Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ถ้าไม่มีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขแล้ว ประชาชนจะยังได้รับความคุ้มครองอยู่หรือไม่ ?



ต่อเรื่องกฏหมาย ฯ นะครับ ...

ได้รับเมล์จาก อ.เชิดชู น่าสนใจ เป็นความเห็นของนักกฏหมาย ลองอ่านดูนะครับ ยาวหน่อย .. (ไม่เคยเห็น นักกฏหมายเขียนสั้น ๆ เลยครับ อ้างโน่นนี้ยาวมาก )

ความเห็นทางกฎหมายที่น่าสนใจ เป็นความเห็นที่มีต่อคำถามที่ว่า ถ้าไม่มีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขแล้ว ประชาชนจะยังได้รับความคุ้มครองอยู่หรือไม่ ?

ผู้ให้ความเห็นคือ " คุณสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธ์ " ที่ปรึกษากฎหมายของคณะอนุกรรมการ เงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ แพทยสภา



ข้อพิจารณาใน พรบ.คุ้มครองฯ

๑. การพิจารณาค่าเสียหาย ใช้หลักความรับผิดทางละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามเดิมทุกประการ ยกเว้นเป็นการขยายอายุความจาก 1 ปี เป็น 3 ปี

๒. คณะกรรมการฯ จะต้องพิจารณาในเนื้อหาของการกระทำ เพื่อประกอบการจ่ายเงินชดเชย แต่องค์ประกอบของคณะกรรมการ มิได้บังคับว่าคณะกรรมการทั้งหมดจะ ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านการสาธารณสุข และ ตัดสินโดยการลงมติ จะมีปัญหาในเรื่องการยอมรับ เพราะไม่จำต้องยึกถือตามหลักวิชา*******

๓. ไม่มีบทบัญญัติใดที่ห้ามมิให้กองทุนเรียกร้องหรือไล่เบี้ยจาก บุคลากรทางสาธารณสุข และหน่วยงานที่สังกัด เมือกองทุนได้จ่าย ค่าสินไหมให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่อย่างใด

๔. บุคลากรต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ใน ฐานะเป็นคำสั่งทางปกครอง หากไม่เห็นด้วยต้องใช้สิทธิฟ้องคดี ต่อศาลปกครอง ในขณะเดียวกัน ถ้าผู้เสียหายไม่เห็นด้วย ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเช่นกัน ปริมาณการฟ้องร้องจะไม่ลดลง

๕. บุคลากรทางการแพทย์ยังต้องรับผิดทางอาญาเช่นเดิม ตามขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

๖. อำนาจการแต่งตั้งผู้ปฎิบัติงานมีครอบคลุมมากเกินไป โดยไม่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของผู้ปฎิบัติงานนั้ๆอย่างชัดเจน

๗. โครงสร้างทางกฎหมายของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการในส่วน เกี่ยวกับการออกคำสั่ง การอุทธรณ์คำสั่ง เงินค่าชดเชย มีปัญหาทางเทคนิค

๘. กฎหมายฉบับนี้ ออกมาโดยเกินความจำเป็น สร้างความสับสนและบันทอนกำลังใจบุคคลากรด้าน สาธารณสุขและซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่มีอยู่แล้ว เป็นการสร้างภาระให้กับสถานพยาบาล.

๙. อาจมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและหลักกฎหมายว่าด้วยการเงิน การคลัง และวิธีการงบประมาณ ในกรณีให้กองทุนมีอำนาจเรียกเก็บเงินจาก หน่วยงานของรัฐ และเอกชน มาเข้ากองทุนและบริหารจัดการเองโดยเอกเทศ



สาระสำคัญ ของกฎหมาย เป็นการให้เจ้าหน้าที่สั่งให้จ่ายเงินช่วยเหลือ เบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ตามมาตรา ๔๑ ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ และให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดของผู้ให้บริการเข้าด้วยกัน

ขณะที่องค์ประกอบ ของคณะกรรมการผู้มีอำนาจพิจารณา มิได้มาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสาธารณสุขทั้งหมด ทำให้ไม่ได้การยอมรับจากบุคลากรสาธารณสุข และเป็นช่องทางให้เกิดการต่อสู้ทางคดีได้ง่าย ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความคุ้มครอง (ออกคำสั่งมา ก็มีการไปฟ้องเพิกถอนคำสั่งว่าไม่ชอบ เพราะผู้ออกคำสั่งไม่มีความรู้ความสามารถที่จะพิจารณาเรื่องการสาธารณสุข อันเป็นกรณีเฉพาะทางวิชาชีพ ได้โดยง่าย)

พรบ.ฉบับนี้ จะสร้างปัญหาความสับสนในการบังคับใช้กฎหมาย อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน





*** การอธิบายเรื่องนี้ จำเป้นต้องมีความรู้พื้นฐานในกฎหมายอย่าง น้อย 4 เรื่องคือ รัฐธรรมนูญ /ละเมือดทางแพ่ง/ละเมิดตามพรบ.ความรับผิดทางละเมือดของเจ้าหน้าที่/เงิน ช่วยเหลือเบื้งต้น ตามพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.*****








ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์

มาตรา ๔๒๐ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

มาตรา ๔๒๕ นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น

มาตรา ๔๒๖ นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิด อัน ลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น

