Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

อาหารเสริม....บนเส้นทางสู่อมตะ ... ศจ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (นำมาฝาก)

อาหารเสริม....บนเส้นทางสู่อมตะ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์เหมะจุฑา

by Thiravat Hemachudha (Notes)on Wednesday, December 28, 2011 at 7:12am

อาหาร เสริมที่นิยมใช้กันในปัจจุบันผู้ใช้ต่างมีความต้องการที่จะมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดโรคทั้งปวงและถึงแม้จะมีวัยสูงแต่ตายยากแถมยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งสมรรถภาพทางเพศฟิตปั๋งโดยเฉพาะเพศชาย ในบรรดาหลาย 100 ชนิด ที่ขายในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม ส่วมมากจะขาดข้อมูลหลักฐานไม่ว่าจะเป็นในทางทฤษฎีวิทยาศาสตร์หลักฐานเชิงประจักษ์ จากการทดสอบในเซลล์ เนื้อเยื่อ หลักฐานในสัตว์ทดลองและในมนุษย์และข้อมูลทางระบาดวิทยาที่มีใช้กันในทางโฆษณาก็คือ การหาพยานว่าใช้แล้วหายจากโรค ใช้แล้วแข็งแรง ซึ่งอาจจะพิสูจน์ไม่ได้ทางการแพทย์ชัดเจน

อย่าง ไรก็ตามในวงการวิทยาศาสตร์เพื่อชะลอความแก่ ถึงแม้ว่าจะมีการพบยีนที่ยืดชีวิตออกไปในสัตว์และพบว่าภาวะขาดอาหารถ้าเข้าใกล้ระดับวิกฤติกลับช่วยยืดอายุสัตว์ รวมทั้งมีอัตราการเป็นมะเร็ง สมองเสื่อมเบาหวาน และโรคนานา นับประการที่เกี่ยวกับความแก่ลดลงอย่างชัดเจน แต่ทั้งปวงยังไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงในทางปฏิบัติได้

การค้นพบที่น่าตื่นเต้นเริ่มตั้งแต่ในปี คศ. 2006 คือ สารResveratrol ซึ่งพบในไวน์แดงและเป็นจุดสนใจของนักวิทยาศาสตร์นานาประเทศ ที่มาร่วมประชุมกัน จัดโดยสถาบันNew York Academy of Science ในเดือนมกราคม 2011 และอีกหลายครั้งต่อมา (www.nyas.org)   ถึงแม้ว่า Resveratrol จะช่วยยืดอายุหนูที่ถูกเลี้ยงโดยอาหารไขมันสูงได้ก็ตามโดยมีผลต่อเอ็นไซม์ sirtuins แต่ไม่สามารถยืดชีวิตอายุหนูที่เลี้ยงด้วยอาหารปกติได้แต่กระนั้น Resveratrol  ยัง มีผลในทางดีโดยช่วยป้องกันบรรเทาต่อภาวะเบาหวาน ตับอ่อนอักเสบ และมีผลต่อภาวะอักเสบในสมองซึ่งเป็นตัวร้ายปัจจัยหนึ่งในโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เป็นต้น

