Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

"การแก้ปัญหาปลายเหตุ" ... ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา



"การแก้ปัญหาปลายเหตุ"

ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา

ปัญหาต่างๆทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมักจะมีการพิจารณาแต่ปลายเหตุ ดูว่าทำไมแพทย์จึงช่วยผู้ป่วยไม่ได้แต่ไม่เคยพิจารณาว่าทำไมผู้ป่วยจึงเป็นโรค เรามักจะแก้ตัวว่าผู้ป่วยไม่มีความรู้แต่เรากลับไม่คิดว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ป่วยมีความรู้และตระหนักถึงปัญหาจะไม่ได้ไม่เกิดปัญหา เราลองดูตัวอย่างปัญหาสักสี่ราย

รายแรก เด็กชายอายุหนึ่งปีกินน้ำมันมวยเข้าไปหนึ่งช้อนโต๊ะ (ขนาดที่รับประทานสูงกว่าขนาดที่ทำให้ตายสามเท่า) แพทย์ช่วยชีวิตไว้ไม่ได้ การรักษาไม่ถูกต้องถูกทำโทษแต่ไม่มีใครพิจารณาเรื่องการป้องกันว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดเรื่องเช่นนี้อีก ทุกคนเน้นเรื่องสอนแพทย์ให้ทราบวิธีการรักษาที่ถูกต้อง แต่ไม่ดูว่าทำไมเด็กอายุหนึ่งปีจึงรับประทานน้ำมันมวยเข้าไปหนึ่งช้อนโต๊ะ ใครเป็นคนป้อน หรือเก็บน้ำมันมวยอย่างไรทำให้เด็กเอาไปกินได้ จะมีวิธีการอย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก ในสหรัฐฯแพทย์ต้องแจ้งให้ฝ่ายกฎหมายทราบเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ปกครอง เป็นผลให้ผู้ปกครองจะระมัดระวังมากขึ้น

รายที่สอง บิดามีปอดเป็นจุด และเคยไอเป็นเลือด แพทย์เรียกให้มารับการรักษาแต่ผู้ป่วยไม่มา สามปีต่อมาบุตรของผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคขึ้นสมอง เมื่อได้รับการรักษาแล้วเด็กก็ยังปัญญาอ่อน มีการลงโทษแพทย์ที่ไม่สามารถรักษาให้เด็กเป็นปกติ แต่ไม่มีใครสนใจว่าการที่พ่อไม่รับผิดชอบ ทำให้ลูกป่วย อาจมีคนใกล้ชิดอีกหลายคนติดเชื้อวัณโรคจากผู้ป่วยรายนี้ คนไทยเห็นว่าเป็นเรื่องปกติเพราะผู้ป่วยไม่มีความรู้เราไม่คิดแก้ไขให้ประชาชนมีความรู้และรับผิดชอบ ถ้าผู้ป่วยไปรับการรักษา แพทย์จะต้องเรียกทุกคนในบ้านหรือสำนักงานมาตรวจเพื่อรับการรักษา ถ้ามีเด็กอายุต่ำกว่าห้าปีสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยถึงแม้ว่ายังไม่เป็นโรคเราก็ยังต้องให้ยาป้องกันเพราะเด็กถ้าเป็นโรคจะมีอาการรุนแรงถึงตายได้

ในรายนี้เราบอกไม่ได้ว่าเด็กรับเชื้อจากบิดาเมื่อใดเพราะอยู่ด้วยกันถึงสามปีหลังจากบิดาไอเรื้อรังโดยไม่ได้รักษา แต่ถ้าบิดายอมไปรักษาบุตรคงไม่เป็นโรค ในต่างประเทศใครที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคติดต่อแล้วไปติดให้ผู้อื่นโดยไม่ป้องกัน ถือว่ามีความผิด คนที่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ เอช ไอ วี ไม่จำเป็นต้องบอกผู้อื่นแต่ถ้าไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยไม่ป้องกัน ถือว่ามีความผิดต้องจ่ายชดเชยให้ผู้ที่รับเชื้อ

รายที่สาม ผู้ป่วยดื่มสุราไปขับรถจักรยานยนต์โดยไม่ใส่หมวกนิรภัย เกิดอุบัติเหตุมีเลือดออกในสมอง ประเทศไทยรักษาให้ฟรีไม่คิดค่ารักษา แต่ถ้าแพทย์ช่วยเหลือไม่ถูกต้องผู้ป่วยถึงแก่กรรม แพทย์ถูกลงโทษต้องจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ป่วย แต่เราไม่มีการลงโทษผู้ป่วย ในต่างประเทศเขาจะต้องให้ผู้ป่วยต้องจ่ายค่ารักษาด้วยในฐานะที่ทำผิดกฎหมาย คนข้ามถนนในที่ห้ามข้ามถูกรถชน ประเทศไทยลงโทษคนขับรถฐานประมาทแต่ไม่ดูสาเหตุว่าถ้าไม่ข้ามในทางที่ห้ามข้าม อุบัติเหตุคงไม่เกิด คนไทยขาดวินัยเพราะยกประโยชน์ให้คนที่ด้อยกว่าทำผิดกฎหมายได้

