|
 |
|
 |
 |
|
 |
- เมอรัลเจีย พาเรสทีทิกา Meralgia Paresthetica (Burning Thigh Pain , Skinny Jeans Syndrome)
- ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก
- กระเป๋านักเรียน หนักเกินทนไหว สะพายเป้อย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง
- อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดย ภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ
- ปวดหลังกระดูกทับเส้น ยา pregabalin และสัจจธรรมเรื่องอาการปวด .. โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) .. นำมาฝาก
- ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ ง่ายมาก
- ทำไม ... ลูกถึงเดินขาโก่ง ... แบบนั้นละคะคุณหมอ ???
- ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )
- ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
- หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก Legg-Calve'-Perthes disease
- มะเร็งกระดูก เนื้องอกกระดูก ชนิดไจแอนท์เซลทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) Osteosarcoma
- ปวดเข่า .... ส่องกล้องข้อเข่า ... knee arthroscopy
- ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )
- กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
- กระดูกงอก แคลเซี่ยมเกาะ ถือว่า ผิดปกติ ต้องผ่าตัดเอาออก หรือไม่ ?
- ดัดข้อ แล้วมีเสียงลั่น ในข้อ เกิดจากอะไร ??? อันตรายหรือไม่ ???
- ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด
- กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???
- โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )
- กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า ... เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ
- เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )
- เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow , Golfer Elbow )
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )
- ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอ เกอร์แวง , De Quervain's Disease)
- เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger)
- กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (ผังผืดทับเส้นประสาท)
- อาหารเสริมกับโรคข้อ
- ปวดคอ
- ปวดไหล่ ข้อไหล่ติด
- โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
- กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
- หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท
- การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ
- กระดูกสันหลังเสื่อม
- สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
- ปวดหลัง
- ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
- น้ำไขข้อเทียม (แถม ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อเข่า , การฉีดเกล็ดเลือด PRP)
- ข้อเข่าเสื่อม ( OA knee , Osteoarthritis knee )
- โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease)
- ปวดเข่า
- โรคข้อเสื่อม
- บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ปลอดภัย ไม่ล้ม
- ผู้สูงอายุ ท่าทางที่เหมาะสม
- โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
- เกาต์
- การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)
- กระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง Osteoporosis
- โรครูมาตอยด์ในเด็ก
- ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
- กายภาพบำบัดในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ข้ออักเสบ
|
 |
|
|
 |
|
อาหารเสริมกับโรคข้อ
อาหารเสริมกับโรคข้อ ดัดแปลงจากบทความของ นพ. พงษ์ศักดิ์ วัฒนา //www.thaiarthritis.org/people03.htm
