Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

มะเร็งกระดูก เนื้องอกกระดูก ชนิดไจแอนท์เซลทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT ) Osteosarcoma





เนื้องอกกระดูก ชนิด ไจแอนท์เซล ทูเมอร์ (Giant Cell Tumor, GCT )

ไจแอนท์ เซล = เซลขนาดใหญ่
ทูเมอร์ = เนื้องอก
ไจแอนท์เซล ทูเมอร์ = เนื้องอกที่มีเซลขนาดใหญ่

เป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็อาจมีการทำลายเนื้อกระดูก หลังจากรักษาแล้วกลับมาเป็นซ้ำ และสามารถแพร่กระจายไปยังตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ปอด (3 %) ซึ่งมักพบใน 3 – 5 ปี

ในอเมริกาและยุโรป พบได้ 5 % ของเนื้องอกกระดูกทั้งหมด(แบบร้ายแรงและไม่ร้ายแรง) และ 21 % ของเนื้องอกกระดูกแบบไม่ร้ายแรง

พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน1.3-1.5:1

พบบ่อยในช่วงอายุ 30 – 40 ปี

ตำแหน่งที่พบ มักอยู่ส่วนปลายของกระดูก 50% พบในบริเวณเข่า รองไปก็เป็น ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเท้า กระดูกก้นกบ

ผู้ป่วยมักมาด้วย อาการปวด บางรายมาด้วยมีกระดูกหัก ( 11 – 37 % )



การวินิจฉัย


เอกซเรย์ปกติ เอกเรย์คอมพิเตอร์ (CT) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การตรวจชิ้นเนื้อ


แนวทางรักษา


การผ่าตัด เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด มีหลายวิธี เช่น ขูดเนื้องอกออกแล้วใส่เนื้อกระดูกหรือซีเมนต์กระดูก ตัดกระดูกออกทั้งชิ้น ไปจนถึง ตัดอวัยวะ

ขูดเนื้องอกออกแล้วใส่เนื้อกระดูกหรือซีเมนต์กระดูก มีข้อดีคือ กระดูกและอวัยวะใกล้เคียงเดิม แต่ ข้อเสียคือ มีโอกาสเป็นซ้ำ 10 – 29 %

ถ้าผ่าตัดไม่ได้ จึงจะใช้วิธี ฉายแสง ฉีดสารอุดเส้นเลือด

หลังการรักษา 2 - 5 ปี ต้องมาตรวจซ้ำเป็นระยะ เพื่อตรวจร่างกาย เอกซเรย์กระดูก เอกซเรย์ปอด โดยเฉพาะถ้ามีอาการปวด บวม บริเวณที่ผ่าตัด ต้องรีบมาพบแพทย์ เพราะอาจแสดงว่า กลับมาเป็นเนื้องอกซ้ำอีก


ผลการรักษาค่อนข้างดี

ยกเว้น ถ้าแพร่กระจายไปที่ปอด มีโอกาสทำให้เสียชีวิต 16 – 25 % ซึ่งจะรักษาด้วย วิธี ผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด และยาอินเตอร์เฟรอน ( interferon alpha)



อ้างอิง ..

https://emedicine.medscape.com/article/1255364-overview

https://www.bonetumor.org/tumors/pages/page106.html

https://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=A00080


สำหรับท่านที่สนใจรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม เกี่ยวกับเนื้องอกของกระดูก

เมื่อมะเร็ง...แพร่กระจายไปที่กระดูก ! นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ
https://www.healthtoday.net/thailand/disease/disease_81.html

สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
https://www.chulacancer.net/
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งกระดูก
https://www.chulacancer.net/patient-knowledge.php

โรคมะเร็งกระดูก โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/knowledge/bone_cancer

เวบหาหมอ.com
https://haamor.com/th/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81/

Bone Tumors and Tumorlike Conditions: Analysis with Conventional Radiography1
https://radiology.rsnajnls.org/cgi/content/figsonly/246/3/662

Welcome to our Bone Tumor Pathology
https://www.umdnj.edu/tutorweb/introductory.htm


