กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
 

อุทกภัย การรั่วไหลของสารเคมี อีกประเด็นที่ต้องระวัง


เหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ถือว่าเป็นความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ คงโทษใครไม่ได้นอกจากมนุษย์เรานี่เองที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกิกรรมต่างๆ ที่ทำลายความสมดุลของระบบนิเวศ แต่ตอนนี้ขอให้กำลังใจทุกหน่วยงานในการทำงานแก้ไขปัญหา และส่งกำลังใจแก่ผู้ได้รับผลกระทบให้ผ่านพ้นวิกฤตอันเลวร้ายครั้งนี้ไปได้ กรีนพีซยังคงติดตามสถานการณ์ติดตามอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด พร้อมทั้งร่วมลงพื้นที่ช่วยเหลือตามสรรพกำลังและความสามารถที่มี



จากการลงพื้นที่และประเมินสถานการณ์ที่ผ่านมา ประเด็นที่เป็นข้อน่าห่วงใยต่อประชาชนที่อยู่บริเวณน้ำท่วมขังคือปัญหามลพิษ สำหรับในเมืองคงหนีไม่พ้นเรื่องของขยะและสิ่งปฏิกูล เราก็ขอให้ทั้งหน่วยงานท้องถิ่นและประชาชนเองช่วยกันเก็บขยะขึ้นมาไว้บนที่แห้งและผูกถุงให้มิดชิดอย่าปล่อยลอยตามน้ำ เนื่องจากหากทิ้งอยู่ในท่วมขังอย่างต่อเนื่องแล้ว น้ำคงต้องเน่าแน่ๆ และอาจส่งผลรุนแรง ทั้งโรคระบาดและความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสน้ำของประชาชนโดยรวม

อีกประเด็นที่สำคัญที่ต้องระวัง คือปัญหาความเสี่ยงของการรั่วไหลของสารเคมีบริเวณอุตสาหกรรม ซึ่งหากมีการรั่วไหลแล้ว อาจส่งผลกระทบรุนแรงอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว  หน่วยศึกษาและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำ จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีน้ำท่วมบริเวณอุตสาหกรรมในจังหวัดอยุธยา ที่พบว่านิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น สวนอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค และนิคมอุตสหกรรมสหรัตนนิคม ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหาหาการรั่วไหลของสารเคมีที่อาจจะตามมา รวมถึงน้ำเสียและตะกอนเคมีในบ่อบำบัดที่จะปนเปื้อนรั่วไหลออกมาพร้อมกับน้ำท่วม


ซึ่งพบว่ามีสารเคมีอันตราย อาทิ สารซายาไนท์ ได้ถูกเก็บกู้มาได้จากสวนอุตสาหกรรมโรจนะ และยังเป็นที่น่ากังวลว่าน่าจะยังคงมีสารเคมีอันตรายที่ยังไม่ถูกค้นพบรั่วไหลออกมาโดยที่ชาวบ้านไม่สามารถรู้ได้ และอาจจะเกิดอันตรายเหมือนกรณีสารเคมีรั่วไหลสู่แหล่งน้ำชุมชนในเมืองโบพาล ประเทศอินเดีย เหตุการณ์ในครั้งนั้นคร่าชีวิตผู้คนนับพันภายในเวลาชั่วข้ามคืน

สิ่งที่จำเป็นตอนนี้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบปฏิบัติคือ การออกมาตรการป้องกันและเตือนภัยการรั่งไหลของสารเคมี และประเมินติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงจากการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมกว่าพันชนิดจากนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่รอบอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังพบว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมีท่าเรือสำหรับขนส่งถ่านหิน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ย้ายมาจากการต่อสู้ของประชาชนชาวสมุทรสาคร ถ่านหินจำนวนหลายพันตันถูกกองอย่างเปิดเผยพร้อมที่จะส่งไปยังโรงงานขนาดกลางและขนาดใหญ่เพื่อเป็นเชื้อเพลิง แต่จากวิกฤตน้ำท่วมกองถ่านหินเหล่านี้บางส่วนที่ยังไม่มีการขนส่งจึงถูกน้ำท่วม และก่อมลพิษทางน้ำซ้ำเติมปัญหาให้กับประชาชน