เป็นความเชื่อของมนุษย์เราตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ที่พยายามขวนขวายหาวิธีการลดอาการปวดของข้อต่อที่อักเสบ ตลอดจนอาการปวดทุกชนิดที่เป็นเรื้อรังและไม่ทราบสาเหตุ โดยการเลือกหรืองดอาหารบางประเภทว่าสามารถลด อาการปวดลงได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป แม้แต่ในประเทศไทยมีการจำหน่ายอาหารเสริมกันอย่างมากมาย และมีการอวดอ้างสรรพคุณในการรักษาโรคจากอาการปวดได้ทุกชนิด เป็นธุรกิจที่ดีมาก อาหารเสริมดังกล่าวมีดังนี้ 1. อาหารเสริมแคลเซี่ยม 2. วิตามินเสริม 3. น้ำมันจากปลา ( Fish Oil ) 4. เกลือแร่ต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก , ธาตุสังกะสี 5. สมุนไพรชนิดต่าง ๆ 6. กระเทียม 7. น้ำผึ้ง 8. กลูโคซามีน , ดอนครอยติน ( Glueosamine และ Chondroitin ) 9. น้ำผลไม้ น้ำจากลูกยอทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ อาหารเสริมเหล่านี้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถรักษาโรคอาการปวดข้อ ได้ผลน้อยมาก ในต่างประเทศกลุ่มของอาหารเสริมสามารถจะหาซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อซึ่งพวกเรา คงทราบแล้ว ว่ากว่าร้อยละ 90 ของโรคข้อเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จำเป็นต้องรับประทานยาต้านการอักเสบ (NSAID s) เป็นระยะเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี ก็พยายามดิ้นรนที่จะรักษาโรคข้อ ให้หายขาดจากการแนะนำของ เพื่อน การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ หรือการซื้อขายทางตรง ( Direct Sale ) เพื่อหวังว่าอาการทางโรคข้อมีโอกาส หายขาดได้ การซื้ออาหารเสริมมารับประทานกันเองทำให้ต้องสูญเสียเงินทองอย่างมหาศาลในแต่ละปี ผู้เขียนเคยพบ อาหารเสริมจำนวนมากมายจากผู้ป่วยที่มารักษาที่คลินิกส่วนตัวที่นำมาให้ดู โดยที่ญาติอาจจะเป็นลูกหรือพี่น้องที่หวัง ดีซื้อส่งมาจากประเทศอเมริกา มาให้รับประทาน
วิตามินเสริม ในขนาดที่แนะนำจะไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพแต่ถ้ารับประทานวิตามินเอ หรือวิตามินดี ในขนาดที่สูงกว่าที่กำหนดไว้จะมีอันตรายต่อสุขภาพได้
ธาตุเหล็ก ใช้ในการรักษาในโรคโลหิตจาง ซึ่งพบบ่อยใน คนที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สาเหตุการเป็นโรคโลหิตจางมีสาเหตุจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เอง หรือจากการ รับประทานยาต้านอักเสบ ( N SAID s ) ทำให้เกิดแผลในกระเพาะหรือจากรับประทานยาสเตียรอยด์มานาน ๆ การรับประทานธาตุเหล็กอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์โรคข้อทุกครั้งก่อนรับประทานธาตุเหล็ก
แคลเซี่ยมเป็นอาหารเสริมยอดฮิตในปัจจุบันประชาชนทั่วไปเมื่อมีอาการปวดจากข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบชนิดใดก็ตาม จะไปซื้อแคลเซี่ยมมารับประทาน ทำให้บริษัทขายนมมีการผสมระดับของแคลเซี่ยมให้สูงขึ้น เพื่อเป็นจุดขายของ สินค้าของตน แคลเซี่ยมจะมีประโยชน์ ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต ในผู้หญิงตั้งครรภ์ ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ในผู้สูงอายุที่รับประทานลำบาก และระบบย่อยอาหารไม่ค่อยดี หรือ ในผู้ที่มีกระดูกหัก เป็นต้น แคลเซี่ยมจะช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ป้องกันโรคกระดูกโปร่งบาง ( Osteoporosis ) ซึ่งโรคนี้ปกติจะไม่ค่อยมี อาการปวด จะมีอาการปวดเมื่อกระดูกหักแล้วประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดคิดว่าแคลเซี่ยมสามารถรักษาโรคข้ออักเสบ ได้ บางคนดื่มนมตลอดทั้งวันเพื่อให้อาการปวดเข่าหายไป ซึ่งนอกจากจะเสียเงินแล้วยิ่งทำให้ตนเอง อ้วนมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น
กลูโคซามีน และคอนตรอยติน อาหารเสริมในกลุ่มนี้เป็นที่นิยมกันมากมีกว่า 100 ชนิด ผลิตจากหลายบริษัท กลูโคซามีน สกัดมาจากกระดองปู กุ้งมังกร และเปลือกกุ้ง ส่วนคอนตรอยติน สกัดมาจากหลอดลมของวัว ควาย โดยเชื่อว่าสารทั้ง 2 ชนิดนี้จะช่วยซ่อมสร้างผิวกระดูกอ่อนที่ปลายกระดูกในข้อต่อ เสื่อม ให้กลับฟื้นขึ้นมาได้ และทำให้ลดอาการปวดลง แพทย์กระดูกและข้อในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่เชื่อว่า อาหารเสริมกลุ่มนี้ช่วยรักษาข้อเสื่อมได้ แต่แพทย์กระดูกและข้อในทวีปยุโรปมีความเชื่อว่าช่วยรักษาได้ โดยสรุปแล้วการรักษาโรคข้อเสื่อมด้วยกลูโคซามีน และคอนดรอยตินในโรคข้อเสื่อมยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ แต่มีหลักการคร่าว ๆ ดังนี้ ถ้ารับประทานยาในกลุ่มนี้แล้วไม่ได้ผลในการลดอาการปวดจากข้อเสื่อมในระยะเวลา 1 2 เดือน ควรหยุดยาได้แล้ว ปกติจะได้ผลในระยะเวลา 6 8 สัปดาห์ โดยใช้ขนาดดังนี้ กลูโคซามีน 1,500 มก. / วัน คอนดรอยติน 1,200 มก. / วัน
