Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2560 06 03 โรคหน้าฝน ไฟฟ้าช๊อต ป้องกันทุจริต หมาเฝ้าบ้าน



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็น และ สนับสนุนสถานีฯ ได้ที่หมายเลข 055 - 714 417  
วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ :  โรคที่มากับน้ำท่วม การป้องกันไฟฟ้าดูด
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-07-2016&group=4&gblog=125

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา : หมาเฝ้าบ้าน กับ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1710176638998005.1073742316.100000170556089&type=3
//www.actwatchdog.com/wd32/

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา :  
- วันที่ ๒ – ๔ มิถุนายน ๒๕๖๐  ขอเชิญเที่ยวชมตลาดย้อนยุคนครชุม พร้อมชมการถ่ายทอดภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้าน "ของดีบ้านฉัน" ในวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน 2560 "งานนี้หิ้วปิ่นโต มารับคูปองแลกอาหารกลับบ้าน"
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=910280779111682&set=a.129195783886856.22835.100003893065039&type=3&theater

- วันที่ ๑๗ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ ฝึกอบรมหลักสูตรตรวจสอบทุจริต อบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน รุ่น 32
เปิดรับสมัคร 15 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2560
อบรม วันเสาร์- อาทิตย์ ที่ 17– 18 มิถุนายน ที่ จ.กำแพงเพชร  (สถานที่แจ้งเฉพาะท่านที่ผ่านคัดเลือกเข้าอบรม)
//www.actwatchdog.com/wd32/

- วันอาทิตย์ที่25 มิถุนายน 2560 เวลา 07:00 น. การแข่งขันปั่นจักรยานการกุศล"สองล้อเพื่อน้องปี2"
รับสมัคร : ตั้งแต่วันนี้ - 17  มิถุนายน 2560 เส้นทางการแข่งขัน ระยะทาง : 55 กิโลเมตร
สอบถามโทร : 098-750-9955
ลงทะเบียนร่วมกิจกรรม https://goo.gl/forms/HyYwZpBjTJVMVV243

- วันอาทิตย์ 25 มิถุนายน 2560 เวลา 04:00 - 09:00 น. เดิน-วิ่งเพื่อพ่อ ต่อต้านยาเสพติด จังหวัดกำแพงเพชร 2017
ณ ลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย (ริมปิง) กำแพงเพชร
วิ่งฟรี ไม่มีค่าสมัคร และ ผู้ที่ลงทะเบียน 1,000 คนแรก ได้รับเสื้อ ฟรี มีเหรียญมีถ้วยรางวัลให้
สอบถามและสมัครได้ที่
- ศูนย์อำนวยการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ชั้น 3 ศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร 055-705213 (ในวันเวลาราชการ)
- ประชาส้มพันธ์ ชมรม เดิน-วิ่ง ชากังราว กำแพงเพชร 088-2812036
https://www.facebook.com/kppmove/posts/1037398016403863

”””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)     โทร 055 - 714 417  
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ชิมชมช๊อป OTOP กำแพงเพชร ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชุน "ศูนย์โอทอป สาขาในเมือง" ติดกับ สนง.เกษตร จ.กพ (สามแยกหน้าวิทยาลัยเทคนิค) เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. โทร 086 515 6596
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.474248506032015.1073741854.146082892181913&type=3
””””””””””””””””””””””””””””””


๑. ความรู้สุขภาพ :  โรคที่มากับน้ำท่วม การป้องกันไฟฟ้าดูด
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-07-2016&group=4&gblog=125

ไฟฟ้าดูด
    ข้อแนะนำในการป้องกันตนเองจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้
    1. ก่อนน้ำท่วมเข้าภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน ให้รีบขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและสิ่งของจำเป็นไว้ที่สูงหรือ  ที่ปลอดภัยน้ำท่วมไม่ถึง และถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน
    2. กรณีเป็นบ้านสองชั้นและมีสวิตช์แยกแต่ละชั้น หากน้ำกำลังจะท่วมชั้นล่าง ให้ปลดสวิตช์ (เบรกเกอร์เมน) ตัดกระแสไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่าง และปลดเบรกเกอร์ย่อยลงให้หมด
    3. กรณีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชั้นบน โดยให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าปลดสวิตช์ที่ชั้นล่างให้   เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าเพื่อแยกวงจรชั้นบนและชั้นล่าง
    4. กรณีบ้านชั้นเดียว ให้งดใช้ไฟฟ้าโดยเด็ดขาด งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด รวมถึงห้ามเปิดปิดสวิตช์ไฟ ด้านในและด้านนอกอาคารที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะตัวเปียกหรือยืนแช่น้ำ แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นอาจอยู่
เหนือระดับน้ำ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ *** ปลั๊กไฟที่น้ำท่วมห้ามใช้งานเด็ดขาด ***
    5. ขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก ห้ามแตะสวิทซ์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า      ที่กำลังเสียบปลั๊ก รวมทั้งการใช้เครื่องสูบน้ำชนิดที่แช่ในน้ำ หากใช้ไม่ถูกวิธีอาจมีกระแสกระแสฟ้ารั่วขณะใช้งาน และถูกไฟฟ้าช็อตเสียชีวิตได้
    6. หากระดับน้ำที่ท่วมขังสูงเกินกว่าปลั๊กหรือเมนสวิทซ์อย่าเดินลุยน้ำ ให้หาวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น  ลังไม้ กล่องพลาสติก เพื่อใช้เป็นทางเดิน ไม่ให้ร่างกายถูกน้ำ
    7. ระมัดระวัง และดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าให้เล่นน้ำบริเวณใกล้เสาไฟฟ้า

การป้องกันเด็กจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้
     1. ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย โดยติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงจากระดับพื้นประมาณ 1.5 เมตร หากติดตั้งปลั๊กไฟในระดับต่ำที่เด็กเอื้อมมือถึง ควรใช้ที่ครอบปลั๊กไฟ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านค้า หรือแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ
    2. ไม่วางสายไฟหรือรางปลั๊กไฟกีดขวางทางเดินหรือผนังในจุดที่เด็กสามารถหยิบจับได้ เพราะเด็กอาจนำสายไฟหรือรางปลั๊กไฟมาเล่นจนถูกไฟฟ้าดูดได้
    3. ติดตั้งสายดินหรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อป้องกันการถูกไฟดูด นอกจากนี้ยังควรต้องศึกษาคู่มือการใช้ให้ดี จะช่วยให้ปลอดภัยทั้งจากไฟดูดและอัคคีภัย
    4. จัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม     หลังจากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสร็จแล้ว ให้ถอดปลั๊ก     เครื่องไฟฟ้าและจัดเก็บให้พ้นมือเด็ก สำรวจอยู่เสมอว่าไม่ให้มีสายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าห้อยลงมาจากโต๊ะ พร้อมที่จะให้เด็กเล็กดึงสายไฟเล่นจนเกิดไฟช็อต หรือดึงสายไฟจนเครื่องใช้ไฟฟ้าตกลงมาใส่ตัว
    5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าภายนอกบ้าน ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเปียกชื้น หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีน้ำเกี่ยวข้องกับระบบการทำงาน เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ ควรเช็ดให้แห้งก่อนใช้งาน
ควรดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังบริเวณที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าสอนให้เด็กเรียนรู้ถึงอันตรายของไฟฟ้าและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี เช่นอย่าแตะสวิทช์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กอยู่ โดยเฉพาะในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก

หากพบเห็นเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าแรงสูงขาดหรือหย่อนลงใกล้พื้น ไม่ควรเข้าใกล้เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และควรรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบเพื่อแจ้งแก่การไฟฟ้าทราบและแก้ไขต่อไป อย่าเสียดายว่าวหรือลูกโป่งที่ติดตามสายไฟ เพราะสายไฟฟ้าแรงสูงนั้นแค่เพียงเข้าใกล้จนเกินไป ก็อาจถูกไฟช็อตอย่างรุนแรงได้

การช่วยเหลือเบื้องต้นจากการถูกไฟฟ้าดูด ดังนี้ พบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้าหรือตัวนำที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนได้รับอันตรายไปด้วย ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกแห้ง สายยางหรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือใช้ผ้าคล้องหรือให้ผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้าปลดสวิตช์ จากนั้นปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669 หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง ให้หลีกเลี่ยงและรีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่หรือสายด่วน กฟภ. โทร 1129 โดยเร็วที่สุด อย่าลงไปในน้ำ กรณีมีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง หาวัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้าเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้นหรือแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยช่วยผู้ประสบอันตราย

เกิดบาดแผลจากวัตถุแหลมคม เช่น เศษแก้ว ไม้ ตะปู  ที่อาจติดเชื้อโรคแทรกซ้อนและเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้การป้องกันอุบัติเหตุจากวัตถุแหลมคม ดังนี้ เก็บกวาดขยะ วัตถุที่แหลมคม ตะปู ในบริเวณพื้นบ้านและทางเดินอย่างสม่ำเสมอสวมใส่รองเท้าบู๊ทขณะเดินในน้ำ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากของมีคมหากเกิดบาดแผลควรล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาด ใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดรอบๆแผลแล้วใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน แผลที่มีการฉีดขาดมาก หรือแผลลึกมากและมีเลือดไหล ให้รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด


๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา :  หมาเฝ้าบ้าน กับ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1710176638998005.1073742316.100000170556089&type=3
//www.actwatchdog.com/wd32/

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอ พร้อมเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐ แปลงแนวทางและมาตรการตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) สู่การปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี และสนับสนุนงบประมาณตามแผนงานบูรณาการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบโดย ให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เป็นต้นไป
สำหรับสาระสำคัญของร่างยุทธศาสตร์ จะครอบคลุมกระบวนการดำเนินงาน ด้านการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานหลักเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบปรามการทุจริต
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย

::::::::::::::::::::
2561 โครงการสหยุทธ์ ภายใต้แผนบูรณาการ ป้องกันปราบปรามการทุจริต ที่น่าสนใจ
- ชุด สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
โครงการ ๓ : แอป ระบบจับโกง (โครงการต่อเนื่อง ปี ๒๕๖๐) (หน้า ๔)
- ชุด ยกระดับเจตจำนงทางการเมือง
โครงการ ๔ : แอป แจ้งเบาะแสทุจริต (หน้า ๑๑)
-ชุด พัฒนาระบบป้องกันเชิงรุก
โครงการ ๙ : โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำแนวทางดำเนินงาน รัฐ เอกชน ประชาสังคม (หน้า ๒๖)
- ชุด ปฏิรูปกลไกและกระบวนการปราบทุจริต
โครงการ ๕ : มาตรการคุ้มครองพยานและผู้แจ้งเบาะแส ( หน้า ๓๓ )
ข้อเสนอตามยุทธศาสตร์ชาติ ฯ ระยะที่ ๓
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ..........สังคม (ประชาชน) ไม่ทน แล้วจะทำอย่างไรได้บ้าง ?
- แจ้ง จนท. ปปท. ปปช. ปปง. การแจ้ง ต้องมี "ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ฯลฯ" ของผู้แจ้ง ถึงแม้ว่าจะบอกว่า ปกปิดเป็นความลับ แต่ความเป็นจริงก็คือ มีหลายเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่า ผู้ถูกร้อง รู้ว่า ใครเป็นผู้ร้อง ?
............ เสนอให้ มีการร้องเรียน โดยไม่ต้องลงชื่อ (บัตรสนเท่ห์) แต่ จนท.ต้องเป็นผู้เสาะหาข้อมูลเพิ่มเติม ( จนท.ต้องคิดว่า เป็นจริง มีหลักฐานไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์แล้วว่า ไม่จริง) โดยเฉพาะการร้องเรียน นักการเมือง หรือ ข้าราชการในพื้นที่
............ การส่งข้อมูลการร้องเรียนส่งได้ทั้งในพื้นที่ และ ส่วนกลาง (ส่วนกลางค่อยส่งต่อข้อมูลมายังพื้นที่ เพราะบางพื้นที่ ประชาชนก็ยังไม่มั่นใจ จนท.ในพื้นที่)

- การเผยแผ่ข้อมูลการทุจริต ในพื้นที่ ขณะนี้มักมีเฉพาะข่าวใหญ่ ๆ ในส่วนกลาง แต่ประชาชนในพื้นที่ไม่รู้ และ ขั้นตอนนานเป็นปี ผู้ร้องก็รอจนท้อใจ
........... เสนอให้มีการเผยแผ่ข้อมูล ในพื้นที่ ให้ประชาชนที่สนใจ (รวมถึงผู้ที่ร้องเรียน) ได้รับทราบว่า มีคดีอะไรบ้าง อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ หรือ เสร็จสิ้นแล้ว ผลเป็นอย่างไร มีการลงโทษ หรือยกคำร้อง ฯลฯ ถ้าประชาชน รับรู้ว่า การร้องเรียน มีผล และ ผู้ร้องปลอดภัย ก็จะเกิดความมั่นใจ ที่จะแจ้งเบาะแส หรือ ให้ข้อมูล
........... เสนอให้ นำข้อมูล และ ผลการตัดสิน นำไปเป็น กรณีศึกษา สำหรับสถานศึกษา (ปรับให้เหมาะสมกับ ระดับการศึกษา) ซึ่งแต่ละพื้นที่ ก็จะมีกรณีศึกษาเฉพาะพื้นที่ของตนเอง

- เพิ่มการมีส่วนรวม ของ ประชาชน ในการแจ้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการทุจริต
............ ประสานการทำงานหรือตรวจสอบข้อมูล จากเวบ หรือ เฟสบุ๊ค เช่น เฟส หมาเฝ้าบ้าน เป็นต้น อาจสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของภาคประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก

- นักการเมือง ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน แต่ ข้าราชการ และ อปท. ไม่ต้อง ?
........... เสนอให้ ข้าราชการ และ อปท. ระดับผู้บริหาร หัวหน้าส่วน ในพื้นที่ ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน ( ถ้าเป็นไปได้ รวมถึง วัด ศาสนสถาน มูลนิธิ องค์กรไม่แสวงหากำไร ฯลฯ )
........... เสนอให้ เปิดเผยข้อมูลบัญชีทรัพย์สิน ทางอินเตอร์เนต หรือ สาธารณะ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ว่า สามารถเข้าไปดูได้ที่ไหน อย่างไร เพื่อช่วยตรวจสอบในพื้นที่ว่า จริงหรือไม่ ? ถ้าสงสัยว่า ไม่จริง จะได้ส่งข้อมูลให้ส่วนกลางตรวจสอบอีกครั้ง
........... เสนอให้ คดีร้องเรียนเรื่องทุจริต คอรัปชั่น ไม่มีอายุความ
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

//www.anticorruption.in.th/2016/th/about1.php#about1_section
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เริ่มภารกิจครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2554 ในชื่อ “ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน” บนแนวคิดริเริ่มของ คุณดุสิต นนทะนาคร ประธานหอการค้าไทยในสมัยนั้น ที่เล็งเห็นว่าประเทศชาติต้องสูญเสียผลประโยชน์ไปมหาศาลกับการคอร์รัปชันในโครงการต่างๆ ของภาครัฐซึ่งนับวันจะมีวิธีการที่ซับซ้อนและมีมูลค่าความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ
ในยุคก่อตั้งภาคีฯ มีการระดมความเห็นครั้งแรกต่อการค้นหา “แนวทางความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันจาก ทุกภาคส่วน”นับเป็นความพยายามครั้งแรกของภาคเอกชนที่ต้องการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอันเลวร้ายและบั่นทอนการพัฒนาประเทศมาอย่างยาวนาน มีองค์กรจากภาคเอกชนภาครัฐภาคการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วม 23 แห่งโดยได้จัดงานสัมมนา“ต่อต้านคอร์รัปชัน : จุดเปลี่ยนประเทศไทย” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2554 ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี ปณิธานอันแรงกล้าของคุณดุสิต นนทะนาคร ได้รับการสานต่อจากเหล่าสมาชิกโดยการนำของคุณประมนต์ สุธีวงศ์ ผู้เข้ามารับตำแหน่งประธานภาคีฯ หลังจากการเสียชีวิตของคุณดุสิต โดยในปี พ.ศ.2555 ภาคีฯจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) และได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิในปี พ.ศ.2557 ปัจจุบันมีภาคีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 51 องค์กร
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ในด้านวิชาการ การบริหาร และกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน
2. จัดหาทุน เพื่อการดำเนินงาน หรือเพื่อการพัฒนาองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
3. ส่งเสริมการศึกษา และการวิจัยค้นคว้า ให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและต่อต้านการคอร์รัปชันรวมทั้งสนับสนุนกิจการ
4. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย บ่มเพาะ ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
5. สนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
6. ดำเนินงานพื่อสาธารณประโยชน์ และร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อกิจกรรมอันเป็นสาธาประโยชน์
7. ไม่ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
//www.anticorruption.in.th/2016/th/ourjob.php#ourjob2_section
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มุ่งมั่นจะขับเคลื่อนพันธกิจด้วย ยุทธศาสตร์ 3 ป.
ป.ที่ 1 ยุทธศาสตร์ด้านการปลูกฝัง
ปลูกฝังค่านิยมใหม่ในสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน สนับสนุนให้เกิดการยกย่องคนดีมีศีลธรรม
ป.ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกัน
ทำหน้าที่เสมือนหมาเฝ้าบ้านสอดส่องดูแลให้เกิดการคอร์รัปชันน้อยที่สุด รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือหรือกระบวนการที่จะลดโอกาสของการโกงกิน
โครงการหมาเฝ้าบ้าน
ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันcละปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังภาคประชาชนพร้อมจัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วประเทศถึงการตรวจสอบ และการเฝ้าระวังการทำงาน / การจัดซื้อจัดจ้าง ของทางภาครัฐ พร้อมกันนี้ยังมีคำแนะนำเรื่องการวิเคราะห์ราคากลาง และการวิเคราะห์หน่วยงานเอกชนที่เข้าร่วมประมูลงานจากภาครัฐด้วย

ป.ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการเปิดโปง
โครงการพิพิธภัณฑ์กลโกงชาติ
จัดแถลงข่าว 15 คดี ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
ฝึกอบรมหลักสูตรตรวจสอบทุจริต อบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน รุ่น 32
อบรม วันเสาร์- อาทิตย์ ที่ 17– 18 มิถุนายน ที่ จ.กำแพงเพชร
//www.actwatchdog.com/wd32/

ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้านเปิดรับสมัครเพื่อนร่วมขบวนการต้านโกงในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน เข้าฝึกอบรมหลักสูตรตรวจสอบทุจริต อบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน รุ่น 32 ที่ จ.กำแพงเพชร ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 17 -18 มิ.ย. นี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย

การอบรมเชิงปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน เป็นกิจกรรมเฉพาะสำหรับคนที่ตั้งใจจริงที่ต้องการเข้ามาเป็นเป็นส่วนหนึ่งของทีม “หมาเฝ้าบ้าน” ทำงานร่วมกับเพื่อนหมาเฝ้าบ้านรุ่นอื่น ๆ ในการสอดส่อง ตรวจสอบการทุจริต เนื้อหาและรูปแบบการอบรมถอดจากประสบการณ์ทำงานของพวกเรา ที่ “ดมกลิ่น ขุดคุ้ย เห่ากัด คนโกง” มากว่า 5 ปี หลักสูตรสอนวิธีการและเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับการทำหน้าที่หมาเฝ้าบ้าน ให้สามารถทำงานได้อย่างที่พวกเราทำ ให้ความรู้ด้านกฎหมาย การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การเข้าถึงแหล่งข้อมูล เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกปฏิบัติแบบรวมหมู่

เพื่อนหมาเฝ้าบ้านที่เราอยากได้
- มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
- มีความซื่อสัตย์ สุจริต สำนึกรักและรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ไม่ยอมรับคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ทุกระดับและตรวจสอบไม่เลือกฝ่าย พวกพ้อง และไม่เป็นผู้ทำงานทางการเมืองในทุกระดับของพรรคการเมือง
- มีความรับผิดชอบและตั้งใจจริงที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นหมาเฝ้าบ้าน ร่วมทำงานกับเพื่อนหมาทั่วประเทศ
- ต้องมีเฟชบุคที่ใช้งานเป็นปกติ
- บุคคลทั่วไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน (กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี และใกล้เคียง) จะเป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน อาชีพส่วนตัว อิสระ เกษตรกร นักศึกษา ก็ได้ อายุไม่น้อยกว่า 18 ปี
ข้อควรรู้ก่อนสมัคร
- หากผ่านการพิจารณาจะได้รับการตอบรับภายใน 3 วัน บางกรณีอีเมลอาจอยู่ในโฟลเดอร์ junk หรือ spam รบกวนตรวจสอบอีเมลในโฟลเดอร์ดังกล่าว หากไม่ได้รับการตอบรับสามารถสอบถามได้ทางอีเมล
- เมื่อผ่านการพิจารณา ผู้เข้าอบรมจะต้องเข้าร่วมในกลุ่มอบรมหมาเฝ้าบ้านบนเฟซบุค
- ผู้เข้าอบรมต้องนำโน๊ตบุ๊คหรือแท็บเล็ตไปด้วยเพื่อใช้ในการฝึกกระบวนการตรวจสอบ กรณีไม่มีอาจพอใช้สมาร์ทโฟนแทนได้
- สำหรับท่านที่อยู่นอกพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร หากต้องการเข้าพักล่วงหน้าในคืนวันศุกร์ โครงการฯ ยินดีจัดที่พักและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้

เงื่อนไขข้อตกลง
- สงวนสิทธิในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมการอบรมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ
- รับสมัครและพิจารณาตอบรับเป็นรายบุคคล ไม่รับสมัครเป็นกลุ่ม
- กรณีเขียนรายละเอียดในใบสมัครไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ตรงตามความเป็นจริง สงวนสิทธิไม่พิจารณา
- หลักสูตรการอบรมเป็นกระบวนการเรียนรู้ต่อเนื่อง ผู้เข้าอบรมจะต้องอยู่ร่วมและมีส่วนร่วมครบกระบวนการ
- ไม่มีการมอบเกียรติบัตร ใบรับรองหรือบัตรสมาชิก
- ไม่อนุญาตให้นำบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าพักหรือเข้าร่วมการอบรม หากต้องการพักเดี่ยว ผู้เข้าอบรมจะต้องจ่ายค่าที่พักเองเต็มจำนวน

กำหนดการรับสมัคร
- เปิดรับสมัคร 15 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2560
- อบรมวันเสาร์ อาทิตย์ ที่ 17– 18 มิถุนายน ที่ จ.กำแพงเพชร (สถานที่แจ้งเฉพาะท่านที่ผ่านคัดเลือกเข้าอบรม)

การสมัคร
กรอกใบสมัครออนไลน์ ที่นี่ //bit.ly/2reO3LE

โครงการหมาเฝ้าบ้าน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
https://www.facebook.com/Watchdog.ACT/
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน
https://www.facebook.com/act.anticorruptionThailand/
//www.anticorruption.in.th/2016/th/
ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.)
//www.pacc.go.th/cnac/




Create Date : 03 มิถุนายน 2560
Last Update : 3 มิถุนายน 2560 15:35:51 น. 2 comments
Counter : 889 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณnewyorknurse


 
สวัสดีค่ะคุณหมอหมู

มีประโยชน์ดีค่ะ

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ



โดย: อ้อมแอ้มคะ (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 3 มิถุนายน 2560 เวลา:16:17:52 น.  

 

ข้อมูลมีประโยชน์มากค่ะ
หมอหมู Health Blog ดู Blog


โดย: newyorknurse วันที่: 8 มิถุนายน 2560 เวลา:3:16:32 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]