Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)

 



การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)


การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก(BONE DENSITOMERY)

โรคกระดูกพรุนหรือ กระดูกโปร่งบาง คือ ภาวะที่ปริมาณเนื้อกระดูกลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกระดูก ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงเกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น

โรคกระดูกพรุนพบได้บ่อยเป็นลำดับที่2รองจากโรคข้อเสื่อม โดยที่ไม่แสดงอาการผิดปกติ

ผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงร้อยละ30-40และพบว่าในผู้หญิงไทยอายุ 55 ปีเป็นโรคนี้ร้อยละ 20 แต่ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคนี้ถึงร้อยละ 60 ( 2/3 มีกระดูกสันหลังยุบ โดยไม่มีอาการปวด)

ขณะที่ผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคนี้เพียงร้อยละ10 และมักเกิดเมืออายุมากกว่า 70 ปี

การสูญเสียมวลกระดูกเป็นการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเหมือนเดิมได้วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันและให้การรักษาก่อนที่จะเกิดกระดูกหัก

 

การคัดกรองประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นเช่น

-แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก FRAX(https://www.shef.ac.uk/FRAX/tool.aspx?lang=th)

-OsteoporosisSelf-Assessment Tool for Asians (OSTA) = 0.2 x (น้ำหนัก – อายุ )

น้อยกว่า -4 หมายถึง ความเสี่ยงสูง (พื้นที่สีน้ำเงิน)

ระหว่าง -4 ถึง -1 หมายถึง ความเสี่ยงปานกลาง (พื้นที่สีขาว)

มากกว่า -1 หมายถึง ความเสี่ยงต่ำ (พื้นที่สีแดง)

 

- กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำไม่จำเป็นต้องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก ยกเว้นในกรณีที่ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

- กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางควรวัดความหนาแน่นกระดูก เพื่อใช้พิจารณาการให้การรักษา

- กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงควรวัดความหนาแน่นกระดูก แต่ถ้าในกรณีที่ไม่มีเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นกระดูกสามารถให้การรักษาโรคกระดูกพรุนได้เลย

 

วิธีวัดความหนาแน่นของกระดูก(BMD,Bone Mineral Density )

-วิธีวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยคลื่นเสียงอัลตร้า (QUSt-SCORE , Quantitative Ultrasound t-score)เป็นวิธี ตรวจคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น ว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่มีข้อดีคือ สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสี่ยงกับการได้รับรังสี และ ราคาถูกแต่มีความคลาดเคลื่อนพอสมควร ถ้าวัดแล้วมีค่าผิดจากปกติมากเกินไป เช่นอายุน้อยแต่กระดูกบางมาก เป็นต้น ก็ควรตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่นๆ ก่อนให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกบาง กระดูกพรุน

-วิธีวัดความหนาแน่นของกระดูกแบบ DEXA scan ( Dual Energy X-rayAbsortiometry) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้เพื่อวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนโดยจะใช้ค่า T score (จากค่าที่วัดได้ เทียบกับ ค่ามาตรฐานของประชากร ที่มี เพศ อายุ เชื้อชาติ ใกล้เคียงกัน) เป็นเกณฑ์การวินิจฉัย คือ

ค่า T score ที่มากกว่า -1 (ลบ 1) ถือว่า ความหนาแน่นกระดูกปกติ

ค่า T score ที่อยู่ระหว่าง -1 ถึง -2.5ถือว่า กระดูกบาง (Osteopenia)

ค่า T score ที่น้อยกว่า -2.5 คือ กระดูกพรุน (Osteoporosis)

ค่า T score ที่น้อยกว่า -2.5 และมีกระดูกหัก คือ กระดูกพรุนขั้นรุนแรง

 

ข้อบ่งชี้ในการตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก

· ผู้ที่มีปัจจัยความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนสูง

· เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเปรียบเทียบครั้งต่อไป

· เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคหรือประเมินการสูญเสียเนื้อกระดูกว่ารวดเร็วหรือไม่

· ใช้ในการติดตามผลการรักษา
- ความหนาแน่นของกระดูกปกติ (T-score ไม่ต่ำกว่า - 1 SD) ตรวจทุก 5 ปี

- ภาวะกระดูกบาง (Osteopenia,T-score ระหว่าง -2.5 SD ถึง -1 SD) ตรวจทุก 2-5 ปี
- ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนและอยู่ระหว่างการรักษา ตรวจติดตามผลไม่ถี่กว่า ทุก
2 ปี

 

