทรศัพท์มือถือไม่ยากอย่างที่คิด คลิปนี้เป็นตัวอย่างการซ่อม iPhone 6 ลองมาดูกัน


2) เปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งาน

เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือเก่าของคุณให้กลายเป็นกล้องมอนิเตอร์ลูก หรือเป็นกล้องรักษาความปลอดภัยโดยใช้แอพพลิเคชันง่าย ๆ ได้ ดูวิธีการใช้งานได้ที่นี่


3) ช่วยสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์

สำหรับโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ คุณสามารถใช้ช่วยศึกษาโรคภัยต่าง ๆ คาดเดาสถานการณ์โลกร้อน หรือแม้แต่ช่วยค้นหาดาว Pulsar (ดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเอง) เพียงแค่ดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน BOINC ก็สามารถเปลี่ยนสมาร์ทโฟนเก่า ๆ เป็นขุมกำลังการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ได้

4) ทำศิลปะ!

ศิลปินจำนวนมากใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์งานศิลป์ ลองดูผลงานชิ้นนี้ของ Amanda de la Rosa ทุกอย่างอยู่ที่มุมมองความสร้างสรรค์!

ผลงานศิลปะจากชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิคส์ ภาพโดย Amanda de la Rosa

5) ใช้เป็นโทรศัพท์สำรอง

นำซิมการ์ดใส่โทรศัพท์เครื่องเก่า และนำไปใช้ในวันหยุด หรือใช้ช่วงเทศกาลต่าง ๆ ที่คุณมีโอกาสเสี่ยงทำโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่หายหรือพังได้ 

ใช้โทรศัพท์มือถือเก่าเป็นเครื่องสำรอง ภาพโดย photobyphotoboy

กรีนพีซกำลังรณรงค์เพื่อท้าทายให้กลุ่มบริษัทอิเล็กทรอนิคส์สร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับเราอย่างแท้จริง คือ การออกแบบให้ใช้งานได้ยาวนาน สามารถซ่อมได้ ปราศจากมลพิษ รีไซเคิลได้ และมีกระบวนการผลิตที่ใช้พลังงานหมุนเวียน  ร่วมใช้แฮชแทค#TrueInnovation เพื่อเป็นหนึ่งในการผลักดันและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่ออนาคตของเรา

Robin Perkins คือ ผู้จัดการโครงการรณรงค์ต่อต้านสารพิษ กรีนพีซเม็กซิโก


ที่มา : Greenpeace Thailand




 

Create Date : 02 กันยายน 2559   
Last Update : 2 กันยายน 2559 11:12:09 น.   
Counter : 924 Pageviews.  


ไมโครบีดส์ คืออะไร



ไมโครบีดส์ (Microbeads) หรือ เม็ดบีดส์ คือชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของพลาสติกในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ยาสีฟัน น้ำยาทำความสะอาด และอื่น ๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่จะทำจากโพลีเอทิลีน แต่สามารถทำจากพลาสติกปิโตรเคมีอื่น ๆ ได้ เช่น โพลีโพรพิลีนและโพลีสไตรีน มีขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร พอที่จะการผ่านระบบกรองน้ำได้อย่างง่ายดาย


คลิกอ่านหรือดาวน์โหลดภาพใหญ่ที่นี่




















ไมโครบีดส์ส่งผลกระทบอะไรบ้าง


ในขณะที่ไมโครบีดส์มีคุณสมบัติในการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วได้ดีแต่เนื่องจากมันมีขนาดเล็กและทำมาจากพลาสติกจึงไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เมื่อเราใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไมโครบีดส์ เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า ไมโครบีดส์ ก็จะไหลลงท่อจากบ้านเรือน และลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และเมื่อปนเปื้อนในแหล่งน้ำสัตว์น้ำก็จะกินมันเข้าไป และสุดท้ายไมโครบีดส์ก็จะย้อนกลับมาที่ผู้บริโภคอย่างพวกเรา 

ผลการศึกษาของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ระบุว่าการหลุดรอดของเม็ดไมโครบีดส์สู่แหล่งน้ำในรัฐนิวยอร์คเพียงรัฐเดียว คิดเป็นน้ำหนักประมาณ 19 ตันต่อปี และเมื่อไมโครบีดส์อยู่ในแหล่งน้ำ มันจะดูดซึมสารเคมีเป็นพิษต่าง ๆ โดยเฉพาะโพลีคลอริเนตไบฟีนิล (PCBs) ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีอินทรีย์ที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีเหล่านี้จะส่งผลต่อร่างกายโดยไปขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อและเป็นสารก่อมะเร็ง

