Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2559 06 25 อาหารเสริม สี่แยกเกาะแขก_สมัชชาสุขภาพ



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ หมายเลข 055 - 714 417  

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ ... ยา กับ อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ??? //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=5

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา ...  อุบัติเหตุสี่แยกเกาะแขก ถ้าแก้ด้วยกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ?
https://www.facebook.com/rakkamphaeng/posts/909313395858855
https://www.facebook.com/SamachaKamphaengPhet/photos/?tab=album&album_id=1210764032290293

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา  :

- วันเสาร์ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ (เสาร์ที่สองและที่สี่ของเดือน) เวลา ๑๖.๐๐– ๒๑.๐๐ น. ถนนคนเดิน “ฅนกำแพง”
//on.fb.me/24Aq5a8
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1313045535377786.1073742195.100000170556089&type=3

- วันอังคารที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๓๐ น. พิธีเปิดป้ายแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หลวงพ่อเพชร หลวงพ่อใหญ่ และพิพิธภัณฑ์กรุพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร  ณ วัดบาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1740825449467781&id=100006210283601

- วันที่ ๓๐ มิ.ย. - ๖ ก.ค.๕๙ เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๑.๐๐ น. งานโอทอปภูมิภาค พลังภูมิปัญญาไทยสู่สากล
ณ ลานหน้าเมือง อุทยานประวัติศาสตร์ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร (สนามหญ้า ด้านหน้า ที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร) ชิมชมช๊อบ สินค้าโอทอปจากทั่วประเทศกว่า ๓๐๐ ร้าน ในเต็นท์ติดแอร์ และ ยังแจกตั๋วเครื่องบิน แจกทอง ทุกวัน
https://www.facebook.com/rakkamphaeng/photos/a.474248506032015.1073741854.146082892181913/909339699189558/?type=3&theater

- วันเสาร์ที่ ๙ กรกฏาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๗.๓๐ น. สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท.๔) ร่วมกับ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ได้กำหนดจัดกิจกรรม "วิถีไทย วิถีก๋วยเตี๋ยวไทยชากังราว" ณ ริมน้ำแม่ปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/dastahistoricalpark/photos/a.157552934378728.35391.157011991099489/828171520650196/?type=3&theater

- วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ก.ค.๕๙ เริ่มเวลา ๑๕.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. โครงการชากังราวนครแห่งศิลป์ ณ สนามหญ้า หน้าโรงยิมพันที่นั่ง อบจ.กพ (สนามกีฬาชากังราว ริมปิง)
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1355909684424704&set=a.1342372862445053&type=3&theater
หมายเหตุ ท่านใดที่สนใจอยากจะมาร่วมกิจกรรม สอนศิลปะ แสดงดนตรี แสดงความสามารถพิเศษ สนใจขายอาหารขนมโฮมเมด ขนมไทย อาหารพื้นถิ่น ขายสินค้าแฮนด์เมด ฯลฯ ขอเพียงมีไอเดียสร้างสรรค์ แปลกใหม่ สามารถติดต่อจองพื้นที่ขาย "ฟรี " ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่มีค่าเช่าพื้นที่ แต่ต้องติดต่อจองล่วงหน้า กับ ครู แขก Eng@home โทรฯ ๐๘๙ ๔๙๖ ๘๗๒๖ https://www.facebook.com/lotus.kpp
สมัครด่วนรับจำนวนจำกัด

“””””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3

- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาค จักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- ขอสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3

๑. ความรู้สุขภาพ ...