กลางปี คศ.2009 เส้นทางสู่อมตะเริ่มสดใสขึ้นอีกเมื่อมีการพบว่าrapamycin (ค้นพบในปี 1972 มีฤทธ์ยับยั้งเชื้อราผลผลิตจากแบคทีเรีย ซึ่งนำมาศึกษาจากเกาะEaster (ภาษาพื้นเมือง Rapa Nui ) ในมหาสมุทรแปซิฟิกห่างจากชิลี 2,200 ไมล์ตั้งแต่ปี 1964   ศูนย์ปฏิบัติการ 3 แห่งรายงานตรงกันถึงประสิทธิภาพของ Rapamycin ที่ สามารถยืดชีวิตของหนูออกไปได้อีก12 เปอร์เซ็นต์ การวิจัยดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสถาบันศึกษาธรรมชาติของอายุขัยและศึกษากระบวนการยืดอายุชราอย่างมีคุณภาพ (National Institute of Aging, www.nia.nih.gov) และ Rapamycin ยังได้ผลในหนูที่ชราแล้วทั้งๆที่เครื่องในและอวัยวะต่างๆน่าจะเสื่อมไปหมด เป้าหมายที่ Rapamycin ออกฤทธ์อยู่ที่โปรตีน TOR (Target of Rapamycin) และยีนที่มีหน้าที่สังเคราะห์ นอก จากนั้นเริ่มมีผลการศึกษาทยอยตามมาในสัตว์และมนุษย์ โดยที่อาจจะมีผลลดอัตราการเกิดมะเร็งอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน เบาหวาน กระดูกพรุน โรคประสาทจอตาเสื่อมข้อจำกัดขณะนี้ยังอยู่ที่ความมีพิษของ Rapamycin ซึ่งหวังว่าอีกไม่นานอาจจะมีตัวดัดแปลงของRapamycin หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีผลต่อยีน TOR และ ต่อตัวโปรตีนนี้เอง

ในปีใหม่นี้จะให้ของขวัญถ้าจะเลือกอาหารเสริมก็ไม่แปลก แต่ตัวที่ให้เลือกได้ขณะนี้ที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์พอสมควรได้แก่ น้ำมันปลา (DHA และ EPA) วิตามินB12 เข้มข้น  Resveratrol ทั้งนี้น้ำมันปลามีผลช่วยทางหัวใจและเส้นเลือด (วารสารนิวอิงแลนด์ มิถุนายน 2011) และวิตามิน B12 เข้ม ข้นอาจมีผลช่วยชะลอสมองเสื่อมอัลไซเมอร์จากหลายรายงานแต่อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้คืออาหารเสริมนะครับ ถ้าส่งเสริมให้ใช้อาหารเสริม โดยไม่ใช้ยาแผนปัจจุบันที่เป็นยาจริงๆและพิสูจน์สรรพคุณผลข้างเคียงแล้วไม่ควบคุมพฤติกรรม ลดปัจจัยเสี่ยง การใช้และให้อาหารเสริมก็คือ “แช่ง” ให้ ตายเร็วขึ้นเท่านั้น

นอกเรื่องท้ายสุดการให้สุราแบบชาย 2 หญิง 1 คือผู้ชายดื่มวันละ2 แก้ว ผู้หญิงวันละ 1 แก้ว ยังถือว่าเป็นประโยชน์ไม่ใช่เป็นการแช่งซะทั้งหมดหมอยังยินดีถูกแช่งครับ

ส่วนบนของฟอร์ม

ส่วนล่างของฟอร์ม

อาหารเสริมเลือกตัวไหนดี(ตอนที่ 1) ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

by Thiravat Hemachudha (Notes)on Tuesday, December 27, 2011 at 7:00am

เพื่อนๆ และท่านผู้อ่านคงคิดว่าผู้เขียนเป็นคนแอนตี้อาหารเสริมสุดโต่งเนื่องจากตลอดเวลาที่ผ่านมาทั้งบทความที่เขียนและคนไข้ที่มาพบ ถูกตอกย้ำถึงความไม่ดีงามและการขาดสรรพคุณที่น่าเชื่อถือ ซึ่งอาหารเสริมเกือบทั้งหมด จะตกอยู่ในประเภทนั้น และทำให้คนที่เป็นโรคจริงๆซึ่งต้องการการรักษาที่ถูกต้องเสียโอกาส เพราะหลงเชื่อตามคำโฆษณายุยง

