Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เมอรัลเจีย พาเรสทีทิกา Meralgia Paresthetica (Burning Thigh Pain , Skinny Jeans Syndrome)

 

 

 

เมอรัลเจีย พาเรสทีทิกา MeralgiaParesthetica (Burning Thigh Pain , Skinny Jeans Syndrome)

เกิดเนื่องจาก มีการกดทับ เส้นประสาทผิวหนังโคนขาด้านข้าง(lateral femoral cutaneous nerve, LFCN) ทำให้การรับความรู้สึกที่ผิดปกติเช่น รู้สึกเจ็บเหมือนเข็มทิ่ม รู้สึกแสบร้อนเหมือนโดนพริก รู้สึกชาผิวหนังหนาขึ้น เป็นต้น บริเวณด้านหน้าและด้านนอกของต้นขา แต่จะไม่มีอาการอ่อนแรง

มักจะมีอาการมากขึ้นหลังจาก เดินนาน ยืนนานหรือ การออกกำลังกาย

พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง พบบ่อยในช่วงอายุ30-60 ปี ส่วนใหญ่พบเป็นข้างเดียว(80%) ขวาและซ้ายไม่แตกต่างกัน

สาเหตุ ที่พบบ่อย เช่นใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น ใส่เข็มขัดแน่นเกินไป น้ำหนักขึ้น อ้วนลงพุง การตั้งครรภ์การเกิดอุบัติเหตุ หรือ โรคเบาหวาน

 

การวินิจฉัย

- ส่วนใหญ่ วินิจฉัยได้จาก ประวัติ และการตรวจร่างกาย ( tinel sign, PelvicCompression Test, skin mapping)

- การตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือเอกซเรย์ (X-ray, CT , MRI)อาจจำเป็นในกรณีที่สงสัยว่าจะมีภาวะแทรกซ้อน

- การตรวจการนำกระแสประสาท (NCV EMG) อาจช่วยยืนยันในการวินิจฉัยได้

 

การรักษา

โดยส่วนใหญ่อาการดีขึ้นได้โดยการปรับพฤติกรรม (สวมเสื้อผ้าหลวม ลดน้ำหนัก) การบริหารยาบรรเทาอาการ (อาจใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหาย) ถ้ามีอาการมาก ติดต่อกันเกิน 2 เดือน อาจต้อง ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อช่วยบรรเทาอาการ มีส่วนน้อยมากที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด


 

https://emedicine.medscape.com/article/1141848

https://emedicine.medscape.com/article/308199

https://www.epainassist.com/sports-injuries/thigh-pain/meralgia-paresthetica-or-bernhardt-roth-syndrome

https://cursoenarm.net/UPTODATE/contents/mobipreview.htm?16/38/16998

https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/meralgia-paresthetica/home/ovc-20308723

https://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00340

https://www.athasit.com/article/detail/244

https://www.fpnotebook.com/Ortho/Neuro/MrlgPrsthtc.htm

https://drmorgan.info/clinicians-corner/meralgia-paresthetica-skinny-jean-syndrome/

https://thepainsource.com/meralgia-paresthetica-lateral-femoral-cutaneous-neuropathy/

MERALGIA PARESTHETICA: A REVIEW OF THE LITERATURE: The International Journal of Sports Physical Therapy |Volume 8, Number 6 | December 2013 | Page 883

Meralgia Paresthetica, The Elusive Diagnosis ClinicalExperience With 14 Adult Patients : ANNALSOF SURGERY Vol. 232, No. 2, 281286 Ann. August 2000

https://www.precisionmovement.coach/meralgia-paresthetica-treatment/

https://www.healthline.com/health/fitness-exercise/meralgia-paresthetica-exercises#7


กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2560   
Last Update : 20 มิถุนายน 2565 15:00:17 น.   
Counter : 20079 Pageviews.  

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก



 

เครดิต FB JonesSalad
https://www.facebook.com/JonesSaladThailand/photos/a.1411999495702208/2909516542617155/


กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

https://www.bumrungrad.com/th/rehabilitation-clinic-sathorn/conditions/office-syndromes
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานกายภาพบำบัดจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่
 

อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานที่พบได้บ่อยและสามารถดูแลโดยนักภาพภาพบำบัด
  • กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome)
  • เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome)
  • ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension)
  • กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (tennis elbow)
  • ปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งอักเสบ (De Quervain’s tendonitis)
  • นิ้วล็อก (trigger finger)
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)
  • ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ (postural back pain)
  • หลังยึดติดในท่าแอ่น (back dysfunction)


สาเหตุของการเกิดออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุและอาการของการเกิดออฟฟิศซินโดรม
  • การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
  • ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป
  • สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม
  • สภาพร่างกายที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลาย


การสังเกตอาการออฟฟิศซินโดรมและแนวทางแก้ไข

 ระดับของอาการ    การสังเกตอาการ           แนวทางแก้ไข
ระดับที่ 1 อาการเกิดขึ้น เมื่อทำงานไประยะหนึ่ง พักแล้วดีขึ้นทันที
  • พักสลับทำงานเป็นระยะๆ
  • ยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลาย
  • นวดผ่อนคลาย
  • ออกกำลังกาย
ระดับที่ 2 อาการเกิดขึ้น พักนอนหลับแล้ว แต่ยังคงมีอาการอยู่
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
  • รับการรักษาที่ถูกต้อง
ระดับที่ 3 อาการปวดมากแม้ทำงานเพียงเบาๆ พักแล้วอาการก็ยังไม่ทุเลาลง
  • พักงาน/ปรับเปลี่ยนงาน
  • รับการรักษาที่ถูกต้อง
 
