Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ปัญหาการประกันความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขโดยผิดพลาด .. โดย แก้วสรร อติโพธิ


ปัญหาการประกันความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขโดยผิดพลาด


ผู้เขียน :แก้วสรร อติโพธิ



การพัฒนาระบบประกันสุขภาพให้มีบริการสาธารณสุขที่ได้ทั้งคุณภาพและความทั่วถึง

แถมด้วยความคุ้มครองที่มั่นคงจากความผิดพลาดในการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นได้นั้น





ถือเป็นภารกิจที่ไม่มีรัฐใดปฏิเสธได้ แต่จะทำได้เพียงไหนด้วยแนวทางใดก็ยังมีทั้งข้อจำกัด

และทางเลือกที่แตกต่างกันออกไปได้



ความรู้จักประมาณตนและรู้จักเลือกจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาระบบนี้ขึ้นมาในแต่ละประเทศ

กฎหมายประกันสุขภาพและระบบ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาโดยหมอและเอ็นจีโอสาธารณสุขหัวก้าวหน้า

ผลักดันจนสำเร็จเป็นงานชิ้นโบว์แดงของระบอบทักษิณ


ซึ่ง จนปัจจุบันก็ยังมีปัญหาแฝงฝังให้ต้องฟันฝ่าอีกมาก มาบัดนี้ซุ้มคุณหมอและเอ็นจีโอดังกล่าว ก็ได้ดิ้นรนผลักดันร่างกฎหมายประกันความเสียหายตามมาอีก

และก็มีคุณหมอลุกขึ้นแต่งดำคัดค้านกันเป็นการใหญ่ ตามที่เป็นข่าว



ซึ่ง ดำริในครั้งนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ และกระทบถึงประชาชนโดยตรง จึงควรที่เราท่านจะได้รู้เท่าทันความเห็น และผลประโยชน์ที่ซุกซ่อนอยู่



ดังผมจะขอนำเสนอในท่วงทำนอง ปุจฉา-วิสัชนา ไปโดยลำดับดังนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ความเสียหายจากการรักษาพยาบาล

ถาม อะไรคือความเสียหายจากการรักษาพยาบาลครับ?

ไปรักษาเบาหวานแล้วถูกตัดขาหามกลับมาบ้าน อย่างนี้ใช่ความเสียหายจากการรักษาหรือไม่?


ตอบ กฎหมายเขาจะถามก่อนว่า แม้คุณหมอจะพยายามรักษาดูแลอย่างไรก็ต้องถูกตัดขาอยู่ดีใช่ไหม ? ถ้าตอบว่าใช่เพราะตอนไปหาหมอนั้นแผลที่ขามันลุกลามเรื้อรัง ขาดำจนหยุดไม่ได้แล้ว อย่างนี้ก็ไม่ถือว่าขาหายไปเพราะการรักษาพยาบาล แต่หายไป ถูกตัดไป เพราะแผลลุกลามด้วยโรคเบาหวาน





ถาม แล้วถ้าแผลไปลุกลามตอนนอนที่โรงพยาบาล เนื่องจากเกิดอาการติดเชื้อ เพราะการดูแลรักษาไม่ได้มาตรฐานล่ะครับ


ตอบ ตรงนี้ก็กลายเป็นความเสียหายจากการรักษาพยาบาล คือขาหายไปเพราะการรักษา ไม่ได้มาตรฐาน

คุณหมอหรือโรงพยาบาลต้องรับผิดชอบ



ถาม มีไหมครับที่รักษาอย่างได้มาตรฐานแล้ว ก็ยังเกิดความเสียหายอยู่ดี ?