ไม่นานมานี้เพื่อนๆอดรนทนไม่ได้ถามว่า.......ถามจริงๆวะหมอเอ็งไม่กินอาหารเสริม จริงหรือเปล่า คำว่าอาหารเสริมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเสริมจริงๆในส่วนที่ขาดเช่น ในเด็กทารก คนชรา ทานอาหารไม่ได้ มีการดูดซึมอาหาร และเกลือแร่ผิดปกติ แต่หมายถึงเสริมเพื่อให้ตายช้าหมายถึงยืดอายุให้ยืนนาน ไม่แก่เฒ่า หน้าตาสวย หล่อตลอดกาล แข็งแรงเตะปิ๊บดัง   60 หรือกระทั่ง 90  ยัง แจ๋ว หัวใจกระชุ่มกระชวย สมรรถภาพทางเพศฟิตปั๋ง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่กินเงินชาวบ้านไปนักต่อนักจะอาศัยวิธีการทุ่มโฆษณา ใช้พรีเซ็นเตอร์ (Presenter) สวย หล่อหรือแก่แล้วย้อมผมดำขลับ ทำท่าเดินเหิน ออกกำลังกาย กระฉับกระเฉง เอาด็อกเตอร์จากที่ไหนมาไม่ทราบมาอธิบายศัพท์แสงทางวิชาการ ซึ่งเมื่อฟังแล้วทึ่ง (แต่คนรู้เรื่องต้องหัวร่องอหาย)หรือเอาฝรั่งมาบรรยายว่าค้นพบผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้านเทือกเขาสูง ซึ่งประดาคนในหมู่บ้านไม่มีใครแก่เฒ่าตลอดจนเอาคนที่หายจากมะเร็ง มายืนยัน โดยที่อาจไม่เป็นมะเร็งจริง หรือ เป็นแต่ชนิดเศษๆ รักษาด้วยวิธีการที่มีอยู่ในปัจจุบันก็มีสิทธิหายได้

อย่าง ไรตาม ก็คงต้องมีเข็ม ในมหาสมุทรบ้างที่อุตสาหะก็จะงมเจอได้สักเล่มสองเล่มเช่นเดียวกับการพิสูจน์ความแน่ด้วยกระบวนการที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพที่จะทำ ให้เราเชื่อมั่นว่าได้ผลมากกว่าไม่ได้กินว่าสามารถเยียวยารักษาหรือป้องกันกระบวนการของการเกิดโรค ที่อาหารเสริมทั้งหลายมักออกมาอวดอ้างทั้งๆที่โรคนั้นๆยังไม่มีใครทราบชัดเจนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรด้วยซ้ำ

ผู้เขียนเองจะเชื่อแม้ว่าเป็นยาแผนปัจจุบันต่อเมื่อมีข้อมูลเชิงประจักษ์จากกระบวนการนั้นต้องมีการนำไปใช้ในการทดสอบระดับเซลล์ หรือเนื้อเยื่อ พบมีกลไกซึ่งเจ๋งตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ อันดับต่อไปคือทดสอบในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ที่มีโรคเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้โดยผ่านขั้นตอนความปลอดภัยก่อน และการทดสอบต้องพยายามจำกัดอิทธิพลของกำลังใจ (placebo effect) ซึ่ง พิสูจน์แล้ว ว่ากำลังใจที่ดีหรือศรัทธาก็ทำให้เกิดการชะลอโรคที่เป็นหรือทำให้มีอาการที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนได้ การทดสอบที่ดีดังกล่าวคือทั้งผู้รับผลิตภัณฑ์ และผู้ทดสอบต่างก็ไม่มีใครทราบว่าผลิตภัณฑ์คืออะไรเมื่อทำการศึกษาในกลุ่มทดสอบที่มีขนาดเหมาะสม ค่อยประเมินผลที่ได้รับ และเปิดโค๊ดลับดูว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นกลุ่มคนที่ได้รับเป็นผลิตภัณฑ์นั้นๆหรือได้รับยาหลอก กระบวนการที่เข้มงวดยิ่งกว่านั้นไปอีกคือ ทำการทดสอบในกลุ่มที่มีปัจจัยส่งเสริมในการเกิดโรคดังกล่าวเพียบทั้งภาวะทางพันธุกรรมว่า เกิดขึ้นชัวร์มากกว่าคนอื่นๆในครอบครัวอื่นๆหรือมีปัจจัยส่งเสริมที่สนับสนุนการเกิดโรค ทั้งที่ผ่านทางกลไกทางพันธุกรรมหรือเหนือขอบข่ายของพันธุกรรม(epigenetics)  และ นอกจากนั้นตัวออกฤทธิ์หลังจากที่ได้รับหรือบริโภคไปแล้วมีการผ่านกระบวนการในเลือด ในตับ จะสามารถซึมผ่านเข้าไปในอวัยวะที่ต้องการให้เกิดผลได้ เช่น ในสมองซึ่งเป็นระบบพิเศษที่ปกป้องไม่ให้สารหรือยาผ่านเข้าไปโดยง่ายนอกจากนั้นเป็นการตามศึกษาทางระบาดวิทยาเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควร แม้จะไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอนชัดเจนก็อาจจะได้ข้อมูลว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเมื่อบริโภคไปแล้ว ตายมากตายน้อย หรือเกิดโรคต่างกันหรือไม่

