Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2560 06 10 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เขตสุขภาพ



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็น และ สนับสนุนสถานีฯ ได้ที่หมายเลข 055 - 714 417  
วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :  ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ให้กลุ่มเสี่ยงฟรี ที่ รพ.ของรัฐ เริ่ม 1 มิ.ย. – 31 สค.2560
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-06-2017&group=4&gblog=129

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา : เขตสุขภาพเพื่อประชาชน
https://www.facebook.com/SamachaKamphaengPhet/photos/?tab=album&album_id=1210764032290293

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2560 ตั้งแต่เวลา16.00 น. ตลาดต้องชม ถนนคนเดิน ฅนกำแพง ณ บริเวณริมแม่น้ำปิง ชิมอาหารพื้นบ้าน ช็อปสินค้าชุมชน ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ร่วมเช็คอินถ่ายภาพ นั่งรถรางชมวิวรอบเมือง สินค้าธงฟ้าราคาประหยัด และการออกร้านของหน่วยงานราชการ เอกชน สนับสนุนโดย จังหวัดกำแพงเพชร เทศบาลเมืองกำแพงเพชร และสนง.พาณิชย์จังหวัดกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1693023594334635&set=a.1381559048814426.1073741827.100008810321448&type=3&theater

- วันที่ ๑๗ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ฝึกอบรมหลักสูตรตรวจสอบทุจริต อบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน รุ่น 32
เปิดรับสมัคร 15 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2560
อบรม วันเสาร์- อาทิตย์ ที่ 17– 18 มิถุนายน ที่ จ.กำแพงเพชร  (สถานที่แจ้งเฉพาะท่านที่ผ่านคัดเลือกเข้าอบรม)
//www.actwatchdog.com/wd32/

- วันอาทิตย์ที่25 มิถุนายน 2560 เวลา 07:00 น. การแข่งขันปั่นจักรยานการกุศล"สองล้อเพื่อน้องปี2"
รับสมัคร : ตั้งแต่วันนี้ - 17  มิถุนายน 2560 เส้นทางการแข่งขัน ระยะทาง : 55 กิโลเมตร
สอบถามโทร : 098-750-9955
ลงทะเบียนร่วมกิจกรรม https://goo.gl/forms/HyYwZpBjTJVMVV243

- วันอาทิตย์ 25 มิถุนายน 2560 เวลา 04:00 - 09:00 น. เดิน-วิ่งเพื่อพ่อ ต่อต้านยาเสพติด จังหวัดกำแพงเพชร 2017
ณ ลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย (ริมปิง) กำแพงเพชร
วิ่งฟรี ไม่มีค่าสมัคร และ ผู้ที่ลงทะเบียน 1,000 คนแรก ได้รับเสื้อ ฟรี มีเหรียญมีถ้วยรางวัลให้
สอบถามและสมัครได้ที่
- ศูนย์อำนวยการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ชั้น 3 ศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร 055-705213 (ในวันเวลาราชการ)
- ประชาส้มพันธ์ ชมรม เดิน-วิ่ง ชากังราว กำแพงเพชร 088-2812036
https://www.facebook.com/kppmove/posts/1037398016403863

”””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)     โทร 055 - 714 417  
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ชิมชมช๊อป OTOP กำแพงเพชร ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชุน "ศูนย์โอทอป สาขาในเมือง" ติดกับ สนง.เกษตร จ.กพ (สามแยกหน้าวิทยาลัยเทคนิค) เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. โทร 086 515 6596
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.474248506032015.1073741854.146082892181913&type=3
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3

””””””””””””””””””””””””””””””

๑. ความรู้สุขภาพ : ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ให้กลุ่มเสี่ยงฟรี ที่ รพ.ของรัฐ เริ่ม 1 มิ.ย. – 31 สค.2560

สธ.พร้อมฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 .5 ล้านโด๊ส ให้กลุ่มเสี่ยงฟรี ที่รพ.ของรัฐเริ่ม 1 มิ.ย. – 31 สค.60
//www.thaigov.go.th/news/contents/details/4076
https://www.hfocus.org/content/2017/05/14016
กระทรวงสาธารณสุขให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ แก่ บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย และประชาชนกลุ่มเสี่ยง 3.5 ล้านโด๊ส ที่สถานพยาบาลของรัฐใกล้บ้านฟรี 1 มิถุนายน - 31สิงหาคม2560
นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้ามาตรการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ว่า โรคไข้หวัดใหญ่เกิดได้ประปรายตลอดทั้งปี โดยจะพบมากขึ้นในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นสาเหตุที่สำคัญของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน ทั้งนี้เชื้อไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี จากสถานการณ์ล่าสุด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 พฤษภาคม 2560 พบผู้ป่วย 22,117 ราย  เสียชีวิต 2 ราย เพื่อลดความรุนแรงของโรค การให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น จึงต้องมีการฉีดวัคซีนทุกปี
“ปี 2560 นี้ รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค และ สปสช.จึงขอเชิญชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ นอกจากป้องกันโรคแล้ว ยังลดภาวะแทรกซ้อน และการแพร่ระบาดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะมีผลป้องกันร้อยละ 60-70 ดังนั้นประชาชนจึงต้องควบคู่กับการดูแลตนเอง โดยหลีกเลี่ยงหรือป้องกันตนเองจากการสัมผัสผู้ที่ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ การทำร่างกายให้แข็งแรง กินอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ และล้างมือให้สะอาด ซึ่งเป็นมาตรการที่จำเป็นสำหรับกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ปี 2560 องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงแนะนำวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ ประกอบของไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A(H1 N1) สายพันธุ์ใหม่/มิชิแกนแทนแคลิฟอร์เนีย2009, ชนิด A (H3 N2) สายพันธุ์เดิม/ฮ่องกง และไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B สายพันธุ์ เดิม/วิคตอเรีย ขณะที่วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ได้เพิ่มชนิด B/ยามากาตะ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลกพิจารณาว่ามีโอกาสพบน้อยที่สุดของทั้งหมด โดยมีความชุกไม่ถึงร้อยละ 5 ทางการแพทย์ถือว่าประสิทธิภาพครอบคลุมใกล้เคียง จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้วัคซีน 4 สายพันธุ์ ซึ่งมีราคาสูงกว่า
ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล จำนวน 3 ล้าน 5 แสนโด๊ส ให้กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 4 แสนโด๊ส และประชาชนกลุ่มเสี่ยง 3 ล้าน 1 แสนโด๊ส ประกอบด้วย
1.หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
2.เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
3.ผู้มีโรคเรื้อรัง คือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน
4.บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
5.ผู้มีน้ำหนักตัว มากกว่า 100 กิโลกรัม
6.ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
7.ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย
8.ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)

การเตรียมตัวฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้น ก่อนฉีดวัคซีน ควรพักผ่อนให้เพียงพอ สุขภาพโดยรวมสามรถปฏิบัติงานได้ปกติ ไม่ป่วยหรือมีอาการไข้ก่อนรับการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ผู้ที่ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน  ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ไก่อย่างรุนแรง มีประวัติเคยแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรง
โดยทั่วไปอาการข้างเคียงพบได้น้อย ส่วนใหญ่เป็นอาการเฉพาะที่ เช่น บวม แดง ตรงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือมีไข้ต่ำๆอาการที่เกิดขึ้นมักหายได้เองภายใน   1-3 วัน  การดูแลรักษาอาการข้างเคียง หากปวด บวมบริเวณที่ฉีดให้ประคบด้วยผ้าเย็น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ในขนาดที่เหมาะสม ส่วนอาการแพ้รุนแรงหลังการฉีดนั้นพบได้น้อยมาก จะมีอาการปรากฏให้เห็นภายใน 2-3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง หลังฉีด อาจมีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงดัง หอบ เสียงแหบ ลมพิษ หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ ดังนั้น หลังฉีดวัคซีนควรสังเกตอาการ 2-4 ชั่วโมง หากมีอาการรุนแรง หรือเป็นมาก ควรปรึกษาแพทย์ทันที และแจ้งอาการให้ทราบโดยละเอียด
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422 หรือ สำนักโรคติดต่อทั่วไป โทร 02-590-3183 
๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :  เขตสุขภาพเพื่อประชาชน
โดย คณะทำงานพัฒนารูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน  กันยายน ๒๕๕๘
เขตสุขภาพเพื่อประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของ การปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๕๕๖ และมติคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๘ ส.ค. ๒๕๕๗ และต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ได้ลงนามอนุมัติการจัดตั้งเขตสุขภาพ เพื่อประชาชน เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ โดยตั้ง นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธานคณะทำงานพัฒนารูปแบบเขตสุขภาพเพื่อประชาชนและสร้างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๕๗
เขตสุขภาพเพื่อประชาชน มุ่งเน้นขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพในระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับ ความจำเป็นด้านสุขภาพ(Health needs) ของประชาชน ครอบครัว และชุมชน ในเขตพื้นที่ โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลาง ใช้พื้นที่หรือกลุ่มจังหวัด เป็นฐานการทำงานแบบมีส่วนร่วม (Area-Function-Participation : AFP ) เป็นกลไกรองรับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ที่เชื่อมร้อยการทำงานในแนวราบ ไม่ใช้อำนาจสั่งการหรืองบประมาณเป็นปัจจัยหลัก แต่มุ่งเน้นบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน ภาควิชาการ วิชาชีพ และภาคประชาสังคม ซึ่งจะทำให้เกิดสมดุลในการการอภิบาลระบบสุขภาพ โดยรัฐ ตลาดและเครือข่าย
๓. สาระสำคัญของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
๓.๑ หลักการสำคัญ
๓.๑.๑ ยึดประโยชน์สุข สุขภาวะประชาชนในเขตพื้นที่เป็นศูนย์กลาง โดยทุกภาคส่วนที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับสุขภาพ สุขภาวะของคน ชุมชนและสังคม มีความเป็นเจ้าของ มีความผูกพัน ร่วมรับผิดชอบ (Collective accountability) ร่วมกัน กำหนดวิสัยทัศน์ ประเด็นสุขภาพ และร่วมกันขับเคลื่อนงานเพื่อจัดการสุขภาพในทุกมิติ อย่างครบวงจร
๓.๑.๒ ยึด “หลักการ ทิศทาง และแนวทางสำคัญของการปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย๗” ตามมติ ๖.๘ ของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๕๕๖ ประกอบด้วย (๑)การปฏิรูประบบการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการจัดการภัยคุกคามสุขภาพ (๒)การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ (๓)การปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาบุคลากรสุขภาพ (๔)การปฏิรูประบบการเงินการคลังและระบบหลักประกันสุขภาพ และ (๕)การปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (ดู สรุปสาระสำคัญโดยสังเขปในข้อ ๑.๒ (๑) ถึง (๕) ข้างต้น) เป็นกรอบการดำเนินการ
๓.๑.๓ เป็นกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามภารกิจ โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน (Area –Function - Participation : AFP)
๓.๑.๔ เน้นการประสานพลังปัญญา พลังสังคมและพลังรัฐ

๓.๒ เป้าประสงค์
เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในระดับพื้นที่ และสอดคล้องต่อความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน ครอบครัว และชุมชน ในเขตพื้นที่

๓.๓ วัตถุประสงค์
๓.๓.๑ เพื่อเป็นกลไกกระตุ้นให้เกิดการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมด้านสุขภาพของเขตพื้นที่ ชี้ทิศทางและบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในด้านสุขภาพทุกมิติ ทั้งทางกาย ใจ ปัญญาและสังคม ที่มุ่งความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพทั้งภายในเขตพื้นที่และระหว่างเขตพื้นที่
๓.๓.๒ เพื่อเป็นกลไกรองรับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการกำหนด และจัดการสุขภาพของตนเองในทุกมิติ รวมทั้งการติดตามประเมินผล โดยเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาวะให้สังคมเข้มแข็งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดสมดุลในการอภิบาลระบบสุขภาพโดยรัฐ ตลาด และเครือข่าย
๓.๓.๓ เพื่อจุดประกายและกระตุ้นให้องค์กรภาคีต่าง ๆ สามารถดำเนินงานบรรลุภารกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิผล
๓.๓.๔ เพื่อส่งเสริมแนวทางการกระจายอำนาจ และสร้างความเข้มแข็งให้กับพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการปฎิรูประบบสุขภาพในการปฏิรูปประเทศไทย ในด้านการปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ที่เน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติว่าด้วยระบบสุขภาพชุมชน๑๐ ตามมติ ๖.๓ ของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปี ๒๕๕๖
๓.๓.๕ เป็นกลไกเสริมพลังของหน่วยงานต่างๆ ที่มีปฏิบัติการในเขตพื้นที่และเอื้อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ควบคู่กับการสานพลัง (Synergy) เพื่อให้แต่ละหน่วยสามารถทำงานได้บรรลุตามภารกิจที่หน่วยนั้น ๆ รับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่เกี่ยวกับสุขภาพตามแนวคิด “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” (Health in All Policies)

๓.๔ ภารกิจของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
๓.๔.๑ สร้างพื้นที่บูรณาการการทำงานด้านสุขภาพของทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลและคุณภาพในการทำงานด้านสุขภาพของทุกมิติ และลดความเหลื่อมล้ำ
๓.๔.๒ ผลักดันและขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพในเขตพื้นที่ให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพ (Health needs) ของประชาชน เพื่อยกระดับสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่นั้นๆ โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของกลไกต่างๆ ในเขตพื้นที่ เพื่อความยั่งยืน
๓.๔.๓ ร่วมกันอำนวยการเพื่อให้เกิดทิศทาง บูรณาการการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพร่วมกันในเขตพื้นที่ ของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ และภาคประชาสังคม โดยให้ความสำคัญกับภารกิจร่วมประสาน ร่วมแลกเปลี่ยน ร่วมชี้ทิศทาง ร่วมบูรณาการ ร่วมระดมสรรพกำลังและทรัพยากรขับเคลื่อน เน้นเรื่องที่เกินขีดความสามารถของจังหวัดหนึ่งจังหวัดใดจะทำได้เอง หรือเรื่องที่กลุ่มจังหวัดตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ด้วยการทำให้เกิดกระบวนการถกแถลงและกำหนดทิศทางร่วมกัน จากนั้นให้แต่ละหน่วยงานไปดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กลไก กฎหมาย ระเบียบ บทบาทภารกิจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน หรืออาจร่วมกันดำเนินงานในส่วนที่ร่วมกันได้ โดยใช้แผนปฏิบัติการร่วมหรือโครงการร่วมเป็นเครื่องมือ
๓.๕ ขอบเขตหรือการครอบคลุมของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
เขตสุขภาพเพื่อประชาชน จัดแบ่ง เป็น ๑๒ เขต และกรุงเทพมหานครจัดเป็น ๑ เขต (หรือเป็น ๑๒+๑ เขต) เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบพื้นที่การทำงานของภาคีหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โดยการกำหนดเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ให้เป็นไปตามรายการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนและจังหวัดภายใต้เขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่ระบุในภาคผนวก ทั้งนี้ อาจมีเขตสุขภาพเพื่อประชาชนลักษณะอื่นเป็นกรณีพิเศษ คืออาจมีเขตสุขภาพเพื่อประชาชนสำหรับการดำเนินงานในลักษณะเชิงประเด็นได้
ปล. เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 3 ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี

๓.๖ โครงสร้างของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
ประกอบด้วย ๓ ส่วนหลักคือ
(๑) คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เน้นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ที่สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมในการจัดการกับประเด็นที่หลากหลายและมีทิศทางการจัดการประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) เลขานุการกิจ ที่มาจากหน่วยงานหลักๆ ที่มีบุคลากรและทรัพยากรสนับสนุนงานได้ตามสมควร รวมตัวกันเข้ามาทำงานในฐานะหน่วยเลขานุการร่วมของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
(๓) คณะกรรมการสนับสนุนเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กสขป.) เป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
มีองค์ประกอบและบทบาทหน้าที่ดังนี้
๓.๖.๑ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.)
๑) คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ ๑ – ๑๒
๑.๑) ในแต่ละเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ให้มีคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) มีองค์ประกอบมาจาก ๓ ภาคส่วน (ภาครัฐ, ภาควิชาการ/วิชาชีพ, ภาคประชาชนและสังคม) ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน กรรมการแต่ละคนมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๓ ปี
๑.๒) ประธาน กขป. และรองประธานอีกไม่เกิน ๒ คน มาจากคนละภาคส่วน โดยเป็นการคัดเลือกกันเอง ทั้งนี้ ประธานดำรงตำแหน่งได้เพียง ๑ วาระ และต้องสลับภาคส่วนกันทำหน้าที่
๑.๓) องค์ประกอบ กขป. ในแต่ละเขต สำหรับ กขป. เขตที่ ๑ - ๑๒ มีดังนี้
ภาคส่วนที่ ๑ ภาครัฐ ( ๑๖ คน)
ภาคส่วนที่ ๒ ภาควิชาการ/วิชาชีพ (๑๑คน)
ภาคส่วนที่ ๓ ภาคประชาชนและสังคม (๑๗ คน)
๑.๔) ฝ่ายเลขานุการกิจของ กขป. แต่ละเขต สำหรับเขตที่ ๑ – ๑๒
๑.๔.๑) ใช้รูปแบบ “กองเลขานุการกิจร่วม” ที่มีผู้แทนจากหน่วยงานหลัก ๆ ได้แก่ กสธ., สปสช., สช., สสส. องค์กรปกครองท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงกำไร โดยให้เป็นไปตามบริบทของพื้นที่
๑.๔.๒) ใช้ทรัพยากรของหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน หรืออาจมีการทำโครงการเฉพาะรวมทั้งใช้สถานที่ทำงานของหน่วยงานในพื้นที่ตามที่เห็นชอบร่วมกัน

๓) บทบาทหน้าที่ของ กขป.
๓.๑) สนับสนุนการจัดการความรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม ศึกษาศักยภาพและทุนทางสังคมด้านสุขภาพของพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนการประเมินสถานะสุขภาพ และการดำเนินงานของเขตพื้นที่
๓.๒) ร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนา ยุทธศาสตร์ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดเป็นการพัฒนาของพื้นที่ พัฒนาที่สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
๓.๓) ประสาน บูรณาการแผนของภาคีในพื้นที่และภาคีนอกพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมหรือรูปแบบการทำงานข้ามภาคส่วนร่วมกัน ในการดำเนินการให้เป็นไปตามทิศทางการพัฒนา ยุทธศาสตร์ ที่กำหนดร่วมกันตามบทบาทหน้าที่ในข้อ ๔.๒ ทั้งนี้ อาจเลือกบางประเด็นมาทำร่วมกันตามความเหมาะสม
๓.๔) สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมการพัฒนาความร่วมมือ ผ่านเครื่องมือและกลไกใหม่ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับกลไกที่มีอยู่แล้วด้วย
๓.๕) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสุขภาพต่อหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๓.๖) สื่อสารกับสังคมในเรื่องการดำเนินงานต่างๆ ของเขตพื้นที่
๓.๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับปัญหาหรือบริบทของพื้นที่ ตามความเหมาะสม
๓.๖.๒ คณะกรรมการสนับสนุนเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กสขป.) ที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแต่งตั้ง มีบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน มีองค์ประกอบ ดังนี้
๑.๑) ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานกรรมการ
๑.๒) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย และผู้แทนกรุงเทพมหานคร
๑.๓) ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงกำไร จำนวน ๓ คน
๑.๔) ผู้แทนองค์กรปกครองท้องถิ่นที่นอกเหนือจากกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑ คน
๑.๕) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ คน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในงานด้านสุขภาพ
๑.๖) เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ

๓.๗ แนวทางการทำงานหรือการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการนับเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามกรอบแนวคิดและวัตถุประสงค์จึงควรมีแนวทางการบริหารจัดการดังนี้
๓.๗.๑ ควรพัฒนาวิธีการจัดการใหม่ เช่น การทำแผนร่วม การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่ การจัดการระบบข้อมูลใหม่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการใช้ข้อมูลร่วม การใช้งานวิชาการเป็นฐานการทำงานร่วมกัน การวางเป้าหมายและแผนงานร่วมเพื่อการจัดการระบบสุขภาพของพื้นที่ การจัดการเครือข่าย และการสร้างพื้นที่กลางให้เครือข่ายได้ทำงานร่วมกัน และเปิดพื้นที่สาธารณะในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากการทำงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เป็นเรื่องการจัดการแนวใหม่ แม้ว่าเขตพื้นที่อาจเป็นพื้นที่เดิม ควรให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ และการทำความเข้าใจกับคนที่จะเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเกิดอุดมการณ์ร่วม และควรทบทวนกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานขับเคลื่อน/แก้ไขปัญหาสุขภาพต่างๆ ในเขตพื้นที่ด้วย
๓.๗.๒ ควรวางแนวทางการเชื่อมประสานกับกลไกโครงสร้างแนวดิ่งและแนวราบที่มีอยู่ โดยมีการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ กลไก/เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในเขตพื้นที่ เพื่อหนุนเสริมการทำงาน
๓.๗.๓ ควรมีการกำหนดประสิทธิภาพของกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมของเขตพื้นที่ให้ชัดเจน โดยมีเครื่องมือสำหรับการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลที่เหมาะสม กำหนดเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จการทำงาน ที่เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดการทำงานของหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องด้วย โดยให้การประเมินผลการทำงานเป็นกระบวนการเรียนรู้ พัฒนา และยกระดับการจัดการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
๓.๗.๔ อาจใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะต่างๆ เช่น สมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ แผนแม่บทพื้นที่ เป็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ และเชื่อมโยงระดับพื้นที่สู่ระดับชาติ เช่น ควรมีเวทีทบทวน สังเคราะห์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริงในพื้นที่ (interactive learning through action) ระหว่างเขตพื้นที่ทั้งระดับจังหวัด เขต ประเทศ อย่างสม่ำเสมอ
๓.๗.๕ ใช้งบประมาณของหน่วยงานต่างๆ มาบูรณาการร่วมกันผ่านการจัดทำแผนปฏิบัติการ โครงการร่วม หรือข้อตกลงร่วม
๓.๗.๖ ควรกำหนดให้การประชุมของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เป็นกระบวนการเปิดที่ให้โอกาสทุกภาคส่วนที่สนใจสามารถเข้าร่วมรับฟัง สังเกตการณ์ รวมทั้งเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุมได้ นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ควรมีการสื่อสารสาธารณะในรูปแบบที่หลากหลาย รวมถึงมีการจัดทำรายงานสาธารณะเพื่อเผยแพร่การดำเนินงานเป็นประจำปี อีกด้วย







 

Create Date : 10 มิถุนายน 2560   
Last Update : 10 มิถุนายน 2560 21:06:35 น.   
Counter : 2462 Pageviews.  

2560 06 03 โรคหน้าฝน ไฟฟ้าช๊อต ป้องกันทุจริต หมาเฝ้าบ้าน



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็น และ สนับสนุนสถานีฯ ได้ที่หมายเลข 055 - 714 417  
วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :  โรคที่มากับน้ำท่วม การป้องกันไฟฟ้าดูด
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-07-2016&group=4&gblog=125

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา : หมาเฝ้าบ้าน กับ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1710176638998005.1073742316.100000170556089&type=3
//www.actwatchdog.com/wd32/

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันที่ ๒ – ๔ มิถุนายน ๒๕๖๐  ขอเชิญเที่ยวชมตลาดย้อนยุคนครชุม พร้อมชมการถ่ายทอดภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้าน "ของดีบ้านฉัน" ในวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2560 "งานนี้หิ้วปิ่นโต มารับคูปองแลกอาหารกลับบ้าน"
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=910280779111682&set=a.129195783886856.22835.100003893065039&type=3&theater

- วันที่ ๑๗ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ฝึกอบรมหลักสูตรตรวจสอบทุจริต อบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน รุ่น 32
เปิดรับสมัคร 15 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2560
อบรม วันเสาร์- อาทิตย์ ที่ 17– 18 มิถุนายน ที่ จ.กำแพงเพชร  (สถานที่แจ้งเฉพาะท่านที่ผ่านคัดเลือกเข้าอบรม)
//www.actwatchdog.com/wd32/

- วันอาทิตย์ที่25 มิถุนายน 2560 เวลา 07:00 น. การแข่งขันปั่นจักรยานการกุศล"สองล้อเพื่อน้องปี2"
รับสมัคร : ตั้งแต่วันนี้ - 17  มิถุนายน 2560 เส้นทางการแข่งขัน ระยะทาง : 55 กิโลเมตร
สอบถามโทร : 098-750-9955
ลงทะเบียนร่วมกิจกรรม https://goo.gl/forms/HyYwZpBjTJVMVV243

- วันอาทิตย์ 25 มิถุนายน 2560 เวลา 04:00 - 09:00 น. เดิน-วิ่งเพื่อพ่อ ต่อต้านยาเสพติด จังหวัดกำแพงเพชร 2017
ณ ลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย (ริมปิง) กำแพงเพชร
วิ่งฟรี ไม่มีค่าสมัคร และ ผู้ที่ลงทะเบียน 1,000 คนแรก ได้รับเสื้อ ฟรี มีเหรียญมีถ้วยรางวัลให้
สอบถามและสมัครได้ที่
- ศูนย์อำนวยการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ชั้น 3 ศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร 055-705213 (ในวันเวลาราชการ)
- ประชาส้มพันธ์ ชมรม เดิน-วิ่ง ชากังราว กำแพงเพชร 088-2812036
https://www.facebook.com/kppmove/posts/1037398016403863

”””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)     โทร 055 - 714 417  
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ชิมชมช๊อป OTOP กำแพงเพชร ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชุน "ศูนย์โอทอป สาขาในเมือง" ติดกับ สนง.เกษตร จ.กพ (สามแยกหน้าวิทยาลัยเทคนิค) เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. โทร 086 515 6596
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.474248506032015.1073741854.146082892181913&type=3
””””””””””””””””””””””””””””””


๑. ความรู้สุขภาพ :  โรคที่มากับน้ำท่วม การป้องกันไฟฟ้าดูด
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-07-2016&group=4&gblog=125

ไฟฟ้าดูด
    ข้อแนะนำในการป้องกันตนเองจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้
    1. ก่อนน้ำท่วมเข้าภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน ให้รีบขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและสิ่งของจำเป็นไว้ที่สูงหรือ  ที่ปลอดภัยน้ำท่วมไม่ถึง และถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน
    2. กรณีเป็นบ้านสองชั้นและมีสวิตช์แยกแต่ละชั้น หากน้ำกำลังจะท่วมชั้นล่าง ให้ปลดสวิตช์ (เบรกเกอร์เมน) ตัดกระแสไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่าง และปลดเบรกเกอร์ย่อยลงให้หมด
    3. กรณีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชั้นบน โดยให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าปลดสวิตช์ที่ชั้นล่างให้   เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าเพื่อแยกวงจรชั้นบนและชั้นล่าง
    4. กรณีบ้านชั้นเดียว ให้งดใช้ไฟฟ้าโดยเด็ดขาด งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด รวมถึงห้ามเปิดปิดสวิตช์ไฟ ด้านในและด้านนอกอาคารที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะตัวเปียกหรือยืนแช่น้ำ แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นอาจอยู่
เหนือระดับน้ำ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ *** ปลั๊กไฟที่น้ำท่วมห้ามใช้งานเด็ดขาด ***
    5. ขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก ห้ามแตะสวิทซ์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า      ที่กำลังเสียบปลั๊ก รวมทั้งการใช้เครื่องสูบน้ำชนิดที่แช่ในน้ำ หากใช้ไม่ถูกวิธีอาจมีกระแสกระแสฟ้ารั่วขณะใช้งาน และถูกไฟฟ้าช็อตเสียชีวิตได้
    6. หากระดับน้ำที่ท่วมขังสูงเกินกว่าปลั๊กหรือเมนสวิทซ์อย่าเดินลุยน้ำ ให้หาวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น  ลังไม้ กล่องพลาสติก เพื่อใช้เป็นทางเดิน ไม่ให้ร่างกายถูกน้ำ
    7. ระมัดระวัง และดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าให้เล่นน้ำบริเวณใกล้เสาไฟฟ้า

การป้องกันเด็กจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้
     1. ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย โดยติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงจากระดับพื้นประมาณ 1.5 เมตร หากติดตั้งปลั๊กไฟในระดับต่ำที่เด็กเอื้อมมือถึง ควรใช้ที่ครอบปลั๊กไฟ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านค้า หรือแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ
    2. ไม่วางสายไฟหรือรางปลั๊กไฟกีดขวางทางเดินหรือผนังในจุดที่เด็กสามารถหยิบจับได้ เพราะเด็กอาจนำสายไฟหรือรางปลั๊กไฟมาเล่นจนถูกไฟฟ้าดูดได้
    3. ติดตั้งสายดินหรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อป้องกันการถูกไฟดูด นอกจากนี้ยังควรต้องศึกษาคู่มือการใช้ให้ดี จะช่วยให้ปลอดภัยทั้งจากไฟดูดและอัคคีภัย
    4. จัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม     หลังจากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสร็จแล้ว ให้ถอดปลั๊ก     เครื่องไฟฟ้าและจัดเก็บให้พ้นมือเด็ก สำรวจอยู่เสมอว่าไม่ให้มีสายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าห้อยลงมาจากโต๊ะ พร้อมที่จะให้เด็กเล็กดึงสายไฟเล่นจนเกิดไฟช็อต หรือดึงสายไฟจนเครื่องใช้ไฟฟ้าตกลงมาใส่ตัว
    5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าภายนอกบ้าน ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเปียกชื้น หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีน้ำเกี่ยวข้องกับระบบการทำงาน เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ ควรเช็ดให้แห้งก่อนใช้งาน
ควรดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังบริเวณที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าสอนให้เด็กเรียนรู้ถึงอันตรายของไฟฟ้าและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี เช่นอย่าแตะสวิทช์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กอยู่ โดยเฉพาะในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก

หากพบเห็นเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าแรงสูงขาดหรือหย่อนลงใกล้พื้น ไม่ควรเข้าใกล้เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และควรรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบเพื่อแจ้งแก่การไฟฟ้าทราบและแก้ไขต่อไป อย่าเสียดายว่าวหรือลูกโป่งที่ติดตามสายไฟ เพราะสายไฟฟ้าแรงสูงนั้นแค่เพียงเข้าใกล้จนเกินไป ก็อาจถูกไฟช็อตอย่างรุนแรงได้

การช่วยเหลือเบื้องต้นจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้ พบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้าหรือตัวนำที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนได้รับอันตรายไปด้วย ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกแห้ง สายยางหรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือใช้ผ้าคล้องหรือให้ผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้าปลดสวิตช์ จากนั้นปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669 หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง ให้หลีกเลี่ยงและรีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่หรือสายด่วน กฟภ. โทร 1129 โดยเร็วที่สุด อย่าลงไปในน้ำ กรณีมีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง หาวัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้าเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้นหรือแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยช่วยผู้ประสบอันตราย

เกิดบาดแผลจากวัตถุแหลมคม เช่น เศษแก้ว ไม้ ตะปู  ที่อาจติดเชื้อโรคแทรกซ้อนและเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้การป้องกันอุบัติเหตุจากวัตถุแหลมคม ดังนี้ เก็บกวาดขยะ วัตถุที่แหลมคม ตะปู ในบริเวณพื้นบ้านและทางเดินอย่างสม่ำเสมอสวมใส่รองเท้าบู๊ทขณะเดินในน้ำ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากของมีคมหากเกิดบาดแผลควรล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด ใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดรอบๆแผลแล้วใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน แผลที่มีการฉีดขาดมาก หรือแผลลึกมากและมีเลือดไหล ให้รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด


๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :  หมาเฝ้าบ้าน กับ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1710176638998005.1073742316.100000170556089&type=3
//www.actwatchdog.com/wd32/

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอ พร้อมเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐ แปลงแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) สู่การปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี และสนับสนุนงบประมาณตามแผนงานบูรณาการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบโดย ให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เป็นต้นไป
สำหรับสาระสำคัญของร่างยุทธศาสตร์ จะครอบคลุมกระบวนการดำเนินงาน ด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานหลักเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย

::::::::::::::::::::
2561 โครงการสหยุทธ์ ภายใต้แผนบูรณาการ ป้องกันปราบปรามการทุจริต ที่น่าสนใจ
- ชุด สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
โครงการ ๓ : แอป ระบบจับโกง (โครงการต่อเนื่อง ปี ๒๕๖๐) (หน้า ๔)
- ชุด ยกระดับเจตจำนงทางการเมือง
โครงการ ๔ : แอป แจ้งเบาะแสทุจริต (หน้า ๑๑)
-ชุด พัฒนาระบบป้องกันเชิงรุก
โครงการ ๙ : โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำแนวทางดำเนินงาน รัฐ เอกชน ประชาสังคม (หน้า ๒๖)
- ชุด ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบทุจริต
โครงการ ๕ : มาตรการคุ้มครองพยานและผู้แจ้งเบาะแส ( หน้า ๓๓ )
ข้อเสนอตามยุทธศาสตร์ชาติ ฯ ระยะที่ ๓
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ..........สังคม (ประชาชน) ไม่ทน แล้วจะทำอย่างไรได้บ้าง ?
- แจ้ง จนท. ปปท. ปปช. ปปง. การแจ้ง ต้องมี "ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ฯลฯ" ของผู้แจ้ง ถึงแม้ว่าจะบอกว่า ปกปิดเป็นความลับ แต่ความเป็นจริงก็คือ มีหลายเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่า ผู้ถูกร้อง รู้ว่า ใครเป็นผู้ร้อง ?
............ เสนอให้ มีการร้องเรียน โดยไม่ต้องลงชื่อ (บัตรสนเท่ห์) แต่ จนท.ต้องเป็นผู้เสาะหาข้อมูลเพิ่มเติม ( จนท.ต้องคิดว่า เป็นจริง มีหลักฐานไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์แล้วว่า ไม่จริง) โดยเฉพาะการร้องเรียน นักการเมือง หรือ ข้าราชการในพื้นที่
............ การส่งข้อมูลการร้องเรียนส่งได้ทั้งในพื้นที่ และ ส่วนกลาง (ส่วนกลางค่อยส่งต่อข้อมูลมายังพื้นที่ เพราะบางพื้นที่ ประชาชนก็ยังไม่มั่นใจ จนท.ในพื้นที่)

- การเผยแผ่ข้อมูลการทุจริต ในพื้นที่ ขณะนี้มักมีเฉพาะข่าวใหญ่ ๆ ในส่วนกลาง แต่ประชาชนในพื้นที่ไม่รู้ และ ขั้นตอนนานเป็นปี ผู้ร้องก็รอจนท้อใจ
........... เสนอให้มีการเผยแผ่ข้อมูล ในพื้นที่ ให้ประชาชนที่สนใจ (รวมถึงผู้ที่ร้องเรียน) ได้รับทราบว่า มีคดีอะไรบ้าง อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ หรือ เสร็จสิ้นแล้ว ผลเป็นอย่างไร มีการลงโทษ หรือยกคำร้อง ฯลฯ ถ้าประชาชน รับรู้ว่า การร้องเรียน มีผล และ ผู้ร้องปลอดภัย ก็จะเกิดความมั่นใจ ที่จะแจ้งเบาะแส หรือ ให้ข้อมูล
........... เสนอให้ นำข้อมูล และ ผลการตัดสิน นำไปเป็น กรณีศึกษา สำหรับสถานศึกษา (ปรับให้เหมาะสมกับ ระดับการศึกษา) ซึ่งแต่ละพื้นที่ ก็จะมีกรณีศึกษาเฉพาะพื้นที่ของตนเอง

- เพิ่มการมีส่วนรวม ของ ประชาชน ในการแจ้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการทุจริต
............ ประสานการทำงานหรือตรวจสอบข้อมูล จากเวบ หรือ เฟสบุ๊ค เช่น เฟส หมาเฝ้าบ้าน เป็นต้น อาจสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของภาคประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก

- นักการเมือง ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน แต่ ข้าราชการ และ อปท. ไม่ต้อง ?
........... เสนอให้ ข้าราชการ และ อปท. ระดับผู้บริหาร หัวหน้าส่วน ในพื้นที่ ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน ( ถ้าเป็นไปได้ รวมถึง วัด ศาสนสถาน มูลนิธิ องค์กรไม่แสวงหากำไร ฯลฯ )
........... เสนอให้ เปิดเผยข้อมูลบัญชีทรัพย์สิน ทางอินเตอร์เนต หรือ สาธารณะ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ว่า สามารถเข้าไปดูได้ที่ไหน อย่างไร เพื่อช่วยตรวจสอบในพื้นที่ว่า จริงหรือไม่ ? ถ้าสงสัยว่า ไม่จริง จะได้ส่งข้อมูลให้ส่วนกลางตรวจสอบอีกครั้ง
........... เสนอให้ คดีร้องเรียนเรื่องทุจริต คอรัปชั่น ไม่มีอายุความ
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

//www.anticorruption.in.th/2016/th/about1.php#about1_section
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เริ่มภารกิจครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2554 ในชื่อ “ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน” บนแนวคิดริเริ่มของ คุณดุสิต นนทะนาคร ประธานหอการค้าไทยในสมัยนั้น ที่เล็งเห็นว่าประเทศชาติต้องสูญเสียผลประโยชน์ไปมหาศาลกับการคอร์รัปชันในโครงการต่างๆ ของภาครัฐซึ่งนับวันจะมีวิธีการที่ซับซ้อนและมีมูลค่าความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ
ในยุคก่อตั้งภาคีฯ มีการระดมความเห็นครั้งแรกต่อการค้นหา “แนวทางความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันจาก ทุกภาคส่วน”นับเป็นความพยายามครั้งแรกของภาคเอกชนที่ต้องการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอันเลวร้ายและบั่นทอนการพัฒนาประเทศมาอย่างยาวนาน มีองค์กรจากภาคเอกชนภาครัฐภาคการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วม 23 แห่งโดยได้จัดงานสัมมนา“ต่อต้านคอร์รัปชัน : จุดเปลี่ยนประเทศไทย” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2554 ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี ปณิธานอันแรงกล้าของคุณดุสิต นนทะนาคร ได้รับการสานต่อจากเหล่าสมาชิกโดยการนำของคุณประมนต์ สุธีวงศ์ ผู้เข้ามารับตำแหน่งประธานภาคีฯ หลังจากการเสียชีวิตของคุณดุสิต โดยในปี พ.ศ.2555 ภาคีฯจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) และได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิในปี พ.ศ.2557 ปัจจุบันมีภาคีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 51 องค์กร
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ในด้านวิชาการ การบริหาร และกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน
2. จัดหาทุน เพื่อการดำเนินงาน หรือเพื่อการพัฒนาองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
3. ส่งเสริมการศึกษา และการวิจัยค้นคว้า ให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและต่อต้านการคอร์รัปชันรวมทั้งสนับสนุนกิจการ
4. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย บ่มเพาะ ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
5. สนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
6. ดำเนินงานพื่อสาธารณประโยชน์ และร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อกิจกรรมอันเป็นสาธาประโยชน์
7. ไม่ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
//www.anticorruption.in.th/2016/th/ourjob.php#ourjob2_section
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มุ่งมั่นจะขับเคลื่อนพันธกิจด้วย ยุทธศาสตร์ 3 ป.
ป.ที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านการปลูกฝัง
ปลูกฝังค่านิยมใหม่ในสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน สนับสนุนให้เกิดการยกย่องคนดีมีศีลธรรม
ป.ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกัน
ทำหน้าที่เสมือนหมาเฝ้าบ้านสอดส่องดูแลให้เกิดการคอร์รัปชันน้อยที่สุด รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือหรือกระบวนการที่จะลดโอกาสของการโกงกิน
โครงการหมาเฝ้าบ้าน
ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันcละปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังภาคประชาชนพร้อมจัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วประเทศถึงการตรวจสอบ และการเฝ้าระวังการทำงาน / การจัดซื้อจัดจ้าง ของทางภาครัฐ พร้อมกันนี้ยังมีคำแนะนำเรื่องการวิเคราะห์ราคากลาง และการวิเคราะห์หน่วยงานเอกชนที่เข้าร่วมประมูลงานจากภาครัฐด้วย

ป.ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการเปิดโปง
โครงการพิพิธภัณฑ์กลโกงชาติ
จัดแถลงข่าว 15 คดี ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
ฝึกอบรมหลักสูตรตรวจสอบทุจริต อบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน รุ่น 32
อบรม วันเสาร์- อาทิตย์ ที่ 17– 18 มิถุนายน ที่ จ.กำแพงเพชร
//www.actwatchdog.com/wd32/

ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านเปิดรับสมัครเพื่อนร่วมขบวนการต้านโกงในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน เข้าฝึกอบรมหลักสูตรตรวจสอบทุจริต อบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน รุ่น 32 ที่ จ.กำแพงเพชร ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 17 -18 มิ.ย. นี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย

การอบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน เป็นกิจกรรมเฉพาะสำหรับคนที่ตั้งใจจริงที่ต้องการเข้ามาเป็นเป็นส่วนหนึ่งของทีม “หมาเฝ้าบ้าน” ทำงานร่วมกับเพื่อนหมาเฝ้าบ้านรุ่นอื่น ๆ ในการสอดส่อง ตรวจสอบการทุจริต เนื้อหาและรูปแบบการอบรมถอดจากประสบการณ์ทำงานของพวกเรา ที่ “ดมกลิ่น ขุดคุ้ย เห่ากัด คนโกง” มากว่า 5 ปี หลักสูตรสอนวิธีการและเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับการทำหน้าที่หมาเฝ้าบ้าน ให้สามารถทำงานได้อย่างที่พวกเราทำ ให้ความรู้ด้านกฎหมาย การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การเข้าถึงแหล่งข้อมูล เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกปฏิบัติแบบรวมหมู่

เพื่อนหมาเฝ้าบ้านที่เราอยากได้
- มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
- มีความซื่อสัตย์ สุจริต สำนึกรักและรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ไม่ยอมรับคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ทุกระดับและตรวจสอบไม่เลือกฝ่าย พวกพ้อง และไม่เป็นผู้ทำงานทางการเมืองในทุกระดับของพรรคการเมือง
- มีความรับผิดชอบและตั้งใจจริงที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นหมาเฝ้าบ้าน ร่วมทำงานกับเพื่อนหมาทั่วประเทศ
- ต้องมีเฟชบุคที่ใช้งานเป็นปกติ
- บุคคลทั่วไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน (กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี และใกล้เคียง) จะเป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน อาชีพส่วนตัว อิสระ เกษตรกร นักศึกษา ก็ได้ อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี
ข้อควรรู้ก่อนสมัคร
- หากผ่านการพิจารณาจะได้รับการตอบรับภายใน 3 วัน บางกรณีอีเมลอาจอยู่ในโฟลเดอร์ junk หรือ spam รบกวนตรวจสอบอีเมลในโฟลเดอร์ดังกล่าว หากไม่ได้รับการตอบรับสามารถสอบถามได้ทางอีเมล
- เมื่อผ่านการพิจารณา ผู้เข้าอบรมจะต้องเข้าร่วมในกลุ่มอบรมหมาเฝ้าบ้านบนเฟซบุค
- ผู้เข้าอบรมต้องนำโน๊ตบุ๊คหรือแท็บเล็ตไปด้วยเพื่อใช้ในการฝึกกระบวนการตรวจสอบ กรณีไม่มีอาจพอใช้สมาร์ทโฟนแทนได้
- สำหรับท่านที่อยู่นอกพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร หากต้องการเข้าพักล่วงหน้าในคืนวันศุกร์ โครงการฯ ยินดีจัดที่พักและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้

เงื่อนไขข้อตกลง
- สงวนสิทธิในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมการอบรมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ
- รับสมัครและพิจารณาตอบรับเป็นรายบุคคล ไม่รับสมัครเป็นกลุ่ม
- กรณีเขียนรายละเอียดในใบสมัครไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ตรงตามความเป็นจริง สงวนสิทธิไม่พิจารณา
- หลักสูตรการอบรมเป็นกระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่อง ผู้เข้าอบรมจะต้องอยู่ร่วมและมีส่วนร่วมครบกระบวนการ
- ไม่มีการมอบเกียรติบัตร ใบรับรองหรือบัตรสมาชิก
- ไม่อนุญาตให้นำบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าพักหรือเข้าร่วมการอบรม หากต้องการพักเดี่ยว ผู้เข้าอบรมจะต้องจ่ายค่าที่พักเองเต็มจำนวน

กำหนดการรับสมัคร
- เปิดรับสมัคร 15 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2560
- อบรมวันเสาร์ อาทิตย์ ที่ 17– 18 มิถุนายน ที่ จ.กำแพงเพชร (สถานที่แจ้งเฉพาะท่านที่ผ่านคัดเลือกเข้าอบรม)

การสมัคร
กรอกใบสมัครออนไลน์ ที่นี่ //bit.ly/2reO3LE

โครงการหมาเฝ้าบ้าน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
https://www.facebook.com/Watchdog.ACT/
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน
https://www.facebook.com/act.anticorruptionThailand/
//www.anticorruption.in.th/2016/th/
ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.)
//www.pacc.go.th/cnac/




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2560   
Last Update : 3 มิถุนายน 2560 15:35:51 น.   
Counter : 889 Pageviews.  

