Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เหตุผลสำคัญที่ไม่ต้องมีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข .. พญ.เชิดชู




เหตุผลสำคัญที่ไม่ต้องมีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)





ปัจจุบันนี้ มีปัญหาการโต้แย้งในเรื่องการนำเสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... เข้าสู่การพิจารณาในวาระ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร ความขัดแย้งนี้เกิดจาก แพทย์ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข เริ่มมาอ่านร่างพ.ร.บ.เหล่านี้ทั้งหมดที่รอเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร และเห็นว่าร่างพ.ร.บ.นี้จะทำให้เกิดความเสียหายต่อแพทย์ผู้ยังปฏิบัติงานในในสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งจะเกิดผลเสียหายแก่ประชาชน และระบบการเงินงบประมาณของโรงพยาบาลและงบประมาณของประเทศ

แพทย์กลุ่มผู้ปฏิบัติงานนี้ มองเห็นอะไรจากร่างพ.ร.บ.เหล่านี้? จะขออธิบายอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่า แพทย์กลุ่มนี้ มองเห็นความไม่ชอบมาพากลอะไรจากร่างพ.ร.บ.เหล่านี้?


1. การเขียนหลักการและเหตุผลให้ดูดี แต่ เมื่อดูรายละเอียดของพ.ร.บ.แล้วจะเห็นว่า ในมาตราต่างๆจะขัดแย้งกันเอง และ ขัดแย้งกับหลักการและเหตุผล ซึ่งมีนักกฎหมายได้ให้ความเห็นเช่นนี้มากมายหลายคน


2. ร่างพ.ร.บ.นี้จะมีผลผูกพันกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานรักษาประชาชนในโรงพยาบาลของรัฐบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขมาก เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลส่วนใหญ่ที่ต้องรับรักษาผู้ป่วยมากที่สุด แต่มีความขาดแคลน ทั้งคน เงิน สิ่งของ อาคารสถานที่


3. แต่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพบยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขส่วนมากหรือแทบทุกคน ต่างก็ทุ่มเทแรงกาย สติปัญญา ประสบการณ์และความสามารถในการดูแลรักษาประชาชนอย่างเต็มที่

แพทย์ต้องทำงานสัปดาห์ละ 90-120 ชั่วโมง ต้องทำงานติดต่อกันมากกว่า 32 ชั่วโมง บุคลากรพยาบาลก็ต้องทำงานติดต่อกันมากกว่า 16 ชั่วโมง ทั้งนี้ด้วยความสำนึกในหน้าที่ ตามคุณธรรม จริยธรรมของวิชาชีพที่ได้รับการอบรมบ่มนิสัยจากครูบาอาจารย์

แต่การทำงานติดต่อกันอย่างยาวนานและขาดการพักผ่อนนี้เอง อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย อาจเกิดผลเสียหายแก่ประชาชนที่มารับการตรวจรักษา และเป็นผลร้ายแก่สุขภาพของบุคลากรเอง


4. แทนที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขเช่นรัฐมนตรีและปลัดกระทรวง จะพยายามบริหารจัดการให้มี คน เงิน สิ่งของ อาคารสถานที่ให้เหมาะสมและพอเพียงกับจำนวนประชาชนที่เจ็บป่วย เพื่อช่วยให้ประชาชนได้รับการดูแลรักษาอย่างปลอดภัยจากบุคลากรที่มีการพักผ่อนอย่างพอเพียง ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์มีพลังกาย พลังความคิด สติปัญญาและสามารถใช้วิจารณญาณที่เหมาะสม ในการตัดสินใจรักษาผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ลดความผิดพลาด เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประชาชน แต่กลับจะมาเห็นดีเห็นงามเฉพาะการร่างกฎหมายมาชดเชยความเสียหายให้ประชาชนเท่านั้น คือปล่อยให้บุคลากรเสี่ยงต่อการรักษาที่ผิดพลาด รอให้ประชาชนเสียหายก่อน แล้วจึงหาเงินมาชดเชย


5. การจัดตั้งกองทุนนั้นก็บ่งบอกถึงการเลียนแบบจากกองทุนที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลรักษาสุขภาพ เช่น สวรส. สปสช.สสส. สช.โดยมีรายชื่อกลุ่มแพทย์เพียงกลุ่มเดียว ที่มีชื่อเป็นกรรมการกองทุนเหล่านี้หลายกองทุน บางคนเป็นกรรมการแทบทุกกองทุน โดยมีผลประโยชน์เป็นตัวเงิน และผลประโยชน์อำนาจ ให้มีช่องทางใช้เงินของกองทุน โดยการอนุมัติของคณะกรรมการกองทุน