แล้วเราจะใช้อะไรเพื่อทดแทนไมโครบีดส์


ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหลายชนิดที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าหรือดีกว่าไมโครบีดส์ เช่น การใช้สครับจากเกลือ มะขามเปียก หรือผงถั่วเขียว เพราะนอกจากจะปลอดภัยต่อผู้ใช้แล้วยังปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

พิจารณาสักนิดก่อนคิดที่จะซื้อ


หลายประเทศมีการรณรงค์เลิกใช้ไมโครบีดส์แล้ว เพราะตระหนักถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่ตามมา เพราะฉะนั้นก่อนการเลือกซื้อเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ครั้งต่อไปเราควรพิจารณาให้แน่ใจก่อนว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่มีส่วนผสมของไมโครบีดส์


ออกแบบภาพโดย ธีรธัญภัค เหลืองอุบล อาสาสมัครกรีนพีซ

ที่มา : Greenpeace Thailand




 

Create Date : 01 กันยายน 2559   
Last Update : 1 กันยายน 2559 13:00:19 น.   
Counter : 1135 Pageviews.  


เชิญร่วมงาน "#RightToCleanAir ขออากาศดีคืนมา"



มลพิษทางอากาศเป็นวิกฤตสุขภาพของคนไทย

กรีนพีซขอเชิญคนรักสุขภาพทุกท่านมาร่วมงาน "#RightToCleanAir ขออากาศดีคืนมา" ในวันที่ 6 กันยายน 2559 เวลา12.30-15.00 . ที่ ในป่า อาร์ทคอมเพลกส์ (Naiipa Art Complex) สุขุมวิท 46

กำหนดการ

12.30-13.00 .     ลงทะเบียนและรับเอกสาร

13.00-13.30 .     ทำไมต้องขออากาศดีคืนมา #RightToCleanAir โดย จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

13.30-13.45 .     การจัดลำดับพื้นที่ในประเทศไทยที่มีมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมโครกรัม โดย ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

13.45-14.45 .     ชวนคุยเรื่อง “ฝุ่น : ภาระทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากฝุ่นพิษ PM2.5และทางออก”

โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ .สงขลา และ ดร.วิน ไตรวิทยานุรักษ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ กรมทางหลวง

14.45-15.00 .     แลกเปลี่ยนซักถาม

*กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง

ผู้สนใจกรุณาลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงาน


ที่มา : Greenpeace Thailand




 

Create Date : 31 สิงหาคม 2559   
Last Update : 31 สิงหาคม 2559 16:08:15 น.   
Counter : 831 Pageviews.  


แม่ก็คือแม่ 8 สุดยอดคุณแม่ในโลกของสัตว์



เขียนโดย โดย ภุชงค์ แซ่เล้า


ความรักที่แม่มีต่อเรานั้นยิ่งใหญ่และมหัศจรรย์  รู้หรือไม่ว่าบรรดาแม่สัตว์ต่าง ๆ ก็มีความรักอันยิ่งใหญ่ต่อลูกไม่ต่างจากมนุษย์ แล้วพวกมันรักลูกแค่ไหนกันนะ วันนี้เราไปดูกันว่า 8 สุดยอดคุณแม่ในโลกของสัตว์นั้นมีอะไรกันบ้าง

1. แม่วาฬสอนลูกน้อยให้หายใจ

เมื่อช่วงแรกเกิดลูกวาฬจะต้องขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำแต่ว่าเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่จะทำได้อย่างไรล่ะ  ก็แม่ยังไงล่ะ แม่วาฬจะพาลูกวาฬเพื่อขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ ฝึกจนมันสามารถว่ายขึ้นมาเองได้ ลูกวาฬแรกเกิดจะต้องว่ายน้ำเคียงข้างไปกับแม่ของมันเพื่อกินนมจากแม่ ในช่วงอายุแรกเกิด แม่วาฬจะต้องคอยปกป้องลูกจากเหล่านักล่า จนอายุครบหนึ่งปี ลูกวาฬจึงจะออกจากอ้อมอกของแม่ได้

2. แม่-ลูกผูกพัน

อุรังอุตังในวัยเด็กจะอยู่ติดแม่ตลอดเวลา แม่อุรังอุตังจะเลี้ยงดูพวกมันในช่วง 5 ปีแรก และให้นมจนอายุราว 6-7 ขวบ  พวกมันนอนด้วยกันในรังทุกคืนจนอายุอย่างน้อย 8 ปี นอกจากมนุษย์แล้ว อุรังอุตังถือเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกที่ใกล้ชิดกันมาก

