Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

แขวนป้าย แขวน ใบ ว. ... ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน






นำมาฝากเป็นข้อมูล สำหรับแพทย์ท่านใดที่สนใจ อยากจะไป แขวนป้าย แขวนใบ ว. 
ถ้ารู้ข้อมูลแล้ว จะตัดสินใจอย่างไร ก็ไม่ว่ากัน  ^_^

...................................

แพทยสภา ขอเตือนน้องๆ อย่าหลงเชื่อ... ผู้ประกาศให้ไปแขวนใบ ว. ทั้งที่ไม่ได้อยู่คลินิก

น้องต้องรับผิดทั้ง คดีแพ่ง และ คดีอาญา ตลอดเวลาที่คลินิกนั้นดำเนินการ แม้ว่าจะเป็น จนท.ในคลินิก หรือ พยาบาลเป็นผู้ทำ ซึ่งน่าสงสารน้องๆหลายคน ถูกลงโทษในปีที่ผ่านมา จำนวนมาก คราวเคราะห์ ถึงติดคุกได้ ..ถูกพักใบประกอบวิชาชีพ หรือเพิกถอนได้ อาจมีผลถึงการเรียนต่อ และกิจกรรมต่างๆในอนาคต 

ใครแขวนไว้ ..ได้เงิน... อาจเสียอนาคตครับ..

 เตือนแล้วนะครับ

 พลเมืองดีผู้ใด พบมี แพทย์ผู้ประมาท แขวนใบว.โดยไม่ได้ตรวจจริง แจ้งได้ที่ email -  ethics@tmc.or.th 

 จนท.จาก สำนักสถานพยาบาล และการประกอบโรคศิลป์ ร่วมกับแพทยสภาจะไปจับดำเนินคดีให้ ขอบคุณครับ 


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ..

แขวนป้าย แขวน ใบ ว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน [ วิชาการ ]
https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1447312758

...................................

เพิ่มเติม ..สำหรับแพทย์ ขอยกคำตอบของ พี่ 716:16  เกี่ยวกับข้อกฎหมาย ความรับผิดชอบ ถ้าจะ แขวนใน ว.  อ่านแล้ว รู้แล้ว จะตัดสินใจอย่างไร ก็แล้วแต่พิจารณา

ก่อนตอบขอให้ข้อมูลดังนี้ก่อนครับ

1.ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
เป็นหลักฐานแสดงตนในการทำงานในฐานะแพทย์ครับ(กำลังจะเปลี่ยนเป็น smart card ในเดือน 2 เดือนนี้ครับ) ออกโดยแพทยสภา และตาม พรบ.วิชาชีพเวชกรรม มีสิทธิ ถูกพักใช้ และเพิกถอนได้โดยแพทยสภา

2.การเปิดคลินิกนั้น ใช้ พรบ.สถานพยาบาล โดย กองโรคศิลป์ เป็นผู้อนุญาต บังคับให้ต้องมีการจดทะเบียน 2 ส่วนคือ

2.1 ขออนุญาตตั้ง สถานพยาบาล อันนี้ เป็นบุคคลทั่วไป บริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือ หมอก็ได้

2.2 ขออนุญาตดำเนินการ สถานพยาบาล ต้องเป็นตามขนาดสถานพยาบาล ว่า มีกี่เตียง หรือ ไม่มีเตียง ต้องมีผู้ดำเนินการกี่คน เป็นหมอกี่คน พยาบาล กี่คน เภสัช ทันตแพทย์ กี่คน ตามการขออนุญาตครับ
กรณีคลินิก ทั่วไปของแพทย์ ประเภทเวชกรรม จะใช้ หมอ 1 ท่าน จดทะเบียน ตามที่บางคนเรียกว่าแขวนป้ายนะครับ ทีนี้มาดูปัญหากันเนื่องจากแต่ละกรณีใช้กฎหมายต่างฉบับดูแล



3.ผลกระทบ กรณีมีป้ายเป็นผู้ดำเนินการ นั้นตามกฎหมายเป็นดังนี้

3.1 กฎหมาย พรบ.สถานพยาบาล - เป็นผู้รับผิดชอบสถานพยาบาล ในการประพฤติผิดทั้งหมด ปกติ ถ้าสถานพยาบาลดีๆไม่เป็นไร ไม่ค่อยมีปัญหาโดยเฉพาะหากแพทย์ที่มีคุณธรรมเป็นเจ้าของ แต่ ในกรณีเจ้าของที่ไม่มีคุณธรรม โดยเฉพาะที่ไม่ใช่แพทย์ ไม่เข้าใจระบบการรักษาพยาบาล เปิดมา ค้าขาย เอากำไร และเอาน้องๆมาล่อเป้าเช่น

3.1.1.คดีโฆษณาเกินจริงที่หลายแห่งจ้างหมอไปแขวนและถูกลงโทษทีละเป็น หลายสาขา พร้อมๆกันจาก พรบ.นี้ ซ้ำร้าย เมื่อผิดอันนี้จะส่งเรื่องไปที่แพทยสภา ลงโทษแพทย์อีกต่างหาก เพราะผิดข้องบังคับจริยธรรม

3.1.2 เอายาเวชภัณฑ์ คุณภาพต่ำ มาใช้ จำกัดการรักษา จนเกิดปัญหากับผู้ป่วย

3.1.3 เอาบุคคลากรที่ไม่ใช่วิชาชีพจริง ไม่มี skill มารักษา ผ่าตัด เย็บแผล จ่ายยา ผู้ดำเนินการต้องรับผิดชอบไปด้วย ทั้งคดี แพ่ง และอาญา โดยมักอยู่ในกลุ่มที่เหมาจ่ายราคาต่ำมา เช่น กลุ่ม ประกันสังคมบางเครือข่าย ที่เหมาจ่ายไม่เกิน 170 150 130 บาทต่อหัว พบมากที่สุด และกลุ่ม 30 บาททุกโรค ที่เหมาจ่ายมาแล้ว ไม่อยากจ่ายจ้างวิชาชีพ กลัวกำไรน้อย บางทีเอาคนในครอบครัวมาช่วย จัดยา จ่ายยาเอง (พบที่ไหนแจ้งผมด้วยนะครับ จะไปจัดการ เพื่อคุ้มครองประชาชน และคุ้มครองแพทย์ดีๆด้วยครับ) โดยเฉพาะย่านโรงงานชุกชุม

ทั้งหมดนี้ “สำนักสถานพยาบาล และการประกอบโรคศิลปะ" (สพรศ.) จะร่วมกับทาง แพทยสภา อย. และ ตำรวจ จับอยู่แล้วครับ จับไป หมอเก่าโดนลงโทษ พวกนี้ก็มาหลอกหมอใหม่ๆสมัครอีก ให้เงินเดือนสูงๆ พวกเห็นเงินแล้วตาโต เสร็จเขาตามระเบียบครับ ข้อคิดคือ กลุ่มนี้ แพทย์ลาออกบ่อย

3.2 พรบ.วิชาชีพเวชกรรม ผู้ดูแล เป็นแพทยสภา อันนี้ ฟ้องร้องตัวหมอ เท่านั้นครับ หากหมอไปแขวน แล้วเกิดเรื่อง จะถูกฟ้องมาที่เรา พบบ่อยที่สุด ก็คือ โฆษณาเกินจริง  รองลงมาเป็นเรื่อง มาตรฐานวิชาชีพ ส่วนใหญ่คลินิก จะโดนไม่มาก ยกเว้นมีการตายในร้าน เช่นกรณี เด็กโฟร์โมส ที่แถว ดอนเมือง กรณี ขริบจู๋ กรณี ผ่าไฝใต้ตาแล้วตาย ในปีที่ผ่านมา ผู้ดำเนินการมีส่วนรับผิดชอบครับ
กรณี วันเสาร์อาทิตย์ หรือนอกเวลาไม่อยู่นั้น กฎหมายแพ่ง และ อาญา อาจต้องรับผิดชอบอยู่ แต่ทางแพทย์ หากแพทย์ที่มาอยู่เวรเป็นผู้มี ใบว.นั้น ผู้นั้นรับผิดชอบครับ ปัญหาที่ผ่านมาได้แก่

3.2.1 คลินิกบางแห่ง(น้อยมาก) ไม่ซื่อ ไม่ยอมจ้างแพทย์ในวันหยุด หรือมีๆขาดๆ แล้วให้พนักงานจ่ายยาเอง เป็นคดี แพทย์อาจต้องรับผิดชอบ ด้วย

3.2.2 แพทย์เถื่อน กรณีคลินิกลงรับแพทย์ เช่นใน เวบไซด์ เจอขาประจำที่ปลอมเป็นแพทย์ไปอยู่ ไม่ตรวจบัตร ให้ดี ออกใบรับรองแพทย์ เท็จ รักษาผิดๆถูกๆ มา follow up ท่านวันที่ท่านมาทำงาน ก็ เป็นเรื่องไปแล้ว อันนี้เราไล่จับหมอเถื่อนกลุ่มนี้อยู่ครับ บางคนเป็น เด็ก วุฒิม.6 ผู้ช่วยแพทย์ และแอบ copy ใบ ว. ไป เช่น อดีต พนักงานเซเว่น (เจ้าที่ลงหนังสือพิมพ์)ก็มี บุรุษพยาบาล เสนารักษ์ ก็เคยมีที่ปลอมตัวมาครับ ขึ้นกับความสามารถของผู้บริหารคลินิกในการจัดหาแพทย์ อันนี้แจ้งผมได้ครับ จะดำเนินการให้

