Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

คลินิกแพทย์พนมกร จังหวัดกำแพงเพชร





คลินิกแพทย์พนมกร
201 ถนนบำรุงราษฎร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000

เวลาทำการ
ทุกวัน  เช้า  9.00 – 12.00 น.   เย็น  18.00 – 20.00 น.
หยุด วันอาทิตย์ เย็น

โทรฯ  055 - 714299  ,   089 - 640 4619

ตรวจรักษาโรคกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท เข่าเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกทับเส้น
โรคเกาต์ รูมาตอยด์ กระดูกพรุน นิ้วล็อค ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เส้นเอ็นอักเสบ พังผืดรัดเส้นประสาทข้อมือ
อุบัติเหตุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้อเคล็ดเส้นเอ็นฉีกขาด บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือจากการทำงาน

ตรวจรักษา โดย ...  นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์   (หมอกระดูกและข้อ )
แพทย์อาชีวเวชกรรม   แพทย์เวชศาสตร์การกีฬา
ผู้เขียน หนังสือรู้เท่าทันป้องกันโรคกระดูก  หนังสือข้อเสื่อมกระดูกพรุนระยะประชิด และ หนังสือโรคกระดูกในเด็ก ปัญหาไม่เล็กแต่แก้ได้

แผนที่ https://goo.gl/maps/jBb8WLLzdkC2

เวบบล็อก  //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807














คลินิกแพทย์พนมกร

201 ถนนบำรุงราษฎร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000


เวลาทำการ

ทุกวัน เช้า 9.00 – 12.00 น. เย็น 18.00 – 20.00 น.

หยุดวันอาทิตย์ เย็น

โทรฯ 055 - 714299 , 089- 640 4619

ตรวจรักษาโรคกระดูกข้อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท เข่าเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกทับเส้น

โรคเกาต์รูมาตอยด์ กระดูกพรุน นิ้วล็อค ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เส้นเอ็นอักเสบพังผืดรัดเส้นประสาทข้อมือ

อุบัติเหตุกระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้อเคล็ดเส้นเอ็นฉีกขาด บาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือจากการทำงาน

ตรวจรักษาโดย ... นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ (หมอกระดูกและข้อ )

แพทย์อาชีวเวชกรรม แพทย์เวชศาสตร์การกีฬา

ผู้เขียนหนังสือรู้เท่าทันป้องกันโรคกระดูก หนังสือข้อเสื่อมกระดูกพรุนระยะประชิด และ หนังสือโรคกระดูกในเด็ก ปัญหาไม่เล็กแต่แก้ได้

แผนที่https://goo.gl/maps/jBb8WLLzdkC2

เวบบล็อก //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807

 :::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3

ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2

คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80

เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=19-10-2010&group=4&gblog=85

ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18

ไปรักษาคลินิกแล้วจะดูอย่างไรว่า .. ผู้ที่ตรวจรักษา นั้นเป็น "หมอจริงหรือไม่ ???"

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-05-2010&group=7&gblog=58

สิทธิผู้ป่วย... คำประกาศ"สิทธิ"และ"ข้อพึงปฏิบัติ" ของผู้ป่วย .... วันที่ประกาศ ๑๒สค. ๒๕๕๘

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1

หมอคนไหนดี“??? .... คำถามสั้น ๆ ง่าย ๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42





 

Create Date : 07 สิงหาคม 2560   
Last Update : 7 สิงหาคม 2560 14:53:08 น.   
Counter : 12244 Pageviews.  

HOT and WIN in ORTHOPEDICS 2015



HOT and WIN in ORTHOPEDICS 2015 

วันที่ 8 - 9  มกราคม 2558 ณ โรงแรม Le Meridien เชียงใหม่

     ภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับชมรมออร์โธปิดิกส์ภาคเหนือและ ชมรมออร์โธปิดิกส์ภาคอีสาน กำหนดจัดประชุมวิชาการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของการก่อตั้งภาควิชาออร์โธปิดิกส์  55 ปีของคณะแพทยศาสตร์ และ 50 ปีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความรู้ด้านวิชาการ แก่สมาชิกราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย แพทย์ทั่วไป พยาบาล นักกายภาพบำบัด และบุคลากรผู้มีความสนใจ