***************************************


เครดิตภาพ https://medthai.com/มะเร็งกระดูก/

สืบเนื่องจากข่าวนักกีฬาเป็นมะเร็งกระดูกต้นขามีผู้สอบถามทั้งที่คลินิกและส่งข้อความมาสอบถาม เพราะเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า " เกิดอุบัติเหตุขณะเล่นกีฬาขาหักแล้วกลายเป็นมะเร็ง " พ่อแม่หลายท่านเลยกังวลจะห้ามไม่ให้ลูกเล่นกีฬา ... แต่ในความเป็นจริงคือ " เป็นมะเร็งกระดูกอยู่แล้วพอเกิดอุบัติเหตุขณะเล่นกีฬาทำให้กระดูกหัก " ...ไม่ต้องกังวลเรื่องการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุทำให้กลายเป็นมะเร็ง

สรุปว่า "การเล่นกีฬา หรือ อุบัติเหตุขณะเล่นกีฬา ไม่ทำให้กลายเป็นมะเร็งกระดูก"ช่วยกันสนับสนุนเด็ก ๆ ให้เล่นกีฬากันต่อไปอย่างสบายใจ

เชิญแวะไปอ่านเรียนรู้ร่วมกัน เวลามีข่าว จะได้เข้าใจ ไม่ตกใจทุกข์ใจเพราะข่าวคลาดเคลื่อน

https://medthai.com/มะเร็งกระดูก/

https://haamor.com/th/มะเร็งกระดูก/

https://www.thairath.co.th/content/287643

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/512587

เด็กสาวนักบัลเล่ต์วัย15แม้ต้องเสียขาด้วยโรคมะเร็ง แต่เธอก็ไม่ย่อท้อ

https://women.kapook.com/view158716.html

เอกสารประกอบการสอนไฟล์เอกสารword

https://www.med.cmu.ac.th/dept/pediatrics/04-divisions_home_thai/08-hema-onco-home/panja-book/chap12ab.doc

**********************************************





ที่มาเฟสดร่าม่าแอดดิก https://www.facebook.com/DramaAdd/posts/10156623604518291

เป็นเรื่องที่ หมอกระดูกและข้อ สักวันต้องได้เจอ .. หวังว่า เรื่องแบบนี้ น่าจะลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ
ปล. ปัจจุบันมีความรู้ทางการแพทย์ในอินเตอร์เนตเยอะแยะ เชื่อถือได้บ้าง เชื่อไม่ได้บ้าง .. แต่ที่เห็นเป็นข่าวมักไม่น่าเชื่อถือ กลับเชื่อ ?



ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโรคมะเร็งจาก รพ.จอห์น ฮอพกินส์ เป็นเรื่องโกหกแต่เชื่อ ?    https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-12-2012&group=7&gblog=170
ยาหมอแสง ความรู้สำหรับประชาชนทั่วไป ... กระทู้ แนะนำ ใน พันทิบ ๘กพ.๖๑     https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-02-2018&group=27&gblog=34

FW mail ... รวมสินค้า (แหกตา) โดนแล้วจะตาแหก...   
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-01-2010&group=7&gblog=46
ภัยจากนามบัตร แถม ยาป้าย ( ใครที่มีสุตรยาป้าย ถ้าได้ผลจริง มีคนให้เงินล้าน ไม่ต้องไปป้ายข้างถนน)   
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-02-2009&group=7&gblog=13






Create Date : 07 กรกฎาคม 2552
Last Update : 6 มิถุนายน 2561 21:47:20 น. 7 comments
Counter : 16344 Pageviews.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ



โดย: โยเกิตมะนาว วันที่: 7 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:39:33 น.  

 
มาเก็บความรู้ดีๆ จากบล็อกนี้คับคุณหมอ


โดย: เด็กโครงงาน วันที่: 7 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:00:10 น.  

 




เมื่อมะเร็ง...แพร่กระจายไปที่กระดูก !

นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ

//www.healthtoday.net/thailand/disease/disease_81.html

“มะเร็ง” เป็นโรคที่ทุกคนภาวนาให้ไม่เกิดขึ้นกับตัว แต่ชีวิตก็ยากกำหนด ความรู้เท่านั้นที่จะช่วยให้เราเท่าทันโรคภัย สู้และอยู่กับมันได้อย่างราบรื่นที่สุด โดยเฉพาะคนที่เลี่ยงไม่ได้กับโรคมะเร็ง ความน่ากังวลของโรคนี้คือการที่เกิดขึ้นกับอวัยวะสำคัญๆ และการกระจายตัวไปสู่อวัยวะอื่นๆ รวมทั้งกระดูกด้วย


โรคมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูกจัดเป็นโรคที่พบบ่อย จากข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าในแต่ละปีจะมีผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเพิ่ม ขึ้นประมาณ 1.2 ล้านคน และประมาณ 600,000 คนจะมีมะเร็งแพร่กระจายมาที่บริเวณกระดูก กระดูกเป็นอวัยวะที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งเป็นอันดับที่ 3 รองลงมาจากปอด และตับ !!


มะเร็งที่มักแพร่กระจายมายังบริเวณกระดูก คือ มะเร็งของเต้านม ปอด ต่อมลูกหมาก ต่อมธัยรอยด์และไต พบในเด็กน้อยกว่าผู้ใหญ่ มักจะพบในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และพบในผู้ชายมากกว่าหญิง ตำแหน่งของกระดูกที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งมักเป็นกระดูกบริเวณแกนกลางของ ร่างกาย เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง และกระดูกเชิงกราน ส่วนในกระดูกระยางค์ มักพบในบริเวณกระดูกต้นขาส่วนต้น และกระดูกต้นแขนส่วนต้น ในกรณีที่มะเร็งมาที่กระดูกคนที่เป็นมะเร็งปอดมีแนวโน้มของโรคที่แย่ที่ สุดกว่ามะเร็งชนิดอื่น


ปวดมากขึ้น ต่อเนื่องยาวนาน คือสัญญาณเตือน

เมื่อมะเร็งกระจายมาที่กระดูกจะทำให้ปวด มักจะปวดนานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน มักจะปวดตลอดเวลา และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดธรรมดา นอกจากนี้บางคนปวดมากและไปหาหมอเพราะกระดูกหัก บางครั้งแค่ล้มก็ทำให้เกิดกระดูก

หักได้ อาการอีกอย่างที่สำคัญของมะเร็งกระจายไปที่กระดูก คือ ปวดหลังร่วมกับอ่อนแรง และชาบริเวณขา เนื่องจากมะเร็งแพร่มาที่กระดูกบริเวณสันหลัง จนมีการกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง


ประเมินล่วงหน้า เพื่อรักษาเต็มประสิทธิภาพ

การประเมินว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายมาที่กระดูกมีความสำคัญมาก เพื่อนำไปสู่การรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องพบแพทย์ต่อเนื่อง เพื่อติดตามอาการ ตรวจร่างกายเป็นระยะ ทั้งทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจพิเศษด้วยภาพถ่ายทางรังสี คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงการส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา

ตรวจร่างกายทุกระบบอย่างละเอียด รวมถึงตำแหน่งที่มีอาการ เช่น ถ้ามีอาการปวดบริเวณหลังต้องคลำหาจุดกดเจ็บ ตรวจระบบประสาท และต้องหาตำแหน่งที่อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ เช่น เต้านม ต่อมลูกหมาก ต่อมธัยรอยด์ ปอด รวมถึงลักษณะทั่วไปด้วย เช่น ภาวะซีด ภาวะโภชนาการของคน
เป็นมะเร็ง


ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือต่างๆ บอกอะไร?