ถ้าท่านอยากจะลองรับประทานอาหารเสริมขอแนะนำดังนี้ 1.ปรึกษาแพทย์ก่อนว่าควรจะรับประทานอาหารเสริมหรือไม่? 2.อย่าหยุดยาที่แพทย์สั่งให้รับประทาน 3.ควรจะให้แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นอาการปวดจากโรคข้อเสื่อม ก่อนจึงค่อยรับประทาน เพราะกลูโคซามิน , คอนดรอยติน ไม่สามารถรักษาอาการปวดจากโรคเนื้องอก ( Cancer ) , กระดูกหัก หรือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ 4.อย่ารับประทานอาหารเสริม ถ้าท่านตั้งท้องหรือคิดว่าตั้งท้อง และไม่ควรให้เด็กรับประทาน 5.ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน ถ้ารับประทานกลูโคซามิน ควรจะตรวจระดับน้ำตาลในเลือดให้บ่อยขึ้น 6.คนที่แพ้อาหารทะเล จะมีโอกาสแพ้อาหารเสริมกลูโคซามีนด้วย 7.ถ้าท่านรับประทาน แอสไพริน ในการป้องกันหลอดเลือดตีบในหัวใจ ถ้ารับประทานคอนดรอยติน ควรจะตรวจการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย 8.อย่าหยุดยาที่รับประทานในการรักษาโรคข้อ แม้รับประทานอาหารเสริมแล้วลดอาการปวดข้อได้ 9.บริหารร่างกาย รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนเกินไป และรับประทานอาหารตามที่แพทย์สั่ง
Create Date : 01 กรกฎาคม 2551 |
Last Update : 1 กรกฎาคม 2551 19:56:42 น. |
|
3 comments
|
Counter : 10576 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 21 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:20:17 น. |
|
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 11 พฤษภาคม 2556 เวลา:21:21:18 น. |
|
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 17 กรกฎาคม 2558 เวลา:15:24:43 น. |
|
|
|
| |
|
 |
หมอหมู |
|
 |
|
Location :
กำแพงเพชร Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

|
ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )
หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป ) นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ
ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ
นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )
ปล.
ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com
ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..
|
|
|
กระดูกอ่อนฉลามรักษามะเร็ง?
//www.doctor.or.th/node/2526
นิตยสาร หมอชาวบ้าน เล่ม :236
เดือน-ปี :12/2541
นักเขียน หมอชาวบ้าน :รศ.นพ.สุ รเกียรติ อาชานานุภาพ
ยาเม็ดแคปซูลกระดูกอ่อนฉลาม (shark cartilage) เป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพอีกชนิดหนึ่งที่มีการกล่าวขาน (ลือ)กันว่า สามารถรักษามะเร็งได้ เริ่มแรกมีการจำหน่ายในตลาดอเมริกา ในปัจจุบันก็มีการนำมาเผยแพร่ ในบ้านเรา ซึ่งจำหน่ายในราคาที่ค่อนข้างแพง และก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่นิยมซื้อยานี้มากิน
ผู้เผยแพร่สรรพคุณของ ยาชนิดนี้ กล่าวอ้างว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า ในกระดูกอ่อนฉลามมีสารโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างหลอด เลือด ใหม่ของก้อนมะเร็ง นั่นก็คือเท่ากับตัดเส้นทางลำเลียงอาหารและอากาศที่ไปบำรุงเลี้ยงเซลล์ มะเร็ง จึงทำให้เซลล์มะเร็งฝ่อตายในที่สุด
นอกจากนี้ผู้เผยแพร่ยัง อ้างว่า ฉลามเป็นสัตว์ที่ไม่เป็นมะเร็ง(เพราะมีสารดังกล่าวอยู่ในตัวเอง) กอปรกับยานี้มีการใช้ในหมู่ชาวอเมริกัน(ซึ่งเป็นหมู่ชนที่พัฒนาแล้ว)ด้วย เหตุผลเหล่านี้จึงเชื่อว่า กระดูกอ่อนฉลาม รักษามะเร็งได้จริง
คำ ถามน่าคิด ก็คือ ถ้าได้ผลจริง ทำไมแพทย์ จึงไม่ส่งเสริมให้นำมาใช้รักษามะเร็ง?
