 |
 |
|
มาตรา 5 และ6 องค์ประกอบของคณะกรรมการ พูดจาภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย .. By : doctorlawyer (แร๊งงงง)

ถ้ายังไม่ได้อ่านบทความนี้ .. แวะไปอ่านก่อนนะครับ จะได้ทราบความเป็นมา เพิ่ม อรรถรส ยิ่งขึ้น ..
ปุจฉาวิสัชนา พรบฯ .. ความเห็นของ "หมอ+นักกฎหมาย" ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้ ตั้งแต่เริ่ม (อ่านแล้วจะ อืมมม)
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-08-2010&group=7&gblog=70
เบื้องหลังที่ถูกตัดออกไปจาก Prototype (ร่างแรก) ...ความเห็นของ "หมอ+นักกฎหมาย" ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้ ฯ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-08-2010&group=7&gblog=71
อ่านแล้ว ก็มาติดตามกันต่อได้เลย .... ณ บัดนี้ ...
มาตรา 5 และ6 องค์ประกอบของคณะกรรมการ พูดจาภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย
สิ่งที่พิธีกรไม่เคยถาม สิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ไม่เคยชี้แจง สิ่งที่องค์กรเอกชนต้องการให้เป็นไป กฎหมายนี้ยังไง ๆ เขาก็ต้องการให้ใช้คำเรียกว่า คุ้มครองผู้เสียหาย เพื่อเน้นให้เห็นว่าทุกวันนี้ โรงพยาบาลคือสถานก่ออาชญากรรมที่ทำให้เกิดความเสียหาย
ทุก ๆ วัน ทุกพื้นที่ของประเทศไทยกำลังมีอาชญากรรมเกิดขึ้นภายใต้สถานที่มีเครื่องมือ RED CROSS ดังนั้นจึงต้องมีกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายที่เกิดเหตุในสถานพยาบาล โรงพยาบาลคือ Crime Scene บุคลากรคือ ผู้ต้องสงสัย จำเลย ผู้ต้องหา นักโทษ แล้วแต่จะเรียกขาน ที่สำคัญสถานก่ออาชญากรรมเหล่านี้ ไม่เคยมีตำรวจเข้าไปจับ เลยต้องตรากฎหมายใหม่มาเพื่อเรียกค่าทำขวัญ จุดประสงค์ต่อเนื่องคือ เหตุที่เกิดอาชญากรรมนี้ไม่ต้องพิสูจน์ ไม่ต้องเก็บพยานหลักฐาน เพราะต้องการให้เรียกว่า NO fault ทั้ง ๆ ที่คำนี้ไม่ได้แปลว่า ไม่พิสูจน์ผิดถูก แต่หมายถึงการไม่ไปสอบหาว่าใครเป็นทำ แต่ยังไงก็ต้องเก็บพยานหลักฐาน ซักปากคำ ตรวจสอบพยานหลักฐานที่เป็นเวชระเบียน ว่าเหตุเกิดในสถานพยาบาลนั้นเป็นเหตุอันเป็นปกติวิสัยที่ต้องมีคนเจ็บ คนตาย ทุกวัน เหตุใดผิดปกติต้องหาสาเหตุไต่สวน
ต้องรู้ว่าเหตุนั้นผิดปกติ เบี่ยงเบียนไปจากมาตรฐานการทำงานหรือไม่ แต่ไม่ต้องไปสนใจว่าใครทำ No blame จึงเป็นคำที่เหมาะสมจะเรียก แต่เจตนาไปใช้คำว่า NO fault เพื่อให้สาธารณชน พิธีกรที่ไม่ทำการบ้านมาดีพอ เข้าใจผิด ว่า เมตตาแล้วนะ ใช้หลัก no fault แล้วนะ ทำไมใจร้าย ใจดำ ไม่ยอมให้ผ่านกม.นี้
สรุป คือ ยังไง ๆ กม.นี้ ต้องมีการพิสูจน์ว่าการรักษาพยาบาลถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ถ้าไม่พิสูจน์ เรื่องที่บอกจะไปพัฒนาการรักษา ไปลดเบี้ย ไปเพิ่มเบี้ย ก็เป็นเรื่องโกหกพกลม ไว้หลอกเด็ก ๆ หลอกสส.ให้ยกมือผ่านกม.นี้ทั้งสิ้น
สิ่งที่กม.นี้ควรมีไม่ใช่ no fault แต่เป็น no blame ต่างหาก ซึ่งเป็นคำแสลงของเขา เหมือนกับ ที่ไม่ยอมให้ใช้คำว่า ผู้ได้รับผลกระทบ แต่ยังไง ยังไง ก็ต้องใช้คำว่า ผู้เสียหาย
ประเด็นต่อมาคือที่ทะเลาะกันเรื่องมาตรา ๕ และ ๖ ไม่ต้องไปพูดภาษากม. จะขยายความง่าย ๆ ว่า มาตรานี้มีปัญหาอะไรต้องขบคิดเพื่อมิให้โดนหลอก