• การตรวจเลือด มีความจำเป็นต้องตรวจ เพื่อดูสภาพทั่วไป เช่น ภาวะความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด เนื่องจากคนเป็นมะเร็งส่วนใหญ่มักมีอาการซีด การตรวจความเข้มข้นของปริมาณแคลเซียมในกระแสเลือด ซึ่งมักจะสูงในคนเป็นโรคมะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูก

• การตรวจหาค่าบ่งชี้ tumor marker ที่จำเพาะเจาะจงกับมะเร็ง เช่น ค่าPSA ซึ่งมักจะสูงในมะเร็งต่อมลูกหมาก

• ทำ bone scan ซึ่งเป็นการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในร่างกายเพื่อศึกษากระดูกในส่วนที่มะเร็งแพร่กระจายไปจะช่วยในการติดตามดูแลรักษา และวินิจฉัยแยกโรค

• การตรวจภาพทางรังสี (X-ray) มีความสำคัญมากในการวินิจฉัย ควรตรวจในตำแหน่งที่มีอาการเจ็บปวดผิดปกติ การตรวจด้วยภาพรังสีบริเวณทรวงอก ก็ช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปอดได้ ลักษณะของรอยโรคที่พบในบริเวณโรคนั้นมักพบทั้งการสร้างและการทำลายของกระดูก อาจพบภาวะกระดูกหักที่ไม่รุนแรง และพบรอยโรคของการทำลายกระดูกในตำแหน่งที่มีกระดูกหัก

• การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ช่วยบอกถึงการทำลายกระดูก และภาวะการเกาะตัวของหินปูนในตำแหน่งของรอยโรค

• การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) สามารถ ตรวจความผิดปกติของกระดูกที่เกิดภายนอกกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนดูขอบเขตของ การลุกลามของมะเร็งได้ดีมาก ถ้าเป็นรอยโรคในบริเวณกระดูกสันหลังก็จะช่วยให้เห็นการกดไขสันหลังการทำลาย ของกระดูกได้

• การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิสภาพ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการวินิจฉัย การตรวจชิ้นเนื้อมี 2 วิธี คือตรวจชิ้นเนื้อแบบไม่มีแผลเปิด ซึ่งใช้เข็มในการเจาะตรวจชิ้นเนื้อมาตรวจและการผ่าตัดเปิดแผล เอาชิ้นเนื้อออกมาตรวจ ซึ่งการพิจารณาวิธีการนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของรอยโรค รวมถึงประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์ผู้ให้การรักษา


รักษาได้ไหม เมื่อมะเร็งกระจายสู่กระดูก

ประมาณ 80% ของมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูกมาจากมะเร็งของเต้านม ต่อมลูกหมาก ต่อมธัยรอยด์ ปอด และไต เป้าหมายในการรักษาเพื่อลดอาการเจ็บปวด และรักษาสภาพจิตใจของคนเป็นมะเร็งให้สามารถเคลื่อนไหว ช่วยตนเองได้ และสามารถกลับสู่สังคมได้ เพราะมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูกก่อให้เกิดภาวะที่ไม่สามารถเคลื่อนไหว ได้ เนื่องจากการกดทับของไขสันหลัง ทำให้เป็นอัมพาต กระดูกหัก หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ระดับแคลเซียมในกระแสเลือดสูงทำให้อาจมีอาการชัก ความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ และภาวะขาดน้ำ

การรักษาผู้ที่มะเร็งแพร่กระจายมายังกระดูกนั้นจึงเป็นการดูแลร่วมกันของทีม แพทย์ ได้แก่ แพทย์มะเร็ง ศัลยแพทย์กระดูก แพทย์รังสีรักษา แพทย์รักษาความเจ็บปวด รวมถึงจิตแพทย์ที่จะช่วยในการรักษาอาการซึมเศร้าและบรรเทาจิตใจ

ผ่าตัด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การผ่าตัดจะทำโดยศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เพื่อลดความเจ็บปวด และทำให้สามารถ
ใช้อวัยวะส่วนนั้นๆ ได้ใกล้เคียงปกติ

การผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคองมากกว่าที่จะรักษาให้หายขาด คนเป็นมะเร็งบางคนอาจมีโอกาสกระดูกหักแต่ยังไม่หัก ก็อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกเพื่อป้องกันการหัก