และยังมีรายชื่อของกลุ่มNGO คุ้มครองผู้บริโภค ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่เป็นกรรมการในกองทุนเหล่านี้หลายกองทุนเหมือนกัน มาเขียนร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เขียนล็อกสเป็คมาเป็นกรรมการรักษาการตามบทเฉพาะกาล เพื่อจะมาตั้งกฎเกณฑ์ในการบริหารกองทุนต่อไป บ่งบอกถึงผลประโยชน์ทับซ้อนของแพทย์กลุ่มนี้และNGO กลุ่มนี้ ในกองทุนใหม่นี้อีก


6. ในมาตราต่างๆของร่างพ.ร.บ.เหล่านี้ บ่งชี้ว่า การตัดสินการรักษาทางการแพทย์ตามมาตรฐาน โดยไม่อาศัยความคิดเห็นตามหลักวิชาการของผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์นั้น บุคลากรทางการแพทย์ไม่สามารถยอมรับได้ เพราะเชื่อได้เลยว่า การปฏิบัติงานของตนจะได้รับการตัดสินที่ไม่ยุติธรรม ตามหลักวิชาการและเหตุผลเชิงประจักษ์ทางการแพทย์

แต่กลุ่มผู้ร่างและสนับสนุนกฎหมายนี้ ต่างก็ออกมาอ้างประเทศสวีเดน แต่ประเทศสวีเดน เขาก็ตัดสินมาตรฐานโดยผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้นๆเท่านั้น มิได้ให้คณะกรรมการมาตัดสินชี้ขาดแต่อย่างใด


7. ผู้สนับสนุนกฎหมายเหล่านี้ อ้างว่าจะช่วยลดการฟ้องร้องแพทย์ แต่นักกฎหมายหลายๆคน ได้ชี้ชัดว่า พ.ร.บ.นี้ จะไม่ช่วยลดการฟ้องร้องและร้องเรียนลงได้


8. สวรส. ที่เป็นกลุ่มแพทย์ผู้ร่วมร่างและสนับสนุนพ.ร.บ.นี้ได้กำหนดแหล่งที่มาของเงินจาก การเก็บจากสถานบริการของภาครัฐและเอกชนเป็นรายหัวๆละ 80 บาทสำหรับผู้ป่วยใน(นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล) และหัวละ 5 บาท สำหรับผู้ป่วยนอก (ไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล) ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนปีละ5-10 ล้านบาทตามจำนวนผู้ป่วย

ซึ่งโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขต่างก็ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานอยู่แล้ว ถ้าจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนนี้อีก (เพื่อไปให้กรรมการกองทุนใช้จ่ายในการทำงานและบริหารกองทุนส่วนหนึ่ง กับรอไว้จ่ายให้ประชาชนผู้เสียหายอีกส่วนหนึ่ง) ก็จะทำให้โรงพยาบาลยิ่งขาดเงินในการซื้อยาและเวชภัณฑ์มารักษาผู้ป่วยมากขึ้น ผลที่สุดแล้ว ประชาชนจะเสียผลประโยชน์จากการขาดแคลนยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์


9. ถึงแม้ไม่มีพ.ร.บ.นี้ ประชาชนก็ได้รับความคุ้มครองตามม.41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีเงินงบประมาณรัฐบาลปีละ1%ของงบประมาณหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 อยู่แล้วปีละ 1,000 กว่าล้านบาท แต่สปสช.จ่ายให้ประชาชนที่เสียหายเพียงรายละ 200,000 บาทสูงสุดเท่านั้น ทำให้ประชาชนอ้างว่าไม่เพียงพอต่อผู้พิการที่จะใช้ดำรงชีพ ก็ต้องไปกำกับให้สปสช.พิจารณาจ่ายให้เหมาะสม

ส่วนประชาชนในกลุ่มประกันสังคมและกลุ่มสวัสดิการข้าราชการนั้น สามารถขยายความคุ้มครองจากม.41 นี้ได้ ตามความเห็นของนักกฎหมายหลายคน และกระทรวงการคลัง กพ.และกพร ตามบันทึกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ 740-741/2552.


10. ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข สวรส สปสช. สช. และ สสส.จะพัฒนาระบบบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขอย่างไร ให้มี คน เงิน ของ และอาคารสถานที่ให้เพียงพอ เหมาะสม ได้มาตรฐาน และปลอดภัยสำหรับประชาชน จงรีบทำก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อระบบบริการทางการแพทย์และประชาชนทั้งฝ่ายผู้รักษาผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปทั้งประเทศดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และจะมากยิ่งขึ้นในอนาคต ถ้าปล่อยให้มีการบังคับใช้ร่างกฎหมายฉบับนี้










Create Date : 17 สิงหาคม 2553
Last Update : 17 สิงหาคม 2553 10:26:51 น. 1 comments
Counter : 1804 Pageviews.  

 
เขาได้อ่านบ้างไหมคะ ผู้ที่เกี่ยวข้องน่ะค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 สิงหาคม 2553 เวลา:16:42:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]