3.3 พรบ.อื่นๆ เช่น พรบ.วิธิพิจารณาคดีผู้บริโภค พรบ. สินค้าไม่ปลอดภัย กม.แพ่ง กม.อาญา ที่น้องต้องศึกษารายละเอียดด้วย เพราะจะเป็นจำเลยกรณีมีความเสียหายได้โดยง่ายครับ โดยมีปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือ เงื่อนของเวลา

ขณะนี้มีน้องๆที่รักษาไป 1-2 ปีก่อน ตอนใช้ทุน แล้วตอนนี้ เรียน resident อยู่ต้องวิ่งกลับไปขึ้นศาล ที่ต่างจังหวัดหลายท่านครับ เพราะอายุความ ตั้งแต่ 3-10 ปี บางทีคลินิกปิดไปแล้ว หาหลักฐานก็ไม่ได้ น้องก็มีโอกาสแพ้คดี ใหม่ๆ เช่น ผู้บริโภค ที่กำหนดให้แพทย์ต้องเป็นคนพิสูจน์ว่าตนเองไม่ผิด เจ้าของปิดคลินิกไปแล้ว น้องจะแทบไม่มีหลักฐานไปพิสูจน์ ได้ ดังนั้นหากคลินิกไม่มั่นคง อย่านำอนาคตไปแขวนไว้ครับ

การตรวจรักษาที่เหมามาราคาถูกคุณภาพต่ำ เสี่ยงต่อการรักษาพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน ยิ่งตรวจจำนวนมาก ไม่มีแพทย์ audit ให้ พยาบาล คุณภาพน้อย ท่านต้องรับความเสี่ยงนั้นครับ

คำแนะนำคือ

1.การทำงาน แขวน ใบ ว. (เดี๋ยวนี้ไม่เรียกใบ ว.แล้วนะครับ เรียนใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม) เป็นเรื่องปกติ เพื่อยืนยันตัวตน

2.สถานพยาบาลที่จะไปแขวนใบนี้ ต้องมาตรฐานพอคุ้มครองน้องได้
และมั่นคงพอ (10ปี)น้องต้องถาม policy ดู วิธีการ วิธีคิด ระบบ ต่างๆก่อน เพราะเหมือนลงทุนร่วมกัน และดูชื่อเสียงในอดีต ความยั่งยืน และหมอที่อยู่มาก่อน รวมถึงตรวจสอบ สถานะภาพ เสาร์อาทิตย์ด้วยว่าหมอเป็นใคร.. เราไม่ใช่ลูกจ้างนะครับ ถ้าแขวน เท่ากับเจ้าของคนหนึ่งทีเดียว..

3.อย่ามองเรื่องรายได้อย่างเดียว ยิ่งสูงมาก มักยิ่งมีความเสี่ยงมากครับ

4.อ่านกฎหมายด้วยนะครับ อย่าให้เป็นภาระตอนไปเรียนต้องกลับมาขึ้นศาล..

---

อุทธาหรณ์ เล็กๆ

คดีหนึ่ง คลินิกจ่ายยาหยอดตา เก็บคนไข้ 150 บาท หมอได้ 100 บาทค่าตรวจ เกิด steven ขณะนี้ฟ้องหมอ 10 ล้าน แม้รู้ว่า จะป้องกันไม่ได้ สุดวิสัย หมอจ้างทนาย ไปว่าความสู้ เห็นว่า เป็นแสนแล้วครับ แม้ชนะ ก็เสียเงิน เสียเวลา ทั้งทำงานถูกต้อง ตามมาตรฐาน โอกาสน้อย แต่เกิดได้

อีกคดี คนไข้แพ้ penicillin ให้ chloram แพ้ ..anaphylactic death ไม่มีใครทราบก่อนแน่ สุดวิสัย ถูกตามมาตรฐานราชวิทยาลัย รายนี้ ขึ้นศาลอุตลุด ไม่ว่าผลจบอย่างไร หมอก็เสียชื่อ เสียเวลา เสียกำลังใจ ..โอกาสเสี่ยงต้องอย่ามองข้ามครับ..

อย่าทำคลินิกเพราะรายได้
ทำด้วยใจอยากช่วยผู้ป่วยจะดีกว่าครับ..
ถ้าไม่มาตรฐานอย่าไปร่วมงานด้วยเสี่ยงเปล่าๆ

หากสงสัยถามมาได้อีกครับขอให้โชคดีครับ..

ส่งโดย: 716:16
..........................

สำหรับประชาชน ผู้ป่วย ที่ไปตรวจรักษาในคลินิก หรือ โรงพยาบาลเอกชน
วิธีตรวจสอบง่ายๆ  ก็คือ เข้าไปในคลินิก ต้องแสดงเอกสารเหล่านี้  (ใช้คำว่า" ต้อง " เพราะเป็น กฎหมาย ) ..

๑. ใบอนุญาตให้ดำเนินการคลินิก  จะมีรูป "แพทย์" ที่ได้รับอนุญาต  ... ( ส่วนใบอนุญาตให้ดำเนินการ จะเป็นใครก็ได้ ไม่ต้องเป็นแพทย์ ก็ได้)

แพทย์ที่ขออนุญาต ดำเนินการ จะเป็นผู้รับผิดชอบ เวลาเกิดปัญหาในคลินิกนั้น โดยส่วนใหญ่ ก็คือ แพทย์ที่ตรวจในคลินิก ( แต่ ในกรณีที่มีแพทย์ตรวจหลายคน ..อาจไม่ใช่ แพทย์ที่กำลังตรวจอยู่ก็ได้ )

๒. แบบแสดงรูปถ่าย แสดงรายละเอียด ผู้ประกอบวิชาชีพ ..
ในกรณีมีแพทย์หลายคนตรวจรักษาในคลินิกเดียวกัน ก็ต้องมีแบบแสดงฯ ของ แพทย์ทุกคน ..

ถ้าไม่มีการแสดง เอกสาร ดังกล่าว หรือ ผู้ที่ตรวจหน้าตาไม่เหมือนภาพในเอกสารที่ติดไว้ .. แนะนำให้ไปรักษาที่ คลินิก หรือ โรงพยาบาล อื่น เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง ..

๓.ใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ( ใบ ว. ) ของแพทย์ผู้ตรวจรักษา

ออกให้โดย แพทยสภา เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่า จบเป็นแพทย์จริง  ... จะมีเลขที่ ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ชื่อสกุล รูปภาพ

ถ้าเข้าไปในคลินิกแล้ว หาทั้ง ๓ ข้อ ไม่พบ ... ผมคิดว่า น่าจะกลับบ้านก่อน ดีกว่า หรือเปลี่ยนไป คลินิกอื่น ..

อย่าเสี่ยงเลย เราไม่รู้ว่า เขาเป็น แพทย์จริงหรือไม่ ??? ขนาดกฏหมายกำหนดไว้ เขายังไม่ทำ แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า เขาสามารถรักษาเราได้จริง ถ้าเกิดอะไรขึ้นมา ไม่คุ้ม

แต่ถ้า อยากจะเสี่ยง ก็ไม่ว่ากัน นะครับ

...........................

สำหรับ เจ้าของคลินิก หรือ โรงพยาบาล (ผู้รับใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล)

การรับแพทย์ปลอมเข้าปฏิบัติงานในสถานพยาบาล “ เจ้าของและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล” จะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่น

1. ฐานให้บุคคลผู้มิใช่แพทย์ทำงานเป็นแพทย์ ตามมาตรา 27-28 ของ พรบ. ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พศ.2525 ซึ่งเจ้าของคลินิกสถานพยาบาลจะต้องรับผิดชอบ

2. ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลจะต้องถูกดำเนินคดีทางจริยธรรม ตามมาตรา 43-44 มีโทษ จำคุกไม่เกิน3ปี ปรับไม่เกิน3หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ผิด พรบ. สถานพยาบาล ซึ่งต้องถูกดำเนินการโดยกองประกอบโรคศิลปะ อาจถูกปิดสถานพยาบาล ได้

4. ถูกดำเนินคดีจากผู้ป่วย ในคดีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลโดยหมอปลอมทั้งคดีแพ่งและอาญา

5. หากผู้นั้นใช้ชื่อและนามสกุลพร้อม เลข ว. ของแพทย์ ที่มีอยู่จริง จะต้องโดนคดีอาญา ฐานปลอมแปลงชื่อผู้อื่นจากแพทย์ผู้เสียหายอีกด้วย

คำแนะนำการตรวจสอบแพทย์ที่จ้างอยู่เวรพิเศษ

เนื่องจากในปัจจุบันมีสถานพยาบาลหลายแห่งที่มีความจำเป็นต้องรับแพทย์เวรนอก เหนือจากแพทย์ประจำที่ทำงานตามปกติ โดยการลงรับสมัครงานในที่ต่างๆ ซึ่งในขบวนการดังกล่าวนั้นอาจเป็นเหตุให้มีการตรวจสอบว่าเป็นแพทย์จริงหรือไม่นั้น ไม่สะดวก   เป็นเหตุให้เกิดช่องว่างให้ผู้ซึ่งมิใช่แพทย์แฝงตัวเข้ามารับงานเป็นแพทย์ได้อยู่เป็นระยะๆ ทั้งนี้จึงใคร่ขอให้คำแนะนำดังต่อไปนี้