     รายละเอียดเพิ่มเติมที่ //www.med.cmu.ac.th/dept/ortho/en/11-news/87-hot-and-win-ortho-57.html

** พยาบาลได้หน่วย CNE = 15 หน่วย
** นักกายภาพบำบัด สามารถนำไปขอขึ้นทะเบียนรายบุคคลเพื่อเก็บคะแนนได้
** มีรถรับ - ส่ง ฟรี ระหว่างสนามบินไปยังโรงแรม และสถานที่ประชุม สำหรับวิทยากรและผู้เข้าร่วม
    ประชุมทุกท่าน
** สำหรับผู้ลงทะเบียนที่เข้าร่วม Congress dinner ท่านมีโอกาสลุ้นรางวัลใหญ่
    เช่น  i-phone 6 plus  (128 GB) และ Sumsung Galaxy S5
** ธนาคารกสิกร เชิญร่วมกิจกรรมสัมนาและพูดคุยกับที่ปรึกษาทางการเงิน


ตารางการประชุมวันที่ 8 ม.ค. 58
//www.med.cmu.ac.th/dept/ortho/en/images/News57/HOT_and_WIN_57/register/update/Schedule_update_Dep17p.1.PDF

ตารางการประชุมวันที่ 9 ม.ค. 58
//www.med.cmu.ac.th/dept/ortho/en/images/News57/HOT_and_WIN_57/register/update/Schedule_update_Dep17p.2.PDF




 

Create Date : 29 ธันวาคม 2557   
Last Update : 29 ธันวาคม 2557 21:20:16 น.   
Counter : 2455 Pageviews.  

เชิญชาวออร์โธ เชียงใหม่ ร่วมแสดงมุฑิตาจิตเกษียณอายุราชการ อ.โอฬาร ..ในวันเสาร์ ๑ กย.๕๕



เรียนเชิญศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ร่วมงานมุทิตาจิต

ผศ.นพ.โอฬาร  อาภรณ์ชยานนท์



โดยงานจะจัดขึ้นใน  วันเสาร์ที่ 1 ก.ย. 2555 เวลา 18.00 น.

ณ.โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง เชียงใหม่



รายละเอียดติดต่อภาควิชาออร์โทปิดิกส์
โทร.053-945543 , 086-6593982


Olan



//tiny.cc/exf6iw



เวบภาควิชา ออร์โทปิดิกส์  มช.

//www.med.cmu.ac.th/dept/ortho/index.php





 

Create Date : 17 สิงหาคม 2555   
Last Update : 17 สิงหาคม 2555 15:47:27 น.   
Counter : 2885 Pageviews.  

ผมนำ "ร่างบทบรรยาย" ที่ได้พูดในวันงานฯ มาลงไว้ในบล๊อก ด้วยนะครับ ..

ผมนำ "ร่างบทบรรยาย" ที่ได้พูดในวันงานฯ มาลงไว้ในบล๊อก ด้วยนะครับ .. หลายท่านได้ฟังแล้ว ก็อาจข้ามไปก็ได้ .. แต่ถ้าจะอ่านซ้ำก็ดี เพราะ เวลาพูดจริง ๆ ไม่ค่อยเหมือนที่ร่างไว้ เท่าไหร่


ต้องขอบคุณ อาจารย์ ที่ให้โอกาส ผมมาพูดในวันนี้ ถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งครับ

ผมขอแนะนำตัวสักหน่อยนะครับ

ชื่อจริง พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ใช้ชื่อในเนตว่า หมอหมู แต่งงานแล้ว ภรรยาชื่อ ธิดา มีบุตร ๑ คน ชื่อ นาย กฤตตานนท์ อายุ ๑๗ ปี หน้าตาดีเหมือนผมสมัยหนุ่ม ๆ

ผมจบรุ่นเดียวกับ อ.บอย หมอดนัย ฯลฯ ... ถึงแม้ว่า หน้าตา ผมเผ้า หุ่นผมจะดูภูมิฐานกว่าเยอะก็ตาม แต่ยืนยันว่า รุ่นเดียวกันจริง ๆ ครับ ..ดูแล้วหลายคนทำท่าไม่เชื่อ ก็ลองถามอาจารย์ได้ ..

