Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ข่าวปชส.กิจกรรมความเคลื่อนไหว สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย




สนใจข่าวสารความเคลื่อนไหว เกาะติดสถาณการณ์ โดยเฉพาะความเห็นเกี่ยวกับ พรบ. คุ้มครอง ฯ ก็แวะไปดูที่เวบได้เลยครับ

ข่าว: จุดศูนย์รวม แพทย์ รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป ... ที่นี่ ... สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป แห่งประเทศไทย

//www.thaihospital.org/board/index.php?board=10.0





ข่าวปชส.กิจกรรมความเคลื่อนไหว สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย
+++++++++++++++++++++++++


วันที่ 22 กค

พบนายกรัฐมนตรี ยื่นข้อเรียกร้อง

วันที่ 29 กค

เวลา 12.00น. แต่งดำ ยืนหน้าเสาธงหน้าโรงพยาบาลของแต่ละแห่ง

วันที่ 30 กค.

เวลา 7.00น. แต่งดำ ที่หน้าพระบรมรูปสมเด็จพระบรมราช ชนกและพระบรมราชชนนี ที่กระทรวงสาธารณสุข

เวลา 8.30 -16.30 สัมมนาเรื่องพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ทำร้ายบุคลากร
ที่ ห้องประชุม ไพจิตร ปวบุตร ตึกกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข







เลขที่สพท.13/07/53 สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย
โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เรื่อง ขอเชิญร่วมสัมมนาเรื่อง " ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการ สาธารณสุข พ.ศ. เพื่อความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน "

เรียน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล /ประธานองค์กรแพทย์ /บุคลากรสาธารณสุขผู้สนใจทุกท่าน

สิ่งที่แนบมาด้วย กำหนดการประชุมสัมมนา จำนวน 1 แผ่น

เนื่องจาก ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. กำลังจะเข้าสภาผู้แทนราษฎร ในวาระที่ 1 วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 นี้
โดย เจตนารมณ์เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและ ผู้รับบริการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่เนื้อหาสาระไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ อาจส่งผลกระทบกับระบบบริการ สาธารณสุขและประชาชนส่วนใหญ่ได้

ทางสมาพันธ์ ฯ เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้เข้าพบและชี้แจงเหตุผลกับ ร.ม.ต. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553
และ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ท่านได้บอกว่าถ้าประชาคม สาธารณสุขส่วนใหญ่ 80% ต้องการให้ถอน
ท่านจะยอมถอนร่าง พ.ร.บ.ฯ นี้ออกจากสภา ฯ

ดังนั้น เพื่อแสดงเจตจำนงค์ของประชาคมสาธารณสุข ให้ ร.ม.ต. ฯ ได้รับทราบและมั่นใจในการถอนร่าง ดังกล่าว

ทางสมาพันธ์ ฯ จึงได้จัดสัมมนาเพื่อให้ประชาคมสาธารณสุขได้ระดม ความคิดเห็นและแสดงเจตนารมณ์ เพื่อให้มีการถอนร่าง พ.ร.บ. ฯ ดังกล่าวออกมาเพื่อทำประชาพิจารณ์ ให้เกิดความเป็นธรรมและยอมรับใน ทุกภาคส่วน
ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 08.00 น. – 16.30 น.
ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 ตึกกรมสนับสนุนบริการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

สมาพันธ์ ฯ จึงขอเรียนเชิญท่านหรือตัวแทน อย่างน้อยจำนวน 5 ท่าน เข้าร่วมสัมมนาเพื่อแสดงพลัง และเจตจำนงค์ ในวันดังกล่าว

ขอแสดงความนับถือ

( พญ. พจนา กองเงิน )
ประธานสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : ส่งรายชื่อการเข้าร่วมประชุมภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 มาที่ คุณมณีรัตน์ โทรสาร. 044-611-282

E-mail : maneerat76@hotmail.com







สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. แห่งประเทศไทย และเครือข่ายสหวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข

ขอเชิญบุคลากรสาธารณสุขทุกท่าน

นัดแสดงพลังคัดค้านครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อล้มร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ ที่ไม่เป็นธรรม

วันที่ 29 ก.ค. 2553 : 12.00 น.

1) นัดหน้าโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วทั้งประเทศ แต่งชุดดำไว้ทุกข์กับร่าง พ.ร.บ. อัปยศ

2) ถือป้ายประท้วงหน้าโรงพยาบาล จงถอนร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ทุกร่างออกจากสภาผู้แทน เพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชนส่วนใหญ่

3) ถ่ายรูปเผยแพร่ทั่วท้องถิ่นและในส่วนกลาง



วันที่ 30 ก.ค. 2553 รวมพลังครั้งยิ่งใหญ่ ระดมพลทั่วทั้งประเทศ ( กทม.+ ต่างจังหวัด ) รพ. ละ 1 คันรถตู้/รถบัส
1) เพื่อล้มร่าง พ.ร.บ. ฯ ที่ไม่เป็นธรรม
2) จัดการกับ สปสช. เจ้าปัญหา ( เสนอแก้ไข พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพ ฯ )
3) ตามหาค่า K

7.00 น. พบกันที่ลานพระรูปสมเด็จพระบิดาและ สมเด็จย่า ชุดดำและแผ่นป้ายชื่อ รพ. และป้ายคัดค้านร่าง ฯ

7.30 น. ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม คืนมา เดินถือป้ายมาที่หน้าตึก สป.