1. กรณีรับสมัครแพทย์ ขอให้ตรวจสอบชื่อ นามสกุล และเลขใบประกอบโรคศิลป์ จากเว็บไซต์ของแพทยสภา https://tmc.or.th/check_md/  ว่าถูกต้องและมีชื่อตรงหรือไม่

2. ให้ขอเอกสารแสดงตนทุกรายที่มาสมัคร ได้แก่ บัตรประชาชน และ ใบประกอบวิชาชีพศิลปะ (ถ้ามี) ซึ่งในอนาคตจะใช้บัตร MD CARD แทนได้

3. การชำระเงินให้กับแพทย์นั้น ในกรณีที่เป็นแพทย์ปลอมจะต้องการให้ชำระเป็นเงินสด ถ้าเป็นไปได้ ควรให้จ่ายเป็นเช็คระบุชื่อและนามสกุลของแพทย์ (จ่ายเช็คขีดคร่อม Ac Payee Only)
แพทย์ปลอมใช้ชื่อคนอื่น เบิกเงินไม่ได้ คลินิกก็ไม่ต้องเสียเงิน ในกรณีที่มีปัญหาทางกฎหมายจะช่วยยืนยันให้กับสถานพยาบาลได้มากกว่า

4. กรณีพบแพทย์ที่สงสัย แจ้งได้ที่  ethics@tmc.or.th


ข้อพึงสังเกต พฤฒิกรรมแพทย์ปลอม มักจะ

1.ไม่ให้เอกสารใดๆ ที่แสดงตน บ่ายเบี่ยง ลืมเอามา

2.อยู่เวรจำนวนน้อย มาลงขอเวรบ่อยๆ

3.ไม่อยู่เวรประจำ เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ

4.ขอเป็นเงินสดมากกว่าที่จะรับเงินแบบออกหลักฐาน เนื่องจากไม่สามารถเข้าบัญชีเบิกเงินได้


ทั้งนี้แพทยสภา กวดขันขึ้น เพื่อคุ้มครองประชาชน และปกป้องแพทย์จริง ที่มักเสียชื่อจากแพทย์ปลอมที่ไปรักษาไม่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนผู้เคราะห์ร้ายต้องรับกรรม ..

ด้วยความปรารถนาดีจาก
พล.อ.ต. นพ. อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา


........................................



::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

ข้อสังเกตคลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

๑.มีป้ายชื่อสถานพยาบาลและเลขที่ใบอนุญาต ๑๑ หลัก ติดไว้หน้าคลินิก

๒.แสดงใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล

๓.แสดงใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาล

๔.แสดงหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ของปีปัจจุบัน

๕.แสดงรูปถ่ายของผู้ประกอบวิชาชีพ พร้อม ชื่อและเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ

๖.แสดงอัตราค่ารักษาพยาบาล และ สามารถสอบถามอัตราค่ารักษาได้

๗.แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ สิทธิผู้ป่วย ในที่เปิดเผยและเห็นง่าย

 

อ้างอิง:

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

โทร02 193 7000 ต่อ 18416 - 7

www.mrd.go.th

FB@สารวัตรสถานพยาบาลOnline

https://www.facebook.com/สารวัตรสถานพยาบาล-Online-1502055683387990/

 

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

 

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 
ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 

 




 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2558   
Last Update : 10 กรกฎาคม 2563 21:30:36 น.   
Counter : 33786 Pageviews.  

โรงพยาบาลเอกชน "แพง" .. ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ )





ช่วงนี้ มีกระแสเกี่ยวกับ ค่ารักษาของ รพ.เอกชน ที่แพง ( เกินเหตุ ? ) ซึ่งก็เป็นความจริง ที่ ค่ารักษาของ รพ.เอกชน สูงกว่า รพ.รัฐบาล และ รพ.เอกชนบางแห่ง แพงม๊ากกกกก  แต่ก็ยังมีข้อมูล อีกหลายประเด็นที่ หลายคนยังไม่รู้ และ บางคน อาจ "แกล้งไม่รู้ "  ...

ผมได้อ่าน บทความวิชาการ ของ สมาคมโรงพยาบาลเอกชน จึงอยากจะนำมาฝากกัน ถือว่า เป้นการฟังความอีกข้าง ส่วนจะคิดเห็นอย่างไร ก็ไม่ว่ากัน

ปล. ผมเคยทำงาน รพ.รัฐ ๑๕ ปี ขณะนี้ลาออกมาเปิดคลินิกส่วนตัว  แจ้งไว้ก่อน เผื่อคนสงสัย ^_^

.......................

ข้อเท็จจริง-ความสำคัญรพ.เอกชนไทย(1)

3มิ.ย. 58,11.20 น.

https://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=67627&t=news

เพราะ“จำเป็น” ...จึงต้องมี “โรงพยาบาลเอกชน”

นับเป็นโชคดีของคนไทยที่ปัจจุบันรัฐบาลได้วางรากฐานและจัดสรรการรักษาพยาบาลไว้อย่างเป็นระบบ ทั้งสิทธิ์“หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” (บัตรทอง/บัตร 30 บาท)ที่ครอบคลุมการรักษาคนไทยทั่วประเทศ 48-49 ล้านคน ส่วนคนทำงาน 13 ล้านคนก็สามารถใช้สิทธิ์ “ประกันสังคม” ด้าน “ข้าราชการและครอบครัว” กว่า 100 กรม ใน 20 กระทรวงก็มีสิทธิ์การรักษาพยาบาลจากกรมบัญชีกลาง จนอาจกล่าวได้ว่า “ทุกคน”มีพื้นที่สำหรับรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน

ขณะที่ประชาชนและบริษัทเอกชนอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มพรีเมียมและกลุ่มไฮพรีเมียมแม้สามารถเลือกรักษากับสถานพยาบาลตามสิทธิที่รัฐบาลพึงให้ แต่ “โรงพยาบาลเอกชน” กลับเป็น “ทางเลือก”ของคนส่วนใหญ่ ที่มักหลีกเลี่ยงความแออัดไม่สะดวกสบายจากโรงพยาบาลของรัฐ หรืออยากคุยกับแพทย์ผู้รักษาจนคลายความสงสัยโดยที่ไม่กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ...เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลในปัจจุบัน

แต่หากย้อนไปในอดีตอาจกล่าวได้ว่าโรงพยาบาลเอกชนเกิดขึ้นมาเพราะความจำเป็นที่โรงพยาบาลของรัฐไม่สามารถให้บริการรักษาพยาบาลได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง

จากเดิมโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยเป็นแค่สถานพยาบาลขนาดเล็กมีเจ้าของเพียงคนเดียว การบริหารงานเป็นแบบครอบครัวแพทย์และบุคลากรทำงานเฉพาะช่วงนอกเวลางาน ไม่มีระบบควบคุมคุณภาพและเปิดให้บริการเพียงบางเวลา

ทว่าทุกวันนี้โรงพยาบาลเอกชนพัฒนาจนกลายเป็นโรงพยาบาลหลายระดับตามความต้องการของผู้มาใช้บริการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ข้อมูล ณ เดือน ก.ย. 2557 ระบุว่ามีโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยทั้งสิ้น 329 แห่ง จำนวนเตียงให้บริการรวม 34,319เตียง เจ้าของเป็นนิติบุคคลหรือบริษัทมหาชนที่บริหารแบบมืออาชีพแพทย์และบุคลากรด้านสุขภาพทำงานเต็มเวลาด้วยความเชี่ยวชาญแม่นยำย่นระยะเวลาในการวินิจฉัยรักษาและฟื้นฟูพรั่งพร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถให้บริการรักษาพยาบาลโรคและโรคเฉพาะทางที่ซับซ้อนได้ตลอด 24 ชั่วโมงคิดเป็นสัดส่วนการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลร้อยละ 20-30 ของประเทศ

ทั้งยังได้รับมาตรฐานในประเทศอย่างHospitalAccreditation หรือ HA โดยมีโรงพยาบาลเอกชนระดับ 2 และ 3 จำนวน 91 แห่งได้รับมาตรฐานดังกล่าว ขณะที่ ในปี 2558 มีโรงพยาบาลเอกชนของไทย 44 แห่งได้รับมาตรฐานระดับสากลที่เน้นเรื่องการจัดการบริหารเพื่อปลอดภัยจากนานาชาติ หรือ JCIAccredited Organizations

นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าในปี 2555 โรงพยาบาลเอกชนมีการจ้างงานบุคลากรถึง 200,000 คนต่อปีก่อให้เกิดรายได้ในอุตสาหกรรมประมาณ 150,000 ล้านบาทต่อปีให้บริการผู้ป่วยนอกประมาณ 55 ล้านครั้งต่อปี ผู้ป่วยในมากถึง 1.5 ล้านครั้ง และส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยระดับไฮ พรีเมียมที่เคยเดินทางออกไปรักษายังต่างประเทศ

สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่านับตั้งแต่ปี 2555 มีชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามารักษากับโรงพยาบาลเอกชนเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปีเช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ เยอรมนี ออสเตรเลีย จีน เมียนมา กัมพูชา อินเดีย และลาว

จากการสำรวจยังพบอีกว่าในแง่ศักยภาพการรักษาพยาบาลเชิงปริมาณของโรงพยาบาลเอกชนไทยสามารถดึงดูดให้มีผู้มาใช้บริการมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ยิ่งในระยะ 10 ปีให้หลังผลงานและชื่อเสียงของโรงพยาบาลเอกชนไทยกระจายไปทั่วโลกจนชาวต่างชาตินิยมเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นอันดับ 1 ของโลกเช่นกัน(อ้างอิงมาจากนิตยสาร Forbes เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม2014) เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเมียนมาและกัมพูชาก็ยังเดินทางมารักษากับโรงพยาบาลเอกชนของไทยด้วยเพราะมาตรฐานและเทคโนโลยีที่ดีกว่า

โรงพยาบาลเอกชนจึงกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อระบบบริการสุขภาพและการพัฒนาของประเทศ โดยที่ไม่ต้องใช้ภาษีจากรัฐเข้ามาอุดหนุนดังนั้น ค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชนจึงไม่สามารถเทียบโรงพยาบาลของรัฐได้

ในอีกด้านหนึ่งโรงพยาบาลเอกชนยังช่วยรัฐบาลประหยัดงบประมาณในการลงทุนด้านสาธารณสุขของประเทศได้กว่า2.26 แสนล้านบาท พร้อมกันนั้นยังจ่ายภาษีกลับคือไปให้รัฐในรูปภาษีนิติบุคคลภาษีเงินได้พนักงาน และภาษีเงินได้ของแพทย์และพยาบาล ต่อปีไม่ต่ำกว่า 7 พันล้านบาทเพื่อนำไปอุดหนุนพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศในอีกทอดหนึ่ง

ภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมโรงพยาบาลเอกชนนับเป็นธุรกิจที่จำเป็นต่อประชาชนที่เจ็บป่วยและยังมีบทบาทสำคัญในการการจ้างงานจำนวนมาก เกิดรายได้จากอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องการลงทุนภาคเอกชนยังช่วยลดภาระการลงทุนของรัฐในหลาย ๆ ด้านจึงเป็นธุรกิจที่รัฐพึงให้การส่งเสริมอย่างยิ่งเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีและมีประสิทธิภาพ

.....................................................................



กระเทาะเปลือกวิธีคิด"ค่ารักษา"รพ.เอกชน(2)

4 มิ.ย. 58, 06.00 น.

https://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=67689&t=news

ปัญหา“ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน” โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการเก็บค่ารักษาเกินจริงการโก่งราคาค่ายา รวมถึงการเข้าใจว่าแพทย์เลี้ยงไข้เพื่อเก็บค่ารักษาแพงเพราะเมื่อเข้าไปรักษาโรคหนึ่ง แต่กลับเจอโรคอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมาด้วยเพราะพยาธิของโรคแฝงในแต่ละคนกลับไม่เหมือนกันทำให้ค่ารักษาสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัว

เรื่องเหล่านี้มักปรากฏเป็นข่าวร้องเรียนบนพื้นที่สื่ออยู่เป็นประจำจนเกิดการเรียกร้องให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบอย่าง “สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการ” รวมถึง “กรมการค้าภายใน” เข้ามาตรวจสอบและกำหนดแนวทางเพื่อควบคุมราคายาตลอดจนค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนให้ลดระดับลงมาใกล้เคียงกับอัตราค่ารักษาของโรงพยาบาลรัฐ

หากในความเป็นจริงมีปัจจัยอื่น ๆ แฝงอยู่ในการกำหนดอัตราราคายาและค่ารักษาของโรงพยาบาลแต่ละแห่งเป็นผลให้ค่ารักษาและราคายาของโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐแตกต่างกันซึ่งเป็นที่มาของ “ข้อสงสัย” ว่าทำไม โรงพยาบาลเอกชนถึงไม่สามารถควบคุมค่ารักษาพยาบาลให้อยู่ในอัตราเดียวกับโรงพยาบาลของรัฐ

โดยทั่วไปการก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้นมาแห่งหนึ่งล้วนมีเงินลงทุนสูงและมีค่าใช้จ่ายพื้นฐานในการดำเนินการต่างกันไปตามขนาดและระดับมาตรฐานของแต่ละแห่งต้นทุนแต่ละหมวดแบ่งเป็นค่ายาและเวชภัณฑ์ เงินเดือนแพทย์ พยาบาล บุคลากรของโรงพยาบาลเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งหากโรงพยาบาลนำเข้ายาจากต่างประเทศเน้นแพทย์ที่เชี่ยวชาญ บุคลากรมีประสบการณ์หรือใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการรักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายย่อมสูงขึ้นตามเป็นปกติ

นอกเหนือจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น มูลค่าที่ดินตามทำเลที่ตั้งของโรงพยาบาล ต้นทุนในการก่อสร้างอาคารสถานที่การกู้ยืมเงินมาลงทุน เงินปันผลตอบแทนผู้ลงทุน ฯลฯที่นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนและกลายเป็นปัจจัยสำคัญสร้างความแตกต่างให้กับค่ารักษาพยาบาลซึ่งแม้เป็นโรงพยาบาลเอกชนด้วยกันก็ตาม

ส่วนกรณีโรงพยาบาลเอกชนเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นเหตุให้คิดค่ารักษาพยาบาลแพงนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดเพราะการเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลในรูปแบบหนึ่งเนื่องจากการบริหารงานโรงพยาบาลเอกชนในอดีตเสี่ยงต่อการขาดทุนการรวมกลุ่มจะของผู้ลงทุนจะช่วยให้โรงพยาบาลพัฒนาก้าวไปข้างหน้าได้ เช่นโรงพยาบาลเอกชนในประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น

อีกทั้งโรงพยาบาลของรัฐได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และกฎหมายอีกหลายฉบับ ในกระบวนการรักษา และวินิจฉัยของโรงพยาบาลเอกชน ต้องใช้แพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นไม่สามารถใช้บุคคลระดับอื่นได้ ส่งผลให้เอกชนมีต้นทุนสูงกว่า

ขณะที่เป้าหมายในการรักษาโรคของโรงพยาบาลเอกชนยังมีความแตกต่างโดยจะทำการตรวจอย่างละเอียดเพื่อแยกแยะหาสาเหตุของโรคซึ่งหากพบปัจจัยเสี่ยงหรือการเจ็บป่วยร่วม ก็จะให้ข้อมูลแนะนำและดำเนินการรักษาอย่างครอบคลุมเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนมิได้เป็นการรักษาที่มุ่งเน้นไปยังโรคที่พบเพียงโรคเดียวหรือรักษาเพียงให้อาการป่วยทุเลา ทั้งนี้รายละเอียดค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนทุกโรง “ผู้ป่วย”และ “ญาติผู้ป่วย” สามารถรับทราบและตรวจสอบได้ณ จุดตรวจเช็คภายในสถานบริการตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาลพ.ศ. 2541 มาตรา 32 วรรค 3 และมาตรา 33 วรรค 1

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ทำให้ค่ารักษาของแต่ละโรงพยาบาลเอกชนแตกต่างกัน เช่นแม้จะป่วยเป็นโรคเดียวกันแต่มีภาวะซับซ้อนของโรคต่างกัน เช่นป่วยเป็นไส้ติ่งอักเสบแบบแตกหรือไม่แตกรวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการวินิจฉัยและรักษาที่ไม่เหมือนกัน เช่น การทำ CT สแกน หรืออัลตร้าซาวด์ เป็นต้น

หากกล่าวโดยสรุปโรงพยาบาลเอกชนเป็น “โรงพยาบาลทางเลือก” ในระบบการรักษาพยาบาลของประเทศ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลของรัฐในแง่ลดความแออัดและกระจายโอกาสการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลรัฐไม่สามารถเข้าถึงได้โดยไม่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล

...ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของตัวเลขบนใบเสร็จที่ทำให้โรงพยาบาลเอกชนมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐถึง 2-3 เท่า เป็นอย่างน้อย.

......................................