ก่อนที่จะคุยกันว่า ๑๐ ปีที่เป็นหมอทางเนต เป็นอย่างไรบ้าง ก็คงต้องเล่าความเป็นมากันซะหน่อย

ปี ๒๕๓๗ กลับมาทำงานที่ รพ.กำแพงเพชร เพราะผมเป็นคนจังหวัดกำแพงเพชร บ้านพ่อแม่ก็อยู่ที่นี่ ครอบครัว ภรรยาผมก็อยู่ที่จังหวัดนี้ เลยตัดสินใจง่าย ตอนมาทำงานที่ รพ. นอกจากทำหน้าที่เป็นแพทย์ออร์โธปิดิกส์ และได้รับโอกาสจากผู้อำนวยการ ให้ช่วยงานอื่นของ รพ. ทำโน่นนิดนี่หน่อยไปเรื่อย ๆ ยังไม่เปิดคลินิก ก็ทำตามที่ อ.ปื๊ด แนะนำ ผมยังจำได้ดี อจ.บอกว่า “ อย่าพึ่งเปิดคลินิก ให้ทำงาน รพ.อย่างเดียว สร้างชื่อเสียงสัก ๕ ปีก่อน พอมีชื่อเสียงคนรู้จักแล้วค่อยมาเปิด “ อาจารย์ว่าไง ผมก็ว่าตาม ..

ต่อมาก็ได้ทำหน้าที่ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและวิชาการ (พคบว) ซึ่งก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงการบริหาร การพัฒนาโรงพยาบาล มีการนำหลักการบริหารจากระบบเอกชนเข้ามาในรพ.รัฐ เช่น 5ส คิวซี โอดี ทีคิวเอ็ม จนกระทั่งพัฒนามาเป็น การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ( Hospital accreditation ) ถือว่าเป็นการเปิดมุมมองใหม่ ของการทำงาน ที่ไม่ได้เป็นเรื่องของ หมอ อีกแล้ว

ผมก็ได้แนวคิดที่นำมาปรับใช้กับการทำงานเป็นแพทย์เหมือนกัน เช่น ผมออกโอพีดี ก็เหมือนกับ รพ.ทุกแห่ง คือ ปริมาณผู้ป่วยเยอะมาก ตรวจ 80-100 คนต่อสามชั่วโมง เฉลี่ยตรวจ 2-3 นาทีต่อคน แค่ตรวจก็หมดเวลา ไม่ต้องพูดถึงการสอบถามพูดคุยอธิบาย ผมเลยทำเอกสารแจกผู้ป่วย พอตรวจเสร็จก็บอกว่าเป็นโรคอะไรจะรักษาอย่างไร แล้วก็แจกเอกสารให้ผู้ป่วยกลับไปอ่าน เลือกโรคที่พบบ่อย ทำจริงๆ ก็มีไม่กี่เรื่องหรอกครับ สัก 20 เรื่อง น่าจะได้ เพราะผมเชื่อว่า ถ้าผู้ป่วย(ญาติ) มีความรู้ว่า ตนเองเป็นโรคอะไร ต้องดูแลตนเองอย่างไร มีแนวทางรักษาอย่างไร เขาก็จะให้ความร่วมมือในการรักษามากขึ้น ท้ายที่สุดผลการรักษาก็น่าจะออกมาดีกว่า คนที่ไม่รู้อะไรเลย

ช่วงนั้น ก็ถือว่า ไฟแรง ทำงานทุ่มเทมาก ถึงแม้ว่างานจะค่อนข้างหนัก ยุ่งมาก แต่ก็สนุกและคุ้มค่า ได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก ถือว่าเป็นประสบการณ์ชีวิตที่น่าจดจำ ทั้งในแง่ดี และ แง่ร้ายสุด ๆ สำหรับน้อง ๆ ถ้าพอมีเวลาก็อยากให้ลองทำดูครับ ดีไม่ดี ก็ค่อยว่ากันอีกที แต่รับรองว่า คุ้มค่ากับการเสียเวลา เสียรายได้ ประสบการณ์แบบนี้ ถ้าไม่ทำตอนที่ไปทำงานใหม่ ๆ ก็จะไม่ได้ทำอีกเลย