อีกสิ่งหนึ่งที่น่าขบคิดคือ การที่เราเอาพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สำหรับการทำเกษตรและพื้นที่ที่อ่อนไหวต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติมาเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม จนวันนี้เราได้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์นี้ควรนำไปเป็นบทเรียนแก้ไข ปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับภูมิประเทศและทรัพยากรที่เรามี

นอกเหนือจากการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนแล้ว.... อีกสิ่งที่ภาครัฐต้องรีบเร่งเข้ามาดูแลและให้ความสำคัญพร้อมกันคือ การเข้าติดตามตรวจสอบและแจ้งเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการรั่วไหลของสารเคมีอย่างจริงจัง และมีมาตรการป้องกันต่างๆ แจ้งเตือนโรงงานอุตสาหกรรมในเขตน้ำท่วมให้ปฏิบัติระวังป้องกันเหตุการรั่ว
ไหล ก่อนที่จะสายเกินไป







Free TextEditor




 

Create Date : 16 ตุลาคม 2554   
Last Update : 16 ตุลาคม 2554 0:10:32 น.   
Counter : 1500 Pageviews.  


แถลงการณ์กรีนพีซต่อกรณีคำตัดสินนางจินตนา แก้วขาว

"ผู้สนับสนุนถ่านหินคืออาชญากรสิ่งแวดล้อมตัวจริง"


11 ต.ค.54 - นางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถูกศาลตัดสินจำคุก 4 เดือน จากการต่อสู้และแสดงความกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชน จากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,400 เมกะวัตต์



นางจินตนาถูกดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ในงานเลี้ยงของบริษัท ยูเนี่ยน เพาเวอร์ ดีเวลลอบเม้นท์ จำกัด เจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้านกรูด เมื่อวันที่ 13 ม.ค.2544 โดยนางจินตนาได้ต่อสู้ในความไม่โปร่งใสของนโยบายด้านพลังงาน และการที่บริษัทฯ ได้พยายามบิดเบือนว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน “สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้”

ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สกปรกและก่อมลพิษมากที่สุด การใช้ถ่านหินก่อให้เกิดต่อมลพิษทางน้ำและอากาศ ทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและระบบประสาท ฝนกรด หมอกควัน และทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง โรงไฟฟ้าถ่านหินยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าถ่านหินส่วนใหญ่ ซึ่งไม่มีเสียงในการลุกขึ้นคัดค้านโครงการดังกล่าว มักเป็นผู้ที่ต้องได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเผาถ่านหิน

นายพลาย ภิรมย์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า“กว่า 10 ปีแล้ว ที่ชาวประจวบคีรีขันธ์ได้ต่อสู้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อปกป้องทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของชุมชน จนต้องแลกด้วยชีวิตของนายเจริญ วัดอักษร ผู้นำชุมชน เมื่อปี 2548 ในวันนี้ความเจ็บปวดนั้นยิ่งทวีคูณ เมื่อนักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมยังคงต้องออกมาต่อสู้ด้วยมือเปล่าโดยไม่ได้รับความสนับสนุนจากภาครัฐ แต่อาชญากรสิ่งแวดล้อมตัวจริง อย่างเช่น กลุ่มทุนถ่านหินและผู้สนับสนุน กลับยังคงมุ่งลงทุนในอุตสาหกรรมที่ไม่ยั่งยืนและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่เคารพต่อสิทธิชุมชน