เฉลยที่มา...”ราคายาโรงพยาบาลเอกชน” แพง? (3)

5 มิ.ย. 58, 06.00 น.

https://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=67691&t=news

ประเด็นสำคัญที่สังคมให้ความสนใจและจับตามองอยู่ในขณะนี้คงไม่พ้นเรื่อง “การควบคุมราคายา”หลังมีเสียงสะท้อนว่า ทำไม?ยาและเวชภัณฑ์ใน “โรงพยาบาลเอกชน” จึงมีราคาสูงกว่า “โรงพยาบาลของรัฐ” หลายเท่า และหากนำไปเปรียบเทียบกับ “ร้านขายยา” ทั่วไป ก็ยิ่งเห็นความแตกต่างมากขึ้น

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว สามารถอธิบายถึงขั้นตอนทั้งหมดซึ่งเป็นที่มาของ“ราคายาในโรงพยาบาลเอกชน” ที่ไม่อาจหยิบยกแค่ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตยามากำหนดกรอบราคาได้

โดยภายใต้การลงมือเขียนใบสั่งยาจากแพทย์ผู้รักษาจนยานั้นเดินทางถึงมือผู้ป่วยโครงสร้างต้นทุนราคายาของโรงพยาบาลเอกชนประกอบด้วยปัจจัยหลากหลาย เริ่มตั้งแต่ “ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ยา” ที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่เน้นเลือกยาให้ประสิทธิภาพทางการรักษาดีเยี่ยมซึ่งมักเป็นยามีสิทธิบัตรนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาสูง

ขณะเดียวกันก็มี“ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน” ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเลือกยาที่ต้องทดสอบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของยาก่อนนำเข้ามาใช้ในโรงพยาบาลการจ้างแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถสั่งยาไม่ให้เกิดผลกระทบข้างเคียงต่อผู้ป่วยเภสัชกรที่มีประสบการณ์ บุคลากรเวชระเบียนที่ชำนาญงานหรือแม้แต่การใช้เทคโนโลยีระดับสูงที่มีความแม่นยำในการจ่ายยา เช่นซอฟแวร์การบริหารจัดการยา บาร์โค้ดยา หรือหุ่นยนต์จ่ายยา Smart DispensingRobot ที่มูลค่านับสิบล้านบาทการดูแลสต็อกยาให้เพียงพอต่อการใช้ในทุกวัน พื้นที่จัดเก็บยาที่ต้องดูแลพิเศษในด้านอุณหภูมิและความชื้นรวมไปถึงการดูแลให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ฯลฯ

ซึ่งทุกขั้นตอนในกระบวนการดังกล่าวโรงพยาบาลเอกชนได้ทำ “ประกันความเสี่ยง” ที่อาจเกิดความผิดพลาดจากกระบวนการจ่ายยาให้คนไข้โดยวงเงินประกันดังกล่าวมีมูลค่าไม่น้อย

ทั้งนี้ที่ต้องเน้นกระบวนการด้วยความรัดกุม เพราะในต่างประเทศอย่างสหรัฐฯมีการสำรวจแล้วว่าหากป้องกันความผิดพลาดจากการสั่งยาจะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้โดยในแต่ละปีสหรัฐฯ สามารถป้องกันผลข้างเคียงของยาที่ไม่พึงประสงค์อันมาจากความผิดพลาดในการสั่งยา ได้ถึง 1.5 ล้านคน (Bateset al, 1995)

เมื่อเทียบกับประเทศไทยจากจำนวนประชากรทั้งหมดในปัจจุบัน โดยกรมการปกครองระบุ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2557 ว่ามีอยู่กว่า 65 ล้านคน และคาดการณ์กันว่าราว 1 ใน 4 อาจได้รับผลกระทบจากความผิดพลาดของกระบวนการจ่ายยา อาทิเภสัชกรจ่ายยาไม่ครบ ขวดยาติดฉลากผิด แพทย์สั่งยาชนิดที่คนไข้มีอาการแพ้ยาหรือแพทย์คำนวณขนาดยาผิดพลาด ที่ล้วนนำความเสียหายมาสู่ผู้ป่วยตั้งแต่ในระดับเล็กน้อยอย่างการแพ้ยาไปจนถึงความสูญเสียทำให้ร่างกายพิการ และมีอันตรายถึงชีวิต

จึงเป็นเรื่องน่ากังวลและอันตรายไม่น้อยหากต้องแก้ไขปัญหาราคายาโรงพยาบาลเอกชนแพง ด้วยการให้แพทย์ออกใบสั่งยาแล้วให้ผู้ป่วยไปซื้อยาจากร้านขายยาเองเนื่องจากไม่สามารถการันตีความถูกต้อง คุณภาพ และผลข้างเคียงของยาได้ซึ่งจะมีผลต่อความรับผิดชอบของแพทย์และโรงพยาบาลต่อผู้ป่วยต่างกับกรณีรับยาในโรงพยาบาลตามแพทย์สั่งจ่าย

เรื่องของ“ยา” จึงเปรียบได้กับ “ราคาชีวิต”หน่วยงานรับผิดชอบที่ออกแบบระบบและผลักดันให้ผู้ป่วยต้องไปรับยานอกโรงพยาบาลจำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบหากเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ไร้ประสิทธิภาพ และ หากผู้ป่วยไม่หายจากโรคหรือต้องสิ้นเปลืองเพิ่มรวมถึงเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงจากการใช้ยานอกโรงพยาบาล ก็ควรมีหน่วยงานที่ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วย

ทั้งหมดนี้กลายเป็นที่มาของ“ต้นทุนทางตรงของระบบยา” ซึ่งมีมูลค่ากว่าร้อยละ 30-50 ของต้นทุนตัวยา ที่โรงพยาบาลเอกชนหลายระดับต้องแบกรับและเป็นสาเหตุหนึ่งของการกำหนดราคายาที่มีอัตราแตกต่างกันของโรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงในการควบคุมความเสี่ยงต่างๆ ที่มากตามไปด้วย

ในขณะที่โรงพยาบาลรัฐได้รับการชดเชยงบประมาณต้นทุนยาจากภาษีของประชาชนส่วนร้านขายยาทั่วไปดำเนินงานด้วยระบบที่ไม่ซับซ้อน มีความรับผิดชอบที่จำกัดเฉพาะและใช้ต้นทุนไม่มากนัก



บทความวิชาการโดยสมาคมโรงพยาบาลเอกชน

“โรงพยาบาลเอกชน” คุณค่าคู่สังคม…ที่ถูกมองข้าม


...........................................


แถม เรื่องที่เกี่ยวข้อง ..

infographic9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดีแต่การปฏิบัติล้มเหลว ?...

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185

สพฉ. จับมือ สธ.พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ์”

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-04-2015&group=7&gblog=186

คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง... ( นำมาฝาก )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2015&group=7&gblog=189

โรงพยาบาลเอกชน "แพง" ..ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190

ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Online ได้ที่https://www.hospitalprice.org หรือ สายด่วนสุขภาพ 02 193 7999





 

Create Date : 08 มิถุนายน 2558   
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2562 20:42:29 น.   
Counter : 9835 Pageviews.  

คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง ... ( นำมาฝาก )





คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง

pantip.com/topic/33686093

สืบเนื่องจากช่วงนี้มีปัญหาเรื่องโรงพยาบาลเอกชนกันมากจึงขอเสนอแนะแนวทางหลีกเลี่ยงค่ารักษาแสนแพง ดังนี้

1. เริ่มต้นตรวจสอบสิทธิการรักษาของท่านตั้งแต่วันนี้
สิทธิ30บาท: //www.nhso.go.th/FrontEnd/page-forpeople_check.aspx หรือ เบอร์1330
สิทธิประกันสังคม: //www.sso.go.th/wpr/home.jsp หรือเบอร์1506
สิทธิข้าราชการเบิกจ่ายตรง: //welcgd.cgd.go.th/wel/login.jsp

2. หากท่านต้องย้ายที่อยู่ไปทำงาน เรียน หรือใดๆก็ตาม ที่ไม่ใช่การไปเพียงชั่วคราวกรุณาย้ายสิทธิการรักษาของท่านไปยังที่อยู่ใหม่ด้วย

3. หากท่านเจ็บป่วยกรุณาเลือกไปยังโรงพยาบาลที่ท่านมีสิทธิการรักษาอยู่เพื่อที่จะได้ใช้สิทธิและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด หากเป็นการเจ็บป่วยที่ไม่ใช่กรณีฉุกเฉินกรุณาไปในเวลาทำการจะดีมาก เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์นอกเวลาราชการที่มีจำนวนน้อยสามารถให้การรักษาผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินได้อย่างเต็มที่(คำจำกัดความของ"กรณี เจ็บป่วยฉุกเฉินจะกล่าวถึงไว้ด้านล่าง)

4. หากไปรักษาตามสิทธิแล้วพบว่าใช้เวลาในการรอคอยนาน ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควรให้พิจารณาเวลาที่เสียไป ว่าคิดเป็นรายได้เท่าไหร่ และคำนวณว่าคุ้มค่าหรือไม่หากเทียบกับราคาค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชน

5. โรงพยาบาลเอกชนควรทำรายการแจ้งค่ารักษาพยาบาล หัตถการ ยา วัสดุทางการแพทย์อย่างละเอียดเช่น gauze แต่ละขนาดมีราคาชิ้นละเท่าไหร่ ติดประกาศอย่างชัดเจนไว้หน้าโรงพยาบาลและบนwebsiteโรงพยาบาล เพื่อผู้ป่วยจะได้นำไปคำนวณประกอบการตัดสินใจในข้อที่4

6. หากท่านคิดว่าราคาตามข้อที่5ยังแพงเกินไปให้พิจารณาเรื่องความคุ้มค่าของการทำประกันสุขภาพเพื่อประกอบการตัดสินใจในข้อที่4

7. หากท่านตัดสินใจรับบริการโรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีหลายระดับราคา กรุณาศึกษาข้อมูลข้อที่5ของแต่ละโรงพยาบาลอย่างละเอียด(ถ้าศึกษาเตรียมไว้ ก่อนจะช่วยให้ท่านสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วเมื่อเจ็บป่วย)

