Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ...

สืบเนื่องจากกระทู้นี้ .. ใครยังไม่ได้อ่าน ก็อยากให้เข้าไปลองอ่านในกระทู้ก่อนนะครับ

L9437140 "หมอ-รพ."ช็อก ! กม.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสธ. ลากหมอติดคุก-จ่ายค่าสินไหม โทษแรงกว่าในสหรัฐ หมาป่าดำ (71 - 11 ก.ค. 53 05:10)

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9437140/L9437140.html

โดยเฉพาะตัวร่าง พรบ. จาก คห. ๕๕ คุณ ผู้สังเกตการณ์ ได้รวบรวมมาไว้แล้ว โหลดมาอ่านได้เลย ..

ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการ สาธารณสุข พ.ศ. .... (นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 10,631 คน เป็นผู้เสนอ)

//library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-13.pdf

ผมก็ขอแจมหน่อย เลือกมาเฉพาะ สิ่งที่มีใน พรบ. นี้ เท่านั้น นะครับ .. ไม่งั้นก็จะกว้างเกินไป คุยกันไม่จบ ..




คนที่ทุกข์ร้อนก็สมควรได้รับการช่วยเหลือ .. อันนี้เห็นด้วยอย่างยิ่ง



ตรงนี้ก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง ...

ถ้าอ่านดู ก็จะเห็นว่าจะได้หรือไม่ได้ เข้าข่าย พรบ.นี้หรือไม่ ก็ต้องอ้างอิงกับ "มาตรฐานวิชาชีพ" .. ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางวิชาการ ..

แต่ถ้ามาดู กรรมการตัดสิน ...กลับไม่มีคณะกรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการแพทย์ แล้วจะพิจารณาในเรื่องความเสียหาย...ในเชิงวิชาการได้อย่างไร ( ถ้าบอกว่า ให้เป็น คณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเสนอความเห็นได้ แต่ลงมติไม่ได้ ผมว่า ไม่พอนะครับ )



ยิ่งมาดูวิธีการตัดสิน .. ใช้เสียงข้างมาก ???



คกก. ที่ตัดสิน ไม่ได้มีความรู้ด้านวิชาการ แล้วจะตัดสินได้อย่างไรว่าเหมาะว่าควร ถูกต้อง หรือ ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ???

อีกประเด็นก็คือ .. คกก. ไม่ใช่เจ้าของเงิน .. จ่ายไป ตนเองก็ไม่เดือดร้อน แถมได้หน้า ได้ชื่อว่า มีจิตใจเมตตา ช่วยเหลือคนทุกข์ร้อน ในทางกลับกัน ถ้าไม่จ่ายหรือค้ดค้าน ก็จะถูกสื่อหรือประชาชน ประนาม ตนเองเดือนร้อนเสียชื่อ ..



ต่อมาเป็นประเด็นเรื่องของ กองทุน ..ว่าจะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย ...






จะเห็นได้ว่า เรื่องนี้ ไม่ใช่ เรื่อง ของ " หมอ " เท่านั้น .. ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมหมดทุกฝ่าย ทั้ง แพทย์ พยาบาล ทันตะ เภสัช กายภาพ เทคนิกการแพทย์ (แลป) .. โดนหมด

ในส่วนของ เอกชน คลินิก แลป รพ.เอกชน .. ไม่ต้องห่วงครับ เพราะ บวกค่าใช้จ่ายความเสี่ยงนี้ เข้าไปเพิ่มอีกนิดหน่อย ไม่มีปัญหา ..แต่ ประชาชน ก็ต้องจ่ายเพิ่ม ???

ในส่วนของ รพ. รัฐ ก็ต้องหาเงินมาเพิ่มเข้าไปในกองทุนนี้ .. แล้วจะเอามาจากไหน ก็ต้องเอามาจาก เงินงบประมาณ ซึ่งตอนนี้ก็ไม่พออยู่แล้ว ??? ต้องไปลดค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งง่ายที่สุด และเป็นค่าใช้จ่ายมากที่สุดก็คือ " ค่ายา " ..แล้วผลที่ตามมาก็คือ ผู้ป่วยที่ใช้ยา อาจได้รับยาที่คุณภาพ ลดลง




ตรงนี้อยากเน้นที่คำว่า " รู้ถึงความเสียหาย" ผ่านไปกี่ปี ถ้าบอกว่า พึ่งรู้ .. ก็ใช้ได้เลย ... กฏหมายแพ่ง อาญา ยังมีกำหนดไว้ แต่นี่เปิดยาววววว

แถม ถ้าไปฟ้องแล้ว ศาลยกฟ้อง ก็กลับมาขอใช้ พรบ.นี้ได้อีก ???



ประมาณว่า ก่อนฟ้อง ก็ได้ไป .. แต่ถ้าได้แล้วไม่พอใจ ก็ฟ้องได้ .. ฟ้องแล้ว แพ้ (ยกฟ้อง) ก็กลับมาขอได้อีก ..

ยังไม่พอ .. ถ้าท่านโทรมาในสิบนาทีนี้ เรายังมีโปรโมชั่นเพิ่มเติมให้ท่านอีก ..



ทำสัญญายอมความไปแล้ว .. ก็ยังกลับมาขอได้อีก



มาต่อประเด็นเรื่องคดีอาญา



ไม่รู้จะเขียนไปทำไม ในเมื่อมันเป็นอำนาจ ของ ศาลอยู่แล้ว .. มิใช่หรือ ???

ที่หนักกว่า ก็คือ ตรงนี้ ...



ในความเห็นของผม คิดว่า ประเด็นนี้ให้อำนาจกับ คกก.มากเกินไปหรือเปล่า ??

พอดีไม่เห็นมีรายละเอียดเพิ่มเติม ใน พรบ. อาจตีความไปว่า คกก. มีอำนาจในการตัดสิน ปรับ จำคุก แทน " ผู้พิพากษา " ???

บางที ผมอาจคิดมากไปเองก็ได้ แต่ ถ้าไม่ใช่ ..ก็น่าจะเขียนให้รัดกุมกว่านี้ ..



ประเด็นที่ผมอยากจะเพิ่มเติม นิดหน่อย ...

๑. การฟ้องอาญา ... แพทย์ หรือใครก็ช่าง ไม่มีสิทธิพิเศษ ที่จะยกเว้นไม่ให้ฟ้องอาญา ( ใน พรบ.นี้ ก็ไม่ได้บ่งบอกชัดเจน ยกเว้นใน มต.๔๖ )

๒. ความจำเป็นในการออก พรบ.นี้ .. ผมดูแล้ว หลักก็คือ "ออกมา เพื่อเพิ่มช่อง การชดเชย ให้กับผู้ป่วย " ประเด็นเดียวเท่านั้น เพราะช่องทางการฟ้องร้องร้องเรียน ตามกฏหมายผ่านทางศาล ก็ยังมีเหมือนเดิม ..ดูแล้วก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี สำหรับผุ้ที่ได้รับความเดือดร้อน .. แต่ อยากให้ปรับเรื่องคุณสมบัติของ คกก. และ อำนาจ ของ คกก.

๓. ความซ้ำซ้อน ของกองทุน การจ่ายเงินเข้ากองทุน

- จ่ายแล้ว ผู้ป่วยไม่พอใจ ... รพ.เอกชน คลินิก รพ.รัฐ ... ก็ต้องมาเสียค่าใช้จ่ายอีกรอบ เพื่อตกลงนอกรอบ หรือ เพื่อดำเนินคดีฟ้องร้อง ในฐานะ "จำเลย" ... แล้วเงิน ที่จ่าย จ่ายไปทำไม ???

จะอ้างว่า เหมือนประกันชีวิต ประกันภัย .. เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ก็ต้องบอกว่า ไม่เหมือนเลย เพราะ ประกันชีวิต ประกันภัย ลูกค้าต้องร่วมจ่าย .. บริษัทประกัน ไม่ต้องมาร่วมจ่ายเบี้ยด้วย เก็บเบี้ยอย่างเดียว .. พอเกิดความเสียหาย บริษัทถึงจ่าย แต่ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น บริษัทรับไปเป็นกำไร

แต่ ในกรณีของ พรบ.นี้ .. ลูกค้า (คนไข้) ไม่ต้องจ่าย ... รพ. คลินิก ฯลฯ (คล้ายกับบริษัท ผู้ให้ประกัน) ต้องร่วมจ่าย.. ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็จ่ายฟรี ???

ถ้าอ้างว่า ผู้ป่วย ร่วมจ่ายเป็นภาษี .. แล้วหมอ เจ้าหน้าที่ รพ.เอกชน รพ.รัฐ ฯลฯ ไม่ต้องจ่ายภาษีหรือ ???

ถ้าจะบอกว่า เป็นการประกันความเสี่ยงของ หมอ เจ้าหน้าที่ ฯลฯ ก็แปลก ๆ อีก .. เพราะเป็นการบังคับ ไม่ใช่สมัครใจที่จะยอมรับ ความเสี่ยงเอง หรือ ทำประกันเพื่อลดความเสี่ยงของตนเอง ...



พรบ.นี้ มีข้อดี ที่ช่วยเหลือกับ ผู้ที่ได้รับความเดือนร้อน ( ซึ่งผม ครอบครัว พี่น้องผม ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ) .. แต่ อยากให้มองถึงภาพในมุมกว้าง ในมุมของ ผู้ให้บริการสาธารณสุข บ้าง ว่าจะมีผลกระทบอย่างไร ..

สำหรับ เอกชน ไม่ว่าจะเป็น คลินิก หรือ รพ.เอกชน ไม่ต้องห่วง ..เขามีระบบ มีวิธีจัดการปัญหาอยู่แล้ว..

แต่คนที่จะกระทบมากที่สุด ก็คือ รพ.รัฐ .. คนไข้เยอะ หมอน้อย ความผิดพลาด ก็เยอะตามไปด้วย .... คดีฟ้องร้องระยะ ๒ - ๓ ปีนี้ เกือบทั้งหมดเป็น ของ รพ.รัฐ ..

คนที่พูดว่า " หมอทีดี ๆ ไม่ต้องกลัวโดนฟ้อง ไม่มีใครอยากฟ้องหมอหรอก " หรือ " ถ้าหมอทำดี ฟ้องไป ศาลก็ยกฟ้อง หรือถ้าศาลตัดสินว่า หมอพลาด ทำผิด รัฐ ก็เป็นคนจ่ายเงินแทน หมอไม่ต้องจ่าย " ...

คนเหล่านี้ ยังไม่เคยโดนฟ้อง เลยไม่รู้ว่า คนที่ถูกฟ้องร้อง นั้นรู้สึกอย่างไร ... ผมได้เห็นแพทย์ที่ถูกฟ้อง แล้วศาลยกฟ้อง หลังจากผ่านไป ๔ ปี .. ศัลยแพทย์ ๑ คน เลิกผ่า เลิกเป็นหมอศัลยกรรม ..หมอเด็ก ก็ขอย้ายไปอยู่ รพ.ที่ใหญ่กว่า .. แพทย์ใช้ทุน ที่ขอทุนศัลยกรรม ก็เปลี่ยนไปขอทุนอื่น แพทย์ใช้ทุนอีกท่านที่คิดว่าจะกลับมาอยู่ รพ. ก็ขอไปอยู่ รพ.อื่นที่ใหญ่กว่า ..

ไม่นับรวมถึง แพทย์ ใน รพ.เล็ก ๆ ใกล้เคียงที่เคยผ่าตัดไส้ติ่ง ผ่าตัดคลอด ทำหมัน เย็บเส้นเอ็นใน รพ.ชุมชน ตอนนี้ก็ไม่ทำ ส่งต่อมา เพราะไม่อยากเสี่ยง

นี่เป็นแค่ตัวอย่างที่ผมพบด้วยตัวผมเอง เป็นประสบการณ์ตรง .. ผมจึง ไม่เคยเชื่อว่า " หมอโดนฟ้อง แล้วไม่เดือนร้อน ไม่ต้องกลัว "







Create Date : 11 กรกฎาคม 2553
Last Update : 11 กรกฎาคม 2553 16:36:28 น. 28 comments
Counter : 4524 Pageviews.  

 
วันก่อนได้ฟัง....สัมภาษณ์
บอกแค่ว่า เราต้องการเพียงแค่กองทุนเพื่อเยียวยาเท่านั้น

แต่ สิ่งที่ออกมา ทำให้ทุกจุดของระบบบริการสุขภาพเดือดร้อน ระส่ำระสาย.....แล้วผลสุดท้ายจะตกที่ผู้ป่วยเท่านั้นเอง

ถ้าถามว่า ไม่เห็นด้วยในทุกข้อไหม...ก็ไม่
แต่ข้อที่ไม่เห็นด้วยอย่างมาก ก็คือ
คณะกรรมการ กับการตัดสินพิจารณาความผิด โดยไม่เอาความคิดเห็นทางด้านการแพทย์เข้าร่วม....อันนี้ใครคิดเนี่ย ไม่เข้าใจเน๊อะพี่


โดย: NuHring วันที่: 11 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:13:02 น.  

 
ถ้าเจอคนไข้ดี หมอไม่ดี กม.นี้ช่วยคนไข้ได้
ถ้าเจอคนไข้ไม่ดี หมอดี กม.นี้จะช่วยหมอดีได้ไหม
เรายังสงสัยอยู่??


โดย: quilt วันที่: 12 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:57:51 น.  

 
ตั้งกระทู้ไว้ห้องสวนลุม ก็มีแจมกันพอสมควร ว่าง ๆ ก็เชิญนะครับ

L9460294 ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ... หมอหมู (171 - 20 ก.ค. 53 21:55)

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9460294/L9460294.html



โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:10:57:52 น.  

 
ผมได้รับ เมล์ เป็นความเห็นเกี่ยวกับ พรบ.นี้ ...ยาวหน่อย แต่ น่าสนใจ เลยนำมาฝากไว้ด้วยเลย ..



ข้อสังเกต ต่อร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

วันจันทร์, 12 กรกฎาคม 2010 22:44 น.
จาก: "N I"

“ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ……” ทำร้ายแพทย์หรือทำร้ายคนไข้?

ในช่วงระยะเวลาที่ ผ่านมา มีข่าวเกี่ยวกับปฏิกิริยาในทางต่อต้านของบุคลากรด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับ “ร่างพ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ……” (ต่อไปจะเรียกว่า ร่างพ.ร.บ.ฯ) ซึ่งเป็นร่างที่เสนอโดย " ผู้เสียหาย"

และ ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

จึงมี ประเด็นที่น่าพิจารณาในทางกฎหมายว่าร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวนี้จะส่งผลเสียต่อบุคลากรทางการแพทย์และการบริการสาธารณะสุขจริง หรือไม่ อย่างไร?

เนื่องจากหลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้มีบุคลากรทางการ แพทย์ซึ่งเท่าที่ปรากฏก็ คือ “คุณหมอ” ทั้งหลายออกมาตีโพยตีพายไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ฯ ฉบับดังกล่าว จึงเห็นควรว่าน่าจะพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวที่คุณหมอทั้งหลายหวาดกลัวและเห็นว่าเป็นร่างกฎหมายที่ไม่ควร ผ่านออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับ หาไม่แล้วความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้จะต้องเลวร้ายลงอย่างยิ่ง

ใน บทความนี้จึงขอนำเสนอออกเป็น 4 ส่วน คือส่วนที่หนึ่งโครง สร้างของร่างพ.ร.บ.ฯ ส่วนที่สองเนื้อหาสำคัญในร่างพ.ร.บ.ฯ ส่วนที่สามข้ออ้าง/ความกังวลของคุณหมอทั้งหลายเป็นเรื่อง ที่รับฟังได้หรือไม่ ส่วนที่สี่บทสรุป

1. โครงสร้างของร่างพ.ร.บ.ฯ

ร่าง พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวมีจำนวนทั้งสิ้น 50 มาตรา ประกอบไปด้วย

1.1 ส่วนทั่วไปประกอบด้วยชื่อพ.ร.บ.ฯ(มาตรา 1) วันที่พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับ(มาตรา 2) บทนิยาม(มาตรา 3) และบทกำหนดรัฐมนตรีรักษาการ(มาตรา 4)
1.2 การคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข (หมวด 1 มาตรา 5-6)
1.3 คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข (หมวด 2 มาตรา 7-19)
1.4 กองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข (หมวด 3 มาตรา 20-24)
1.5 การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชย (หมวด 4 มาตรา 25-37)
1.6 การไกล่เกลี่ยและการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข (หมวด 5 มาตรา 38-41)
1.7 การพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย (หมวด 6 มาตรา 42-44)
1.8 การฟ้องคดีอาญาและบทกำหนดโทษ (หมวด 7 มาตรา 45-46)
1.9 บทเฉพาะกาล (มาตรา 47-50)


โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:00:58 น.  

 
2. เนื้อหาสำคัญในร่างพ.ร.บ.ฯ

2.1 บทนิยาม ในร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวได้กำหนดนิยามไว้ในมาตรา 3 โดยนิยามที่สำคัญได้แก่นิยามของ คำว่า “ผู้เสียหาย”, “สถานพยาบาล” และ “บริการสาธารณสุข” ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

“ผู้เสียหาย” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจากสถานพยาบาล

“สถาน พยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานพยาบาลของรัฐ และของสภากาชาดไทย ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดี ในระบบบริการสาธารณสุขประกาศกำหนด

“บริการสาธารณสุข” หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งได้แก่ การประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ การประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม การประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพกายภาพบำบัด การประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเทคนิคการแพทย์การ ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม หรือการปะรกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และให้รวมถึงการให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

2.2 คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการตามร่างพ.ร.บ.ฯ ร่างพ.ร.บ.ฯ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการตามลำดับดังนี้

2.2.1 คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข(ต่อไปจะเรียก ว่า คณะกรรมการ)ตามมาตรา 7 ประกอบไปด้วย (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ (2) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (3) ผู้แทนสถานพยาบาล จำนวนสามคน (4) ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ จำนวนสามคน (5) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนห้าคนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชน สิทธิมนุษยชน และการเจรจาไกล่เกลี่ยสาธารณสุข ด้านละหนึ่งคน รวมจำนวนคณะกรรมการทั้งสิ้น 18 คน

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมีกำหนดไว้ในมาตรา 10 ซึ่งร่างพ.ร.บ.ฯ กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่หลายประการ แต่ทั้งนี้คณะกรรมการ ดังกล่าวไม่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชยแต่ประการใด

2.2.2 คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น(ต่อไปจะเรียกว่า คณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือ)ตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านละหนึ่งคน และผู้แทนสถานพยาบาลและผู้แทนผู้รับบริการสาธารณสุข ฝ่ายละหนึ่งคน รวมทั้งสิ้น 5 คน

อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือมีการ กำหนดไว้ในมาตรา 27 คือมีหน้าที่พิจารณาคำร้องขอรับเงินค่าเสียหาย(ในที่นี้คือเงินช่วยเหลือ เบื้องต้น)

2.2.3 คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชย(ต่อไปจะเรียกว่า คณะอนุกรรมการเงินชดเชย)ตามมาตรา12 วรรคหนึ่ง (2) ประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพและด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านละหนึ่งคน รวมทั้งสิ้น 5 คน

อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการเงินชดเชยมีการกำหนด ไว้ในมาตรา 30 คือมีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเงินชดเชย

2.2.4 คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์(ต่อไปจะเรียกว่า คณะกรรมการอุทธรณ์)ตามมาตรา 13 ประกอบไปด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ และด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านละหนึ่งคน และผู้แทนสถานพยาบาลและผู้แทนผู้รับบริการสาธารณสุข ฝ่ายละหนึ่งคน รวมทั้งสิ้น 8 คน

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอุทธรณ์มีการกำหนดไว้ใน มาตรา 28(การวินิจฉัยเกี่ยวกับคำขอเงินช่วยเหลือเบื้องต้น), มาตรา 31(การวินิจฉัยเกี่ยวกับจำนวนเงินชดเชย)

2.2.5 คณะอนุกรรมการอื่นๆ ที่อาจถูกตั้งขึ้นได้ตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง (3)


โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:01:20 น.  