ชุมชนที่ต่อสู้เพื่อปกป้องอนาคตของลูกหลานต้องเผชิญกับความไม่เป็นธรรม เสียงของชุมชนมักถูกเพิกเฉย ในขณะที่ผลประโยชน์ของบริษัทขนาดใหญ่กลับได้รับการปกป้อง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะต้องให้การคุ้มครองสิทธิของชุมชนในการอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ผู้ที่ต่อสู้เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ที่ซึ่งการพัฒนามิต้องแลกมาด้วยสุขภาพ ชีวิตผู้คนและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงนั้น มิใช่ผู้กระทำความผิด แต่ผู้ที่ยืนยันที่จะใช้เทคโนโลยีที่สกปรกและอันตรายเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนในระยะสั้น และทำลายวีถีชีวิตประชาชนนั้นคือผู้กระทำผิดที่แท้จริง กรีนพีซขอเรียกร้องให้ภาครัฐให้ฟังเสียงประชาชนและให้ความสำคัญ
ต่อสวัสดิภาพของประชาชน รวมถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อมมากกว่าอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษ รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะทำให้มั่นใจว่าการพัฒนานั้นเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสังคมรวมถึงระบบนิเวศ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้โดยการสนับสนุนอนาคตพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด”


กรีนพีซทำงานรณรงค์ด้วยหลักการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และสันติภาพ

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

พลาย ภิรมย์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โทร 081-658-9432

จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โทร 086-982-8572

วิริยา กิ่งวัชระพงศ์ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน โทร 089-487-0678 Free TextEditor




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2554   
Last Update : 14 ตุลาคม 2554 17:12:12 น.   
Counter : 1308 Pageviews.  


ชัยชนะ : บาร์บี้ยอมเลิกใช้กล่องบรรจุภัณฑ์ จากการทำลายป่าฝนเขตร้อน


เรารู้ว่าการเปิดโปงบางเรื่องเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาเกี่ยวข้องกับความลับ -- บาร์บี้้กับนิสัยแย่ๆที่ชอบตัดไม้ทำลายป่า เธอทำลายล้างป่าไม้ในอินโดนีเซียซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือ อุรังอุตัง และช้างป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เพียงเพื่อที่เธอจะได้เข้าไปอยู่ในกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ดูดี น่ารัก ทำให้ที่อยู่อาศัยของเสือสุมาตราที่กำลังจะสูญพันธุ์นั้นกำลังตกอยู่ภายใต้ การคุกคามของบริษัทเหล่านี้เพื่อนำใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษ



และในที่สุดวันนี้ บริษัทแมทเทล (Mattel) ผู้ผลิตของเล่นยักษ์ใหญ่และตุ๊กตาบาร์บี้ ได้ประกาศที่จะหยุดซื้อกระดาษและกล่องบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำลาย ป่าฝนเขตร้อนวันนี้ หลังจากการรณรงค์ทั่วโลกของกรีนพีซ ซึ่งส่วนหนึ่งของคำมั่นของแมทเทลที่ได้ประกาศไว้คือการกำหนดให้ผู้จัดหาสินค้าทั้งหมดจะต้องงดการใช้เยื่อกระดาษจากบริษัท “ที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าไม้”



นโยบาย ใหม่ของแมทเทลประกอบด้วยการป้องกันการซื้อเยื่อไม้จากไม้ที่ปลูกใน บริเวณที่เคยเป็นป่ามาก่อน ซึ่งการตัดไม้ทำลายป่า เช่น ป่าฝนเขตร้อน เพื่อเปลี่ยนปลูกเป็นไม้สำหรับทำกระดาษได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการตัดไม้ ทำลายป่าอย่างมหาศาลในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจะเน้นไปที่จะเพิ่ม การรีไซเคิลของกระดาษในธุรกิจ และส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการรับรอง มาตรฐานการปลูกป่า หรือ Forest Stewardship Council (FSC)


เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นักกิจกรรมกรีนพีซได้แต่งตัวเลียนแบบตุ๊กตา “เคน” และโรยตัวลงมาจากสำนักงานใหญ่ของแมทเทลในลอสแองเจลิส และแขวนป้ายขนาดใหญ่ที่เขียนว่า “Barbie: It’s Over. I don’t date girls that are into deforestation” หรือ “บาร์บี เราเลิกกันเถอะ เราไม่คบกับผู้หญิงที่ทำลายป่า”