ส่วนการรักษาคนที่กระดูกหักจากมะเร็งลุกลามมาที่กระดูกแล้วขึ้นอยู่กับ ลักษณะตำแหน่งของกระดูกที่เกี่ยวข้องการตอบสนองต่อรังสีรักษาและเคมีบำบัด สุขภาพทั่วไป ระยะของโรค ระยะเวลาชีวิตที่เหลือ หลักการในการผ่าตัดนั้นควรจะผ่าตัดที่เบ็ดเสร็จเรียบร้อยภายในครั้งเดียว เพราะคนกลุ่มนี้มีสุขภาพทั่วไปไม่แข็งแรง

ในคนที่ยังไม่มีกระดูกหัก แต่มีรอยโรคในส่วนของกระดูกระยางค์และมีความเสี่ยงที่กระดูกจะหักสูงมาก อาจต้องผ่าตัดยึดตรึงกระดูก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง ซึ่งรอยโรคมักมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2.5 เซนติเมตร มีการทำลายกระดูกมากกว่า 50% ของเส้นผ่าศูนย์กลางของกระดูก อาการปวดมาก ไม่สามารถทุเลาลงด้วยยาแก้ปวด และพิจารณาลักษณะของการทำลายกระดูกร่วมด้วย

ภายหลังการผ่าตัดทุกรายจำเป็นต้องได้รับการฉายรังสีรักษาที่บริเวณผ่าตัด เพื่อลดโอกาสการเกิดซ้ำของมะเร็งเฉพาะที่ และลดปัญหาการเกิดการหักหลวมของวัสดุที่ใช้ในการยึดตรึงกระดูก หรือทดแทนกระดูกส่วนนั้น บางครั้งถ้าแพทย์คาดการณ์ภาวะมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูกได้ดี คนๆ นั้นก็สามารถมีชีวิตยืนยาวได้


นอกจากการผ่าตัดรักษาทาง ร่างกายแล้วยังต้องช่วยกันรักษาทางจิตใจด้วย การให้กำลังใจคือสิ่งสำคัญที่สุดที่ทั้งแพทย์และญาติผู้ดูแลสามารถช่วยกันได้ ยิ่งผู้ที่เป็นมะเร็งมีความศรัทธาต่อทีมผู้รักษา ก็จะยิ่งช่วยกันสร้างความรู้สึกให้เขารู้สึกว่าตนเองมีค่า ช่วยฟื้นฟูจิตวิญญาณ โดยการดึงความภาคภูมิใจที่เขามีอยู่ให้กลับคืนมา...พลังใจมีอำนาจยิ่งใหญ่ เสมอ คนเราอาจจะชนะโรคภัยได้ด้วยหัวใจอันเข้มแข็งครับ





โดย: หมอหมู วันที่: 22 สิงหาคม 2553 เวลา:9:32:44 น.  

 
มาเยี่ยมครับ


โดย: nuyect วันที่: 20 พฤศจิกายน 2553 เวลา:19:01:18 น.  

 
สวัสดีค่ะหมอหมู
เเวะมาอ่านได้ความรู้ดีค่ะ พอดีแฟนมีอาการปวดข้อมืออยู่เรื่อยๆ เป็นๆหายๆ บางครั้งปวดมากบางครั้งปวดน้อย เคยให้หมอที่นี่ตรวจดูหมอก็ว่าไม่เป็นอะไร แต่ทำไมอาการปวดมันไปหายไป เป็นมาได้ 2 ปีได้แล้วค่ะ นอกจากนี้เขายังปวดหลัง(เขากระดูกสันหลังงอตั้งแต่เกิดค่ะ)และปวดหูข้างนึง เวลานอนทับหูตัวเองตื่นขึ้นมาต้องทานยาพาราอยู่บ่อยๆ เป็นเรื่อยก็ทานยาพาราเรื่อย เลยคิดว่าจะพาไปหาหมอที่ไทยให้หมอไทยตรวจดู เผื่อจะได้รู้สักทีว่าเป็นอะไรกันแน่ ขอบคุณข้อมูลดีๆที่คุณหมอเอามาลงนะค่ะ


โดย: makampom-ta วันที่: 23 กรกฎาคม 2554 เวลา:19:50:51 น.  