 

แนวทางการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

  • การรักษาด้วยยา
  • การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง
  • การปรับสถานีงาน พื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม
  • การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย

ความสำคัญของกายภาพบำบัดต่อการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

กายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนถึงกรณีที่มีอาการมากจนรบกวนชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

นักกายภาพบำบัดยังมีหน้าที่ในการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับมามีอาการเหล่านี้อีก โดยนักกายภาพบำบัดจะประเมินโครงสร้างร่างกายพร้อมปรับแก้โครงสร้างร่างกายให้เกิดความสมดุลและปกติ รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนท่าทางระหว่างการทำงาน การปรับสภาพแวดล้อมของเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล แนะนำการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง พร้อมรับสภาวะการทำงานที่อาจไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับออฟฟิศซินโดรมด้วย


เป้าหมายในการดูแลทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม

  • ลดอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ/เอ็นกล้ามเนื้อ
  • ลดการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้นๆ (immobilization) ด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ รวมถึงถ้ายังจำเป็นต้องใช้งานต่อเนื่องจากภาระงาน
  • ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเพื่อลด/หลีกเลี่ยงการใช้งานบริเวณที่มีการอักเสบ
  • ให้ความรู้ในการแก้ไขปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ได้แก่
    • การปรับท่าทางให้ถูกต้อง
    • การปรับหรือแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย
    • การลดการกดทับของกล้ามเนื้อหรือการหดสั้นของกล้ามเนื้อ
    • การปรับสภาพแวดล้อมของเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล
    • การออกกำลังกายเพื่อการป้องกันและส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ
      • การยืดกล้ามเนื้อ
      • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
      • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อและระบบหัวใจและหลอดเลือด
      • การออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย
      • การออกกำลังกายเพื่อปรับการทรงท่า (postural correction)

อย่างไรก็ดี การรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยวิธีต่างๆ นั้นเป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุ เพื่อรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบหรือรักษาพังผืดในกล้ามเนื้อ วิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันอาการจากออฟฟิศซินโดรมจำเป็นต้องทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับอิริยาบถในการทำงานให้ถูกต้อง รวมถึงการเสริมสร้างสุขภาพกายและใจให้สมบูรณ์แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ ที่จะมาบั่นทอนคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
 

เป็นแล้วต้องรักษา "ออฟฟิศซินโดรม" ปล่อยไว้นาน อันตรายเกินคาด

 
โดย MGR Online    18 ตุลาคม 2559 21:25 น.
https://www.manager.co.th/goodhealth/ViewNews.aspx?NewsID=9590000104494
 
ทุกสิ่งที่เกิดกับเราในปัจจุบัน ล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการกระทำที่ผ่านมาเสมอเรื่องของสุขภาพร่างกายก็เช่นกัน

โดยทั่วไป คนเรามักเริ่มต้นวัยทำงานในช่วงอายุ 23 ปี ไปจนเกษียณตอนอายุ 60 ปี แม้ในช่วงนี้ ร่างกายจะยังแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วยง่าย แต่ลักษณะการทำงานในบางอาชีพ โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งโต๊ะทำงานตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น ก็มีความเสี่ยงเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ที่เริ่มจากการแสดงอาการเล็กๆ น้อยๆ จนคนมองข้ามไป เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดคอ แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการปรับพฤติกรรมหรือทำการรักษา ก็อาจลุกลาม ทำให้ร่างกายเสียสมดุล จนนำไปสู่การเจ็บป่วยอื่นๆ ในอนาคต

 
 
อย่าวางใจ...“ออฟฟิศซินโดรม” เรื่องเล็กๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่

       นพ. วศิน กุลสมบูรณ์ แพทย์หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ ซึ่งมีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน หรือท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น

“วงจรชีวิตการทำงานคือ 23-60 ปี ถ้ามีอาการต่อเนื่อง 3-5 ปีก็จะเริ่มมีปัญหาแล้ว และจะส่งผลต่อปัจจัยอื่นๆ ในร่างกาย เช่น กระดูกต้นคอเสื่อม กระดูกหลังเสื่อมเพราะตัวกล้ามเนื้อและกระดูก ถูกธรรมชาติออกแบบให้ใช้งานสำหรับการเคลื่อนไหว เมื่อไหร่ที่นั่งทำงานนานๆ การทำงานของระบบพวกนี้ก็จะผิดปกติ ทำให้ระบบทุกอย่างในร่างกายเกิดความไม่สมดุลกันไปหมด กล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ในอนาคต” นพ. วศิน กล่าว

       สำหรับอาการออฟฟิศซินโดรมที่พบได้บ่อย ได้แก่ กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome) เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome) ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension)กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ (tennis elbow) ปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งอักเสบ (De QuervainSyndrome) นิ้วล็อก (trigger finger) เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)และ หลังยึดติดในท่าแอ่น (back dysfunction)

จากสถิติผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในแต่ละปี พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการทำกายภาพบำบัดกว่า 60% ของผู้ป่วยทั้งหมด คือผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเมื่อตรวจสอบประวัติแล้วก็พบว่าสาเหตุมาจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหว

       นอกจากนี้ แนวโน้มที่น่าสนใจคือ ช่วงอายุของผู้มีอาการออฟฟิศซินโดรม เริ่มมีแนวโน้มที่น้อยลงเรื่อยๆ จากอดีต มักพบในกลุ่มคนวัยทำงานอายุ 40 ปี ต่อมาลดลงเหลือ 30 ปี และปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ 20 กว่าปีแล้ว สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไลฟ์สไตล์เปลี่ยน เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น มีการใช้สื่อโซเชียลอย่างแพร่หลาย ทำให้คนอยู่ในท่าทางเดิมเป็นระยะเวลานาน ซึ่งในกลุ่มที่เล่นโซเชียลผ่านโทรศัพท์มือถือนานๆ ส่วนใหญ่จะพบการอักเสบของข้อมือ และในระยะยาวอาจเกิดอาการนิ้วล็อก เหยียดให้ตรงไม่ได้

อย่างไรก็ดี ในอีกมุมหนึ่งก็อาจมองได้ว่า การตระหนักรู้และใส่ใจต่อสุขภาพของคนยุคปัจจุบันมีมากขึ้น ทำให้คนที่อายุน้อยๆ เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลมากขึ้นตามไปด้วย

 
 
เช็กลิสต์ “อาการ” ออฟฟิศซินโดรม "เป็นน้อย” หรือ “เป็นหนัก” ต้องรักษา?

       นพ. วศิน กล่าวอีกว่า วิธีปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม ทำได้ง่ายมาก โดยหลักการคือควรมีการลุกหรือเคลื่อนไหวร่างกายทุกๆ ครึ่งชั่วโมงก็ช่วยได้แล้ว แต่ต้องเป็นการเคลื่อนไหวแบบยืดตัว เนื่องจากลักษณะท่าทางการทำงานส่วนใหญ่คือการก้มทั้งหมด

อย่างไรก็ดี ด้วยภาระงานที่ยังต้องทำต่อไป ก็อาจเป็นข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย จนทำให้เกิดอาการได้ ซึ่งในทางวิชาการแล้ว ออฟฟิศซินโดรม แบ่งออกเป็น3 ระดับ ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตเบื้องต้นด้วยตัวเองว่าอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับไหนแล้ว

ระดับที่ 1
       มีอาการปวดเมื่อยเกิดขึ้นเมื่อทำงานไประยะหนึ่ง แต่พักแล้วดีขึ้นทันที แนวทางแก้ไขคือ การพักสลับทำงานเป็นระยะๆ การยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลาย การนวดเพื่อผ่อนคลาย และการออกกำลังกาย

ระดับที่ 2
       มีอาการเกิดขึ้น แม้จะพักผ่อนนอนหลับแล้ว แต่ยังคงมีอาการอยู่ อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานหรือรับการรักษาที่ถูกต้อง

ระดับที่ 3
       มีอาการปวดอย่างมากแม้ทำงานเพียงเบาๆ พักแล้วอาการก็ยังไม่ทุเลาลง หากมีอาการระดับนี้ จำเป็นต้องพักงานปรับเปลี่ยนงานและรับการรักษาที่ถูกต้อง

“วิธีสังเกตอาการว่าเป็นมากเป็นน้อย สมมุตินั่งทำงานอยู่แล้วปวด แต่พอลุกเดินไปทำกิจกรรมอื่น เช่น ไปเข้าห้องน้ำ ไปชงกาแฟ แล้วหายปวด แบบนี้อยู่ในระยะเริ่มแรก แปลว่าคุณดูแลตัวเองได้ ยังไม่ถึงขั้นต้องไปหาหมอ แต่พอเป็นถึงระดับ 2-3 คุณเริ่มต้องการคำแนะนำหรือต้องไปพบแพทย์แล้ว ระดับ 2 อาจต้องมาพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ ทำการรักษา 1-2 ครั้งแล้วกลับไปทำต่อที่บ้าน แต่ถ้าระดับ 3 จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง” นพ. วศิน กล่าว

ทั้งนี้ นพ. วศิน แนะนำว่า เมื่อมีอาการเกิดขึ้น แม้ไม่ถึงขั้นต้องรักษาด้วยเครื่องมือหรือตัวยา ก็ควรมาพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาอย่างน้อยเพื่อตรวจสอบว่าอาการที่เกิดขึ้นเกิดจากกล้ามเนื้อและกระดูกจริงๆ หรือเกิดจากภาวะซ่อนเร้นอื่นๆ เช่น ปลายประสาท หรือผิดปกติของกระดูก เพื่อจะได้วิเคราะห์ต้นเหตุได้อย่างถูกต้องต่อไป

 
 
“กายภาพบำบัด” ปัจจัยสำคัญในการรักษา

       แนวทางการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรง ตั้งแต่การรักษาด้วยยา การรักษาด้วยวิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูและการทำกายภาพบำบัด เพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และลักษณะงานให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

“การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม ตลอดจนการรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทยซึ่งระยะเวลาการรักษาต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร เช่น ถ้าอยู่ในระยะเริ่มต้น อย่างเร็วก็ 1-3 เดือนถึงจะหาย และมีข้อแม้ว่าต้องดูแลตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่ให้กลับมาเป็นอีก”

       นพ. วศิน กล่าวเพิ่มเติมว่า กระบวนการทำกายภาพบำบัด เป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ซึ่งการทำกายภาพบำบัดที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่การรักษาแล้วปล่อยกลับบ้าน แต่ยังควรสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับมามีอาการเหล่านี้อีก

นักกายภาพบำบัดควรประเมินโครงสร้างร่างกายและปรับแก้ให้เกิดความสมดุล แนะนำการปรับเปลี่ยนท่าทางระหว่างการทำงานให้เหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคล รวมทั้งส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง พร้อมรับสภาวะการทำงานที่อาจไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับออฟฟิศซินโดรมด้วย

 
 