ถึงครั้งนี้ คงเข้าใจแล้วนะครับว่า ผู้เขียน “เข้ม” มาก พอสมควรกับการให้คะแนนผลิตภัณฑ์หรือยาแต่ในที่สุดเหนือฟ้ายังมีฟ้า ผู้เขียนใจอ่อนกับตัวที่หนึ่งซึ่งรับประทานอยู่จนถึงทุกวันนี้ ตั้งแต่มีบทความในวารสารนิวอิงแลนด์ (NewEngland Journal of Medicine) ฉบับเดือนมิถุนายน 2011 คือ “น้ำมันปลา” แม้ว่าจะมีบทความพิเคราะห์ข้อมูลของน้ำมันปลา ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษ(British Medicine Journal) ฉบับเดือน ธันวาคม 2008 ก็ตาม ว่าน้ำมันปลาไม่มีผลในการลดอัตราตายจากสาเหตุทั้งหมดแม้ว่าจะมีผลบ้างในโรคหัวใจขาดเลือด (จากการรวม 12 การศึกษาผู้ป่วย 32,779 คน) และไม่มีผลในการป้องกันหัวใจเต้นผิดปกติ ข้อมูลจากวารสารนิวอิงแลนด์เป็นการเจาะถึงผลการศึกษา 25 รายการรวม 280,000 ราย ในเชิงระบาดวิทยา พบประโยชน์ในการป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจจากการกินปลาหรือn-3 fatty acid (ซึ่ง จะกล่าวต่อไป)และในการศึกษาทางคลินิค ซึ่งมีการติดตามผู้ป่วยอย่างเข้มงวดที่เกิดมีเส้นเลือดหัวใจตีบไปแล้วพบว่าการปรับพฤติกรรมการกินอาหารที่ถูกต้องรวมทั้งกินปลาหรือเสริมด้วยกรด ไขมันn-3 หรือด้วยการใช้ EPA กับ DHA ให้ประโยชน์ในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคใหม่ ในขณะที่วิตามิน E ไม่ มีผล เป็นการศึกษาทั้งในคนเอเชียคือญี่ปุ่น และฝรั่งในยุโรปหรือสหรัฐ อย่างไรก็ตามการใช้น้ำมันปลายังมีข้อพิสูจน์ไม่ชัดเจนในการป้องกันหัวใจเต้นผิดปกติ

ที่เรียกว่าน้ำมันปลานั้นความจริงหมายถึงแหล่งที่ให้กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (polyunsaturated fatty acid) ซึ่งมีทั้งชนิดn-6 และ n-3 (ชื่อเรียกตามจำนวนของโครงสร้างdouble bond ใน aliphatic chain และตำแหน่ง)โดยที่จะมีคุณสมบัติทางกายภาพและทางชีววิทยาแตกต่างกันออกไป โดยที่น้ำมันปลาจะมีn-3 อยู่มาก ในคนรวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะไม่มีความสามารถในการสังเคราะห์ขึ้นมาเองจึงต้องใช้กรด linoleic และ alpha-linoleic (ALA) เป็นตัวตั้งต้น ทั้งนี้ถือเป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย(essential fatty acid) 