 
//www.newswit.com/food/2012-09-20/1c6536d5d44bfdfa3f57ac1b324ab9e6/

โรคมะเร็งกระดูก สามารถรักษาให้หายขาดได้หากเข้ารับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก โดยจะทำการผ่าตัดนำเอากระดูกที่เป็นมะเร็งออกทั้งหมดและใส่กระดูกเทียมทดแทนในบริเวณดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยไม่มีความพิการและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นายแพทย์อนันต์ เสรฐภักดี รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรง โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ จึงได้จัดตั้งศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์ มีหน้าที่ในการศึกษา วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และให้บริการเฉพาะทางสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก

นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กล่าวว่า ในอดีตการรักษามะเร็งกระดูกด้วยวิธีการตัดอวัยวะเหนือส่วนที่เป็นมะเร็งออก ซึ่งผู้ป่วยยังคงมีอัตราการเสียชีวิตสูง ปัจจุบันได้นำวิธีให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการผ่าตัดทำให้การรักษาได้ผลเป็นที่พอใจ อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60-65

มะเร็งกระดูกแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1.มะเร็งกระดูกที่เกิดจากความผิดปกติภายในเซลล์ของเนื้อกระดูก พบได้ในเด็กวัยรุ่นช่วงอายุ 15 – 19 ปี หากตรวจพบในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้

2.มะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดจากอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด เต้านม ต่อมไทรอยด์ ต่อมลูกหมากแล้วกระจายไปสู่กระดูก ทางการแพทย์จัดว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40-50 ปีขึ้นไป

ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน มีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งกระดูกอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ได้จัดทำโครงการ “Osteosarcoma Fast Track” เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งกระดูกมากยิ่งขึ้น โดยการนำเข็มพิเศษมาใช้ในการเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจร่วมกับการใช้เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ในการหาตำแหน่งเนื้องอกได้ถูกต้อง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องผ่าตัดสองครั้ง

นายแพทย์ปิยะ เกียรติเสวี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยมะเร็งกระดูกมักมาพบแพทย์ด้วยอาการปวด บวม หรือมีก้อนบริเวณที่เป็น ซึ่งอาจแยกได้ยากจากอาการปวดกล้ามเนื้อ หากอาการปวดไม่ดีขึ้นหรือมีอาการบวมมากขึ้นหลังจากได้รับการรักษาในเบื้องต้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือมีอาการปวดช่วงกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว ควรพบแพทย์อีกครั้งเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยต่อไป

สำหรับขั้นตอนการรักษามะเร็งกระดูกโดยเฉพาะมะเร็งกระดูกที่มีต้นกำเนิดจากกระดูกเอง วิธีการคือ แพทย์จะให้ยาเคมีบำบัดหลังจากนั้นจะทำการผ่าตัดและให้เคมีอีกครั้งหนึ่ง การผ่าตัดรักษามะเร็งกระดูกทำได้ 2 แบบ คือ การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งกระดูกออกทั้งหมด รวมทั้งกล้ามเนื้อและกระดูกที่อยู่ใกล้ส่วนที่เป็นมะเร็งออก หลังการนั้นอาจใส่กระดูกทดแทนซึ่งนำมาจากบริเวณสะโพกของผู้ป่วย กระดูกเทียมหรือกระดูกที่ได้รับจากการบริจาค และการผ่าตัดอวัยวะเหนือส่วนแขนหรือขาที่เป็นมะเร็งออก ใช้ในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถผ่าตัดเก็บอวัยวะได้

เนื่องจากกระดูกบริจาคที่ใช้เป็นกระดูกทดแทนมีไม่เพียงพอ และโลหะที่ใช้ทำกระดูกเทียมมีราคาสูงทำให้ผู้ป่วยบางรายขาดโอกาส จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งกระดูกให้มีชีวิตที่ดีขึ้น โดยบริจาคได้ที่ “กองทุนมะเร็งกระดูก” มูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน โทร.0-2235-7337

ติดต่อ:

ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมการแพทย์ 0 25818254 , กองทุนมะเร็งกระดูก มูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน โทร.0-2235-7337


โดย: หมอหมู วันที่: 13 เมษายน 2556 เวลา:0:27:02 น.  