2560 05 28 โรคที่มากับน้ำท่วม น้ำท่วมเทศบาแก้ไม่ได้จริงหรือ



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็น และ สนับสนุนสถานีฯ ได้ที่หมายเลข 055 - 714 417  
วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :  โรคที่มากับน้ำท่วม ... (นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง)    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-07-2016&group=4&gblog=125

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา : น้ำท่วมน้ำขังในเทศบาล แก้ไม่ได้จริงหรือ ?    
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.351416711648529.1073741835.146082892181913&type=3

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันเสาร์ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐  กำแพงเพชรเอฟซี - อุบลราชธานีเอฟซี
เริ่มแข่งขันเวลา 16.00 น. ประตูเปิดเวลา 15.00 น. สนามชากังราวสเตเดี้ยม บัตรราคา 40 , 80 และ 100 บาท
ทุกบัตรลุ้นรับรางวัลกับ #ชุมอิเล็กทริคมอลล์
https://www.facebook.com/KamphaengphetFC/photos/a.1418323425074520.1073741828.1418216791751850/1889287497978108/?type=3&theater

- วันอาทิตย์ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๐๐ น. ประชุมใหญ่ สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม (วัชรราษฎร์วิทยาลัย นารีวิทยา) ณ ห้อง ๙๙ ปี ชั้น ๑ อาคาร ๖ โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1690923290923340.1073742303.100000170556089&type=3

- วันอาทิตย์ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ การแข่งขันจักรยาน "ปั่นวัดใจไทรงาม" ครั้งที่ 2 ณ เทศบาลตำบลไทรงาม อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร  รุ่น A-B-C ทุกรุ่น ค่าสมัคร 600 บาท รุ่นVIP 1000 บาท รถเสือภูเขาสามารถปั่นกะเสือหมอบได้
เครดิต ทีมจักรยาน ไทรงาม
https://www.facebook.com/saingambike/posts/271175786642587?pnref=story

- ทุกวันพุธ ทุกสัปดาห์ จนถึง 7 มิถุนายน 2560 เวลา 19.00 น. ขอเชิญชวนชาวกำแพงเพชรเข้าชมการแข่งขันแบดมินตันชากังราวลีก โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้นแปดทีม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1306982879391141&set=a.281178305304942.64891.100002383248409&type=3&theater

- วันที่ ๑๗ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ฝึกอบรมหลักสูตรตรวจสอบทุจริต อบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน รุ่น 32
เปิดรับสมัคร 15 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2560
อบรม วันเสาร์- อาทิตย์ ที่ 17– 18 มิถุนายน ที่ จ.กำแพงเพชร  (สถานที่แจ้งเฉพาะท่านที่ผ่านคัดเลือกเข้าอบรม)
//www.actwatchdog.com/wd32/

”””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร  ณ วัดพระบรมธาตุ นครชุมhttps://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาค จักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3
- ชิมชมช๊อป OTOP กำแพงเพชร ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชุน "ศูนย์โอทอป สาขาในเมือง" ติดกับ สนง.เกษตร จ.กพ (สามแยกหน้าวิทยาลัยเทคนิค) เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. โทร 086 515 6596
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.474248506032015.1073741854.146082892181913&type=3
””””””””””””””””””””””””””””””

๑. ความรู้สุขภาพ :  โรคที่มากับน้ำท่วม ... (นำมาฝาก ไม่ได้เขียนเอง)    
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-07-2016&group=4&gblog=125

ประเด็นถามตอบ โรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วม
ให้สัมภาษณ์ในรายการ รหัสลับหน้าหนึ่ง ออกอากาศทางชอง นิวทีวี
โดย นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค
//thaigcd.ddc.moph.go.th/2016/informations/view/442
16 กันยายน 2557

¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬¬

โรคที่เกิดตอนน้ำท่วม มีอะไรบ้าง มีกี่ชนิดหลักๆ    โรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วม มีดังนี้ คือ โรคติดเชื้อ ได้แก่ โรคผิวหนัง โรคตาแดง ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ โรคไข้ฉี่หนู สัตว์ แมลงมีพิษกัด ต่อย ได้แก่ งู แมลง และสัตว์อื่นๆ ปลิง อุบัติเหตุ ได้แก่ จมน้ำ ไฟฟ้าดูด วัตถุแหลมคม

โรคติดเชื้อ

โรคผิวหนัง ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคน้ำกัดเท้า โรคผิวหนังจากเชื้อรา แผลพุพองเป็นหนอง เกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาดไม่แห้งเป็นเวลานาน อาการในระยะแรก อาจมีอาการเท้าเปื่อยและเป็นหนอง คันตามซอกนิ้วเท้าและผิวหนังลอกออกเป็นขุย มีผื่น ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนา และแตก อาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ผิวหนังอักเสบได้ การดูแลเบื้องต้น ทำได้โดยหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องย่ำน้ำควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ำ และเมื่อกลับเข้าบ้านควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดแล้วเช็ดเท้าให้แห้ง สวมใส่ถุงเท้ารองเท้าและเสื้อผ้าที่สะอาดไม่เปียกชื้นหากมีอาการเท้าเปื่อยคันให้ทายารักษาตามอาการ

โรคตาแดง ติดต่อได้ง่ายทั้งเด็กและผู้ใหญ่โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เกิดจากเชื้อไวรัส แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นอาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ติดต่อจากการสัมผัสกับผู้ป่วย ได้แก่ การสัมผัสน้ำตา ขี้ตาของผู้ป่วยหรือจากการใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วย หรือจากแมลงวัน แมลงหวี่ ที่มาตอมตา อาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 1 - 2 วันจะเริ่มระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบ แดง โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อนแล้วจึงลามไปตาอีกข้าง หายได้เองภายใน 1 - 2 สัปดาห์ ดังนั้น หากมีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตาควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที เมื่อมีอาการของโรคควรพบแพทย์เพื่อรับยาหยอดตาหรือยาป้ายตา หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่บ่อยๆ ไม่ควรขยี้ตา อย่าให้แมลงตอมตา ควรนอนแยกจากคนอื่นๆ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน และไม่ควรไปในที่มีคนมากเพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อจะแพร่กระจายอยู่ในลมหายใจ เสมหะ น้ำลาย น้ำมูก และสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย ติดต่อกันได้ง่าย อาการคือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ จาม เจ็บคอ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคสู่บุคคลอื่น หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ คนท้อง คนอ้วน และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคปอด โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น เนื่องจากคนเหล่านี้เป็นกลุ่มที่อาจมีอาการรุนแรงหากได้รับเชื้อ และเมื่อไข้สูง เจ็บคอ ไอมาก เหนื่อยหอบ เจ็บหน้าอก หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรไปพบหรือปรึกษาแพทย์

โรคปอดบวม เกิดจากเชื้อหลายชนิด เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือสําลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด ทําให้มีการอักเสบของปอด ผู้ประสบภัยน้ำท่วมหากมีการสําลักน้ำ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปในปอด นอกจากนี้ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อโรคในอากาศเข้าไป หรือจากการคลุกคลีกับผู้ป่วย อาการคือ มีไข้สูง ไอมาก หายใจหอบและเร็ว ถ้าเป็นมากจะหายใจหอบเหนื่อยจนเห็นชายโครงบุ๋ม เล็บมือ เล็บเท้า ริมฝีปากซีด หรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่าย หรือซึม ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที  โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เช่น น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด ปอดแตกและมีลมรั่วในช่องปอด หรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ในผู้ป่วยมีโรคหัวใจอยู่ก่อนอาจหัวใจวายได้ การป้องกัน ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอ จาม หรือสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่เปียกชื้น และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ

โรคอุจจาระร่วง เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารที่ทิ้งค้างคืน ทำให้มีอาการถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายมีมูกเลือดหรือมูกปนเลือด อาจมีอาเจียนร่วมด้วย การดูแลตนเองเบื้องต้น ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่(โอ อาร์ เอส) บ่อยๆ ทดแทนน้ำและเกลือแร่ ที่สูญเสียไปจากการขับถ่าย ไม่ควรรับประทานยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคค้างอยู่ในร่างกาย ดื่มน้ำหรืออาหารเหลวมากๆ ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้ง ก่อนเตรียมและปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร  หลังการขับถ่าย และหลังจับสิ่งของสกปรก เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ หรืออุ่นให้ร้อน และเก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิด

โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อนสารพิษหรือท็อกซิน (Toxin) ที่แบคทีเรียสร้างไว้ในอาหาร สารเคมีต่างๆ เช่น โลหะหนัก สารหรือวัตถุมีพิษ ซึ่งพบในพืชและสัตว์ เช่น เห็ด ปลา หอย และอาหารทะเลต่างๆ รวมทั้งกลุ่มเชื้อโรคที่มีการสร้างสารพิษในลำไส้ อาการอาการของโรคนี้มักพบหลังจากที่รับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนไปแล้วภายใน 2 - 4 ชั่วโมง ในกลุ่มที่มีอาการอาเจียนเป็นหลัก หรือภายใน 1 - 3 วัน ในกลุ่มที่มีอาการท้องเสียเป็นหลัก ทั้งนี้อาการประกอบด้วย ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ ปวดมวนท้อง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ และปวดศีรษะร่วมด้วย บางครั้งมีอาการถ่ายอุจจาระปนเลือด หรือเป็นมูกคล้ายเป็นบิด การป้องกันทำได้โดยรับประทานอาหารที่ปรุงสุกในขณะที่ยังร้อน ปรุงสะอาด เก็บรักษาอาหารไว้ในที่เย็น เพื่อชะลอการเติบโตของเชื้อโรค หากเก็บอาหารนานเกิน 4 ชั่วโมงหลังปรุงเสร็จ ต้องอุ่นให้ร้อนจัด เพื่อให้ความร้อนฆ่าเชื้อโรคก่อนรับประทานอาหาร

โรคไข้ฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรสิส ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน โดยเชื้อจะออกมากับฉี่ของสัตว์ เช่น หนู หมู วัว ควาย แพะ แกะ และสุนัข แล้วปนเปื้อนในแม่น้ำ ลำคลอง พื้นที่ที่มีน้ำขังหรือพื้นที่ชื้นแฉะ ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคฉี่หนู ได้แก่ ผู้ที่ลุยน้ำหรือแช่น้ำนานๆ ผู้ที่เดินลุยน้ำท่วม คนงานบ่อปลา ชาวสวน ชาวนา คนงานขุดลอกท่อระบายน้ำ เชื้อโรคฉี่หนูในสิ่งแวดล้อมจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยทางบาดแผลหรือเข้าทางเยื่อบุอ่อนๆ เช่น  ง่ามมือ ง่ามเท้า เยื่อบุตา ขณะที่แช่น้ำ รับประทานอาหารหรือ ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคฉี่หนู อาการ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่องและโคนขา ต่อมาอาจมีเยื่อบุตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ท้องเดิน ถ้าไม่รีบรักษา บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน หรือตัวเหลือง ตาเหลืองปัสสาวะน้อย ซึม สับสน เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเสียชีวิตได้ การดูแลตนเองเบื้องต้น หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ย่ำโคลนนานๆเมื่อขึ้นจากน้ำแล้ว ต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ซับให้แห้งโดยเร็วที่สุดควรสวมรองเท้าหรือรองเท้าบู๊ทที่เหมาะสม ดูแลที่พักให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู

สัตว์ แมลงมีพิษกัด ต่อย
งู พบได้กรณีน้ำท่วม ผู้ถูกงูกัดควรตั้งสติให้ดี อย่าตกใจเกินเหตุ ในกรณีที่ได้รับพิษงู ผู้ถูกงูกัดจะไม่เสียชีวิตหรือมีอาการอันตรายร้ายแรงทันที ต้องรีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ห้าม กรีดแผล ดูดแผล ใช้ไฟ/ไฟฟ้าจี้ที่แผล ประคบน้ำแข็ง สมุนไพรพอกแผล ดื่มสุรา กินยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของแอสไพริน การกระทำเหล่านี้ไม่ช่วยรักษาผู้ถูกงูกัด แต่จะมีผลเสีย เช่น เพิ่มการติดเชื้อ เนื้อตาย เคลื่อนไหวร่างกายบริเวณที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด ใช้ไม้ดามบริเวณที่ถูกงูกัดและใช้ผ้าพันยึด หรือผ้าสะอาดพันทับให้แน่นพอประมาณ นำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เร็วที่สุด แจ้งให้แพทย์ทราบลักษณะงูที่กัด และกัดบริเวณใด ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เคยมีประวัติแพ้ยาหรือสารใดๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย

แมลง สัตว์อื่นๆ เช่น ผึ้ง ต่อ แตน กัดต่อย ให้ใช้หลอดเล็กๆ แข็งๆ หรือปลายด้ามปากกาลูกลื่นที่ถอดไส้ออกแล้ว ครอบจุดที่ถูกกัดต่อยและกดให้เหล็กในโผล่ขึ้นมา แล้วจึงใช้วิธีคีบดึงออก อย่าใช้วิธีบีบหรือเค้น เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกกัดต่อยบวมได้ ทาแผลด้วยแอมโมเนียหรือครีมไตรแอมซิโนโลนตะขาบ แมงป่องกัด ให้ทาแผลด้วยแอมโมเนีย หรือครีมไตรแอมซิโนโลน ถ้ามีอาการปวดมาก มีอาการแพ้ เช่น หนังตาบวม หายใจไม่สะดวก ควรรีบไปพบแพทย์

ปลิง เป็นสัตว์ที่กัดและดูดเลือดคนและสัตว์เป็นอาหาร โดยปล่อยสารที่กระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว และสารต้านทานการแข็งตัวของเลือด ทำให้คนที่ถูกกัดเลือดไหลไม่หยุดและเสียเลือดเรื่อยๆ อาการ ที่พบจากการถูกปลิงกัด คือ มีเลือดไหลไม่หยุด ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ โดยเฉพาะจุดที่มีน้ำท่วมสูงระดับเอวขึ้นไป ควรแต่งตัวให้มิดชิด ใส่กางเกงชั้นในสวมกางเกงขายาวและสวมถุงพลาสติกหุ้มเท้าและ หุ้มปลายขากางเกงทั้ง 2 ข้าง แล้วรัดปากถุง  ให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ปลิงเข้าไปได้ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำหรือแช่น้ำนานๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่น้ำท่วมขัง ระมัดระวังบุตรหลานหรือเด็กเล็กที่เล่นน้ำในบริเวณน้ำท่วมขัง เพราะเสี่ยงต่อการที่ปลิงจะเกาะและชอนไชเข้าไปในทวาร รู ช่อง และโพรงต่างๆ ของร่างกายได้ กรณีถูกปลิงกัดหรือดูดเลือด

อุบัติเหตุ
จมน้ำ ประชาชนที่ประกอบอาชีพทางน้ำ เช่น หาปลา ต้องเข้าพื้นที่ที่มีน้ำท่วม ควรเดินทางเป็นกลุ่ม และต้องสวมเสื้อชูชีพ หรือเตรียมอุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการลอยตัวในน้ำได้ เช่น ห่วงยาง เป็นต้น ไม่ควรลงเล่นน้ำในช่วงน้ำท่วม อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณน้ำไหลหลาก หากจำเป็นต้องเดินผ่านทางน้ำไหล ให้ใช้ไม้ลองจุ่มน้ำเพื่อวัดระดับความลึกทุกครั้ง ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือไม่สามารถดูแลตนเองได้ ต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง หากพบคนจมน้ำ มีวิธีช่วยเหลือที่ถูกต้องดังนี้ ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ และโทรแจ้ง 1669 หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งสติอย่าวู่วามลงไปช่วยทันที ควรหาอุปกรณ์ใกล้ตัว เช่น ไม้ เชือก หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อโยนหรือยื่นให้คนจมน้ำลอยตัวได้ แล้วลากเข้าฝั่ง หากจำเป็นต้องลงน้ำไปช่วยเหลือ ต้องมั่นใจว่าว่ายน้ำเป็น และควรมีอุปกรณ์ช่วยเหลือติดตัวไปด้วยเพื่อยื่นให้จับแล้วลากเข้าฝั่ง เมื่อช่วยเหลือผู้ที่จมน้ำได้แล้ว ห้ามจับคนจมน้ำอุ้มพาดบ่าแล้วกระโดดหรือวิ่งไปมา เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจอาจเสียชีวิตได้ วางคนจมน้ำให้นอนราบ ตะแคงหน้า เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ไฟฟ้าดูด
    ข้อแนะนำในการป้องกันตนเองจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้
    1. ก่อนน้ำท่วมเข้าภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน ให้รีบขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและสิ่งของจำเป็นไว้ที่สูงหรือ  ที่ปลอดภัยน้ำท่วมไม่ถึง และถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน
    2. กรณีเป็นบ้านสองชั้นและมีสวิตช์แยกแต่ละชั้น หากน้ำกำลังจะท่วมชั้นล่าง ให้ปลดสวิตช์ (เบรกเกอร์เมน) ตัดกระแสไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่าง และปลดเบรกเกอร์ย่อยลงให้หมด
    3. กรณีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชั้นบน โดยให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าปลดสวิตช์ที่ชั้นล่างให้   เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าเพื่อแยกวงจรชั้นบนและชั้นล่าง
    4. กรณีบ้านชั้นเดียว ให้งดใช้ไฟฟ้าโดยเด็ดขาด งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด รวมถึงห้ามเปิดปิดสวิตช์ไฟ ด้านในและด้านนอกอาคารที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะตัวเปียกหรือยืนแช่น้ำ แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นอาจอยู่
เหนือระดับน้ำ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ *** ปลั๊กไฟที่น้ำท่วมห้ามใช้งานเด็ดขาด ***
    5. ขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก ห้ามแตะสวิทซ์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า      ที่กำลังเสียบปลั๊ก รวมทั้งการใช้เครื่องสูบน้ำชนิดที่แช่ในน้ำ หากใช้ไม่ถูกวิธีอาจมีกระแสกระแสฟ้ารั่วขณะใช้งาน และถูกไฟฟ้าช็อตเสียชีวิตได้
    6. หากระดับน้ำที่ท่วมขังสูงเกินกว่าปลั๊กหรือเมนสวิทซ์อย่าเดินลุยน้ำ ให้หาวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น  ลังไม้ กล่องพลาสติก เพื่อใช้เป็นทางเดิน ไม่ให้ร่างกายถูกน้ำ
    7. ระมัดระวัง และดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าให้เล่นน้ำบริเวณใกล้เสาไฟฟ้า

การป้องกันเด็กจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้
     1. ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย โดยติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงจากระดับพื้นประมาณ 1.5 เมตร หากติดตั้งปลั๊กไฟในระดับต่ำที่เด็กเอื้อมมือถึง ควรใช้ที่ครอบปลั๊กไฟ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านค้า หรือแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ
    2. ไม่วางสายไฟหรือรางปลั๊กไฟกีดขวางทางเดินหรือผนังในจุดที่เด็กสามารถหยิบจับได้ เพราะเด็กอาจนำสายไฟหรือรางปลั๊กไฟมาเล่นจนถูกไฟฟ้าดูดได้
    3. ติดตั้งสายดินหรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อป้องกันการถูกไฟดูด นอกจากนี้ยังควรต้องศึกษาคู่มือการใช้ให้ดี จะช่วยให้ปลอดภัยทั้งจากไฟดูดและอัคคีภัย
    4. จัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม     หลังจากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสร็จแล้ว ให้ถอดปลั๊ก     เครื่องไฟฟ้าและจัดเก็บให้พ้นมือเด็ก สำรวจอยู่เสมอว่าไม่ให้มีสายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าห้อยลงมาจากโต๊ะ พร้อมที่จะให้เด็กเล็กดึงสายไฟเล่นจนเกิดไฟช็อต หรือดึงสายไฟจนเครื่องใช้ไฟฟ้าตกลงมาใส่ตัว
    5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าภายนอกบ้าน ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเปียกชื้น หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีน้ำเกี่ยวข้องกับระบบการทำงาน เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ ควรเช็ดให้แห้งก่อนใช้งาน
ควรดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังบริเวณที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าสอนให้เด็กเรียนรู้ถึงอันตรายของไฟฟ้าและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี เช่นอย่าแตะสวิทช์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กอยู่ โดยเฉพาะในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก

หากพบเห็นเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าแรงสูงขาดหรือหย่อนลงใกล้พื้น ไม่ควรเข้าใกล้เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และควรรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบเพื่อแจ้งแก่การไฟฟ้าทราบและแก้ไขต่อไป อย่าเสียดายว่าวหรือลูกโป่งที่ติดตามสายไฟ เพราะสายไฟฟ้าแรงสูงนั้นแค่เพียงเข้าใกล้จนเกินไป ก็อาจถูกไฟช็อตอย่างรุนแรงได้

การช่วยเหลือเบื้องต้นจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้ พบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้าหรือตัวนำที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนได้รับอันตรายไปด้วย ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกแห้ง สายยางหรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือใช้ผ้าคล้องหรือให้ผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้าปลดสวิตช์ จากนั้นปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669 หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง ให้หลีกเลี่ยงและรีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่หรือสายด่วน กฟภ. โทร 1129 โดยเร็วที่สุด อย่าลงไปในน้ำ กรณีมีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง หาวัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้าเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้นหรือแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยช่วยผู้ประสบอันตราย

เกิดบาดแผลจากวัตถุแหลมคม เช่น เศษแก้ว ไม้ ตะปู  ที่อาจติดเชื้อโรคแทรกซ้อนและเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้การป้องกันอุบัติเหตุจากวัตถุแหลมคม ดังนี้ เก็บกวาดขยะ วัตถุที่แหลมคม ตะปู ในบริเวณพื้นบ้านและทางเดินอย่างสม่ำเสมอสวมใส่รองเท้าบู๊ทขณะเดินในน้ำ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากของมีคมหากเกิดบาดแผลควรล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด ใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดรอบๆแผลแล้วใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน แผลที่มีการฉีดขาดมาก หรือแผลลึกมากและมีเลือดไหล ให้รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด


๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :  น้ำท่วมน้ำขังในเทศบาล แก้ไม่ได้จริงหรือ ?    
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.351416711648529.1073741835.146082892181913&type=3
วันที่ ๑๘พค.๖๐ เกิดฝนตกหนัก แล้วน้ำท่วมขังหลายจุดเกือบทุกอำเภอในจังหวัดกำแพงเพชร ในเขตเทศบาลเมืองก็มีจุดน้ำท่วมน้ำขัง เช่นกัน หลายคนอาจบ่นว่าเทศบาลฯ แต่ผมขอบอกไว้ก่อนเลยว่า งานนี้ ไม่ง่ายหรอกครับ เพราะถ้ามันง่าย มันก็คงไม่เป็นอย่างนี้  

สคริปรายการวิทยุ คุณหมอขอคุย บ่ายสอง วันนี้ ทาง FM 102.5 mHz .. เคยรวบรวมข้อมูลไว้นำมาเผยแผ่เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ..

ผมขอชี้แจงไว้ก่อนว่า ผมเป็นหมอ ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเรื่องน้ำท่วมน้ำขัง แต่ก็อาศัยสอบถามแนวทางจากผู้ที่มีความรู้หลาย ๆ ท่าน ..และ คนที่ต้องเอ่ยชื่อเพราะคนนี้ให้ความรู้ผมเยอะม๊ากกก ทั้งเรื่องไฟไหม้ น้ำท่วมน้ำขัง นายประเสริฐศักดิ์ มั่งอะนะ จบปริญญาตรี ไซด้าร์ ประเทศสวีเดน เป็นอดีต หัวหน้างานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลฯ (ขณะนี้ลาออกแล้ว) ถ้าถามคนทำงานในเทศบาลเมือง เชื่อว่า ทุกคนรู้จักและทราบดีกว่า คุณประเสริฐศักดิ์ เชี่ยวชาญขนาดไหน ...ผมก็เลยขอความรู้ ได้มาบางส่วน จึงอยากจะนำมาพูดคุยกัน

เริ่มด้วยเรื่องความรู้ก่อนละกันนะครับ

๑. น้ำท่วม กับ น้ำขัง ต่างกันอย่างไร ?
......... แบ่งกันง่ายๆ  ก็คือ ถ้าฝนตกจากฟ้า ลงมา เรียกว่า น้ำขัง  แต่ถ้าเป็นน้ำบนผิวดิน (น้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล ) เรียกว่า น้ำท่วม
......... แต่เวลาพูดกัน ก็จะใช้คำว่า น้ำท่วม เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นความเข้าใจของคนทั่วไป

๒. น้ำท่วม น้ำขัง วิธีการจัดการ ก็แตกต่างกันไป  หลักพื้นฐาน ก็คือ
- น้ำท่วม ก็ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้ามาในพื้นที่ ( เขื่อน และ อุดรูรั่ว ) และ ระบายน้ำออก (เครื่องสูบน้ำ และ ทำทางระบายน้ำให้น้ำไหลสะดวก)  
- น้ำขัง   การจัดการ มีวิธีเดียวคือ การระบายน้ำออกจากพื้นที่ เรียกกันหรูหน่อย ก็คือ ระบบระบายน้ำ (เน้นระบบ ไม่ใช่แค่ เครื่อง นะครับ )  เช่น เครื่องสูบน้ำ บ่อพักน้ำ ทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เพิ่มท่อระบายน้ำ เป็นต้น

ผมจึงอยากจะเสนอความคิดเห็นแนวทางแก้ไข ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ถึงจะแก้ไขปัญหาไม่ได้ทั้งหมด แต่ ถ้าทำแล้ว ระยะเวลาในการระบายน้ำลดลง ระดับความสูงของน้ำที่ท่วมขังลดลง..ก็ดีกว่า ปล่อยไว้เฉย ๆ นะครับ

๑. ถ้าจะแก้ไข " ไม่ให้มีน้ำท่วมขังเลย" มีวิธีเดียว ก็คือ ทำท่อระบายน้ำใหม่ทั้งหมด
............. หลายท่านอาจสงสัยว่า แค่ลอกท่อไม่พอหรือ ?   ตอบฟันธงเลยว่า ไม่พอครับ เพราะ ระบบท่อระบายน้ำ ทำมานานหลายสิบปี (แบ่งง่าย ๆ เป็น ๓ รุ่น ๓ สมัยของนายกเทศฯ) ท่อเดิมรุ่นแรกจะเป็นท่อปูนซีเมนต์ และ ขนาดเล็ก พอมีการวางท่อใหม่ มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ก็มีปัญหาว่า ระดับของท่อใหม่ กับ ท่อเก่าเป็นคนละระดับกัน ทำให้เกิดปัญหาการเชื่อมต่อของท่อระบายน้ำ
............... ถ้าจะแก้ไขให้เบ็ดเสร็จ ก็คือ ต้องทำท่อระบายใหม่ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่า ต้องใช้เงินหลายร้อยล้านบาท ซึ่งเทศบาล ไม่มีเงิน  อันนี้ ก็ต้องทำใจ แต่ก็ไม่ใช่ว่า ปล่อยเลยตามเลย นะครับ คงต้องใช้การวางแผนหลักระยะยาว ( ๕ – ๑๐ ปี) ปรับเรื่องระบบการระบายน้ำใหม่ทั้งหมด หลังจากนั้นก็ค่อยมาพิจารณาว่า ตรงไหนจะทำอะไรบ้าง ตั้งงบประมาณทำไปตามแผนนั้น ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนผู้บริหารเทศบาลเมืองฯ แต่ก็จะมีแผนหลักที่ให้ทำต่อเนื่องกัน

๒. หนทางที่จะ ลดปัญหาน้ำท่วมขัง ได้ครับ เอาเฉพาะ ประเด็นเร่งด่วนที่ทำได้เลยนะครับ ส่วนโครงการระยะยาวค่อยคุยกันอีกที
 - ลอกท่อน้ำหลัก ซึ่งเป็นท่อน้ำที่ทำขึ้นมาใหม่  ซึ่งทางเทศบาลฯ ก็เคยขอความร่วมมือจากเรือนจำ นำนักโทษมาบำเพ็ญประโยชน์ช่วยลอกท่อ  ส่วนรถดูดสิ่งปฏิกูล ราคา ๑๖ ล้าน (ซื้อเมื่อ พศ. ๒๕๕๒ ) ถ้านำมาใช้ได้ ก็จะช่วยได้มาก.. แต่ผมก็ไม่ได้เห็นนานแล้ว ได้ข่าวว่า เสีย จอดทิ้งไว้เฉย ๆ ???

