Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ติดกระดุมเสื้อผิดตั้งแต่ พรบ. หลักประกันสุขภาพ .. โดย พ.ต.ท หญิง ฐิชาลักษณ์ ณรงค์วิทย์




ติดกระดุมเสื้อผิดตั้งแต่ พรบ. หลักประกันสุขภาพ

พ.ต.ท หญิง ฐิชาลักษณ์ ณรงค์วิทย์

thichaluck@hotmail.com




เมื่อเราติดกระดุมเสื้อผิดตั้งแต่เม็ดแรกแล้ว เม็ดต่อไปก็ต้องผิดบิดเบี้ยว เสียรูปทรงทั้งตัว เช่นเดียวกับประเทศของเรา ที่ตั้งต้นจะคุ้มครองดูแลผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ด้วยมาตรา 41 แห่งพ.ร.บ หลักประกันสุขภาพ แต่กีดกันความคุ้มครองการชดเชย ค่าเสียหายให้ได้แต่เฉพาะประชาชนผู้ถือบัตรทองเท่านั้น

เงินเหมาจ่ายเป็นรายหัวที่รัฐมอบให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) จ่ายให้แก่โรงพยาบาลทั้งประเทศที่ให้บริการประชาชนผู้ถือบัตรทองนั้น จะถูกหักกันไว้ร้อยละ 1 เพื่อจ่ายให้แก่ผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ในวงเงินไม่เกิน 2 แสนบาท ตามมาตรา 41ดังกล่าว โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก จึงเข้าลักษณะการจ่ายให้เป็นสวัสดิการสงเคราะห์(welfare)จากรัฐ


จากสถิติที่ผ่านมาพบว่ามีผู้เสียหายจำนวนไม่มาก จากจำนวนผู้ถือบัตรทองทั้งประเทศประมาณ 47.7 ล้านคน เงินตามมาตรา 41 มีเหลืออยู่กว่า 5,400 ล้านบาท ดังนั้นถ้าจะขยายความคุ้มครอง และเพิ่มจำนวนเงินก็น่าจะกระทำได้ง่ายกว่าร่างกฎหมายใหม่

ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสวัสดิการ เช่น สวีเดน เป็นต้นแบบของเรื่องนี้ แต่ต้องวิเคราะห์ว่า เขาเก็บภาษีรายได้มากกว่า ร้อยละ 60 และ เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 25 และ มีระบบเยียวยาผู้เสียหายจากการรักษาพยาบาล ในวงเงินที่มีเพดานตามระดับของความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยหวังว่าจะลดการฟ้องร้องแต่ ข้อเท็จจริง กลับพบว่าผู้ขอใช้สิทธิ (claim) มากขึ้นๆ ทุกๆปี

การที่ประเทศไทยจะตามอย่างโดยยก(ร่าง) พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ขึ้นมาเตรียมเข้าวาระของการบังคับใช้ ความแตกต่างกันในบริบททั้งปวง เช่น จำนวนประชากร เศรษฐกิจ การศึกษาจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอและ ฯลฯ ทั้งมวล จึงก่อให้เกิดปัญหามีทั้งผู้สนับสนุน และฝ่ายค้าน ทั้งๆ ที่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ก็ยังไม่ทราบรายละเอียดโดยชัดเจน เกิดความสับสนทางสังคม สมควรที่รัฐจะต้องประชาสัมพันธ์แนวกว้าง และทำประชาพิจารณ์ให้ชัดๆก่อนที่เรื่องจะบานปลาย


ในเมื่อทุกฝ่ายต่างเห็นด้วยกับเจตนารมณ์ของพรบ.ฉบับนี้ และยินดีที่จะสนับสนุนให้มีการคุ้มครองดูแล แต่เมื่อยึดหลักกันคนละวิธีการจึงยืดหยุ่นกันไม่ได้ ฝ่ายหนึ่งเสนอกฎหมาย เก็บเงินตั้งกองทุน แต่อีกฝ่ายหนึ่งเสนอการขยายความคุ้มครองจากระบบประกันสุขภาพ

เมื่อพิจารณาโดยสรุปพบว่า(ร่าง)พรบ.ฉบับนี้จะมีการเก็บเงินจากสถานพยาบาลทุกแห่งทุกระดับเข้ากองทุน คือ เมื่อประชาชนไปใช้บริการผู้ป่วยนอก ก็จะเก็บหัวละ 5 บาท ถ้าเป็นผู้ป่วยในนอนโรงพยาบาลเก็บหัวละ 80 บาท

สถิติคร่าวๆ จากระทรวงสาธารณสุขรายงานว่ามีผู้ใช้บริการผู้ป่วยนอก ปี 2552 ปีปีละประมาณ 140 ล้านครั้ง ผู้ป่วยใน 10 ล้านครั้ง หากพรบ.นี้ผ่านจะมีเงินกองทุนมหาศาลกว่า 1,500 ล้านบาทต่อปี และ ถ้ามากเกินกว่าการใช้จ่ายแล้ว ก็ไม่ต้องส่งเข้าคลังเข้าประเทศด้วย ภาคประชาชนคงต้องเหนื่อยกับการตรวจสอบการใช้เงินของกองทุนกองใหญ่ ที่ใช้เงินฟุ่มเฟือยแบบถูกกฎหมาย ตามที่ปรากฎในระบบบริหารกองทุนบางกองทุนในปัจจุบันนี้


