Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2558 09 05 สิทธฺิผู้ป่วยและข้อพึงปฏิบัติ สุนัขจรจัดปัญหาสังคม ระดับประเทศ

 วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ : สิทธิผู้ป่วยและข้อพึงปฏิบัติ
๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา : สุนัขจรจัดปัญหาสังคม ระดับประเทศ
๓. ข่าวสาร การจัดงานโน่นนี่นั่น ในบ้านเราข่าวสาร การจัดงานโน่นนี่นั่น ในบ้านเรา
- วันที่ ๓ – ๕ กันยายน ๕๘  เวลา ๙.๐๐ -๒๐.๐๐ น. ตลาดกลางเมือง สินค้าดี วิถีชุมชน  ณ หน้าสนามกีฬากลางจังหวัดกำแพงเพชร (หน้าที่ว่าการอำเภอเมือง)
- วันที่ ๔ – ๖ กันยายน ๕๘ ตลาดย้อนยุคนครชุม  ชิมอาหารอร่อยพื้นบ้านนครชุม ชมการแสดง ช๊อปสินค้าหัตถกรรม
วันศุกร์ ๔ กย. โปงลางหน้าขาว ร.ร.บ้านใหม่สามัคคี ต.คณฑี
วันเสาร์ ๕ กย. การแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้านจาก มรภ.กพ
วันอาทิตย์ ๖ กย. ลิเกเด็ก ศิษย์ครูเผ่ " คลองขลุงบำรุงศิลป์"
-วันที่ ๑๖-๑๘ กย.๕๘ นิทรรศการศิลปะกำแพงเพชร ครั้งที่ ๑  “ผ้าป่างานศิลป์ด้วยใจ มอบให้โรงพยาบาล “   อาคารเอนกประสงค์ โรงเรียนวัดคูยาง  จัดโดย ชมรมศิลปะกำแพงเพชร
- วันที่ ๑๒ - ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ( ๑๐ วัน ๑๐ คืน ) งานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง” ประจำปี 2558  ณ บริเวณลานโพธิ์ สนามหน้าเมืองกำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์ วัดพระแก้ว  สำหรับจุดเด่นของการจัดงานสารทไทยกล้วยไข่ปีนี้ จังหวัดกำแพงเพชรจะได้จัดทำต้นกล้วยไข่ยักษ์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ให้ประชาชนได้ชมความยิ่งใหญ่อีกด้วย

- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3

- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี  
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3



๑. ความรู้สุขภาพ  โรคที่พบบ่อย


คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

    เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดจากกระบวนการรักษา และ ตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความร่วมมือกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ทันตแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ และ สภากายภาพบำบัด จึงร่วมกันออกประกาศฯ ( ๑๒ สค.๕๘)

สิทธิของผู้ป่วย

๑.    ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ จาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
๒.    ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาล มีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอเกี่ยวกับการเจ็บป่วย      การตรวจ การรักษา ผลดีผลเสียจากการตรวจ การรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอม หรือ ไม่ยินยอม ให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต
๓.    ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือรีบด่วน จาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
๔.    ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบชื่อ สกุล และ วิชาชีพ ของผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน
๕.    ผู้ป่วยมีสิทธิขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน และ มีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ หรือเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่มีอยู่
๖.    ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับการปกปิดข้อมูลของตนเอง เว้นแต่ผู้ป่วยจะให้ความยินยอมหรือเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อประโยชน์โดยตรงของผู้ป่วยหรือตามกฎหมาย
๗.    ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้เข้าร่วม หรือ  ผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
๘.    ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตน ที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้น ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือข้อมูลบุคคลอื่น
๙.    บิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์         ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้ 
ข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย

๑.    สอบถามเพื่อทำความความเข้าใจข้อมูลและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนลงนามให้ความยินยอม หรือ       ไม่ยินยอมรับการตรวจวินิจฉัยหรือการรักษาพยาบาล
๒.    ให้ข้อมูลด้านสุขภาพและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทางการแพทย์ที่เป็นจริงและครบถ้วนแก่ผู้ประกอบวิชาชีพ    ด้านสุขภาพในกระบวนการรักษาพยาบาล
๓.    ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ให้แจ้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพทราบ
๔.    ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถานพยาบาล
๕.    ปฏิบัติต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ป่วยรายอื่น ด้วยความสุภาพให้เกียรติและไม่กระทำสิ่งที่รบกวนผู้อื่น
๖.    แจ้งสิทธิการรักษาพยาบาลพร้อมหลักฐานที่ตนมี ให้เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องทราบ
๗.    ผู้ป่วยพึงรับทราบ ข้อควรรู้ทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้
๗.๑ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานและจริยธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนดและมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นธรรม
๗.๒ การแพทย์ในที่นี้ หมายถึง การแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ โดยองค์ความรู้ในขณะนั้นว่า มีประโยชน์มากกว่าโทษสำหรับผู้ป่วย
๗.๓ การแพทย์ไม่สามารถให้การวินิจฉัย ป้องกัน หรือ รักษาให้หายได้ทุกโรคหรือทุกสภาวะ
๗.๔ การรักษาพยาบาลทุกชนิดมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ได้ นอกจากนี้ เหตุสุดวิสัยอาจเกิดขึ้นได้แม้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจะใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในการรักษาพยาบาลนั้น ๆ แล้ว
๗.๕ การตรวจเพื่อการคัดกรอง วินิจฉัยและติดตามการรักษา อาจให้ผลคลาดเคลื่อนได้ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่ใช้ และ ปัจจัยแวดล้อมอื่นที่ไม่สามารถควบคุมได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน
๗.๖ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ มีสิทธิใช้ดุลพินิจในการเลือกกระบวนการรักษาพยาบาลตามหลักวิชาการทางการแพทย์ ตามความสามารถและข้อจำกัด ตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์ที่มีอยู่ รวมทั้ง การปรึกษาหรือส่งต่อโดยคำนึงถึงสิทธิและประโยชน์โดยรวมของผู้ป่วย
๗.๗ เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ อาจให้คำแนะนำหรือส่งต่อผู้ป่วย       ให้ได้รับการรักษาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องไม่อยู่ในสภาวะฉุกเฉินอันจำเป็นเร่งด่วน และ เป็นอันตรายต่อชีวิต
๗.๘ การปกปิดข้อมูลด้านสุขภาพและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทางการแพทย์ของผู้ป่วยต่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ อาจส่งผลเสียต่อกระบวนการรักษาพยาบาล
๗.๙ ห้องฉุกเฉินของสถานพยาบาลใช้สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน จำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต

...........................................................................

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา : สุนัขจรจัดปัญหาสังคม ระดับประเทศ
รองอธิบดีกรมปศุสัตว์แนะร่วมกันกำหนดแนวทางดำเนินการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดให้เป็นระบบภายใต้กฎหมายอย่างจริงจัง
//news.sanook.com/1844938/
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีสภาพปัญหาหรือผลกระทบด้านต่าง ๆ มากมายที่เกิดจากสุนัขจรจัด และถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมีการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ กำหนดแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดให้เป็นระบบ ซึ่งควรจะเป็นไปในรูปแบบการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการบูรณาการในการดำเนินการภายใต้กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
รวมทั้งการควบคุมประชากรสุนัขจรจัดจึงจำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ที่มองว่าการควบคุมจำนวนประชากรสุนัขอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องประกอบด้วยการให้การศึกษาและการบังคับใช้กฎหมายสำหรับสร้างความตระหนักและความรับผิดชอบของเจ้าของสุนัขอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินการตามหลัก animal welfare มีการขึ้นทะเบียนสุนัขและการควบคุมการขยายพันธุ์ มีการควบคุมเคลื่อนย้ายทั้งภายในและต่างประเทศ มีการป้องกันสิ่งแวดล้อม มีมาตรการควบคุมการค้าสุนัขที่ผิดกฎหมายมีการป้องกันและลดการถูกสุนัขกัด และมีการทำลายสุนัขในกรณีที่จำเป็น


วันที่ออกหนังสือ : 28 ก.ค. 58     เลขที่ : กพ 0023.3/ว5147,5148
เรื่อง : ประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และกิจกรรม "วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 (World Rabies Day 2015)
//www.kpp-local.go.th/index.php?options=order&mode=detail&id=7314

ปัญหาสุนัขจรจัด สาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา
//straydogg.blogspot.com/2012/05/first-post.html
   จากการสัมมนาร่วมระหว่างสมาคมคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์แห่งโลก (THE WORLD SOCIETY FOR THE PROTECTION OF ANIMALS หรือ WSPA) กับกรุงเทพมหานครที่ผ่านมา เพื่อหากลยุทธ์การควบคุมสุนัขจรจัดให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการจำแนกแยกแยะสาเหตุที่มาปัญหาสุนัข/แมวจรจัด
ปัญหาสุนัขจรจัด เกิดจากการที่มีการเพิ่มของจำนวนประชากรสุนัขมากเกินไป (OVER POPULATION) 
ซึ่งสาเหตุใหญ่ ๆ มาจาก :
    การขาดความรับผิดชอบของเจ้าของสัตว์
    การขาดความรับผิดชอบของผู้เพาะพันธุ์สัตว์
    การขาดความรับผิดชอบของผู้เพาะพันธุ์และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์สัตว์
    การขาดความรับผิดชอบของสัตวแพทย์
    การขาดความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐ

ผลกระทบต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบต่อคน
    เป็นพาหะสำคัญนำโรคพิษสุนัขบ้า และโรคสัตว์ติดคนอื่น ๆ
    รบกวนและสร้างความเสียหายต่อปศุสัตว์
    มลพิษจากอุจจาระ
    มลภาวะจากเสียง
    สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางการจราจร
ผลกระทบต่อสุนัขและแมว
    เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บบนถนน
    เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บโดยเจ้าของฟาร์ม,ปศุสัตว์
    โรค
    ภาวะขาดอาหาร (ทุพโภชนา)
    ดุร้าย
    ถูกทำลาย โดยผู้มีอำนาจหน้าที่

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้สุนัขจรจัดมีการดำรงชีวิตอยู่ได้  วิธีที่จะควบคุมจำนวนสุนัขให้ได้ผลที่ควรพิจารณา คือ
        เข้มงวดในการเคลื่อนย้ายสัตว์
        ควบคุมการผสมพันธุ์
        ควบคุมแหล่งที่อาศัย

โดยมี 3 องค์กรสำคัญที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา คือ
        ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มีหน้าที่ มีงบประมาณ มีคน
        ความรู้ สัตวแพทย์ สำนักงานปศุสัตว์ สำนักงานสาธารณสุข (โรคพิษสุนัขบ้า) มหาวิทยาลัย
        เครือข่ายภาคประชาสังคม ประชาชน

และควรแก้ปัญหาที่รากเหง้าของสาเหตุ คือ
        การเพิ่มของจำนวนประชากรมากเกินไป (OVER POPULATION)
        การขาดความรับผิดชอบของเจ้าของ

โดยมีมาตรการสำคัญ 4 ประการ (THE KEY PRINCIPLE OF STRAY CONTROL) คือ
        การออกกฎหมายในระดับประเทศหรือท้องถิ่น
        การจดทะเบียนสุนัขเพื่อควบคุมสุนัขมีเจ้าของ การฉีดวัคซีน
        การทำหมัน
        การให้ความรู้เพื่อให้เจ้าของสัตว์เกิดความรับผิดชอบ และให้ประชาชนช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งเห็นถึงประโยชน์ของการทำหมัน
        มาตรการหลักทั้ง 4 มาตรการนั้นจะต้องทำไปด้วยกันจึงจะสำเร็จ

 “”””””””””””””””””





Create Date : 25 กันยายน 2558
Last Update : 25 กันยายน 2558 22:00:15 น. 0 comments
Counter : 644 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]