อาการ Office Syndrome เป็นอาการที่เกิดกับคนที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย อาการที่พบส่วนใหญ่มักจะพบเป็นอาการเกี่ยวกับกระดูก โดยกระดูกจะมีการสูญเสียแคลเซียมมาก ทำให้เริ่มมีอาการปวดที่ไหล่ หลัง รวมไปถึงกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจจะทำให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น การปวดหลังเรื้อรัง หรือสูญเสียบุคลิกภาพ
คุณหมอยังกล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญในการแก้ Office Syndrome นั้นคือ การปรับพฤติกรรมของตนเองทั้งในช่วงเวลาทำงานและเวลาอื่นๆ ด้วย โดยเริ่มจากหลักการดังนี้

การจัดโต๊ะทำงาน
การจัดวางคอมพิวเตอร์ให้อยู่ตรงหน้า ไม่เอียงซ้ายหรือขวา จะช่วยให้คุณจัดท่านั่งของตนเองได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังอยู่ในท่าที่ตั้งตรง ไม่ก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อย

การเปลี่ยนอริยาบท
สำหรับคนที่ต้องทำงานออฟฟิศและต้องนั่งหรือยืนนานๆ แนะนำว่าควรเปลี่ยนอริยาบททุกๆ 50 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ไม่ว่าจะลุก ยืน เดิน หรือเปลี่ยนท่าทางอื่นๆ โดยการขยับร่างกายจะช่วยกล้ามเนื้อได้มีการออกแรง ทั้งยังส่งผลดีต่อหัวใจและปอดอีกด้วย

ออกกำลังกายเบาๆ
นอกจากจะเปลี่ยนอริยาบทระหว่างอยู่ที่ทำงานแล้ว ยามว่างลองหาโอกาสในการออกกำลังกายเบาๆ ด้วยท่าออกกำลังกายต่างๆที่ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการ Office Syndrome โดยตรงไม่ว่าจะเป็น ท่าแกว่งแขน ที่เป็นการขยับกล้ามเนื้อส่วนไหล่และแขนให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และช่วยเรื่องอาการปวดเป็นอย่างดี

กินอาหารที่มีประโยชน์
รู้หรือไม่ว่า การนั่งหรืออยู่ในท่าต่างๆ นานๆ โดยไม่มีการขยับ ก่อให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมมากกว่าที่เราคิด ดังนั้นอาหารการกินที่มีปริมาณแคลเซียมสูงเช่น คะน้า นม งา หรือข้าวโอ๊ต จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณทำได้

เมื่อรู้วิธีการปรับเปลี่ยนนิสัยเพื่อป้องกันอาการ Office Syndrome กันแล้ว อย่าลืมลองทำตามกันดูนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : บทสัมภาษณ์ ร.ศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก

https://www.thaihealth.or.th/sook/info-body-detail.php?id=187

 





********************************

อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32

 




 

Create Date : 17 สิงหาคม 2560   
Last Update : 31 มีนาคม 2566 15:16:01 น.   
Counter : 19767 Pageviews.  

กระเป๋านักเรียน หนักเกินทนไหว สะพายเป้อย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง







ถาม

โรงเรียนให้ใช้กระเป๋านักเรียนเป็นแบบเป้สะพายหลังแต่กระเป๋าเขาหนักมาก จะมีผลกับกระดูกมากน้อยอย่างไรไหมคะ ?

ตอบ

ถ้าสะพายกระเป๋าเป้ที่มีน้ำหนัก20 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวเด็ก จะมีโอกาสเกิดอาการ ปวดคอ ปวดหลังกระดูกสันหลังคด ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยังทำให้การทำงานของปอดลดลง อีกด้วยนะครับ

มีคำแนะนำเกี่ยวกับการซื้อการใช้เป้สะพายหลัง

1.วิธีเลือกซื้อกระเป๋าเป้สะพายหลัง

- กระเป๋ามีน้ำหนักเบา

- ความกว้างกระเป๋าต้องไม่กว้างกว่าไหล่และความสูงของกระเป๋าเมื่อเด็กนั่งลง ต้องไม่สูงเกินไหล่

- สายสะพายไหล่ หุ้มเบาะทั้งสองเส้นควรมีความกว้างกว่า 6 ซ.ม. เพื่อกระจายแรงที่กดลงบนไหล่

- ควรมีสายคาดบริเวณเอวจะช่วยให้กระเป๋ากระชับกับแผ่นหลัง ไม่แกว่งไปมาขณะเดินหรือวิ่ง

2.ควรคล้องสายสะพายไหล่ทั้ง 2 เส้นและปรับสายสะพายให้กระชับพอดีเพื่อให้กระเป๋าแนบหลังและก้นกระเป๋าอยู่สูงกว่าเอวถ้ามีสายรัดบริเวณเอวก็ควรใช้ด้วย

3.น้ำหนักกระเป๋า ไม่ควรเกิน 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว หรือถ้าเด็กสะพายกระเป๋าแล้วเดินโน้มตัวมาข้างหน้า แสดงว่า น้ำหนักกระเป๋ามากเกินไป

 4.จัดสิ่งของที่มีน้ำหนักมากที่สุดให้อยู่ชิดบริเวณกลางหลังมากที่สุดและจัดวางให้น้ำหนักกระจายทั่วกระเป๋า









 

Create Date : 02 มิถุนายน 2560   
Last Update : 2 มิถุนายน 2560 15:18:21 น.   
Counter : 7082 Pageviews.  

อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดย ภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ



อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone

https://www.hfocus.org/content/2017/04/13775

Sun, 2017-04-16 13:30 -- hfocus

ปัจจุบันพบว่าคนในสังคมประสบปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone เพิ่มมากขึ้น จากงานวิจัยศึกษาอาการปวดและการทำงานของกล้ามเนื้อ คอ ไหล่ แผ่นหลังส่วนบน และแขนส่วนบน ขณะใช้งาน Smartphone ในผู้หญิงอายุ 18-25 ปี โดย ภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ พบว่าหลังการใช้งาน Smartphone ต่อเนื่องกันนาน 20 นาที พบอาการปวดที่บริเวณคอ ไหล่ แผ่นหลังส่วนบน และแขนส่วนบนอย่างมีนัยสำคัญ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพบอาการปวดคอมากที่สุด

ขอบคุณภาพจาก healthbeat.spectrumhealth.org

ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีการใช้งาน Smartphone เฉลี่ยสูงถึงวันละ 7.2 ชั่วโมงหรือเป็นระยะเวลาประมาณ 1ใน 3 ของวันเพื่อเล่นอินเตอร์เน็ต และส่วนใหญ่จะใช้งานอินเตอร์เน็ตจากเครื่อง Smartphone มากที่สุดถึงร้อยละ 77 ที่น่าสนใจคือประมาณร้อยละ 60 ของผู้ใช้งานมีการติดตามข้อมูลบนหน้าจอ Smartphone จำนวนหลายครั้งใน 1 ชั่วโมง ดังที่มีการเรียกกันว่าเป็น “ยุคสังคมก้มหน้า”

นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบข้อมูลจากทั่วโลกว่าผู้หญิงใช้งาน Smartphone มากกว่าผู้ชาย เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่พบว่าผู้หญิงถึงร้อยละ 56 ที่ใช้งาน Smartphone ในขณะที่ผู้ชายใช้น้อยกว่า รวมทั้งยังพบว่ากลุ่มนักศึกษาอายุระหว่าง 18-24 ปี มีการใช้ Smartphone สูงกว่ากลุ่มที่เริ่มทำงานซึ่งอายุ 25 ปีขึ้นไป

สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้ Smartphone พบว่า อาการปวดที่เกี่ยวข้องกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจากการใช้งาน Smartphone ส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้งานในท่าก้มคอต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ท่าก้มของศีรษะที่มากกว่าปกติจะทำให้กระดูกสันหลังส่วนคอมีองศาการเคลื่อนไหวมากต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของโครงสร้างร่างกายในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ดังนั้นการใช้งาน Smartphone ในท่าเดิมต่อเนื่องเป็นเวลานานจึงเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้

ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาอาการปวดก่อนและหลังการใช้ Smartphone ต่อเนื่องนาน 20 นาทีในผู้เข้าร่วมวิจัยเพศหญิงจำนวน 24 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี โดยประเมินตำแหน่งที่ด้วย body pain chart และประเมินระดับความรุ่นแรงของอาการปวดด้วย visual analog scale (VAS) และวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อที่กล้ามเนื้อ cervical erector spinae (CES), upper trapezius (UT), middle trapezius (MT), biceps brachii (BB)

พบว่าหลังการใช้ Smartphone นาน 20 นาทีมีอาการปวดที่บริเวณคอ ไหล่ แผ่นหลังส่วนบน และแขนส่วนบน มากกว่าก่อนใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้ง 3 ท่าคือ ท่าถือไว้ระดับอก ท่าวางราบบนโต๊ะ และท่าถือไว้ที่ตัก และยังพบอาการปวดคอมากที่สุด โดยปวดคอทั้งหมด 60 ครั้งจากการใช้งานทั้งหมด 72 ครั้ง โดยเฉพาะท่าใช้งานที่ตัก และพบว่ามีอาการปวดเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ท่าทาง โดยค่าเฉลี่ยของระดับอาการปวดไม่แตกต่างกัน พบกล้ามเนื้อ CES ทำงานเพิ่มขึ้น 50% ของการหดตัวสูงสุดของกล้ามเนื้อมัดนี้แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของการทำงานกล้ามเนื้อใน 3 ท่าทาง

ดังนั้นแล้วจึงยืนยันได้ว่า การใช้งาน Smartphone ต่อเนื่องกันนาน 20 นาที ทำให้มีอาการปวดเกิดขึ้นและปวดคอมากที่สุด โดยเฉพาะ ท่าถือไว้ที่ตักขณะใช้งานจะทำให้กล้ามเนื้อคอทำงานหนักมาก

คณะผู้วิจัยแนะนำให้ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน Smartphone ในท่าวางที่ตักต่อเนื่องกันนาน 20 นาที ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดอาการปวดคอได้


เก็บความจาก : ภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ. อาการปวดและการทำงานของกล้ามเนื้อ คอ ไหล่ แผ่นหลังส่วนบน และแขนส่วนบน ขณะใช้งาน Smartphone ในผู้หญิงอายุ 18-25.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข: วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2559.




อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32




 

Create Date : 17 เมษายน 2560   
Last Update : 17 สิงหาคม 2560 23:30:25 น.   
Counter : 4503 Pageviews.  