หลังจากเป็นหัวหน้า พคบว.อยู่ ๕ ปี ไฟก็เริ่มหมด ได้พยายามทำในสิ่งที่คิดว่าทำได้ อยู่ต่อไป ก็คงไม่ได้ประโยชน์เท่าไหร่นัก จึงได้ของลาออกจากงานด้านบริหารกลับมาทำหน้าที่ของแพทย์ออร์โธปิดิกส์เพียงอย่างเดียว

ปี ๒๕๔๔ หลังจากที่ลาออกจากหัวหน้า พคบว. มาทำหน้าที่แพทย์ออร์โธปิดิกส์อย่างเดียว จากที่เคยยุ่งมาก ไม่มีเวลา ขณะนั้นมีหมอออร์โธฯ 3 คน มีวันผ่าตัด ออกโอพีดี อยู่เวร ถึงแม้งานจะหนัก แต่ก็ยังมีเวลาว่างมานั่งเล่นที่ห้องพักแพทย์ ซึ่ง ผอ.ติดเนตไว้ให้ เข้าเนตดูไปเรื่อย ช่วงนั้นก็จะมีเวบบอร์ดที่เกี่ยวกับด้านการแพทย์ อยู่ไม่กี่แห่ง หนึ่งในนั้นก็คือ

เวบพันทิบ ห้องลุมพินี //www.pantip.com/cafe/lumpini/ //www.pantip.com/cafe/lumpini/ ซึ่งก็จะมีคนมาตั้งคำถาม ด้านสุขภาพ ผมก็สมัครสมาชิก เพื่อเข้าไปตอบคำถามให้คำแนะนำ

ส่วนอีกเวบก็จะเป็นเวบไทยคลินิก www.thaiclinic.com นอกจากจะมีส่วนที่ตอบปัญหาสุขภาพแล้วก็ยังมีห้องพักแพทย์ //www.thaiclinic.com/doctorroom/ เพื่อให้แพทย์และคนทั่วไปได้เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน สารพัด ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับแพทย์ ก็ได้

ในขณะนั้นก็เริ่มมีข่าวเรื่องการฟ้องร้อง ตามหนังสือพิมพ์ ตามทีวี และในเนต ทั้งรพ.เอกชน รพ.รัฐ ที่ดัง ๆ ก็ รพ.สมิติเวช หมอเด็กถูกฟ้องจากพ่อแม่ ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์ดีต่อกันมาตลอดหลายปี เรียกค่าเสียหาย 600 ล้านบาท หรือ มหากาพย์คดีคุณ ดลพร (ปรียานันท์ ) ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ฟ้องร้อง รพ.เอกชน นั่นยังไม่เท่าไหร่เพราะเป็น รพ.เอกชน แต่พอมีข่าวฟ้องร้อง ศิริราช ลงข่าวหน้าหนึ่ง ผมก็เริ่มรู้สึกว่ามันผิดปกติ การแสดงความเห็นในเนตรู้สึกได้เลยถึงความเปลี่ยนแปลงในแง่ของทัศนคติต่อวิชาชีพแพทย์ ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเกิดจากอะไร แต่ถ้าขนาดโรงเรียนแพทย์ยังโดนฟ้อง มันย่อมไม่ใช่เรื่องธรรมดาแน่ ๆ ผมเลยเปิดคลินิกส่วนตัวเผื่อเป็นช่องทางสำรองไว้ก่อน

ผ่านไปสี่ห้าปี เหตุการณ์เป็นอย่างที่คาดไว้ ความต้องการของผู้ป่วย(ญาติ)เยอะขึ้น ขอให้ส่งตัว อยากได้ยาโน้นนี่ มีข่าวเรื่องฟ้องร้องเยอะขึ้น แล้วก็มาถึง รพ.กำแพงเพชรจนได้ หมอเด็ก หมอศัลย์ น้องพชท. โดนฟ้องคดีอาญา ผ่าตัดไส้ติ่งเด็กแล้วหลังผ่าเสียชีวิต คดีนี้ก็ดังมาก ลงหนังสือพิมพ์ ออกทีวี ในเนตก็แรง เนื่องจากเป็นคดีของ รพ.กำแพงเพชร ผมจึงได้เห็นวิธีการจัดการปัญหาของ รพ. สสจ. และ กระทรวงสาธารณสุข ผมเองก็เคยมีคนไข้เสียชีวิต แล้วลงหนังสือพิมพ์ ยังรู้สึกแย่มากเลยครับ แต่หมอเหล่านั้น เป็นจำเลยคดีอาญา หนักกว่า ผมโดนเยอะ ประกอบกับคลินิกพอไปได้ ออกไปครอบครัวก็ไม่อดตายแน่ ผมก็เลยตัดสินใจลาออกจากราชการ