ในคนซึ่งบริโภค EPA และ DHA จะพบว่าระดับไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) (ไม่ใช่โคเรสเตอรอล) ต่ำลงได้ และเมื่อวิเคราะห์ ดัชนีทางชีวภาพ(biomarker) จะพบว่ามีระดับของ cytokines IL-1β และ TNF α ต่ำ ลงอาจมีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำลงเล็กน้อย โดยไม่มีผลทางการรักษา และทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้นและปรับระดับการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติที่มีผลในการเต้นของหัวใจ(heart-rate variability) อีกทั้งทำให้เซลล์ของเส้นเลือดยืดหยุ่นขึ้นและมีการเกาะจับตัวของตะกรันเส้นเลือดน้อยลง

การที่จะได้ EPA และ DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวn-3 อาจไม่จำเป็นต้องซื้อปลาแซลมอนมากินทุกวัน ในช่วงระยะเวลา 10ปี เริ่มมีผลิตภัณฑ์บริสุทธิ์ของ EPA และDHA จาก หลายบริษัท และอาจมีส่วนช่วยอธิบายว่าทำไมผลการศึกษาในคน ในช่วงระยะก่อนหน้า10 ปีนี้ มีผลที่ได้ ไม่ตรงกัน และเกิดความสับสนในหลักฐานทางวิชาการ

ถึง ตอนนี้ทราบแล้วนะครับว่าผู้เขียนก็อยากมีชีวิตสดชื่น แข็งแรงเหมือนกับคนอื่นๆ แต่ถ้าจะให้ตัวเองเชื่อและแนะนำให้คนไข้ซึ่งมีโรคประจำตัวมากมายต้องกินแล้วน่าจะมีข้อมูลที่เชื่อถือได้เช่นข้างต้น ในบ้านเราพบว่ามีอาหารเสริม EPA และ DHA นับ สิบๆอาจเป็นร้อยยี่ห้อ คงต้องระวังความบริสุทธิ์ในการเตรียม และเลือกชนิดที่ไม่มีวิตามินเกลือแร่จิปาถะอีก 20 ชนิด ปนลงไปด้วย นอกจากนั้นยังพบว่ามีการปลอมอาหารเสริมโดยใช้ภาชนะหรือกระปุกของจริงแต่ของข้างในปลอม และขายราคาถูก กลายเป็นธุรกิจการขายตรงแบบแชร์ลูกโซ่ ก็จะมีน้ำมันปลานี่ตัวหนึ่งที่กินแล้วอาจดีกว่าไม่กินคราวหน้าหมอมีตัวที่ 2 อีกนะครับ


อาหารเสริมเลือกตัวไหนดี(2) ตอนบนเส้นทางสู่อมตะ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