- จุดที่มีน้ำท่วมขังเป็นประจำ ถ้าดูแล้วระบบระบายน้ำไม่ดี แก้ไม่ได้ ก็ใช้ "ระบบสูบน้ำ" ทำบ่อพักน้ำ ให้น้ำไหลมารวมกัน แล้วสูบน้ำออก .. ในบางจุดจะทำได้เลย เช่น รอบ ๆ วัดคูยาง หน้าโรงแรมเพชร  หน้าธนาคารกสิกรไทย  เป็นต้น เพราะ จุดเหล่านี้ มีการทำท่อระบายน้ำใหม่ แต่อยู่ด้านตรงข้ามถนน ตรงข้ามกับด้านที่น้ำท่วมขัง

เอาแค่สองข้อนี้ ก็จะช่วยบรรเทาได้เยอะ ทำได้เลยทันที แล้วก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ..

ปล. ตอนนี้ เท่าที่ผมพอรู้ ก็น่าจะมี ช่างกล้าม (สหชาติ เพชรรัตน์)  กองช่างเทศบาลฯ ที่น่าจะรู้เรื่องนี้มากที่สุด แต่ก็ได้ข่าวว่า จะลาออก ก็น่าเสียดายความรู้ความสามารถที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

ข้อมูลเพิ่มเติม จากเจ้าหน้าที่กองช่างสุขาภิบาล เทศบาลเมืองฯ

เรียนคุณหมอพนมกร ดิษฐสุวรรณ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน เนื่องจากผมเป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ขอเรียนอธิบายสภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาโดยย่อดังนี้ครับ

สภาพปัจจุบันของปัญหาน้ำท่วม/ขัง เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น ท่อระบายน้ำอุดตัน ขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการระบายน้ำในสภาพปัจจุบัน ท่อระบายน้ำไม่ลาดเอียงไปในทางที่จะระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ อาจเนื่องจากการออกแบบผิด ก่อสร้างผิดแบบ หรือสภาพชำรุดทรุดโทรมของท่อระบายน้ำเนื่องจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน ฯลฯ

แนวทางแก้ไขที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ สำรวจโครงการท่อระบายน้ำ นำเข้าแผนพัฒนาเทศบาล(แผน3ปี) แต่เนื่องจากสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขที่กล่าวมานั้น จำเป็นต้องใช้งบประมาณและเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ

ปัจจุบันกองการช่างสุขาภิบาลมีเจ้าหน้าที่จำกัดมีผมเป็นวิศวกรโยธา ลูกจ้างประจำ 2 คน พนักงานจ้าง 4 คน ทั้งหมดนี้มีหน้าที่รับผิดชอบหลากหลาย เช่น ล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ซ่อมแซมฝาบ่อพัก ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ดูแลสถานีสูบน้ำ และช่วยงานสำรวจร่วมกับผม ทำให้การล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติงานพยายามให้เป็นไปตามแผนซึ่งจัดทำแผนทุกเดือน แต่ที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้ได้ จากองค์ประกอบต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นครับ

ในส่วนของรถดูดสิ่งโสโครกนั้น ขอเรียนว่าช่วยให้การดำเนินงานสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ ก่อนนี้ใช้แรงงานคนเพียงอย่างเดียวทำความสะอาดได้เพียงบริเวณบ่อพัก ไม่สามารถทำความสะอาดในท่อระบายน้ำได้ทั้งหมด ปัจจุบันดีกว่าเดิมมากครับ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
สรุป ผมยังเชื่อว่า น้ำท่วมขังในเขตเทศบาลเมือง แก้ไขได้ หรือในบางจุดอาจแก้ไขให้หมดปัญหาไม่ได้ แต่สามารถลดระดับน้ำและลดเวลาน้ำท่วมขัง บรรเทาความเดือดร้อนได้ โดยต้องมีการวางแผนระยะยาว ต้องใช้เวลา งบประมาณ ในการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การแก้ไขปัญหาแบบนี้จะให้ราชการ หรือ เทศบาล ทำแต่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่สำเร็จ ต้องได้ความร่วมมือร่วมใจ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมลงมือทำช่วยแก้ปัญหา จากผู้มีความรู้ และ ประชาชน เรื่องนี้ไม่ง่ายแต่ก็น่าจะแก้ไขได้ถ้าทุกคนมาช่วยกัน

..............................................................

๒๑กค.๕๗ เทศบาลเมืองกำแพงเพชรเตรียมพร้อมรับมือจากพายุรามสูร นายชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช นายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร เผยเครื่องมือและเจ้าหน้าที่พร้อม 24 ชม. ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ซึ่งถ้ามีฝนตกหนักก็จะเกิดน้ำท่วมขัง ตามถนนสายต่าง ๆ และตามถนนซอยรวมทั้งบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำ จากสาเหตุดังกล่าว นายชัยวัฒน์ ศุภอรรถพานิช นายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร ได้นำเจ้าหน้าที่ตรวจดูอุปกรณ์การป้องกันแก้ไขน้ำท่วมที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
โดยได้ตรวจดูอุปกรณ์เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งจะสามารถสูบน้ำได้ 580 ลูกบากศ์เมตร ต่อชั่วโมงหรือเครื่องสูบน้ำเป็นทุ่นลอยที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายดาย และเข้าได้ทุกพื้นที่ สามารถสูบน้ำได้ 3,250 ลิตรต่อนาที นอกจากนั้นยังมีท่อพญานาคพร้อมเครื่องสูบน้ำอีกหลายสิบชุดรวมไปถึงรถดับเพลิงและรถบรรทุกน้ำที่พร้อมจะออกช่วยสูบน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขังอีกหลายคัน
โดยประชาชนที่เดือดร้อนสามารถโทรแจ้งที่หมายเลขโทรศัพท์ 055-711111 จะมีเจ้าหน้าที่ออกดูแลให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชม.
https://www.facebook.com/pr.kppmu/posts/259253890938003




 

Create Date : 23 พฤษภาคม 2560   
Last Update : 23 พฤษภาคม 2560 14:12:20 น.   
Counter : 835 Pageviews.  

2560 05 13 ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ คณะอนุกรรมการปราบโกง ระยะ ๓



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็น และ สนับสนุนสถานีฯ ได้ที่หมายเลข 055 - 714 417  
วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :  ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )     
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-07-2008&group=5&gblog=31

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา : คณะอนุกรรมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ.๒๕๖๐
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1710176638998005.1073742316.100000170556089&type=3

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันที่ ๙ – ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ชม ชิม ช้อป สินค้าโอทอป และสินค้าราคาถูก ของกิน ของใช้ ที่หน้าอำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/namfon.rattanasoi/posts/1699482103413397

- วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐  ถนนคนเดิน ฅนกำแพง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1208391335936935&set=gm.449372492070938&type=3&theater

- อาทิตย์ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐  กำแพงเพชรเอฟซี - ขอนแก่นเอฟซี
เริ่มแข่งขันเวลา 16.00 น. ประตูเปิดเวลา 15.00 น. สนามชากังราวสเตเดี้ยม บัตรราคา 40 , 80 และ 100 บาท
ทุกบัตรลุ้นรับรางวัลกับ #ชุมอิเล็กทริคมอลล์
https://www.facebook.com/310013279035452/photos/a.310586125644834.66584.310013279035452/1292952827408154/?type=3&theater

- วันที่ 17-18 พ.ค. 2560 เวลา 09:00 - 16:00 น. ณ เทศบาลตำบลปากดง ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมทำดอกไม้จันทน์ "ร้อยใจประดิษฐ์ดอกไม้ ถวายพ่อ" สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
055-722342 (พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ)
055-706555 ต่อ 1601 (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.กพ.)
ปล. ถ้าสนใจสนับสนุน บริจาค " เปลือกข้าวโพด หรือ อุปกรณ์ (ปืนกาวร้อน กรรไกร) " สามารถแจ้งความจำนงได้ที่055-722342 พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ (เรือนไทย)
รายละเอียดเพิ่มเติม :   โครงการทำดีเพื่อพ่อ สอนทำดอกไม้จันทน์
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1688584537823882.100000170556089&type=3

- วันอาทิตย์ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๐๐ น. ประชุมใหญ่ สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม (วัชรราษฎร์วิทยาลัย นารีวิทยา) ณ ห้อง ๙๙ ปี ชั้น ๑ อาคาร ๖ โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1690923290923340.1073742303.100000170556089&type=3

- วันอาทิตย์ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ การแข่งขันจักรยาน "ปั่นวัดใจไทรงาม" ครั้งที่ 2 ณ เทศบาลตำบลไทรงาม อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร  รุ่น A-B-C ทุกรุ่น ค่าสมัคร 600 บาท รุ่นVIP 1000 บาท รถเสือภูเขาสามารถปั่นกะเสือหมอบได้
เครดิต ทีมจักรยาน ไทรงาม
https://www.facebook.com/saingambike/posts/271175786642587?pnref=story

- ทุกวันพุธ ทุกสัปดาห์ จนถึง 7 มิถุนายน 2560 เวลา 19.00 น. ขอเชิญชวนชาวกำแพงเพชรเข้าชมการแข่งขันแบดมินตันชากังราวลีก โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้นแปดทีม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1306982879391141&set=a.281178305304942.64891.100002383248409&type=3&theater

”””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร  ณ วัดพระบรมธาตุ นครชุมhttps://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาค จักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3
- ชิมชมช๊อป OTOP กำแพงเพชร ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชุน "ศูนย์โอทอป สาขาในเมือง" ติดกับ สนง.เกษตร จ.กพ (สามแยกหน้าวิทยาลัยเทคนิค) เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. โทร 086 515 6596
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.474248506032015.1073741854.146082892181913&type=3
””””””””””””””””””””””””””””””

๑. ความรู้สุขภาพ :  ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( ซีสต์ , Cyst ) ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน , Carpal ganglion )
เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ที่พบได้บ่อยที่สุดของบริเวณมือและข้อมือ  โดยมี ผนังของก้อนถุงน้ำเป็นเยื่อบุข้อ หรือ เยื่อหุ้มเส้นเอ็น  ภายในก้อนถุงน้ำจะมีน้ำไขข้อบรรจุอยู่  เนื่องจาก ก้อนถุงน้ำนี้จะมีช่องติดต่อกับข้อมือ  
ตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือ หลังข้อมือ และ ด้านหน้าของข้อมือ บริเวณใกล้  ๆ กับโคนนิ้วหัวแม่มือ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ อาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือ การทำงานที่ต้องมีการกระดกข้อมือขึ้นลงบ่อย ๆ  
พบบ่อย ในผู้หญิง ช่วงอายุ 20 - 40 ปี

อาการ
มีก้อนนูนขึ้นมา ลักษณะค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ และไม่เคลื่อนที่ ส่วนใหญ่กดไม่เจ็บ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเมื่อย หรือปวดข้อมือบ้างเล็กน้อย เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก เนื่องจากก้อนถุงน้ำไปกดเบียด เส้นเอ็นหรือเยื่อบุข้อ
ถ้ากระดกข้อมือขึ้น หรือ งอข้อมือลง จะทำให้ขนาดของก้อนถุงน้ำเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าก้อนอยู่ด้านหลังข้อมือ เมื่อกระดกข้อมือขึ้น ขนาดก้อนจะเล็กลงหรือคลำไม่ได้ แต่ถ้างอข้อมือลง ก็จะโตขึ้น และแข็งมากขึ้น เป็นต้น
ถ้าปล่อยไว้ก้อนก็มักจะโตขึ้น แต่จะค่อย ๆ โตอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลานานหลายเดือน หรือ เป็นปี จึงจะผิดสังเกต

แนวทางรักษา
1.    วิธีไม่ผ่าตัด
ในรายที่ก้อนใหญ่ แต่ ผู้ป่วยไม่มีอาการและไม่กังวล ก็อาจปล่อยไว้โดยไม่ต้องผ่าออก เพราะ ก้อนถุงน้ำไม่ทำให้เกิดอันตราย และ ไม่กลายเป็นเนื้องอกร้ายแรง(มะเร็ง)  
ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่และมีอาการปวด ก็ควรลดการใช้ข้อมือ ให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ สักพักอาการปวดมักจะดีขึ้น ถ้ามีอาการปวดมากอาจจะรับประทานยาแก้ปวดลดการอักเสบ ใช้ผ้ายืดพันรอบข้อมือ หรือ ใส่เฝือกอ่อนประมาณ 1 สัปดาห์

2.    วิธีกดทำให้ก้อนแตก หรือ วิธีเจาะดูดน้ำในก้อนออก
ถ้าก้อนขนาดเล็ก อาจกดให้ก้อนแตกออก แต่ ถ้าก้อนขนาดใหญ่ ควรใช้วิธีใช้เข็มเจาะแล้วดูดน้ำในก้อนออก      ( อาจฉีดยาสเตียรอยด์ร่วมด้วย ) เมื่อก้อนแตกหรือเมื่อดูดน้ำในก้อนออก ก้อนก็ยุบหายไป แต่วิธีนี้ มีโอกาสที่จะเกิดก้อนขึ้นมาใหม่ ประมาณ 35 - 70 %

3.    วิธีผ่าตัด  
แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วผ่าตัดเอาก้อนออก ( ในบางราย อาจมีหลายก้อน ) ในกรณีที่ช่องต่อเข้าไปในข้อมือมีขนาดใหญ่ จะต้องตัดเยื่อหุ้มข้อมือบางส่วนออกไป แล้วเย็บซ่อมช่องที่เชื่อมต่อเข้าไปในข้อ ถ้าไม่เย็บซ่อมก็จะโอกาสเป็นซ้ำสูง มีโอกาสที่จะเกิดก้อนขึ้นมาใหม่ ประมาณ 5 - 15 %
การดูแลหลังผ่าตัด
-    หลังผ่าตัดพันผ้าและ ใส่เฝือกชั่วคราว ให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ ไว้ 10 – 14  วัน
-    ยกแขนสูง กำนิ้วมือสลับกับเหยียดนิ้วมือบ่อย ๆ เพื่อลดอาการบวม
-    เริ่มทำแผลในวันที่สองหลังการผ่าตัด แล้วทำแผลวันละครั้งจนถึงวันตัดไหม ( ประมาณ 7-10 วันหลังผ่าตัด )
๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :  คณะอนุกรรมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ.๒๕๖๐
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1710176638998005.1073742316.100000170556089&type=3