8. หากท่านสงสัยว่าการเจ็บป่วยของตนเองเป็น"กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน"กรุณาศึกษารายละเอียดต่อไปนี้

      “การเจ็บป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤตและต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ทันที สังเกตได้จาก 6 อาการ ดังนี้ 1. หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้นจำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที 2. การรับรู้ สติเปลี่ยนไปบอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน 3. ระบบหายใจมีอาการดังนี้ ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติพูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ4. ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤตอย่างน้อย 2 ข้อคือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น 5.อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ และ 6.อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรงแขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด ชักเกร็ง เป็นต้น”



Ref: //www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000037668

9. หากการเจ็บป่วยของท่านเข้าได้กับข้อที่8 กรุณาไปรับการรักษายังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดหรือโทรเบอร์1669 ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชน กรุณาแจ้งทางโรงพยาบาลว่าท่านต้องการย้ายกลับไปโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาของท่านเมื่อพ้นภาวะฉุกเฉินทันที ทางเอกชนจะได้ติดต่อกับโรงพยาบาลตามสิทธิไว้ก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเตียงเต็มและค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากสิทธิฉุกเฉิน

หากโรงพยาบาลเอกชนพยายามเรียกเก็บเงินจากท่านในกรณีฉุกเฉิน ให้ท่านขอเหตุผลและหลักฐานและโทรไปติดต่อยังเบอร์ในข้อที่ 1 (ในกรณีนี้การย้ายสิทธิตามข้อที่2 จะมี ประโยชน์ เพราะถ้าโรงพยาบาลตามสิทธิอยู่ไม่ไกลนัก ระยะเวลาในการส่งตัวจะน้อยเมื่ออาการท่านคงที่ระดับหนึ่งก็สามารถย้ายไปตามสิทธิได้เลย แต่หากท่านไม่ย้ายสิทธิตามการย้ายถิ่นฐานเช่น สิทธิอยู่แม่ฮ่องสอน มาทำงานกรุงเทพ เจ็บป่วยที่กรุงเทพ ก็ต้องรอให้อาการคงที่มากพอที่จะเดินทางระยะหลายร้อยกิโลเมตรได้จึงจะสามารถส่งตัวกลับตามสิทธิได้ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายนอกสิทธิฉุกเฉินที่มากขึ้น)

แต่หากอาการของท่านไม่เข้ากับข้อที่8 กรุณาไปพบแพทย์ตามสิทธิการรักษาของท่านในวันรุ่งขึ้นในเวลาทำการ

10. หากท่านตัดสินรับการรักษาที่โรงพยาบาลในการเจ็บป่วยที่ไม่เข้ากับข้อที่8และต้องมีหัตถการหรือการรักษาต่อเนื่องคำนวณแล้วไม่คุ้มค่าตามข้อที่4และ5 รวมทั้งไม่มีประกันสุขภาพตามข้อที่6กรุณาแจ้งความประสงค์ขอไปรักษาตามสิทธิของท่าน

เครดิต One Hundred Years of Solitude

....................

สำรวจราคาห้องพักโรงพยาบาลไหนแพงสุด 68,000 บาท/คืน

//thaipublica.org/2017/03/room-rates-hospital-in-bangkok/


จากการสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนปี 2555 (จัดทำทุก 5 ปี) ระบุว่า สถานพยาบาลเอกชนประเทศไทยมีจำนวนเตียงรวม 30,880 เตียง จากโรงพยาบาลรวม 321 แห่ง และมีอัตราค่าห้องพักผู้ป่วยไม่รวมค่าอาหารเฉลี่ยทั้งประเทศต่อคืน ดังนี้ ห้องเดี่ยวพิเศษ 2,792 บาท ห้องเดี่ยวปรับอากาศ 1,666 บาท ห้องเดี่ยวพัดลม 706 บาท ห้องเตียงรวมปรับอากาศ 939 บาท ห้องเตียงรวมพัดลม 448 บาท และห้องผู้ป่วยหนักทุกประเภท 2,258 บาท

จากข้อมูลเครือโรงพยาบาลกลุ่มบมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ(BDMS) เฉพาะในประเทศไทยมีทั้งหมด 45 แห่ง มีจำนวนเตียงรวม 8,927 เตียง โดยกลุ่ม BDMS มีจำนวนเตียงประมาณร้อยละ 29 หรือเกือบ 1 ใน 3 ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย สำหรับ BDMS เป็นกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนแบบครบวงจรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย ถือหุ้นใหญ่โดยนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ในสัดส่วนร้อยละ 18.26 ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มธุรกิจหลักๆ คือ กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล และเป็นเศรษฐีหุ้นที่รวยอันดับหนึ่งของประเทศในปี 2559

จากข้อมูลเว็บไซต์ของตัวแทนบริษัทประกันเอไอเอ ระบุข้อมูลค่าห้องพัก ค่าอาหาร และบริการพยาบาลต่อคืน ของโรงพยาบาลเอกชนบางส่วนในกรุงเทพมหานคร พบว่า ห้องพักของโรงพยาบาลแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ห้องวีไอพี ราคาเริ่มต้นที่ 3,200-68,000 บาท ห้องเตียงเดี่ยว ราคาเริ่มต้นที่ 2,100-12,000 บาท และห้องเตียงคู่ ราคาเริ่มต้นที่ 700-4,200 บาท โดยโรงพยาบาลกรุงเทพมีราคาห้องพักสูงที่สุด คือ เตียงเดี่ยว 7,300 บาทต่อคืน และวีไอพี เริ่มต้นที่ 48,000-68,000 บาทต่อคืน

ในขณะที่โรงพยาบาลในเครือ BDMS เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลสมิติเวช ล้วนจัดอยู่ในกลุ่มโรงพยาบาลที่มีค่าบริการห้องพักสูงในอันดับต้นๆ ด้วย(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

สำนักข่าวไทยพับลิก้าได้สำรวจเฉพาะราคาห้องพัก ไม่รวมการบริการอื่นๆ ของโรงพยาบาลชื่อดังในกรุงเทพมหานครจำนวน 11 แห่ง แบ่งเป็นโรงพยาบาลเครือ BDMS 6 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ โรงพยาบาลเปาโล โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลพญาไท 1 และโรงพยาบาลรามคำแหง และโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ 5 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ โรงพยาบาลวิภาวดี โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน โรงพยาบาลเวชธานี และโรงพยาบาลพระราม 9

พบว่า โรงพยาบาลที่มีราคาห้องพักสูงที่สุด 5 อันดับคือ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เริ่มต้นที่ 7,080-16,790 บาทต่อคืน โรงพยาบาลกรุงเทพ เริ่มต้นที่ 3,700-15,000 บาทต่อคืน และโรงพยาบาลพระราม 9 เริ่มต้นที่ 3,800-18,000 บาทต่อคืน โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ เริ่มต้นที่ 3,200-12,000 บาทต่อคืน และโรงพยาบาลพญาไท 1 เริ่มต้นที่ 2,700-15,200 บาทต่อคืน ตามลำดับ จากข้อมูลเครือ BDMS ติดอันดับโรงพยาบาลเอกชนที่มีราคาห้องพักแพงที่สุดถึง 4 แห่ง อย่างไรก็ตามเมื่อดูราคาห้องพักของโรงพยาบาลเปาโล และโรงพยาบาลรามคำแหงแล้วก็พบว่า มีราคาห้องพักสูงกว่า หรือใกล้เคียงกับโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำอื่นๆ ด้านโรงพยาบาลเกษมราษฎร์มีราคาห้องพักเริ่มต้นที่ 1,400- 4,500 บาทต่อคืน

ทั้งนี้ ในปี 2555 โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ หรือ SiPH หนึ่งในโรงพยาบาลสุดหรูของไทยในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้เปิดให้บริการโดยมีค่าห้องพักรวมค่าบริการทางการแพทย์และค่าอาหาร แบ่งเป็นห้องดีลักซ์ราคา 6,700 บาทต่อคืน ห้องวีไอพีราคา 13,200 บาทต่อคืน ห้องเอ็กเซ็กคิวทีฟราคา 18,700 บาทต่อคืน และห้องรอยัลราคา 47,000 บาทต่อคืน

อย่างไรก็ตามหากต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่มากกว่าค่าบริการห้องพัก เช่น ค่าบริการทางการแพทย์และพยาบาล ค่าอาหาร ค่ายาและเวชภัณฑ์ในการรักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งจะทำค่าใช้จ่ายต่อวันของผู้ป่วยนั้นสูงเพิ่มขึ้นอีกประมาณอย่างน้อย 1 เท่าตัว(คลิกที่ภาพเพื่อขยาย)

นี่คือราคาห้องพักในการรักษาพยาบาลกรณีนอนพักในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ

....................

แถม เรื่องที่เกี่ยวข้อง ..

infographic9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดีแต่การปฏิบัติล้มเหลว ?...

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185

สพฉ. จับมือ สธ.พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ์”

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-04-2015&group=7&gblog=186

คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง... ( นำมาฝาก )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2015&group=7&gblog=189

โรงพยาบาลเอกชน "แพง" ..ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190

ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Online ได้ที่//www.hospitalprice.org หรือ สายด่วนสุขภาพ 02 193 7999




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2558   
Last Update : 6 มิถุนายน 2560 22:04:11 น.   
Counter : 14678 Pageviews.  