 
//www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=851

มะเร็งกระดูก

ร.ศ. น.พ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล

ภาควิชาศัลยศาสตรออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด

Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล



ในร่างกายของเราประกอบด้วยกระดูก 206 ชิ้น ซึ่งมีหน้าที่หลายประการ เช่น ปกป้องอวัยวะภายใน ได้แก่ กะโหลกศีรษะช่วยป้องกันสมอง กระดูกซี่โครงช่วยปกป้องอวัยวะภายในทรวงอก ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือด รวมทั้งกระดูกยังเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อเพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักของร่างกาย

หน่วยที่เล็กที่สุดของร่างกายมนุษย์ เรียกว่า เซลล์ ซึ่งสามารถเจริญเติบโตอย่างปกติโดยอยู่ในความควบคุมของร่างกาย แต่เมื่อเซลล์นั้นมีความปกติ สามารถแบ่งตัวเจริญเติบโตโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้กลายเป็นเนื้องอกตามอวัยวะที่ผิดปกตินั้น ๆ

เนื้องอกแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายและเนื้องอกชนิดร้าย เนื้องอกชนิดไม่ร้ายจะมีการดำเนินโรคที่ไม่รุนแรงไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น และมักไม่ทำผู้ป่วยเสียชีวิต ในกรณีที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดที่เหมาะสม มักจะหายขาดและมีโอกาสกลับเป็นซ้ำน้อยกว่าเนื้องอกชนิดร้าย เนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็งสามารถเติบโตทำลายอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง เซลล์สามารถกระจายเข้าสู่กระแสโลหิตหรือระบบน้ำเหลืองไปอวัยวะอื่นได้ทั่วร่างกาย เช่น ไปที่ปอด ตับ หรือกระดูกที่อยู่ไกลออกไปจากเนื้องอกร้ายนั้น โรคมะเร็งในปัจจุบันมีมากกว่า 100 ชนิด โดยแบ่งตามชนิดของเซลล์ที่ผิดปกติตามอวัยวะที่เป็น เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งกระดูก เป็นต้น

เนื้องอกกระดูกสามารถแบ่งตามลักษณะและสาเหตุการเกิดเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ เนื้องอกที่เกิดจากความผิดปกติในกระดูกนั้นๆ (เนื้องอกกระดูกปฐมภูมิ) และเนื้องอกชนิดอื่นที่แพร่กระจายมาที่กระดูก (เนื้องอกกระดูกทุติยภูมิ) โดยเนื้องอกกระดูกทุติยภูมิพบได้มากกว่าเนื้องอกกระดูกปฐมภูมิหลายเท่า มะเร็งที่มีการแพร่กระจายมาที่กระดูกได้บ่อย ได้แก่ มะเร็งปอด เต้านม ต่อมไทรอยด์ ต่อมลูกหมาก และไต เป็นต้น โดยเนื้องอกกระดูกปฐมภูมิพบเพียง 0.5 % ของเนื้องอกปฐมภูมิทุกชนิด เนื้องอกกระดูกปฐมภูมิสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เนื้องอกกระดูกปฐมภูมิชนิดไม่ร้าย และเนื้องอกกระดูกปฐมภูมิชนิดร้าย (มะเร็งกระดูกปฐมภูมิ)

อาการผิดปกติที่เกิดจากเนื้องอกกระดูก

โดยทั่วไปอาการของเนื้องอกกระดูกจะมีอาการผิดปกติช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป โดยขึ้นกับชนิด ตำแหน่ง และขนาดของเนื้องอก อาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยสุดของมะเร็งกระดูก การคลำพบก้อน อาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแขนหรือขา การเกิดภาวะกระดูกหักในกระดูกที่มีพยาธิสภาพ หรืออาจไม่มีอาการใด ๆ ซึ่งเนื้องอกอาจพบโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพรังสีตรวจร่างกายทั่วไปตามปกติ