ปวดหลังกระดูกทับเส้น ยา pregabalin และสัจจธรรมเรื่องอาการปวด .. โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์




//c8.alamy.com/comp/ADW2N1/back-surgery-l5-s1-spondylolisthesis-with-surgical-repair-ADW2N1.jpg

อ้างอิงภาพ //c8.alamy.com/comp/ADW2N1/back-surgery-l5-s1-spondylolisthesis-with-surgical-repair-ADW2N1.jpg


ปวดหลังกระดูกทับเส้น ยา pregabalin และสัจจธรรมเรื่องอาการปวด
//visitdrsant.blogspot.com/2017/03/pregabalin.html

คุณหมอสันต์ที่เคารพ
ผมอายุ 66 ปี เคยทำอาชีพวิศวกร ก่อนเกษียณมีอาการปวดหลังร้าวไปขา ทำ MRI พบว่ามีหมอนรองกระดูกกดเส้นประสาทที่ระดับ L ได้ทำการผ่าตัดไปเมื่อสองปี หลังผ่าดีขึ้นอยู่พักหนึ่งแล้วอาการก็ค่อยๆกลับมาเป็นอีกเหมือนเดิม หมอให้ทานยาแก้ปวดแก้อักเสบหลายตัวแล้วก็เอาไม่อยู่ ในที่สุดจึงใช้ยากันชักชื่อ Lyrica กินไปได้สามเดือนผมรู้สึกเวียนหัวคลื่นไส้ ผมว่าคงเป็นเพราะยานี้ แต่หมอก็บอกว่าหยุดไม่ได้ หยุดแล้วจะชัก ผมก็เลยต้องทนกิน แต่อาการปวดหลังก็ไม่หาย แถมได้อาการเวียนหัวเพิ่มมาอีก ใส่เสื้อเกราะก็แล้ว ไม่ดีขึ้น หมอจะให้ทำ MRI ซ้ำ แต่ผมไม่อยากทำกลัวหมอจับผ่าตัดอีก อยากถามคุณหมอสันต์ว่า การวินิจฉัยด้วย MRI นี้แม่นยำที่สุดแล้วใช่ไหม ทำไมทำผ่าตัดแล้วจึงกลับมาปวดหลังอีก มีคนเป็นแบบนี้มากไหม ควรจะผ่าอีกไหม แล้วยา Lyrica นี้กินแล้วหยุดไม่ได้เลยหรือ ต้องกินไปตลอดจริงหรือเปล่า ถ้าไม่กินยา Lyrica ก็หมายความว่าไม่มียาอื่่นที่แรงกว่านี้มารักษาอาการปวดแล้วใช่ไหม
ขอบพระคุณคุณหมอครับ

...................................................

ตอบครับ

     1. ถามว่า MRI นี้มีความแม่นยำในการวินิจฉัยปวดหลังมากที่สุดแล้วใช่ไหม ตอบว่าไม่ใช่ครับ เพราะ MRI เป็นเพียงภาพ (anatomy) จะไปวินิจฉัยการกดเส้นประสาทซึ่งเป็นเรื่องราวของกลไกการทำงาน (physiology) ได้แม่นยำอย่างไร โดยสถิติจะพบ MRI ที่ผิดปกติได้เสมอแม้ในผู้สูงอายุที่ไม่มีอาการอะไรเลยก็ยังพบว่า MRI ผิดปกติได้ถึง 60% คือเห็นหมอนกระดูกกดโคนเส้นประสาทบ้าง กดแกนประสาทสันหลังบ้าง ดังนั้น ความผิดปกติที่พบใน MRI จึงมีความเป็นไปได้ว่าสิ่งที่พบใน MRI อาจจะเป็นสาเหตุ หรืออาจจะไม่ได้เป็นสาเหตุของอาการปวดหลังก็ได้ คืออาจเป็นคนละเรื่องเดียวกัน ต้องไปวินิจฉัยเอาจากอาการ

     คือในแง่ของอาการวิทยา อาการปวดหลังส่วนล่างมันมีได้สามสาเหตุ คือ

     1.1 เป็นการปวดกล้ามเนื้อและเอ็น (myofascial pain) ซึ่งอาจมีการเสื่อมของกระดูกสันหลัง (spondylosis) ร่วมด้วยแต่ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับเส้นประสาท (nerve root) และแกนประสาท (spinal cord) มักบอกตรงที่ปวดได้แม่นยำ กดลงไปก็มักถูกตรงที่ปวดได้ อันนี้ไม่รุนแรง

     1.2 เป็นกรณีกระดูกหลังเสื่อมร่วมกับมีการกดทับโคนเส้นประสาท (spondylotic radiculopathy) ร่วมด้วย อาการที่เป็นคือมีอาการปวดหรือเสียวแปล๊บร้าวไปตามบริเวณที่เส้นประสาทนั้นเลี้ยงอยู่ เช่นร้าวจากหลังไปขา ทำ MRI อาจจะเห็นว่ามีหมอนกระดูกหรือกระดูกงอกกดโคนเส้นประสาทชัดเจน ซึ่งฟังตามเรื่องที่เล่าของคุณน่าจะมีอาการแบบนี้

     1.3 เป็นกรณีการเสื่อมของกระดูกสันหลังที่มีการกดทับแกนประสาทสันหลัง (spondylotic myelopathy - CSM) มีอาการเสียการทำงานของแกนประสาทสันหลัง เช่นกลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่อยู่ ชารอบรูทวารหนัก หรือชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงตามพื้นที่เฉพาะบริเวณของเส้นประสาทเส้นใดเส้นหนึ่ง (dermatome) ถ้าทำ MRI เห็นหมอนกระดูกกดแกนประสาทสันหลังชัดเจน กรณีนี้หมอทุกคนจะถือเป็นเรื่องรุนแรง และมักแนะนำให้ผ่าตัดเร็วๆ