ยา กับ อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ???
ก่อนอื่น ก็ต้องแยกก่อนว่า เป็น " ยา " หรือ " อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)"
ทั้งสองอย่าง ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับ อย. แต่ข้อแตกต่างกันง่าย ๆ ก็คือ
"ยา" .. ต้องพิสูจน์ว่า ยาตัวนั้น ปลอดภัย และ ใช้แล้วได้ผล ในคน ( ต้องผ่านการวิจัย เป็นขั้นตอน ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปี )
" อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)" ไม่ต้องผ่านการวิจัย เพียงแต่มีข้อมูลว่า สารนั้น(น่าจะ)ปลอดภัย ... ส่วนว่าจะได้ผลหรือไม่นั้น ไม่ต้องบอก ไม่ต้องพิสูจน์ .. ดังนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงจัดเป็นอาหารไม่ใช่ยา จึงไม่มีสรรพคุณในการป้องกัน บำบัด หรือรักษาโรค และเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคที่มีสุขภาพร่างกายปกติ ไม่ใช่ผู้ป่วย และเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่รับประทานนอกเหนือจากอาหารปกติสำหรับผู้ที่คาดหวังประโยชน์ด้านสุขภาพเท่านั้น

จึงมีข้อกำหนด อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) " ห้ามระบุว่า เป็นการรักษา หรือ ทำให้ อาการ(โรค) หาย " ส่วนใหญ่ก็จะเลี่ยงไปใช้คำว่า "ช่วยให้" "เสริม" ฯลฯ ...
ดังนั้น การที่มีโฆษณา หรือ เขียนไว้ในเอกสาร ว่า " ผ่าน อย. " หรือ " ได้รับการรับรองจาก อย. " จึงไม่ได้บอกว่า ผลิตภัณฑ์นั้นจะดีตามที่โฆษณา หรือ ที่มีในเอกสาร เพราะ ผลิตภัณฑ์ ที่มี อย. ไม่ได้เป็นการยืนยันว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผลจริง
คนทั่วไปมักเข้าใจว่า อย. เป็นเครื่องหมายยืนยัน และ เป็นจุดที่ผู้ขายนำไปใช้โฆษณาทั้งด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้ แต่ที่จริงแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่มี อย.นั้น เป็นเพียงการแสดงว่าได้ผ่านการขึ้นทะเบียนสูตรตำรับ และในสูตรตำรับนั้นไม่มีสารที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เท่านั้น
..................................
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 293) พ.ศ.2548 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 309)พ.ศ.2550 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ฉบับที่ 2) ได้นิยามผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไว้ว่า
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ ซึ่งมีสารอาหารหรือสารอื่นเป็นองค์ประกอบ อยู่ในรูปแบบเม็ด แคปซูลผง เกล็ด ของเหลวหรือลักษณะอื่น ซึ่งมิใช่รูปแบบอาหารตามปกติ (conventional foods)

สำหรับวิธีการสังเกตอย่างง่ายๆว่า อะไรคือ “ยา” อะไรคือ “อาหาร” นั้นสามารถสังเกตได้จาก “เครื่องหมาย อย.”
โดยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจัดเป็นอาหารจึงต้องมีการแสดงเครื่องหมาย อย. บนฉลาก และจะต้องแสดงฉลากเป็นภาษาไทยโดยมีรายละเอียดของข้อความบนฉลากตามที่กฎหมายกำหนด
แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาจะมี เลขทะเบียนตำรับยากำกับ ซึ่งจะสามารถสังเกตเลขทะเบียนตำรับยาได้จากคำว่า
“Reg.No.” หรือ “ทะเบียนยาเลขที่” หรือ “เลขทะเบียนยา” หรือ “เลขทะเบียนตำรับยาที่” ตามด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ แต่ทั้งนี้ “ยา”จะไม่มีเครื่องหมาย อย. ปรากฏอยู่บนฉลากของผลิตภัณฑ์