กรีนพีซใช้วิธีการสืบค้นวิจัยและการวิเคราะห์วิทยาศาสตร์ ซึ่งพบว่ากล่องบรรจุภัณฑ์ของแมทเทลผลิตจากไม้ที่มาจากป่าฝนเขตร้อนในประเทศ อินโดนีเซียซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์ใกล้สุญพันธุ์ เช่น เสือสุมาตรา ซึ่งหนึ่งในบริษัทที่ทราบกันว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้คือ Asia Pulp and Paper group (APP) ซึ่งกรีนพีซได้สืบค้นพบว่าได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่าอย่างมหาศาลในประเทศอินโดนีเซีย





จนเมื่อตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา กรีนพีซได้เริ่มต้นการรณรงค์ “Tiger Eye Tour” โดยกรีนพีซได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำลายป่าอย่างต่อเนื่องของบริษัท APP”  สิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่ชี้ว่าการทำลายป่าของ Asia Pulp and Paper เป็นการกระทำที่ไม่สมควรในการทำธุรกิจ ทั้งนี้ Golden Agri-Resources ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ APP ได้ให้คำมั่นที่จะลบล้างการกระทำผิดที่ก่อไว้และผลประโยชน์กำไรที่งดงามจาก ข้อตกลง ขณะนี้ APP จะต้องปฏิบัติตามเช่นเดียวกัน


กรีนพีซจะจับตามองแมทเทลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าแมทเทลจะปฏิบัติตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ ในขณะเดียวกันกรีนพีซจะส่งเสริมรณรงค์ให้บริษัทอื่นๆ อย่าง Disney และ Hasbro ให้ปฏิบัตินโยบายอย่างเดียวกันในการปกป้องป่าไม้



ป่าฝนเขตร้อนในประเทศอินโดนีเซียควรเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ สัตว์นานาชนิด เช่น เสือสุมาตรา ไม่ไช่มีไว้สำหรับทำกล่องบรรจุภัณฑ์ของเล่น ดังนั้นจึงเป็นข่าวดีที่สุดที่แมทเทลได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงนโยบายการจัด ซื้อ บุสตาร์ ไมทาร์ หัวหน้างานรณรงค์ปกป้องป่าในอินโดนีเซีย กล่าวว่า


อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการทำลายป่าสูงสุดประเทศ หนึ่งของโลก รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประเมินว่าป่าฝนเขตร้อนมากกว่าหนึ่งล้านแฮกเตอร์ได้ถูก ทำลายลงทุกปี


อ่านฉบับสมบูรณ์ 





 

Create Date : 06 ตุลาคม 2554   
Last Update : 6 ตุลาคม 2554 17:52:42 น.   
Counter : 1472 Pageviews.  


“เสือ” เปิดโปงบริษัท Asia Pulp and Paper สร้างภาพว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม





สัปดาห์ที่แล้ว เราได้เปิดตัวโครงการ “Eyes of the tiger”โดยมีนักกิจกรรมกรีนพีซ 5 คนเดินทางในสุมาตราเพื่อเป็นประจักษ์พยานในการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเกิดจาก บริษัท Asia Pulp and Paper หรือ APP อย่างไรก็ตามเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา เราได้พบว่าพวกเราไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่วางแผนการเดินทางในสุมาตรา


กลายเป็นว่าบริษัท APP เองก็ได้เชิญผู้สื่อข่าวต่างประเทศให้เข้ามาเยี่ยมชม “โครงการอนุรักษ์” ของบริษัทเอง เพื่อให้ทุกคนได้เห็นว่ากรีนพีซและองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆได้ให้ข้อมูลที่ผิดพลาดในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมของ APP และน่าแปลกที่ APP เชื่อสนิทว่าการลงทุนด้วยเงินไปกับการพีอาร์และสร้างภาพนั้น จะช่วยให้พวกเขาไม่ต้องตอบคำถามในเรื่องการเปลี่ยนพฤติกรรมการทำลายสิ่งแวดล้อมของตนเอง


แต่เป็นโชคร้ายของ APP ที่เรามีกำหนดการของ APP อยู่ในมือ แม้ว่าบริษัท Cohn and Wolfe ซึ่งเป็นบริษัทพีอาร์ที่ APP จ้างมาจะไม่ได้เรียนเชิญกรีนพีซอย่างเป็นทางการก็ตาม นักกิจกรรมของเราในชุด “เสือ” ได้เข้าพักในโรงแรมเดียวกับที่ APP ใช้ในการเดินทาง ข้อมูลและรายละเอียดที่ APP ไม่ได้เปิดเผยในโครงการของ APP จึงถูกส่งให้แก่ผู้สื่อข่าวที่มาเข้าร่วมกิจกรรมด้วย