 
2.3 การใช้สิทธิขอรับค่าเสียหาย

2.3.1 สิทธิของผู้เสียหายและเงื่อนไขในการได้รับสิทธิตามร่างพ.ร.บ.ฯ มาตรา 5 กำหนดหลักการพื้นฐานไว้ว่าผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชยจากกองทุนตามร่างพ.ร.บ. นี้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับ ผิด นอกจากนี้ในมาตรา 6 ผู้เสียหายไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 5 ได้หากเป็นกรณีดังต่อไปนี้ (1) ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น แม้มีการให้บริการสาธารณสุขตามมาตราฐานวิชาชีพ (2) ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ (3) ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขแล้วไม่มีผลกระทบต่อ การดำรงชีวิตตามปกติ

2.3.2 กระบวนการใช้สิทธิของผู้เสียหายในการขอรับเงินค่าเสียหาย ตามร่างพ.ร.บ.ฯ ผู้เสียหายสามารถใช้สิทธิที่ถูกรับรองไว้ในมาตรา 5 ตามลำดับดังนี้

2.3.2.1 ผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหาย ได้แก่ ผู้เสียหายเอง(มาตรา 25 วรรคหนึ่ง) หรือ บุคคลอื่นอันได้แก่ บิดามารดา คู่สมรส ทายาท หรือผู้อนุบาล หรือบุคคลใดซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย ในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ชีวิต เป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือไม่สามารถยื่นคำขอด้วยตนเองได้แล้วแต่กรณี(มาตรา 25 วรรคสอง)

2.3.2.2 แบบของคำขอ การยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหายสามารถกระทำได้ด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ ได้(มาตรา 25 วรรคสาม) คำขอดังกล่าวต้องยื่นต่อสำนักงาน(กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) หรือยื่นต่อองค์กรที่สำนักงานกำหนด

2.3.2.3 ระยะเวลาในการยื่นคำขอ ผู้เสียหายต้องยื่นคำขอ ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ให้ บริการสาธารณสุขซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย

2.3.2.4 ผลของการยื่นคำขอต่ออายุความละเมิด เมื่อมีการยื่นคำขอให้อายุความทางแพ่งในมูลละเมิดนั้นสะดุดหยุดอยู่จนกว่า การพิจารณาคำขอเงินชดเชยนั้นจะถึงที่สุดหรือมีการยุติการพิจารณาคำขอมาตรา 34 วรรคหนึ่ง(มาตรา 26)

2.3.2.5 การพิจารณาคำขอรับเงินค่าเสียหาย

- เมื่อได้รับคำขอให้หน่วยงานที่รับคำขอไว้ส่งคำขอดังกล่าวให้คณะอนุกรรมการ เงินช่วยเหลือภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ คณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือต้องพิจารณาคำขอดังกล่าวให้เสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ(ระยะเวลาในการพิจารณาดังกล่าวในกรณีที่มีเหตุจำ เป็นสามารถขยายได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน และต้องระบุเหตุผลและความจำเป็นในการขยายเวลาทุกครั้งไว้

" หากคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือไม่สามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ะยะเวลาที่ขยายดังกล่าว ...ให้ถือว่าคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือวินิจฉัยจ่าย เงินช่วยเหลือเบื้องต้นและให้จ่ายเงินดังกล่าว) "

หากคณะอนุกรรมการ เงินช่วยเหลือเห็นว่าผู้ยื่นคำขอเป็นผู้เสียหายตามมาตรา 5 และไม่ใช่กรณีตามมาตรา 6 ให้วินิจฉัยจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายหรือทายาท คำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือที่วินิจฉัยให้จ่ายเงินช่วยเหลือ เบื้องต้นให้เป็นที่สุด(มาตรา 27)

- หากคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือมีคำวินิจฉัยไม่รับคำขอ ให้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ และแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิที่จะเสนอข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติมเพื่อประกอบการ พิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ คณะกรรมการอุทธรณ์ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องอุทธรณ์ ระยะเวลาดังกล่าวสามารถขยายออกไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน ถ้าคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยรับคำขอ ให้คณะอนุกรรมการ กำหนดจำนวนเงินช่วยเหลือเบื้องต้นด้วย คำวินิจฉัยจองคณะกรรมการอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด(มาตรา 28)

- กรณีที่คณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือตามมาตรา 27 หรือคณะกรรมการอุทธรณ์ตามมาตรา 28 ส่งคำขอให้คณะอนุกรรมการเงินชดเชยภายใน 7 วันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือมีคำวินิจฉัยหรือถือว่ามีคำ วินิจฉัยให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้รับคำขอ(มาตรา 30 วรรคหนึ่ง)

- คณะอนุกรรมการเงินชดเชยมีหน้าที่พิจารณาจ่ายเงินชดเชยโดยอาศัยหลักการเกี่ยว กับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยต้องวินิจฉัยคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือ หรือคณะกรรมการอุทธรณ์แล้วแต่กรณี กรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้อีกสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน โดยต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ด้วย(มาตรา 30 วรรคสอง และวรรคสาม)

- กรณีที่ผู้ขอไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินชดเชยที่คณะอนุกรรมการเงินชดเชยได้ วินิจฉัยกำหนด ผู้ขอสามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการเงินชดเชย โดยยื่นอุทธรณ์ต่อสำนักงาน และให้สำนักงานส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ คำอุทธรณ์ ถ้ายังไม่แล้วเสร็จสามารถขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด(มาตรา 31)

- เมื่อผู้เสียหายหรือทายาทตกลงยินยอมรับเงินชดเชย ให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อกับความเสียหายและผู้เสียหายจัดทำสัญญาประนีประนอมยอม ความ(มาตรา 33)

- หากคณะอนุกรรมการเงินชดเชยหรือคณะกรรมการอุทธรณ์ ได้กำหนดจำนวนเงินชดเชยแล้ว หากผู้เสียหายหรือทายาทไม่ตกลงยินยอมรับเงินชดเชยและได้ฟ้องให้ผู้ให้บริการ สาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายเป็นคดีต่อศาล ให้ยุติการดำเนินการตามพ.ร.บ.นี้ และผู้เสียหายหรือทายาทไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอได้อีก(มาตรา 34 วรรคหนึ่ง)

หาก ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วย งานที่เกี่ยวจ้องกับความเสียหายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย ให้คณะอนุกรรมการเงินชดเชยพิจารณาว่าจะจ่ายเงินจากกองทุนเพื่อชำระค่าสินไหม ทดแทนตามคำพิพากษาหรือไม่เพียงใด(มาตรา 34 วรรคสอง)

หากศาลมีคำ พิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดยกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยว่าผู้ให้ บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายไม่ต้องรับผิด คณะกรรมการอาจพิจารณาจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายหรือไม่ก็ได้(มาตรา 34 วรรคสาม)

- กรณีที่ผู้เสียหายหรือทายาทได้นำเหตุแห่งความเสียหายฟ้องคดีต่อศาลเพื่อ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับความเสียหาย โดยขอรับเงินค่าเสียหายตามพ.ร.บ.นี้ด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะขอรับเงินค่าเสียหายก่อนหรือหลังฟ้องคดี ให้ดำเนินการให้มีการพิจารณาเฉพาะการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเท่านั้น เมื่อศาลมีคำพิพากาษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วให้นำความในมาตรา 34 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม(มาตรา 35)

- กรณีที่มีการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้เสียหายแล้วหากศาลมีคำ พิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องกับความเสียหายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย ให้หักเงินช่วยเหลือเบื้องต้นออกจากค่าสินไหมทดแทนด้วย(มาตรา 36)

- กรณีที่มีความเสียหายปรากฏขึ้นภายหลังจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้เสียหายหรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาใน การแสดงอาการ ให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นขอรับเงินชดเชยตามพ.ร.บ.นี้ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งก่อให้ เกิดความเสียหาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายที่ปรากฏขึ้นภาย หลัง คำขอดังกล่าวให้สำนักงานส่งให้คณะอนุกรรมการเงินชดเชยภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอโดยให้นำมาตรา 30, 31, 32 และ 33 มาใช้โดยอนุโลม


โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:01:57 น.  

 
2.4 การไกล่เกลี่ย

ตามร่างพ.ร.บ.ฯ ได้ระบุถึงการไกล่เกลี่ยที่ผู้เสียหายและผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการไกล่เกลี่ยกันได้ โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้

- เรื่องที่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ว่าต้องเป็นเรื่องอื่นนอกจากเงินค่าเสียหายตามร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว

- การไกล่เกลี่ยจะดำเนินการก่อนหรือภายหลังผู้เสียหายได้ยื่นคำขอรับเงินค่า เสียหาย หรือหลังจากากรพิจารณาคำขอรับเงินค่าเสียหายเสร็จแล้วก็ได้

- หากมีการไกล่เกลี่ยกันสำเร็จให้มีการจัดทำสัญญาประนีประนอมในเรื่องที่ไกล่ เกลี่ยกันดังกล่าว(มาตรา 39 วรรคสาม)

- เมื่อมีการไกล่เกลี่ยให้อายุความฟ้องร้องคดีแพ่งสะดุดหยุดอยู่จนกว่าจะมีการ ยุติการไกล่เกลี่ย(มาตรา 40)

- การกำหนดห้ามไม่ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยใช้ข้อมูลที่กำหนดใน การดำเนินคดีในศาล(มาตรา 41)



2.5 การฟ้องคดีอาญาและบทกำหนดโทษ

ร่างพ.ร.บ.ฯ ได้กำหนดระบุถึงการพิจารณาการกำหนดโทษโดยศาล โดยในมาตรา 45 กำหนดให้ศาลในคดีอาญาฐานกระทำการโดยประมาทที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการ สาธารณสุข หากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิด ให้ศาลนำข้อเท็จจริงต่างๆของจำเลยเกี่ยวกับประวัติ พฤติการณ์แห่งคดี มาตรฐานวิชาชีพ การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี การรู้สำนึกในความผิด การที่ได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ การชดใช้เยียวยาความเสียหาย และการที่ผู้เสียหายไม่ติดใจให้จำเลยได้ รับโทษ ตลอดจนเหตุผลอื่นอันสมควร มาพิจารณา ประกอบด้วยในการนี้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้


นอกจากนั้นในมาตรา 46 ได้กำหนดโทษของการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการอุทธรณ์ หรือคณะอนุกรรมการ ตามมาตรา 18 ซึ่งการฝ่าฝืนดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:02:25 น.  

 
3. ข้ออ้าง/ความกังวลของคุณหมอทั้งหลายเป็น เรื่องที่รับฟังได้หรือไม่

เมื่อได้พิจารณาถึงเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวนี้แล้ว กรณีจึงเป็นที่น่าพิจารณาว่าข้ออ้าง/ความกังวลของคุณหมอที่ปรากฏในทางสื่อ สารมวลชนนั้นรับฟังได้หรือไม่เพียงใดโดยในที่นี้ได้หยิบยกข้อสังเกต, ความเห็น และทัศนคติของ “คุณหมอ” (ที่ต้องเน้นตัวหนาก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเจ้าของความเห็นดัง กล่าวว่าเป็น “คุณหมอ” ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริง ไม่ใช่ประชาชนคนธรรมดาหรือเด็กอนุบาลที่ไหนแต่อย่างใด) ที่ปรากฏในเนื้อหาข่าวในช่วงระยะเวลา 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมาในเว็บไซต์หนังสือพิมพ์มติชนอันได้แก่ ข่าว

1) พ.ร.บ. เยียวยาผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 14:30:03 น. มติชนออนไลน์

//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1277192915&catid=02 2)

2)นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก ! พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ลากหมอติดคุก-จ่ายสินไหม เลิกปรองดอง โทษแรงกว่าในสหรัฐ วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 17:08:19 น. มติชนออนไลน์

//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1278238349&grpid=00&catid=

3) แพทย์ขู่!ประท้วงร่างพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหาย จากบริการสาธารณสุข ชี้ข้อเสียเพียบ ประชาชนรับกรรม วันที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 11:24:39 น. มติชนออนไลน์

//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1278563507&grpid=00&catid=


โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:02:48 น.  

 
ในที่นี้ผู้เขียนจะได้พยายามรวมรวมประเด็นปัญหาที่ เป็น “สาระสำคัญ” ที่ “คุณหมอ” ได้แสดงความเห็นไว้ในข่าว โดยผู้เขียนจะแสดงความเห็นต่อความเห็นของ “คุณหมอ” ในเรื่องต่างๆ ตามลำดับดังนี้

3.1 ประเด็นเรื่องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาสำคัญของร่างพ.ร.บ.ฯ

มี การกล่าวว่า “จากหลัก การและเหตุผลจะพบว่า บุคลากรสาธารณสุข นอกจากต้องทำงานหนักทั้งกลางวันกางคืน ไม่ว่าวันราชการหรือวันหยุด เพื่อรับผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน /ฟ้องร้อง/ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือ/ชดเชยและถูกไล่เบี้ย/หรือถูกตัดสินจำคุกใน คดีอาญาเหมือนเป็นฆาตกร และยังต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน เพื่อเตรียมไว้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้อง ต้นทุกราย และยังต้องจ่ายชดเชยค่าเสียหาย และยังต้องถูกฟ้องร้องต่อศาลได้อีก”

เมื่อ ผู้เขียนอ่านความเห็นดังกล่าวแล้วเห็นว่ากรณีไม่ใช่เรื่องปกติหรอกหรือ ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำการโดยประมาทหรือจงใจแล้วก่อให้เกิดความเสียหาย กับบุคคลอื่นขึ้น แล้วบุคคลที่เสียหายนั้นใช้สิทธิทางศาลไม่ว่าจะเป็นทางคดีแพ่งละคดีอาญา

นอก จากนั้นในบางข่าวยังมีการกล่าวอ้างถึงตัวอย่างที่ว่า “มีบริการสาธารณะใดบ้างที่ต้องมีเงินประกันความเสียหาย โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูก/ผิด ทั้งนี้การบริการสาธารณะที่จัดขึ้นโดยรัฐบาล เช่นการศึกษานั้น ถ้านักเรียนสอบตก ไม่เห็นมีการฟ้องร้องครู ว่าทำให้นักเรียน “เสียหาย” มีแต่จะลงโทษเด็กนักเรียน ให้เรียนซ้ำชั้น/ไล่ออก และไม่เห็นมีการออกกฎหมายมาคุ้มครองเด็กนักเรียนที่เสียหายจากการรับบริการ การศึกษาแต่อย่างใด หรือในระบบราชการตำรวจ ไม่เห็นมีการออกพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการที่ถูกตำรวจยิงตาย โดยที่ประชาชนคนนั้นไม่ได้เป็นผู้ร้าย (หรือถ้ามีพ.ร.บ.เช่นว่านี้ ก็โปรดบอกข้าพเจ้าผู้เขียนเรื่องนี้ด้วย)”

กรณีดังกล่าวเป็นการกล่าว อ้างข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่หากถามว่าหากนักเรียนที่สอบตกคนนั้นไปใช้สิทธิทางศาลสามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือทำได้ ทั้งนี้ความเสียหายที่เกิดขึ้นกรณีต่างๆ นั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการออกกฎหมายเฉพาะมาคุ้มครองในทุกกรณีแต่ประการ ใด เพราะผู้เสียหายก็ไปใช้สิทธิทางศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนได้อยู่แล้ว

ส่วน การสอบถามหากฎหมายที่คุ้มครองผู้เสียหายจากการที่ถูกตำรวจยิงตายโดยที่ ประชาชนคนนั้นไม่ได้เป็นผู้ร้ายนั้น กฎหมายดังกล่าวก็ได้มีการออกมาใช้บังคับตั้งแต่ปี 2544 อันได้แก่ พระราชบัญญัติค่าตอบแทน ผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544


นอก จากนั้นก็มีการกล่าวว่า “นอกจากจะต้องทำงานบริการประชาชนแล้ว ยังต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดความเสียหายอีก ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ก็คงไม่มีปัญหาอะไร โรงพยาบาลก็ต้องขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลที่จะต้องเอาเงินภาษีจากหยาด เหงื่อแรงงานของประชาชนมาเพิ่มงบประมาณให้โรงพยาบาลเพื่อส่งเข้ากองทุน คุ้มครองผู้เสียหายนี้ ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็คงต้องผลักภาระนี้ให้แก่ ประชาชนที่ต้องจ่ายเงินเอง อย่างแน่นอน เพราะเป็นต้นทุนที่ถูกบังคับ (โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า)”

ก็เป็นความเห็นที่น่ารับฟังประการ หนึ่ง แต่หากเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีร่างพ.ร.บ.ฯ นี้ที่กำหนดให้มีการจัดเก็บเงินกองทุน(เป็นการแชร์ความเสี่ยงในการรับผิดของ บุคลากรทางการแพทย์) ท่านก็ต้องรับผิดชอบทั้งในทางแพ่ง ทางอาญาตามกฎหมายทั่วไปที่ใช้บังคับตามปกติไป อีกทั้งกรณีก็ไม่ผิดปกติประการใดที่จะนำเงินภาษีของประชาชนมาชดเชยความเสีย หายที่เกิดขึ้นกับประชาชน



โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:03:57 น.  

