กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

ฮีโร่ด้านสิ่งแวดล้อม

กรุงเทพฯ/มะนิลา — นิตยสารไทม์ฉบับล่าสุดเขียนบทความยกย่องฮีโร่ผู้ปกป้องโลกซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงวอน เฮอร์นันเดซ ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะที่ทำงานรณรงค์อย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อต่อต้านการค้าขยะพิษและโรงเผาขยะที่มีมลภาวะสูงในประเทศฟิลิปปินส์และในภูมิภาค
เฮอร์นันเดซเริ่มงานกับกรีนพีซสากลเมื่อ พ.ศ. 2538 ในตำแหน่งผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษในทวีปเอเชีย ในช่วงเวลาดังกล่าว เขาเปิดตัวการรณรงค์ต่อต้านโครงการก่อสร้างโรงงานเผาขยะ เพื่อจัดการกับปัญหาขยะที่เพิ่มปริมาณมากขึ้นในมะนิลา

งานรณรงค์ของเฮอร์นันเดซที่เปิดโปงมลพิษของสารพิษจากการเผาขยะที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ และเป็นภัยรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนนั้นได้ทำให้แผนการติดตั้งโรงเผาขยะเหล่านี้ต้องล้มเลิกไป งานรณรงค์ได้นำไปสู่การออกกฎหมายอากาศสะอาดของฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2542 ซึ่งครอบคลุมถึงการห้ามเผาขยะในประเทศเป็นครั้งแรกอีกด้วย เฮอร์นันเดซซึ่งร่วมกับพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมในฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการรณรงค์เพื่อให้รัฐบาลอนุมัติกฎหมายการจัดการขยะเทศบาลได้อย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จ โดยกฎหมายนี้ระบุให้มีการแยกขยะและการพัฒนาโรงปรับปรุงวัสดุและการรีไซเคิลทั่วประเทศ

ผลงานนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมโกลด์แมนใน พ.ศ. 2546 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเท่าเทียมกับรางวัลโนเบลสำหรับนักสิ่งแวดล้อมระดับรากหญ้า เฮอร์นันเดซเป็นชาวฟิลิปปินส์คนแรกที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ โดยผู้ได้รัลรางวัลคนก่อน คือ เจ้าของรางวัลโนเบลอันทรงเกียรติ วันการี มาไท (//www.goldmanprize.org/node/107).

วอน ซึ่งเป็นนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อมมามากกว่า 50 ปี ได้ริเริ่มการรณรงค์และโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมจำนวนมากในฟิลิปปินส์ เช่น การรณรงค์เพื่อฟื้นฟูแม่น้ำปาสิก และการฟื้นฟูฐานทัพสหรัฐในอดีตที่ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษในเมืองคลาร์กและซูบิก นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ก่อตั้งและผู้ขับเคลื่อนหลักของโครงการริเริ่มและพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมมากมายทั้งในระดับประเทศและนานาประเทศ ซึ่งได้แก่ พันธมิตรต่อต้านการเผาขยะโลก (GAIA), Waste Not Asia, Lakbay Kalikasan, พันธมิตร Eco Waste, กลุ่มเคลื่อนไหว Sagip Pasig และพลังประชาชนเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารพิษในฐานทัพอเมริกัน (People’s Task Force for Bases Clean-up)

ปัจจุบันเขาเป็นผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ซึ่งเขาดูแลงานรณรงค์ด้านภาวะโลกร้อน สารพิษ มลพิษทางน้ำ ป่าไม้ และการเกษตรยั่งยืน

.........
กรีนพีซต้องการความช่วยเหลือจากคุณ! เราต้องการให้คุณช่วยบอกต่อเกี่ยวกับกรีนพีซและงานรณรงค์ขององค์กรโดยช่วยบอกให้พวกเขามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา - //www.greenpeace.or.th และมีส่วนร่วมโดยสมัครการรณรงค์ออนไลน์และร่วมในการรณรงค์ทางออนไลน์ของกรีนพีซ


1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

.........

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2550   
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2550 17:41:27 น.   
Counter : 877 Pageviews.  