นักกิจกรรมกรีนพีซในชุดเสือ เตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางในกิจกรรม “Eyes of the tiger” ภาพโดย Ulet Ifansasti/ กรีนพีซ

“โครงการอนุรักษ์” ของ APP เป็นโครงการอนุรักษ์ “โลกของสิ่งมีชีวิต”บริเวณ Giam Siak Kecil ซึ่งอยู่บนพื้นที่ป่าพรุแห่งหนึ่งในสุมาตรา บริเวณใจกลางเป็นพื้นที่ป่าสงวน ล้อมรอบด้วย “พื้นที่กันชน” ขนาดใหญ่ที่กลายเป็นแนวปลูกต้นไม้สำหรับทำเยื่อกระดาษ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นป่าไม้ที่โอบล้อมใจกลางป่าพรุ แต่ถูกทำลายโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง APP


ความน่าสนใจอยู่ที่ APP และบริษัทจัดหาวัตถุดิบได้ถือสิทธิ์ในพื้นที่ที่มีป่าไม้คุณภาพดีเหล่านี้ ทั้งนี้ ในรายงานความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมปี 2550 ของ APP ชื่อ “ปลูกอนาคตที่ยั่งยืน” (pp141-3) ได้ระบุว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์และพืชใกล้สูญพันธุ์อย่างเช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน และพันธุ์พืชต่างๆ


กฎหมายอินโดนีเซียได้ตั้งข้อจำกัดของการปลูกพืชเพื่อผลิตกระดาษไว้ว่า


  • เป็นพื้นที่ที่ป่าพรุที่มีความลึกมากกว่า 3 เมตรจะต้องได้รับการปกป้อง การดำเนินการใดๆที่เกี่ยวข้องกับการทำลายหรือสูบน้ำออกจากพื้นที่ป่าพรุนี้ถือเป็นการละเมิดกฎของกระทรวงป่าไม้และกฤษฎีกาประธานาธิบดี


  • กฎหมายป่าไม้ได้ระบุข้อกำหนดว่าการปลูกพืชที่ให้เยื่อกระดาษและการปลูกต้นไม้เพื่อทำซุงของภาคอุตสาหกรรมจะทำได้ในพื้นที่ “ไม่อุดมสมบูรณ์” เท่านั้น (นิยามจนถึงปี 2547 ที่ระบุไว้คือ พื้นที่ที่มีจำนวนต้นไม้ขนาดทำซุงน้อยกว่าปกติ ต่อพื้นที่หนึ่งเฮกเตอร์)


  • ในการสัมปทานพืชที่ให้เยื่อกระดาษ อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่สัมปทาน เป็นเขตที่ห้ามทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูก


  • คุณทราบไหมว่า พื้นที่เพาะปลูกเหล่านี้แทบทั้งหมดอยู่บนป่าพรุที่ลึกกว่า 3 เมตร ในช่วงเวลาที่ ผู้ผลิตวัตถุดิบของ APP ได้รับพื้นที่นี้มานั้น พื้นที่ดังกล่าวยังอุดมไปด้วยป่าไม้และมีต้นไม้ขนาดทำซุงต่อเฮกเตอร์จำนวนมากกว่าที่ทางกฎหมายอนุญาตให้ตัดได้ จากการวิเคราะห์แผนที่และลงพื้นที่สำรวจพบว่าภายในพื้นที่สัมปทานนั้น มีป่าไม้ครอบคลุมอยู่ราวร้อยละ 30 ของพื้นที่