ขรก.เบิกกลูโคซามีนได้แล้ว หลังศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ ก.คลัง

ขรก.เบิกกลูโคซามีนได้แล้ว หลังศาลปกครองมีคำสั่งเพิกถอนเกณฑ์ ก.คลัง

Thu, 2015-05-21 15:33 -- hfocus
 //www.hfocus.org/content/2015/05/10007

คำสั่งศาลปกครองเพิกถอนหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังปี 53 ที่ห้ามเบิกยารักษาข้อเข่าเสื่อม “กลูโคซามีน” ในสิทธิสวัสดิการข้าราชการแล้ว มีผลตั้งแต่ 20 พ.ค.58 เป็นต้นไป หลังสมาคมข้าราชการพลเรือนอาวุโสได้เข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครอง โดยระบุว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย

เมื่อวันที่ 20 พ.ค.58 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศสํานักงานศาลปกครองเรื่อง ศาลปกครองพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ

ด้วยศาลปกครองกลางได้มีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีหมายเลขแดงที่ ๕๐๒/๒๕๕๘ ระหว่าง นางสาวปิติ กาญจนโหติ ผู้ฟ้องคดี กับ กระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดี และคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีหมายเลขแดงที่ ๕๐๓/๒๕๕๘ ระหว่าง นายบัญชา สหเกียรติมนตรี ผู้ฟ้องคดี กับกระทรวงการคลังผู้ถูกฟ้องคดี

โดยพิพากษาเพิกถอนหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง แจ้งตามหนังสือกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค0422.2/ว127 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ที่กําหนดให้กลุ่มยา SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต และไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและไม่ให้คณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลออกหนังสือรับรองการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติกลุ่มดังกล่าว

โดยให้การเพิกถอน มีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศผลแห่งคําพิพากษาในราชกิจจานุเบกษา

จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม

เลขาธิการสํานักงานศาลปกครอง”

"""""""""""""""""""""""""""""""

ทั้งนี้ การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟตสำหรับผู้ป่วยสวัสดิการข้าราชการนั้น กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว127 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 แจ้งเวียน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อานวยการสถานพยาบาลของทางราชการ /สถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อทราบและแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติ เรื่องการกาหนดรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการโดยได้กำหนดให้ กลุ่มยา SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยติน ซัลเฟตและไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบและกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทา อาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และไม่ให้คณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลออกหนังสือรับรองการใช้ ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้ผู้มีสิทธิใช้เป็นหลักฐานประกอบการเบิกเงินจากส่วนราชการต้นสังกัด เนื่องจากกลุ่มยาดังกล่าวไม่มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิผลไม่ชัดเจน 

ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับการเบิกค่ายากลุ่ม SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟตและไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) ที่มีการสั่งใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป 

อย่างไรก็ดีหากแพทย์ผู้รักษาเห็นสมควรสั่งยากลุ่มดังกล่าว เพื่อบรรเทาอาการหรือเพื่อเป็นวิตามินเสริมให้แก่ผู้ป่วยก็สามารถสั่งใช้ยาได้ โดยผู้ป่วยต้องชำระค่าใช้จ่ายเองจะนำมาเบิกจ่ายในระบบสวัสดิการฯ ไม่ได้

ซึ่งประเด็นดังกล่าวนั้น มีข้าราชการไม่เห็นด้วย รวมถึงแพทยสภา โดยเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วย กระทั่ง สมาคมข้าราชการพลเรือนอาวุโสได้เข้ายื่นฟ้องต่อศาลปกครอง และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ศาลปกครองพิพากษา จึงมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎกระทรวงการคลังด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว127 ที่ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2553 และวันที่ 20 พ.ค.58 ก็มีผลตามวันประกาศผลแห่งคําพิพากษาในราชกิจจานุเบกษา

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""


ความเห็นส่วนตัวของผม..

๑. ถึงแม้จะเบิกได้ ก็ขอให้ใช้ยาตามข้อบ่งชี้ แนวทาง ที่ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ได้จัดทำไว้ นอกจากเป็นการใช้ยา ตามมาตรฐาน อย่างเหมาะสมคุ้มค่า แล้วยังช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศอีกด้วย 

๒. ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ในการสั่งจ่ายยา ขึ้นอยู่กับ ข้อกำหนด ของแต่ละโรงพยาบาลว่า จะมีแนวทาง ข้อปฏิบัติอย่างไร ?
     ผมไม่แน่ใจว่า ยังใช้แนวทางเดิมเมื่อปี ๒๕๕๔ หรือไม่ เพราะผมไม่ได้รับราชการแล้ว  ลองอ่านดูนะครับ  //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2011&group=7&gblog=142

๓. ยากูลโคซามีน หรือ ยากลุ่มอื่น ๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดอักเสบ และช่วยชะลอความเสื่อมของข้อ ถือว่าเป้น “ ส่วนเสริม “ เท่านั้น การรักษาหลักยังเป็นเรื่องของการดูแลตนเอง บริหาร ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ป่วยและญาติต้องช่วยกัน

๔. ยา อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) มีข้อดี และ มีข้อเสีย ก่อนที่จะซื้อหามาใช้ก็ควรศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะได้ใช้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป อย่าไปยึดติดกับ “การโฆษณา” หรือ คำพูดของบางคน ไม่ใช่ว่า เขา(เธอ) พูดอะไรก็เชื่อ เพราะ ผู้ที่จะได้รับผลเสีย ก็คือ ตัวผู้ที่ใช้ เอง บางครั้งนอกจากเสียรู้ เสียเงิน แล้วยังอาจเสียสุขภาพ เสียโอกาสที่จะได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

ยากับ อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=5

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์( เอนเสด ) ... ไม่ใช่ขนมนะครับ จะได้กินกันไปเรื่อย ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-08-2008&group=4&gblog=54

............................

แนวทางกำกับการใช้ยากลูโคซามีนของ ราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ ซึ่งแนบส่งไปกับ หนังสือเวียนของกระทรวงการคลังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔


ลิงค์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ..


ข้อเข่าเสื่อม

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15


วิธีบริหารเข่า

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=5


คำชี้แจงจาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132


คำชี้แจงจาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(ต่อ )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134


คำชี้แจงจาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..(จบ?)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2011&group=7&gblog=146


คลังคุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลขรก. ... กรมบัญชีกลาง ยังไม่ให้เบิกยารักษาข้อเข่าเสื่อม ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-06-2011&group=7&gblog=139


คลังไฟเขียวเบิกจ่ายยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมเหมือนเดิม... ( ไม่รู้จะมีคดีพลิก อีกหรือเปล่า ??? )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-06-2011&group=7&gblog=141


คลังส่งหนังสือด่วนถึง รพ.อนุมัติเบิกจ่ายยาข้อเสื่อมได้แบบมีเงื่อนไข

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-07-2011&group=7&gblog=142


คลังสั่งถอน“กลูโคซามีนซัลเฟต” จากระบบเบิกค่ายา ขรก...ห้ามเบิกตั้งแต่ ๑ พย. ๕๕

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-10-2012&group=7&gblog=161


๒๔ธันวาคม ๒๕๕๕ ขยายเวลาให้ข้าราชการ เบิกค่ายากลูโคซามีน ได้ (คดีพลิกอีกแล้วครับท่าน )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-12-2012&group=7&gblog=171


จ่ายยาต้นแบบให้ข้าราชการ(เบิกได้) แต่หมออาจต้องจ่ายเงินตัวเองให้ DSI ..

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2012&group=7&gblog=159


งานเข้าข้าราชการไทย " คลังสั่งห้ามจ่าย9ยานอก คนเป็นมะเร็ง-ไขมัน-ความดันกระอัก " .. นำกระทู้มาลงไว้

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-01-2011&group=7&gblog=124


ขรก.จ๊ากแน่คลังเลิกจ่าย ยานอก9กลุ่ม(ไทยโพสต์) .... นำกระทู้มาลงไว้เป็นข้อมูล

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-01-2011&group=7&gblog=123


คลังรุกอีกคุมเข้ม"ป่วยนอก"ขรก.วางแนวให้"เหมาจ่าย"เผยเจอข้อมูลส่อทุจริตเวียนรับยารพ.600ครั้ง/ปี

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=05-11-2012&group=7&gblog=164


ปัญหายาข้าราชการ....ประเด็นที่ยังไม่มีใครพูดถึง... โดย นาวาอากาศโท นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-10-2012&group=7&gblog=162


สรุปอภิปราย“มาตรฐานการกำหนดค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ ใน สวัสดิการการ ของ ข้าราชการ”

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-02-2010&group=7&gblog=52


เสนอเลือกเบิกจ่ายยาให้ข้าราชการบางกลุ่ม???.... ข้าราชการ ก็เตรียมตัวไว้บ้าง

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-05-2009&group=7&gblog=26


อึ้ง!วิจัยเผยคนไทยใช้ยาเกินจำเป็น 500ล.ต่อปี.... ( จริง ๆ น่าจะมากกว่านั้นเยอะ )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2009&group=7&gblog=27


คลังตั้งทีมรื้อค่ารักษาข้าราชการ 7 หมื่นล. ... คลังหน้ามืด!ค่ารักษาขรก. พุ่ง1.5แสนล.