by Thiravat Hemachudha (Notes)on Monday, January 9, 2012 at 10:29am


ความเป็นอมตะ คือ มีชีวิตยืนยาวสุขภาพดีสมองไม่เสื่อมไม่มีโรคเกี่ยวเนื่องกับอายุขัยเป็นสิ่งที่มนุษย์ (โดยเฉพาะตั้งแต่เลข 4 ขึ้นไป) แสวงหา กลไกที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดที่ทำให้อายุยืนยาวแต่ไม่มีใครทำคือทำให้ตกอยู่ในภาวะอดอาหาร โดยเฉพาะขาดกลูโคสหรือน้ำตาล (Starvation และCaloric Restriction) ซึ่งพิสูจน์ได้ในสัตว์ทดลองเช่นหนู ตั้งแต่ 80ปีมาแล้วโดย Clive McCay และ MaryCrowell จากมหาวิทยาลัย Cornell และเป็นจริงในลิงเช่นกันในราวปี 1950 เป็นต้นมา Denham Harman ที่มหาวิทยาลัยCalifornia, Berkley ได้พัฒนาความรู้โดยเชื่อมโยงกับกระบวนการเกิดออกซิเจนพิษ(oxygen free radical species) ในร่างกายซึ่งในปัจจุบันก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกลไกทั้งหมดเท่านั้น อย่างไรก็ตามทั้งหลายทั้งปวงดูจะมุ่งไปสู่ Sirtuins ซึ่งเป็นโปรตีนควบคุมกระบวนการในร่างกายซึ่งโดยปกติจะนิ่งเงียบกบดานอยู่ (silent information regulator หรือ SIR) และพบได้ตั้งแต่ในยีสต์ถึงมนุษย์โดยกลุ่มของ Leonard Guarente และได้ตีพิมพ์ผลงานในปี 1995ในวารสาร Cell และพบว่า SIRT 4 มีบทบาทในการยืดอายุของยีสต์ ในช่วงเวลา10 ปี จากปี 2000-2011 มีงานวิจัยเกี่ยวกับSIR และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องเกือบ 1,200 ฉบับโดยการประชุมซึ่งจัดโดย NYAS มีนักวิทยาศาสตร์จากWeill Cornell Medical College  จาก EcolePolytechnique Federale Lausanne จาก MIT และจากGladstone Institute (UCSF) รวมทั้งจาก Harvard MedicalSchool

จนถึงตรงนี้อาจยังนึกภาพไม่ออกว่าอาหารเสริมจะช่วยอะไร Resveratrol มีความเกี่ยวพันกับ Sirtuinต่างๆ และระดับของ NAD+  ซึ่ง เป็นตัวตั้งต้นของกระบวนการปรับความสมดุลย์ของพลังงานคงความมั่นคงแข็งแรงของโรงงานในเซลล์ คือ ไมโตคอนเดรีย ปรับสภาพเซลล์ให้คงทนอยู่ได้และซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย และส่งผลในการบรรเทาโรคที่เกี่ยวข้องกับเมตาบอลิซึมทั้งหลายรวมทั้งเบาหวาน โรคไขมันสูง เป็นต้น

โลกได้รับทราบสรรพคุณของไวน์ที่มีผลต่อสุขภาพจากรายงานของฝรั่งเศสในปี1992 ในไวน์มีระดับแอลกอฮออล์ 11-14 % และมีสารประกอบPolyphenols ซึ่ง ตัวเสริมสุขภาพในไวน์นั้นได้จากทั้งแอลกอฮออล์(ดังที่ดื่มวิสกี้ วอดก้า บรั่นดี ไวน์ขาว ในปริมาณชาย 2 หญิง1แก้ว ก็ดีทั้งนั้น) และได้จาก สารPolyphenols Resveratrol อยู่ในเปลือกขององุ่น (ในไวน์แดง)และผลไม้นานาชนิด เช่น Cranberry,Mulberry,Lingonberry,Bilberry,Partridgeberry,Sparkleberry,Blueberry, Jackfruit, Peanut แม้กระทั่งใบและดอกของต้นไม้หลายชนิด

Resveratrol ที่เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในปัจจุบันเตรียมจากรากแห้งของ Polygonum Cuspidatum ในญี่ปุ่นและจีนโดยที่สมุนไพรที่สกัดจาก Polygonum ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อราโรคผิวหนัง โรคตับ และโรคหัวใจมาแต่โบราณกาล 