3. แม่ชิมแปนซีรักลูกเสมอแม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน

โดยธรรมชาติแล้วชิมแปนซีจะคลอดลูกครั้งละตัวโดยเลี้ยงลูกนานถึง 2 ปี จึงแยกตัวเป็นอิสระ แต่รู้หรือไม่ เมื่อลูกมีภัย สิ่งแรกที่มันคิดถึงคือแม่ มันจะกลับมาหาแม่มันอีกครั้งถึงแม้ว่ามันจะแยกตัวออกไปแล้วก็ตาม

4. แม่หมีผู้ปกป้อง

แม่หมีขาวจะคลอดลูกครอกละประมาณ 2-4 ตัว (ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 ตัว) ลูกหมีเกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา ไม่มีขนตามตัว จะลืมตาขึ้นเมื่ออายุราว 30 วัน ในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรก ลูกหมีจะอยู่ติดแม่ตลอดเวลาเพราะยังคงต้องการความอบอุ่น แม่หมีจะดูแลลูกไปนานถึง 30 เดือน เมื่อพร้อมแล้ว แม่หมีจะพาลูก ๆ ตระเวนไปยังทะเลน้ำแข็งเพื่อสอนวิธีการล่าให้กับลูก ๆ

5. แม่แมวน้ำต้องแข่งกับเวลาเพื่อเลี้ยงลูกน้อย

หลังจากคลอดลูก แม่แมวน้ำจะต้องสลับไปมาระหว่างการหาอาหารและการเลี้ยงลูกเพราะมันไม่สามารถอุ้มลูกน้อยตะเวนไปที่ต่าง ๆ ได้เหมือนอุรังอุตัง ซึ่งช่วงนี้เป็นเวลาที่อันตรายสำหรับลูกแมวน้ำที่ต้องอยู่บนฝั่ง ซึ่งห่างไกลออกไปหลายร้อยกิโลเมตร แม่แมวน้ำจึงต้องหาอาหารในเวลาที่สั้นที่สุด เพื่อกลับมาดูแลลูกของมัน

6. แม่ช้างผู้อดทนและแข็งแรง

คุณคิดอย่างไรกับการตั้งท้องนานถึงเกือบ 2 ปี และลูกในท้องหนักเกือบ 90 กิโลกรัม คงลำบากน่าดู แต่คุณแม่ช้างของเราทำได้

7. จระเข้ คุณแม่ผู้อ่อนโยน

คุณแม่ของใครดุบ้าง บางคนคงไม่เข้าใจอารมณ์ของเหล่าแม่ ๆ ว่าทำไมถึงดุอะไรนักหนา แต่คุณแม่ตัวนี้ของเราดุเพราะรัก จระเข้บางตัวจะคอยเฝ้าไข่ของมันจนกว่าลูกน้อยจะฟักออกจากไข่ และหลังจากนั้นจะใช้ขากรรไกรอันทรงพลัง บรรจงประคองลูกน้อย ๆ ของมันลงน้ำทีละตัว ๆ และคอยเฝ้าอยู่ใกล้ ๆ

8. หมึกยักษ์แม่ผู้เสียสละ

หมึกยักษ์เพศเมียใช้เวลากว่า 40 วัน โดยไม่ไปไหนเพื่อดูแลไข่กว่า 50,000 ฟอง ของมันโดยมันจะไม่ออกหาอาหาร ไม่ไปไหนเลยจริงๆ แต่จะสวมบทบอดี้การ์ดให้ลูกน้อย แล้วค่อยๆพ่นน้ำใส่เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้ตลอด

เพราะแม่ก็คือแม่ นี่เป็นเพียงตัวอย่างคุณแม่ดีเด่นทั้ง 8 ตัวที่เราได้ยกตัวอย่างมา เห็นไหมล่ะ ว่าความรักของแม่ยิ่งใหญ่แค่ไหน อย่าลืมแชร์เรื่องราวเหล่านี้ให้เพื่อนๆของคุณได้อ่านกัน

หากคุณสนใจเรื่องราวงานรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม สามารถสมัครรับข่าวสารผ่านทางอีเมลกับเราได้ที่นี่

ข้อมูลอ้างอิง


ที่มา : Greenpeace Thailand




 

Create Date : 24 สิงหาคม 2559   
Last Update : 24 สิงหาคม 2559 12:43:41 น.   
Counter : 939 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com