 
3.2 ประเด็นเรื่องของสิทธิของผู้เสียหาย

มี ความเห็นว่าเมื่อผู้เสียหาย ““เชื่อ” ว่าตัวเองได้รับความเสียหายก็สามารถยื่นคำขอเงินค่าเสียหายได้นั้น” ต้องไม่ลืมว่าตามร่างพ.ร.บ.ฯ แล้วจะเห็นว่าเพียงแค่ความเชื่อว่าตนเองเป็นผู้เสียหายนั้นไม่สามารถทำให้ ได้รับเงินค่าเสียหายโดยอัตโนมัติแต่ประการใดไม่ ยิ่งไปกว่านั้นการมีสิทธิยื่นหรือไม่มีสิทธิยื่นคำขอนั้นเจ้าหน้าที่ผู้มี อำนาจก็ต้องพิจารณาตามเงื่อนไขที่ร่างพ.ร.บฯ กำหนดเอาไว้ ทั้งนี้ตามมาตรา 5 และมาตรา 6


3.3 ประเด็นเรื่องของคณะกรรมการ

มีการกล่าว ถึงคำว่า “คณะกรรมการ” ในเนื้อข่าวหลายจุดด้วยกัน แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าหมายถึง “คณะกรรมการ” ใดกันแน่ เพราะในร่างพ.ร.บ.ฯ มีการกำหนดให้มีคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ทั้งนี้ในการกล่าวถึงคณะกรรมการในร่างพ.ร.บ.ฯดังกล่าว นั้นหากไม่ระบุชัดเจนย่อมหมายถึง คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งคณะ กรรมการดังกล่าวไม่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือเบื้อง ต้น และเงินชดเชยแต่ประการใด

องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา วินิจฉัยเกี่ยว กับเงินค่าเสียหายนั้นได้แก่ คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น, คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชย และคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งในร่างกฎหมายดังกล่าวก็มีการกำหนดให้มีกรรมการ หรืออนุกรรมการที่มาจากด้านการแพทย์และสาธารณสุขอยู่ด้วยแล้ว

นอกจาก นี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตต่อวิธีการพิจารณาของคณะกรรมการ/คณะ อนุกรรมการ โดยตั้งข้อสังเกตถึงขนาดที่ว่า “จะใช้หลักการอะไรก็ได้ในการพิจารณาจ่ายเงิน เนื่องจากไม่มีผู้มีความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุขอยู่ในคณะกรรมการและการ ตัดสินใช้การนับคะแนนเสียงของคณะกรรมการ โดยตัดสินตามสียงข้างมาก ฯลฯ นั้น” เห็นว่าการกล่าวว่าคณะกรรมการผู้พิจารณาจ่ายเงินเยียวยาจะใช้หลักการอะไรก็ ได้ในการพิจารณาจ่ายเงินนั้นเป็นการกล่าวที่เกินความจริงเพราะอย่างน้อยคณะ กรรมการต้องมีมาตรฐานในการพิจารณาซึ่งมาตรฐานขั้นต่ำก็ได้กำหนดเอาไว้ในร่าง พ.ร.บ.ฯ แล้ว

และการกล่าวอ้างว่าในคณะกรรมการไม่มีผู้มีความรู้ทาง การแพทย์และสาธารณ สุขอยู่นั้นก็เป็นการกล่าวโดยไม่พิจารณาเนื้อหาของร่างกฎหมายเพราะในส่วนของ คณะอนุกรรมการเงินช่วยเหลือ คณะกรรมการเงินชดเชย และคณะกรรมการอุทธรณ์นั้น ในร่างกฎหมายดังกล่าวก็มีการกำหนดให้มีกรรมการ หรืออนุกรรมการที่มาจากด้านการแพทย์และสาธารณสุขอยู่ด้วยแล้ว

นอก จากนี้ในร่างพ.ร.บ.ฯ ก็ได้กำหนดคุณสมบัติว่าต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ (ที่กำหนดไว้ในมาตรา 12 และมาตรา 13) เมื่อเป็นผู้ทรงคุณวุฒิแล้วเวลาปฏิบัติหน้าที่ในก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ของตนให้สมกับการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิอย่งแท้จริง จะให้ยกไม้ยกมืออย่างเดียวโดยไม่ใช้ความรู้ความสามารถในสาขาของตนก็ย่อมจะ เป็นไปไม่ได้

การกล่าวอ้างว่าการตัดสินชี้ขาดโดยเสียข้างมากไม่เอา ความเห็นด้านวิชาการ มาร่วมพิจารณานั้นก็เป็นการคาดการที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฯ ซึ่งในประเด็นนี้ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ส่วนการตัดสินใช้เสียงข้างมากนั้นก็เป็นเรื่องปกติขององค์กรกลุ่มที่จะต้อง มีการวินิจฉัยปัญหาใดปัญหาหนึ่งหากกรรมการแต่ละใช้ความรู้ความสามารถของตนใน การพิจารณาถึงประเด็นปัญหานั้นๆแล้ว คำถามที่ตามมาคือองค์กรกลุ่มจะใช้วีธีใดในการตัดสินกรณีนี้ก็คือการลงมิติ โดยถือเสียงข้างมากนั่นเอง


3.4 การพิจารณาจ่ายเงินค่าเสียหาย(ในที่นี้หมายถึงเงินช่วยเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชย)

มีการกล่าวว่า “การจ่ายเงินไม่ต้องมีการพิสูจน์ว่าการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข นั้น เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ โดยไม่มีการพิสูจน์ว่าถูกหรือผิดแต่ใช้อารมณ์/ความรู้สึกของคณะกรรมการสียง ข้างมาก” นั้นเห็นว่า

การที่จะจ่ายเงินตามร่างพ.ร.บ.ฯ นี้ได้ไม่ว่าจะเป็นเงินช่วงเหลือเบื้องต้น และเงินชดเชยนั้น จะต้องมีการพิจารณาก่อนว่า (1) ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น แม้มีการให้บริการสาธารณสุขตามมาตราฐานวิชาชีพ (2) ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ (3) ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขแล้วไม่มีผลกระทบต่อ การดำรงชีวิตตามปกติ ตามมาตรา 6 ของร่างพ.ร.บ.ฯ

เห็นได้ว่าหากเป็น กรณีดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้นผู้เสียหายก็จะไม่มีสิทธิยื่น คำขอรับเงินค่าเสียหายแต่ประการใด ดังนั้นการกล่าวว่าคณะกรรมการจะตัดสินโดยไม่มีการพิสูจน์ว่าถูกหรือผิดแต่ ใช้อารมณ์/ความรู้สึกของคณะกรรมการเสียงข้างมากนั้น จึงเป็นคำกล่าวที่เลื่อนลอยเกินไป

ทั้งนี้จะต้องไม่ลืมว่าคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการตามร่างพ.ร.บ.ฯ นั้นในมาตรา 17 กำหนดให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งการกำหนดดังกล่าวเท่ากับว่าหากคณะกรรมการทำผิดกฎหมายก็จะถูกลงโทษทาง อาญาหนักกว่าบุคคลทั่วไปคงไม่มีใครกล้าที่จะใช้อารมณ์/ความรู้สึกในการ พิจารณาวินิจฉัยเป็นแน่แท้



โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:04:37 น.  

 
3.3 ประเด็นเรื่องของระยะเวลาในการยื่นคำขอรับเงินค่าเสียหาย

ในประเด็น นี้มีความพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงความไม่ชอบของการกำหนดระยะ เวลาโดยตั้งประเด็นว่า “การยืดอายุความจาก 1 ปีเป็น 3 ปี และเริ่มนับเวลาจากการที่ “ประชาชนทราบความเสียหาย” ไม่ได้เริ่มนับจาก “วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์” ซึ่งคงจะยากในการพิสูจน์ข้อ “กล่าวอ้าง” ของผู้เสียหายว่า “ทราบความเสียหาย” เมื่อใด และถ้าประชาชน “อ้าง” ว่ายังมีความเสียหายอีก ก็ยังสามารถร้องขอ “เงินช่วยเหลือและชดเชย” ได้ถึง 10 ปี ส่วนบุคลากรนั้นทำงานไป 10ปี อาจถูกกรรมการมาชี้โทษได้ (โดยกรรมการไม่รู้เรื่องมาตรฐานวิชาชีพดังกล่าว) ถึง 10 ปี”

กรณีดัง กล่าวหาใช่การยืดอายุความแต่ประการใดเพราะว่าอายุความฟ้องคดี ละเมิด(คดีแพ่ง) ซึ่งในมาตรา 448 กำหนดไว้ว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้นขาดอายุความ เมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะ พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด

แต่ ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายอาญา และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ

ส่วนระยะเวลาในการใช้ สิทธิขอรับค่าเสียหายตามร่างพ.ร.บ.ฯ นั้นก็เป็นระยะเวลาอีกอันหนึ่งต่างหาก เพราะเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีฐานทางกฎหมายกำหนดไว้แตกต่างกัน ทั้งนี้การจะกำหนดให้เริ่มนับระยะเวลา “นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย” โดยไม่ให้เริ่มนับจาก “วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์” ตามความเห็นดังกล่าวนั้น ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องของความยุ่งยากในการพิสูจน์แต่ประการ ใดเลย เพราะการจะพิสูจน์วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้นก็พิสูจน์ยากได้พอๆกับวันที่ รู้ถึงความเสียหาย



โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:05:04 น.  

 
3.4 ประเด็นเรื่องของความรับผิดทางอาญาของผู้ให้บริการสาธารณสุข

ประเด็น สำคัญที่คุณหมอจะต้องทำความเข้าใจคือหากผู้เสียหายเห็นว่าคุณหมอ ทำผิดกฎหมายอาญา ผู้เสียหายก็ย่อมใช้สิทธิในการฟ้องให้รับผิดทางอาญาได้อยู่แล้วตามประมวล กฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

และหากพิจารณา เนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีบทมาตราไหนเลยที่กล่าวถึงสิทธิในการฟ้องศาล อาญาโดยอาศัยบทบัญญัติตามร่างพ.ร.บ.ฯ นี้

จะมีก็เพียงแต่บทบัญญัติ มาตรา 45 ที่กำหนดบังคับให้ศาลกรณีที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดี อาญาฐานกระทำโดยประมาทที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการสาธารณสุข(ซึ่งเป็น สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีได้ตามประมวลกฎหมายอาญาได้อยู่แล้ว) และหากศาลเห็นว่าจำเลย(คุณหมอทั้งหลาย/บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลายที่โดน ฟ้องคดีอาญา)กระทำผิด และในการกำหนดโทษในส่วนของการกำหนดโทษ ร่างพ.ร.บ.ฯ นี้ได้กำหนดให้ศาลคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 45 เพื่อที่จะนำมาเป็นเหตุลดโทษเพื่อที่จะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมาย(ประมวลกฎหมาย อาญา)กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้

หากอ่าน มาตรานี้แล้วเห็นว่ามาตราดังกล่าวเป็นโทษต่อจำเลย(คุณหมอทั้ง หลาย)แล้วนั้นก็ไม่อาจหาคำอธิบายใดๆ มาเพิ่มเติมได้แต่ประการใด เพราะมาตราดังกล่าวเป็นคุณอย่างยิ่งต่อคุณหมอทั้งหลาย เช่น คุณหมอ ก. ถูกฟ้องคดีอาญาฐานกระทำโดยประมาทอันเป็นเหตุทำให้ผุ้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท(มาตรา 291 ประมวลกฎหมายอาญา) ด้วยผลของมาตรา 45 ของร่างพ.ร.บ.ฯ นี้แล้วนั้น ศาลมีทางเลือกสองทางคือลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด(ในกรณีของมาตรา 291 ประมวลกฎหมายอาญานี้โดยตัวของมาตราดังกล่าวกำหนดแต่โทษขั้นสูงเอาไว้เท่า นั้น

นั่นหมายความว่าศาลสามารถใช้ดุลพินิจลงโทษได้ไม่เกินจำนวนโทษ สูงสุดที่กำหนด ไว้ได้อยู่แล้ว) และอีกทางเลือกหนึ่งคือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้นั่นคือศาลสามารถตัดสินแต่ไม่ กำหนดโทษไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือโทษปรับแต่อย่างใดนั่นเอง

บท บัญญัติในร่างพ.ร.บ.ฯ ที่กล่าวถึงโทษทางอาญาเอาไว้อีกมาตราหนึ่งคือในมาตรา 46 ซึ่งเป็นกรณีของการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการในเรื่องของการ ให้แสดงเอกสารพยานหลักฐานหรือการให้ถ้อยคำตามมาตรา 18 นั่นเอง



โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:05:27 น.  

 


3.5 ประเด็นเรื่องของผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการสาธารณสุข

มี การกล่าวว่าต่อไปหาร่างพ.ร.บ.ฯ นี้ผ่านเป็นกฎหมาย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขก็จะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้ป่วยทุกวิถีทาง โดยได้ยกตัวอย่างการส่งผู้ป่วยไปรักษาที่อื่นฯลฯ หากคุณหมอทั้งหลายหาทางออกโดยปฏิเสธไม่รับรักษาคนไข้เพื่อที่ว่าตนเองจะต้อง ไม่รับผิดชอบ

หากเป็นเช่นนั้นจริงคุณหมอที่ปฏิเสธรับรักษาคนไข้ดัง กล่าว ก็ต้องยอมรับผลที่อาจจะตามมาไม่ว่าจะเป็นในทางกฎหมายแพ่ง(ละเมิด) อาญา(อย่างน้อยก็ความผิดฐานละเลยไม่ช่วยเหลือ) และกฎหมายปกครอง(วินัยกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และความรับผิดตามพรบ.วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง) หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหรือล้มตายอันเป็นผลมาจากการปฏิเสธการรับรักษาดัง กล่าว

นอกจากนั้นก็ยังมีการกล่าวไปอีกว่า บุคลากรสาธารณสุขก็คงต้องส่งตรวจละเอียดครบทุกอย่างเช่นผู้ป่วยปวดหัว แพทย์อาจต้องส่ง เอ๊กซเรย์กระโหลกศีรษะ ทำ CT scan ฯลฯ

หาก ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจริงในวงการสาธาณสุขไทยก็จะเกิดคำถามว่าบุคลากร สาธารณสุขที่มีแนวปฏิบัติดังกล่าวได้รับการศึกษามาครบถ้วนดีแล้วหรือไม่ และในการให้การอบรมศึกษาบุคลากรสาธารณสุขของไทยไม่มีเรื่องของการสอบถาม อาการเบื้องต้น การสังเกตอาการเบื้องต้น เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์วินิจโรคเลยหรือ เพราะว่าตามร่างพ.ร.บ.ฯ ก็เขียนไว้ชัดเช่นในมาตรา 6 ที่กล่าวถึงมาตรฐานในการให้บริการทางการแพทย์เอาไว้ หากทำตามมาตรฐานแล้วผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิยื่นขอรับค่าเสียหายนั่นเอง ประเด็นสำคัญคือปัญหาว่ามาตรฐานของบุคลากรสาธารณสุขมีอยู่หรือไม่ ถ้ามีอยู่ก็คงไม่เป็นปัญหาแต่ประการใด

มีการกล่าวอ้างถึง เรื่องบุคคลที่จะได้รับผลประโยชน์ โดยกล่าวว่า “ดูเหมือนว่าผู้มีส่วนได้ คือประชาชน ผู้ที่มีส่วนเสียคือโรงพยาบาล/คลีนิก ร้านขายยา และผู้ประกอบวิชาชีพ

แต่ถ้าอ่านกฎหมายให้ดีแล้วจะเห็นว่าประชาชนที่ จะได้ประโยชน์ มีเพียงจำนวนไม่กี่คน คือพวกที่เขียนกฎหมายที่พร้อมจะเข้าไปเป็นกรรมการและอนุกรรมการ ตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.นี้ คือจะเข้าสู่ตำแหน่งระดับชาติโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก มีอภิสิทธิ์ในการตัดสินผู้ที่ต้องเรียน/สอบความรู้วิชาชีพและมีประสบการณ์ รักษามายาวนาน พวกกรรมการนี้ก็ยังมีรายได้ประจำเป็นค่าประชุม/เบี้ยเลี้ยงเดินทาง และออกความเห็นโดยการยกมือตามดุลพินิจ (ดุลพินิจที่ปราศจากความรู้ คือดุลพินิจที่ไม่มีเหตุผล ไม่ต้องอาศัยความถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่ทำตามอารมณ์/ความรู้สึกเท่านั้น) แต่ประชาชนตัวจริงอีก 65 ล้านคนจะต้องเป็นฝ่ายสูญเสียโอกาสที่จะได้รับ การรักษา

ยกตัวอย่าง เช่น ถ้ามีประชาชนที่เจ็บป่วยอาการหนัก คาดว่าถ้ารักษาแล้วอาจจะมีโอกาสรอดชีวิตเพียง 20% และมีโอกาสตาย 80%(เรียกว่าจะตายมิตายแหล่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า moribund หรือ dying) ถ้ายังไม่มี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายนี้ บุคลากรในโรงพยาบาล ก็ย่อมต้องระดมสรรพกำลังมาช่วยกันรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อยื้อแย่งชีวิต (จากพญามัจจุราช)ที่มีโอกาสรอดเพียง 20% นี้ให้กลับคืนมาให้ได้ แต่

ถ้ามีพ.ร.บ.ที่กล่าวถึงนี้เกิดขึ้น แทนที่บุคลากรจะกระตือรือล้นรีบช่วย รักษาให้รอดตามอัตราความเป็นไปได้ 20% บุคลากรของโรงพยาบาลก็อาจจะ (ถอดใจ)ไม่รับรักษา เพราะผู้ป่วยมีโอกาสตายถึง 80% ซึ่งจะเป็นเหตุให้บุคลากรต้องตกเป็นจำเลย/ถูกร้องเรียนให้จ่ายค่าช่วยเหลือ และชดเชย และยังเสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดีแพ่ง คดีอาญา ต้องจ่ายเงินเอง(ถ้าถูกฟ้องคดีแพ่ง) และเสี่ยงต่อการติดคุกอีกด้วย และผู้บริหารโรงพยาบาล ก็คงจะสั่งห้ามบุคลากร ไม่ให้เอารถของโรงพยาบาล ไปส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อยังโรง พยาบาลอื่น คงจะต้องปล่อยให้ผู้ป่วย/ครอบครัวหารถไปส่งผู้ป่วยเอง เพราะถ้าผู้ป่วยไป ตายในรถของโรงพยาบาลระหว่างเดินทางต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น ก็คงจะต้องรับผิดชอบความตายบนรถ โดยการต้องจ่ายเงินช่วย เหลือและชดเชย และอาจจะถูกฟ้องศาลอีก

กรณีที่ยกตัวอย่างนี้ ข้าพเจ้าผู้เขียนมิได้เพ้อฝันไปเอง แต่เป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน ที่แพทย์ทั่วไป(General practitioner) ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ (specialist) การผ่าตัดหรือให้ยาสลบระงับความรู้สึก ไม่กล้าทำการดมยาหรือผ่าตัด เพราะเกรงกลัวบรรทัดฐานของศาลที่ตัดสินจำคุกหมอ 4 ปี ในฐานความผิดที่มีแพทย์ทั่วไปให้ยาบล็อกหลังเพื่อผ่าตัด และผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนจนถึงแก่ความตาย) ประชาชนในท้องที่ห่างไกล ก็เลยเสียโอกาสที่จะได้รับการผ่าตัดอย่างทันเวลานาทีทอง ต้องเดินทางไป “รอคิว”ผ่าตัดในโรงพยาบาลจังหวัด จนอาการที่จะต้องผ่าตัดรักษานั้นทรุดหนักจนเกินจะเยียวยารักษาก็เป็นได้ เป็นการปิดกั้นโอกาสของประชาชนในชนบท ให้ด้อยโอกาสกว่าปะชาชนในเมือง เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากยิ่งขึ้น”



การกล่าวอ้างว่าผู้ ที่จะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงนั้นคือกลุ่มคนที่จะ เข้าไปเป็นคณะกรรมการและอนุกรรมการนั้น เห็นว่าการพิจารณาเรื่องดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการเหมือนการปฏิบัติราชการปกติ ที่จะต้องทำห้าวันทำการวันละ 8 ชั่วโมงแต่ประการใด

ดังนั้นการอ้าง ว่าเพื่อหวังประโยชน์ในเรื่องของเงินเบี้ยประชุมค่าเดินทางฯ ลฯ นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุผลนักเพราะโดยทั่วไปคณะกรรมการตามกฎหมายต่างๆ ที่ได้รับเงินค่าตอบแทนจะได้รับเงินค่าตอบแทนก็ต่อเมื่อได้ทำหน้าที่เป็นคณะ กรรมการตามกฎหมายนั้นๆเท่านั้น นอกจากนี้การเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวก็ไม่ได้จะมีแต่ผลประโยชน์แต่ อย่างเดียวไม่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการย่อมอาจโดนฟ้องได้ทั้งทางแพ่งทาง อาญาอีกด้วย

นอกจากนั้นยังมีการยกตัวอย่างไปถึงการยกมือลงมติของคณะ กรรมการในส่วนนี้ผู้ เขียนจะไม่กล่าวเพิ่มเติมอีกเพราะได้กล่าวในส่วนของประเด็นเกี่ยวกับคณะ กรรมการแล้ว นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างของการเสียผลประโยชน์ของประชาชนเช่น การเจ็บป่วยอาการหนัก คาดว่าถ้ารักษาแล้วอาจจะมีโอกาสรอดชีวิตเพียง 20% และมีโอกาสตาย 80%(เรียกว่าจะตายมิตายแหล่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า moribund หรือ dying) แล้วกล่าวเปรียบเทียบว่าถ้าไม่มีพ.ร.บ.ฯ บุคลากรก็จะต้องดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อรักษาชีวิตคนป่วย แต่ถ้ามีพ.ร.บ.ฯ แล้ว ในกรณีนี้บุคลากรก็จะอาจจะไม่รับรักษาฯลฯ

กรณี เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ว่าจะมีหรือไม่มีพ.ร.บ.ฯ บุคลากรทางการแพทย์ก็ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องรักษาชีวิตของคนไข้ การปฏิเสธไม่รับรักษาคนไข้เพราะเหตุว่ามีพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวจึงไม่ใช่กรณีความชอบธรรมในทางกฎหมายที่จะยกเว้นความรับผิดของ บุคลากรทางการแพทย์ดังกล่าวแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง ยิ่งการยกตัวอย่างการสั่งไม่ให้บุคลากรนำรถพยาบาลไปส่งคนไข้ก็ไม่แตกต่างจาก การปฏิเสธในการไม่รับรักษานั่นเอง

ส่วนการอ้างคำพิพากษาของศาลนั้น ผู้เขียนไม่อาจแสดงควมเห็นในกรณีนี้ได้เพราะ ว่าไม่ได้อ่านตัวเต็มของคำพิพากษาดังกล่าว



โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:06:00 น.  