คำตอบก็คือ แพทย์เรามักจะต้องอาศัยหลักฐานการ ทดลองวิจัยในคนไข้ จนเห็นว่าได้ผลจริงและปลอดภัยจริงแล้วเท่านั้น จึงจะยอมรับ ดังกรณีของเอนโดสแตติน และแองจิโอสแตติน ที่ถึงแม้จะทดลองในหนูตะเภาว่าได้ผลในการรักษามะเร็ง แต่ก็ยังต้องรอพิสูจน์ในคนต่อไป เพราะมียาจำนวนมากที่ทดลองในหนูได้ผล แต่ทดลอง ในคนกลับไม่ได้ผลหรือไม่ก็มีผลข้างเคียงร้ายแรงตามมาแทน (ดูใน “หมอชาวบ้าน” ฉบับมิถุนายน ๒๕๔๑ หน้า ๒๐-๒๑)
ดังนั้นการอนุมานแต่ เพียงว่า ในกระดูกอ่อนฉลามมีสารโปรตีน ที่มีฤทธิ์ที่สามารถยังยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งได้ ก็น่าจะนำมาใช้รักษามะเร็งในคนได้ ย่อมไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป
หรือคิด ว่า ขนาดชาวอเมริกันที่เป็นอารยชนยังนิยมใช้ยานี้กัน ยานี้ต้องมีผลดีแน่หรือคิดตื้นๆว่า ยานี้มีราคาแพง ก็คงจะต้องเป็นยาดี
ความ คิดเหล่านี้ย่อมขัดกับหลักกาลามสูตรของพระพุทธองค์ที่สอน มิใช่สักแต่เชื่ออะไรๆ ด้วยเหตุที่น่าเชื่อ
ข่าวสารสุขภาพในเว็บไซ ต์(อินเตอร์เนต)ของเมโยคลินิก ซึ่งเป็นสถาบันการแพทย์ที่มีชื่อเสียงของอเมริกา ได้เคยสรุปความเห็นของผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “อย่ามัวเสียเงินซื้อแคปซูลกระดูกอ่อนฉลาม มากินรักษามะเร็งกันเลย เพราะยังไม่มีหลักฐานการ วิจัยในคนไข้เลยสักชิ้น”
นอกจากนี้ ยังมีข้อเท็จจริงที่ควรพิจารณา เช่น
- ปลาฉลามก็ป่วยเป็น มะเร็งได้เช่นกัน(ตรงข้ามกับการกล่าวอ้างหรือข่าวที่ลือกัน)
- สารโปรตีนดังกล่าว เมื่อกินตกลงไปในกระเพาะลำไส้ ก็จะถูกน้ำย่อยย่อย จนเหลือน้อยมากที่จะถูก ดูดซึมเข้าร่างกาย(ทั้งนี้ยังไม่ได้พูดถึงประเด็นที่แคปซูลกระดูกอ่อนฉลาม จะมีสารโปรตีนดังกล่าวอยู่ปริมาณ มากน้อยเพียงใดอีกด้วย)
ข่าวล่า จากเว็บไซต์ของเมโยคลินิกเดียวกันนี้ ได้มีข่าวสารเพิ่มเติมว่า วารสารทางการแพทย์ (Journal of Clinical Oncology) ฉบับเดือนพฤศจิกายนนี้ มีการตีพิมพ์ผลการวิจัยการใช้แคปซูลกระดูกอ่อนฉลามในคนไข้มะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ ต่อมลูกหมาก และสมอง จำนวน ๖๐ ราย ว่าไม่ได้ผลในการยับยั้งมะเร็งแต่อย่างใด
นี่คงเป็นคำตอบว่า ทำไมกระดูกอ่อนฉลามที่ลือกันว่าใช้รักษามะเร็งได้ แพทย์จึงยังไม่สนใจที่จะนำมาใช้และก็คงจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้บริโภคว่า ในการรับฟังข่าวสารอะไร คงต้องยึดหลักกาลามสูตรและอย่าพึงเชื่ออะไรง่ายๆ
ปล. แต่ปัจจุบันนี้ ก็ยังมีคนเชื่ออยู่