Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2560 06 10 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เขตสุขภาพ



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็น และ สนับสนุนสถานีฯ ได้ที่หมายเลข 055 - 714 417  
วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :  ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ให้กลุ่มเสี่ยงฟรี ที่ รพ.ของรัฐ เริ่ม 1 มิ.ย. – 31 สค.2560
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-06-2017&group=4&gblog=129

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา : เขตสุขภาพเพื่อประชาชน
https://www.facebook.com/SamachaKamphaengPhet/photos/?tab=album&album_id=1210764032290293

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2560 ตั้งแต่เวลา16.00 น. ตลาดต้องชม ถนนคนเดิน ฅนกำแพง ณ บริเวณริมแม่น้ำปิง ชิมอาหารพื้นบ้าน ช็อปสินค้าชุมชน ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ร่วมเช็คอินถ่ายภาพ นั่งรถรางชมวิวรอบเมือง สินค้าธงฟ้าราคาประหยัด และการออกร้านของหน่วยงานราชการ เอกชน สนับสนุนโดย จังหวัดกำแพงเพชร เทศบาลเมืองกำแพงเพชร และสนง.พาณิชย์จังหวัดกำแพงเพชร
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1693023594334635&set=a.1381559048814426.1073741827.100008810321448&type=3&theater

- วันที่ ๑๗ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ฝึกอบรมหลักสูตรตรวจสอบทุจริต อบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน รุ่น 32
เปิดรับสมัคร 15 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2560
อบรม วันเสาร์- อาทิตย์ ที่ 17– 18 มิถุนายน ที่ จ.กำแพงเพชร  (สถานที่แจ้งเฉพาะท่านที่ผ่านคัดเลือกเข้าอบรม)
//www.actwatchdog.com/wd32/

- วันอาทิตย์ที่25 มิถุนายน 2560 เวลา 07:00 น. การแข่งขันปั่นจักรยานการกุศล"สองล้อเพื่อน้องปี2"
รับสมัคร : ตั้งแต่วันนี้ - 17  มิถุนายน 2560 เส้นทางการแข่งขัน ระยะทาง : 55 กิโลเมตร
สอบถามโทร : 098-750-9955
ลงทะเบียนร่วมกิจกรรม https://goo.gl/forms/HyYwZpBjTJVMVV243

- วันอาทิตย์ 25 มิถุนายน 2560 เวลา 04:00 - 09:00 น. เดิน-วิ่งเพื่อพ่อ ต่อต้านยาเสพติด จังหวัดกำแพงเพชร 2017
ณ ลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย (ริมปิง) กำแพงเพชร
วิ่งฟรี ไม่มีค่าสมัคร และ ผู้ที่ลงทะเบียน 1,000 คนแรก ได้รับเสื้อ ฟรี มีเหรียญมีถ้วยรางวัลให้
สอบถามและสมัครได้ที่
- ศูนย์อำนวยการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ชั้น 3 ศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร 055-705213 (ในวันเวลาราชการ)
- ประชาส้มพันธ์ ชมรม เดิน-วิ่ง ชากังราว กำแพงเพชร 088-2812036
https://www.facebook.com/kppmove/posts/1037398016403863

”””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)     โทร 055 - 714 417  
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ชิมชมช๊อป OTOP กำแพงเพชร ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชุน "ศูนย์โอทอป สาขาในเมือง" ติดกับ สนง.เกษตร จ.กพ (สามแยกหน้าวิทยาลัยเทคนิค) เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. โทร 086 515 6596
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.474248506032015.1073741854.146082892181913&type=3
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3

””””””””””””””””””””””””””””””

๑. ความรู้สุขภาพ : ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ให้กลุ่มเสี่ยงฟรี ที่ รพ.ของรัฐ เริ่ม 1 มิ.ย. – 31 สค.2560

สธ.พร้อมฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 .5 ล้านโด๊ส ให้กลุ่มเสี่ยงฟรี ที่รพ.ของรัฐเริ่ม 1 มิ.ย. – 31 สค.60
//www.thaigov.go.th/news/contents/details/4076
https://www.hfocus.org/content/2017/05/14016
กระทรวงสาธารณสุขให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ แก่ บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย และประชาชนกลุ่มเสี่ยง 3.5 ล้านโด๊ส ที่สถานพยาบาลของรัฐใกล้บ้านฟรี 1 มิถุนายน - 31สิงหาคม2560
นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้ามาตรการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ว่า โรคไข้หวัดใหญ่เกิดได้ประปรายตลอดทั้งปี โดยจะพบมากขึ้นในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นสาเหตุที่สำคัญของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน ทั้งนี้เชื้อไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี จากสถานการณ์ล่าสุด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 พฤษภาคม 2560 พบผู้ป่วย 22,117 ราย  เสียชีวิต 2 ราย เพื่อลดความรุนแรงของโรค การให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น จึงต้องมีการฉีดวัคซีนทุกปี
“ปี 2560 นี้ รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค และ สปสช.จึงขอเชิญชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ นอกจากป้องกันโรคแล้ว ยังลดภาวะแทรกซ้อน และการแพร่ระบาดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะมีผลป้องกันร้อยละ 60-70 ดังนั้นประชาชนจึงต้องควบคู่กับการดูแลตนเอง โดยหลีกเลี่ยงหรือป้องกันตนเองจากการสัมผัสผู้ที่ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ การทำร่างกายให้แข็งแรง กินอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ และล้างมือให้สะอาด ซึ่งเป็นมาตรการที่จำเป็นสำหรับกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ปี 2560 องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงแนะนำวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ ประกอบของไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A(H1 N1) สายพันธุ์ใหม่/มิชิแกนแทนแคลิฟอร์เนีย2009, ชนิด A (H3 N2) สายพันธุ์เดิม/ฮ่องกง และไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B สายพันธุ์ เดิม/วิคตอเรีย ขณะที่วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ได้เพิ่มชนิด B/ยามากาตะ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลกพิจารณาว่ามีโอกาสพบน้อยที่สุดของทั้งหมด โดยมีความชุกไม่ถึงร้อยละ 5 ทางการแพทย์ถือว่าประสิทธิภาพครอบคลุมใกล้เคียง จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้วัคซีน 4 สายพันธุ์ ซึ่งมีราคาสูงกว่า
ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล จำนวน 3 ล้าน 5 แสนโด๊ส ให้กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 4 แสนโด๊ส และประชาชนกลุ่มเสี่ยง 3 ล้าน 1 แสนโด๊ส ประกอบด้วย
1.หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
2.เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
3.ผู้มีโรคเรื้อรัง คือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน
4.บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
5.ผู้มีน้ำหนักตัว มากกว่า 100 กิโลกรัม
6.ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
7.ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย
8.ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)

การเตรียมตัวฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้น ก่อนฉีดวัคซีน ควรพักผ่อนให้เพียงพอ สุขภาพโดยรวมสามรถปฏิบัติงานได้ปกติ ไม่ป่วยหรือมีอาการไข้ก่อนรับการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ผู้ที่ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน  ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ไก่อย่างรุนแรง มีประวัติเคยแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรง
โดยทั่วไปอาการข้างเคียงพบได้น้อย ส่วนใหญ่เป็นอาการเฉพาะที่ เช่น บวม แดง ตรงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือมีไข้ต่ำๆอาการที่เกิดขึ้นมักหายได้เองภายใน   1-3 วัน  การดูแลรักษาอาการข้างเคียง หากปวด บวมบริเวณที่ฉีดให้ประคบด้วยผ้าเย็น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล ในขนาดที่เหมาะสม ส่วนอาการแพ้รุนแรงหลังการฉีดนั้นพบได้น้อยมาก จะมีอาการปรากฏให้เห็นภายใน 2-3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง หลังฉีด อาจมีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงดัง หอบ เสียงแหบ ลมพิษ หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ ดังนั้น หลังฉีดวัคซีนควรสังเกตอาการ 2-4 ชั่วโมง หากมีอาการรุนแรง หรือเป็นมาก ควรปรึกษาแพทย์ทันที และแจ้งอาการให้ทราบโดยละเอียด
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422 หรือ สำนักโรคติดต่อทั่วไป โทร 02-590-3183 
๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :  เขตสุขภาพเพื่อประชาชน
โดย คณะทำงานพัฒนารูปแบบการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน  กันยายน ๒๕๕๘
เขตสุขภาพเพื่อประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของ การปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๕๕๖ และมติคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๘ ส.ค. ๒๕๕๗ และต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ได้ลงนามอนุมัติการจัดตั้งเขตสุขภาพ เพื่อประชาชน เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ โดยตั้ง นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธานคณะทำงานพัฒนารูปแบบเขตสุขภาพเพื่อประชาชนและสร้างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๕๗
เขตสุขภาพเพื่อประชาชน มุ่งเน้นขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพในระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับ ความจำเป็นด้านสุขภาพ(Health needs) ของประชาชน ครอบครัว และชุมชน ในเขตพื้นที่ โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลาง ใช้พื้นที่หรือกลุ่มจังหวัด เป็นฐานการทำงานแบบมีส่วนร่วม (Area-Function-Participation : AFP ) เป็นกลไกรองรับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ที่เชื่อมร้อยการทำงานในแนวราบ ไม่ใช้อำนาจสั่งการหรืองบประมาณเป็นปัจจัยหลัก แต่มุ่งเน้นบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ ภาคเอกชน ภาควิชาการ วิชาชีพ และภาคประชาสังคม ซึ่งจะทำให้เกิดสมดุลในการการอภิบาลระบบสุขภาพ โดยรัฐ ตลาดและเครือข่าย
๓. สาระสำคัญของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
๓.๑ หลักการสำคัญ
๓.๑.๑ ยึดประโยชน์สุข สุขภาวะประชาชนในเขตพื้นที่เป็นศูนย์กลาง โดยทุกภาคส่วนที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับสุขภาพ สุขภาวะของคน ชุมชนและสังคม มีความเป็นเจ้าของ มีความผูกพัน ร่วมรับผิดชอบ (Collective accountability) ร่วมกัน กำหนดวิสัยทัศน์ ประเด็นสุขภาพ และร่วมกันขับเคลื่อนงานเพื่อจัดการสุขภาพในทุกมิติ อย่างครบวงจร
๓.๑.๒ ยึด “หลักการ ทิศทาง และแนวทางสำคัญของการปฏิรูประบบสุขภาพ ภายใต้การปฏิรูปประเทศไทย๗” ตามมติ ๖.๘ ของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๕๕๖ ประกอบด้วย (๑)การปฏิรูประบบการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการจัดการภัยคุกคามสุขภาพ (๒)การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ (๓)การปฏิรูประบบการผลิตและพัฒนาบุคลากรสุขภาพ (๔)การปฏิรูประบบการเงินการคลังและระบบหลักประกันสุขภาพ และ (๕)การปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (ดู สรุปสาระสำคัญโดยสังเขปในข้อ ๑.๒ (๑) ถึง (๕) ข้างต้น) เป็นกรอบการดำเนินการ
๓.๑.๓ เป็นกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมตามภารกิจ โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน (Area –Function - Participation : AFP)
๓.๑.๔ เน้นการประสานพลังปัญญา พลังสังคมและพลังรัฐ

๓.๒ เป้าประสงค์
เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในระดับพื้นที่ และสอดคล้องต่อความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน ครอบครัว และชุมชน ในเขตพื้นที่

๓.๓ วัตถุประสงค์
๓.๓.๑ เพื่อเป็นกลไกกระตุ้นให้เกิดการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมด้านสุขภาพของเขตพื้นที่ ชี้ทิศทางและบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในด้านสุขภาพทุกมิติ ทั้งทางกาย ใจ ปัญญาและสังคม ที่มุ่งความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพทั้งภายในเขตพื้นที่และระหว่างเขตพื้นที่
๓.๓.๒ เพื่อเป็นกลไกรองรับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการกำหนด และจัดการสุขภาพของตนเองในทุกมิติ รวมทั้งการติดตามประเมินผล โดยเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาวะให้สังคมเข้มแข็งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดสมดุลในการอภิบาลระบบสุขภาพโดยรัฐ ตลาด และเครือข่าย
๓.๓.๓ เพื่อจุดประกายและกระตุ้นให้องค์กรภาคีต่าง ๆ สามารถดำเนินงานบรรลุภารกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิผล
๓.๓.๔ เพื่อส่งเสริมแนวทางการกระจายอำนาจ และสร้างความเข้มแข็งให้กับพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการปฎิรูประบบสุขภาพในการปฏิรูปประเทศไทย ในด้านการปฏิรูปการอภิบาลระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ที่เน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติว่าด้วยระบบสุขภาพชุมชน๑๐ ตามมติ ๖.๓ ของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปี ๒๕๕๖
๓.๓.๕ เป็นกลไกเสริมพลังของหน่วยงานต่างๆ ที่มีปฏิบัติการในเขตพื้นที่และเอื้อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ควบคู่กับการสานพลัง (Synergy) เพื่อให้แต่ละหน่วยสามารถทำงานได้บรรลุตามภารกิจที่หน่วยนั้น ๆ รับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่เกี่ยวกับสุขภาพตามแนวคิด “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ” (Health in All Policies)

๓.๔ ภารกิจของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
๓.๔.๑ สร้างพื้นที่บูรณาการการทำงานด้านสุขภาพของทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลและคุณภาพในการทำงานด้านสุขภาพของทุกมิติ และลดความเหลื่อมล้ำ
๓.๔.๒ ผลักดันและขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพในเขตพื้นที่ให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพ (Health needs) ของประชาชน เพื่อยกระดับสุขภาวะของประชาชนในเขตพื้นที่นั้นๆ โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของกลไกต่างๆ ในเขตพื้นที่ เพื่อความยั่งยืน
๓.๔.๓ ร่วมกันอำนวยการเพื่อให้เกิดทิศทาง บูรณาการการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพร่วมกันในเขตพื้นที่ ของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ และภาคประชาสังคม โดยให้ความสำคัญกับภารกิจร่วมประสาน ร่วมแลกเปลี่ยน ร่วมชี้ทิศทาง ร่วมบูรณาการ ร่วมระดมสรรพกำลังและทรัพยากรขับเคลื่อน เน้นเรื่องที่เกินขีดความสามารถของจังหวัดหนึ่งจังหวัดใดจะทำได้เอง หรือเรื่องที่กลุ่มจังหวัดตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ด้วยการทำให้เกิดกระบวนการถกแถลงและกำหนดทิศทางร่วมกัน จากนั้นให้แต่ละหน่วยงานไปดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กลไก กฎหมาย ระเบียบ บทบาทภารกิจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน หรืออาจร่วมกันดำเนินงานในส่วนที่ร่วมกันได้ โดยใช้แผนปฏิบัติการร่วมหรือโครงการร่วมเป็นเครื่องมือ
๓.๕ ขอบเขตหรือการครอบคลุมของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
เขตสุขภาพเพื่อประชาชน จัดแบ่ง เป็น ๑๒ เขต และกรุงเทพมหานครจัดเป็น ๑ เขต (หรือเป็น ๑๒+๑ เขต) เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบพื้นที่การทำงานของภาคีหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โดยการกำหนดเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ให้เป็นไปตามรายการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนและจังหวัดภายใต้เขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่ระบุในภาคผนวก ทั้งนี้ อาจมีเขตสุขภาพเพื่อประชาชนลักษณะอื่นเป็นกรณีพิเศษ คืออาจมีเขตสุขภาพเพื่อประชาชนสำหรับการดำเนินงานในลักษณะเชิงประเด็นได้
ปล. เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 3 ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี

๓.๖ โครงสร้างของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
ประกอบด้วย ๓ ส่วนหลักคือ
(๑) คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เน้นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ที่สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมในการจัดการกับประเด็นที่หลากหลายและมีทิศทางการจัดการประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) เลขานุการกิจ ที่มาจากหน่วยงานหลักๆ ที่มีบุคลากรและทรัพยากรสนับสนุนงานได้ตามสมควร รวมตัวกันเข้ามาทำงานในฐานะหน่วยเลขานุการร่วมของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
(๓) คณะกรรมการสนับสนุนเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กสขป.) เป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
มีองค์ประกอบและบทบาทหน้าที่ดังนี้
๓.๖.๑ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.)
๑) คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ ๑ – ๑๒
๑.๑) ในแต่ละเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ให้มีคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) มีองค์ประกอบมาจาก ๓ ภาคส่วน (ภาครัฐ, ภาควิชาการ/วิชาชีพ, ภาคประชาชนและสังคม) ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน กรรมการแต่ละคนมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๓ ปี
๑.๒) ประธาน กขป. และรองประธานอีกไม่เกิน ๒ คน มาจากคนละภาคส่วน โดยเป็นการคัดเลือกกันเอง ทั้งนี้ ประธานดำรงตำแหน่งได้เพียง ๑ วาระ และต้องสลับภาคส่วนกันทำหน้าที่
๑.๓) องค์ประกอบ กขป. ในแต่ละเขต สำหรับ กขป. เขตที่ ๑ - ๑๒ มีดังนี้
ภาคส่วนที่ ๑ ภาครัฐ ( ๑๖ คน)
ภาคส่วนที่ ๒ ภาควิชาการ/วิชาชีพ (๑๑คน)
ภาคส่วนที่ ๓ ภาคประชาชนและสังคม (๑๗ คน)
๑.๔) ฝ่ายเลขานุการกิจของ กขป. แต่ละเขต สำหรับเขตที่ ๑ – ๑๒
๑.๔.๑) ใช้รูปแบบ “กองเลขานุการกิจร่วม” ที่มีผู้แทนจากหน่วยงานหลัก ๆ ได้แก่ กสธ., สปสช., สช., สสส. องค์กรปกครองท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงกำไร โดยให้เป็นไปตามบริบทของพื้นที่
๑.๔.๒) ใช้ทรัพยากรของหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน หรืออาจมีการทำโครงการเฉพาะรวมทั้งใช้สถานที่ทำงานของหน่วยงานในพื้นที่ตามที่เห็นชอบร่วมกัน

๓) บทบาทหน้าที่ของ กขป.
๓.๑) สนับสนุนการจัดการความรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม ศึกษาศักยภาพและทุนทางสังคมด้านสุขภาพของพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนการประเมินสถานะสุขภาพ และการดำเนินงานของเขตพื้นที่
๓.๒) ร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนา ยุทธศาสตร์ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดเป็นการพัฒนาของพื้นที่ พัฒนาที่สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
๓.๓) ประสาน บูรณาการแผนของภาคีในพื้นที่และภาคีนอกพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมหรือรูปแบบการทำงานข้ามภาคส่วนร่วมกัน ในการดำเนินการให้เป็นไปตามทิศทางการพัฒนา ยุทธศาสตร์ ที่กำหนดร่วมกันตามบทบาทหน้าที่ในข้อ ๔.๒ ทั้งนี้ อาจเลือกบางประเด็นมาทำร่วมกันตามความเหมาะสม
๓.๔) สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมการพัฒนาความร่วมมือ ผ่านเครื่องมือและกลไกใหม่ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับกลไกที่มีอยู่แล้วด้วย
๓.๕) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสุขภาพต่อหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๓.๖) สื่อสารกับสังคมในเรื่องการดำเนินงานต่างๆ ของเขตพื้นที่
๓.๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับปัญหาหรือบริบทของพื้นที่ ตามความเหมาะสม
๓.๖.๒ คณะกรรมการสนับสนุนเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กสขป.) ที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติแต่งตั้ง มีบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน มีองค์ประกอบ ดังนี้
๑.๑) ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานกรรมการ
๑.๒) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย และผู้แทนกรุงเทพมหานคร
๑.๓) ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงกำไร จำนวน ๓ คน
๑.๔) ผู้แทนองค์กรปกครองท้องถิ่นที่นอกเหนือจากกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑ คน
๑.๕) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ คน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในงานด้านสุขภาพ
๑.๖) เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ

๓.๗ แนวทางการทำงานหรือการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการนับเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามกรอบแนวคิดและวัตถุประสงค์จึงควรมีแนวทางการบริหารจัดการดังนี้
๓.๗.๑ ควรพัฒนาวิธีการจัดการใหม่ เช่น การทำแผนร่วม การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่ การจัดการระบบข้อมูลใหม่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการใช้ข้อมูลร่วม การใช้งานวิชาการเป็นฐานการทำงานร่วมกัน การวางเป้าหมายและแผนงานร่วมเพื่อการจัดการระบบสุขภาพของพื้นที่ การจัดการเครือข่าย และการสร้างพื้นที่กลางให้เครือข่ายได้ทำงานร่วมกัน และเปิดพื้นที่สาธารณะในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากการทำงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เป็นเรื่องการจัดการแนวใหม่ แม้ว่าเขตพื้นที่อาจเป็นพื้นที่เดิม ควรให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ และการทำความเข้าใจกับคนที่จะเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเกิดอุดมการณ์ร่วม และควรทบทวนกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานขับเคลื่อน/แก้ไขปัญหาสุขภาพต่างๆ ในเขตพื้นที่ด้วย
๓.๗.๒ ควรวางแนวทางการเชื่อมประสานกับกลไกโครงสร้างแนวดิ่งและแนวราบที่มีอยู่ โดยมีการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ กลไก/เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในเขตพื้นที่ เพื่อหนุนเสริมการทำงาน
๓.๗.๓ ควรมีการกำหนดประสิทธิภาพของกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมของเขตพื้นที่ให้ชัดเจน โดยมีเครื่องมือสำหรับการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลที่เหมาะสม กำหนดเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จการทำงาน ที่เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดการทำงานของหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องด้วย โดยให้การประเมินผลการทำงานเป็นกระบวนการเรียนรู้ พัฒนา และยกระดับการจัดการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
๓.๗.๔ อาจใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะต่างๆ เช่น สมัชชาสุขภาพ ธรรมนูญสุขภาพ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ แผนแม่บทพื้นที่ เป็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ และเชื่อมโยงระดับพื้นที่สู่ระดับชาติ เช่น ควรมีเวทีทบทวน สังเคราะห์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริงในพื้นที่ (interactive learning through action) ระหว่างเขตพื้นที่ทั้งระดับจังหวัด เขต ประเทศ อย่างสม่ำเสมอ
๓.๗.๕ ใช้งบประมาณของหน่วยงานต่างๆ มาบูรณาการร่วมกันผ่านการจัดทำแผนปฏิบัติการ โครงการร่วม หรือข้อตกลงร่วม
๓.๗.๖ ควรกำหนดให้การประชุมของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เป็นกระบวนการเปิดที่ให้โอกาสทุกภาคส่วนที่สนใจสามารถเข้าร่วมรับฟัง สังเกตการณ์ รวมทั้งเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุมได้ นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ควรมีการสื่อสารสาธารณะในรูปแบบที่หลากหลาย รวมถึงมีการจัดทำรายงานสาธารณะเพื่อเผยแพร่การดำเนินงานเป็นประจำปี อีกด้วย







Create Date : 10 มิถุนายน 2560
Last Update : 10 มิถุนายน 2560 21:06:35 น. 0 comments
Counter : 2466 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]