     คุณไม่ได้บอกอาการมาอย่างละเอียด ผมเดาว่าคุณเป็นแบบ 1.2 คือ spondylotic radiculopathy ก็แล้วกัน อาการแบบนี้การรักษาแบบคลาสสิกก็คือให้ลองวิธีไม่ผ่าตัดดูก่อน ไม่ไหวก็ทำผ่าตัด ทำผ่าตัตแล้วไม่หายก็ไปตั้งต้นสนามหลวงใหม่ คือเริ่มวินิจฉัยโรคใหม่ อย่างที่คุณกำลังเจออยู่นั่นแหละ

     2. ถามว่าทำไมผ่าต้ดแล้วกลับมาปวดหลังอีก ตอบว่าการผ่าตัดแก้ปวดหลังนี้ แม้พระเจ้ามาทำผ่าตัดเอง ก็จะมีความล้มเหลวคือไม่สามารถบรรเทาอาการได้ประมาณ 5-35% ส่วนที่หายนั้นมี 65-95% ซึ่งมีทั้งหายเพราะการผ่าตัดหรือหายเพราะเป็นปลื้มที่ได้ผ่าตัด (placebo effect) งานวิจัยที่ดีที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ชืองานวิจัย SPORT ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA เขาตามดูกลุ่มคนสองกลุ่ม รักษาสองแบบเปรียบเทียบกันคือผ่ากับไม่ผ่า พบว่าการผ่ากับไม่ผ่าอัตราการหายไม่ต่างกัน แต่ทั้งนี้ข้อมูลนี้อาจมีปัจจัยกวนจากการที่ผู้ป่วยข้ามจากกลุ่มไม่ผ่าไปผ่าตัดระหว่างติดตามอยู่ตั้ง 30% นี่เป็นงานวิจัยดีที่สุดที่วงการแพทย์มี ซึ่งฟันธงอะไรให้คุณไม่ได้ คุณใช้ดุลพินิจของคุณเองเอาเถิดนะ

     3. ถามว่าถ้าไม่ยอมผ่าตัดอีก มีการรักษาอะไรอย่างอื่นที่ได้ผลบ้าง ตอบว่าผมสรุปงานวิจัยทางการแพทย์ในการรักษาปวดหลังวิธีต่างๆให้ฟังก็แล้วกันนะครับ แบ่งการรักษาออกได้เป็นสามกลุ่ม

      กลุ่มที่ 1. การรักษาที่ไม่ทำให้หายมีแต่จะทำให้แย่ลง (evidence of harm) ได้แก่
     (1) การใช้ยาช่วยนอนหลับกลุ่ม narcotics หรือ diazepam
     (2) การรักษาโดยวิธีห้ามออกกำลังกายและให้นอนพักบนเตียงนานเกิน 2 วัน
     (3) การดมยาสลบแล้วจัดกระดูก
     (4) การให้ใส่ Plaster jacket หรือ lumbar support ที่คุณเรียกว่าเสื้อเกราะนั่นแหละ

     กลุ่มที่ 2. การรักษาที่ทำไปก็ไม่ได้ทำให้หายเร็วขึ้น แม้ว่าจะไม่ถึงกับทำให้แย่ลง ได้แก่
     (1) การกระตุ้นไฟฟ้า (transcutaneous electrical nerve stimulation หรือ TENS)
     (2) การดึงคอ ดึงขา (Traction)
     (3) การใช้อุลตร้าซาวด์ ใช้ชอร์ตเวฟ ใช้เลเซอร์

     กลุ่มที่ 3. การรักษาที่สามารถบรรเทาอาการได้ ได้แก่
     (1) แนะนำให้แอคทีฟ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวให้มาก และทำงานต่อไป
     (2) ยาแก้ปวด Paracetamol
     (3) ยาแก้อักเสบ NSAID ซึ่งรวมทั้งยาอาร์คอกเซียด้วย
     (4) ขยับข้อ, จัดกระดูก, บีบนวด ใน 6 สัปดาห์แรก
     (5) การดูแลแบบองค์รวมที่ใช้หลายองค์ประกอบร่วมกัน

     4. ถามว่ายา pregabalin (Lyrica) นี้แรงที่สุดในการรักษาปวดหลังแล้วใช่ไหม ตอบว่าไม่ใช่ครับ ยา pregabalin ไม่ใช่ยารักษาปวดหลัง เป็นยากันชัก แล้วอย.สหรัฐ (FDA) อนุม้ติให้ใช้รักษาอาการปวดจากหลังติดเชื้องูสวัดและเริม แต่หมอแอบเอามาให้คนไข้ปวดหลัง เพราะทั้งหมอทั้งคนไข้ต่างก็มีความเชื่อตรงกันว่ามันเป็นยาแรงแก้ปวดได้ดี

     แต่งานวิจัยที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์บอกว่ายานี้มันไม่ได้เรื่องเลยในการรักษาอาการปวดหลังแบบ sciatica pain แบบคุณนี้ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่ดีมากงานหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ในปีนี้เอง เขาเอาคนที่ปวดหลังแบบหมอนกระดูกทับเส้น (sciatica pain) จำนวน 209 คนมาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กินยา pregabalin (Lyrica) วันละเริ่มต้น 150 มก.ค่อยๆเพิ่มไปจนถึงวันละ 600 มก. อีกกลุ่มหนึ่งให้กินยาหลอก กินกันอยู่นาน 8 สัปดาห์ และประเมินอาการปวดโดยวิธีให้คะแนน 0-10 (ยิ่งคะแนนสูงยิ่งปวดมาก) เมื่อครบ 8 สัปดาห์และเมื่อครบหนึ่งปี พบว่ากลุ่มกินยาหลอกปวดเฉลี่ย 3.1 คะแนน กลุ่มกินยาจริงปวด 3.7 คะแนน คือยา pregabalin แพ้ยาหลอก แต่ว่าเป็นการแพ้คะแนน ไม่ได้แพ้น็อค แปลว่าในเชิงสถิติถือว่าไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ว่ากลุ่มกินยาจริงมีผลข้างเคียง (227 ครั้ง) มากกว่ากลุ่มกินยาหลอก (124 ครั้ง) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาการเวียนหัว

    5. อันนี้คุณไม่ได้ถามแต่ผมแถมให้นะ กล่าวคืองานวิจัยเจตคติบ่งชี้ว่าคนมีความเชื่อต่อไปนี้จะผจญวิบากกรรมปวดหลังไม่รู้จบรู้สิ้นไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีไหน คือ

(1) ความเชื่อที่ว่าเมื่อมีอาการปวด แสดงว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับร่างกาย
(2) ความเชื่อว่าต้องให้หายปวดสิ้นเชิงก่อนชีวิตถึงจะเดินหน้าต่อไปได้
(3) ความเชื่อหรือคาดหมายว่ายิ่งออกแรงมากจะยิ่งปวดมาก
(4) คาดหมายว่าจะเกิดเรื่องที่แย่มากๆขึ้นกับร่างกาย
(5) คาดหมายว่าว่าอาการปวดนี้คงจะรบกวนตัวเองจนทำอะไรไม่ได้ในอนาคต
(6) มีความชอบการทำกายภาพบำบัดแบบ passive คือตัวเองไม่ต้องออกแรงทำ แต่ให้ PT ทำให้ คือชอบทำกายภาพแบบนี้เป็นความบันเทิงในชีวิต
(7) ความเชื่อว่าการแพทย์แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง (techo-fixes)

และมีงานวิจัยพฤติกรรมที่สรุปผลได้ว่าพฤติกรรมต่อไปนี้ทำให้อาการปวดหลังหายยากหายเย็น คือ

(1) ชอบหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่ออาการปวด (fear avoidance behavior)
(2) ชอบลดละเลิกกิจกรรมที่เคยทำ
(3) มีพฤติกรรมไม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เดี๋ยวทำ เดี๋ยวหยุด
(4) มีพฤติกรรมชอบนอนเฉยๆ ขี้เกียจ
(5) มีพฤติกรรมชอบหยุดงานโดยอ้างการป่วย
(6) มีสภาพจิตที่ย่ำแย่ มู้ดไม่ดี ซึมเศร้า แยกตัว
(7) ชอบโวยวายบอกเล่าว่ามีอาการปวดรุนแรงมาก ปวดสลึงว่าปวดบาท เขามีสะเกลปวดให้สิบ บอกว่าปวดเกินสิบ
(8) ชอบหรือติดการรักษาแบบ passive Rx (ใช้อุปกรณ์และผู้ช่วย)
(9) เป็นคนมีปัญหากับการทำงาน ไม่มีความสุขกับงาน
(10) ชอบทำงานหนักมากเกินไป ใช้เวลาทำงานมากเกินไป ไม่มีเวลาสังคม
(11) เป็นคนที่ได้รับการดูแบบ overprotective โดยหน่วยงาน
(12) ขาดแรงสนับสนุนจากครอบครัว (Family support) อยู่ในระดับต่ำ
(13) ชอบแสวงหายาแก้ปวดและยาอื่นมารักษาตัวเอง
(14) ขอบดื่มแอลกอฮอล์จัด

     คุณลองพิจารณาดูตนเองด้วยตนเองนะครับ ว่ามีความเชื่อหรือพฤติกรรมเหล่านี้อะไรบ้าง แล้วก็เปลี่ยนมันซะ เดี๋ยวมันก็ดีเอง เรื่องอาการปวดนี้ผมจะบอกสัจจะธรรมระด้บลึกซึ้งของหลักวิชาจัดการความเจ็บปวดให้ข้อหนึ่งนะ คุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามใจ ว่า

     "...อาการปวดทุกชนิด ทุกกรณี ท้ายที่สุดแล้วล้วนเป็นเพียงแค่มายาคติ ของจริงไม่มีอะไร...บ๋อแบ๋"

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

“”””””””””””””””

บรรณานุกรม

1. Weinstein JN, Lurie JD, Tosteson TD, et al. Surgical vs nonoperative treatment for lumbar disk herniation : the Spine Patient Oputcomes Research Trial (SPORT) observational cohort. JAMA 2006 ; 296 (20): 2451-9
2. The Clinical Efficacy Assessment Subcommittee of the American College of Physicians and the American College of Physicians/American Pain Society Low Back Pain Guidelines Panel. Diagnosis and Treatment of Low Back Pain: A Joint Clinical Practice Guideline from the American College of Physicians and the American Pain Society. Annals of Internal Medicine 2007: 147(7): 478-491
3. Mathieson S, Chiro ., Maher CG, McLachlan AJ, Latimer J, KCoes BW, HancockMJ et al. .Trial of Pregabalin for Acute and Chronic Sciatica. N Engl J Med 2017; 376:1111-1120March 23, 2017DOI: 10.1056/NEJMoa1614292

.............................


ปล. เห็นด้วยกับ อ.สันต์ ครับ ^_^

กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36
กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine
//www.thaispine.com/sciatica.htm
กระดูกสันหลัง ผ่าตัด
//www.thaispine.com/Decision_point.htm
กระดูกสันหลัง ผ่าตัด คำถามก่อนผ่า
https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery
กระดูกสันหลัง ผ่าตัด คำถามหลังผ่า
https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery




 

Create Date : 26 มีนาคม 2560   
Last Update : 26 มีนาคม 2560 16:06:15 น.   
Counter : 5134 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]