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ – อย่าปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ

แถลงการณ์ของกรีนพีซต่อกรณีการเสนอแผนงานของคณะกรรมการเพื่อเตรียมการศึกษาความเหมาะสมการผลิต
ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาต



กรุงเทพฯ, ประเทศไทย -- กรีนพีซมีความวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อการเร่งให้มีการอนุมัติเห็นชอบแผนงานของคณะกรรมการเพื่อเตรียมการศึกษาความเหมาะสมในการที่จะผลิตไฟฟาจากพลังงานนิวเคลียร์ในวันนี้ เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาตินั้นไม่มีกระบวนการปรึกษาหารือและประเมินผลกระทบของอันตรายจากนิวเคลียร์กับภาคประชาสังคมและสาธารณชนอย่างเพียงพอและเหมาะสม



ถึงแม้ว่า ภาคประชาสังคมไทยจะมีประเด็นคำถามต่อทำเลที่ตั้ง ต้นทุนอันมหาศาล และความล่าช้าในการก่อสร้างของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นทั่วโลก รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ดร.ปิยะสวัสดิ์ อมรนันท์ ก็ยังคงเดินหน้าต่อไปโดยนำเสนอแผนการดำเนินงานต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้พิจารณาอนุมัติในวันนี้



ธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เป็นข้อพิสูจน์ทั่วโลกหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า จริงๆ แล้ว พลังงานนิวเคลียร์เป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อความมั่นคงด้านพลังงานและเบี่ยงเบนออกจากการแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่แท้จริง นอกจากจะใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจซึ่งไม่เพียงเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว พลังงานนิวเคลียร์ยังมิได้ตอบสนองต่อวิกฤตด้านพลังงานที่มีการคาดการณ์อีกด้วย รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานควรพิจารณาอย่างจริงจังให้มากกว่านี้ถึงทางเลือกที่สะอาดและปลอดภัยในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะจากระบบพลังงานหมุนเวียนที่มีลักษณะกระจายศูนย์ซึ่งมาจากแหล่งธรรมชาติอันได้แก่ ลม แสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น



นอกเหนือจากความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ อย่างเช่น กรณีเชอร์โนบิล สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของพลังงานนิวเคลียร์คือกากกัมมันตภาพรังสีปริมาณนับพันตันที่เราจะต้องอยู่กับมันในอนาคต กรีนพีซขอเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติทำการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP 2007 โดยทันที โดยเน้นไปที่การศึกษาและพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการรับประกันความมั่นคงด้านพลังงานเท่านั้น หากยังเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่คนไทยทุกคน



ในวันที่ 10 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา มูลนิธินโยบายสุขภาวะและกรีนพีซได้เปิดตัวหนังสือ “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์: อย่าปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ” เพื่อให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง รวมทั้งทางเลือกที่เป็นไปได้ของสังคมไทยในกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลที่ครบถ้วนและรอบด้านมากขึ้น อันเป็นเงื่อนไขของการตัดสินใจร่วมกันของสังคม



หนังสือ“โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ : อย่าปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ” ระบุชัดเจนว่า สังคมไทยมีทางเลือกและไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยมีองค์ประกอบ 2 แนวทางหลักคือ 1) การลดความต้องการใช้ไฟฟ้าจากที่คาดการณ์ไว้ลงร้อยละ 20 และการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในระบบกระจายศูนย์ขึ้นเป็นร้อยละ 20 ภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ PDP2007 แล้ว จะเห็นว่าทางเลือก 20:20 ภายในปี 2020 สามารถลดการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ลงได้อย่างมาก เนื่องจากการจัดการด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า (ประมาณ 6,992 เมกะวัตต์) เพื่อลดความต้องการไฟฟ้าลงร้อยละ 20 ทำให้โดยรวมแล้วสามารถลดกำลังการผลิตที่จะต้องติดตั้งใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2564 ลงได้ถึง 10,000 เมกะวัตต์ ขณะเดียวกัน โรงไฟฟ้าใหม่ที่จะสร้างก็จะเน้นโรงไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์มากขึ้น โดยจะสร้างโรงไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์เพิ่มขึ้นจาก 1,700 เมกะวัตต์ ขึ้นเป็น 6,400 เมกะวัตต์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2,800 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์ และลดการนำเข้าจากต่างประเทศลงจาก 5,090 เมกะวัตต์ เหลือเพียง 2,143 เมกะวัตต์ และลดการสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติลงจาก 18,200 เมกะวัตต์เหลือเพียง 8,400 เมกะวัตต์ ผลลัพธ์จากทางเลือกดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยสามารถประหยัดค่าลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 240,000 ล้านบาท ลดค่าลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลงได้ 153,000 ล้านบาท ลดค่าลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติลงได้ 184,000 ล้านบาท รวมกันประหยัดค่าลงทุนลงได้เกือบ 600,000 ล้านบาท นอกจากนั้นยังประหยัดการนำเข้าเชื้อเพลิงได้เกือบ 80,000 ล้านบาท/ปี ในปีค.ศ. 2020 และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 50 ล้านตันต่อปี

ดาวน์โหลดหนังสือ "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อย่าปิดแผ่้นฟ้าด้วยฝ่ามือ

.........