    ไม่เพียงเท่านี้ ผู้ถือสัมปทานหลายคนยังเกี่ยวข้องกับการทำไม้ที่ผิดกฎหมาย การคอร์รัปชั่น และการเลี่ยงภาษี (เราได้ให้ข้อมูลนี้แก่นักข่าวที่ได้เข้าร่วมเดินทางไปกับโครงการ “อันแสนวิเศษ”ของ APP ด้วย) และในพื้นที่ป่าสัมปทานแห่งเดียวกันนี้ การวิเคราะห์ผ่านแผนที่โดยกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนท้องถิ่นได้แสดงให้เห็นว่า APP ได้ทำลายป่าที่ถูกระบุอย่างชัดเจนว่ามีคุณค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างสูง


    ปัญหาคือเราไม่สามารถ “เห็น” สิ่งเหล่านี้จากมุมสูงได้เลยพื้นที่หลักที่ได้รับการอนุรักษ์ยังคงถูกปกคลุมด้วยป่าไม้ และบางส่วนของพื้นที่กันชนได้กลายเป็นพื้นที่สำหรับต้นแก่ของพืชที่ใช้ผลิตเยื่อกระดาษ ดังนั้น ทั้งหมดจึงเป็นสีเขียวชอุ่ม เราไม่สามารถเห็นการทำลายป่าที่เกิดขึ้นก่อนการปลูกต้นไม้เหล่านี้เลย “การเดินป่า” ที่ APP เชิญผู้สื่อข่าวมานั้นจึงเป็นในพื้นที่อนุรักษ์ป่า ไม่ใช่พื้นที่ทำลายป่าขนาดใหญ่ที่ถูกทำลายไปแล้วก่อนหน้านี้




    การรณรงค์ “Eyes of the Tiger” มีขึ้นเพื่อป็นประจักษ์พยานต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในผืนป่าอินโดนีเซีย กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนพื้นที่สัมปทานที่มีอยู่และปกป้องป่าพรุ รวมทั้งเรียกร้องให้อุตสาหกรรมมีนโยบายยุติการทำลายป่า ภาพโดย Ulet Ifansasti/ กรีนพีซ

    แน่นอน APP จะให้การดูแลแก่เหล่าผู้สื่อข่าวเป็นอย่างดี เพื่อให้พวกเขาไม่ได้เห็นพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายขนาดใหญ่ที่อยู่รอบๆพื้นที่อนุรักษ์ หรือแม้แต่ในพื้นที่อื่นๆ ดังนั้นเราจึงได้ระบุพื้นที่ดังกล่าวในแผนที่และมอบให้ผู้สื่อข่าวระหว่างกิจกรรมของ APP ในอินโดนีเซีย


    เราหวังว่าข้อมูลที่เรามอบให้แก่ผู้สื่อข่าวทุกคนจะได้สะท้อนความจริงถึงบทบาทของ “โครงการอนุรักษ์” ของ APP และเมื่อนั้นเราจะได้เห็นแก่นแท้ของกลยุทธตบตาของ APP


    (แหล่งที่มาของข้อมูลโดย APP เป็นการสำรวจที่ไม่ได้ระบุวันที่ โดย the Indonesian government’s own CITES Scientific Authority.)








    Free TextEditor




     

    Create Date : 06 ตุลาคม 2554   
    Last Update : 6 ตุลาคม 2554 13:54:06 น.   
    Counter : 1724 Pageviews.  


    “ผมมองผ่านดวงตาของเสือ”




    ในวันแรกของการรณรงค์ “Eyes of the tiger” นักกิจกรรมกรีนพีซพบรถบรรทุกไม้ออกจากป่า ซึ่งขนส่งผ่านสุมาตรา โดยนักกิจกรรมของกรีนพีซได้เป็นประจักษ์พยานในสถานการณ์ป่าที่อินโดนีเซีย ภาพโดย Ulet Ifansasti/ กรีนพีซ

    เสือสุมาตราเป็นสัตว์ที่น่าเกรงขามและสง่างาม และยังได้รับสมญานามว่าเป็น “เจ้าป่า” อัน เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอินโดนีเซียอีกด้วย เพื่อความอยู่รอดในป่า เสือจึงมีตาที่เฉียบคมและวิ่งได้รวดเร็ว แต่ในปัจจุบันการทำลายป่าได้คุกคามและส่งผลต่อความอยู่รอดของเสือสุมาตรา เป็นอย่างมาก