หลักการที่อ้างว่าต้องมีกม.นี้ ก็เพื่อ เยียวยา โดยการเอาเงินมาให้กับผู้ที่โดนกระทำมิดีมิร้าย (ผู้เสียหาย) ในสถานพยาบาล (สถานที่เกิดเหตุ crime scene) โดยไม่ต้องการให้มี investigation เพราะเมื่อสืบสวนแล้วส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ศาลยกฟ้องในที่สุด เมื่อยกฟ้องบ่อย ๆ เพราะมีการสืบลงลึก แล้วพบว่าไม่ได้กระทำผิดมาตรฐาน แต่เป็นเหตุสุดวิสัย ก็ต้องหาช่องทางอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าเยียวยา โดยใช้คำว่าผู้เสียหายที่โดนกระทำการเสียหายโดยอาชญากรในสถานพยาบาล (และที่สำคัญไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูก)
ที่ทะเลาะกันมาก ๆ ก็ตรงนี้แหละ ความเสียหาย อย่างไรจึงเรียกว่า ความเสียหาย ขอให้ดูตัวอย่างนี้จะได้เข้าใจชัด ๆ - ก. เดินข้ามทางม้าลายในจังหวะไฟแดงของรถ แล้วโดนรถคันนั้นผ่ามาชน - ข. เดินข้ามทางม้าลายในจังหวะไฟเขียวของรถ แล้วโดนรถนั้นชน - ค. เดินข้ามถนนที่ไม่มีไฟจราจร ไม่มีทางม้าลาย แล้วโดนรถชน
ข้อ ก. วิญญูชนน่าจะเรียกได้ว่า ผู้เสียหาย แบบนี้ต้องรีบเยียวยา โดยด่วน แถมต้องฟ้องอาญาด้วยซ้ำไป
ข้อ ข. จะให้เรียกว่าผู้เสียหายดีหรือไม่
ข้อ ค. เช่นกัน ใครผิดก็ไม่รู้ คนขับรถผิด คนข้ามผิด หรือถูกทั้งคู่ แต่ผิดที่กทม.สะเพร่าไม่ทำทางม้าลาย จราจรไม่ยอมมายืนกำกับ ฟ้องใครดี ใครทำใครเสียหาย
เปลี่ยนตัวอย่างใหม่
- คนไข้ถูกผ่าตัดผิดข้าง ผิดคน ผิดอวัยวะ
- คนไข้แพ้ยา ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ไม่รู้ แพทย์ก็ไม่ทราบว่าคนไข้จะแพ้ยาตัวนี้ - คนไข้รับการรักษาแล้วไม่พอใจผลการรักษา ทั้ง ๆ ที่ไม่ว่าหมอไหนในโลกมารักษาก็อาจมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พอใจนี้ได้ เช่น ผ่าแล้วแผลติดเชื้อ
- คนไข้รับการรักษาแล้วไม่พอใจผลการรักษา ทั้ง ๆ ที่ทำดีและถูกต้องแล้ว บอกแล้วว่าผ่าตัดตรงนี้อาจทำให้เหงือกบวมและชาได้ตลอดชีวิต เพราะเนื้องอกที่กรามมันกินเส้นประสาท ต้องตัดออกทั้งเนื้องอกและเส้นประสาท แต่คนไข้ก็ยังไม่พอใจ โดยอ้างว่าชาเกินกว่าที่หมอบอก (แถมพิสูจน์ไม่ได้ด้วยว่าชาจริงหรือเปล่า)
ถ้าเราจะออกกองทุนมาช่วยคนในตัวอย่างเหล่านั้น เราอยากให้กองทุนช่วยคนกลุ่มไหนที่สุด กลุ่มไหนห้ามช่วยโดยเด็ดขาดเพราะอาจเป็นพวก 18 มงกุฎที่อยากได้เงิน กลุ่มไหนยังตัดสินไม่ได้เพราะลังเล ... 
- กลุ่มแรก - คนไข้ถูกผ่าตัดผิดข้าง ผิดคน ผิดอวัยวะ
ต้องช่วยแน่นอน บุคลากรวิชาชีพเห็นด้วยล้านเปอร์เซ็นต์ NGO ก็เห็นด้วยแน่นอน) แถมให้อีกว่าเมื่อช่วยแล้วต้องส่งเรื่องไปสอบสวนยังสภาวิชาชีพ รับเงินแล้วห้ามจบ เพราะไม่งั้นก็ไม่เกิดการพัฒนาอะไรเลย
- กลุ่มสอง - คนไข้แพ้ยา ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ไม่รู้ แพทย์ก็ไม่ทราบว่าคนไข้จะแพ้ยาตัวนี้
แพทย์ว่ามันเป็นเรื่องกรรมบันดาล ใครจะไปรู้ว่าคนไข้แพ้ยาตัวนี้ ก็เจ้าตัวยังไม่รู้เลย แต่คนไข้บอกว่าต้องช่วยเพราะฉันเสียหาย องค์กรเอกชนบอกว่าให้ยาเขากินแล้วผิวไหม้ ทำไมใจร้ายไม่เยียวยา แล้วคุณละคิดว่าจะให้เงินหรือไม่ ???