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-12-2009&group=7&gblog=43


คลังเปิดทางให้ข้าราชการนอนรักษาร.พ.เอกชนได้ ..... ( ดูเหมือนดี แต่มันจะดีจริงหรือ ???)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-09-2010&group=7&gblog=101






 

Create Date : 22 พฤษภาคม 2558   
Last Update : 29 มิถุนายน 2558 15:06:28 น.   
Counter : 5538 Pageviews.  

สพฉ. จับมือ สธ. พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์”



สพฉ. จับมือ สธ. พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์” เปิด 6 อาการฉุกเฉินวิกฤติที่เสี่ยงต่อชีวิตรักษาได้ฟรีในรพ.ที่ใกล้ที่สุดพร้อมประสานรพ.เอกชนลดข้อขัดแย้งในการปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉิน

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเพื่อเตรียมพิจารณาปรับปรุงแนวทางในการให้บริการประชาชนตามนโยบาย“เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์”





นายแพทย์อนุชาเศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)กล่าวว่า แนวทางการให้บริการตามนโนบายนี้นั้นประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ทันทีเพื่อป้องกันการพิการและเสียชีวิตได้โดยจะไม่มีภาระค่าใช้จ่ายที่กระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วยแต่ที่ผ่านมาการให้บริการก็ยังพบปัญหาอยู่พอสมควร อาทิประชาชนไม่กล้าเข้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากกลัวไม่มีค่ารักษาอีกทั้งมียังมีกรณีที่หลายโรงพยาบาลมีข้อขัดแย้งเรื่องการรับรักษาประชาชนเนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤติ ดังนั้นสพฉ.ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการประชุมหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้นและทำให้ประชาชนมั่นใจว่าจะได้รับการรักษาในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นไปตามนโยบายอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาเพื่อปรับปรุงแนวทางการให้บริการดังนี้

1. กระทรวงสาธารณสุขและสพฉ.ได้ร่วมกันกำหนดคำนิยามของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลว่าอาการในลักษณะใดบ้างที่หมายถึงภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที

2. มีการจัดทีมแพทย์ให้ประจำการที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อวินิจฉัยถึงอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินของประชาชนที่เข้ารับการรักษาในกรณีที่มีความขัดแย้งถึงอาการเจ็บป่วยว่าเข้าข่ายกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติหรือไม่เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการคัดแยกให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

3. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อประสานการทำงานและหารือกับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อให้เข้าใจถึงแนวทางตามนโนบายดังกล่าวและแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉิน

เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่าสำหรับแนวทางในการให้บริการตามนโนบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ์” นั้น ประชาชนที่พบว่าตนเองมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้าไปขอรับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ได้ทันทีโดยเมื่อประชาชนไปถึงโรงพยาบาลแล้วเจ้าหน้าที่จะตรวจดูสภาพอาการพร้อมทั้งวินิจฉัยตามเกณฑ์ว่าเข้าข่ายของการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติหรือไม่หากเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติก็จะได้รับการรักษาในทันทีโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้หากมีข้อขัดแย้งทางอาการก็จะรีบส่งต่อให้ทีมแพทย์ที่ประจำการอยู่ที่สพฉ.วินิจฉัยอาการและหากเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติก็จะรีบรักษาอย่างทันท่วงทีจนกว่าจะพ้นภาวะวิกฤติที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะสามารถทำได้ภายในเวลารวดเร็วส่วนประชาชนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ก็สามารถโทรแจ้งสายด่วน1669 เพื่อขอรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อส่งต่อไปผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษาตามสิทธิของผู้ป่วยได้ต่อไป

“ต่อจากนี้เรื่องที่ต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนคือภาวะแบบไหนเรียกว่าเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤติและต้องได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ใกล้อย่างทันท่วงทีซึ่งสังเกตได้จาก
6อาการที่ส่งผลต่อชีวิตและอวัยวะสำคัญ ดังนี้
1.หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที
2.การรับรู้สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน
3
.ระบบหายใจมีอาการดังนี้ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆหรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ
4.ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤติอย่างน้อย2 ข้อคือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น
5
.อวัยวะฉีกขาดเสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ
6.
อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรงแขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด ชักเกร็ง เป็นต้น”

//www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=574&auto_id=7&TopicPk



"""""""""""""""""""""""""


มติบอร์ดสพฉ.ตั้งอนุ กก.จัดระบบเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน แก้ปัญหารพ.เอกชนเรียกเก็บเงินผู้ป่วย

//www.hfocus.org/content/2015/05/10017

Fri,2015-05-22 16:51 -- hfocus

บอร์ดสพฉ.ตั้งอนุกรรมการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในโรงพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลไกแก้ไขปัญหาการเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉิน3 กองทุน โดยพัฒนาระบบร่วมกับ 3 กองทุน ช่วยให้เกิดค่ารักษาที่สมเหตุสมผล ไม่สร้างภาระให้ประชาชนโดยจะแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน กึ่งฉุกเฉินออกจากผู้ป่วยทั่วไปมีกติกาเรื่องเงินที่ชัดเจน ใน 72 ชั่วโมงแรก เร่งให้เสร็จภายใน 1 เดือนและเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว

วันนี้ (22 พฤษภาคม 2558) นพ.สมศักดิ์ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการดูแลคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน(บอร์ดสพฉ.)ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการเรียกเก็บเงินค่ารักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลเอกชนว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคณะกรรมการได้ตั้งคณะอนุกรรมการบริหารระบบการแพทย์ฉุกเฉิน1 ชุด เป็นคณะทำงานในเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อพัฒนาระบบร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 3 กองทุนรวมทั้งภาคเอกชนและโรงพยาบาลรัฐ เพื่อให้เกิดการบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ดี ในรพ.ทั้งภาครัฐและเอกชน มีกติกาที่ชัดเจน ไม่สร้างภาระทางการเงินแก่ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินและจะช่วยให้เกิดค่ารักษาพยาบาลที่สมเหตุสมผลมากขึ้น

นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่าในการดำเนินการการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามนโยบายป่วยฉุกเฉินรักษาได้ทุกที่ ดีทุกสิทธิ์ ได้กำหนดกรอบดำเนินการ 3 ส่วน ได้แก่

1.การแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน กึ่งฉุกเฉินออกจากผู้ป่วยทั่วไปซึ่งจะเริ่มทำพร้อมกันทั่วประเทศและจัดระบบให้มีความพร้อมตามความเหมาะสมหากพื้นที่ใดมีความพร้อมพัฒนาเข้าสู่ระบบได้เร็วจะให้เป็นแบบอย่างและช่วยเหลือพื้นที่อื่นๆทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน

2.การจัดการเรื่องเงินจะต้องมีกติกาที่ชัดเจนและมีความพร้อมทุกสถานการณ์

3.การกำหนดขอบเขตการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินภายใน 72ชั่วโมงและการสร้างระบบดูแลต่อเนื่องหลัง 72 ชั่วโมงแรก

จะพยายามปรับให้เข้าสู่ระบบให้ได้ แม้จะมีความยุ่งยากก็ตามโดยคาดว่าจะได้แนวทางที่ชัดเจนภายใน 1 เดือนนี้และจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุดจากนั้นจะเริ่มลงมือปฏิบัติการและพัฒนาระบบไปเรื่อยๆรวมทั้งจะหารือกับกระทรวงพาณิชย์ในส่วนของมติครม.ให้ราคาบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่อยู่ในรายการที่ต้องควบคุมราคาและมีมาตรการตามรูปแบบระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่จะพัฒนาขึ้นโดยคณะอนุกรรมการด้วย

นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่าสำหรับสาเหตุค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนที่แพงขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากทุกแหล่ง ซึ่งมีองค์ประกอบจากหลายปัจจัยไม่เฉพาะค่ายาอย่างเดียว อาจมีทั้งค่าบริการ ค่าดูแล รวมทั้งปริมาณตัวยา วัสดุและการตรวจที่เกิดขึ้นแต่ในระหว่างนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เชิญโรงพยาบาลเอกชนเดินหน้าทำระบบให้ประชาชนสามารถทราบและเปรียบเทียบราคาค่ายาและค่าบริการที่มีอยู่โดยมอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพหารือกับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อจัดทำระบบข้อมูลให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้


"""""""""""""""""""""""""

แถม เรื่องที่เกี่ยวข้อง ..

infographic9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดีแต่การปฏิบัติล้มเหลว ?...

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185

สพฉ. จับมือ สธ.พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ์”

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-04-2015&group=7&gblog=186

คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง... ( นำมาฝาก )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2015&group=7&gblog=189

โรงพยาบาลเอกชน "แพง" ..ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190

ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Online ได้ที่//www.hospitalprice.org หรือ สายด่วนสุขภาพ 02 193 7999




 

Create Date : 02 เมษายน 2558   
Last Update : 6 มิถุนายน 2560 22:10:49 น.   
Counter : 4637 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]