 


3.6 ร่างพ.ร.บ.ฯ นี้ขัดต่อหลักนิติรัฐหรือไม่

มี การกล่าวว่า “พ.ร.บ.นี้ ขัดต่อหลักนิติรัฐ เนื่องจากตามปกติแล้ว กฎหมายมีไว้เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุ ประสงค์ ในการบริหาราชการแผ่นดินและการบริการสาธารณะสำหรับประชาชนใ ห้ได้รับการบริการที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แต่พ.ร.บ.นี้จะกระทบกับการรักษาของแพทย์ และพ.ร.บ.นี้ขัดต่อพ.ร.ก.การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และขัดต่อพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539

ยก ตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ กำหนดอายุความแค่ 1 ปี แต่ในกรณีพ.ร.บ.นี้ ขยายอายุความเป็น 3-10 ปีถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม

นอกจากนั้น เมื่อเกิดมีการรักษาพยาบาลแล้ว การอ้างว่าไม่ต้องพิสูจฯถูกผิดนั้น จะไม่สามารถทำได้จริงเพราะคณะกรรมการมี “อำนาจ” ในการเรียกเอกสาร/พยานบุคคลมาให้การ และใครขัดคำสั่งกรรมการมีโทษถึงจำคุก เป็นการตั้งธงไว้เลยว่า แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำผิดไว้ก่อน เมื่อประชาชนไม่พอใจการไกล่เกลี่ย โดยไม่ยอมตกลงรับเงินตามการไกล่เกลี่ย และไปฟ้องศาลเอง ถ้าเป็นคดีที่ศาลเห็นว่าไม่สมควรได้รับเงินชดเชย ผู้ร้องยังย้อนกลับไปขอเงินชดเชยจากกองทุนได้อีก ประชาชนคิดว่าตนเองมีแต่ทางได้ไม่มีทางเสีย แต่ให้ไปอ่านข้อ 1.5 แล้วจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจริงๆ”

เห็นว่าข้ออ้างที่กล่าวมาข้างต้น นั้นไม่ได้แสดงถึงประเด็นที่จะชี้ให้ เห็นว่าร่างพ.ร.บ.ฯดังกล่าวจะขัดหลักนิติรัฐแต่ประการใด ทั้งนี้ให้ไปอ่านข้อ 3.1 – 3.5 แล้วจะเข้าใจจริงๆ ว่าไม่ขัดหลักนิติรัฐ

เพราะ ว่า การอ้างว่าร่างพ.ร.บ.ฯ นี้จะกระทบกับการรักษาของแพทย์ นั้นเห็นว่าด้วยตัวอย่างที่พยายามยกมาแสดงประกอบสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการ รักษาของแพทย์คือการกระทำของแพทย์นั้นเองหาใช่ผลจากร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวแต่อย่างใดไม่(ในบางบทความในบางข่าวแสดงให้เห็นถึงการเตือนประชาชน ด้วยถ้อยคำทำนองว่าถ้ายังจะออกกฎหมายนี้ออกมาฉันก็จะไม่รักษาเธอ หรือรักษาก็ไม่รักษาเต็มที่ และถ้าจะต้องส่งไปรักษาที่อื่นฉันก็ไม่ไปส่งเธอเธอต้องไปเองเป็นต้น)

ส่วน ประเด็นขัดกับพ.ร.บ.อื่นๆ โดยเฉพาะพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ นั้น อย่างที่ได้เรียนไว้แล้วว่าเป็นคนละเรื่องกัน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรการหนึ่งในการคุ้มครองสิทธิของผู้ ป่วยให้ดีขึ้น ส่วนพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ หรือบทบัญญัติเกี่ยวกับละเมิดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นก็เป็นอีก ส่วนหนึ่งที่กำหนดเรื่องของความรับผิดทางแพ่งของผู้ละเมิด

ส่วนการ อ้างว่ามีการตั้งธงไว้ว่าแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำผิดไว้ ก่อนนั้นเป็นคำกล่าวที่เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าไม่มีฐานของข้อเท็จจริง



โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:06:20 น.  

 

4. บทสรุป

จากการที่ผู้เขียนได้อ่านร่าง พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวแล้วนั้นผู้เขียนไม่เห็นเหตุที่จะทำให้บุคลากรทางการแพทย์จะต้องได้ รับผลกระทบอย่างร้ายแรงจากร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวแต่ประการใดจะมีก็แต่เพียงผลกระทบทางด้านการเงินที่จะต้องส่งเงิน เข้าสมทบกองทุนฯ เท่านั้น นอกจากนี้ยังให้ประโยชน์ในกรณีที่ถูกฟ้องคดีอาญาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 45 อีกด้วย

สิทธิของผู้เสียหายที่เกิดจากการให้บริการสาธารณะสุขที่ ถูกรับรองไว้ใน ร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวนี้ เป็นคนละกรณีกับสิทธิในการฟ้องคดีทั้งในทางแพ่ง และทางอาญาของผู้เสียหาย

ดัง นั้นบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะคุณหมอทั้งหลายควรพิจารณาให้ถ่องแท้ว่าผล ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเองมีประการใดบ้าง หรือคุณหมอทั้งหลายจะเลือกวิถีทางที่ผู้เสียหายใช้สิทธิในทางแพ่ง และทางอาญาตามกฎหมายทั่วไปโดยไม่มีข้อลดหย่อนผ่อนโทษ หรือมาตรการประกันความเสี่ยงที่จะต้องรับผิดชอบเงินค่าเสียหายคนเดียว

จะ เห็นได้ว่าร่างพ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้พยายามหรือมุ่งที่จะคุ้มครองผู้เสียหายเป็นหลัก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประการใด

นอกจากนี้เนื้อหาร้อยละ 98 เป็นเรื่องของการชดเชยค่าเสียหายในทางแพ่งในรูปแบบใหม่ขึ้นมานอกจากในเรื่อง ละเมิดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดอาญาอยู่ก็เพียงสองมาตราเท่านั้น

จริง อยู่ที่ร่างพ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้างแต่ก็เป็นข้อบกพร่องที่สามารถแก้ไขได้หาก ประสงค์ให้ตรากฎหมายดังกล่าวออกมาทางทีดีบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลายก็ควร เสนอความคิดเห็นที่ชัดเจนประกอบเหตุผลที่หนักแน่นสมให้สมกับเป็นบุคลากรทาง การแพทย์

หากไม่ประสงค์จะให้มีการตรากฎหมายนี้ออกมาก็ออกมาแสดงความ เห็นให้ชัดเจนโดย ปราศจากการใช้ความรู้สึก เพราะแทนที่จะออกมาให้ความเห็นในทำนองข่มขู่ประชาชนก็ควรจะออกมาให้ความคิด เห็นให้มันชัดเจนและแน่นอนให้สมกับเป็นคุณหมอจะเป็นการไม่ดีกว่าหรอกหรือ








ปล. เห็นด้วยกับ ๒ วรรคทองสุดท้ายเป็นอย่างยิ่ง ..

ส่วนประเด็นอื่น ๆ ก็ได้พูดคุยกันไปบ้างแล้ว ... อ่านแล้วก็จะเห็นถึงมุมมองของนักกฏหมาย .. ส่วนมุมมองของ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชรกรรม ( แพทย์ ทันตะ เภสัช พยาบาล ฯลฯ ) ก็คงต้องรอติดตามกันต่อไป ...



โดย: หมอหมู วันที่: 22 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:07:31 น.  

 
หมอ ก็เป็นแค่หัวโขน วันหนึ่งก็อาจเปลี่ยนเป็น ผู้ป่วย หรือ ญาติผู้ป่วย ..
รวบรวมมาฝาก .. จะได้เข้าใจกันมากขึ้นว่า เรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ผลกระทบของ "หมอ" เท่านั้น
มีผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขโดยรวม และ มีความสลับซับซ้อนกว่า คำพูดไม่กี่คำ ที่ยกขึ้นมาอ้าง

ถอดความ รายการสามัญชน คนไทย ตอน กฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบทางสาธารณสุข ... ชเนษฎ์ ศรีสุโข https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-11-2016&group=7&gblog=208

ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ... https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-07-2010&group=7&gblog=61

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-11-2016&group=7&gblog=207

การกระทำของแพทย์ในการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-09-2016&group=7&gblog=204

ประกันภัยภาระรับผิดชอบในวิชาชีพ (Professional Liability Insurance) ทางออกหนึ่งสำหรับคดีทางการแพทย์ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2016&group=7&gblog=197

ได้ไม่เท่าเสีย ....โดย สุนทร นาคประดิษฐ์ ( ความเห็น เกี่ยวกับ การฟ้องร้องแพทย์ ) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-03-2009&group=7&gblog=21

ฟ้องร้องแพทย์ ความยุติธรรมแก่ใคร ฤๅ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2009&group=7&gblog=12



ปัจจุบันแพทย์พยาบาลสามารถถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย(คดีแพ่ง) โดยง่าย เหตุเพราะมีการตีความว่าการรักษาช่วยชีวิตคนไม่ต่างอะไรจากสินค้าหรือบริการที่มุ่งหวัง กำไรทั่ว ๆ ไป (ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค)ทำให้มีแนวโน้มการฟ้องร้องสูงขึ้น เรื่อย ๆ ที่ผ่านมาประเด็นนี้ ได้รับการปลอบขวัญจากรัฐเพื่อลดความวิตกกังวลของบุคลากรภาครัฐว่า“ไม่ต้องกังวล เพราะมีพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เป็นเกราะป้องกันการฟ้องร้องไว้” จึงทำให้แพทย์พยาบาล หลายคนชะล่าใจ คิดว่าไม่ว่าผิดถูกอย่างไร ไม่ว่าศาลจะทำคำตัดสินออกมาเช่นไรบุคลากรก็ไมได้รับผลกระทบ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วแพทย์พยาบาล อาจตกอยู่ในฐานะล้มละลายโดยง่ายได้เหตุเพราะแท้จริงแล้วบุคลากรยังคงมีความรับผิดชอบต่อเงินที่หน่วยงานต้นสังกัดต้องทดรองจ่ายให้ไปก่อนควรเข้าใจเสียใหม่ว่า กฎหมายนี้เป็นเพียงเกราะป้องกันมิให้แพทย์พยาบาลตกเป็นจำเลยโดยตรง แต่ความรับผิดทางอ้อม (การโดนไล่เบี้ย )ยังคงอยู่

ที่สำคัญคือในการอภิปรายและการประชุมในหลายๆ ครั้ง ผู้บริหารระดับสูง ในกระทรวงก็ยอมรับว่าท่านไม่มีอำนาจสั่งห้ามการไล่เบี้ยได้ เพราะเมื่อกระทรวงต้องนำเงินหลวงออกไปจ่ายให้กับโจทก์ตามคำพิพากษาท่านมีหน้าที่ตั้ง กรรมการสอบเพื่อพิจารณาการ ไล่เบี้ยและรายงานผลให้กระทรวงการคลังที่เป็นเจ้าของเงินที่แท้จริงซึ่งส่วนใหญ่แล้วกระทรวงการคลัง จะดูคำพิพากษาศาลเป็นหลักหากศาลตัดสินว่ามีความผิด การไล่เบี้ยนั้น เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก !!ที่น่าตกใจยิ่งไปกว่านี้คือขณะนี้มีคดีแพ่งที่กระทรวงตกเป็นจำเลยและรอฟังคำตัดสินของศาล อยู่อีกประมาณ ๕๐ คดีคิดเป็นทุนทรัพย์ประมาณ ๓,๐๓๙ ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ ๙กรกฎาคม ๒๕๕๙ กลุ่มกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุข)

ที่น่าวิตกยิ่งไปกว่านี้คือหากรัฐยอมผ่านพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจะมีคดีฟ้องร้องเพิ่มขึ้นอีกกี่ร้อยเท่าเพราะเดิมพันตามร่างกฎหมายใหม่นี้เป็นเงินจำนวนหลายล้านบาทต่อการร้องเรียนหนึ่งรายและเมื่อจ่ายเงินไปหลายล้านบาทออกไป กระทรวงการคลัง จะยอมมิให้มีการไล่เบี้ยอย่างที่ผู้ผลักดันกฎหมายออกมาโฆษณาชวนเชื่อ จริงหรือ !?!

แนะนำให้อ่านอย่างยิ่งยวด .. โดยเฉพาะ แพทย์พยาบาล ที่ยังรับราชการอยู่

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย
ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กรรมการแพทยสมาคม
ดาวน์โหลด วารสารเมดิคอลโฟกัส MedicalFocusปีที่ 8 ฉบับที่ 94 ตุลาคม 2559
//www.luckystarmedia.co.th/download/medical_focus_vol_94.pdf


...............................

ตัวอย่างคดีที่แพทย์พยาบาลโดนไล่เบี้ย

- คดีแรก Drug allergy ศาลเห็นว่าแพทย์กระทำการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจึงมีคำพิพากษาให้กระทรวงสาธารณสุข ต้องชดใช้สินไหมเป็นเงินจำนวน ๓,๖๘๘,๖๓๐ บาท เมื่อคดีนี้ เข้าสู่คณะกรรมการพิจารณาไล่เบี้ยคำตัดสินที่ได้ออกมาคือแพทย์ต้องควักเงินส่วนตัว เพื่อชำระในอัตรา ๕๐% คิดตกเป็นเงินทั้งสิ้นที่แพทย์ต้องจ่ายคืนให้กับรัฐ๑,๘๔๔,๓๑๕ บาท

- คดีที่สอง Compartment syndrome ศาลจึงมีคำพิพากษาถึงที่สุด ต้องชดใช้สินไหมพร้อมค่าเสียหายเป็นเงิน ๔,๒๕๑,๓๗๗ บาท โดยมีการไล่เบี้ยให้แพทย์ต้องชดใช้เงินคืนรัฐจำนวน ๗๐% และพยาบาล ๓ คนอีก ๓๐%

- คดีที่สาม Snake bite ศาลจึงตัดสินให้จำเลยมีความผิดและต้องชดใช้เงินเป็นจำนวนทั้งสิ้น ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท คดีนี้ มีคำสั่งให้ไล่เบี้ยแพทย์คิดเป็น ๖๐% พยาบาล ๔๐%

- คดีที่สี่ Extubation ศาลจึงมีคำพิพากษาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง!! ต้องชดใช้เงินรวมทั้งสิ้น ๕,๑๒๕,๔๑๑ บาท กระทรวงสาธารณสุข ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการไล่เบี้ย มีคำสั่งให้ไล่เบี้ยเป็นจำนวนเงิน ๕๐% ของเงินที่จ่ายไป โดยให้แพทย์รับไป ๗๐% พยาบาล ๒ คน ๓๐%

- คดีที่ห้า Pulmonary tuberculosis คำพิพากษาให้จำเลย ที่เป็นกุมารแพทย์มีความผิดฐานประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงให้กระทรวงสาธารณสุข ต้องจ่ายเงินประมาณ ๓,๘๐๐๐,๐๐๐ บาท


โดย: หมอหมู วันที่: 21 พฤศจิกายน 2559 เวลา:14:26:51 น.  

 
เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-11-2016&group=7&gblog=207

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย

ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กรรมการแพทยสมาคม

ปัจจุบันแพทย์พยาบาลสามารถถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย(คดีแพ่ง) โดยง่าย เหตุเพราะมีการตีความว่าการรักษาช่วยชีวิตคนไม่ต่างอะไรจากสินค้าหรือบริการที่มุ่งหวัง กำไรทั่ว ๆ ไป (ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค)ทำให้มีแนวโน้มการฟ้องร้องสูงขึ้น เรื่อย ๆ ที่ผ่านมาประเด็นนี้ ได้รับการปลอบขวัญจากรัฐเพื่อลดความวิตกกังวลของบุคลากรภาครัฐว่า“ไม่ต้องกังวล เพราะมีพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เป็นเกราะป้องกันการฟ้องร้องไว้” จึงทำให้แพทย์พยาบาล หลายคนชะล่าใจ คิดว่าไม่ว่าผิดถูกอย่างไร ไม่ว่าศาลจะทำคำตัดสินออกมาเช่นไรบุคลากรก็ไมได้รับผลกระทบ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วแพทย์พยาบาล อาจตกอยู่ในฐานะล้มละลายโดยง่ายได้เหตุเพราะแท้จริงแล้วบุคลากรยังคงมีความรับผิดชอบต่อเงินที่หน่วยงานต้นสังกัดต้องทดรองจ่ายให้ไปก่อนควรเข้าใจเสียใหม่ว่า กฎหมายนี้เป็นเพียงเกราะป้องกันมิให้แพทย์พยาบาลตกเป็นจำเลยโดยตรง แต่ความรับผิดทางอ้อม (การโดนไล่เบี้ย )ยังคงอยู่

ที่สำคัญคือในการอภิปรายและการประชุมในหลายๆ ครั้ง ผู้บริหารระดับสูง ในกระทรวงก็ยอมรับว่าท่านไม่มีอำนาจสั่งห้ามการไล่เบี้ยได้ เพราะเมื่อกระทรวงต้องนำเงินหลวงออกไปจ่ายให้กับโจทก์ตามคำพิพากษาท่านมีหน้าที่ตั้ง กรรมการสอบเพื่อพิจารณาการ ไล่เบี้ยและรายงานผลให้กระทรวงการคลังที่เป็นเจ้าของเงินที่แท้จริงซึ่งส่วนใหญ่แล้วกระทรวงการคลัง จะดูคำพิพากษาศาลเป็นหลักหากศาลตัดสินว่ามีความผิด การไล่เบี้ยนั้น เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก !!ที่น่าตกใจยิ่งไปกว่านี้คือขณะนี้มีคดีแพ่งที่กระทรวงตกเป็นจำเลยและรอฟังคำตัดสินของศาล อยู่อีกประมาณ ๕๐ คดีคิดเป็นทุนทรัพย์ประมาณ ๓,๐๓๙ ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ ๙กรกฎาคม ๒๕๕๙ กลุ่มกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุข)

ที่น่าวิตกยิ่งไปกว่านี้คือหากรัฐยอมผ่านพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจะมีคดีฟ้องร้องเพิ่มขึ้นอีกกี่ร้อยเท่าเพราะเดิมพันตามร่างกฎหมายใหม่นี้เป็นเงินจำนวนหลายล้านบาทต่อการร้องเรียนหนึ่งรายและเมื่อจ่ายเงินไปหลายล้านบาทออกไป กระทรวงการคลัง จะยอมมิให้มีการไล่เบี้ยอย่างที่ผู้ผลักดันกฎหมายออกมาโฆษณาชวนเชื่อ จริงหรือ !?!

แนะนำให้อ่านอย่างยิ่งยวด .. โดยเฉพาะ แพทย์พยาบาล ที่ยังรับราชการอยู่

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย
ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กรรมการแพทยสมาคม

ดาวน์โหลด วารสารเมดิคอลโฟกัส MedicalFocusปีที่ 8 ฉบับที่ 94 ตุลาคม 2559

//www.luckystarmedia.co.th/download/medical_focus_vol_94.pdf


...............................