ตอบ มีแน่นอน อย่างเพื่อนผมไปผ่าต้อกระจกแล้วตาบอด แล้วปรากฏว่าหมอใช้ยาชาและฉีดยาชาได้มาตรฐานทุกอย่าง

แต่ประสาทตากลับแพ้ยาโดยเป็นอาการเฉพาะที่ไม่มีทางตรวจเจอ และเกิดขึ้นได้หนึ่งในหมื่นเท่านั้น


ความเสียหายอย่างนี้ ในทางกฎหมายเขาเรียกว่าความเสียหายจากการรักษาพยาบาลที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คุณหมอไม่ต้องรับผิด





โดยสรุปแล้ว ความเสียหายที่เกี่ยวข้องจึงแยกแยะได้ดังนี้

๑)+๒) ความเสียหายหลังออกจากโรงพยาบาลเช่น “ตัดขา”



๑) ความเสียหายจากอาการของโรคโดยแท้ เช่นแผลลามมาก่อน แล้ว ต้องถูกตัดขาอยู่ดี

๒.ฺ)ความ เสียหายจากอาการของโรคโดยแท้ เช่นแผลลามมาก่อน แล้ว ต้องถูกตัดขาอยู่ดี



๒) ความเสียหายจากการรักษาพยาบาล


๒.๑)เสียหายเพราะรักษาไม่ได้มาตรฐานจนแผลติดเชื้อ

๒.๒) ความเสียหายที่รักษาดีแล้ว แต่ก็ยังหลีกเลี่ยงไม่ได้



ตามแผนผังข้างต้น ความเสียหายมี ๓ ชนิด


คุณหมอต้องรับผิดเฉพาะ ๒.๑) คือ รักษาไม่ได้มาตรฐานเท่านั้น

ถ้าเสียหายเพราะโรคโดยแท้ คือ ๑.) หรือเป็นความเสี่ยงโดยสภาพของการรักษาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ๒.๒)



ทั้งสองกรณีนี้คุณหมอไม่ต้องรับผิด



----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ถาม คดีที่มักจะเกิดขึ้นคือคดีอย่างไหนครับ?

ตอบ คือคดีที่ฟ้องตาม ๒.๑) ว่า หมอรักษาไม่ได้มาตรฐาน แล้วหมอสู้ว่าได้มาตรฐานแล้ว แต่ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะโรคโดยแท้ตาม ๑)

หรือเป็นความเสียหายจากการรักษาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ตาม ๒.๒) ครับ



----------------------------------------------------------------------------------------------------



โครงสร้างกฎหมายในปัจจุบัน


ถาม ในทางกฎหมายนั้น มีการจัดการความเสียหายหลังการรักษาพยาบาลอย่างไรบ้าง?

ตอบ ที่เป็นระบบทั่วไปนั้นรัฐจะไม่เข้ามายุ่ง ปล่อยให้ชาวบ้านเขาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหมอหรือโรงพยาบาลเอาเอง

ข้างหมอหรือโรงพยาบาลเขาก็เฉลี่ยความเสี่ยงกันเองโดยการซื้อประกันความรับผิดทางวิชาชีพ จากบริษัทประกันภัย

ซึ่งปัจจุบันก็ทราบว่าซื้อประกันกันแพร่หลายมากทีเดียว



ถาม แล้วระบบเฉพาะคืออะไรครับ?

ตอบ เป็นระบบเฉพาะในกองทุน ๓๐ บาทของรัฐเท่านั้น

ที่รัฐให้ประกันกับชาวบ้านว่า ถ้าเสียหายเพราะหมอทำแล้วล่ะก็ ให้ยื่นขอชดใช้จากกองทุนได้เลยไม่ต้องไปฟ้องไปหาหลักฐานพิสูจน์

กับ ใครให้เหนื่อยยาก แล้วรัฐจะตรวจสอบให้เองถ้าพบว่าจริงก็จะจ่ายเงินชดเชยให้เลยเพราะถือเป็น หน้าที่ที่รัฐจะต้องประกันคุณภาพบริการของตน



ถาม เมื่อจ่ายเงินแล้วหมอที่รักษาผิดพลาดต้องจ่ายเงินให้ใครอีกไหมครับ?