ผู้ที่ควรตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก( มีปัจจัยความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน )

· ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 65ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป

· ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน(โดยเฉพาะผู้ที่อายุน้อยกว่า 45 ปี) หรือ ผู้ที่ผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง

· ถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระดูกแล้วพบว่า กระดูกบางผิดปกติ

· มีกระดูกหักเกิดขึ้นทั้งที่เป็นอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงเช่น ข้อเท้าพลิก ยกของหนัก ลื่นล้ม หรือตกจากเก้าอี้ โดยเฉพาะกระดูกหักในบริเวณ ข้อมือ ข้อไหล่ กระดูกสันหลัง ข้อสะโพกและ กระดูกส้นเท้า

· ผู้ที่มีกระดูกสันหลังผิดปกติเช่น หลังโก่ง หรือ ความสูงลดลงมากกว่า 4 เซนติเมตรเมื่อเทียบกับ ความสูงที่สุดช่วงอายุ25-30 ปี (เทียบเท่ากับความยาวจากปลายนิ้วทั้งสองข้าง) หรือ ความสูงลดลงมากกว่า 2 เซนติเมตรต่อปี

· ผู้อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางขึ้นไปจากการตรวจคัดกรองด้วยOSTAscore

· เป็นโรคบางอย่าง เช่นไตวาย เบาหวาน รูมาตอยด์ ไทรอยด์ พิษสุราเรื้อรัง ธาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง เป็นต้น

· ใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน(มากกว่า3เดือน) เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาลดกรดในกระเพาะ(ยาน้ำขาว)ยาขับปัสสาวะ

· รูปร่าง ผอม (มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า19 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) หรือ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

· มีประวัติครอบครัว เป็นโรคกระดูกพรุนหรือ มีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน

· สูบบุหรี่ ดื่มสุราดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน ดื่มน้ำอัดลมมากกว่า 1 ลิตรต่อวัน

 

แนะนำอ่านเพิ่มเติม
แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก
FRAX https://www.sheffield.ac.uk/FRAX/tool.aspx?country=57

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคกระดูกพรุนพ.ศ. 2553 / มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย. https://www.topf.or.th/read_hotnews_detail.php?dID=13

บทเรียนเรื่องBonemineral density measurement ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.cai.md.chula.ac.th/lesson/lesson4903/html/main_f.html

การตรวจมวลกระดูกประชุมวิชาการ 2556 https://www.slideshare.net/suwittaya/bmd-med-conf-56

Bone DensityExam/Testing https://www.nof.org/patients/diagnosis-information/bone-density-examtesting/


******************************************

รู้ได้อย่างไร…ใครเสี่ยงกระดูกพรุน กระดูกหัก
https://www.facebook.com/Lovebonethailand/posts/576503759594976

หนึ่งในเครื่องมือที่เราใช้ประเมินความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหัก คือการตรวจวัดความหนาแน่นกระดูก (bone mineral density) ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการบอกว่าใครเป็นโรคกระดูกพรุน ใครเสี่ยงกระดูกหักมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตามการตรวจนี้ต้องใช้เครื่องตรวจวัดเฉพาะ ซึ่งไม่ได้มีในทุกโรงพยาบาล และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

นอกจากการตรวจวัดความหนาแน่นกระดูกแล้ว เราจะมีวิธีการสำรวจตัวเองเบื้องต้นง่ายๆ อย่างไร ว่าใคร “เสี่ยง” เป็นโรคกระดูกพรุน หรือ กระดูกหัก และเมื่อไรควรไปพบแพทย์

วันนี้ กระดูกกระเดี้ยว ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ผศ.ดร.นพ.โพชฌงค์ โชติญาณวงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อาจารย์เล่าให้ฟังว่าการประเมินความเสี่ยงนั้นทำได้หลายแบบ ตั้งแต่ใช้ข้อมูลแค่อายุเพียงอย่างเดียว (ยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักมาก) หรือใช้ประวัติอื่นๆประกอบด้วย เช่น เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง ประวัติการใช้ steroid ประวัติกระดูกหักในครอบครัว ฯลฯ เพื่อให้การทำนายแม่นยำมากขึ้น

ลองมาทำความรู้จักเครื่องมือประเมินความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุนกันค่ะ