1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

.........

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้






 

Create Date : 21 ตุลาคม 2550   
Last Update : 21 ตุลาคม 2550 21:22:51 น.   
Counter : 916 Pageviews.  


กรีนพีซพบสารเคมีอันตรายในโทรศัพท์มือถือของบริษัทแอปเปิ้ล

กรีนพีซเผยผลวิเคราะห์จากห้องทดลองวิทยาศาสตร์พบสารสารเคมีอันตรายในส่วนประกอบของโทรศัพท์มือถือของบริษัท แอปเปิ้ล หรือไอโฟน (iPhone) ซึ่งกรีนพีซได้ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลเป็นครั้งแรกหลังจากที่จัดทำ “คู่มือจัดอันดับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว” เพื่อเป็นการทดสอบคำมั่นสัญญาของ สตีฟ จ๊อบส์ ประธานคณะกรรมการบริหารใหญ่ของแอปเปิ้ลที่ให้กับลูกค้าเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ว่าจะทำให้สินค้าของเขาเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (greener apple)
ห้องทดลองวิทยาศาสตร์อิสระได้วิเคราะห์ 18 ชิ้นส่วนจากภายในและภายนอกของไอโฟน ซึ่งจำนวนชิ้นส่วนที่วิเคราะห์มากกว่าครึ่งพบสารทนไฟประเภทโบรมีน (BFRs) (1) ที่เป็นสารเคมีอันตราย โดยมีน้ำหนักมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของแผงวงจร และพบสารเคมีประกอบอันตรายประเภท พลาทเลทเอสเตอร์ (phthalate esters) (2) มากกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ของสารเคลือบพีวีซีของสายหูฟัง การวิเคราะห์ยังพบอีกว่าชิ้นส่วนที่มีการใช้กาวติดแบตเตอรี่กับแฮนด์เซ็ทนั้นยากต่อการแยกเพื่อรีไซเคิลหรือการกำจัดที่เหมาะสมเมื่อหมดอายุการใช้งาน



“มิสคอล: สารเคมีอันตรายในไอโฟน (Missed call: the iPhone´s hazardous chemicals)” เป็นรายงานของกรีนพีซที่แสดงสารประกอบในไอโฟน (3) ซึ่งเป็นครั้งที่สามแล้วที่กรีนพีซตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลตั้งแต่ปี 2549 และพบว่าแมคบุ๊คโปรและไอพอตนาโน มีสารประกอบของพบสารทนไฟประเภทโบรมีน (BFRs) และพีวีซี (PVC) เช่นเดียวกัน

แอปเปิ้ลนำไอโฟนออกขายในตลาดสหรัฐตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา การที่พบสารเคมีอันตรายดังกล่าวในส่วนประกอบของไอโฟนแสดงให้เห็นถึงความหวังอันริบหรี่ที่จะเห็นผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในปี 2551 ตามคำมั่นสัญญาที่ สตีฟ จ๊อบส์ ให้ไว้

พลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ผลิตภัณฑ์แอปเปิ้ลควรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มจากการเลิกใช้ส่วนประกอบและวัสดุที่มีสารพิษในผลิตภัณฑ์เพราะการไม่ใช้สารพิษจะช่วยลดอันตรายต่างๆที่เกิดจากการรีไซเคิลและการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลที่กำลังเพิ่มขึ้นให้เหลือน้อยที่สุด แต่ดูเหมือนว่าแอปเปิ้ลจะยังคงห่างไกลจากความเป็นผู้นำด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างจากคู่แข่งอย่างโนเกีย หรือโซนี- อิริคสัน ที่ได้ผลิตโทรศัพท์มือถือและมีนโยบายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า”

ดร. เดวิด ซานทีโล นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของห้องวิจัยของกรีนพีซ กล่าวว่า สารเคมีประกอบอันตรายประเภท พลาทเลทเอสเตอร์ เป็นสารเคมีที่จัดอยู่ในประเภทสารมลพิษที่เป็นอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์กลุ่มที่สองในกฎหมายของยุโรป เนื่องจากมีผลรบกวนต่อฮอร์โมนเพศของสัตว์เลือดอุ่น ในขณะที่สารเคมีนี้ไม่อนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ของเล่นหรือผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ขายในยุโรป แต่อย่างไรก็ตามยังไม่รวมถึงโทรศัพท์มือถือ