ตอบ ระบบนี้กองทุนจะไปไล่เบี้ยเรียกจากหมอไม่ได้ เพราะถือเป็นการจ่ายตามหน้าที่ของรัฐเอง

ส่วนคนไข้จะติดใจไปฟ้องเรียกเงินจากหมอต่อไปอีกหรือไม่? ก็เป็นเรื่องของเขา



ระบบอย่างนี้มีแต่การรักษาพยาบาลในโครงการ ๓๐ บาทเท่านั้น ถ้าคุณไปรักษาในกองทุนประกันสังคมหรือใช้สิทธิข้าราชการ

หรือโดยออกเงินเองก็ตาม จะไม่มีระบบประกันคุณภาพแบบนี้

เกิดปัญหาคุณก็ต้องฟ้องหมอเอาเอง ถ้าหมอมีประกัน ประกันเขาก็จะมาช่วยหมอเจรจากับคุณอีกแรงหนึ่ง

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข


ถาม ถ้าร่างกฎหมายที่กำลังมีปัญหาในปัจจุบันนี้ ผ่านรัฐสภาจะเกิดอะไรขึ้นบ้างครับ?

ตอบ จะมีความเปลี่ยนแปลงเป็นนัยยะสำคัญดังตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้ครับ



----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



โครงสร้างปัจจุบัน

เอาเงินของรัฐมาเป็นประกันคุณภาพเฉพาะระบบ๓๐ บาทของรัฐเท่านั้น หน่วยบริการระบบอื่นไม่ถูกบังคับให้มาร่วมประกัน

โครงสร้างใหม่

บังคับ ให้หน่วยบริการทุกระบบต้องวางเงินมารวมเป็นกองทุนประกันคุณภาพบริการของทุก ระบบ โดยแต่ละหน่วยอาจซื้อประกันเป็นส่วนตัวเพิ่ม ขึ้นต่อไปอีกก็ได้



โครงสร้างปัจจุบัน

ไม่มีการผลักภาระค่าชดเชยไปยังประชาชนผู้รับบริการ เพราะตัดมาจากกองทุน ๓๐ บาท

โครงสร้างใหม่

หน่วยบริการนอกระบบ๓๐ บาทจะต้องผลักภาระใหม่นี้มารวมในค่าบริการทั่วไป ส่วนตัวระบบ๓๐ บาทเองก็อาจลดเงินในส่วนนี้ลงอีก



โครงสร้างปัจจุบัน

การตรวจสอบมาตรฐานในระบบประกันว่าแต่ละคดีมีการให้บริการต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่ ยังใช้แพทย์วิชาชีพเฉพาะ

โครงสร้างใหม่

ใช้คณะกรรมการที่มีคนนอกวิชาชีพ ที่เป็นตัวแทนเอ็นจีโอ และส่วนงานอื่น มาร่วมตัดสินมาตรฐานด้วย



โครงสร้างปัจจุบัน

โรงพยาบาลและหมอไม่คัดค้านอะไรเพราะไม่เกิดภาระทางการเงินและยังใช้หมอผู้ชำนาญเป็นผู้ตรวจมาตรฐาน

โครงสร้างใหม่

คัดค้านกันมากเพราะต้นทุนสูงขึ้นทั้งระบบและเห็นว่าเอาคนนอกมาชี้มาตรฐานวิชาชีพไม่ได้ ทุกวันนี้ก็เสี่ยงจะแย่อยู่แล้ว



------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ถาม ผมฟังดูแล้วก็คล้ายๆกับกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันเอาประกันความเสียหายต่อ บุคคลที่สามไว้ จึงจะต่อทะเบียนได้ เกิดอุบัติเหตุเมื่อใดผู้เสียหายก็ได้เงินจากบริษัทประกันเลย โดยไม่ต้องมาเถียงกันว่าใครถูกใครผิด ยังงี้ก็ดีนะครับ