รายที่สี่ มารดาตั้งครรภ์ รับประทานอาหารโดยไม่ควบคุมน้ำหนัก ทำให้เด็กในครรภ์ตัวใหญ่เกินกว่าที่จะคลอดทางช่องคลอดได้ บางทีแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนจะผ่าเอาเด็กออกก็ไม่ยอมเพราะกลัวเสียเงินมาก ในโรงพยาบาลชุมชนแพทย์ไม่กล้าผ่าเพราะไม่มีวิสัญญีแพทย์ ถ้ามีปัญหาแพทย์ถูกลงโทษ บางครั้งผ่าไม่ทันเพราะผู้ป่วยมาโรงพยาบาลช้า ปากมดลูกเปิดหัวเด็กออกมาแล้วแต่ติดไหล่ ถ้าแพทย์ไม่รีบช่วยเอาเด็กออก เด็กอาจจะตายหรือกลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน เมื่อแพทย์พยายามดึงออกมาโดยเร็วเพื่อช่วยเด็กก็อาจไปเป็นอันตรายต่อเส้นประสาทใต้รักแร้ทำให้แขนไม่มีแรง หรือกระดูกไหปลาร้าหัก แพทย์ต้องจ่ายชดเชยให้ผู้ป่วยทุกราย ไม่มีใครเอาเรื่องแม่ที่ไม่ยอมคุมน้ำหนักทำให้เกิดปัญหาทั้งที่ปัญหาเริ่มต้นอยู่ที่มารดาไม่คุมน้ำหนักตามที่แพทย์แนะนำ

อาจถึงเวลาที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตน ไม่ใช่โยนปัญหาที่ตนทำไปให้แพทย์อ้างแต่ว่าไม่ทราบ ทำอย่างไรให้ประชาชนสนใจดูแลสุขภาพของตนเองมีความรับผิดชอบต่อการกระทำที่มีผลต่อสุขภาพของตนและผู้อื่น ประเทศไทยไม่มีการลงโทษให้รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองเหมือนในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัญหาในประเทศไทยคงแก้ไม่ได้

เครดิต Ittaporn Kanacharoen

https://www.facebook.com/ittaporn/posts/1092901864103952


...............................................

ความเห็นของผม  .. 

อาจารย์ บอกว่า " อาจถึงเวลาที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตน " ...
แต่ผมคิดว่า " ถึงเวลาที่ แพทย์ (บุคลากรทางการแพทย์) ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด และ การทำงานของตนเอง "

..........................

ยกความเห็นเก่า มาเล่าอีกรอบ (น่าจะได้ยกมาอีกหลายรอบ ? ) ...
ประเด็นเรื่องฟ้องร้อง ร้องเรียน บอกเลยว่า จะมีแบบนี้ไปเรื่อย ๆ แล้ว เราจะเปลี่ยนด้วยตัวเราเอง หรือ เปลี่ยนเพราะถูกบังคับ
ในเมื่อ เราเปลี่ยนคนอื่น ( ผู้ป่วย ญาติ ศาล ฯลฯ) ไม่ได้ เราก็ต้องกลับมาเปลี่ยนที่ตัวเราเอง
การเปลี่ยนระบบ ถึงแม้จะใช้เวลานาน ก็ต้องทำ
แต่ ตอนนี้ ผมขอเปลี่ยนตัวเอง ปรับความคิด การทำงานของผมเองก่อน

คนที่พูดว่า ทำดี ไม่ต้องกลัว ..มันตกยุดสมัยไปหลายสิบปีแล้ว เกือบทั้งหมด ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นหมอรักษาผู้ป่วยอีกแล้ว เขาถึงพูดได้ แล้วเขาก็พูดถึงตอนสมัยเขาหนุ่ม ๆ ไม่ใช่ตอนนี้
มุมมองคนนอก เปลี่ยนไปนานแล้ว มีแต่ พวกเราเอง ที่ยังคิดเหมือนเดิม
ไม่ใช่ว่า ไม่ดี แต่ การยึดมั่นในความดีงาม ความถูกต้อง มากเกินไป บางที ก็อาจกลับกลายมาทำร้ายตัวเราเอง
บ่นไป เพราะ เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ .. ถึงไม่โดนกับตัวเอง แค่เป็นผู้เข้าไปร่วมช่วยเหลือ แต่ก็ทำใจ ไม่ได้เหมือนกัน
ผมบอกน้อง ๆ เสมอว่า ถ้าอยากเป็นหมอรักษาผู้ป่วย ก็ต้องรู้กฏหมาย และ ปรับเปลียนให้เหมาะกับ กาละ เทศะ อย่ายึดติดกับวิชาการมากนัก อะไรที่ไม่มีผลเสียกับผู้ป่วย แล้วเขา(ผู้ป่วย ญาติ) ร้องขอ ยืนยัน ก็ทำให้เขาไป

ผมเขียนบทความนี้ ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๔ .. น่าจะพอปรับใช้ได้บ้าง กับสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ และ ในอนาคต
เวลาเปลี่ยน คนไข้ (ญาติ) เปลี่ยน แต่ หมอ (บางคน) ไม่ยอมเปลี่ยน ...
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-06-2011&group=15&gblog=39

บ่นเสร็จ ไปละ






Create Date : 20 เมษายน 2559
Last Update : 20 เมษายน 2559 16:21:04 น. 1 comments
Counter : 1797 Pageviews.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:17:02:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]