Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (ผังผืดทับเส้นประสาท)

 
 

 
กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ ( ผังผืดทับเส้นประสาท )

เป็นกลุ่มอาการที่ พบได้บ่อยในทุกกลุ่มอายุ (อายุเฉลี่ย 54 ปี) และ

พบใน ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า


สาเหตุ ( ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด )

1. การใช้งาน และ ตำแหน่งของข้อมือ มักเกิดจาก การใช้มือท่าเดียวนาน ๆ เช่น การกำมือ การบีบ การกด เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อข้อมือ อยู่ในตำแหน่งที่กระดกขึ้น หรือ งอลงมาก ๆ เป็นเวลานาน เช่น พิมพ์ดีด ใช้มือเย็บผ้า เล่นเครื่องดนตรี การใส่เฝือกที่ข้อมือ ถือหนังสือ ถือพวงมาลัยรถยนต์ การจับแฮนของรถจักรยาน หรือมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น

2. ภาวะผิดปกติหรือโรคที่เป็นอยู่แล้ว เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง รูมาตอยด์ เกาท์ กระดูกข้อมือหัก หรือ การติดเชื้อ

3. สภาพของร่างกายที่เปลี่ยนแปลง เช่น อ้วน ตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตร หรือ ได้รับยาคุมกำเนิด


อาการ และ อาการแสดง ที่สำคัญ

• อาการชา โดยเฉพาะที่นิ้วชี้และนิ้วกลาง แต่บางครั้งอาจรู้สึกว่า ชาทั้งมือ ก็ได้

• รู้สึกเสียวคล้ายถูกไฟฟ้าช็อต ซ่า ๆ ไปที่ปลายนิ้ว หรือ รูู้้สึกปวดแสบปวดร้อนที่ฝ่ามือและปลายนิ้ว

• อาการปวด บริเวณนิ้วมือ มือ และข้อมือ อาจจะปวดขึ้นไปจนถึงไหล่ หรือ ต้นคอ ได้

• อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง รู้สึกว่ามือไม่ค่อยมีแรง กำมือได้ไม่แน่น ทำของตกบ่อย ๆ ใช้มือทำงานไม่ถนัด

• ถ้าเป็นมานาน อาจจะพบว่ามีกล้ามเนื้อฝ่ามือลีบเล็กลง ฝ่ามือแบนราบลงกว่าปกติ

กลุ่มอาการเหล่านี้ อาจจะเกิดขึ้นเพียง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดหลายอย่างร่วมกัน และอาจจะเกิดที่มือข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ทั้งสองข้างพร้อม ๆ กันก็ได้

โดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

อาการต่าง ๆ มักจะ เกิดขึ้นบ่อยในตอนกลางคืน ทำให้ต้องตื่นกลางดึก ( ช่วงเวลาประมาณตีหนึ่งถึงตีสี่ ) ทำให้อาจรู้สึกว่า เหมือนนอนทับแขน แต่ ถ้าผู้ป่วยสะบัดมือ กำมือ ขยับนิ้วมือ หรือ นวดข้อมือ สักพักอาการก็จะดีขึ้น

ผู้ที่มีอาการในขณะตั้งครรภ์ มักจะมีอาการมากในช่วงใกล้คลอด โดยส่วนใหญ่จะค่อย ๆ ดีขึ้น หรือ หายไปได้เองหลังจากคลอดบุตร แต่ถ้ามีอาการมาก หรือ อาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 เดือนหลังคลอดบุตร ก็ควรพบแพทย์



แนวทางเลือกในการรักษา …

1. การรักษาแบบ ไม่ผ่าตัด ประกอบด้วย

• รับประทานยา เช่น ยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ วิตามินบี

• ลดกิจกรรม ที่ใช้มือในท่าเดียวเป็นเวลานาน และ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ข้อมือกระดกขึ้น หรือ งอลง มาก ๆ

ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณข้อมือ เพื่อลดอาการบวมของเส้นเอ็น และเส้นประสาท ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นชั่วคราว (ประมาณ 3 - 6 เดือน) อาจจะกลับมามีอาการเหมือนเดิมอีก แพทย์อาจจะฉีดซ้ำอีก 1-2 ครั้ง ห่างกัน 2 - 3 อาทิตย์ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็ควรรักษาด้วยการผ่าตัดจะได้ผลดีกว่าที่จะฉีดยาซ้ำ

• ใส่อุปกรณ์พยุงข้อมือ หรือ เฝือกชั่วคราว เพื่อจัดท่าให้ข้อมืออยู่ในท่าที่เหมาะสม ในช่วงที่มีอาการ เช่น ในขณะทำงาน หรือในตอนกลางคืน เป็นต้น ร่วมกับ การยกแขนให้สูงกว่าระดับหัวใจ เช่น ขณะยืน เดินก็ให้ใช้ผ้าห้อยคอ ขณะนอนก็ให้วางแขนบนหมอน หรือวางแขนบนหน้าอก เป็นต้น

2. การบริหารข้อมือ

สำหรับผู้ที่ต้องทำงานที่ต้องใช้ข้อมือมาก ๆ ก็ควรใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที บริหารข้อมือ ก่อนเริ่มการทำงาน ส่วนผู้ที่มีอาการแล้วก็ควรทำการบริหารให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้





3. การรักษาแบบ วิธีผ่าตัด

แพทย์จะผ่าตัดที่บริเวณฝ่ามือ โดยฉีดยาชาเฉพาะที่ แผลผ่าตัดยาวประมาณ 5 ซ.ม. ตั้งแต่ฝ่ามือจนถึงข้อมือ เพื่อตัดแผ่นเอ็นขวาง ซึ่งเป็นผนังของอุโมงค์ข้อมือ

หลังผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้เลยไม่ต้องนอนพักในโรงพยาบาล หลังผ่าตัด ต้อง ใส่เฝือกชั่วคราวเพื่อให้ข้อมือกระดกขึ้นเล็กน้อย และให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ ประมาณ 2 อาทิตย์

ประมาณ 2 อาทิตย์หลังผ่าตัด แพทย์จะนัดมาตรวจซ้ำ ตัดไหมที่แผล และ เอาเฝือกออก เพื่อจะได้บริหารข้อมือ

โดยส่วนใหญ่ การผ่าตัดได้ผลค่อนข้างดี อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น โดยเฉพาะอาการปวดจะดีขึ้นค่อนข้างเร็ว แต่อาการชา อาการอ่อนแรง อาจ ดีขึ้นช้ากว่า

แต่ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน โดยเฉพาะถ้านานกว่า 2 ปี และมีอาการมาก เช่น มีกล้ามเนื้อฝ่ามือลีบ ชามือตลอดเวลา เคยฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่หลายครั้ง บางครั้งอาจใช้เวลาหลายเดือนหลังผ่าตัด หรือในบางราย อาการปวดดีขึ้น แต่ อาจมีกล้ามเนื้อลีบ หรือ ชามือ อยู่เหมือนเดิม ( ไม่หายขาด )


กระทู้น่าสนใจ จากห้องสวนลุม พันทิป .. ตั้งแต่ เริ่มรักษา กินยาฉีดยา จนถึง การผ่าตัด
แชร์ประสบการณ์ผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาท CTS (Carpal Tunnel Syndrome)
โดยคุณ  HoneyMoonBlossom  9 พฤศจิกายน 2564
https://pantip.com/topic/41092264

อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32

 


""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""



อาหารกับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์
https://med.mahidol.ac.th/ortho/th/food%20ortho/patient
https://drive.google.com/file/d/0BzVECrTBp1yodUFpQUNkV1RkTzg/view

วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ
รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์
ผศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
https://resource.thaihealth.or.th/library/collection/14822
 https://www.ebooks.in.th/ebook/31135/วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ

แนะนำหนังสือ ดี และ ฟรี : อาหารกับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย+วิถีชีวิตกับโรคกระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-12-2017&group=5&gblog=55

 


Create Date : 15 กรกฎาคม 2551
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2564 14:46:38 น. 7 comments
Counter : 88024 Pageviews.  

 


โดย: รัตมา วันที่: 12 ตุลาคม 2551 เวลา:21:40:26 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูล
เพิ่งไปผ่ามาเมื่อวันศุกร์ค่ะ
เจ็บสุดๆ ไม่เอาอีกแล้ว


โดย: รัตมา วันที่: 12 ตุลาคม 2551 เวลา:21:41:28 น.  

 
พี่น้องผู้หญิงของคุณแม่ต้องไปผ่าแบบนี้มาแล้ว ๒ คนคะ คงเป็นเพราะตอนสาว ๆ ทำงานหนัก


โดย: สาวญี่ปุ่น วันที่: 20 ตุลาคม 2552 เวลา:23:21:31 น.  

 
ไปผ่าเนี่ยประกันสังคมช่วยได้ป่ะค่


โดย: girlsaimtoone วันที่: 8 ธันวาคม 2552 เวลา:20:13:48 น.  

 

เวบที่มีข้อมูลเกี่ยวกับ การผ่าตัด ผ่านกล้อง .. เป็นทางเลือกหนึ่ง ซึ่งก็มีข้อดีข้อเสีย เหมือนกัน ... เอาไว้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบ นะครับ ..


//www.denchaihosp.com/section/learning_online.php?sid=93

//www.vejthani.com/web-thailand/Health-Magazine/hand-wrist.php

//www.thaihealth.or.th/node/9987

//www.vcharkarn.com/varticle/39433

//www.vcharkarn.com/vblog/38967

//www.psu.ac.th/node/1413





โดย: หมอหมู วันที่: 28 มีนาคม 2553 เวลา:17:23:46 น.  

 
หวัดดีคะ
รับรู้รสชาติอาการนี้แล้วนอนไม่ได้เลยตอนกลางคืน เหมือนไฟฟ้าช๊อตจริง
เป็นเพราะทำงานหนักมาแต่ไหนแต่ไรไม่เคยอยู่เฉยเลยถึงตอนนี้ยังไม่หยุดอีก
ทำไงได้ชีวิตต้องสู้คงหวังว่าเมื่อผ่าแล้วจะดีขึ้นไม่มากก้อน้อย หลีกเหลี่ยงงาน
ที่ใช้ข้อมือไม่ได้เลยจำเป็นอย่างมาก
ขอขอบคุณ คุณหมอมากนะคะที่ให้ข้อมูสำคัญนี้


โดย: จ่อมกุ้ง วันที่: 8 ธันวาคม 2554 เวลา:10:42:23 น.  

 
กระทู้น่าสนใจ จากห้องสวนลุม พันทิป .. ตั้งแต่ เริ่มรักษา กินยาฉีดยา จนถึง การผ่าตัด

แชร์ประสบการณ์ผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาท CTS (Carpal Tunnel Syndrome)

โดยคุณ HoneyMoonBlossom 9 พฤศจิกายน 2564

https://pantip.com/topic/41092264



โดย: หมอหมู วันที่: 13 พฤศจิกายน 2564 เวลา:14:45:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]