ตัวอย่างคดีที่แพทย์พยาบาลโดนไล่เบี้ย

- คดีแรก Drug allergy ศาลเห็นว่าแพทย์กระทำการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจึงมีคำพิพากษาให้กระทรวงสาธารณสุข ต้องชดใช้สินไหมเป็นเงินจำนวน ๓,๖๘๘,๖๓๐ บาท เมื่อคดีนี้ เข้าสู่คณะกรรมการพิจารณาไล่เบี้ยคำตัดสินที่ได้ออกมาคือแพทย์ต้องควักเงินส่วนตัว เพื่อชำระในอัตรา ๕๐% คิดตกเป็นเงินทั้งสิ้นที่แพทย์ต้องจ่ายคืนให้กับรัฐ๑,๘๔๔,๓๑๕ บาท

- คดีที่สอง Compartment syndrome ศาลจึงมีคำพิพากษาถึงที่สุด ต้องชดใช้สินไหมพร้อมค่าเสียหายเป็นเงิน ๔,๒๕๑,๓๗๗ บาท โดยมีการไล่เบี้ยให้แพทย์ต้องชดใช้เงินคืนรัฐจำนวน ๗๐% และพยาบาล ๓ คนอีก ๓๐%

- คดีที่สาม Snake bite ศาลจึงตัดสินให้จำเลยมีความผิดและต้องชดใช้เงินเป็นจำนวนทั้งสิ้น ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท คดีนี้ มีคำสั่งให้ไล่เบี้ยแพทย์คิดเป็น ๖๐% พยาบาล ๔๐%

- คดีที่สี่ Extubation ศาลจึงมีคำพิพากษาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง!! ต้องชดใช้เงินรวมทั้งสิ้น ๕,๑๒๕,๔๑๑ บาท กระทรวงสาธารณสุข ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการไล่เบี้ย มีคำสั่งให้ไล่เบี้ยเป็นจำนวนเงิน ๕๐% ของเงินที่จ่ายไป โดยให้แพทย์รับไป ๗๐% พยาบาล ๒ คน ๓๐%

- คดีที่ห้า Pulmonary tuberculosis คำพิพากษาให้จำเลย ที่เป็นกุมารแพทย์มีความผิดฐานประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงให้กระทรวงสาธารณสุข ต้องจ่ายเงินประมาณ ๓,๘๐๐๐,๐๐๐ บาท



...................................................

แนะนำให้อ่านอย่างยิ่งยวด .. โดยเฉพาะ แพทย์พยาบาล ที่ยังรับราชการอยู่

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย
ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กรรมการแพทยสมาคม

ดาวน์โหลด วารสารเมดิคอลโฟกัส MedicalFocusปีที่ 8 ฉบับที่ 94 ตุลาคม 2559

//www.luckystarmedia.co.th/download/medical_focus_vol_94.pdf


โดย: หมอหมู วันที่: 16 มกราคม 2560 เวลา:13:07:18 น.  

 
ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ สธ. ฉบับ สปท.
https://www.facebook.com/ittaporn/media_set?set=a.1319098424817627.1073743885.100001524474522&type=3&pnref=story

ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ... https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-07-2010&group=7&gblog=61

เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-11-2016&group=7&gblog=207


"""""""""""""
Thiravat Hemachudha ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 4 ภาพ
https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10154958765611518

การแก้ปัญหาโดยการออก พรบคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบโดยไม่เคยพิจารณาข้อเท็จจริง ทำไมเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ไม่ได้ดูภาวะงานล้นมือ ขาดคน ขาด ความรู้ ขาดประสบการณ์ การกล่าวโทษ ง่าย ดูย้อนหลังง่าย แต่ถ้าขณะนั้นมีคนไข้หนัก 20 ราย ผู้รักษาไม่ได้นอนมา 2 วัน ยาที่อยากใช้ ไม่มีไม่เข้าเกณฑ์ สปสช แล้ว เกิดเรื่อง โทษคนให้การรักษา กรองคนดีออกจากระบบ ไปเรื่อยๆ เถอะครับ แล้วให้ รพ เอกลนเป็นใหญ่ หมดเงินพี่งรัฐ เสียหายกล้าวโทษ
จับตาดูกระบวนการที่จะเกิดขึ้น

(16 มค.60) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จะเสนอ "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการได้รับบริการทางสาธารณสุข พ.ศ. .."
เข้าสภา (ไม่ใช่จาก คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สปท.) ส่วนเนื้อหาเป็นอย่างไรขอโหลดมาอ่านก่อนนะครับ

https://edoc.parliament.go.th/Meeting/MeetingViewer.aspx…
พรบ คุ้มครอง ผู้เสียหาย ตระกูล ส หนีไป ออกโดย กมธ.สังคม โดยหมออำพล แทน สาธารณสุข ที่ไม่เห็นด้วย
เดาว่าสังคมไม่ค่อยรู้รายละเอียด
ไม่มีธรรมาภิบาล เพื่อแก้ปัญหา และไม่ยุติการฟ้อง

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10154958765611518

............................

พรุ่งนี้ (16 มค.60) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จะเสนอ "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการได้รับบริการทางสาธารณสุข พ.ศ. .."
เข้าสภา (ไม่ใช่จาก คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สปท.นะครับ) ส่วนเนื้อหาเป็นอย่างไรขอโหลดมาอ่านก่อนนะครับhttps://edoc.parliament.go.th/Meeting/MeetingViewer.aspx?id=385
https://www.facebook.com/ittaporn/posts/1318962438164559?pnref=story


โดย: หมอหมู วันที่: 16 มกราคม 2560 เวลา:13:22:16 น.  

 
Thiravat Hemachudha

คนทั่วไปอาจไม่เข้าใจ ว่าหมอในรพ รัฐ ขณะนี้ ถ้ามีอาชีพอื่นทำได้คงไปหมดแล้ว แต่ไม่แน่อยู่เฉยๆ อนาคตอันใกล้ อาจนอนอยู่บ้านดีกว่า ดูคนไข้หนักวันละ 30-40 คน ตรวจคนไข้นอก 50-60 นอนไม่ได้นอน ทำงานต่อเนื่อง วันแล้วปีเล่า พลาดถูกจับ ถูกฟ้อง จ่ายเงิน เป็น ล้าน หรือหลายล้าน เงินเดือนหมอต่างจังหวัด เท่านี้ ครอบครัวก็มี คนไข้หนักเป็นอะไรก็ไม่รู้ แต่ต้องหาย
ถ้าจะด่าดูสภาพก่อน ทางกฏหนายเคยเข้าไปดูสภาพมั้ย ว่าหดหู่แค่ไหน
นี่คือระบบที่คนถืออำนาจทำเพื่อหาเสียง ตัวเองหน้าตาหล่อสวย บนความทุกข์ของคนทำงาน นี่คือรพ รัฐ ไม่ใช่รพ เข้าตลาดหลักทรัพย์ ชาร์จ เงินคนไข้ ยาไม่มี เครื่องมือไม่พอรักษาคนป่วยต้องไปขอเรี่ยราย มาให้คนไข้
จะให้เป็นสังคนไร้นำ้ใจ ตัวใครตัวม้น อีกหน่อยไม่มีหมอ เข้า รพ เอกชน ให้เขางาบงับเอาเอง

ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ
คนเข้าประชุม 151

เห็นชอบ 48
ไม่เห็นชอบ 26
งดออกเสียง 77

มติประวัติศาสตร์ ไม่ออกเสียงมากกว่า 2 มติ 74 และ ไม่ออกเสียง 77 มากกว่า หลังอภิปรายยาวนานสรุปให้ถอนเรื่องคืนครับยังไม่ส่งต่อรัฐบาลอีกหนึ่งเดือนพิจารณาใหม่
ประเด็นโต้แย้งเพิ่มเติม สำหรับสมาชิก สปท เพื่ออภิปรายบ่ายนี้
(ร่าง พรบ คุ้มครองฉบับ กรม สบส)

(1) ธรรมาภิบาลในการเสนอ กม
ไม่ผ่าน กรรมาธิการสาธาณสุข ทั้งๆ ที่ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องโดยตรง

(2) รับเงินแล้วจบทั้งแพ่งและอาญา จริงหรือ?

ไม่จริง. เหตุผลดังนี้

1. ที่ประชุมกฤษฎีกาคณะพิเศษ (ประกอบด้วย อดีตประธานศาลฎีกา. อดีตอัยการสูงสุด (เรวัต ฉ่ำเฉลิม). ผู้พิพากษาศาลฎีกา อดีตนายกสภาทนายความ เป็นต้น) ให้ความเห็นแล้วว่า การรับเงินไม่ว่าจะเอาเงินมาจากไหน ไม่เป็นเหตุให้คดีอาญาระงับได้. ขัดหลักกม.ประเทศและสากล. ระงับสิทธิฟ้องได้เฉพาะ แพ่ง เท่านั้น
2. ทีมงาน กม ของ รัฐบาล (ดร วิษณุ เครืองาม) ตีกลับร่าง พรบ ของ สบส กลับมาที่ กม สธ ระบุว่า ร่างนี้ มีหลายมาตราทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ อาทิ เช่น สิทธิการฟ้องคดีอาญา. การจ่ายเงินจำนวนมากแล้วจบโดยไม่ไล่เบี้ยซึ่งไม่ได้เพราะเป็นเงินภาษีอากร. ที่สำคัญการไม่หาเหตุบกพร่องแล้วมีแค่จ่ายเงินเพื่อให้เรื่องจบ ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุ ความปลอดภัยผู้ป่วยจะพัฒนาไม่ได้.
3. ทีมกม ของรัฐบาล ตีกลับกม ดังกล่าว(พรบ คุ้มครอง ฉบับ สบส) แยะให้กลับไปพิจารณาใหม่ รวมทั้ง ให้สอบถามผู้เกี่ยวข้อง ก่อนเสนอ กม. ....ทำไมกรม สบส ไม่ทำตาม และยังเสนอมาช่องทางนี้อีก
4. กรมบัญชีกลางเคยให้ความเห็นในที่ประชุม กรม สบส แล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการจ่ายเงินหลวงโดยไม่สอบสวนหาสาเหตุ และหาว่าใครทำผิดหรือ ระบบมีปัญหา. แต่หากยืนยันจะทำ(จ่ายแบบno fault) ก็ควรกระบวนการไล่เบึ้ย (ล่าสุด มี แพทย์พยาบาล กท สธ โดนไล่เบี้ยไปแล้ว 4 คดี ตาม พรบ รับผิดทางละเมิด เป็นเงินเกือบ 20 ล้านบาท!!)
5. การลดโทษอาญา ภายหลังจ่ายเงิน ไม่จำเป็นต้องบัญญัติเพิ่มเติม เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุข เพราะมีบัญญัติไว้แล้วใน ปอ ปวอ. ดังนั้นการที่อ้างว่าร่างนี้มีการจ่ายเงินแล้วจะไม่ลงโทษ ก็เพื่อคนทำงานจะได้ลดโทษอาญา. จึงเป็นเรื่องหลอกลวง
6. ประเด็นจ่ายเงิน แล้วลดโทษอาญา. เป็นการบอกชี้ชัดว่า หลักการกม ไม่ตรงกับเนื้อหา ที่อ้างว่า no fault ถ้าไม่มีใครผิด ทำไมมีเรื่องคดีอาญา???? ทำไมต้องให้แพทย์ไปจ่ายเงินเพื่อหวังว่าศาลจะลดโทษ???

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10154961412791518


โดย: หมอหมู วันที่: 17 มกราคม 2560 เวลา:2:19:37 น.  

 
8 กันยายน 2559 17:34 น.
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข ณ ตอนนี้มีความ “ไม่รู้” หลายแง่มุม หากนำไปใช้โดยไม่แก้ไขแทนที่จะเป็นการเยียวยาผู้ป่วย อาจจะเป็นพิษร้ายต่อสังคมไทย
//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000090460

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย


นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ได้โพสต์เฟสบุ๊คในวันที่ 2 กันยายน กล่าวถึงความก้าวหน้า ของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ตามร่าง พ.ร.บ.นี้ที่กำลังอยู่ในการพิจารณาของกฤษฎีกา มีสาระสำคัญดังนี้คือ

ผู้รับบริการในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษา จะได้รับเงิน 2 ก้อน คือ

1. ก้อนที่หนึ่งเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตา ม.41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันฯ โดย ไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด
2. ก้อนที่สองเป็นเงินชดเชย จ่ายให้ผู้ได้รับผลกระทบฯจากการบริการ ยกเว้นผลที่เกิดขึ้นตามปรกติธรรมดาของโรคนั้น

ผู้เขียนเห็นว่า กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่เขียนขึ้นเพื่อช่วยผู้ที่ต้องพิการหรือตายหรือได้รับความเสียหายหลังจากการไปรับบริการสาธารณสุข โดยหลักการถือว่าเป็นกุศลผลบุญแก่ผู้ออกกฎหมายนี้อย่างยิ่ง อย่างไรก็ดีผู้เขียนจะขอเตือนว่ากฎหมายนี้ยังประกอบด้วยความไม่รู้ทางวิทยาศาสตร์หลายแง่มุม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องแก้ไขให้เสร็จก่อนที่จะนำมาใช้

ความไม่รู้ที่มีอยู่ได้แก่ 1 “ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อประกาศใช้” 2 “ไม่รู้ว่ารัฐจะต้องใช้เงินเท่าไหร่” 3 “ไม่รู้ว่าผู้ป่วยพิการหรือตายเพราะอะไร” และ 4 “ไม่รู้สถานการณ์ทางการแพทย์ของไทย”

1.“ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อประกาศใช้” สาเหตุสำคัญเพราะกฎหมายในลักษณะนี้โดยเฉพาะในก้อนที่หนึ่งหรือการไม่พิสูจน์ถูกผิด ไม่มีที่อื่นใช้ อันทีจริงการออกกฎหมายนโยบายระดับประเทศเป็นประเทศแรกของโลกนับว่าสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่ง หากจำเป็นต้องใช้กฎหมายนี้จริงผู้เขียนเห็นว่าควรมีการศึกษาในลักษณะสภาพเหมือนจริงเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

2.“ไม่รู้ว่ารัฐจะต้องใช้เงินเท่าไหร่” ในกรณีนี้ศึกษาได้ไม่ยาก โดยสามารถประเมินจาก ความพิการและการตายที่เกิดขึ้นในอดีตได้ ผู้เขียนขอเตือนว่าอย่าประมาท เชื่อหรือไม่ สาหตุการตายอันดับ 3 ในประเทศสหรัฐอเมริกาคือการตายจากการรักษาคลาดเคลื่อน (BMJ 2016;353:i2139) ดังนั้นหากใช้กฎหมายนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา เชื่อได้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาคงจะล่มจมเป็นแน่แท้

3.“ไม่รู้ว่าผู้ป่วยพิการหรือตายเพราะอะไร” หากทำตามเงื่อนไข ในก้อนที่ 1 สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดการล่มสลายของวิชาแพทย์เลยทีเดียว การเรียนรู้สาเหตุของความพิการและการตายของผู้ป่วยเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างยิ่งของการสร้างประสบการณ์และความรู้ในวิชาแพทย์ หากปล่อยให้มีการเยียวยาโดยไม่ต้องหาสาเหตุ สาเหตุดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการป้องกัน/แก้ไข ผลเสียก็จะเกิดกับผู้ป่วยรายต่อ ๆ ไป ไม่มีที่สิ้นสุด ผลกระทบร้ายแรงที่เกรงว่าจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีเรื่องเงินเกี่ยวข้องคืออาจเกิดกรณีคล้ายการฆ่าหรือฆ่าตัวตายเพื่อเอาเงินประกันชีวิต เช่น อาจรอให้ป่วยหนักก็รีบเอามาโรงพยาบาล พอตายก็ไปร้องขอเงินก้อนที่ 1 เพราะไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้เขียนไม่อยากจะจินตนาการ แต่หากเกิดขึ้นแทนที่ผู้ออก พ.ร.บ. จะได้เป็นผู้สร้างบุญกุศลเสมือนเป็นพระโพธิสัตว์กลับกลายเป็นผู้สร้างบาปกรรมเยี่ยงมารร้ายโดยไม่รู้ตัว ทั้ง 2 กรณีนี้ ได้แก่ การเกิดความผิดพลาดซ้ำๆ ซาก ๆ และความพยายามคล้ายการฆ่าหรือฆ่าตัวตายเพื่อเอาเงินประกันชีวิต เพื่อเงินก้อนที่ 1 สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาดหาก ออกกฎหมายให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องศึกษาวิจัยรายงานสาเหตุของความพิการและการตายแบบเป็นวิทยาศาสตร์ และ ห้ามมีการเยียวยาโดยไม่สืบสวนสาเหตุ

ผู้เขียนคาดเดาจากความปรารถนาดีของผู้ออก พ.ร.บ. ฉบับนี้ “เชื่อว่าน่าจะตั้งใจเยียวยาเมื่อมีความพิการและการตายของผู้ป่วยจากการรักษาอันเป็นเหตุสุดวิสัย” มากกว่า เช่น พิการหรือตายจากการแพ้ยาเมื่อได้รับยานั้นๆ ครั้งแรก หรือกรณีคลอดที่เกิดเหตุสุดวิสัยทั้งที่หมอได้รักษาตามมาตฐานแล้ว แต่ไม่สามารถยับยั้งไม่ให้เกิดความเสียหายได้ เช่นเกิดน้ำคร่ำรั่วเข้าสู่กระแสเลือดมารดาทำให้มารดาและทารกตายหรือกรณีการคลอดติดไหล่ ทำให้ทารกมีภาวะการขาดออกซิเจนแรกเกิดที่อาจส่งผลให้เด็กสมองพิการ เป็นต้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา บางรัฐมีการออกกฎหมายในลักษณะนี้เรียกว่า “การชดเชยโดยปราศจากความผิด (No Fault Compensation)” หากแก้กฎหมายตามนี้จะถือว่าเป็นการออกกฎหมายด้วยความเมตตาและด้วยปัญญาที่รู้และเข้าใจวิชาแพทย์อย่างแท้จริง

4. “ไม่รู้สถานการณ์ทางการแพทย์ของไทย” ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพแพทย์จะต้องได้รับใบอนุญาตที่เรียกว่า ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งในอดีตเรียกว่า “ใบประกอบโรคศิลป์” หมายความว่าการจะดูแลรักษาผู้ป่วยให้ได้ผลดีนั้นทั้งศาสตร์และศิลปะในการบริบาลผู้ป่วยมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น ผู้ป่วยแต่ละรายถึงแม้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเดียวกันแพทย์ก็อาจตัดสินใจรักษาด้วยแนวทางที่ต่างกันได้ แต่หากมีกฎหมายที่เข้มงวดจนเกินไป เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความผิดตามกฎหมายแพทย์อาจจะต้องส่งตรวจพิเศษทุกชนิด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ละเลยการตรวจพิเศษ ทั้งๆ ที่บางอย่างไม่จำเป็น จนอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้าจนเกินไป เช่น ตรวจร่างกายแล้วแพทย์เห็นว่าน่าจะเป็นไส้ติ่งอักเสบ แต่เพื่อให้มีหลักฐานยืนยัน 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องส่งไปทำ CT scan แต่ที่ ร.พ.นั้นไม่มีเครื่อง CT Scan ก็เลยต้องส่งผู้ป่วยไปอีก ร.พ.หนึ่ง จนอาจจะทำให้ผู้ป่วยไส้ติ่งแตก อาการหนักขึ้น หรือไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ต้องส่งผู้ป่วยไป ร.พ.จังหวัด ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วย “เสียเวลานาทีทองที่จะรอดชีวิต” เพื่อไม่ให้ “ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดในการรักษาผู้ป่วย”

นอกจากนี้ควรยอมรับความจริงว่า ความพร้อมในการวินิจฉัยและรักษาของแต่ละที่ในประเทศไทยมีความแตกต่างกัน การอนุญาตให้แพทย์ใช้ศาสตร์และศิลปะประกอบด้วยประสบการณ์หรือความชำนาญในการรักษาผู้ป่วยโดยไม่ต้องมีประกาศนียบัตรรับรองความเป็นผู้เชี่ยวชาญ และสร้างให้แพทย์สะสมประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากมีกฎหมายที่เข้มงวดจนเกินไป เชื่อได้ว่าความพิการและการตายของผู้ป่วยจากการเสียเวลาในการตรวจพิเศษ และ ค่าใช้จ่ายในการรักษาจะเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัว ประมาณการณ์เทียบต้นทุนในการบริบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา

โดยสรุป ผู้เขียนเห็นความสำคัญและเข้าใจถึงความหวังดีของผู้ที่ต้องการออก พ.ร.บ. ฉบับนี้ แต่อยากจะขอให้เพิ่มความรอบคอบ ศึกษาความไม่รู้ทั้ง 4 ข้อนี้ให้ถี่ถ้วน แล้ว พ.ร.บ. ฉบับนี้จะเป็น พ.ร.บ. ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งแก่สังคมไทยของเรา


โดย: หมอหมู วันที่: 17 มกราคม 2560 เวลา:16:42:49 น.  

