|
 |
|
 |
 |
|
 |
- เมอรัลเจีย พาเรสทีทิกา Meralgia Paresthetica (Burning Thigh Pain , Skinny Jeans Syndrome)
- ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก
- กระเป๋านักเรียน หนักเกินทนไหว สะพายเป้อย่างไร ไม่ให้ปวดหลัง
- อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดย ภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ
- ปวดหลังกระดูกทับเส้น ยา pregabalin และสัจจธรรมเรื่องอาการปวด .. โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
- กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) .. นำมาฝาก
- ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ ง่ายมาก
- ทำไม ... ลูกถึงเดินขาโก่ง ... แบบนั้นละคะคุณหมอ ???
- ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )
- ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
- หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก Legg-Calve'-Perthes disease
- มะเร็งกระดูก เนื้องอกกระดูก ชนิดไจแอนท์เซลทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) Osteosarcoma
- ปวดเข่า .... ส่องกล้องข้อเข่า ... knee arthroscopy
- ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )
- กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
- กระดูกงอก แคลเซี่ยมเกาะ ถือว่า ผิดปกติ ต้องผ่าตัดเอาออก หรือไม่ ?
- ดัดข้อ แล้วมีเสียงลั่น ในข้อ เกิดจากอะไร ??? อันตรายหรือไม่ ???
- ภาวะ หัวกระดูกสะโพกตาย จาก การขาดเลือด
- กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เป็นอย่างไร ???
- โรคนิ้วหัวแม่เท้าเก ออกด้านนอก (โรคฮัลลักซ์ วัลกัส ,Hallux Valgus )
- กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า ... เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ
- เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ( รองช้ำ )
- เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ (Tennis Elbow , Golfer Elbow )
- ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ( โรคคาร์พัล แกงเกลียน ,Carpal ganglion )
- ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอ เกอร์แวง , De Quervain's Disease)
- เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ ฟิงเกอร์ ,Trigger Finger)
- กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (ผังผืดทับเส้นประสาท)
- อาหารเสริมกับโรคข้อ
- ปวดคอ
- ปวดไหล่ ข้อไหล่ติด
- โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
- กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
- หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท
- การฉีดซีเมนต์รักษากระดูกสันหลังหักยุบ
- กระดูกสันหลังเสื่อม
- สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
- ปวดหลัง
- ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
- น้ำไขข้อเทียม (แถม ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อเข่า , การฉีดเกล็ดเลือด PRP)
- ข้อเข่าเสื่อม ( OA knee , Osteoarthritis knee )
- โรคปุ่มกระดูกหน้าแข้งอักเสบ ( ออสกูด-ชาเลตเทอร์'ส ดีสีส , Osgood-Schlatter's Disease)
- ปวดเข่า
- โรคข้อเสื่อม
- บ้านสำหรับผู้สูงอายุ ปลอดภัย ไม่ล้ม
- ผู้สูงอายุ ท่าทางที่เหมาะสม
- โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
- เกาต์
- การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (BONE DENSITOMERY)
- กระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง Osteoporosis
- โรครูมาตอยด์ในเด็ก
- ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
- กายภาพบำบัดในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- ข้ออักเสบ
|
 |
|
|
 |
|
ข้ออักเสบ

ข้ออักเสบ
ข้ออักเสบ เป็นคำทั่ว ๆ ไปที่บอกถึงกลุ่มของโรค ซึ่งมีมากกว่า 100 โรค ที่ทำให้เกิดอาการ ปวด บวม และ ข้อแข็ง ซึ่งโรคเหล่านนี้อาจเป็นที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือ กระดูกข้อ ก็ได้
กลุ่มโรคข้ออักเสบนี้อาจมีอาการหรืออาการแสดงในระบบอื่น ๆ ของร่างกายได้ด้วย เช่น ผิวหนัง ตา ปาก ไต ปอด และระบบเลือด เป็นต้น ซึ่งโรคที่พบได้บ่อย เช่น เก๊าท์ รูมาตอยด์ เอสแอลอี (โรคพุ่มพวง) เป็นต้น
โรคข้ออักเสบส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรัง ข้ออักเสบบางชนิดอาจเป็นไปตลอดชีวิตของผู้ป่วย ขณะที่ผู้ป่วยบางรายข้ออักเสบอาจมีลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ และข้ออักเสบบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ ในขณะที่บางโรครักษาไม่หายเพียงแต่ควบคุมอาการของโรคไม่ให้กำเริบรุนแรงเท่านั้น
เมื่อมีอาการหรืออาการแสดงต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์
1. มีข้อบวม เป็น ๆ หาย ๆ 2. มีอาการฝืดขัดเป็นเวลานานในตอนเช้า 3. มีอาการปวดเป็น ๆ หาย ๆ ในข้อหนึ่งข้อใด 4. ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อได้เป็นปกติ 5. มีอาการแดงหรือร้อนบริเวณข้อ 6. มีไข้ น้ำหนักลด หรืออ่อนแรง 7. อาการข้อ 1-6 เป็นมานานกว่า 2 สัปดาห์
การรักษาข้ออักเสบ
จุดมุ่งหมายในการรักษา คือ ลดอาการปวด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ซึ่งแนวทางการรักษาโดยทั่วไป ประกอบด้วย
1. ยาแก้ปวดลดการอักเสบ หรือ ยาสเตียรอยด์ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด แพทย์จะเลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน โดยพิจารณาจาก ชนิดของข้ออักเสบ ความรุนแรง และ ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย
2. การปกป้องข้อ โดยการใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ไม้เท้า หรือ เฝือกชั่วคราว หรือ การใช้ข้อให้ถูกวิธีในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อต้องทำงานมากเกินไป และ ช่วยลดแรงที่กระทำต่อข้อ ทำให้ข้ออักเสบน้อยลง
3. การบริหาร และ การทำกายภาพบำบัด เช่นการประคบด้วยความร้อน
4. การผ่าตัด ซึ่งจะใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น การผ่าตัดแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหรือกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากหรือการรักษาทางยาไม่ได้ผล เช่น การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแนวของข้อ ผ่าตัดใส่ข้อเทียม เป็นต้น
การพักผ่อนมีความจำเป็นในโรคข้ออักเสบหรือไม่ ?
ในการออกกำลังกายหรือใช้ข้อที่มีการอักเสบทำงานมากเกินไปจะทำให้มีการเพิ่มการอักเสบของข้อและปวดข้อมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามการพักผ่อนมากเกินไปโดยข้อไม่มีการเคลื่อนไหว ก็จะทำให้เกิดข้อติดแข็งเพิ่มขึ้น ดังนั้น การพักผ่อนและการออกกำลังกายควรทำไปพร้อมกันอย่างสมดุล
ท่านจะปรับตัวให้เข้ากับโรคข้ออักเสบได้อย่างไร ?
แม้ว่าแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จะเป็นผู้ช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบก็ตาม แต่ผู้ที่สำคัญที่สุดในการรักษาคือตัวผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายและการพักผ่อนอย่างพอเพียง และรู้จักใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อต้องทำงานมากเกินไป ผู้ป่วยควรเข้าใจโรคของตนและควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหา
ทำไมจึงต้องบริหารร่างกาย ?
ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ การบริหารร่างกายเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการรักษา เนื่องจากเมื่อมีข้ออักเสบผู้ป่วยจะไม่ค่อยเคลื่อนไหวข้อที่ปวด ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลังและลีบลง การบริหารร่างกายจะช่วยป้องกันกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ และทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น กายบริหารจะได้ผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความพยายามของผู้ป่วยเอง
ข้อแนะนำเบื้องต้น
1. โรคข้ออักเสบส่วนใหญ่จะมีอาการกำเริบและสงบเป็นระยะ ๆ เมื่อโรคมีอาการกำเริบและปวดข้อมาก อาจลดปริมาณการทำบริหารลงเล็กน้อย และเพิ่มขึ้นเป็นปกติเมื่ออาการดีขึ้น
2. ควรหลีกเลี่ยงกายบริหารใด ๆ ที่เพิ่มแรงกระทำต่อข้ออย่างมาก
3. ไม่ควรบริหารมากเกินไป ถ้ามีอาการต่อไปนี้แสดงว่า บริหารมากเกินไป เช่น มีอาการปวดนานมากกว่า 1 ชั่วโมงหลังจากการออกกำลังกาย รู้สึกอ่อนเพลียมาก ข้อ เคลื่อนไหวได้น้อยลง ข้อบวมมากขึ้น 4. ควรทำอย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้ข้อเคลื่อนไหวได้เต็มที่ แต่ละครั้งควรทำนานประมาณ 5-10 นาที หรือทำซ้ำ ๆ กันประมาณ 10-15 ครั้ง ออกกายบริหารอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ
ท่าบริหารทั่วไป ควรทำบ่อย ๆ ทุกวัน ท่าละ 10 ครั้ง (อย่างน้อย วันละ 5-10 รอบ)
1. นอนหงาย เข่าเหยียดตรง กางขาออกด้านข้างให้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 แล้วหุบขาเข้า ทำสลับกับอีกข้างหนึ่ง
2. นอนหงาย เข่างอตั้งฉากทั้งสองข้าง แบะเข่าออกทางด้านข้าง ๆ ให้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 แล้วหุบเข้า
3. นอนหงาย งอข้อสะโพกให้เข่าเข้ามาชิดหน้าอก เกร็งไว้ นับ 1-10แล้วจากนั้นเหยียดขาให้ตรง ทำสลับกับอีกข้างหนึ่ง
4. นอนหงาย เข่างอตั้งฉากทั้งสองข้าง ยกสะโพกขึ้น (ให้ก้นลอยขึ้น ไม่แตะพื้น ) เกร็งค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อยลง
5. นั่งตามสบาย เหยียดขาขึ้นให้เข่าตรง กระดกข้อเท้าขึ้นเต็มที่ เกร็งไว้นับ 1-10 แล้วงอเข่าลง ทำสลับกับอีกข้างหนึ่ง
6. แขนแนบข้างลำตัว กางไหล่ออกทางด้านข้างแล้วยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ แล้วหุบไหล่ลง ทำสลับกันสองข้าง
7. แขนแนบข้างลำตัว แล้วหมุนไหล่ไปด้านหน้า ผ่านไปเหนือศีรษะ แล้วหมุนไปด้านหลัง เป็นวงกลม ทำสลับกันสองข้าง
8. งอข้อศอก เหยียดข้อศอก ให้มากที่สุด ทำสลับกันสองข้าง
9. ฝ่ามือประกบกัน ให้ข้อมือกระดกขึ้น (ท่าพนมมือ) ใช้แรงพอควรดันเข้าหากัน เกร็งไว้ นับ 1-10
10.หลังมือชนกัน ให้ข้อมืองอลง ใช้แรงพอสมควรดันเข้าหากัน เกร็งไว้ นับ 1-10
11.ข้อนิ้วมือ กำมือให้แน่นมากที่สุด เกร็งไว้ นับ 1-10 แล้วทำสลับกับ เหยียดนิ้วมือออก เกร็งไว้ นับ 1-10
12.กางนิ้วออก ให้มากที่สุด เกร็งไว้ นับ 1-10 แล้วทำสลับกับ หุบนิ้วเข้าหากัน เกร็งไว้ นับ 1-10
13.แหงนคอ ก้มคอ เอียงไปข้างซ้าย เอียงคอไปด้านขวา หมุนคอไปทางซ้าย หมุนคอไปทางขวา
Create Date : 23 ธันวาคม 2550 |
Last Update : 23 ธันวาคม 2550 19:38:19 น. |
|
3 comments
|
Counter : 23547 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 14 ตุลาคม 2552 เวลา:19:57:42 น. |
|
|
|
โดย: NBF วันที่: 15 สิงหาคม 2553 เวลา:19:09:47 น. |
|
|
|
โดย: หมอหมู วันที่: 21 มิถุนายน 2555 เวลา:23:58:50 น. |
|
|
|
| |
|
 |
หมอหมู |
|
 |
|
Location :
กำแพงเพชร Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

|
ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )
หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป ) นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ
ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ
นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )
ปล.
ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com
ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..
|
|
|
รายชื่อ อายุรแพทย์ โรคข้อ ..
//www.thairheumatology.org/list_bkk.php
//www.thairheumatology.org/list_town.php