ประเด็นนี้คือประเด็นปัญหาที่ทะเลาะกัน แต่ผู้ผลักดันไม่ปริปากพูด เพราะโดยสามัญสำนึกแล้วมันเป็นเรื่องเหตุปัจจัย (ตามพุทธศาสนา) หรือกรรมบันดาล เพียงแต่เกิดแล้วก็ต้องรักษาช่วยเหลือกันต่อไป ห้ามทอดทิ้งผู้ป่วย แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดว่าใครทำให้เสียหาย เมื่อไม่รู้ว่าใครทำ ไม่พอใจ ทุกวันนี้ก็ไปออกสื่อขอความเห็นใจ ใครไม่เห็นใจก็ใจร้ายแน่ๆ เพราะมีบาดแผลให้เห็น จากนั้นก็ฟ้องศาลเรียกเงิน
- กลุ่มสาม - คนไข้รับการรักษาแล้วไม่พอใจผลการรักษา ทั้ง ๆ ที่ไม่ว่าหมอไหนในโลกมารักษาก็อาจมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พอใจนี้ได้ เช่น ผ่าแล้วแผลติดเชื้อ
ก็เป็นกลุ่มปัญหา ที่ทะเลาะกันคนละเรื่อง หมอไม่ยอมให้เรียกว่า ผู้เสียหาย เพราะทำเต็มที่แล้ว ใครจะไปรู้ว่าคนไข้จะเกิดปัญหาติดเชื้อ เชื้อมันอยู่ในอากาศ เวลาติดหวัดยังไม่เห็นเคยไปฟ้องเพื่อที่เอาหวัดมาพ่นใส่หน้า
แต่ผู้ป่วยบอกว่า มันติดเชื้อหลังผ่าตัด ก็ต้องรับผิดชอบ เพราะหมอเป็นคนผ่า หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครทำ ก็ให้เรียกว่า ผู้เสียหาย จึงเป็นที่มาของการใช้คำว่า หากพิสูจน์ไม่ได้ภายใน ...วัน ก็ให้ถือว่าเป็นผู้เสียหายแล้วให้คณะกรรมการรีบจ่ายเงินเยียวยา คุณในฐานะผู้เสียภาษีจะว่ายังไง ???
- กลุ่มสี่ - คนไข้รับการรักษาแล้วไม่พอใจผลการรักษา ทั้ง ๆ ที่ทำดีและถูกต้องแล้ว บอกแล้วว่าผ่าตัดตรงนี้อาจทำให้เหงือกบวมและชาได้ตลอดชีวิต เพราะเนื้องอกที่กรามมันกินเส้นประสาท ต้องตัดออกทั้งเนื้องอกและเส้นประสาท แต่คนไข้ก็ยังไม่พอใจ โดยอ้างว่าชาเกินกว่าที่หมอบอก (แถมพิสูจน์ไม่ได้ด้วยว่าชาจริงหรือเปล่า)
เป็นกลุ่มที่น่ารังเกียจที่สุด คล้าย ๆ กับคนที่ไม่เดือดร้อนในเหตุการณ์เผาราชประสงค์ แต่ดันทะลึ่งไปเข้าคิวรับเงินจากรัฐบาล ซึ่งก็ไม่ใช่เงินนายก ไม่ใช่เงินสส. แต่เป็นเงินเราเองที่เสียภาษี ที่โดนรีดภาษี
แถมท่าทีนายกก็ดูไม่ยี่หระในการสร้างตะแกรงมาร่อนกลุ่มนี้ออกไป อาจเพราะเตรียมตัวเลือกตั้ง ให้ ๆ ไป เถอะ เขาจะได้ลงคะแนนให้เราอีกในคราวหน้า
กลุ่มนี้เป็นอีกกลุ่มที่แพทย์ออกมาต่อต้านไม่ยอมให้ผ่านกม.ที่มีช่องโหว่ นี้ ไป แล้วคุณในฐานะผู้เสียภาษีอยากให้หรือไม่ ???