การวินิจฉัยเนื้องอกกระดูก

การวินิจฉัยโรคเนื้องอกกระดูกจะต้องอาศัยการประเมินข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วยการสอบถามประวัติของผู้ป่วยและครอบครัว การตรวจร่างกายอย่างละเอียด การส่งตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และการตรวจภาพรังสีชนิดต่าง ๆ การวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกกระดูก ซึ่งได้จากการผ่าตัดตรวจชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

เมื่อได้การวินิจฉัยโรคเนื้องอกกระดูกแล้ว จะต้องนำข้อมูลอื่น ๆ มาร่วมพิจารณาเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งประกอบด้วยการตรวจประเมินระยะของโรคอายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ขนาด และตำแหน่งของเนื้องอก



การรักษาเนื้องอกกระดูก

เนื้องอกกระดูกปฐมภูมิชนิดไม่ร้ายมีการรักษาได้หลายรูปแบบตามแต่ชนิดย่อยของเนื้องอก เช่น ในเนื้องอกที่พบว่าเป็นมานานและผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติจากเนื้องอกดังกล่าว เพียงแต่ให้คำแนะนำ และนัดติดตามการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาหรือผ่าตัดรักษา ในกรณีที่เนื้องอกกระดูกโตอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยเกิดอาการผิดปกติจากเนื้องอกดังกล่าว อาจพิจารณารักษาโดยการผ่าตัด เป็นต้น

การรักษาเนื้องอกกระดูกปฐมภูมิชนิดร้าย และเนื้องอกกระดูกทุติยภูมิจะมีความแตกต่างจากเนื้องอกปฐมภูมิชนิดไม่ร้ายค่อนข้างมาก การรักษาประกอบด้วยการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด หรือการใช้รังสีรักษา โดยพิจารณาใช้วิธีการรักษาเป็นราย ๆ ไป บางกรณีอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน

การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาที่สำคัญโดยมีหลายวิธี เช่น การตัดเนื้องอกออก การยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะ การตัดเนื้องงอกร่วมกับการตัดแขนหรือขาที่เป็นโรคออก ซึ่งต้องมีการทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และใส่อุปกรณ์แขนขาเทียมร่วมด้วยในภายหลัง

การใช้ยาเคมีบำบัดเพื่อฆ่าทำลายเซลล์มะเร็ง มีการให้ยาได้หลายรูปแบบ เช่น ยาฉีด หรือยารับประทาน ส่วนการใช้รังสีรักษานั้นมีผลในการฆ่าทำลายเซลล์มะเร็ง ช่วยลดขนาดของเนื้องอก หรือใช้ระงับปวดก็ได้ การรักษามะเร็งกระดูกโดยวิธีดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะการใช้ยาเคมีบำบัดและการใช้รังสีรักษาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงมาก นอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว เซลล์ปกติบางส่วนของร่างกายจะได้รับผลกระทบได้ เช่น ทำให้ผมร่วง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรืออาการอ่อนเพลีย ปริมาณเม็ดเลือดลดน้อยลงจากการได้รับยาเคมีบำบัด ผิวหนังแห้งแข็งตึงจากการได้รับรังสีรักษา



แนวทางการรักษาเนื้องอกกระดูกในอนาคต

ถึงแม้ว่าปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุทั้งหมดที่แท้จริงของการเกิดเนื้องอกกระดูกได้ แต่ได้มีความพยายามในการศึกษาวิจัยเพื่อที่จะเข้าใจถึงสาเหตุกลไกการเติบโตการแพร่กระจาย การรักษาให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคร้าย รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ตั้งแต่ระยะตัวอ่อนในครรภ์มารดา ปัจจุบันมีการศึกษาในระดับยีนและการใช้เซลล์อ่อนเพื่อหวังผลในการป้องกันและรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรคในอนาคต


โดย: หมอหมู วันที่: 13 เมษายน 2556 เวลา:0:34:27 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]