ที่ กล่าวมายืดยาวเป็นเครื่องแสดงว่าการคัดสรรอาหารเสริมไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และต้องท่องขึ้นใจว่าอาหารเสริมไม่ใช่ของวิเศษ ไม่เป็นยา ยังใช้รักษาโรค ป้องกันโรคไม่ได้ดีเลิศเช่นยา เป็นของ เสริม ตราบใดที่ไม่สามารถมีข้อมูลชัดเจนถึงประสิทธิภาพการรักษาว่าลดการเจ็บป่วยการตายได้เพียงใด ป้องกันการเกิดโรคได้กี่เปอร์เซ็นต์ จะใช้ขนาดเท่าใดจึงจะเริ่มเห็นประสิทธิภาพมีผลข้างเคียงระดับใด ก็ยังจัดเป็นยาไม่ได้ ห้ามใฃ้แทนยามาตรฐานเป็นอันขาดอาจจะใช้เป็นของ “บำรุง” ได้ และถึงแม้Resveratrol จะ ดู “เก่ง” เพียงใด แต่ในทางสู่อมตะ แม้ว่าจะมีผลในการยืดอายุของหนูที่ให้อาหารไขมันสูงก็ตามแต่ในหนูที่ได้อาหารปกติกลับอายุไม่ยืนกว่าเดิมตามที่คาด แม้ว่ากลไกในการปกป้องเซลล์จะคงมีอยู่ก็ตามเพราะฉะนั้นตอนต่อไปเตรียมตัวพบเส้นทางอมตะเส้นใหม่ TOR สดชื่นในปีใหม่นะครับ


อาหารเสริมเลือกตัวไหนดี(3) ตอน ทอร์เส้นทางสู่อมตะ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

by Thiravat Hemachudha (Notes)on Monday, January 9, 2012 at 10:36am

จากตอนที่แล้ว เส้นทางสู่อมตะผ่านยีน Sirtuins ซึ่งมีสาร Resveratrol ทำ หน้าที่ในการควบคุมให้ร่างกาย รวมทั้งสมองแข็งแรง โดยที่แม้จะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พอสมควรแต่ยังไม่สามารถจัดเป็นยา โดยน่าจะเป็นแค่ผู้ช่วยพระเอก นั่นก็คือรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกาย พักผ่อน อาหารหลักเป็นผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วปลา ถ้ามีโรคประจำตัวให้คุมด้วยยามาตรฐานให้ถึงขีดสุด และอาหารเสริมจัดเป็นตัวช่วยเท่านั้นในเรื่องของอายุยืนอย่างมีคุณภาพ Resveratrol แม้ จะช่วยระงับผลร้ายไปบ้างที่ทำให้อายุในหนูที่เลี้ยงด้วยอาหารไขมันสูงสั้นลงแต่ในหนูปกติกลับไม่ช่วยยืดอายุนัก แต่กระนั้น อนาคตเริ่มสดใสอีกครั้ง เมื่อมีการประกาศจากห้องปฏิบัติการพร้อมกัน3 แห่ง ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากสถาบันศึกษาธรรมชาติของอายุขัยและศึกษากระบวนยืดอายุชราอย่างมีคุณภาพ (National Institute of Aging, www.nia.nih.gov) ว่า Rapamycin ยืดชีวิตออกไปได้

           Rapamycin ถูกค้นพบตั้งแต่ปี 1972  มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราโดยทั้งนี้เป็นผลผลิตจากแบคทีเรีย ซึ่งนำมาศึกษาจากเกาะ Easter (ภาษาพื้นเมือง Rapa Nui) ในมหาสมุทรแปซิฟิกห่างจากชิลี2,200 ไมล์ ตั้งแต่ปี 1964  Rapamycin ยืดชีวิตของหนูออกไปได้อีก12 เปอร์เซ็นต์ และยังได้ผลกับหนูที่ชราแล้ว ทั้งๆที่เครื่องในอวัยวะต่างๆน่าจะเสื่อมไปแล้ว เป้าหมายของ Rapamycin มีการตั้งชื่อว่า“โปรตีนทอร์” (TOR, Target of Rapamycin) ซึ่งพบได้ทั้งในสัตว์และคน โดยยังมีฤทธิ์ในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่มาพร้อมอายุขัยที่มากขึ้นซึ่งรวมถึงมะเร็ง โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมเบาหวานในผู้ใหญ่ (ชนิดที่ 2)  กระดูกผุบาง และจอประสาทตาเสื่อม