ปี ๒๕๔๘ ผมได้ตัดสินใจลาออกจากราชการ มาเปิดคลินิกส่วนตัว ช่วงนี้แหละครับ ที่เข้ามาสู่โลกออน์ไลน์ มากขึ้น เนื่องจากที่คลินิกผมใช้ระบบคอมพิวเตอร์ พอเปิดคอมก็จะออนไลน์เข้าเนต ไว้เลย พอมีเวลาว่าง ไม่มีคนไข้ ผมก็จะเข้าไปดู เวบพันทิบ ห้องลุมพินี กับ เวบไทยคลินิก ห้องพักแพทย์ เข้าไปตอบกระทู้ถามปัญหาสุขภาพ และพูดคุยกับสมาชิกในห้องพักแพทย์ ก็จะได้รู้จักคนโน้นคนนี้ ผ่านตัวอักษร ผ่านจอคอมพิวเตอร์

จากที่เข้าไปตอบปัญหาสุขภาพ ผมก็พบว่าส่วนใหญ่แล้วคำถามก็จะซ้ำ ๆ กันจึงคิดว่าจะทำเวบเพื่อให้ความรู้เรื่องโรคต่าง ๆ ตอบปัญหาที่พบบ่อย เวลาเจอคำถามก็ลิงค์มาที่หน้าเวบเลย จะได้ไม่ต้องพิมพ์ซ้ำบ่อย ๆ แต่พอไปอ่านหนังสือหาความรู้เพื่อทำเวบเอง ก็รู้สึกว่าเสียเวลา ยุ่งยาก จนกระทั่งมาพบว่า ในพันทิบเอง ก็มีบล็อกสำเร็จรูป //www.bloggang.com ง่ายสะดวก และสำคัญที่สุดก็คือ ฟรี

คราวนี้ผมก็สบาย นำบทความที่เคยทำไว้แจกผู้ป่วย มาลงในบล็อกทั้งเขียนเอง หรือไปรวบรวมจากเวบอื่น ๆ โดยผมก็จะเน้นเรื่องที่เกี่ยวกับ โรคกระดูกและข้อ เป็นหลัก ต่อมาก็เริ่มมีเพิ่มไปเรื่อยๆ จนตอนนี้มีทั้งหมด 600 Blog และได้รับรางวัลที่ 3 Best Health Blog และThailand Blog Awards 2010 ..ด้วยนะครับ ถ้าสนใจก็แวะไปดูได้ที่ //cmu2807.bloggang.com

นอกจากมี บทความ โรคทั่วไป โรคกระดูกและข้อ ความคิดเห็นด้านสุขภาพ แล้วยังมีแนะนำร้านอาหารรสอร่อย ของจังหวัดกำแพงเพชรด้วย เผื่อใครผ่านมาก็จะได้มีข้อมูล เพราะผมเอง เวลาไปเที่ยว นอกจากดูที่เที่ยวแล้ว ก็ยังชอบค้นหาร้านอาหารอร่อย ๆ ด้วย ประมาณ เที่ยวไปกินไป นะครับ



หลายท่าน อาจสงสัยว่า ทำแบบนี้ เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา หมอ จะได้อะไร???

ในตอนที่เริ่มเข้ามาเป็นหมอทางเนต ให้คำปรึกษา ผมก็คิดเพียงว่า ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ หรือถ้าพูดกันตรง ๆ ก็คือ ว่าง เลยหาอะไรทำแก้เบื่อแก้เซ็ง

ผมคิดว่า การเข้ามาตอบปัญหา หรือ เขียนบทความ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ ช่วยเหลือผู้อื่น ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงเล็กน้อย แต่ก็น่าจะดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

เคยมีคนบอกเหมือนกันว่า หมอไม่ควรตอบปัญหาในเนต เพราะข้อมูลไม่พอ อาจทำให้วินิจฉัยผิด ทำให้เข้าใจผิด แต่ผมกลับคิดว่าถ้า คนที่มีความรู้ ไม่เข้ามาตอบคำถาม จะให้คนที่ไม่รู้ มาตอบ งั้นหรือ ???