ที่สุดแล้ว หากไม่ต้องการให้มีตะแกรงร่อนทุจริตชนมาแอบอ้างเอาเงินโดยอ้างตนเป็น ผู้เสียหายจากการกระทำของบุคลากรสาธารณสุข ก็ต้องกำกับมาตรา 5 และ 6 ให้ดี ๆ และเพื่อที่จะกำกับมาตรา 5 และ 6 ให้ดี ๆ ก็ต้องมีคนที่รู้เรื่อง เงื่อนไขว่าอย่างไรจึงจะเข้าหรือไม่เข้าด้วยมาตรา 5 และ 6 แน่นอน คน ๆ นั้นต้องมีความรู้ในการรักษาผู้ป่วย ต้องรู้เรื่องขั้นตอนการรักษาอย่างดี จึงจะให้ความเป็นธรรมได้
คน ๆ นั้นเป็น นักหนังสือพิมพ์ สื่อมวลชน นักสังคมสงเคราะห์ NGO มูลนิธิเพื่อพวกเราเอง ทนายความ ตำรวจ หรือไม่ ???
หากคำตอบคือ
- ใช่ งั้นคราวหน้าเวลาไปโรงพยาบาลก็ต้องเชิญคนเหล่านี้มาเป็น Care provider หรือ ผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย เพราะเขาเหล่านี้สามารถรักษาผู้ป่วยตามพรบ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- ไม่ งั้น องค์ประกอบของ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ก็ต้องมีสภาวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล บุคลากรมาตัดสินประเด็นเรื่องมาตรา 5 และ 6 ให้ถูกต้อง คนนอกไม่เกี่ยวเพราะการตัดสินแบบนี้ต้องใช้เหตุผลทางวิชาการ ไม่ใช้ความรู้สึกสงสารหรือเห็นอกเห็นใจ
(เหมือนการตัดสินคดีของท่านเปา ที่ต้องใช้เหตุผลความถูกต้องตามหลักกฎหมายเพียว ๆ แม้จะน่าสงสารยังไงก็ไม่เกี่ยว เป็นเรื่องที่มาว่ากันทีหลังว่าหากเห็นใจจะช่วยอย่างไรดี แต่ยังไง ๆ ก็ต้องตัดสินไปตามเหตุผลทางวิชาการก่อน)
ชัดเจนออกอย่างนี้ ทำไมถึงยังมีอาการ stiff neck คัดค้านหน้าตาใสซื่ออยู่ได้ว่า ไม่ต้องมีวิชาชีพมามากมายในกรรมการ แถมยังอ้างว่ามีอธิบดี มีนายแพทย์ใหญ่ ผู้อำนวยการสถานพยาบาล แพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ มาเป็นกรรมการแล้ว ยังไม่พอใจอีกหรือ
ถ้าคิดว่าคนเหล่านี้มีคุณสมบัติดังกล่าวดีแล้ว เวลาไม่สบายต้องผ่าตัด ต่อโน่น ตัดนี่ ก็ไม่ต้องตามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงเสียงจริงที่แต่งชุดดำประท้วงอยู่ตอนนี้ แต่ให้เชิญคนเหล่านี้มาให้การรักษากันเองก็แล้วกัน ชัดยิ่งกว่าชัด แต่ทำไมเวลาออกทีวี ถึงแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ อยู่ได้ ทั้ง นักกฎหมายใส่สูท สวมแว่น อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ นักกฎหมายมหาชนผู้ได้ตำแหน่งวิชาการสารพัด ทั้งสารพัดองค์กร ทั้งแพทย์นักบริหารทั้งหลาย เวลาป่วยก็ไม่ต้องไปร้องขอแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงเสียงจริง ปฏิบัติงานจริงในปัจจุบันมาให้การรักษา จริงหรือไม่ คิดเอาเอง
อ่านจบแล้วหน้าไม่ชา ต้องไปทำ MRI ว่าเป็น Trigeminal neuroma หรือไม่ แล้วอย่าลืมปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ว่าแต่ว่าจะเอาแบบไหน ตัวจริงเสียงจริงแต่แต่งชุดดำ หรือ เอาแบบนักเก้าอี้ใส่สูทผูกไทเดินสายประชุม หรือ เอาแบบนั่งคิดนอนคิด ออกทีวีทันทีที่มีโอกาส หรือเอาแบบค้านดะปะฉะแหลก
ส่งโดย: doctorlawyer
ปล....แร๊งงงงงงง แต่ผมเห็นด้วยกับหมอเขานะ 
Create Date : 06 สิงหาคม 2553 |
Last Update : 6 สิงหาคม 2553 17:04:44 น. |
|
1 comments
|
Counter : 2043 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:22:57 น. |
|
|
|
| |
|
 |
หมอหมู |
|
 |
|
Location :
กำแพงเพชร Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

|
ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )
หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป ) นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ
ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ
นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )
ปล.
ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com
ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..
|
|
|
ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc
เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e
รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot