Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

2559 04 23 ปีใหม่ไทยเทศตายเจ็บเพียบ ถนนคนเดิน ฅนกำแพง



 วันเสาร์ บ่ายสองโมง-บ่ายสามโมง วันดีเวลาดี ที่เราจะได้มาพบกัน ในรายการ " คุณหมอ ขอคุย (เรื่องดี ๆ ) "
สถานีวิทยุชุมชน เครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร 100.25 mHz.
ดำเนินรายการโดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
โทรศัพท์ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ หมายเลข 055 - 714 417  

วันเสาร์นี้ คุยกันเรื่อง
๑. ความรู้สุขภาพ  ปีใหม่ไทยเทศ ตายเจ็บเพียบ ต้องเปลี่ยน หรือ เพิ่มอะไร ? เพื่อ 'ลดยอดตาย' ในเทศกาลปีใหม่
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.680635542059976.1073741891.146082892181913&type=3

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา ถนนคนเดิน ฅนกำแพง //on.fb.me/24Aq5a8

๓. ข่าวสารการจัดงานในบ้านเรา  :  

-วันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2559 " ปั่นตามรอยเส้นทางถนนพระร่วง " จำนวน 650 คน เริ่มลงทะเบียน 6:00 น. ปล่อยขบวน 07:00 น. และพร้อมรับประทานอาหารกลางวันที่พรานกระต่าย *** โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น***สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 20 เมษายน 2559 นี้ติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร เบอร์ โทร .055-714029 , 055-714817
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=837251639719153&set=a.117902964987361.20714.100003029752665&type=3&theater

-วันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2559 เวลา 18:00-22:00 น. เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ร่วมกับ สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (อพท.) ขอเชิญชมกิจกรรม ดนตรี นาฏศิลป์ ภูมิถิ่นปัญญาไทย ครั้งที่ 1 ในวันที่ 23 เมษายน 2559 ณ บริเวณถนนคนเดิน "ฅนกำแพง" (Walking street) ถนนสิริจิต (หน้าสะพานข้ามเกาะกลางน้ำ) ภายในงาน พบกับ การแสดงดนตรีไทย การแสดงนาฏศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงดนตรีสากล จากน้องๆเยาวชน ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร และชมการสาธิตภูมิปัญญาไทย เลือกซื้อสินค้าจากผลิตภัณฑ์ชุมชน อีกมากมาย
https://www.facebook.com/pr.kppmu/posts/493822954147761

- วันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2559 การ ฝึกอบรม “ ยิงปืนได้ใช้ปืนเป็น “ เนื่องโอกาสครบรอบ 7 ปี กำแพงเพชรซู๊ตติ้งคลับ KSC ณ สนามกีฬาสมาคมยิงปืนชากังราว คลองแม่ลาย
รับสมัครถึงวันอังคารที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๙ รับจำนวนจำกัด ๘๐ ท่านเท่านั้น ( สมัครก่อนได้สิทธิ์ก่อน)
สนใจติดต่อ https://www.facebook.com/sirasak.rhodnawakron
ค่าสมัครอบรม 200 บาท ( ค่ากระสุน ๒๐นัด+เป้า จำนวน 2 ชุด+ที่อุดหู 400 บาท ) ชำระเงิน ณ จุดลงทะเบียน
https://www.facebook.com/phanomgon/posts/1311599795522360

 “””””””””””””””””””””””””””””””
- เชิญร่วมบริจาคโลหิต  ณ ห้องรับบริจาคโลหิต ตึก 3 ชั้น 2 รพ.กำแพงเพชร ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)  สอบถามรายละเอียด โทร 055 - 714 223 - 5 หรือ 081- 443 2550
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.482651328417215.132977.100000170556089&type=3

- เชิญร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี จ.กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1110300495652292.100000170556089&type=3
- เชิญร่วมบริจาค จักรยาน (ใหม่-เก่า) โครงการ “สองล้อเพื่อน้อง ของขวัญเพื่อโลก" @ กำแพงเพชร
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1133734349975573.100000170556089&type=3
- ขอสนับสนุน สถานีวิทยุเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร ( สคพ. ๑๐๐.๒๕ MHz)    
https://www.facebook.com/phanomgon/media_set?set=a.1240372449311762.100000170556089&type=3
- ตลาดเกษตรกร หน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ทุกวันศุกร์ เวลา ๐๗.๐๐ - ๑๗.๐๐ น
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.625007547622776.1073741882.146082892181913&type=3
- ท่องเที่ยวเทศบาลเมืองฯ ด้วยรถไฟฟ้า จุดขึ้นรถบริเวณลานโพธิ์ ไม่ต้องจองล่วงหน้า และ ฟรี   
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.611450205645177.1073741877.146082892181913&type=3


๑. ความรู้สุขภาพ  โรคที่พบบ่อย - ปีใหม่ไทยเทศ ตายเจ็บเพียบ ?

สงกรานต์ 2559 เกิดอุบัติเหตุ 3,447 ครั้ง ตาย 442 ราย เจ็บ 3,656 คน
สงกรานต์ 2558 เกิดอุบัติเหตุ 3,373 ครั้ง ตาย 364 ราย เจ็บ 3,559 คน
สงกรานต์ 2557 เกิดอุบัติเหตุ 2,992 ครั้ง ตาย 322 ราย เจ็บ 3,225 คน

ปีใหม่ 2559 เกิดอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง ตาย 380 ราย เจ็บ 3,505 ราย
ปีใหม่ 2558 เกิดอุบัติเหตุ 2,997 ครั้ง ตาย 341 คน เจ็บ 3,117 คน
ปีใหม่ 2557 เกิดอุบัติเหตุ 3,174 ครั้ง ตาย 367 คน เจ็บ 3,344 คน

อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อแสนประชากรของโลก
     1. ลิเบีย 73.4
     2. ไทย 36.2
     3. มาลาวี 35.0
     4. ไลบีเรีย 33.7
     5. คองโก 33.2
     6. แทนซาเนีย 32.9
     7. อัฟริกากลาง 32.4
     8. อิหร่าน 32.1
     9. โมซัมบิก 31.6
     10. โตโก 31.1
อ้างอิงจากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) เนื้อหาต้นฉบับ : asiancorrespondent.com

อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อแสนประชากรของประเทศในอาเซียน
     1. ไทย 36.2
     2. เวียตนาม 24.5
     3. มาเลเซีย 24.0
     4. พม่า 20.3
     5. กัมพูชา 17.4
     6. อิโดนิเซีย 15.3
     7. ลาว 14.3
     8. ฟิลิปินส์ 10.5
     9. สิงคโปร์ 3.6
     10. บรูไน ไม่มีข้อมูล
อ้างอิงจากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO)



7 วันอันตรายสงกรานต์ 59 เกิดอุบัติเหตุรวม 3,447 ครั้ง ตาย 442 ราย เจ็บรวม 3,656 คน        
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 168 ครั้ง
จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 175 คน
จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา 19 ราย
จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตพบว่าสูงสุดในช่วงการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 34.09 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 32.93
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.67 รองลงมา รถปิกอัพ ร้อยละ 8.85

เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 64.49 บนถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 37.86 ถนนใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 36.12
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 30.23
ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 52.28
ผู้เสียชีวิต มีพฤติกรรมเสี่ยงคือดื่มสุราร้อยละ 62 ไม่สวมหมวกกันน็อค เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นการบาดเจ็บและเสียชีวิตในพื้นที่ไม่ใช่จากการเดินทาง
ทั้งนี้ ได้เรียกตรวจยานพาหนะ 4,433,019 คัน
มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 730,271 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 211,502 ราย ไม่มีใบขับขี่ 204,006 ราย

       “จากการตรวจผู้กระทำผิดในลักษณะที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยประมาทด้วยการดื่มแล้วขับ ตรวจพบผู้กระทำผิด 443,937 ราย แยกเป็น ยึดใบอนุญาตขับขี่ 17,449 ราย ส่งดำเนินคดีทางกฎหมาย 142,820 ราย ยึดรถ 6,613 คัน ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์ 4,963 คัน และรถยนต์ส่วนบุคคล 1,650 คัน”


สธ.ประเมินค่าใช้จ่ายดูแลผู้บาดเจ็บสงกรานต์ 1.4 พันล้าน พิการอีก 1.2 พันล้านบาท
https://www.hfocus.org/content/2016/04/12057
Wed, 2016-04-20 22:50 -- hfocus

ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจะได้ถอดบทเรียน และนำเสนอมาตรการที่ช่วยลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตให้สอดคล้องกับเหตุที่เกิดขึ้น โดยในช่วงเฉลิมฉลอง คำตอบคือ ด่านชุมชน ที่เกิดจากการรวมตัวของคนในชุมชนเอง ที่ตระหนัก เข้าใจในปัญหา และตั้งใจที่จะแก้ปัญหา เพื่อให้ลูกหลานในชุมชนปลอดภัย และหากด่านชุมชนมีการทำงานจริงจัง จะช่วยสกัดลูกหลาน คนในหมู่บ้านที่เมาสุรา ไม่ให้ขับขี่รถออกนอกพื้นที่จนเกิดอุบัติเหตุและทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ไม่ให้เป็นการเดินทางไปซื้อเหล้าขวดสุดท้ายหรือไปเที่ยวครั้งสุดท้าย

ทั้งนี้การลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากจราจร กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการต่อเนื่องทั้งปี ผลการดำเนินงานในรอบ 5 เดือนของปีงบประมาณ 2559 มีมาตรการสำคัญ 4 มาตรการ คือ
1.มาตรการระบบข้อมูล มีการบูรณาการข้อมูล 3 ฐาน ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา ช่วยให้มีการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิต ดำเนินการแล้วใน 37 จังหวัด  

2.มาตรการป้องกัน ด้วยการแก้ไขจุดเสี่ยงและด่านชุมชน มีการชี้จุดเสี่ยงแล้ว 767 จุด ปิดจุดเสี่ยงแล้ว 512 จุด คิดเป็นร้อยละ 67 มีการตั้งด่านชุมชน 578 ด่าน และมีการใช้มาตรการองค์กรความปลอดภัยบนท้องถนนใน 22 จังหวัด

3.มาตรการการรักษา มีการเพิ่มปริมาณและคุณภาพการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินจากที่เกิดเหตุจนถึงโรงพยาบาล เพิ่มและพัฒนาคุณภาพทีมกู้ชีพฉุกเฉิน พัฒนามาตรฐานห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล ขณะนี้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปผ่านเกณฑ์มาตรฐานเกือบ 80-100 เปอร์เซ็นต์ มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยบาดเจ็บจากจราจรเชื่อมโยงถึงกัน มีช่องทางด่วน ช่วยลดการเสียชีวิตในที่เกิดเหตุและในโรงพยาบาล

4.มาตรการด้านการบริหารจัดการ มีการจัดระบบโครงสร้างและการจัดการบริการฉุกเฉิน มีศูนย์บาดเจ็บระดับกระทรวง และจัดตั้งหน่วยผู้ป่วยฉุกเฉินในโรงพยาบาลแล้ว 72 แห่ง นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน รณรงค์ดื่มไม่ขับ สร้างจิตสำนึกการขับรถ ควบคุมการจำหน่ายเหล้า คุมเข้มมาตรการสวมหมวกนิรภัย คาดเข็มขัดนิรภัย  





ต้องเปลี่ยน หรือ เพิ่มอะไร ? เพื่อ 'ลดยอดตาย' ในเทศกาลปีใหม่
วันจันทร์ ที่ 11 มกราคม 2559 เวลา 10:12 น.
https://www.isranews.org/isranews-scoop/item/43983-open_43983.html
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา //www.isranews.org : เป็นรายงานสรุปภาพรวมอุบัติเหตุทางถนน และความสูญเสียในเทศกาลปีใหม่ 2559 และข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาของ 'ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน'
-----------

ถือเป็นอีกครั้งที่ อุบัติเหตุทางถนน และความสูญเสียในเทศกาลปีใหม่ 2559 ได้เพิ่มจำนวนขึ้นกว่าปีใหม่ที่ผ่านมา โดยมีจำนวนอุบัติเหตุ 3,379 ครั้ง เจ็บรุนแรง 3,505 คน และตาย 380 คน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.7, 12.4 และ 11.4 ตามลำดับ) และถ้านับรวมผู้บาดเจ็บรุนแรงที่อาจจะพิการ ซึ่งพบได้ ร้อยละ 4.6 จะเกิดผลกระทบหลังปีใหม่อีก 161 ครอบครัวจะต้องแบกรับภาระดูแลผู้พิการไปอีกตลอดชีวิต

แม้ปีนี้ จะมี “ตัวช่วย” ซึ่งเป็นมาตรการเสริมที่สำคัญ คือ “ดื่ม/เมา ขับ-ขี่” ถูกยึดรถ ร่วมกับ “ด่านชุมชน” ร่วมกับมาตรการหลัก คือ การบังคับใช้กฎหมายที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.5 ยอดผู้ถูกดำเนินคดีถึง 679,621 ราย เพิ่มขึ้น 80,999 ราย แต่ยังไม่สามารถสกัดหรือจัดการกับความเสี่ยงที่มีอยู่บนท้องถนน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามาตรการที่มีอยู่ “ไม่สมดุล” กับ “ความเสี่ยง” ที่มีอยู่จำนวนมาก

ความเสี่ยงบนถนน พบว่ามีจำนวน “เพิ่มขึ้นโดยตลอด” ดูจากข้อมูลรถจดทะเบียนใหม่ปี 2558 ที่พบเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 69,961 คัน หรือวันละ 2,332 คัน เฉพาะรถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งที่เพิ่มร้อยละ 4.5 พบมียอดจดทะเบียนใหม่ เฉลี่ยวันละ 1,242 คัน หรือเดือนละ 37,283 คัน* นอกจากนี้ ในแต่ละเทศกาลที่ผ่านๆ มาจะพบว่า (1) คนเดินทางเพิ่มขึ้น ยิ่งครั้งนี้น้ำมันราคาถูกลง ยิ่งทำให้มีเพิ่มการเดินทาง โดยพบว่าจราจรหนาแน่นเพิ่มขึ้น 5.8% (2) คนทยอยออกเดินทางไปฉลองเร็วและนานขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มรถส่วนบุคคล (3) แบบแผนความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ มีเพิ่มขึ้นและกระจายตัวทั้งสายหลักและสายรอง ได้แก่พฤติกรรม ขับรถเร็ว ดื่ม/เมาขับ ขับรถย้อนศร ใช้มือถือขณะขับ และที่สำคัญคือ “หลับใน”

ซึ่งองค์ประกอบหรือปัจจัยที่ส่งเสริมความเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนน เหล่านี้ ไม่ได้พบเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ แต่ยังพบในช่วง “วันหยุดยาว” ช่วงอื่นๆ ตลอดทั้งปี และความสูญเสียที่เกิดขึ้นก็อยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน (ช่วงปกติ จะมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 40 คน/วัน)

ข้อมูลผู้เสียชีวิต จากศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) บ่งชี้ว่า “ความเร็ว” เป็นสาเหตุอันดับแรก (ร้อยละ 26.8) อันดับสอง รองลงมาคือ “ดื่ม/เมาขับ” ร้อยละ 14.9 และ ตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 14.7 รวมทั้ง หลับใน ร้อยละ 5.7 (เสียชีวิต 28 ราย) นอกจากนี้ ยังพบว่า ส่วนใหญ่ เกิดบนสายหลัก คือ ถนนกรมทางหลวง (ร้อยละ 55.9) กรมทางหลวงชนบท ร้อยละ 13.4 และ ถนน อบต./ชุมชน ร้อยละ 18.7 และคนที่เสียชีวิตจะเป็นคนในพื้นที่เป็นหลัก (ร้อยละ 57) ที่สำคัญมีคนเดินถนนเสียชีวิตถึง ร้อยละ 8.9

สอดคล้องกับ ข้อมูล ดัชนีความรุนแรง (severity index) ซึ่งสูงถึง 11.25 (หรือพูดง่ายๆ คือ อุบัติเหตุ 100 ครั้ง มีคนตาย 11.25 คน) โดยสาเหตุหลักของความรุนแรง มาจาก (1) ความเร็ว (2) การไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย เช่น ไม่สวมหมวก ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย (3) มีจุดเสี่ยงและวัตถุอันตรายข้างทาง เช่น รถเสียหลักตกข้างทาง แต่ตายเพราะชนต้นไม้ใหญ่ ป้าย เสาไฟ (4) ปัจจัยเสริมอื่นๆ ที่ทำให้รุนแรง เช่น หลับใน ดื่มขับ (ยิ่งดื่ม ยิ่งไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย) มาตรฐานความปลอดภัยของรถ และ ระบบดูแลช่วยเหลือที่มีมาตรฐาน

เช่นเดียวกับข้อมูลจาก ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม (ศปภ.คค.) ที่รวบรวมอุบัติเหตุที่เกิดบนถนนของโครงข่าย ก.คมนาคม ที่พบว่า ดัชนีความรุนแรง ปีใหม่ 2559 เพิ่มจาก 14.1 เป็น 17.55 และช่วงกลางคืน จะมีความรุนแรงมากว่ากลางวัน เกือบ 2 เท่า โดยถนนของกรมทางหลวงชนบท มีดัชนีความรุนแรง 21.9 โดยเฉพาะช่วงฉลอง (วันที่ 30-31 ธค.และ 1 มค.) จะสูงกว่าช่วงเดินทาง ตรงกันข้ามกับ ถนนกรมทางหลวง ที่มีดัชนีความรุนแรง ช่วงเดินทาง มากกว่าช่วงฉลอง
อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมยอดอุบัติเหตุ เจ็บ ตาย จะเพิ่ม แต่เมื่อพิจารณาในกลุ่ม “ดื่ม/เมาขับ” ข้อมูล ศปถ. ระบุว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ จากดื่ม/เมาขับ ลดลงจากร้อยละ 37 เหลือร้อยละ 25 และ ผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุจากดื่ม/เมาขับ ก็มีสัดส่วนลดลง จากร้อยละ 25.6 ในปี 2558 เหลือร้อยละ 14.9 ในปี 2559 เช่นเดียวกับข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ที่จำนวนผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้น แต่ผู้ขับขี่ที่ดื่มแอลกอฮอล์ มีจำนวนลดลงร้อยละ 4.8 (ลดลง 338 คน จากจำนวน 6,953 รายในปี 2558 เป็น 6,615 ราย)

อะไรสิ่งที่ต้องเปลี่ยน หรือ เพิ่มขึ้น ? เพื่อ “ลดความรุนแรง” (ลดตาย) ..

ในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการปัญหาอุบัติเหตุ จะมุ่งเน้นไปที่การลดการตาย แทนที่จะพยายามไปลดจำนวนครั้งอุบัติเหตุ ซึ่งแม้จะสำคัญแต่ทำให้ขาดจุดเน้น และส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด โดยไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น บทเรียนทั้งต่างประเทศและเทศกาลปีใหม่ ที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ต้องเปลี่ยนจุดเน้น และ เพิ่มมาตรการที่สำคัญ คือ
1) กำหนด “จุดเน้น” (Focus) โจทย์หลักไปที่ “ลดความสูญเสีย” เพื่อให้ ทรัพยากรที่มีจำกัด ทั้งคน เงิน อุปกรณ์ เวลา ฯลฯ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ซึ่งความเสี่ยงหลัก ที่พบในทุกพื้นที่และนำมาสู่การเสียชีวิต ที่สำคัญคือ “ความเร็ว” รองลงมาคือ ความเสี่ยงเรื่อง ดื่ม/เมาขับ หลับใน ไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย และ ปัญหาจุดเสี่ยง/วัตถุอันตรายข้างทาง ส่วนความเสี่ยงอื่นๆ ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เพื่อหามาตรการเฉพาะเจาะจงให้เหมาะสมกับพื้นที่

2) กำหนดค่า “เป้าหมาย” ที่จะลดการตาย ที่ชัดเจนทั้งในระดับประเทศ หน่วยงานหลัก (คมนาคม ตำรวจ มหาดไทย สาธารณสุข) และเป้าหมายระดับจังหวัด แม้ว่าการตั้งค่าเป้าหมาย จะทำให้เกิดแรงกดดันและอาจส่งผลต่อการไม่รายงานยอดเสียชีวิต แต่ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยสร้าง “ความรับผิดชอบ” ในการดำเนินงาน เช่น กรณีที่ ก.คมนาคม ตั้งเป้าหมาย รถสาธารณะ ตาย=0 แม้ปีนี้จะมีคนตาย 1 คน แต่ทำให้มีการนำปัญหา สาเหตุมาวิเคราะห์และปรับมาตรการ

3) กำหนด “มาตรการหลัก” ที่ได้ผลกับการจัดการความเสี่ยงหลัก และลดความสูญเสีย โดยเน้นหนักไปที่ การบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement) เป็นอันดับแรก ร่วมกับมาตรการด้านวิศวกรรมจราจร (Engineering ) และ มาตรการรณรงค์สื่อสารสาธารณะ (Education) มาเป็นตัวเสริมสำคัญ
-ซึ่งการบังคับใช้กฎหมาย ให้เกิดประสิทธิภาพ ต้องมีความถี่ และเฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย พื้นที่และช่วงเวลาเสี่ยง เพื่อส่งผลป้องปรามผู้ใช้รถใช้ถนนที่จะไม่กล้าเสี่ยงที่จะฝ่าฝืน (Deterrence Effect) เช่น มีการตั้งจุดตรวจจับ ความเร็ว ดื่ม/เมาขับ ที่ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยง พื้นที่ และช่วงเวลาเสี่ยง (เมาขับ จุดตรวจช่วงค่ำ-ดึก ในเส้นที่ออกจากสถานบันเทิง) พร้อมทั้งมีบทลงโทษที่แรง เพียงพอที่จะทำให้ไม่กล้าเสี่ยงที่จะทำผิดซ้ำ

สำหรับ ข้อพิจารณา ในความเสี่ยงหลัก ที่สำคัญ ได้แก่
(1) ความเร็ว มาตรการสำคัญที่ต้องเน้นหนัก คือ

1.1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดให้ความเร็วเขตเมือง ไม่เกิน 50 กม./ชม โดย กำหนดร่วมกับ ผู้ดูแลเส้นทาง (ก.คมนาคม ท้องถิ่น) ให้มีระเบียบหรือประกาศเขตควบคุมความเร็ว โดยเริ่มจากจุดที่เป็นเขตชุมชน ตลาด หน้าโรงเรียน พร้อมจัดทำป้ายและ มาตรการทางวิศวกรรมจราจร เพื่อสยบความเร็ว (traffic calming)

1.2 รัฐบาล เร่งจัดหาเครื่องตรวจวัดความเร็วให้เพียงพอ (เพราะปัจจุบันมีเฉลี่ย1-2 เครื่อง/จังหวัด) พร้อมทั้งมีการบังคับใช้กฎหมาย ให้ “ครอบคลุม”เส้นทางและช่วงเวลาที่มีเสี่ยง พร้อมทั้งจัดทำระบบข้อมูลบันทึกความผิดซ้ำ เพื่อทำให้ผู้ที่กระทำความผิดซ้ำมีบทลงโทษที่รุนแรงขึ้น

1.3 ทางสายหลัก ของกรมทางหลวง หรือถนนที่มีหลายช่องทาง ของกรมทางหลวงชนบท หรือ ถนนของท้องถิ่น ซึ่งพบความเสี่ยง ที่รถจะวิ่งเร็ว
- เร่งสำรวจและมีแผนจัดการจุดเสี่ยง (Black spot) และอันตรายข้างทาง (Road Side Hazard) ให้ทันกับปัญหา (ในแต่ละปี ควรกำหนดงบให้สมดุลกับจุดเสี่ยงที่มีจำนวนมาก เพื่อไม่ให้สะสมเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ)
- ถนนที่จะซ่อมสร้างใหม่ กำหนดให้มีระบบตรวจสอบความปลอดภัย (Road Safety Audit :RSA) ตั้งแต่การออกแบบ ก่อสร้างและดูแลรักษา เพื่อป้องกันอันตรายทั้งระหว่างก่อสร้างและหลังจากเปิดใช้งาน
- ระยะกลาง/ยาว มีการวางระบบเพื่อให้ เกิดรูปธรรมของลำดับชั้นของถนน (Road Hierarchy) เพราะมีผลโดยตรงกับ “มาตรการจัดการความเร็ว” รวมทั้งระบบการจัดการความเสี่ยงจากการเชื่อมทาง (Access management)

1.4 รถสาธารณะ นอกจากการติดตั้ง GPS ให้ครอบคลุมและมีระบบควบคุมกำกับความเร็ว และบทลงโทษที่จริงจังแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มมาตรการสำคัญ ได้แก่
- กวดขันให้ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัย เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ จะลดความสูญเสียได้ร้อยละ 30-40 โดยเพิ่มบทบาทผู้ประกอบการ พนักงานประจำรถ ให้ช่วยกำกับ ในลักษณะเดียวกับการคาดเข็มขัดบนเครื่องบิน
- ระยะกลาง/ยาว : ส่งเสริมหรือกำหนดระเบียบในการติดตั้ง speed limiter เพื่อกำกับไม่ให้คนขับ ขับเร็วเกินกว่าที่กำหนด เพราะการใช้ GPS อย่างเดียวยังมีข้อจำกัดในการกำกับความเร็วในหลายๆ สถานการณ์

(2) ดื่ม/เมาขับ มาตรการสำคัญที่ควรพิจารณาเน้นหนัก คือ

2.1 ขยายให้มาตรการ ดื่ม/เมาขับ ถูกยึดรถ เข้าสู่ระบบปกติของตำรวจ การตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ เพราะปีใหม่ที่ผ่าน แม้จะดำเนินการในจำนวนที่จำกัด แต่ก็เห็นแนวโน้มที่ช่วยลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตของการดื่ม/เมาขับ

2.2 เพิ่มจำนวนเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ให้เพียงพอ (ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 1-2 เครื่อง/สถานีตำรวจภูธร) และปรับวิธีการตั้งจุดตรวจเมา ให้มีความถี่ และครอบคลุมกลุ่มเสี่ยง จนส่งผลต่อป้องปรามคนดื่มแล้วมาขับ (Deterrence Effect) เช่น ช่วงปกติ มีการตั้งด่านเข้มในคืนวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์

2.3 มีระบบรายงานผลและติดตามกำกับ “ทุกเดือน” โดยให้ทุกสถานีตำรวจ รายงานจำนวนการตรวจจับดำเนินคดี การยึดรถ ให้กับกองบังคับการ และรายงานต่อมาที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรายงานผลแต่ละไตรมาส ให้กับคณะรัฐมนตรี

2.4 เมื่อมีอุปกรณ์ตรวจวัดแอลกออล์เพียงพอ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดระเบียบปฎิบัติให้ทุกกรณีของอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส พนักงานสอบสวนต้องตรวจวัดแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อเป็นหลักฐานสำคัญในการดำเนินคดี เพราะที่ผ่านมาอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมด ไม่ได้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลสำคัญต่อการระบุสาเหตุและกำหนดบทลงโทษ

2.5 รณรงค์ให้ปัญหาดื่ม/เมาขับ เป็นเรื่องที่สังคมไม่ยอมรับและขอให้ศาล มีบทลงโทษที่รุนแรง เช่น ดื่ม/เมาขับ ถูกกักขัง ไม่ใช่เพียงโทษจำปรับรอ หรือ เมาขับชนคนตาย ถูกจำคุกไม่รอลงอาญา แบบเดียวกับประเทศที่ลดปัญหาดื่ม/เมาขับลดลงได้ และ ในระยะกลาง/ยาว พิจารณาแก้กฎหมายจาก “โทษประมาท” เป็น”เจตนา”

(3) เพิ่มจุดคานงัด เพื่อเสริมมาตรการหลัก โดยเพิ่ม “จุดจัดการปัญหา” ให้มากขึ้น โดยใช้โครงสร้างที่มีอยู่ และ หน่วยงาน/องค์กร ได้มาช่วยสร้าง “มาตรการองค์กร” และ “มาตรการชุมชน” เพื่อมาช่วยกำกับพฤติกรรมเสี่ยง ของพนักงานในองค์กร และ คนในชุมชน

3.1 รัฐบาล กำหนดและส่งเสริมให้ทุกองค์กร ทั้งภาครัฐ เอกชน จัดทำมาตรการองค์กรด้านความปลอดภัยทางถนน เพื่อช่วยกำกับพฤติกรรมเสี่ยงของพนักงานในองค์กร เช่น
- รถรับส่งพนักงานมีการติดตั้ง speed limiter หรือติด GPS และมีการกำกับติดตาม
- พนักงานที่ใช้จักรยานยนต์ต้องใส่หมวกนิรภัย
- พนักงานที่ถูกดำเนินคดีดื่ม/เมาขับ หรือคดีจราจรที่สำคัญ และมีผลต่อการพิจารณาความก้าวหน้า
กรณีตัวอย่าง ที่ดารา ดื่ม/เมาขับ ถูกต้นสังกัดสั่งแบน 3 เดือน , หรือล่าสุด DJ ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับรถ ถูกไล่ออกจากงาน ชี้ให้เห็นว่า “ต้นสังกัด” จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดพฤติกรรมของพนักงานในองค์กรได้

3.2 โครงสร้างที่มีอยู่ เช่น ศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน จังหวัด และ อำเภอ ท้องถิ่นและชุมชน จัดทำแผนงานและมาตรการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ให้สามารถดำเนินการตลอดทั้งปี เช่น
- ศปถ.จังหวัด และ อำเภอ กำหนดวาระเรื่องอุบัติเหตุ ในการประชุม”ทุกเดือน” เพื่อติดตามการดำเนินงานและข้อมูลที่มีการวิเคราะห์จุดเสี่ยง หรือพฤติกรรมเสี่ยง พร้อมสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการแก้ไข
- ระดับท้องถิ่น ชุมชน จัดตั้ง “ด่านชุมชน” ในช่วงเทศกาล หรืองานบุญประเพณีที่มีการเดินทางจำนวนมาก เพื่อสกัดหรือป้องกันความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ
- กำหนดกติกาชุมชน ที่จะจัดการคนขับรถเร็ว ดื่ม/เมาขับ กำหนดมาตรการหน้าโรงเรียน/ตลาด เป็นเขตควบคุมความเร็ว ฯลฯ

กล่าวโดยสรุป บทเรียนจากปีใหม่ที่ยอดตายเพิ่มขึ้น ได้ชี้ให้เห็นว่า มาตรการและวิธีจัดการปัญหาที่มีอยู่ ไม่สมดุลและเพียงพอกับ “ความเสี่ยง” ที่มีหลากหลายรูปแบบ และเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีการกระจายตัวทั้งสายหลักและสายรอง ทำให้ต้องเร่งทบทวนเพื่อปรับเปลี่ยนเพราะภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด ต้องกำหนด “จุดเน้นสำคัญ” พร้อมทั้งเป้าหมายและปรับมาตรการให้สอดคล้อง ควบคู่ไปกับการเพิ่มจุดจัดการปัญหา จึงจะทันสถานการณ์ และทำให้การประเมินผลมีความชัดเจนว่ามาตรการที่มุ่งเน้น ได้ผลหรือไม่ เพราะเหตุใด และต้องการปรับเปลี่ยนอย่างไร

* (ข้อมูลกรมการขนส่งทางบก เดือน กพ. เทียบกับ พย. 2559)

๒. ข้อคิดความเห็น เกี่ยวกับบ้านเรา –

ข่าวประชาสัมพันธ์เทศบาลเมืองกำแพงเพชร เรื่อง เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ร่วมกับ สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติ ศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (อพท.) ขอเชิญชมกิจกรรม ดนตรี นาฏศิลป์ ภูมิถิ่นปัญญาไทย ครั้งที่ 1 ในวันที่ 23 เมษายน 2559 ณ บริเวณถนนคนเดิน "ฅนกำแพง" (Walking street) ถนนสิริจิต (หน้าสะพานข้ามเกาะกลางน้ำ) ภายในงาน พบกับ การแสดงดนตรีไทย การแสดงนาฏศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงดนตรีสากล จากน้องๆเยาวชน ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร และชมการสาธิตภูมิปัญญาไทย เลือกซื้อสินค้าจากผลิตภัณฑ์ชุมชน อีกมากมาย
เทศบาลเมืองกำแพงเพชรได้จัดขึ้นโครงการถนนคนเดินฯ ขึ้นเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐในการจัดกิจกรรรม “ตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้” และความต้องการของประชาชนที่ต้องการพื้นที่จำหน่ายสินค้าชุมชนตามแนวความคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Econnomy) ปรัชญาชุมชนเข้มแข็ง (Community Strengthening) โดยบูรณาการการดำเนินโครงการในหลายภาคส่วน เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ ส่งเสริมการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีชุมชนดึงดูดนักท่องเที่ยวและเป็นการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารบนถนน หรือฟู๊ดสตรีท (Food Street) ให้กับผู้ประกอบการ ตามนโยบายอาหารปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข คือ “โครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย” (Clean Food Good Taste) อีกทางหนึ่งด้วย

ประชุมผู้ประกอบการค้า ในโครงการถนนคนเดิน “ฅนกำแพง” (Walking Street)
วันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 09.30 น. นายนพพร ปานชัย รองนายกเทศมนตรีเมืองกำแพงเพชร เป็นประธานในการเปิดประชุมผู้ประกอบการค้าในโครงการถนนคนเดิน “ฅนกำแพง” (Walking Street) เพื่อชี้แจงการดำเนินงานและคัดเลือกคณะกรรมการชมรมผู้ประกอบการถนนคนเดิน ร่วมด้วย นางสุปราณี รามบุตร รองปลัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร นางจันทร์ทิวา ยอดนิล ผู้อำนวยการกองการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นายอุโลม ชูสุวรรณ ผู้อำนวยการกองการสวัสดิการสังคม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการค้าที่ได้ลงทะเบียนไว้กับโครงการถนนคนเดิน สำหรับรายละเอียดของการดำเนินงานนั้นมีรายละเอียดดังนี้

 1.งบสมทบในการบริหารจัดการโครงการ ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าจำหน่ายสินค้าในโครงการถนนคนเดิน จะต้องชำระเงินสมทบในการบริหารจัดการ จำนวน 500 บาท ให้กับ ชมรมผู้ประกอบการถนนคนเดิน เพื่อนำไปเป็นค่าบริหารจัดการกิจกรรมถนนคนเดิน จำนวน 6 เดือน ตั้งแต่ เมษายน ถึง กันยายน 2559 เช่น ค่าจัดเก็บขยะ ค่าดูแลการจัดระเบียบการจราจร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.ค่าไฟฟ้า ผู้ไดรับคัดเลือกให้เข้าขายสินค้าในโครงการ จะต้องเสียค่าไฟฟ้าให้กับผู้รับจ้างเอกชน เพิ่มเติม ดังนี้
21. ค่ากระแสไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าส่องสว่าง ดวงละ 25 บาท (ให้ใช้หลอดประหยัดไฟ)
(หมายเหตุ ผู้ขายจัดเตรียมหลอดไฟมาเองพร้อมสายไฟต่อเชื่อม)
2.2 ค่ากระแสไฟฟ้าตามการใช้อุปกรณ์/เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น
- เครื่องปั่นน้ำผลไม้ เครื่องละ 25 บาท
- เตาปิ้งย่าง กระทะไฟฟ้า เครื่องละ 45 บาท
- ตู้แช่เครื่องดื่ม เครื่องละ 60 บาท
- เครื่องปั่นไอศกรมขนาดใหญ่ เครื่องละ 300 บาท
(หมายเหตุ ห้ามใช้หม้อแปลงเร่งกระแสไฟฟ้าในล็อคที่จำหน่ายสินค้า)

การสร้างถนนคนเดิน ให้เกิดขึ้น นั้นไม่ยาก แต่การรักษาให้คงอยู่และเจริญเติบโต ยากมาก
คำถามสำคัญ คือ วัตถุประสงค์ ของผู้บริหารเทศบาลเมืองฯ จะทำถนนคนเดิน ขึ้นมาเพื่ออะไร ?  เพราะ รูปแบบ วิธีการจัดการ จะแตกต่างกันไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ต้องการให้เป็นพื้นที่ใหม่ ไม่เหมือนที่ไหนในเทศบาลฯ (เน้นความแปลกใหม่) เพื่อเปิดพื้นที่ดนตรีศิลปวัฒนธรรมให้เด็กเยาวชนครอบครัว (เน้นด้านสังคม) หรือ เพื่อเป็นตลาดขายสินค้าอาหารแห่งใหม่ (เน้นรายได้) เป็นต้น เอกลักษณ์ จุดเด่น ของงานต้องชัดเจน ที่ดูแล้วรู้ว่าเป็นของจังหวัดกำแพงเพชร เพราะถนนคนเดินมีทั่วประเทศ ดังนั้น ถ้าจะทำถนนคนเดิน ก็จะต้อง “สร้าง” จุดเด่น ของงาน ที่สื่อให้คนอื่นได้รับรู้
    วันเสาร์ ๒๓ เมย. วันนี้ จะเป็นวันแรกของถนนฅนเดิน จึงอยากจะเชิญชวนท่านผู้ฟัง ไป ชม ชิม ช๊อป อย่างน้อย ก็ถือว่าเป็นกำลังใจให้กับคนทำงาน พ่อค้าแม่ค้า ผมจะไปช่วงสองทุ่ม ต้องรอปิดคลินิกก่อนนะครับ ส่วนว่าไปแล้วจะชอบ ไม่ชอบ อย่างไร ก็ค่อยว่ากัน อะไรที่ดี เราก็ช่วยกันชม คนทำงานจะได้มีกำลังใจ อะไรที่ไม่ดี เราก็ช่วยกันติ คนทำงานจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข ให้ดีขึ้น เพราะ ที่นี่ คือบ้านของพวกเราทุกคน






Create Date : 23 เมษายน 2559
Last Update : 23 เมษายน 2559 13:04:44 น. 1 comments
Counter : 970 Pageviews.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:17:00:43 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]