1. FRAX
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำนายโอกาสในการเกิด “กระดูกหัก” ที่สะโพก และที่ตำแหน่งสำคัญอื่นๆ ภายในระยะเวลา10 ปีข้างหน้า ว่าเป็นกี่ % โดยเราสามารถเลือกฐานข้อมูลของประชากรไทยได้
.
การประเมินด้วย FRAX® สามารถทำได้เองฟรี ดังนี้
.
1. เข้าไปที่ https://www.sheffield.ac.uk/FRAX/tool.aspx?lang=th
.
2. กรอกข้อมูลต่างๆ ลงไป
- ชื่อ/รหัส ไม่จำเป็นต้องกรอกก็ได้
- หากใส่อายุลงไปแล้ว วันเดือนปีเกิดก็ไม่ต้องใส่ได้ (ช่วงอายุที่สามารถประเมินได้โดยเครื่องมือคืออายุ 40-90 ปี)
- ระบุเพศ น้ำหนัก (กิโลกรัม) ส่วนสูง (เซนติเมตร)
- ตอบคำถามปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน 7 ข้อ
- หากไม่มีข้อมูลความหนาแน่นของกระดูกคอสะโพก (femoral neck BMD) ก็ต้องใส่ก็ได้
.
3. เมื่อใส่ข้อมูลครบแล้วให้กดคำนวณ
- สามารถเลื่อนลงไปดูความหมายของปัจจัยเสี่ยงแต่ละข้อได้ในหน้าเดียวกันบริเวณด้านล่าง
.
4. การแปลผล ถ้าความน่าจะเป็นที่จะเกิดกระดูกคอสะโพกหัก >3% หรือกระดูกตำแหน่งสำคัญหัก >20% ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมและวางแผนการรักษา


2. OSTA
.
Osteoporosis Self Assessment Tool for Asians (OSTA)
เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้เฉพาะอายุและน้ำหนักตัว ในการประเมินความเสี่ยงในเกิดโรคกระดูกพรุน
.
วิธีการใช้:
ให้ดูอายุและน้ำหนักตัวของผู้ที่ต้องการประเมิน แล้วดูว่าความเสี่ยงตกอยู่ที่สีใด
เช่น ป้ามวลอายุ 62 ปี น้ำหนัก 47 กก. ความเสี่ยงจะอยู่ในโซนสีเหลือง เป็นต้น

อธิบายผลลัพธ์:
.
สีเขียว คือ โอกาสจะเป็นโรคกระดูกพรุนน้อย
สีเหลือง คือ ความเสี่ยงปานกลาง
สีแดง คือ ความเสี่ยงสูง
.
แนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมกรณีที่มีความเสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงสูง



3. KKOS
.
Khon Kaen Osteoporosis Study Score โดย ศ.นพ. ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การประเมินความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุน ดูจากอายุและน้ำหนักตัว เช่นกัน
.
สามารถเข้าไปทำแบบประเมินได้ง่ายๆ ที่ https://www.quiz-maker.com/QTBFL85
.
วิธีการใช้:
เลือกช่วงอายุและน้ำหนักของท่าน
.
อธิบายผลลัพธ์:
ผลลัพธ์จากแบบทดสอบจะมี 2 แบบคือ
.
1. มีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนต่ำ
ยังไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจความหนาแน่นกระดูก
.
2.มีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนสูง
ควรไปตรวจความหนาแน่นกระดูกและรับคำแนะนำจากแพทย์
.
ลองทำดูแล้วเป็นอย่างไรกันบ้างคะ คนที่ความเสี่ยงต่ำก็อย่าลืมดูแลกระดูกกระเดี้ยวตัวเองต่อไปอย่างสม่ำเสมอนะคะ ทำอย่างไรได้บ้าง กดดูที่บทความก่อนๆ ได้เลยค่ะ





********************************************

แถม ..

มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย

https://www.topf.or.th

 

กระดูกพรุนกระดูกโปร่งบาง

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-02-2008&group=4&gblog=15

 

กระดูกพรุนกระดูกโปร่งบาง ... ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

https://taninnit-osteoporosis.blogspot.com/

แบบทดสอบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

https://www.topf.or.th/read_hotnews_detail.php?dID=21

 

การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก(BONEDENSITOMERY)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=16

 

ยาเม็ดแคลเซียม

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=19

 

การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=21






 


Create Date : 29 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 27 มกราคม 2563 21:35:03 น. 1 comments
Counter : 4126 Pageviews.  

 



กระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-02-2008&group=4&gblog=15


การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=16


ยาเม็ดแคลเซียม

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-02-2008&group=4&gblog=19


กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-09-2008&group=5&gblog=40




โดย: หมอหมู วันที่: 22 มิถุนายน 2555 เวลา:0:05:17 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]