Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ปีกสองข้างของการบริการสุขภาพและการสาธารณสุขไทย ปัญหาที่ท้าทาย ( ตอน ๒ ) .... โดย นพ.อุสาห์

ถ้ายังไม่ได้อ่านตอน ๑ ก็แวะไปอ่านก่อน จะได้ต่อเนื่อง นะครับ ..

ปีกสองข้างของการบริการสุขภาพและการสาธารณสุขไทย ปัญหาที่ท้าทาย .... โดย นพ.อุสาห์


//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2010&group=7&gblog=65




ปีกสองข้างของปัญหาที่เกิดจากการใช้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข(ตอนที่๒)



ในมุมมองปกติทั่วไป เมื่อเกิดสิ่งไม่พึงประสงค์ขึ้น มักมองเห็นเพียง

การเป็นปัญหาระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ


การแก้ปัญหาก็มักเกิดขึ้นโดยมิติเดียว คือ แกนx กับ แกนy

ในระนาบเดียว คือ ตามที่สามัญสำนึกที่ตื้นๆจะนึกได้


แล้วปัญหาก็ยังคงเกิดขึ้นซ้ำซาก


ด้วยการแก้ปัญหาด้วยทฤษฎี ถ้า x เพิ่มแล้ว y ก็ต้องเพิ่ม

ง่ายๆตื้นๆ ตามแบบประชานิยม



ถ้ามีปัญหาแปลว่าหมอหรือผู้ให้บริการมีปัญหา ต้องลงโทษ

กฎหมายไล่เบี้ยที่เคยออกมาต่อต้านกัน ช่วงประกาศประชานิยมยุคแรก


ถ้ามีผู้ประสบปัญหาจากการใช้บริการ ต้องชดใช้ให้พึงพอใจ


ตามมาตรา๔๑ พรบ.หลักประกันสุขภาพ.


แล้วปัญหามันจบหรือไม่?


คำตอบที่๑และคำตอบสุดท้าย คือ ไม่จบ

แต่มีปัญหาร้องเรียนเพิ่มมากขึ้น


ตอนที่ออกกฎหมายหลักประกันสุขภาพ คิดอะไรกัน?


ผู้ที่ประสบปัญหาและผู้ที่แก้ปัญหา

มักคิดออกเพียง การลงโทษผู้ถูกกล่าวหา และชดใช้ผู้ที่กล่าวหา



มีเรื่องที่เคยรับทราบเรื่องหนึ่ง


ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเสียชีวิต


หลังจากรอหมอเป็นเวลา๒ชั่วโมง (พาดหัวข่าวให้ร้อนๆกัน)


ผู้บาดเจ็บ ถูกส่งตัวจากจุดเกิดเหตุไปโรงพยาบาลชุมชน แพทย์เห็นว่าอาการหนัก

ส่งต่อไปโรงพยาบาลจังหวัด


หลังจากรอหมอนานถึงสองชั่วโมงเศษ

หมอผ่าตัดก็ออกมาดูอาการ และแจ้งให้ญาติทราบว่า ช่วยเหลือไม่ได้

เนื่องจากผู้บาดเจ็บสมองตาย เหลือเพียงการเต้นของหัวใจเท่านั้น


บิดาของผู้ตายชี้หน้าหมอ พูดว่ากูรอมึงนานสองชั่วโมง กูจะเอาเรื่องมึงให้ถึงที่สุด

กูหวังมาพึ่งมึง มึงปล่อยให้ลูกกูนอนรอมึงจนตาย(ขออภัยที่ใช้ภาษาต้นฉบับ)


จบแกนx


การสอบสวนพบว่าสุดวิสัยที่หมอผ่าตัดจะออกมาช่วยเหลือ

เนื่องจากมีการผ่าตัดช่วยชีวิตผู้ป่วยอีกรายหนึ่ง หมอไม่มีความผิด

ญาติได้รับการชดเชยตามมาตรา๔๑หรือไม่ ไม่ทราบ

เพราะไม่ได้ข้อมูลว่าเรื่องนี้เกิดก่อนหรือหลังกฎหมายหลักประกัน


จบแกนy


แพทยสภาโดนด่า ถูกกล่าวหาเป็นจำเลยสังคมรายต่อมา

ในข้อหาปกป้องพวกเดียวกัน


หมอผ่าตัดลาออกจากราชการ

เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นความเสียใจอย่างใหญ่หลวงของชีวิต

ในวันนั้น หมอไม่ได้เห็นแสงแดดตั้งแต่๘นาฬิกา เพราะมีอุบัติเหตุมาแต่เช้า

ผ่าตัดช่วยชีวิตหลายชีวิต อาหารก็กินแบบเร็วๆในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าของห้องผ่าตัด

ออกจากห้องผ่าตัดมาก็หกทุ่ม ผู้ป่วยรายสุดท้าย วางมือไม่ได้


อุดมการณ์รับใช้บ้านเกิดต้องเก็บไว้ ไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชน

ที่มีระบบรองรับการฟ้องร้อง การดูแลแก้ไขปัญหาความไม่พึงพอใจ

และปัญหาความล่าช้าของการตรวจรักษา ขณะที่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข

มีความเสี่ยงสูงต่อสวัสดิภาพของชีวิต และคุณภาพชีวิต รวมทั้งค่าตอบแทนต่ำกว่ากันมาก


จังหวัดที่เกิดปัญหานั้น ปัจจุบันไม่มีหมอผ่าตัดระบบประสาทและสมอง

ยังไม่มีผู้ใดไปอยู่ให้บริการประชาชนจนตราบเท่าทุกวันนี้


การแก้ปัญหาของผู้บริหารตั้งแต่ระดับรัฐบาลลงไป ยังมองไม่เห็นวิธีการแก้ปัญหาด้วยวิธีใด

นอกจากคล้อยตามหลักการและเหตุผลที่ฟังแล้วดูดี


คือ การมีกฎหมาย(อีกแล้ว)ที่ดูแล้วเชื่อ(โดยผู้เสนอ)ว่า

สามารถแก้ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ผู้ให้บริการและช่วยเหลือผู้รับบริการที่เดือดร้อนได้

เรียกว่ายิงที่เดียวได้นกสองตัว


(แต่ไม่รู้ว่านกสองตัวนั้นมีเชื้อH1N1 อิอิ)


จบแกนz ระนาบที่เป็นปัญหา แต่ไร้ปัญญาไม่เห็น










ปล. ผมเพิ่มภาพประกอบ จำนวนเรื่องร้องเรียนไปยัง สปสช.ตามมาตรา ๔๑ ซึ่งเห็นว่า เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ และส่วนที่เพิ่มขึ้นก็คือ จาก รพ.รัฐ







Create Date : 28 กรกฎาคม 2553
Last Update : 28 กรกฎาคม 2553 10:19:30 น. 0 comments
Counter : 2035 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]