 
พรุ่งนี้ (16 มค.60) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จะเสนอ "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการได้รับบริการทางสาธารณสุข พ.ศ. .."

เข้าสภา (ไม่ใช่จาก คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สปท.นะครับ) ส่วนเนื้อหาเป็นอย่างไรขอโหลดมาอ่านก่อนนะครับhttps://edoc.parliament.go.th/Meeting/MeetingViewer.aspx?id=385

https://www.facebook.com/ittaporn/posts/1318962438164559?pnref=story

ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ สธ. ฉบับ สปท.
https://www.facebook.com/ittaporn/media_set?set=a.1319098424817627.1073743885.100001524474522&type=3&pnref=story


โดย: หมอหมู วันที่: 20 มกราคม 2560 เวลา:21:21:35 น.  

 
Thiravat Hemachudha

คนทั่วไปอาจไม่เข้าใจ ว่าหมอในรพ รัฐ ขณะนี้ ถ้ามีอาชีพอื่นทำได้คงไปหมดแล้ว แต่ไม่แน่อยู่เฉยๆ อนาคตอันใกล้ อาจนอนอยู่บ้านดีกว่า ดูคนไข้หนักวันละ 30-40 คน ตรวจคนไข้นอก 50-60 นอนไม่ได้นอน ทำงานต่อเนื่อง วันแล้วปีเล่า พลาดถูกจับ ถูกฟ้อง จ่ายเงิน เป็น ล้าน หรือหลายล้าน เงินเดือนหมอต่างจังหวัด เท่านี้ ครอบครัวก็มี คนไข้หนักเป็นอะไรก็ไม่รู้ แต่ต้องหาย
ถ้าจะด่าดูสภาพก่อน ทางกฏหนายเคยเข้าไปดูสภาพมั้ย ว่าหดหู่แค่ไหน
นี่คือระบบที่คนถืออำนาจทำเพื่อหาเสียง ตัวเองหน้าตาหล่อสวย บนความทุกข์ของคนทำงาน นี่คือรพ รัฐ ไม่ใช่รพ เข้าตลาดหลักทรัพย์ ชาร์จ เงินคนไข้ ยาไม่มี เครื่องมือไม่พอรักษาคนป่วยต้องไปขอเรี่ยราย มาให้คนไข้
จะให้เป็นสังคนไร้นำ้ใจ ตัวใครตัวม้น อีกหน่อยไม่มีหมอ เข้า รพ เอกชน ให้เขางาบงับเอาเอง

ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ
คนเข้าประชุม 151

เห็นชอบ 48
ไม่เห็นชอบ 26
งดออกเสียง 77

มติประวัติศาสตร์ ไม่ออกเสียงมากกว่า 2 มติ 74 และ ไม่ออกเสียง 77 มากกว่า หลังอภิปรายยาวนานสรุปให้ถอนเรื่องคืนครับยังไม่ส่งต่อรัฐบาลอีกหนึ่งเดือนพิจารณาใหม่
ประเด็นโต้แย้งเพิ่มเติม สำหรับสมาชิก สปท เพื่ออภิปรายบ่ายนี้
(ร่าง พรบ คุ้มครองฉบับ กรม สบส)

(1) ธรรมาภิบาลในการเสนอ กม
ไม่ผ่าน กรรมาธิการสาธาณสุข ทั้งๆ ที่ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องโดยตรง

(2) รับเงินแล้วจบทั้งแพ่งและอาญา จริงหรือ?

ไม่จริง. เหตุผลดังนี้

1. ที่ประชุมกฤษฎีกาคณะพิเศษ (ประกอบด้วย อดีตประธานศาลฎีกา. อดีตอัยการสูงสุด (เรวัต ฉ่ำเฉลิม). ผู้พิพากษาศาลฎีกา อดีตนายกสภาทนายความ เป็นต้น) ให้ความเห็นแล้วว่า การรับเงินไม่ว่าจะเอาเงินมาจากไหน ไม่เป็นเหตุให้คดีอาญาระงับได้. ขัดหลักกม.ประเทศและสากล. ระงับสิทธิฟ้องได้เฉพาะ แพ่ง เท่านั้น
2. ทีมงาน กม ของ รัฐบาล (ดร วิษณุ เครืองาม) ตีกลับร่าง พรบ ของ สบส กลับมาที่ กม สธ ระบุว่า ร่างนี้ มีหลายมาตราทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ อาทิ เช่น สิทธิการฟ้องคดีอาญา. การจ่ายเงินจำนวนมากแล้วจบโดยไม่ไล่เบี้ยซึ่งไม่ได้เพราะเป็นเงินภาษีอากร. ที่สำคัญการไม่หาเหตุบกพร่องแล้วมีแค่จ่ายเงินเพื่อให้เรื่องจบ ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุ ความปลอดภัยผู้ป่วยจะพัฒนาไม่ได้.
3. ทีมกม ของรัฐบาล ตีกลับกม ดังกล่าว(พรบ คุ้มครอง ฉบับ สบส) แยะให้กลับไปพิจารณาใหม่ รวมทั้ง ให้สอบถามผู้เกี่ยวข้อง ก่อนเสนอ กม. ....ทำไมกรม สบส ไม่ทำตาม และยังเสนอมาช่องทางนี้อีก
4. กรมบัญชีกลางเคยให้ความเห็นในที่ประชุม กรม สบส แล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการจ่ายเงินหลวงโดยไม่สอบสวนหาสาเหตุ และหาว่าใครทำผิดหรือ ระบบมีปัญหา. แต่หากยืนยันจะทำ(จ่ายแบบno fault) ก็ควรกระบวนการไล่เบึ้ย (ล่าสุด มี แพทย์พยาบาล กท สธ โดนไล่เบี้ยไปแล้ว 4 คดี ตาม พรบ รับผิดทางละเมิด เป็นเงินเกือบ 20 ล้านบาท!!)
5. การลดโทษอาญา ภายหลังจ่ายเงิน ไม่จำเป็นต้องบัญญัติเพิ่มเติม เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุข เพราะมีบัญญัติไว้แล้วใน ปอ ปวอ. ดังนั้นการที่อ้างว่าร่างนี้มีการจ่ายเงินแล้วจะไม่ลงโทษ ก็เพื่อคนทำงานจะได้ลดโทษอาญา. จึงเป็นเรื่องหลอกลวง
6. ประเด็นจ่ายเงิน แล้วลดโทษอาญา. เป็นการบอกชี้ชัดว่า หลักการกม ไม่ตรงกับเนื้อหา ที่อ้างว่า no fault ถ้าไม่มีใครผิด ทำไมมีเรื่องคดีอาญา???? ทำไมต้องให้แพทย์ไปจ่ายเงินเพื่อหวังว่าศาลจะลดโทษ???

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10154961412791518

"""""""""""""""""""




โดย: หมอหมู วันที่: 20 มกราคม 2560 เวลา:21:22:08 น.  

 
"""""""""""""
Thiravat Hemachudha ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 4 ภาพ
https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10154958765611518

การแก้ปัญหาโดยการออก พรบคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบโดยไม่เคยพิจารณาข้อเท็จจริง ทำไมเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ไม่ได้ดูภาวะงานล้นมือ ขาดคน ขาด ความรู้ ขาดประสบการณ์ การกล่าวโทษ ง่าย ดูย้อนหลังง่าย แต่ถ้าขณะนั้นมีคนไข้หนัก 20 ราย ผู้รักษาไม่ได้นอนมา 2 วัน ยาที่อยากใช้ ไม่มีไม่เข้าเกณฑ์ สปสช แล้ว เกิดเรื่อง โทษคนให้การรักษา กรองคนดีออกจากระบบ ไปเรื่อยๆ เถอะครับ แล้วให้ รพ เอกลนเป็นใหญ่ หมดเงินพี่งรัฐ เสียหายกล้าวโทษ
จับตาดูกระบวนการที่จะเกิดขึ้น

(16 มค.60) คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จะเสนอ "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการได้รับบริการทางสาธารณสุข พ.ศ. .."
เข้าสภา (ไม่ใช่จาก คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สปท.) ส่วนเนื้อหาเป็นอย่างไรขอโหลดมาอ่านก่อนนะครับ

https://edoc.parliament.go.th/Meeting/MeetingViewer.aspx…
พรบ คุ้มครอง ผู้เสียหาย ตระกูล ส หนีไป ออกโดย กมธ.สังคม โดยหมออำพล แทน สาธารณสุข ที่ไม่เห็นด้วย
เดาว่าสังคมไม่ค่อยรู้รายละเอียด
ไม่มีธรรมาภิบาล เพื่อแก้ปัญหา และไม่ยุติการฟ้อง

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10154958765611518

............................


โดย: หมอหมู วันที่: 20 มกราคม 2560 เวลา:21:22:35 น.  

 
Thiravat Hemachudha
https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10154970369736518

คุณูปการของ สปท. ต่อกรณี พรบนิรโทษกรรมสุดซอย ๑๖ มค. ๖๐

ผศ.นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (กรรมการแพทยสภา)
?เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๐ ได้มีมติประวัติศาสตร์ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท) ในคว่ำ(แบบชั่วคราว) ร่างกฎหมายชื่อ “พรบ. คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข” ด้วยมติเห็นด้วยน้อยกว่าครึ่ง (๔๘ เสียง) เมื่อเทียบกับมติงดออกเสียงและไม่เห็นด้วยที่มีมากถึง ๑๐๓ เสียง
ร่างนี้ก่อนจะเปลี่ยนชื่อนามสกุลเพื่อปลุกผีมาอีกรอบ เคยปรากฎในชื่อว่า “พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” และได้ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากหลายภาคส่วนโดยเฉพาะบุคลากรสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องนอกวงการแพทย์ที่เข้าใจถึงสภาพปัญหาของระบบสาธารณสุขไทยที่นับวันจะสาละวันแย่ลง เหตุเพราะการจัดสรรทรัพยากรการแพทย์แบบจำกัดจำเขี่ย แต่จะเอาผลเลิศ แต่สิ่งเห็นตำตาคือ ผู้ป่วยหาเตียงนอนไม่ได้ การรักษาต้องรอคิวนัดตรวจนัดผ่าตัดค่อนปี ยาที่จัดสรรแบบเน้นราคาถูกไว้ก่อน หายช้าหายเร็วเป็นเรื่องที่คนรักษาต้องเป็นแพะไปแก้ตัวกับผู้ป่วยเอาเอง ที่สำคัญและชัดเจนตามตัวเลขสถิติคือ หลายโรงพยาบาลส่อแววเจ๊ง ติดหนี้บริษัทยา บริษัทเครื่องมือแพทย์ จนดาราทนไม่ได้ต้องออกมาวิ่งหาเงินให้ รพ.เองไหนจะต้องจัดกอฟล์การกุศล ต้องไปกราบหลวงปู่หลวงพ่อเพื่อเป็นประธานหาเงินอุดหนุน ทั้งหมดเพราะเงินน้อยนิดที่เขาจัดสรรเอาไว้ให้ใช้รักษาผู้ป่วย กลับถูกเอาเบียดยังด้วยสารพัดวิธี เช่นการคำนวณให้ต่ำกว่าต้นทุนจริง และยังเอาไปปู้ยี่ปู้ยำเป็นค่าบริหาร ค่าเงินเดือนแสนแพง ค่าจัดตั้งสารพัดกองทุนในเครือ บริษัทตระกูล ส.(มหาชน) ค่าเดินทาง ค่าส่งคนไปดูงานไปเรียนต่างประเทศ ค่าโบนัส (เป็นเรื่องตลกร้ายมาก ที่บริษัทในเครือเหล่านี้ไม่มีความสามารถในการหาเงิน แต่กลับมีโบนัสได้!!) โดยอ้างเหตุผลสารพัดแบบศรีธนญชัยในการโยกเงินรักษาไปปรนเปรอคนในสังกัด แต่กลับปล่อยให้โรงพยาบาลติดหนี้ค่ายาค่าเครื่องมือแพทย์ และโดนคนไข้ด่าอยู่ทุกวัน
?ความจริงแล้วร่างนี้ไม่ต่างอะไรกับ พรบ.นิรโทษสุดซอยที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ คสช. ออกมาทำรัฐประหาร เหตุเพราะสร้างความแตกร้าวอย่างรุนแรงระหว่างคนสองฝ่ายและส่อแวว่าจะเกิดความรุนแรงตามมา โดยกลุ่มคนเบื้องหลังดังกล่าว อ้างความเป็นคนดีผูกขาดของเครือข่าย ออกกฎหมายดูดเงินสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ไปร่วมจัดตั้งกองทุน เอาคนไข้เป็นตัวประกัน โดยโยนบาปในนามว่า “ความเสียหาย” ให้กับคนรักษาที่ถูกยัดเยียดข้อหาว่า “เป็นผู้ก่อความเสียหาย” และเพื่อที่จะให้คนที่ไม่รู้ตื้นลึกหนาบาง ยกมือให้การสนับสนุนกฎหมาย ก็ใช้เล่ห์เหลี่ยมแบบเดียวกับการผลักดัน พรบ.นิรโทษกรรมทางการเมืองดังกล่าว อาทิเช่น ตั้งชื่อให้ดูดี แต่เนื้อในเมื่อไปอ่านรายมาตรา (ซึ่งน้อยคนนักที่จะอ่านหมดและวิเคราะห์อย่างละเอียด)กลับพบว่า “ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง” เพราะเนื้อหาคนละเรื่องกับชื่อกฎหมาย การอ้างเหตุปรองดองระหว่างสองฝ่าย แต่ไหงยิ่งผลักดันยิ่งมีคนต่อต้านและทะเลาะกันหนักถึงขนาดโรงพยาบาลและคนรักษาติดโบว์ดำขึ้นคัดเอาท์ประท้วงทั่วประเทศ แบบไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การแพทย์ไทย ที่น่าเกลียดที่สุดคือ การใช้เล่ห์เหลี่ยมทางการเมืองมาผลักดันกฎหมายนี้แบบไร้..... หรือที่ภาษาทันสมัยเขาใช้คำว่า “ขาดธรรมาภิบาล” กล่าวคือ พรบ.นี้เป็นเรื่องสาธารณสุขโดยตรง แต่กลับไปยัดไส้ผ่าน “กรรมาธิการด้านสังคม สปท.” และยื่นแบบเงียบ ๆ ไม่เปิดให้คนเกี่ยวข้องมีโอกาสได้อภิปรายแบบโปร่งใส แบบนี้จะไม่เรียก ศรีธนญชัย แล้วจะเรียกอะไรดี ไม่รู่ว่า คนชงเกี่ยวอะไรกับบริษัท ส.มหาชน หรือไม่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะบุคลากรของเครือบริษัทนี้ “เก่งทุกแบบ เชี่ยวชาญทุกแขนง แบบไม่ต้องมีคุณวุฒิรองรับ” เพราะวันนี้เก่งเรื่องยาพรุ่งนี้กลายเป็นเกษตรกร วันนี้เป็นเก่งแพทย์แผนไทยพรุ่งนี้เชี่ยวชาญเรื่องคนแก่ ย้ายเก้าอี้ไปกินเงินเบี้ยเลี้ยงสลับไปมาแบบไม่อายประชาชี อยากรู้รายละเอียดว่า ร่างพรบ.นี้ เหมือนกับ พรบ.นิรโทษกรรมสุดซอย อย่างไร ดูตารางประกอบได้เลย
?เหมือนพระสยามเทวาธิราชมีจริง ยังไม่ต้องการให้คนไข้เดือดร้อนมากไปกว่านี้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีตัวแทนบุคลากรสาธารณสุขอยู่ในที่ประชุมวันนั้น ข่าวการพิจารณากฎหมายก็ไม่ได้เพร่งพรายออกนอก สปท. แต่ยังมีท่านสมาชิก สปท. หลายท่านที่เป็นบัวพ้นน้ำ ช่วยเป็นปากเป็นเสียงให้คนไข้ คนรักษา และโรงพยาบาลตาดำ ๆ ที่ใกล้ล้มละลายเต็มแก่ ทำให้ร่างนี้หยุดเดินหน้าชั่วคราว แต่เดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงก็คงไม่พ้นถูกจับยัดมาใหม่ เชื่อว่าระหว่างนี้คงมีการล้อบบี้สุดชีวิตด้วยข้อมูลที่ครึ่งเท็จครึ่งจริงตามวิธีถนัดแบบเดิม ๆ หวังว่า ๗๗ เสียงที่ยังเป็นกลางด้วยการงดออกเสียง จะช่วยทำสิ่งที่ถูกต้องให้กับวงการสาธารณสุขไทย อย่าให้สิ่งที่ “สมเด็จพระราชบิดา” ทรงสร้างรากฐานมากับมือ และได้รับการสานต่อมาในตลอดรัชสมัยที่ผ่านไป พังทลายลงเพราะความเห็นแก่เงินของใครบางคน ที่ไม่รู้จักพอ แม้ว่าปัจจุบันบริษัทนี้จะได้คุมเงินผ่านบริษัทในเครือหลายแสนล้านบาทมานับสิบปี แต่แม่น้ำแห่งตัณหาก็ไม่เคยเติมเต็ม ... “นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.”





โดย: หมอหมู วันที่: 20 มกราคม 2560 เวลา:21:23:16 น.  

 
สปท.ค้านออก กม.ดึงเงินบัตรทองร่วมตั้งกองทุนผู้เสียหาย

https://www.hfocus.org/content/2017/01/13310
Thu, 2017-01-19 11:47 -- hfocus

สปท.ค้านวิธีปฏิรูประบบสาธารณสุข ปมออกกฎหมายล้วงเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ งัดมติงดออกเสียงมากกว่าเห็นด้วย จน กมธ.ยอมถอย ขอแก้ไขก่อนชงใหม่ 30 วัน

เว็บไซต์ไทยรัฐรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ม.ค.60 ที่ประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) มีความเห็นชอบร่วมกันให้ถอนรายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่องการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข และร่าง พ.ร.บ จำนวน 3 ฉบับได้แก่

1.ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....

2.ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ....

และ 3. ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ.