8.00 น. ประกาศมาตรการขั้นเด็ดขาด ถ้ายังคงมี พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ

9.00 น.–16.30 น. สัมมนา หาแนวทางและมาตรการร่วมกัน เพื่อล้ม ร่าง พ.ร.บ.ฯ และแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ฯ


วันที่ 3 ส.ค. 2553 นัดพบกันหน้ารัฐสภา

อย่าปล่อยให้ ร่าง พ.ร.บ.อัปยศ ลอยนวล เพื่อ ความเป็นธรรม รวมพลังกันหน้า กท.สธ.

พญ. สุธัญญา บรรจงภาค
ประชาสัมพันธ์ สมาพันธ์แพทย์ ฯ







กำหนดการสัมมนา

“ ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. …. เพื่อความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน ”


จัดโดย สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย และเครือข่ายสหวิชาชีพด้านสาธารณ สุข

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 08.00 น. – 16.30 น.

ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

เวลา 08.00 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน ชมวีดิทัศน์ “ สมาพันธ์ ฯ และเครือข่าย ”

เวลา 09.00 น. – 09.20 น. พิธีเปิดการสัมมนา

กล่าว รายงาน โดย พญ. พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์ ฯ
กล่าวเปิดงาน โดย ฯ พณ ฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ร.ม.ต. กระทรวงสาธารณสุข

เวลา 09.20 น. – 09.40 น. เจตนารมณ์และสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ

โดย นพ. สุรินทร์ ทองมา เนติบัณฑิตไทย ที่ปรึกษากฎหมายสมาพันธ์ ฯ

เวลา 09.40 น. – 10.00 น. ผลกระทบของร่าง พ.ร.บ. ฯ ต่อระบบบริการสาธารณสุขและผู้ให้บริการ

โดย นาวา อากาศเอก (พิเศษ) นพ. อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา

เวลา 10.00 น. – 12.00 น.อภิปรายหมู่ “สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฯ ประชาชนได้หรือเสีย ปรองดองหรือแตกแยก”

มุมมองของนักกฎหมาย : นพ. วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี
มุมมองของแพทย์ผู้ ปฏิบัติงาน : พญ. เชิดชู อริยศรีวัฒนา
มุมมองของเภสัชกร : ภญ. พัชรี ศิริศักดิ์
มุม มองของพยาบาล : ตัวแทนพยาบาล
ผู้ดำเนิน การอภิปราย นพ. ประดิษฐ์ ไชยบุตร รองประธานสมาพันธ์ ฯ

เวลา 12.00 น. – 12.30 น. ตำนานกระทรวงสาธารณสุข จากสุข สู่ ทุกข์เข็ญ
โดย นพ. อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์

เวลา 12.30 น. – 15.00 น. อภิปรายหมู่ – อภิปรายทั่วไป “ เดินหน้าอย่างไรกับร่าง พ.ร.บ. ฯ ”

1. ประเด็นที่ต้องแก้ไขเพื่อประโยชน์ของประชาชน และระบบบริการสาธารณสุข
โดย นพ. ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์ ฯ

2. ถอน/ ไม่ถอน
โดย พญ. ประชุมพร บูรณ์เจริญ รองประธานสมาพันธ์ ฯ

3. รวมพลังเพื่อ ร่าง พ.ร.บ. ฯ ที่เป็นธรรม 3 ส.ค. 2553 หน้ารัฐสภา
โดย พญ. สุธัญญา บรรจงภาค ประชาสัมพันธ์สมาพันธ์ ฯ

เวลา 15.00 น. – 16.30 น. อภิปรายทั่วไป - ปิดการประชุม







ฝากข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พรบ. สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่าน ร่าง พรบ. โหลดมาอ่านดูก่อนนะครับ ถ้าไม่มีเวลาก็อ่านเฉพาะ ร่างที่ ๑ ที่คณะรัฐมนตรี เสนอ มีเวลาอีกหน่อยก็ร่าง ๗ ที่คุณ สารี เสนอ .. ทั้ง ๗ ร่างเนื้อหามีบางส่วนที่แตกต่างกัน เวลาจะคุยกันก็อ้างอิงด้วยนะครับว่า เป็น มาตราไหน จาก ร่างไหน


1. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
(คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ)
//www.tmc.or.th/download/d051253-05.pdf

2. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
(นายเจริญ จรรย์โกมล กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
//www.tmc.or.th/download/d051253-08.pdf

3. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
(นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
//www.tmc.or.th/download/d051253-09.pdf

4. ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมความสัมพันธ์ในระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
(นายบรรพต ต้นธีรวงศ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
//www.tmc.or.th/download/d051253-10.pdf

5. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
(นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
//www.tmc.or.th/download/d051253-11.pdf

6. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
(นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ
//www.tmc.or.th/download/d051253-12.pdf

7. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
(นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 10,631 คน เป็นผู้เสนอ)
//www.tmc.or.th/download/d051253-13.pdf


ปล.เรื่องนี้ เกี่ยวกับกฏหมาย คงต้องใช้เวลาอ่าน ศึกษา และ ทำความเข้าใจ พอสมควร




อนึ่ง ดิฉันขอสรุปความเห็นของสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและกลุ่มอื่นๆดังนี้

1. พ.ร.บ.นี้เขียนเจตนารมณ์ให้ดูดี แต่มาตราต่างๆขัดแย้งกับเจตนารมณ์ และยังมีเจตนารมณ์อื่นแอบแฝงอยู่

เช่นการล็อกสเป็คผู้ที่จะมาเป็นกรรมการในบทเฉพาะกาล เพื่อที่จะมีส่วนกำหนดกฎเกณฑ์การตั้งกรรมการและการบริหารกองทุนหลายหมื่นล้านบาท น่าจะเป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ


2. พ.ร.บ.นี้ น่าจะเรียกว่าพ.ร.บ.ปล้นทรัพย์ประชาชน (เก็บส่วยจากทุกโรงพยาบาล) เพราะเรียกเก็บเงินจากโรงพยาบาลเอกชนและรัฐบาลเป็นรายหัว

เอกชนก็ต้องบวกเอาจากค่าบริการจากประชาชน(เหมือนเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ส่วนโรงพยาบาลรัฐบาลก็ต้องมาเจียดเอาจากเงินที่จะซื้อยา ซื้อเตียงให้คนไข้นอน ในขณะที่โรงพยาบาลของรัฐบาลนั้นขาดแคลนทั้งคน เงิน สิ่งของ เวชภัณฑ์ก็จะยิ่งขาดแคลนหนักขึ้น เพราะเงินส่วนหนึ่งต้องถูกส่งเข้ากองทุน

เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดีคำนวณแล้วว่าจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนอย่างน้อยปีละ 10 ล้านบาทขึ้นไป) ถ้าผู้บริหารรพ.ไม่ส่งเงินก็จะมีโทษทั้งปรับและจำคุก


3. บุคลากรภาครัฐที่ทำงานหนักบริการประชาชน จะขาดความมั่นใจในการรักษา

เพราะไม่มั่นใจว่าคณะกรรมการจะตัดสินอย่างไร คงต้องส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า เช่นส่งไปกทม. ประชาชนอาจเสียโอกาสในการรอดชีวิต


4. บุคลากรสาธารณสุขเห็นว่า ควรขยายม.41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ให้ครอบคลุมประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกคน


5. เห็นว่าควรแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯให้รัฐบาลจ่ายตรงมายังโรงพยาบาลเลย โดยไม่ต้องผ่านสปสช.

จะทำให้รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินจำนวนมหาศาลให้สปสช. แต่โรงพยาบาลได้รับงบประมาณในการทำงานรักษาประชาชนไม่ถึงครึ่งของงบประมาณที่สปสช.ให้โรงพยาบาล เพราะเดี๋ยวนี้ สปสช.ของบประมาณค่าหัวมาคนละ2,400 บาท แต่โรงพยาบาลได้รับเงินค่ารักษาประชาชนเพียงรายละ 600 บาท


6. มีผู้ยื่นฟ้องปปช.แล้ว ว่าสปสช.และกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินการโดยผิดพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ขอให้ปปช.ตรวจสอบ ขอให้ท่านนายกฯกรุณาติดตามเร่งการสอบสวนเรื่องนี้ด้วย


7. องค์กรที่เริ่มต้นจากสปสช. สวรส. สสส. สช. และที่อยู่เบื้องหลังการเขียนพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ นี้ ล้วนมีกำเนิดมาจากคนกลุ่มเดียวกัน คือเขียนกฎหมาย เพื่อให้พวกตนสามารถนำเงินงบประมาณแผ่นดิน ที่มาจากภาษีประชาชน มาใช้จ่ายได้ตามอำเภอใจ
เช่น ตั้งเงินเดือนของตนในราคาสูง ค่าเบี้ยประชุมสูงกว่าราชการมาก และยังกระทำการที่บ่งบอกว่าผิดกฎหมายและระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินหลายอย่าง ต่างกรรม ต่างวาระ นายกรัฐมนตรีสมควรตรวจสอบและแก้ไข ก่อนที่ประเทศชาติและประชาชนจะเสียหายมากไปกว่านี้


สรุปโดย พญ.สุธัญญา บรรจงภาค

ปชส.สมาพันธ์แพทย์ฯ 30 กค. 53








Create Date : 22 กรกฎาคม 2553
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 12:17:14 น. 0 comments
Counter : 2751 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]