ตอบ ไม่เหมือนหรอกครับ ตามร่างกฎหมายนี้มันยังยืนอยู่บนความรับผิดของหมอนะครับ ถ้าเป็นเหตุสุดวิสัยกองทุนนี้ก็จะไม่จ่ายนะคุณ

แต่ ถ้าเปลี่ยนเสียใหม่ให้เป็นว่าใครเสียหายจากการรักษาก็เอาเงินไปเลยไม่ต้องหา ว่าใครผิดอย่างนี้ ปัญหาโต้แย้งจะน้อยลงมาก คงเหลือแต่ภารทางการเงินเท่านั้น ว่ากองทุน ๓๐ บาทและผู้รับบริการนอกระบบ ๓๐ บาท จะรับภาระเงินกองทุนได้ไหม?

ปัญหาแรกจึงอยู่ที่ตรงนี้ก่อนว่าเราจะให้มีประกันความเสียหายชนิดใดบ้าง เอากว้างขวางถึงขนาดผิดหรือไม่ผิด ก็ให้ชดใช้ทุกกรณีเลยหรือไม่? คุณว่าอย่างไรล่ะครับ?





ถาม ถ้าคิดเป็นสวัสดิการก็ต้องช่วยเหลือทั้งหมดแหละครับ ใครขาหายไปจากอุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วยก็ต้องช่วยทั้งนั้น ต้องมาจากเงินรัฐทั้งหมดด้วย แต่ถ้าคิดเป็นการประกันคุณภาพของบริการว่าจะไม่มีความผิดพลาด อย่างนี้ก็จะ ต้องจำกัดการชดใช้แต่เฉพาะกรณีรักษาไม่ได้มาตรฐานเท่านั้น ผมว่าเอาแค่ประกันคุณภาพก่อนก็พอนะครับเรื่องสวัสดิการไปว่าอีกเรื่องหนึ่ง ดีกว่า



ตอบ โอเค...ความคิดคุณชัดเจนแล้ว ปัญหาต่อไปต้องถามว่ารัฐมาจัดตั้งกองทุนประกันเองทำไม? ทำไมไม่ทำแบบประกัน พรบ. คือออกกฎหมายบังคับให้ทุกสถานบริการต้องซื้อประกันความรับผิดบุคคลที่สาม จากบริษัทประกันภัย ตามกรมธรรม์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด อย่างนี้คุณว่าจะดีกว่าให้รัฐตั้งกองทุนประกันเสียเอง ดังร่าง กฎหมายนี้หรือไม่?




ถาม วิธีนั้นเอกชนเขาก็ทำกันมากอยู่แล้วนะครับ แต่มันจะมีปัญหาโยกโย้ตอนเคลม ประกันมากนะครับ ให้รัฐทำมันจะจ่ายง่ายกว่าแน่ๆ

ตอบ ปัญหาตรงนี้ผ่อนคลายได้ ออกกฎหมายไปเลยให้มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รับคำขอเคลมประกันจากผู้เสียหายก่อน แล้วเสนอความเห็นไปยังบริษัทประกัน ได้ผลอย่างไร ใครยังไม่พอใจก็ค่อยไปถึงศาลอีกทีหนึ่ง กลไกอย่างนี้จะช่วยให้ความเป็นธรรมได้มากกว่าที่เป็นอยู่แน่นอน





ถาม ตรงนี้ก็มาถึงปัญหาสุดท้ายว่า การสืบข้อมูลและตรวจมาตรฐานการให้บริการในคดี เคลมประกันไม่ว่าจะประกันแบบใดนั้น เราควรให้คนนอกวิชาชีพมาตัดสินหรือไม่?