ตามที่ นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ สมาชิก สปท.ในฐานะประธานคณะ กมธ.เสนอต่อที่ประชุม

ทั้งนี้ การถอนรายงานฉบับดังกล่าว สืบเนื่องมาจากกรณีที่สมาชิก สปท.จำนวนมากไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว โดยเฉพาะการตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข ที่นำเงินส่วนหนึ่งมาจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพราะปัจจุบันโรงพยาบาลจำนวนมาก มีปัญหาเรื่องสถานะทางการเงิน ซึ่งจำเป็นต้องนำเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาช่วยอุ้มสถานะทางการเงินของโรงพยาบาลด้วย

อีกทั้งยังมีข้อสงสัยว่า เมื่อกรณีที่มีการนำเงินของกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข ไปจ่ายให้กับผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์แล้ว จะมีการฟ้องร้องแพทย์และพยาบาลโดยตรง เพื่อเรียกค่าเสียหายได้อีกหรือไม่

อย่างไรก็ตาม คณะ กมธ.ฯ ได้ชี้แจง โดยยืนยันว่าข้อเสนอของคณะ กมธ.ฯ มาจากการแสดงความคิดเห็น จากตัวแทนสภาวิชาชีพอย่างหลากหลายแล้ว จึงไม่ได้เป็นการคิดขึ้นเองของคณะ กมธ.ฯ แต่อย่างใด แต่สมาชิก สปท.ท้วงติงว่า กระบวนการจัดการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องนี้ ควรทำอย่างรอบด้าน โดยเชิญผู้มีส่วนได้เสียมาให้ข้อมูล และจัดประชุมอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่แค่เชิญตัวแทนมาพบคณะ กมธ.เท่านั้น จึงเห็นว่าคณะ กมธ.ฯ ควรถอนรายงานออกไปเพื่อไปทบทวนใหม่ แต่คณะ กมธ.ฯยืนยันที่จะให้ที่ประชุม สปท.ลงมติในรายงานดังกล่าว

ต่อมา น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ รองประธาน สปท.คนที่ 2 ในฐานะประธานการประชุมดำเนินการให้ที่ประชุม สปท.ลงมติว่า จะเห็นชอบกับรายงานฉบับนี้หรือไม่ โดยปรากฏว่าที่ประชุมมติเห็นด้วย 48 เสียง ไม่เห็นด้วย 26 เสียง งดออกเสียง 77 เสียง ผลมติที่ออกมาทำให้สมาชิก สปท.เสนอให้รองประธาน สปท.ตีความว่าในกรณีที่มีคะแนนงดออกเสียงมากกว่าคะแนนเห็นด้วย จะถือว่า สปท.มีมติในเรื่องนี้อย่างไร

ทั้งนี้สมาชิก สปท.ได้มีการเสนอให้ลงมติใหม่อีกครั้ง แต่คณะ กมธ.เห็นว่าไม่ต้องลงมติใหม่ เพราะในเมื่อคะแนนเสียงเห็นด้วยมีมากกว่าคะแนนไม่เห็นด้วย ต้องถือว่าที่ประชุม สปท.ได้เห็นด้วยกับรายงานของคณะ กมธ.แล้ว

สุดท้าย นายอโณทัย จึงได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า จะขอถอนรายงานดังกล่าวไปปรับปรุงตามข้อเสนอของสมาชิก สปท.และนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมใหม่ ภายใน 30 วัน

ที่มา: //www.thairath.co.th


""""""""""""""


โดย: หมอหมู วันที่: 20 มกราคม 2560 เวลา:21:24:11 น.  

 
"กฎหมาย "สามพี่น้อง" รักพี่สาวใจดี แต่น้องสองคนโหดเกินไป"

ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย คือกฎหมายที่มีเนื้อหาซ้อนกัน 3 วง เมื่อเกิดความเสียหาย

วงที่ 1 เงินช่วยเหลือผู้เสียหาย แบบ ม. 41 มีกฎหมายเดิมอยู่แล้ว ช่วยคนได้มาก จนประจักษ์ มีในทั้ง 30บาท (48ล้านคน) และประกันสังคมที่กฎหมายออกแล้วกำลังเริ่มใช้ (12ล้านคน) ขาดแต่ข้าราชการไม่เยอะ (4.8ล้านคน) ที่ควรขยายต่อให้ครบ เอกชนไม่เกี่ยว

แต่คนผิดยังฟ้องศาลได้ตามสิทธิประชาชน ซึ่งลดการฟ้องร้องลงมากมายแล้ว---ทุกคนเห็นด้วยกับการช่วยเงิน แม้ NGO จะโจมตีว่าฝ่ายแพทย์ไม่เห็นด้วย ล้วนไม่จริง ช่วยคนเสียหายใครๆก็เอา เพราะทุกคนเห็นร่วมกันคือไม่อยากให้มีการฟ้อง หรือแม้แต่ ร้องเรียน เอาเวลาไปดูคนไข้ดีกว่า

วงที่ 2 เกี่ยวกับคนทำงาน คือแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และทุกวิชาชีพ ที่มี พ.ร.บ.ของตนเอง และมาตรฐานการรักษา ซึ่งการพิสูจน์ถูกผิด เรื่องใหญ่มาก และซับซ้อน ต้องกระทบกฎหมายมาตรฐานวิชาชีพอย่างน้อย 5 สภา โดยปกติมีกระบวนการพิสูจน์ เยอะมาก จากแต่ละสภาวิชาชีพ มีข้อบังคับจริยธรรมทุกสภา มีราชวิทยาลัยกำกับ มีการตั้งคดี สอบสวน และลงโทษ ที่ยกเลิกไม่ได้ ถอนฟ้องไม่ได้

ปัญหาคือสภาวิชาชีพต้องพิสูจน์ถูกผิด เมื่อมีเรื่องร้องเรียน และหากถูกมาตรฐาน คณะกรรมการจะยกฟ้อง ส่วนคนผิด เพราะตั้งใจเจตนาทำผิด ร้ายแรง สภาวิชาชีพต้องลงโทษ ตามระดับ ยกเว้นไม่ได้ กฎหมายใหม่นี้ออกมาขัดหลักความจริง ที่รับ"ไม่ได้" ไม่พิสูจน์ถูกผิด แล้วคนถูกจะบริสุทธิ์ ได้อย่างไร และคนผิดจะลอยนวลได้หรือ .. จะจ่ายปิดปากคนฟ้องทุกคนดูน่าแปลก

และยังเขียนว่าถ้ารักษาถูกต้อง เป็นตามโรค และการรักษา ไม่จ่ายเงินชดเชยนี้ ..แล้วถ้าไม่พิสูจน์ จะทราบได้อย่างไร หรืออาศัยแค่กล่าวโทษ และประมาณการตัดสินกันบนโต๊ะ โดยกรรมการที่มีภาคประชาชน แล้วจ่าย เงิน ดูแปลกไปอีกเพราะเงินหลวง ข่าวว่าการไล่เบี้ยยังทำได้ ยิ่งไปกันใหญ่

ดังนั้นคนที่เสียหาย มาขอรับเงินต้องมี"ข้อหา" มาด้วยใช่หรือไม่ คือต้องมีข้อจับผิด(แพะ)มา ว่าพลาดยังไง หมอมาช้า พยาบาลรักษาไม่ถูก ..แล้วการรักษาจะเดินต่ออย่างไร ..แค่คำร้องเรียนว่าหมอ พยาบาลผิดอย่างไร เพื่อรับเงินช่วยเหลือที่เพิ่มขึ้นมหาศาล ไม่ต้องถึงฟ้องศาล วงการแพทย์รัฐ ก็ล่มแล้วครับ

ต่างประเทศมีหลายโมเดล บางที่ใช้การพิสูจน์ถูกผิด แต่ไม่เอาผิดตัวบุคคล เว้นจงใจเจตนา ทุรเวช รัฐรับผิดชอบเพราะถือว่าเป็นเจ้าของระบบ และเร่งไปพัฒนาระบบ โดยเงินจะจ่ายเพื่อเป็นการดูแลตัวคนที่พิการ ที่เสียหายผ่านกลไกที่ยั่งยืน เป็นรายเดือน มีการติดตามช่วยเหลือต่อเนื่อง ถือว่าเป็นคนพิการ"ของรัฐ" อาจดูแลในสถานดูแลคนพิการ ของ รัฐเช่นพม.เพราะเชื่อว่าการจ่ายเงินก้อน ใช้ไม่นานหมด เขาจะลำบากระยะยาว และต้องมีหมอดูแลตลอดชีวิต

มีตัวอย่างให้ได้ยินเสมอๆว่าพอเงินชนะคดีหมด จากซื้อของ แบ่งลูกหลาน แบ่งทนาย แต่เขาต้องมารักษากับหมอในจังหวัดเดิม ทีมเดิม ที่เขาฟ้องไป ต่อเนื่อง โดย 30บาท แต่ความสัมพันธ์ก็เปลี่ยนไป แม้หมอ พยาบาล จนท.ส่วนใหญ่ยังคงเมตตาดูแลให้ แต่รอยร้าว ย่อมเป็นตราบาปในใจคู่ขัดแย้งที่แก้ไขยาก..

ดังนั้นแก้ปัญหาระยะสั้นจ่ายเงินในวงที่ 1 อาจสร้างปัญหาระยะยาวในวงที่ 2 อันตรายมากๆ ต้องป้องกัน

วงที่ 3 เรื่องของสถานพยาบาล ที่ไม่พร้อม ขาดแคลน หมอ พยาบาล เตียง เครื่องมือ คนยังต้องเข้า รพ.รัฐ เพราะทุกคนมีสิทธิฟรีเท่าเทียม แต่กลับเข้าไม่ถึง เข้าไม่ได้ ไม่มีคนรับผิดชอบโดยตรงในการหาที่ให้รักษา จาก คิวรักษายาว คิวผ่าตัดยาวนาน เตียงไอซียูไม่มี ห้องคนไข้หนักไม่มี ตู้อบเด็กไม่พอ ห้องผ่าตัดเปิดไม่ได้ต้องส่งต่อ ไป รพ.ใหญ่ จนอาจตายกลางทาง เรื่องจริงของความขาดแคลนทั้งนั้น

ตราบใดที่ รัฐไม่สามารถสร้าง รพ.ศิริราช รามา ราชวิถี ในทุกจังหวัดได้ ด้วยงบมีจำกัดมากๆ จ่ายค่าตอบแทน(ที่ไม่ใช่เงินเดือน) หมอพยาบาลยังไม่พอในหลายที่ เพราะความไม่เพียงพอ ซ้ำไม่สามารถอธิบายให้ทุกคนเข้าใจได้ ความเสียหายบนความไม่เข้าใจระบบการรักษาต้องมีต่อเนื่องแน่นอน จากความบกพร่องของระบบในโลกความเป็นจริง

กฎหมายใหม่จะ อ้างกันงบกองทุนไว้พัฒนาอย่างไรก็เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ที่ทำได้ยาก ยิ่งบางฉบับมีบทให้ลงโทษ รพ.ขาดแคลนเหล่านั้นโดยเรียกเก็บเงินเพิ่ม ยิ่งเจ้งสนิท เอาเงินไปแก้ปัญหาต้นทางก่อนน่าจะดีที่สุด

แค่ประเทศไทยมี รพ. และบุคลากรที่เสียสละไปดูแลคนไข้ที่ห่างไกล ในชุมชนกับพี่น้องประชาชนชนบทได้ก็ยอดเยี่ยมแล้ว ถ้าออกกฎหมายเชิงลงโทษแบบนี้มา รพ.เล็กที่ขาดแคลนทำงานบกพร่องแน่ๆ ..เว้นไม่กล้าทำการรักษา ส่งต่อรพ.ใหญ่เลย แบบที่ผ่านมา เพราะไม่รักษา ย่อมไม่ผิดพลาด ระบบเล็กๆจะล่ม ตามๆกัน ท้ายสุดชาวบ้านจะพึ่งใคร

วงสามต้องทำบนพื้นฐานความจริง ที่ทำให้ รพ.รัฐอยู่ได้ และประชาชนได้รับการดูแลแบบสมดุลย์ ใช้ยาแรงไปอันตราย

ปัญหา กฎหมายสามวง สามพี่น้อง ที่พี่สาวใจดีเหลือหลาย แต่น้องชายมหาโหด จึงจบยาก

บางคนเอามาปรักปรำ คนที่คิดต่างว่าไม่อยากช่วยคนไข้ เพราะวงแรกที่แสนใจดี(แจกเงินปิดปากปิดคดี) นั้นไม่จริง ใครๆก็อยากช่วยกันทุกคน มีเงินมากช่วยไปเลยครับ

แต่วงสอง(หาแพะประกอบการเบิกในคำร้องเรียน) และ วงสาม(ปรับเงินเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลที่ไม่พร้อมที่เกิดคดี) ต่างหากนำไปสู่จุดล่มของระบบสาธารณสุขไทยในภาครัฐ ที่ทุกคนห่วง ..

ที่เราอยากได้คือลดการร้องเรียนหมอ ให้หมอดีๆ บนความขาดแคลนกลับไปทำงาน

แต่ที่นักกฎหมายรับไม่ได้ คือ หมอที่เจตนาทุรเวช แล้วลอยนวล รอดจากกฎหมายนี้ คนที่ผิดต้องถูกลงโทษ ที่ผ่านมาระบบต้องการช่วยคนที่ทำถูกต้อง แต่เสียหายเพราะป่วยแล้วไปรักษาในระบบรัฐ ที่ระบบที่ไม่พอเพียง หรือเครื่องมือ ยา ไม่มี คนไม่พอดูแล มากกว่าไม่ใช่หรือ

เป้าหมายหลักเราต้องการ "ลดการร้องเรียน" ที่ประทะกัน เราจึงต้องมีการไกล่เกลี่ยในทุกโรงพยาบาล

กฎหมายใดเพิ่มการร้องเรียน เพราะรับเงินได้ง่ายและเร็ว แม้จะลดการฟ้องร้องถึงชั้นศาล ก็ย่อมผิดวัตถุประสงค์

หมอ พยาบาล จนท.รัฐ หมดกำลังใจ ตั้งแต่ถูกร้องเรียนได้ง่ายๆในความผิดเรื่องที่ไม่ได้ทำเพื่อขอรับเงินแล้วครับ โปรดช่วยกันหาทางออกด้วยนะครับ

กฎหมายแบบบังคับรับ "สามพี่น้อง" นี่ แม้พี่จะแสนดีเพียงใด หากไม่แก้ไขน้องให้เหมาะสมตามจริง ระบบการฟ้องร้องคงไม่ขึ้นจากเหวแน่นอน

หมออิทธพร
25.01.2560

https://www.facebook.com/ittaporn/posts/1328492180544918


โดย: หมอหมู วันที่: 25 มกราคม 2560 เวลา:17:28:15 น.  

 
งานรักษาพยาบาลทางการแพทย์ของรัฐเป็นบริการสาธารณะ (Public Services) ไม่ใช่บริการธุรกิจ (Business Services)

Chalermpol Waitayangkoon 14สิงหาคม2560
https://www.facebook.com/chalermpol.waitayangkoon/posts/10212509035133311

หลายครั้งที่เห็นภาพผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุต้องหามเข้าโรงพยาบาลพร้อมๆกันนับสิบๆคนเช่นอุบัติเหตุรถยนต์ชนประสานงา ผู้ได้รับบาดเจ็บร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดทรมานจากบาดแผล เจ้าหน้าที่แพทย์พยาบาลบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีทั้งหมด ไม่ว่าอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่หรือนอกเวลางานก็ต้องระดมกำลังเข้ามาช่วยกันดูแลรักษาพยาบาล ไม่มีใครอยู่นิ่งๆโดยอ้างว่าไม่ใช่เวรทำงาน หรือนอกเวลาทำงาน

นี่เป็นตัวอย่างของการดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยที่นอกเหนือคำพูด...เป็นการระดมสรรพกำลังเพื่อช่วยชีวิตในสภาวะเร่งด่วนที่มิใช่ทำเพราะแค่มีหน้าที่ให้บริการ...

บางทีก็อดคิดไม่ได้ในหลายอาชีพที่คล้ายๆกัน เช่นพนักงานดับเพลิงที่ไปดับเพลิงที่กำลังลุกไหม้ช่วยชีวิตคนที่ติดอยู่ในอาคาร เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไปช่วยงานสาธารณภัย เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ไปช่วยประชาชนที่ถูกน้ำท่วมไฟไหม้ และงานอีกมากมายของเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปดูแลสาระทุกข์สุขดิบของประชาชน...งานเหล่านี้โดยเนื้อหาแล้วถ้าถือว่าเป็นงานบริการและหากเกิดผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือได้รับบาดเจ็บต่อชีวิตร่างกายหรือเสียชีวิต ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐเหล่านั้นไม่ต้องรับผิดชอบในฐานะผู้ให้บริการ...

ที่จริงก็พอมีคำตอบ นั่นก็คือสิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐทำให้ประชาชนมันไม่ใช่แค่บริการ (services) แบบเอกชนที่เป็นเรื่องต่างตอบแทน ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ และต่างก็มีสิทธิที่จะให้บริการหรืองดเว้นการให้บริการได้... แต่การให้บริการของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการให้บริการภาครัฐที่เรียกว่า public services ที่ต้องทำ ไม่สามารถงดเว้นการให้บริการได้เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐ และการบริการนั้นก็ไม่ใช่เรื่องต่างตอบแทนดังเช่นบริการทางธุรกิจ หรือ business services

ดังนั้นการให้บริการของรัฐจึงไม่ควรเป็นการให้บริการตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และไม่ควรตกอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค อย่างที่ตีความกันอยู่ในปัจจุบัน...

สิ่งที่นอกเหนือการให้บริการแบบธุรกิจอีกอย่างหนึ่งคืองานบริการของรัฐเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนภายในชาติมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยลง งานบริการของรัฐหรือ public services จึงไม่ควรอยู่ในบังคับของกฎหมายธุรกิจการให้บริการอย่างสิ้นเชิง...

เรื่องเหล่านี้ น่าจะเป็นเรื่องที่รัฐจะต้องสร้างความชัดเจนโดยกำหนดกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งที่ต่างจากการขัดแย้งในเชิงธุรกิจ ไม่ควรให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีเช่นเดียวกับการดำเนินคดีทางธุรกิจ ยกเว้นเป็นเรื่องระหว่างเอกชนผู้ให้บริการทางการแพทย์กับเอกชนผู้รับการรักษา อย่างนี้จึงจะเป็นเรื่องบริการทางธุรกิจ เป็น business services แต่บริการของรัฐเป็น public services ต่างกันอย่างสิ้นเชิง

และยิ่งหันไปดูประเทศต่างๆที่ให้บริการสาธารณะในเรื่องการรักษาพยาบาล ก็ไม่มีที่ไหนยอมให้ให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ เพราะรัฐบาลของประเทศก็ทราบว่านี่เป็นบริการสำหรับทุกคนที่รัฐจำเป็นต้องจัดหาให้ประชาชน ไม่ใช่ขายให้ประชาชน...

อยากให้รัฐสร้างความชัดเจนเรื่องบริการสาธารณะ หรือ public services และสร้างกระบวนการยุติความขัดแย้งระหว่างบุคคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัตหน้าที่ตามกฎหมายกับผู้เสียหายทางการแพทย์เสียใหม่

ที่ไม่ใช่ปล่อยให้มีการฟ้องร้องดำเนินตดีทางศาลได้ดังเช่นทุกวันนี้



โดย: หมอหมู วันที่: 15 สิงหาคม 2560 เวลา:20:44:48 น.  