มาตรา ๔๔๘ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหาย รู้ถึงการ ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วัน


พระราชบัญญัติหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕

มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้ หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษา พยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้ แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้ง นี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก การรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ตามมาตรา ๔๑ เมื่อสำนักงานได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ไปแล้ว สำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้กระทำผิดได้


พระราชบัญญัติความ รับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. ๒๕๓๙

มาตรา ๕ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้า ที่ ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้

ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่า กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๖ ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้

มาตรา ๗ ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้อง หน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดหรือ ต้องร่วม รับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็น เรื่องที่ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่พิจาร ณาคดีนั้น อยู่เรียกเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐแล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี

ถ้า ศาล พิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูก ฟ้องมิใช่ผู้ ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามา ในคดีออกไป ถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด

มาตรา ๘ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย เพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้า หน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทด แทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้าย แรง

สิทธิเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใดให้คำนึงถึง ระดับความร้าย แรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้อง ให้ใช้เต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้

ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบ การดำเนินงาน ส่วนรวม ให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย

ในกรณีที่ การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมา ใช้บังคับและเจ้าหน้าที่แต่ละคนต้องรับผิด ใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น

มาตรา ๙ ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือ เจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนด อายุความ หนึ่งปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ ค่าสินไหมทดแทนนั้น แก่ผู้เสียหาย

มาตรา ๑๐ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ ว่าจะ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากเจ้า หน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่ง ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่ง ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการ ละเมิดและรู้ ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีกำหนดอายุความหนึ่งปีนับ แต่วันที่ หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง

มาตรา ๑๑ ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็น ว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา ๕ ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสิน ไหมทดแทนสำหรับ ความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้

ในการนี้หน่วยงานของ รัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและ พิจารณาคำขอ นั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้วหากผู้เสียหายยังไม่พอใจ ในผลการ วินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้อง ทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายในเก้าสิบวันนับ แต่วันที่ตน ได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย

ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาคำขอที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายใน หนึ่งร้อยแปด สิบวัน หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหา และอุปสรรคให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือกำกับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น ทราบและขอ อนุมัติขยายระยะเวลาออกไปได้ แต่รัฐมนตรีดังกล่าวจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีกได้ ไม่เกินหนึ่ง ร้อยแปดสิบวัน

มาตรา ๑๒ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา ๘ หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้า หน้าที่ผู้นั้น ได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๐ ประกอบกับมาตรา ๘ ให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ ผู้นั้น ชำระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด

มาตรา ๑๓ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับ ผิดตาม มาตรา ๘ และมาตรา ๑๐ สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึง รายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย



หมาย เหตุ :

- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การที่เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไป ตามหลัก กฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสม ก่อให้เกิด ความเข้าใจผิดว่า เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทำต่าง ๆ เป็นการเฉพาะตัวเสมอไป เมื่อการที่ทำไปทำให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก เพียงใดก็จะมี การฟ้องไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่เต็มจำนวนนั้น ทั้งที่บางกรณีเกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียง เล็กน้อยในการ ปฏิบัติหน้าที่

นอกจากนั้น ยังมีการนำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมในระบบกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับ ให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้อื่นด้วย ซึ่งระบบนั้นมุ่งหมายแต่จะได้เงินครบโดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรม ที่จะมีต่อ แต่ละคน กรณีเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และยังเป็น การบั่นทอน กำลังขวัญในการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้วย จนบางครั้งกลายเป็นปัญหาในการบริหารเพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้า ตัดสินใจดำเนิน งานเท่าที่ควร เพราะเกรงความรับผิดชอบที่จะเกิดแก่ตน

อนึ่ง การให้คุณให้โทษแก่เจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทำงานของเจ้าหน้าที่ ยังมีวิธี การในการบริหารงานบุคคลและการดำเนินการทางวินัยกำกับดูแลอีก ส่วนหนึ่ง อันเป็นหลักประกันมิให้เจ้าหน้าที่ทำการใด ๆ โดยไม่รอบคอบอยู่แล้ว

ดังนั้น จึงสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงาน ในหน้าที่ เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และให้แบ่งแยกความรับผิดของแต่ละคนมิให้นำหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้ บังคับ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของรัฐ จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้




ปล. ก็นำมาฝาก เชิญแลกเปลี่ยนกันได้เลยครับ หรือจะแวะไปแจมในกระทู้ห้องสวนลุม พันทิบ ก็ได้ มีความเห็นทางกฏหมายที่น่าสนใจ จากนักกฏหมาย ทำให้ได้มุมมองเพิ่มเติมอีกเยอะเลย

L9460294 ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ... หมอหมู (171 - 20 ก.ค. 53 21:55)

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9460294/L9460294.html





Create Date : 22 กรกฎาคม 2553
Last Update : 22 กรกฎาคม 2553 11:25:26 น. 1 comments
Counter : 2365 Pageviews.  

 
สวัสดีค่ะ..



รู้ไหมค่ะว่า.."เห็บเกาะขา" ก็ทำให้คนเรามีสุขภาพดียิ่งขึ้น?

ดูคำตอบได้ที่บล็อคของอ้อมแอ้มนะค่ะ..ฮิๆ


โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 24 กรกฎาคม 2553 เวลา:6:49:26 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]