    ในผืนป่าที่ยังคงอยู่ ณ ปัจจุบัน มีเสือสุมาตราเหลืออยู่เพียง 400 ตัว หนึ่งในจำนวนดังกล่าวเสียชีวิตจากการติดกับดักเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เราไม่ทราบเลยว่ามีเสือจำนวนกี่ตัวที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งส่งผลกระทบต่อถิ่นที่อยู่อาศัยของมัน โดยราว 1.1 ล้านเฮกเตอร์ของป่าไม้ในอินโดนีเซียซึ่งรวมถึงที่อยู่อาศัยของเสือถูกทำลาย ลงทุกปี เราไม่ต้องการให้การทำลายป่านั้นเกิดขึ้นต่อไปได้


    และนี่คือเหตุผลที่ผมร่วมเป็นประจักษ์พยานในการรณรงค์ครั้งนี้


    การเดินทางในครั้งนี้ มีนักกิจกรรมเข้าร่วมทั้งหมด 5 คน โดยเราได้เดินทางตามเส้นทางในสุมาตราเพื่อเป็นประจักษ์พยานและเก็บข้อมูลการทำลายป่าไม้ที่เกิดขึ้น รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียดำเนินการในประเด็นนี้ เมื่อวานนี้ เราได้ร่วมในพิธี “tepung tawar” ที่ช่วยปัดเป่าวิญญาณร้าย ซึ่งนำโดยผู้นำท้องถิ่นจากหมู่บ้าน Jumrah, Rokan Hillir ในจังหวัดเรียล เราได้เชิญชุมชนท้องถิ่นเพื่อร่วมปกป้องบ้านของเสือ โดยเป็นประจักษ์พยานและส่งข้อมูล หรือภาพถ่ายของการทำลายป่าหากพวกเขาพบเจอในบริเวณใกล้เคียงชุมชนที่อาศัย อยู่ และพวกเราเชิญชวนคุณทุกคนร่วมปกป้องป่าฝนในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นบ้านของเสือสุมาตรา และที่สำคัญยังเป็นผืนป่าที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม และจิตใจของชาวอินโดนีเซียรวมถึงผู้คนทั่วโลกอีกด้วย


    ในทุกวัน ต้นไม้ในป่าถูกตัด ในทุกพื้นที่ที่ป่าไม้ถูกทำลายได้ทำให้เสือต้องละทิ้งถิ่นฐานแล้วมาอาศัย ใกล้กับชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมา มันยากที่จะจินตนาการว่ารถบรรทุกทุกคันที่ขนไม้ผ่านหน้าเราไป คือป่าไม้ที่ได้ถูกทำลาย และกำลังจะถูกทำลายเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษเท่านั้น

    ดังนั้น เราจึงได้ร่วมกิจกรรมรณรงค์ “Eyes of the tiger” และสร้างความตระหนักในเรื่องการทำลายป่าอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือสุมาตรา เรา ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียทบทวนการแผนการดำเนินการที่มีอยู่ และกฎหมายที่จะช่วยปกป้องป่าพรุและป่าฝนของอินโดนีเซียจากการตัดไม้ทำลายป่า เราเรียกร้องต่ออุตสาหกรรมป่าไม้ให้ยุติการตัดไม้ทำลายป่า เพราะ ถ้าหากการทำลายป่ายังคงมีต่อไป เสือสุมาตราจะตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เหมือนกับเสือชวาและบาหลี พวกเรานักกิจกรรมกรีนพีซจึงร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วยหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะ ไม่เกิดขึ้นกับเสือสุมาตรา



    ผู้เขียนในงานเปิดตัวกิจกรรม “Eyes of the tiger” ที่อินโดนีเซีย
    Free TextEditor




     

    Create Date : 03 ตุลาคม 2554   
    Last Update : 3 ตุลาคม 2554 18:37:00 น.   
    Counter : 1241 Pageviews.  


    1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  

    greenpeacethailand
     
    Location :
    กรุงเทพฯ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




    ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

    ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

    อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

    ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

    สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

    ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


    คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
    มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


    หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

    ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

    Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
    [Add greenpeacethailand's blog to your web]

     
    pantip.com pantipmarket.com pantown.com