ป.ป.ช. ตอบโจทย์อนาคตประเทศ 20 ปี ปรับร่างยุทธศาสตร์ปราบโกงระยะที่3
//www.thansettakij.com/content/69071 12 July 2016
จากยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ 2 ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2560 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จึงมีมติให้เริ่มยุทธศาสตร์ชาติฯระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2560-2565

พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป.ป.ช. กล่าวช่วงบรรยายพิเศษ "ทิศทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564)" ว่า เป็นร่างแรกที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม โดย ป.ป.ช.ทำหน้าที่เป็นเลขาฯ สังเคราะห์และรวบรวมข้อคิดเห็นจากเวทีต่างๆ ที่จัดขึ้นตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา

ในร่างยุทธศาสตร์ฯระยะที่ 3 นี้จะนำข้อมูลทิศทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีข้างหน้ามาปรับใช้ในงานป้องกันปราบปรามการทุจริต และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เพื่อสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย ตลอดจนพัฒนาระบบการป้องกันการทุจริตเชิงรุก และการปฏิรูปกลไกการปราบปรามการทุจริตที่จะนำไปสู่การยกระดับผลการประเมินดัชนีภาพลักษณ์การทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศ (CPI) ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตั้งเป้าได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

โดยในส่วนของยุทธศาสตร์การปราบปรามเพื่อปฏิรูประบบและกระบวนการจัดการให้มีประสิทธิภาพซึ่งองค์กรอิสระประสบปัญหาเรื่องนี้ มีคดีร้องเรียนการทุจริตเพิ่มสูงขึ้น ดังเช่น กรณีของ ป.ป.ช. ที่มีเรื่องกล่าวหาร้องเรียนอยู่ระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริง 11,000 เรื่อง สะสางได้เพียง 250-300 คดี จำเป็นต้องเร่งรัด และพัฒนากระบวนการทำงานให้พิจารณาให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาอันสมควร ซึ่งล่าสุดรัฐบาลได้อนุมัติเพิ่มบุคลากรให้ ป.ป.ช.หลายอัตรา คาดว่า ปีนี้จะวินิจฉัยได้ 500 คดี คิดเป็น 100% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนคดีที่เหลืออยู่ เชื่อว่า ในปีถัดไปจะสามารถจัดการได้ 750-1,000 คดี ภายใน 2 ปีข้างหน้าคดีที่ค้างจะเสร็จสิ้นทั้งหมด 100%

ในปี 2559 คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีนโยบายชัดเจนว่า คดีที่รับในปีนี้และสั่งไต่สวนมูลฟ้อง ต้องได้รับการไต่สวนข้อเท็จจริงในปีนี้ และต้องเสร็จภายใน 1 ปี โดยเฉพาะคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่วนคดีเล็กหรือคดีที่เกิดขึ้นในภูมิภาคจะต้องเสร็จภายใน 6 เดือน และภายใน 1 ปีต้องสามารถให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาวินิจฉัยคดีเพื่อชี้มูลความผิด และส่งให้อัยการสูงสุดได้ ซึ่งหลังจากที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านกฎหมายจัดตั้งศาลทุจริตแล้ว จะทำให้การดำเนินคดีเร็วขึ้น โดยคดีในศาลชั้นต้น คดีอุทธรณ์ สามารถพิจารณาวินิจฉัยได้ภายใน 1 ปี เชื่อว่า คดีจะถึงที่สุดได้ภายใน 3-4 ปี
ที่ผ่านมารัฐบาลมีความพยายามแก้ไขปัญหา อาทิ แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ป.ป.ช. มองว่า ภายหลังมีรัฐธรรมนูญแล้ว ควรกำหนดให้มี คณะกรรมการบูรณาการยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อเป็นกลไกระดับชาติให้อยู่ในกฎหมายเฉพาะ แก้ไขเพิ่มเติมในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของรธน.ใหม่ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ประธาน ป.ป.ช. เป็นรองประธาน มีรัฐมนตรีตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤตมิชอบร่วมอยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ อาทิ รมว.มหาดไทย รมว.ยุติธรรม เลขาธิการป.ป.ช. เลขาธิการสภาพัฒน์ ผอ.สำนักงบประมาณ เลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เพื่อเป็นหน่วยงานดูแล ให้ความเห็นชอบการร่างแผนปฏิบัติ และแผนงบประมาณในแต่ละปีให้เกิดเป็นรูปธรรม

และมี กรรมการระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการฯและหัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชนและภาคประชาสังคมต่างๆเข้าร่วม เพื่อกำกับติดตามยุทธศาสตร์ชาติในระดับจังหวัด และนำไปสู่การเสนองบประมาณดำเนินการมายังส่วนกลาง นอกจากนี้อาจมี "อนุกรรมการแต่ละยุทธศาสตร์" เพื่อเข้าไปบูรณาการประเด็นต่างๆในแต่ละยุทธศาสตร์ด้วย
.....................................................

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอ พร้อมเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐ แปลงแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) สู่การปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี และสนับสนุนงบประมาณตามแผนงานบูรณาการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบโดย ให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ให้หน่วยงานของภาครัฐดำเนินการโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ และให้สำนักงาน ป.ป.ช. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สำหรับสาระสำคัญของร่างยุทธศาสตร์ จะครอบคลุมกระบวนการดำเนินงาน ด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานหลักเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย

::::::::::::::::::::
2561 โครงการสหยุทธ์ ภายใต้แผนบูรณาการ ป้องกันปราบปรามการทุจริต ที่น่าสนใจ
- ชุด สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
โครงการ ๓ : แอป ระบบจับโกง (โครงการต่อเนื่อง ปี ๒๕๖๐) (หน้า ๔)
- ชุด ยกระดับเจตจำนงทางการเมือง
โครงการ ๔ : แอป แจ้งเบาะแสทุจริต (หน้า ๑๑)
-ชุด พัฒนาระบบป้องกันเชิงรุก
โครงการ ๙ : โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำแนวทางดำเนินงาน รัฐ เอกชน ประชาสังคม (หน้า ๒๖)
- ชุด ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบทุจริต
โครงการ ๕ : มาตรการคุ้มครองพยานและผู้แจ้งเบาะแส ( หน้า ๓๓ )

๑๑พค.๖๐ เวลา ๑๓.๓๐ น. ประชุมผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการติดตามตรวจสอบและสังเกตการณ์ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อให้การดำเนินโครงการตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เป็นไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้องโปร่งใส คุ้มค่า และ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ

ข้อเสนอ ... เพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ประชาชน ให้เข้ามาช่วยสอดส่องดูแลแจ้งเบาะแสข้อมูล
๑. เปิดเผย และ เผยแผ่ ข้อมูลโครงการฯ แยกต่างพื้นที่ (อำเภอ ตำบล) เพื่อให้ ประชาชนที่สนใจเข้าไปดูแลตรวจสอบติดตาม
๒. เปิดช่องทางให้ ประชาชน แจ้งข้อมูล ข้อสงสัย แบบไม่เป็นทางการ (ไม่ต้องแจ้งชื่อ-นามสกุล ผู้ร้อง) ผ่าน คณะอนุกรรมการฯ หรือ เจ้าหน้าที่ ปปจ. สตง. เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง

................

ข้อเสนอตามยุทธศาสตร์ชาติ ฯ ระยะที่ ๓

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ..........สังคม (ประชาชน) ไม่ทน แล้วจะทำอย่างไรได้บ้าง ?

- แจ้ง จนท. ปปท. ปปช. ปปง. การแจ้ง ต้องมี "ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ฯลฯ" ของผู้แจ้ง ถึงแม้ว่าจะบอกว่า ปกปิดเป็นความลับ แต่ความเป็นจริงก็คือ มีหลายเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่า ผู้ถูกร้อง รู้ว่า ใครเป็นผู้ร้อง ?
............ เสนอให้ มีการร้องเรียน โดยไม่ต้องลงชื่อ (บัตรสนเท่ห์) แต่ จนท.ต้องเป็นผู้เสาะหาข้อมูลเพิ่มเติม ( จนท.ต้องคิดว่า เป็นจริง มีหลักฐานไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์แล้วว่า ไม่จริง) โดยเฉพาะการร้องเรียน นักการเมือง หรือ ข้าราชการในพื้นที่
............ การส่งข้อมูลการร้องเรียนส่งได้ทั้งในพื้นที่ และ ส่วนกลาง (ส่วนกลางค่อยส่งต่อข้อมูลมายังพื้นที่ เพราะบางพื้นที่ ประชาชนก็ยังไม่มั่นใจ จนท.ในพื้นที่)

- การเผยแผ่ข้อมูลการทุจริต ในพื้นที่ ขณะนี้มักมีเฉพาะข่าวใหญ่ ๆ ในส่วนกลาง แต่ประชาชนในพื้นที่ไม่รู้ และ ขั้นตอนนานเป็นปี ผู้ร้องก็รอจนท้อใจ
........... เสนอให้มีการเผยแผ่ข้อมูล ในพื้นที่ ให้ประชาชนที่สนใจ (รวมถึงผู้ที่ร้องเรียน) ได้รับทราบว่า มีคดีอะไรบ้าง อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ หรือ เสร็จสิ้นแล้ว ผลเป็นอย่างไร มีการลงโทษ หรือยกคำร้อง ฯลฯ ถ้าประชาชน รับรู้ว่า การร้องเรียน มีผล และ ผู้ร้องปลอดภัย ก็จะเกิดความมั่นใจ ที่จะแจ้งเบาะแส หรือ ให้ข้อมูล
........... เสนอให้ นำข้อมูล และ ผลการตัดสิน นำไปเป็น กรณีศึกษา สำหรับสถานศึกษา (ปรับให้เหมาะสมกับ ระดับการศึกษา) ซึ่งแต่ละพื้นที่ ก็จะมีกรณีศึกษาเฉพาะพื้นที่ของตนเอง

- เพิ่มการมีส่วนรวม ของ ประชาชน ในการแจ้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการทุจริต
............ ประสานการทำงานหรือตรวจสอบข้อมูล จากเวบ หรือ เฟสบุ๊ค เช่น เฟส หมาเฝ้าบ้าน เป็นต้น อาจสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของภาคประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก

- นักการเมือง ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน แต่ ข้าราชการ และ อปท. ไม่ต้อง ?
........... เสนอให้ ข้าราชการ และ อปท. ระดับผู้บริหาร หัวหน้าส่วน ในพื้นที่ ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน ( ถ้าเป็นไปได้ รวมถึง วัด ศาสนสถาน มูลนิธิ องค์กรไม่แสวงหากำไร ฯลฯ )
........... เสนอให้ เปิดเผยข้อมูลบัญชีทรัพย์สิน ทางอินเตอร์เนต หรือ สาธารณะ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ว่า สามารถเข้าไปดูได้ที่ไหน อย่างไร เพื่อช่วยตรวจสอบในพื้นที่ว่า จริงหรือไม่ ? ถ้าสงสัยว่า ไม่จริง จะได้ส่งข้อมูลให้ส่วนกลางตรวจสอบอีกครั้ง
........... เสนอให้ คดีร้องเรียนเรื่องทุจริต คอรัปชั่น ไม่มีอายุความ

......................





 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2560   
Last Update : 13 พฤษภาคม 2560 15:24:03 น.   
Counter : 699 Pageviews.  

2560 05 06 ยาล้างไตไม่มีจริง ทำบุญห่มผ้าเจดีย์วัดกะโลทัย



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็น และ สนับสนุนสถานีวิทยุฯ ได้ที่หมายเลข 055 - 714 417  

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :  ยาล้างไต มีจริง ??? ล้างไต ได้จริงหรือ ??? กินยาแล้วปัสสาวะสีเขียว ???     
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-08-2008&group=4&gblog=55

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา : งานบุญกลางบ้าน ชุมชนวัดกะโลทัย ( ปีที่ ๙ ) ๗พค.๖๐    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1688547194494283.100000170556089&type=3

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันที่ ๕ - ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐  ตลาดย้อนยุคนครชุม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1208391335936935&set=gm.449372492070938&type=3&theater

- วันเสาร์ ที่ 6 พ.ค. 2560 เวลา 09:00 น. เป็นต้นไป พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ - เรือนไทย  
ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมทำดอกไม้จันทน์ "ร้อยใจประดิษฐ์ดอกไม้ ถวายพ่อ" สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
055-722342 (พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ)
055-706555 ต่อ 1601 (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.กพ.)
ปล. ถ้าสนใจสนับสนุน บริจาค " เปลือกข้าวโพด หรือ อุปกรณ์ (ปืนกาวร้อน กรรไกร) " สามารถแจ้งความจำนงได้เลย
รายละเอียดเพิ่มเติม :   โครงการทำดีเพื่อพ่อ สอนทำดอกไม้จันทน์
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1688584537823882.100000170556089&type=3

- วันอาทิตย์ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๑๙ น. เป็นต้นไป งานบุญกลางบ้าน ชุมชนวัดกะโลทัย ( ปีที่ ๙ )  
ณ เจดีย์วัดกะโลทัย ชุมชนวัดกะโลทัย
- เวลา ๐๙.๑๙ น. พิธีบวงสรวง
- เวลา ๑๐.๐๐ น. พิธีสงฆ์ ทำบุญเลี้ยงเพลพระสงฆ์ ๙ รูป
- เวลา ๑๑.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. พิธีห่มผ้าเจดีย์วัดกะโลทัย
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1688547194494283.100000170556089&type=3

- วันพุธ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เชิญ ร่วมงาน เดิน-วิ่ง สมาธิ วิสาข พุทธบูชา ณ.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เริ่มสมัครเวลา 15.00น เริ่มพิธี เวียนเทียน และเดินวิ่งเวลา 17.00 น ค่าสมัคร120บาท ได้รับเสื้อ วันวิสาข 1ตัว นักเรียนและประชาชน วิ่งฟรี มีถ้วยรางวัล สำหรับนักวิ่งที่เข้าเส้นชัย อันดับ1-3 ของแต่ละรุ่น ติดต่อ สอบถาม ฝ่าย ประชาสัมพันธ์ ชมรม 👉คุณ บุญเนื่อง 088-2812036 และ ประธานชมรม 👉ผอ ไพรัช ภูทอง086-9247615
https://www.facebook.com/kppmove/posts/1011424452334553