 
No Fault ในความหมายทางการแพทย์
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
อ่านบทความของดร.เฉลิมพล ไวทยางกูรเรื่อง No Fault ในทางการแพทย์แล้ว(1) ผู้เขียนขอแสดงความเห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดความเสียหายในทางการแพทย์นั้น อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ได้เป็นความผิดของแพทย์ผู้ทำการรักษา กล่าวคือ ฝ่ายผู้รักษาไม่ได้ทำผิด แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากภายในร่างกายของผู้ป่วยที่มีปฏิกริยาตอบสนองต่อการรักษาผิดจากบุคคลทั่วไป หรือเป็นอาการรุนแรงที่เกิดตามมาหลังจากเกิดโรคอื่น และมีความเสียหายเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือผู้ไปรับการรักษาได้ ในกรณีดังต่อไปนี้คือ
1. Adverse drug reaction คือการที่ร่างกายของผู้ป่วยมีปฏิกริยาตอบสนองต่อการได้รับยาที่ไม่เหมือนผู้อื่น ซึ่งอาจเรียกว่าแพ้ยา ปฏิกริยาภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ซึ่งปฏิกริยาจากการแพ้ยานี้ อาจเรียกว่า “อาการอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา” ซึ่งอาการเหล่านี้ อาจจะมีอาการเล็กน้อย เช่นเป็นผื่นคันที่ผิวหนัง ไปจนถึงอาการรุนแรงทั้งร่างกายเช่น กรณีที่เรียกว่า Steven Johnson’s Syndrome ” ที่ทำให้ผู้ป่วยมีผื่นทั่วตัวแล้วยังทำให้ตาบอดได้ หรือมีอาการแพ้รุนแรง ทำให้หลอดลมบวม หายใจไม่ออกจนถึงกับเสียชีวิต เรียกวาเกิด Anaphylactic Shock ซึ่งการแพ้ยานี้ แพทย์จะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดขึ้น โดยการถามประวัติการแพ้ยา หรือประวัติการแพ้อาหาร รวมทั้งประวัติภูมิแพ้อื่นๆของผู้ป่วยและครอบครัวก่อนจะให้ยาทุกครั้ง แต่ถึงแม้จะไม่มีประวัติการแพ้ยามาก่อน ผู้ป่วยก็อาจจะแพ้ยาตัวนี้ได้เช่นเดียวกัน
2. Complications หรือโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากอาการป่วยด้วยโรคหนึ่งต่อมามีอาการของอีกอวัยวะอื่นภายหลัง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากความรุนแรงของโรคเอง หรืออาจเกิดจากการรักษาของแพทย์ ซึ่งในทางการแพทย์แล้ว โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ มักจะมีการเขียนไว้ในตำราทางการแพทย์ เพื่อให้แพทย์ได้ระมัดระวังและป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นกับผู้ป่วยของตน แต่โรคแทรกซ้อนบางอย่างก็อาจเกิดขึ้นได้ แม้แพทย์จะได้ใช้ความระมัดระวังอย่าง “สุดความสามารถ”แล้วก็ตาม ซึ่งในทางการแพทย์มักจะอธิบายว่าเป็นเหตุ “สุดวิสัย” ที่แพทย์จะรักษาหรือยื้อชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ ตัวอย่างของโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ได้แก่ “ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต” – septicemia ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อในที่ใดที่หนึ่งของร่างกาย เช่น ปอดอักเสบ หรือการอักเสบของข้อสะโพกในเด็กอาจมีผลให้เกิดความพิการจากการที่หัวกระดูกต้นขา (femoral head)ถูกทำลายจากการอักเสบ หรือการอักเสบของวัณโรคปอดทำให้เกิดวัณโรคของเยื่อหุ้มสมอง หรือการขาดน้ำอย่างรุนแรงจากอาการท้องเสียทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน หรืออาการป่วยตับอักเสบอย่างรุนแรงทำให้เกิดภาวะความผิดปกติทางสมอง หรือภาวะที่มีน้ำคร่ำหลุดเข้าไปในกระแสเลือดทำให้แม่ที่มาคลอดลูกตายจากภาวะที่หลอดเลือดที่ปอดอุดตัน (pulmonary embolism) หรือในกรณีที่หลังการผ่าตัดช่องท้องแล้วพบว่าเกิดลำไสส้อุดตันเนื่องจากในช่องท้องผู้ป่วยเกิดพังผืดมากมาย โดยอวัยวะในตังผู้ป่วยเองมีการซ่อมแซมบาดแผลแต่เกิดพังผืดมากผิดปกติ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นแม้แพทย์จะได้ทำการรักษาผู้ป่วยอย่างระมัดระวังเต็มที่แล้ว หรืออาจจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทีมแพทย์/พยาบาลผู้ทำการรักษาก็ได้ ฉะนั้นเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ป่วย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพิสูจน์ถุก-ผิดเสมอ เพื่อจะได้รู้ว่ามีจุดบกพร่องใดๆเกิดขึ้นจากการรักษาหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ชดใช้ไปตามระบบ No Fault ถ้ามีความบกพร่อง ก็ต้องพิสูจน์ว่า เป็นความประมาทเลินเล่อหรือไม่ถ้าประมาท เลินเล่อก็ต้องดูว่าประมาทเลินเล่ออย่างอย่างร้ายแรงหรือไม่ หรือละทิ้งไม่ทำตามหน้าที่หรือไม่
3. Underlying diseases หรือโรคที่ผู้ป่วยมีซ่อนเร้นอยู่แต่ยังไม่แสดงอาการหรือยังไม่เคยตรวจพบ แต่มาแสดงอาการเมื่อเป็นโรคอื่นแล้ว เช่น
3.1 การปวดหัวเรื้อรังอาจเกิดจาการมีเนื้องอกในสมอง หรืออาจเกิดจากการปวดหัวที่ไม่มีสาเหตุทางกายภาพ เช่น Migraine หรือมีสายตาผิดปกติ
3.2 มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (เบาหวาน) แต่ไม่มีอาการ แต่มาพบแพทย์เมื่อมีการของผิวหนังอักเสบเป็นหนอง (sepsis)
3.3 การมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการป่วยบางอย่างหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต หรือเกิดการอักเสบจากเชื้อรา
3.4 ภาวะตับอักเสบเรื้อรังนำไปสู่การเป็นตับแข็งหรือมะร็งตับ
3.5 ในกรณีที่เด็กมีไข้และชักอาจเกิดจาการชักจากไข้สูงธรรมดา หรือเกิดอาการชักจากสมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบก็ได้
ดังนี้ เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อผู้ป่วยมาด้วยอาการอย่างหนึ่ง แต่อาจเกิดจากภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีผลเสียหายรุนแรงกว่าที่ผู้ป่วยหรือญาติคาดการณ์ไว้ก็ได้ ฉะนั้นการเกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย จะไม่สามารถละเว้นการพิสูจน์ถูก/ผิดได้ เพื่อจะได้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดความเสียหาย และนำไปแก้ไขไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้
4. Sequelae หรือ อาการเจ็บป่วยที่เกิดตามหลังโรคหรืออาการเจ็บป่วยอื่น เช่น
4.1ภาวะสมองขาดเลือดอย่างฉับพลัน (stroke) ทำให้เกิดภาวะแขนขาอ่อนแรง ที่เรียกว่าอัมพาต
4.2 ภาวะเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมให้เหมาะสมก็จะเกิดภาวะไตวาย
4.3 การท้องผูกเรื้อรังก็อาจจะเกิดจากการอุดตันของลำไส้
4.4การที่แขนขาอ่อนแรงทั้งหมดเคลื่อนไหวไม่ได้เลยก็เกิดตามหลังกระดูกสันหลังส่วนคอหักจากการบาดเจ็บ (cervical cord injury)
4.5 การมีก้อนเนื้องอกกดทับไขสันหลัง ทำให้ขาสองข้างเป็นอัมพาต (paraplegia)
4.6 ภาวะสมองอักเสบ (encephalitis) ทำให้พูดไม่ได้ (Aphasia) ดังนี้เป็นต้น
5. ประวัติการเจ็บป่วยไม่ชัดเจน เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้สังเกตหรือจดจำอาการเจ็บป่วยในอดีตหรือปัจจุบัน หรือเกิดจากการที่ผู้ป่วยปกปิดความจริงจากการเจ็บป่วย เนื่องจากไม่ต้องการบอกข้อมูล(ที่ผู้ป่วยคิดว่าเป็นความลับส่วนตัวของตน)แต่ไม่ทราบว่าข้อมูลนั้นเองอาจเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับการเจ็บป่วยในขณะนี้ และเมื่อแพทย์ไม่ทราบก็อาจจะทำให้ไม่สามารถให้การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องจนอาจทำให้การรักษานั้นไม่เป็นผลดีก็ได้
6. ความเสียหายที่เกิดจากระบบบริการทางการแพทย์ ซึ่งเราต้องยอมรับว่าระบบการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุของประเทสไทยนั้น มีความบกพร่องและไม่สมบูรณ์แบบอยู่มาก เช่น การขาดแคลนบุคลากร แต่มีจำนวนผู้ป่วยมาก การขาดแคลนพทยืผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทำให้แพทย์ไม่สามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานของผู้เชี่ยวชาญ การขาดงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์(ต้องอาศัยพี่ตูนบอดี้แสลม วิ่งการกุศลหาเงินมาซื้อเครื่องมือได้บ้าง แต่ยังขาดอีกเยอะ)
การฟ้องร้องแพทย์หรือบางคนเรียกว่า “ข้อพิพาทระหว่างแพทย์และผู้ป่วย” นั้นแตกต่างจากข้อพิพาทอื่นอย่างไร?
จากการอ่านบทความของดร.เฉลิมพล ไวทยางกูร ที่เขียนว่า “ คำว่า No-Fault จึงอาจมีความหมายว่า ไม่ได้ทำผิด หรือไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่สำหรับประเทศไทยน่าจะเป็นว่า ไม่ถือว่าเป็นความผิด มากกว่า เพราะแท้จริงแล้วการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นความผิดไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่ง แต่ไม่ต้องมีการพิสูจน์และไม่ต้องรับโทษในชั้นนี้ เพราะไม่ถือว่าเป็นความผิด” ในทางการแพทย์จึงไม่เป็นความจริงในกรณีข้อพิพาทระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ตามเหตุผลที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า “ความเสียหายที่เกิดจากการไปรับการรักษาจากแพทย์นั้น อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยที่แพทย์ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดได้ใน 6 กรณีดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่างในอีกหลายสิบหลายร้อยตัวอย่างซึ่งไม่สามารถยกมากล่าวได้หมดในที่นี้
ส่วนการที่ดร.เฉลิมพลเขียนไว้ว่า “ เมื่อมาพิจารณาเรื่องทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ถ้าจะเอาคำว่า No-Fault มาใช้ก็น่าจะมีความหมายเดียวกันคือ
หนึ่ง...มีการกระทำ ซึ่งจะเป็นไม่เจตนา หรือประมาทเลินเล่อ ก็แล้วแต่
สอง...การกระทำนั้นเป็นความผิด และ
สาม...แต่กฎหมายให้ถือว่าไม่เป็นความผิด..ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเว้น
แต่ถ้าเป็นเจตนา ก็เท่ากับเป็นเรื่องทุรเวช และไม่เข้าลักษณะ No-Fault แน่นอน”
จึงไม่น่าจะถูกต้องตรงกับความเป็นจริงในเรื่องเกี่ยวกับการแพทย์ เพราะคำว่าทุรเวชปฏิบัติหรือ Medical Malpractice นั้นมีความหมายว่า แพทย์ได้ทำการรักษาผู้ป่วย “ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน”
แล้วจะตัดสินอย่างไรว่า “การรักษาผู้ป่วยในขณะนั้นมีมาตรฐานหรือไม่?” การที่เราจะเอามาตรฐานการแพทย์มาตัดสินการรักษาผู้ป่วย ก็ต้องเอามาตรฐานของแพทย์ในสภาพการณ์เช่นเดียวกัน รวมกับมาตรฐานของโรงพยาบาลในระดับเดียวกันมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินมาตรฐานในการรักษา เช่น ในกรณีของแพทน์ทั่วไปที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา (ยังขาดความเชี่ยวชาญหรือชำนาญการ)ที่รักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชนที่ (ขาดแคลนเครื่องมือ เทคโนโลยี เอ๊กซเรย์ อัลตร้าซาวน์ ซีทีสแกน หรือ MRI ขาดแพทย์ผ่าตัด แพทย์ระงับความรู้สึก) มาเปรียบเทียบกับการรักษาผู้ป่วยแบบเดียวกันในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์(มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ) และมีเครื่องมือ เทคโนโลยี เวชภัณฑ์ และผู้เชี่ยวชาญทุกสาขา เอามาเปรียบเทียบเป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ได้

ความสัมพันธ์ ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยแตกต่างจากความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมทั่วไป

ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย นั้นไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบ “เสมอกัน” เนื่องจากแพทย์นั้นมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทักษะ และการฝึกฝนมามากกว่าผู้ป่วย แพทย์จึงเป็นผู้ “แนะนำหรือออกคำสั่ง” ในการรักษาที่ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามจึงจะเกิดผลดีในการรักษาความเจ็บป่วย ฉะนั้นผู้เป็นแพทย์จึงต้องเป็น “ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ หรือความเชื่อถือ ศรัทธา”จากผู้ป่วยหรือประชาชน เขาจึงจะทำตามคำสั่งหรือคำแนะนำของแพทย์

การที่แพทย์จะได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วยนั้น แพทย์จึงต้อง “ทำหน้าที่ของแพทย์” โดยต้องยึดหลัก “จริยธรรมทางการแพทย์” ในการทำหน้าที่รักษาผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด จริยธรรมเหล่านี้ มีความหมายรวมถึง
1. มีเป้าหมายให้เกิดผลดีที่สุดต่อผู้ป่วยของตน ที่ตนกำลังทำการรักษา
2. ต้องหลีกเลี่ยงจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) ตัวอย่างผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น เลือกใช้ยา ก.ที่ไม่ให้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยของตน แต่เลือกใช้ยาข.ที่อาจมีผลดีไม่เหมือนยาก. เนื่องจากพราะบริษัทที่ขายยาข. ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากการสั่งยาข.
3. รักษาความลับของผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด
4. ทำงานโดยรักษาหลักในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และความเชี่ยวชาญด้านคลินิกอย่างเคร่งครัด
ซึ่งทั้ง 4 ข้อนี้นับเป็นหลักจริยธรรมที่แพทย์ทั่วโลกต้องยึดถือและปฏิบัติตาม ในส่วนของแพทย์ในประเทศไทยนั้น ทางการได้จัดให้มี “แพทยสภา” เป็นสภาวิชาชีพ ที่ตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมพ.ศ. 2525 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในมาตรา 7(1) คือควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (แพทย์) ให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม โดยในหมวด 5 ของพ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอยู่จากมาตรา 26-31
โดยมาตรา 31 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (แพทย์) ต้องรักษาจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามข้อบังคับของแพทยสภา ซึ่งแพทยสภาได้ออก “ข้อบังคับ”แพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 มากมายหลายหมวดหลายข้อ
และมาตรา 32 ได้ให้สิทธิแก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหายเพราะการประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม(แพทย์) ผู้ใด มีสิทธิกล่าวหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมกโดยทำเรื่องยื่นต่อแพทยสภา
มาตรา 39 คณะกรรมการแพทยสภามีสิทธิวินิจฉัยชี้ขาดและลงโทษแพทย์ที่กระทำผิดได้ 4 ระดับ ตั้งแต่ยกข้อกล่าวหา ว่ากล่าวตักเตือน ภาคฑัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต (ห้ามทำงานรักษาผู้ป่วย เรียกว่าจำคุกความเป็นแพทย์) มีกำหนดไม่เกินสองปี และขั้นรุนแรงที่สุดคือ เพิกถอนใบอนุญาต (ห้ามทำงานรักษาผู้ป่วยตลอดไป เรียกว่าประหารชีวิตความเป็นแพทย์)

แต่การทำงานของกรรมการแพทยสภานั้นอาจ ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการไปรับการรักษา ผู้ป่วยไม่พอใจได้ในหลายกรณี ดังเช่น การแพ้ยาจนตาบอด เกิดจาก อาการอันไม่พีงประสงค์จากการใช้ยา เช่นในกรณี Steven-Johnson’s Syndrome โดยแพทยสภาได้ตัดสินว่าเป็น “เหตุสุดวิสัย” เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีประวัติแพ้ยามาก่อน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผลของการแพ้ยาจนทำให้เกิดความพิการนี้ นี่คือกรณีความเสียหายที่ไม่มี (แพทย์)ผู้ใดทำผิด ซึงในไทยมีกฎหมายให้เงินช่วยเหลือใน 2 กรณีคือ ถ้าเป็นผู้ป่วยในระบบประกันสังคม และผู้ป่วยในระบบ 30 บาท โดย ผู้ป่วยก็จะได้รับการช่วยเหลือในความเสียหายนี้จากมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ซึ่งจะมีการช่วยเหลือเบื้องต้นให้เป็นเงินสูงสุด 2 ล้านบาท

ผู้เขียนจึงขอสรุปว่า ความเสียหายของผู้ป่วยที่ไปรับการรักษาจากแพทย์/โรงพยาบาลต่างๆนั้น มีหลายกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้เกิดจาก “ความผิดพลาดของแพทย์” ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น แต่ความเสียหายนี้ มีกฎหมายช่วยเหลือแล้วในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและระบบประกันสังคม โดยอาศัยหลักการสอบสวนเบื้องต้นว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการได้ไปรับการรักษาจากโรงพยาบาล โดยเป็นความเสียหายที่เกิดจากทั้งการไม่มีการทำผิด ( No Fault) คือการชดเชยโดยปราศจากความผิด (No Fault Compensation) แต่ในขณะเดียวกัน มาตรา 41 ก็มีการชดเชยในกรณีที่มีการ “ทำความผิด”เนื่องจากยังมีการ “สอบสวน”ก่อนจ่ายเงินชดเชย และยังมีมาตรา 42 ให้ “ไปไล่เบี้ยเอากับผู้กระทำความผิด” อีกด้วย
ในส่วนข้อเสนอเรื่องการใช้อนุญาโตตุลาการทางการแพทย์ในประเทศไทยนั้น(2) ผู้เขียนเชื่อว่า คงไม่สามารถยุติ “ข้อพิพาทในทางการแพทย์”ได้ ซึ่งจะเห็นได้จากในปัจจุบัน ประเทศไทยมีแพทยสภาทำหน้าที่ “พิจารณาข้อพิพาทาทงการแพทย์” โดยคณะกรรมการแพทยสภา ซึ่งทำหน้าที่เป็น “คนกลาง”ที่มีความรู้ทางวิชาชีพแพทย์และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ยังไม่สามารถทำความั่นใจให้กับคู่กรณีไม่ว่าแพทย์หรือประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากแพทยสภาเองก็ถูกคู่กรณีทั้งแพทย์และฝ่ายประชาชน นำคดีไปฟ้องศาลปกครองอยู่ตลอดมาเช่นกัน
ผู้เขียนขอเสนอว่า การป้องกันความเสียหายจากการไปรับการรักษาจากแพทย์เป็นสิ่งสำคัญที่ในระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของไทยยังขาด “การป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย”เป็นอย่างมาก เช่น การที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานหนักเกินไป มีผู้ป่วยมาก ทำให้แพทย์ต้องเร่งรีบทำงาน จนเสี่ยงต่อความเสียหาย เช่นมีเวลาตรวจร่างกายผู้ป่วยคนละ 2- 4 นาที และไม่มีเวลาพอที่จะอธิบายให้ผู้ป่วยฟังจนเข้าใจ ถึงข้อจำกัดในทางการแพทย์ว่า ในหลายๆกรณีก็อาจเกิดความเสียหายโดยไม่ได้มีความผิดของแพทย์/บุคลากรทางการแพทย์ จนทำให้ผู้ป่วยผิดหวังเมื่อเกิดความเสียหาย แม้ว่าความเสียหายนั้น ไม่ได้เกิดจากการรักษาผิดพลาด ต่ำกว่ามาตรฐาน ประมาทเลินเล่อ หรือละเลยไม่เอาใจใส่ผู้ป่วย
เนื่องจากว่า วิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบัน ก็ไม่สามารถจะรักษาชีวิตผู้ป่วยทุกคนได้ ทำได้แต่เพียงรักษาได้จนสุดความสามารถ แต่ผู้ป่วยจะรอดหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับบุพกรรมที่ทำมา หรือตามแต่ประสงค์ของพระเจ้าจะบันดาลให้เป็นไป แม้แพทย์จะได้ใช้ความระมัดระวังในการรักษาผู้ป่วยตามหลักวิชาการแพทย์ อาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของตนและทำตามมาตรฐานที่มีอยู่ในโรงพยาบาลแล้ว แพทย์ก็ไม่สามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยได้ทุกคน ผู้ป่วยบางคนเดินมาโรงพยาบาลแต่ต้องหามออกไป ผู้ป่วยบางคนถูกหามมา แต่เดินปร๋อกลับบ้านก็มี
เนื่องจากมีคำกล่าวของ Sir William Osler (Father of Modern Medicine) ว่า Medicine is a Science of Uncertainty and an Art of Probability)แปลว่า การแพทย์เป็นวิทยาศาตร์ของความไม่แน่นอน และเป็นศิลปศาสตร์ของความ น่าจะเป็น


โดย: หมอหมู วันที่: 5 กันยายน 2560 เวลา:17:05:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]