ดูวีดิโอการแยกชิ้นส่วนและการทดสอบไอโฟนได้ที่นี่

เว็บไซต์งานรณรงค์ด้านสารพิษของกรีนพีซ:
//www.greenpeace.org/international/campaigns/toxics/electronics

หมายเหตุ

(1) โบรมีน: หากผลิตภัณฑ์ใด ๆ มีสารโบรมีนอยู่ในปริมาณที่สูงจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุการใช้งานเมื่อนำไปเผาทำลายหรือนำไปริไซเคิลหรือนำไปฝังกลบจากการที่โบรมีนจะทำปฎิกิริยากลายเป็นสารพิษที่คงค้างในสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

(2) พลาทเลท: ตามระเบียบสหพันธ์ยุโรป 2005/84/EC ผลิตภัณฑ์ของเล่นหรือผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ขายในสหพันธ์ยุโรปจะต้องไม่มีส่วนประกอบของสารเคมีดังกล่าวมากกว่า 0.1% ของน้ำหนัก

(3) “มิสคอล: สารเคมีอันตรายในไอโฟน (Missed call: the iPhone´s hazardous chemicals)
//www.greenpeace.org/iphonereport

.........


1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

.........

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2550   
Last Update : 17 ตุลาคม 2550 15:04:24 น.   
Counter : 984 Pageviews.  


กิจกรรมวันปฎิบัติการกู้โลกร้อน

อาสาสมัครกรีนพีซ ร่วมกับเว็บไซด์ Zheza.com และศิลปิน นักร้องสุดฮอต ได้แก่ Nice2MeetU, K-OTIC, พายุ, เฟย์ ฟาง แก้ว Chilli White Choc, หวาย, SiSKA พร้อมแฟนคลับรุ่นเล็ก ออกปฏิบัติการกู้โลกร้อน เพื่อปลุกกระแสแฟชั่นทำดีเพื่อสังคมให้เกิดขึ้นในหมู่วัยรุ่นไทย

ขบวนพาเหรดขนาดย่อมของอาสาสมัครกรีนพีซ และศิลปินนักร้อง 50 คน รณรงค์ให้ความรู้ และแจกคู่มื่อกู้วิกฤตโลกร้อน ขณะที่นักร้องร่วมขายสติกเกอร์ Zheza หาทุนสนับสนุนงานรณรงค์ลดโลกร้อนของกรีนพีซ โดยขบวนเคลื่อนจากลาน Enjoyment Zone เซ็นเตอร์พอยท์ และประชาสัมพันธ์รอบสยามสแควร์ เป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง ท่ามกลางผู้สนใจเข้ารับคู่มือกู้โลกร้อนฉบับย่อจากกรีนพีซอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง

ดูภาพไสลด์บรรยากาศวันงานได้ที่นี่

.........

1. ร่วมบริจาค - โปรดช่วยกรีนพีซช่วยสิ่งแวดล้อม สมัครเป็นสมาชิกวันนี้

กรีนพีซเป็นองค์กรอิสระที่ไม่รับความช่วยเหลือจากองค์กรรัฐบาลและเอกชน เรายืนหยัดอยู่ได้ด้วยเงินบริจาคจากประชาชนเช่นคุณ

2. ลงมือทำ - เป็นสมาชิกของชุมชุนนักกิจกรรมออนไลน์ของกรีนพีซ
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำสำหรับโลกอันบอบบางใบนี้ และเรายินดีเสมอที่จะได้รับความช่วยเหลือ สมัครรับจดหมายข่าวเพื่อรับวิธีการที่คุณสามารถช่วยโลกใบนี้ได้

3. เป็นอาสาสมัคร - มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำในการปกป้องโลกสำหรับคนรุ้นต่อไปและเรายินดีรับความช่วยเหลือเสมอ

.........

พันธกิจของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
"เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
เปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาด ด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"

Greenpeace Southeast Asia's Mission Statement
"Safeguard environmental rights,
Expose and stop environmental crimes,
Advance clean development. "

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2550   
Last Update : 17 ตุลาคม 2550 14:58:56 น.   
Counter : 976 Pageviews.  


บรรยากาศวันที่ 1 งานขี่จักรยานลดโลกร้อน

วันแรกของกิจกรรม "รวมพลอาสาสมัครกรีนพีซ ขี่จักรยานทางไกลลดโลกร้อน" นักปั่นต้องพบอุปสรรคจากฝนที่ตกหนัก แต่ก็ถึงจุดหมายที่สระบุรีโดยสวัสดิภาพ

ดูภาพสไลด์ได้ที่นี่




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2550   
Last Update : 17 ตุลาคม 2550 14:55:07 น.   
Counter : 889 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com