- วันอาทิตย์ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๐๐ น. ประชุมใหญ่ สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม (วัชรราษฎร์วิทยาลัย นารีวิทยา) ณ ห้อง ๙๙ ปี ชั้น ๑ อาคาร ๖ โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1690923290923340.1073742303.100000170556089&type=3

- วันอาทิตย์ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ การแข่งขันจักรยาน "ปั่นวัดใจไทรงาม" ครั้งที่ 2 ณ เทศบาลตำบลไทรงาม อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร  รุ่น A-B-C ทุกรุ่น ค่าสมัคร 600 บาท รุ่นVIP 1000 บาท รถเสือภูเขาสามารถปั่นกะเสือหมอบได้
เครดิต ทีมจักรยาน ไทรงาม
https://www.facebook.com/saingambike/posts/271175786642587?pnref=story

- ทุกวันพุธ ทุกสัปดาห์ จนถึง 7 มิถุนายน 2560 เวลา 19.00 น. ขอเชิญชวนชาวกำแพงเพชรเข้าชมการแข่งขันแบดมินตันชากังราวลีก โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้นแปดทีม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1306982879391141&set=a.281178305304942.64891.100002383248409&type=3&theater

”””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร  ณ วัดพระบรมธาตุ นครชุมhttps://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาค จักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3
- ชิมชมช๊อป OTOP กำแพงเพชร ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชุน "ศูนย์โอทอป สาขาในเมือง" ติดกับ สนง.เกษตร จ.กพ (สามแยกหน้าวิทยาลัยเทคนิค) เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. โทร 086 515 6596
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.474248506032015.1073741854.146082892181913&type=3
””””””””””””””””””””””””””””””

๑. ความรู้สุขภาพ :  ยาล้างไต มีจริง ??? ล้างไต ได้จริงหรือ ??? กินยาแล้วปัสสาวะสีเขียว ???     
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-08-2008&group=4&gblog=55



มียาหลายตัวเลยที่ทำให้สีปัสสาวะเปลี่ยนไป .. บางครั้ง ร้านขายยา บางแห่ง ก็เอาไปเรียกว่า ยาล้างไต เพราะเมื่อกินไปแล้วทำให้สีปัสสาวะเปลี่ยน คนซื้อไป ก็เข้าไปว่า ปัสสาวะมีสีเปลี่ยนไป เพราะ ยาเข้าไปล้างไต ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันเลย ..
ยาเหล่านั้น นอกจากไม่ได้ช่วย "ล้างไต " ตามที่เข้าใจแล้ว ยังไปทำให้ไต ทำงานหนักขึ้นกว่าเดิมอีก เพราะต้อง ขับยา (สารเคมี ) ออกมาทางปัสสาวะ ..
ยาล้างไต จึงไม่มีอยู่จริง ... เป็นเพียงแค่ การหลอกลวง โดยอาศัยความไม่รู้ของประชาชน เท่านั้นเอง ...

สารสาระจากห้องยา  ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 Vol. 1, No. 2 โดยฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลหนองม่วงไข่
ภญ. อัญชลี งานขยัน ผู้เรียบเรียง
//www.nmkhospital.com/lookhealth10-02.htm

โดยทั่วไป ปัสสาวะของคนปกติจะมีลักษณะใส สีเหลืองอ่อน ไปจนถึงสีน้ำตาลอ่อน ขึ้นกับปริมาณน้ำ ที่ถูกขับออกมาในปัสสาวะ แต่ถ้าเมื่อใดเกิดความผิดปกติกับระบบการขับถ่ายสารต่างๆ ของร่างกาย จะทำให้ปัสสาวะมีสี และลักษณะเปลี่ยนไป เช่น เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จะทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลขุ่นๆ หรือกรณีเกิดความผิดปกติต่อระบบการทำงานทำงานของไต อาจทำให้มีเม็ดเลือดแดงหลุดลงมาในปัสสาวะ ทำให้สีของปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีแดง เป็นต้น

แต่ปัสสาวะก็มีสีและลักษณะเปลี่ยนไปได้ แม้ไม่เกิดความผิดปกติกับระบบการขับถ่าย โดยเฉพาะเมื่อได้รับยาบางชนิด ที่ถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ และทำให้สีของปัสสาวะเปลี่ยนไปได้ ตัวอย่างเช่น

ยา             สีของปัสสาวะ
Aminossalicylic acid, Loratadine, Sulindac สีเลืองซีดลง-ไม่มีสี
Amitriptyline สีน้ำเงิน – เขียว
Anthraquinones สีเหลือง – น้ำตาล* สีเหลือง – ชมพู – แดง**
Chloroquine สีเหลือง - น้ำตาล
Cimetidine inj. สีเขียว***
phenazopyridium ย่อๆคือ pyridium ยาล้างไต กินแล้วปัสสาวะจะเป็นสีเขียว
Ferrous salts สีดำ
Indomethacin สีเขียว
Levodopa สีแดง – น้ำตาล
Metronidazole สีเหลืองเข้ม – น้ำตาล
Riboflavin สีเหลืองเรืองแสงได้
Sulfonamides สีเหลือง – น้ำตาล
Triamterene สีน้ำเงินซีดเรืองแสงได้
Warfarin สีส้ม
* ในปัสสาวะที่เป็นกรด
** ในปัสสาวะที่เป็นด่าง
*** เฉพาะตำรับที่ใช้ Phenol เป็น Preservative

นอกจากนั้น ยาบางอย่างถูกขับออกทางอุจจาระ อาจทำให้อุจจาระมีสีเปลี่ยนไปได้ เช่น
ยา         สีของอุจจาระ
Antacids, Al(OH) 3 type สีขาวด่างๆ
Oral Antibiotics สีเทาอมเขียว
Charcoal, Ferrous salt สีดำ
Bismuth Salts สีเขียวอมดำ
Rifampin สีแดง – ส้ม
Indomethacin สีเขียว
Anticoagulants, Heparin, NSAIDs, Salicylates สีชมพู – แดง หรือดำ
อุจจาระที่มีสีชมพู – แดง หรือ ดำ อาจบ่งถึงอาการเลือดออก ในทางเดินอาหาร ก็ได้

ในบางครั้งการที่ปัสสาวะและอุจจาระมีสีเปลี่ยนไปจากปกติ อาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดอาการตกใจ และไม่กล้าใช้ยาต่อ ซึ่งทำให้การรักษาไม่ได้ผล ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องอธิบายถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาดังกล่าวให้ผู้ป่วยทราบไว้ และยินดีที่จะใช้ยาในการรักษาต่อไป

เอกสารอ้างอิง
1. Philip O. Anderson, Jame E. Knoben. Handbook of Clinical drug data 9 ed “Drug Induced Discoloration of Feces and Urine ” page 828-830.




๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :  งานบุญกลางบ้าน ชุมชนวัดกะโลทัย ( ปีที่ ๙ ) ๗พค.๖๐    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1688547194494283.100000170556089&type=3

เชิญร่วมงานบุญกลางบ้าน ชุมชนวัดกะโลทัย ( ปีที่ ๙ )
วันอาทิตย์ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๑๙ น. เป็นต้นไป
ณ เจดีย์วัดกะโลทัย ชุมชนวัดกะโลทัย
- เวลา ๐๙.๑๙ น. พิธีบวงสรวง
- เวลา ๑๐.๐๐ น. พิธีสงฆ์ ทำบุญเลี้ยงเพลพระสงฆ์ ๙ รูป
- เวลา ๑๑.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. พิธีห่มผ้าเจดีย์วัดกะโลทัย

กิจกรรมของชุมชนแบบนี้ นอกจากจะเป็นการสืบสานประเพณีของท้องถิ่น เชื่อมโยงความสัมพันธ์เชื่อมโยงจิตใจ ผู้คนในชุมชน แล้ว ยังถือว่าเป็นการช่วยดูแลโบราณสถาน สมบัติของชาติไทย อีกด้วย
อนุโมทนาบุญ กับ ทุกท่าน ด้วยครับ

“””””””””””””””””””””””
จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร โดย อาจารย์สันติ อภัยราช

ที่ท้ายเมืองเก่าของกำแพงเพชร มีวัดอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเรียกว่า วัดยม เป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่พักทัพ ของ กษัตริย์ อยุธยาที่ยกมาเมืองกำแพงเพชร หรือไปตีเมืองเหนือ ลักษณะของวัดที่ปรากฏ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ องค์เดียว ทางฝั่งกำแพงเพชร วัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกะโลทัย

ไม่มีที่มาของชื่อวัด สืบไม่ได้ว่า แต่เดิมชื่อว่าอะไร กันแน่ แต่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า วัดกะโลทัยมาช้านานตั้งแต่สมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นที่รกร้าง มีแค่ทางเกวียนผ่านเท่านั้น สิ่งก่อสร้างที่สำคัญในวัด ประกอบด้วยวิหาร รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบัน ไม่มีสภาพของวิหาร เพราะถูกขุดทำลาย จนไม่มีชิ้นดี ไม่สามารถจะบูรณะได้ จึงปล่อยให้เป็นที่รกร้าง มีหลุมจากการถูกขุด หาพระเครื่อง เป็นหลุมลึกโดยทั่วไป เจดีย์ราย ถูกทำลายไปทั้งหมด เหลือเป็นเนินดินข้างถนน ที่ไม่มีคนเหลียวแล อาจเป็นเพราะเป็นวัดที่ใกล้ตาจนเกินไป จึงรู้สึกว่า ไม่มีค่า เหมือนสิ่งที่ใกล้ตัวทั้งหลาย ตามที่คนสามัญคิดกัน

ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ขนาดใหญ่ เป็นประธาน เป็นทรงดอกบัวตูม หรือพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นโบราณสถานที่ร่วมสมัยกับเจดีย์กลางทุ่ง ที่เมืองนครชุม ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดานซ้อน ลดหลั่น 4 ชั้น ก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะฐานหน้ากระดานชั้นที่ 4 ก่อด้วยอิฐ ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้ว อกไก่ที่ปรับทรงให้สูงขึ้น เรือนธาตุ ย่อสี่เหลี่ยม 20 ซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น จากนั้นเป็นส่วนยอดสุดของเจดีย์ ยอดปรักหักพังแต่ยังมีลักษณะที่งดงามมาก

ลุงหอม รามสูต บุตรชายหลวงพิพิธอภัย (หวน) เล่าว่า พระกำแพงห้าร้อย บุ พระเจดีย์วัดกะโลทัยทั้งองค์ ท่านบอกว่าไร่ของท่าน อยู่บริเวณนั้น มิได้ขุดพบในกรุ อย่างที่เข้าใจกัน บางท่านเล่าว่า ยอดของเจดีย์ มีพระพุทธรูปอยู่ ซึ่งก็ไม่มีหลักฐาน ใดๆ ยืนยันได้ เช่นกัน

วัดกะโลทัย วัดที่เก่าแก่ และงดงามที่สุด แห่งหนึ่งของเมืองกำแพงเพชรที่คนกำแพงเพชรควรภูมิใจและดูแลให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ใครจะเป็นผู้เริ่มต้นถ้ามิใช่คนในกำแพงเพชร

เครดิต อ.สันติ อภัยราช
//www.sunti-apairach.com/letter/index.php?topic=921.0
//www.sunti-apairach.com/home/วัดกะโลทัย
.............................................
ประเพณีงานบุญกลางบ้าน
เป็นประเพณีงานบุญของชาวไทยกลุ่มวัฒนธรรมที่ราบลุ่มภาคกลาง มีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าอาจจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังการพบหลักฐานตุ๊กตาดินเผาสะเดาะเคราะห์รูปคน หรือที่เรียกว่า "ตุ๊กตาเสียกบาล" ซึ่งเป็นสิ่งประกอบในการกระทำประเพณีงานบุญกลางบ้านมาจนถึงปัจจุบัน

งานบุญกลางบ้านถือได้ว่ามีขึ้นพร้อมกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชน การทำบุญกลางบ้านเป็นงานบุญ ที่น่าสนใจและแตกต่างไปจากการทำบุญอื่น ๆ ซึ่งแทนที่ จะทำบุญกันที่วัด ที่อาคารหรือที่บ้าน แต่จะทำบุญ ณ บริเวณลานกว้างกลางหมู่บ้าน อันเป็นที่สาธารณะ หรือลานวัดร้าง หรือลานท้องนา ชาวบ้านจะเลือกวันจัดที่เหมาะสม โดยจัดในสถานที่ที่เคยจัดกันมาเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการชุมนุมชาวหมู่บ้านมาร่วมจัดงานประเพณีร่วมกัน โดยมีรายละเอียดการจัดแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ โดยบางแห่งมีการก่อพระเจดีย์ทรายไว้เป็นเครื่องหมาย ซึ่งคติการก่อเจดีย์ทรายไว้กลางหมู่บ้านนี้มาจากเรื่องราวในธรรมบทเพื่อเป็นการสร้างกุศลก่อเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชาร่วมกัน และมีการทำกบาลใส่ดินปั้นผู้อาศัยในครัวเรือนของตน ๆ ไปวางไว้ตามทางสามแพร่งเพื่อสะเดาะเคราะห์อีกด้วย

คติความเชื่อของประเพณีงานบุญกลางบ้าน มาจากการผสานความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษของคนโบราณ เข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนา เป็นคติความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ในการขอบคุณบรรพบุรุษที่ประทานความอุดมสมบูรณ์จนสามารถเก็บเกี่ยวได้ และเป็นการสะเดาะห์เคราะห์คนในหมู่บ้านทั้งหมด และสอดคล้องกับวิถีชีวิตทางเกษตรกรรมของคนในชุมชน โดยประสานกับคติทางพุทธศาสนาเถรวาท ด้วยการจัดให้มีการทำบุญเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์ เพื่อเป็นอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ และเสริมสวัสดิมงคลความอุดมสมบูรณ์ของคนในหมู่บ้านหลังฤดูเก็บเกี่ยว และมีความเชื่อว่าหากบรรพบุรุษเคยจัดประเพณีงานบุญกลางบ้านขึ้น ณ สถานที่ใด ต้องมีการกระทำสืบต่อในสถานที่นั้นเป็นประจำทุกปี หากยกเลิกไม่กระทำต่อ จะเกิดภัยพิบัติแก่หมู่บ้านนั้น
ผลที่ได้รับจากการทำบุญกลางบ้านทางอ้อม คือ ความสามัคคี การไต่ถามสารทุกข์สุขดิบซึ่งกันและกัน มีปัญหาปรึกษาช่วยกันแก้ไข




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2560   
Last Update : 13 พฤษภาคม 2560 15:20:38 น.   
Counter : 882 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]