มีข้อสงสัยว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ทำโครงการที่ครอบคลุมประชากรทั้งประเทศหลายโครงการ เช่น การตรวจมะเร็งปาดมดลูก การรักษาต้อกระจก การส่งเสริมสุขภาพ ฯลฯ แต่ ทำไมการคุ้มครองแก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการรักษา ที่มีจำนวนเรื่องเพียงน้อยนิด แถมยังใช้เงินที่กันไว้ไม่หมด ถึงจะครอบคลุมประชากรทั้งประเทศไม่ได้

ถ้าคิดว่าเป็นประชาชนเหมือนกัน โดยไม่คิดว่าใครเป็นผู้รักษา –ใครเป็นผู้ใช้บริการ แต่เป็นการคุ้มครองสาธารณะที่รัฐให้ประชาชนโดยเสมอภาคกัน อีกทั้งผู้รักษาพยาบาลก็ไม่ได้เจตนา ประชาชนก็ไม่อยากเอาผิดกับผู้รักษาพยาบาล รัฐบาลจะมีบารมีในประชานิยมอย่างถูกต้องที่สุดใน เมื่อรับภาระหน้าที่นี้ไว้เอง

ทฤษฎีตาข่ายความคุ้มครองทางสังคม(Social Safety net)ในหลักรัฐประศาสนศาสตร์ ถ้ามองประเด็นระบบการสาธารณสุข โครงการบัตรทองคือตาข่ายพื้นฐานที่จะต้องรองรับการดูแลประชาชนทุกคน (Universal coverage)ให้เท่าเทียมกันในความอยู่รอดปลอดภัยโดยไม่ต้องเกี่ยงงอนว่า ใครมีสิทธิอื่นอยู่หรือไม่

รัฐต่างหากที่ต้องพยายามให้ประชาชน เข้าระบบประกันสุขภาพแบบมีการจ่ายเงินสมทบหรือเบี้ยประกัน ให้มากที่สุด และเพิ่มเติมให้ ถ้าสิทธิของบัตรทอง(ฟรี)มีมากกว่า ภาระงบประมาณค่ารักษาพยาบาลด้วยการสงเคราะห์ด้วยบัตรทอง ก็จะลดลง ประชาชนได้ร่วมรับผิดชอบตนเองและสังคมร่วมกัน ถ้าพอมีและให้ฟรีเฉพาะคนยากไร้(จริงๆ) ในบ้านเมืองเรา อารยประเทศล้วนใช้หลักการนี้จัดสวัสดิการทั้งสิ้น

ข้อเสนอของฝ่ายค้าน พ.ร.บ คือ

ให้ขยายความคุ้มครองมาตรา 41 ให้ครอบคลุมคนทั้งประเทศและปรับมาตรฐานของวงเงินการจ่ายให้เป็นไปตามการประเ มินความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

ให้มีกรอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้วยเงิน (cash)จำนวนหนึ่ง

และเพิ่มระบบการช่วยเหลือระยะยาว (long term)ที่ไม่ใช่ตัวเงิน
เช่น การดูแลรักษาพยาบาลต่อเนื่องเป็นพิเศษหากผู้เสียหายยังมีชีวิตอยู่



การปล่อยให้เรียกร้องเป็นเงินก้อนมหาศาลคราวเดียว (10-100ล้านทำเอาขวัญของผู้ให้การรักษาพยาบาลกระเจิงกันหมดทั้งประเทศ) ไม่น่าจะหลักประกันได้ว่าผู้เสียหายจะได้รับการดูแลโดยตลอด

จากภาระงานที่มากมายมหาศาลในสัดส่วนผู้ป่วยกับผู้ให้บริการ รัฐต้องผลิตกำลังคนทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ทุกวันนี้ทำงาน 90 - 120 ชั่วโมง/สัปดาห์ พยาบาลขึ้นเวร 30 -40 เวรต่อเดือน แต่มีเรื่องผิดพลาดน้อยมาก น่าจะให้กำลังใจ โดยรัฐควรแก้ไของค์ประกอบอื่นๆให้พร้อมก่อนเช่น ชั่วโมงการทำงาน ค่าตอบแทนตามภาระงานหนัก การสนับสนุนการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้เพิ่มขึ้น เยียวยาประชาชนเมื่อเหตุเกิดโดยสุดวิสัย ถ้าจะเอาอย่างประเทศสวีเดนดังกล่าวเราต้องพร้อมกว่านี้

อย่ามองว่ากองทุนหรือเงินเท่านั้น จะแก้ไขปัญหาเชิงระบบชาติเราได้ติดกระดุมเสื้อให้ถูกในระบบหลักประกันสุขภาพ เข้ากระแสที่สุดกับการ “ปฏิรูปประเทศไทยยุครัฐบาลอภิสิทธิ์” ปลดกระดุมผิดออก เริ่มกันใหม่ก็ยังไม่สาย.....










Create Date : 09 สิงหาคม 2553
Last Update : 9 สิงหาคม 2553 11:51:15 น. 0 comments
Counter : 2234 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]