ความเป็นมาของ Rapamycin นับแต่ห้องปฏิบัติการใน มอนทรีออล(Montreal) ชื่อ Ayerst พบสรรพคุณในการยับยั้งเชื้อราและก็ยังได้ทำการศึกษาต่อจนพบว่า Rapamycin ยัง มีฤทธิ์กดระบบภูมิคุ้มกันและสามารถนำไปใช้ป้องกัน ปฏิกิริยาต่อต้านอวัยวะที่ปลูกถ่ายใหม่ โดยในปี คศ.1999สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐขึ้นทะเบียน Rapamycin ให้ใช้ได้ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไต และในปี 2007 บริษัทยาPfizer ได้ขึ้นทะเบียนยา Temsirolimus และบริษัทยาNovartis ได้ขึ้นทะเบียนยา Everolimus เป็นยารักษามะเร็งหลายชนิด

บนเส้นทางคู่ขนานกับการค้นพบสรรพคุณในการรักษามะเร็งความที่ Rapamycin สามารถ คุมและกดการทำงานของยีนซึ่งมีผลในการเติบโตของเซลล์ทั้งจำนวนและขนาดในช่วงที่กำลังแบ่งตัว โดยยีนนี้มีทั้งในยีสต์จนถึงมนุษย์ 

อุปสรรค์สำคัญในการใช้ Rapamycin ที่ จะยืดอายุอยู่ที่ความเป็นพิษและการที่มีผลในการกดภูมิคุ้มกัน (ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) 

แม้ว่าTOR จะเสมือนเป็นประตูเปิด-ปิด ความชราแต่ก็ยังมีกลยุทธ์ที่จะเข้าถึงประตูแห่งความสำเร็จโดยใช้วิธีทางอื่นๆผ่านอินซูลินและโปรตีน FoxO รวมทั้งSirtuins ซึ่งน่าจะร่วมในกระบวนการยับยั้ง TOR (กรุณาอ่านตอน 2 และบทบาทของ Resveratrol)

วงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์จะประสบความสำเร็จหรือไม่ในการยืดชีวิตผ่านทางประตูต่างๆเช่นTOR เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า ธรรมชาติ กำหนดมนุษย์ให้ผ่านความเยาว์วัยสดใสของเด็ก-หนุ่มสาวและให้เติบโต จวบจนถึงอายุที่สมควร ยีนต่างๆจะกำหนดให้มนุษย์มีการพัฒนาจนจุดหนึ่งที่มีการเสื่อมโดยจำกัดให้มีพฤติกรรมสมวัย แม้ในอนาคตมนุษย์จะมีอายุยืนกว่า 100 ไม่มีโรคภัยร้ายแรง แต่ก็คงงกๆเงิ่นๆ อยู่ดีเพราะฉะนั้นเราควรเผชิญความตายอย่างสมศักดิ์ศรีและตลอดเวลาที่อยู่ไม่สร้างภาระให้ใคร น่าจะดีกว่านะครับ

Smiley



แถม ..

หนังสือ เคล็ด(ไม่)ลับ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างรู้เท่าทันโฆษณา ( หนังสือ pdf แจกฟรี)    //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2012&group=7&gblog=160

หนังสือ ทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา ............ของดี ฟรีด้วย โหลดอ่านกันได้เลยครับ     //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-10-2012&group=7&gblog=163

"คลอโรฟิลล์" .. ดีจริง ตามที่โฆษณา หรือว่า แค่หลอกเล่น เหมือนกับที่เคย ๆ ...    //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-09-2010&group=7&gblog=105

ยา กับ อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ???    //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=5

อาหารเสริม เลือดจระเข้ ดีจริงหรือ ???    //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-12-2009&group=7&gblog=41




Create Date : 23 สิงหาคม 2556
Last Update : 23 สิงหาคม 2556 14:20:53 น. 0 comments
Counter : 10613 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]