ตอบ ผมเองเป็นนักกฎหมายผมมองไม่ออกว่าอยู่ดีๆถ้าผมไปนั่งเป็นกรรมการนี่ แล้วผมจะ มีความรู้ไปชี้ขาดอย่างนั้นอย่างนี้ได้อย่างไรในปัญหาอย่างนี้ ชี้ไปแล้วให้หมอเป็น ฝ่ายแพ้จนผู้เสียหายได้เงินไปจำนวนหนึ่ง เขาก็จะไปฟ้องเรียกเงินเพิ่มจากหมออีก ต่างหาก เกิดคดีเพิกถอนใบอนุญาตตามมาอีกด้วย ปัญหาอย่างนี้พวกหมอเขาจึงต้องวิตกมากเป็นธรรมดาว่า จะเอาใครที่ไหนมาชี้ขาดมาตรฐานนี้ ตรงนี้ผมเข้าใจและเห็นใจเขานะคุณ

คน ไข้โรคเดียวกันแต่คนละสังขารนี่มาตรฐานก็ต่างกัน โรคเดียวกันแต่คนละโรงพยาบาล มีความพร้อมของเครื่องมือ ประสบการณ์ ปริมาณงานไม่เท่าเทียมกัน มาตรฐานมันก็ต่างกันได้อีก

คนที่จะวินิจฉัยปัญหาเรื่องมาตรฐานนี่ จึงต้องเป็นมืออาชีพที่มีวิจารณญาณจริงๆ จึงจะให้ความเป็นธรรมได้ต่อทั้งสองฝ่าย





ถาม แล้วหลักประกันนี้มันควรจะเป็นอย่างไร?

ตอบ เป็นผม ผมจะมีกองทุนให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย มีอำนาจเรียกข้อมูลสถานบริการที่เกี่ยวข้องแทนผู้เสียหาย มีนักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญประจำ สู้แทนผู้เสียหายได้ทุกชั้นจนไปถึงชั้นศาล ว่ากันแฟร์ๆตรงตัวกระบวนการอย่างนี้ ผมว่าคุณหมอเขาปฏิเสธไม่ได้หรอกครับ แต่เอาตัวแทนเอ็นจีโอจากไหนก็ไม่รู้มานั่งวินิจฉัยมาตรฐานของหมอนี่ เป็นผม..ผมก็ไม่ยอมแน่นอน





ถาม นอกจากปัญหาหลักสามประการที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาในระดับภาพรวมคืออะไรครับ?

ตอบ ความคิดของซุ้มนี้ เขามุ่งเขาฝันจะรวมเอาทุกระบบมารวมกันหมดมานานแล้ว จะเอาทั้งกองทุนประกันสังคม,กองทุนบำเหน็จบำนาญ หรือแม้กระทั่งเงินประกันสุขภาพที่ชาวบ้านเขาลงทุนซื้อประกันไว้เป็นส่วนตัว เขาก็คิดจะเอามารวมกับกองทุน ๓๐ บาทให้ได้ ตอนเป็น สว.ผมค้านถึงที่สุดเลย คนไม่เหมือนกันจะมาลิดรอนสิทธิของเขา โดยรวมปฏิบัติเท่ากันหมดได้อย่างไร



เรื่องประกันความเสียหายนี่ก็เอาอีกว่า



ต้องรวมเป็นระบบเดียวทั้งประเทศ แล้วพอเรายอมจนเกิดอำนาจกลางขึ้นมา ก็จะมีพื้นที่ให้ซุ้มของตนไปตั้งรกรากใช้อำนาจใช้ทรัพยากร นั้น อีก จนคนเขาไม่ไว้วางใจไปทั่วอีกชั้นหนึ่ง เป็นอย่างนี้ทุกที ภาพรวมของปัญหาอย่างนี้จึงมีคำถามรวบยอดที่สุดอยู่ตรงที่ว่า






“เราจะยอมรับระบบรวมศูนย์แบบเทพเจ้าแห่งความหวังดีนี้กันต่อไปอีกหรือไม่?”








Create Date : 16 สิงหาคม 2553
Last Update : 16 สิงหาคม 2553 12:32:28 น. 1 comments
Counter : 1938 Pageviews.  

 
ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:20:27 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]