ประชาชน ก็คงต้องพยายามหาความรู้ใส่ตัวเยอะ ๆ เพื่อจะได้ไม่ถูกหลอก นอกจากเสียเงิน เสียสุขภาพ แล้ว ยังเจ็บใจที่ถูกหลอกอีกต่างหาก ..
...........
อย. เผย พบบ่อย กรณีผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงในเชิงรักษาโรค ผ่านสื่อ หรือการขายตรง เพื่อจูงใจให้ซื้อผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะชอบอ้างผู้ป่วย โรคต่าง ๆ กินแล้วหาย ไม่ว่าจะเป็นโรคอัมพฤกษ์ โรคเชื้อราสมอง โรคเบาหวาน โรคเอสแอลอี ลดความอ้วน บำรุงสมอง หรือใช้โฆษณาเป็นอาหารที่ใช้ควบคุมน้ำหนัก หรือโฆษณาว่า เมื่อรับประทานแล้วสามารถป้องกัน หรือลดโอกาสเป็นมะเร็งได้
อย่าได้หลงเชื่อการประชุม สัมมนา ที่แนะนำสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยนำบุคคลหรือ เปิดวิดีทัศน์แสดงตัวบุคคลที่อ้างว่าเป็นผู้ป่วยโรคต่าง ๆ มาเล่าประสบการณ์ว่า รับประทานผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวแล้วหายหรืออาการดีขึ้น
หาก อย. พบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต จะดำเนินคดีกับผู้ผลิต/ผู้นำเข้าทุกราย โดยผู้กระทำความผิดจะได้รับโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และในส่วนของผู้ที่โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงว่าสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ จะมีโทษถึงจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ขอให้ผู้บริโภคช่วยสอดส่องดูแลเป็นหูเป็นตาแทนรัฐ หากพบผลิตภัณฑ์สุขภาพ ต้องสงสัยหรือต้องการ ร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ขอให้โทร. แจ้งที่สายด่วน อย. 1556 รก.
.................


๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา


ทล.กำแพงเพชรแจงพัลวัน ของบแก้อุบัติเหตุซ้ำซาก “แยกเกาะแขก” ทุกปีแต่ไม่ได้
โดย MGR Online        

21 มิถุนายน 2559 09:09 น. (แก้ไขล่าสุด 21 มิถุนายน 2559 09:36 น.)
ทล.กำแพงเพชรแจงพัลวัน ของบแก้อุบัติเหตุซ้ำซาก “แยกเกาะแขก” ทุกปีแต่ไม่ได้
        กำแพงเพชร - แขวงทางหลวงเมืองกล้วยไข่โร่แจงผ่านไลน์ หลังโดนวิพากษ์ยับปล่อยให้เกิดอุบัติเหตุกลาง “แยกเกาะแขก” ซ้ำซาก ทำคนเจ็บ-ตาย ทรัพย์สินเสียหายอื้อ ยันทำเรื่องของบมาทุกปีแต่ไม่เคยได้ ล่าสุดปีงบประมาณ 60 ขออีกร่วมร้อยล้าน พัฒนา 3 จุดอันตราย แต่ยังไม่รู้จะได้หรือไม่

       วันนี้ (21 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังผู้คนในสังคมออนไลน์ ทั้งกลุ่มไลน์ต่างๆ รวมถึงผู้ใช้เฟซบุ๊ก พากันโพสต์วิพากษ์วิจารณ์ถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแบบซ้ำซาก บริเวณทางแยกเกาะขาม ต.ในเมือง อ.เมืองกำแพงเพชร ก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำปิงไปฝั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เนื่องจากไม่มีไฟเขียว ไฟแดง

       ล่าสุดวานนี้ (20 มิ.ย.) ก็เกิดเหตุบิ๊กไบค์ชนกับรถกระบะ เป็นเหตุให้นายสมคิด สร้อยแก้ว อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 10/2 หมู่ที่ 1 ต.นครชุม อ.เมืองกำแพงเพชร ต้องสังเวยชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย

       ล่าสุดเช้าวันนี้ นายประวิท ตรีวิวัฒน์กุล ผอ.แขวงการทางจังหวัดกำแพงเพชร ได้ชี้แจงผ่านกลุ่มไลน์อุบัติเหตุว่า บริเวณแยกเกาะแขกนี้หลายปีก่อนได้มีการออกแบบก่อสร้างบริเวณแยกนี้ไว้แล้ว และแขวงฯ กำแพงเพชรได้ของบประมาณมาก่อสร้างแก้ไขตลอดเกือบทุกปี ตั้งแต่ ผอ.แขวงฯ คนก่อนๆ แต่ไม่ได้รับงบประมาณ

       ในปีก่อนๆ รวมถึงปีงบประมาณ 2560 แขวงฯ ก็ได้เสนอของบพัฒนาเส้นทางเลี่ยงเมืองสายนี้ รวม 3 จุด โดยขอขยายเป็น 4 ช่องจราจร พร้อมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ติดตั้งป้าย และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย ทั้งที่หน้าสำนักงานเทศบาลเมืองกำแพงเพชร, แยกเกาะแขก และหน้าโรงพยาบาลเอกชนเมืองกำแพงเพชร รวมงบประมาณ 95 ล้านบาท แต่ไม่ทราบว่าจะได้รับงบประมาณหรือไม่

       อย่างไรก็ตาม กรมทางหลวงก็ได้จัดสรรงบประมาณมาก่อสร้างแยกทุ่งเศรษฐี แยกจุฬาฯ แยกธรรมศาสตร์ แยกลำมะโกรก และแยก กศน.แล้ว ส่วนของแขวงฯ ได้ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างตลอดเส้นทางสายนี้เรียบร้อยแล้ว และที่แยกเกาะแขกนี้แขวงฯ ได้ติดตั้งไฟกะพริบเสาสูง, ปรับผิวจราจรใหม่, ตีเส้นจราจรใหม่, ติดตั้งปุ่มไฟกะพริบ solar cell เพิ่มเติมจากปุ่มธรรมดาของเดิมที่มีอยู่แล้ว, ติดตั้งป้ายจราจรเพิ่มเติม และแขวงฯ จะพิจารณาดำเนินการสิ่งต่างๆ เพิ่มเติมอีก


รูปแบบและความหมายสมัชชาสุขภาพ   //goo.gl/3DWejJ
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “สมัชชาสุขภาพ” ไว้ว่า หมายถึง “กระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์ เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพหรือความมีสุขภาพของประชาชน โดยจัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบและอย่างมีส่วนร่วม”  ได้กำหนดให้สมัชชาสุขภาพ มี ๓ รูปแบบ คือ
(๑)    สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ หมายถึง การใช้อาณาบริเวณที่แสดงขอบเขตเป็นตัวตั้งในการดำเนินการ
(๒)    สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น หมายถึง การใช้ประเด็นสาธารณะเป็นตัวตั้งในการดำเนินการ
(๓)    สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หมายถึง กระบวนการฯ ในระดับชาติ
หากตีความหมายข้างต้นแบบผิวเผิน อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่า “สมัชชาสุขภาพ” เป็นเพียงการประชุมหรือการจัดเวทีเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วสมัชชาสุขภาพเป็น “กระบวนการ” ที่มีการจัดอย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อการเสนอแนะนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพหรือการเสนอแนะทางออกอันนำไปสู่ความมีสุขภาพที่ดีของประชาชน
        อีกประการหนึ่งที่อาจนำไปสู่การเข้าใจผิดได้ก็คือ อาจมองว่า “สมัชชาสุขภาพ” เป็นเพียงกระบวนการเสนอแนะข้อเสนอเชิงนโยบายเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว “สมัชชาสุขภาพ” สามารถใช้เป็นกระบวนในการค้นหาประเด็นทางนโยบาย กำหนดทางเลือกเชิงนโยบาย การตัดสินใจทางนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการติดตามและการประเมินผลทางนโยบายได้ รวมทั้ง“สมัชชาสุขภาพ” ยังสามารถนำไปใช้เป็นกระบวนการทางนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ได้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด ระดับชาติ และ ระดับสากล หรือแม้แต่นโยบายสาธารณะในเชิงประเด็น

แนวทาง (Guideline) การจัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพ   //goo.gl/nruuWT
มาตรา ๔๐ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตร ๔๐ การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น หรือ สนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) กำหนด
ในกรณีสมัชชาสุขภาพตามวรรคหนึ่ง มีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐนำไปปฏิบัติหรือนำไปพิจารณาประกอบในการกำหนด นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ให้เสนอต่อ คสช.  เพื่อดำเนินการให้บรรลุผลตามควรแก่กรณีต่อไป

ขั้นตอนการจัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพ
การจัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
๑) การสร้างกลไกการจัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพ
๒) การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย
๓) การออกแบบกระบวนการสมัชชาสุขภาพ
๔) การสรุปบทเรียนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๕) การสื่อสารทางสังคมตลอดกระบวนการ
๖) การบริหารจัดการที่เป็นระบบ

๑. กลไกการจัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพ
       ควรมีการออกแบบกลไกการจัดเป็นกลไกพหุภาคีที่มีองค์ประกอบครบทั้ง ๓ ภาคส่วน ตามยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ทั้งภาคประชาสังคมและเอกชน ภาควิชาชีพ/วิชาการ และภาคการเมือง/ราชการ/องค์กรภาครัฐ โดยตั้งเป็นคณะทำงานจัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่/เฉพาะประเด็น และมีฝ่ายเลขานุการที่คอยสนับสนุนการดำเนินงาน โดยมีประเด็นที่ควรพิจารณา ดังนี้
๑.๑.๑ รูปแบบคณะทำงานจัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพ คณะทำงานจัดกระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น สามารถดำเนินการได้ ๒ รูปแบบ คือ
•    รูปแบบที่ ๑ การจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ในรูปของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานก็ได้ตามความเหมาะสม โดยมีคำสั่งแต่งตั้งที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นที่นิยมในการดำเนินงาน เพราะบุคคลที่เข้ามาร่วมเป็นกรรมการ อนุกรรมการหรือผู้ทำงานสามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงกับหน่วยงานต้นสังกัดได้ ในการออกคำสั่งแต่งตั้ง ผู้ที่จะเป็นผู้ลงนามแต่งตั้งอาจดำเนินการได้หลายกรณี เช่น
- กรณีที่ ๑ แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ได้รับมอบหมาย ซึ่งการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ในระดับจังหวัดจะใช้กรณีนี้เป็นส่วนใหญ่ เช่น จังหวัดสมุทรปราการ นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ และเชียงราย เป็นต้น
- กรณีที่ ๒ แต่งตั้งโดยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งสามารถแต่งตั้งได้ทั้งกลไกการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เช่น จังหวัดตราดและนครศรีธรรมราช เป็นต้น
•    รูปแบบที่ ๒ การจัดตั้งแบบไม่เป็นทางการ เป็นการรวมตัว เพื่อมาทำงานร่วมกันโดยไม่มีคำสั่งแต่งตั้ง ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั้งสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่และเฉพาะประเด็น เช่น จังหวัดตรังและจังหวัดเลย เป็นต้น

...............................

ถ้า ผอ.แขวงการทางจังหวัดกำแพงเพชร นำกระบวนการสมัชชาสุขภาพ มาแก้ไขปัญหา กระบวนการสุขภาพอาจต้องใช้เวลา ในการพบปะพูดคุยปรึกษากัน แต่ อาจได้แนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหา จากผู้เกี่ยวข้อง  อาจใช้งบประมาณน้อยลงอีกด้วย  อย่างน้อยก็ช่วยลดกระแสสังคม มีแต่ได้กับได้










Create Date : 25 มิถุนายน 2559
Last Update : 25 มิถุนายน 2559 22:38:45 น. 1 comments
Counter : 778 Pageviews.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:13:52:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]