แต่ผมก็เห็นด้วยที่ว่า การได้รับข้อมูลผ่านตัวอักษร ผ่านเวบ คงไม่สามารถที่จะบอกได้อย่างแม่นยำว่า เป็นอะไรต้องรักษาอย่างไร ถ้าจะวินิจฉัยโอกาสพลาดสูงมาก แต่ถ้ามองในแง่ที่ว่า เป็นการให้ความรู้ ให้คำแนะนำเบื้องต้น เพื่อที่ผู้ป่วย(ญาติ)ไปพบแพทย์ ก็จะได้พูดคุยปรึกษาสอบถามกันสะดวกรวดเร็วขึ้น เพราะมีความรู้มาบ้างแล้ว ผมก็คิดว่า น่าจะดีด้วยกันทั้งผู้ป่วย(ญาติ) และ แพทย์

ประเด็นเรื่องให้ความรู้ให้คำปรึกษาผ่านเวบ ก็ยังเคยเสนอในที่ประชุม ราชวิทยาลัยออร์โธฯ ว่าน่าจะมีการทำเป็นบทความ ลงไว้ในเวบ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาอ่าน ถ้าให้ เรสิเดนท์ ทุกคนช่วยเขียนคนละหนึ่งเรื่องก็ได้ปีละเป็นร้อยเรื่อง บางท่านก็บอกว่า อาจมีปัญหาเพราะเวบราชวิทยาลัยฯ ถือว่าเป็น เวบอย่างเป็นทางการ มันก็ถูก แต่ว่า ถ้าเข้าไปดูเวบของ AAOS จะเห็นว่ามีบทความเพียบ ทำไม เขาทำได้ ผมน่าจะพูดเรื่องนี้ สองสามปีติดกัน แต่ไม่มีอะไรเปลี่ยน ปีนี้ก็เลยว่าจะไม่พูดเรื่องนี้อีกแล้ว

เวบราชวิทยาลัยออร์โธฯ ไม่ทำ แต่ ภาควิชาออร์โธ ฯ ศิริราช รามา จุฬา ทำได้ ??? และ ที่ผมคิดว่า น่าจะเป็นเวบออร์โธที่ดีที่สุดในประเทศไทย ก็คือเวบ Thai Spine .com ของ อ.ทายาท วันหลังก็ลองแวะไปชมนะครับ www.thaispine.com

น้อง ๆ ที่กำลังเทรน อาจคิดว่า แบบนี้ ก็งานเข้า แค่ที่เป็นอยู่ก็หนักหนาแล้ว ยังจะมาเพิ่มงานอีก แต่อยากบอกน้องว่า การเขียนบทความเหล่านี้ เป็นการฝึกเรียบเรียง สรุปข้อมูลความรู้อันมากมายมหาศาล ให้เหลือหนึ่งหรือสองหน้ากระดาษ เพื่อสื่อให้ชาวบ้านเข้าใจ แปลงจากภาษาเทคนิคทางการแพทย์ ให้เป็นภาษาชาวบ้าน เวลาออกไปทำงานในต่างจังหวัด ก็จะสบายขึ้น

หลายท่านอาจคิดว่า คำถามอาจยาก ตอบไม่ได้ อันนี้ไม่ต้องกังวลเลยครับ 99.99 % เป็นคำถามพื้น ๆ ทั่วไป ที่ยากจริง ๆ ตอบไม่ได้ก็มี ก็บอกไปตรง ๆ ว่า ตอบไม่ได้ ข้อมูลไม่เพียงพอ ให้ไปพบแพทย์ตัวเป็นๆ แล้วก็ถามแพทย์อีกที หรือไม่ก็แนะนำให้ไปพบกับอาจารย์ ที่ภาคออร์โธ ก็ได้ ผมเองก็แนะนำให้ผู้ป่วยหลายคนมาพบอาจารย์ ประมาณว่า ง่าย ๆ ผมตอบไปก่อน ส่วนยาก ๆ ส่งให้อาจารย์ดูแลรักษาต่อ

นอกจากใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แล้ว รู้สึกสบายใจที่ได้ช่วยเหลือคนอื่นแล้ว ก็ยังได้รับ “ มิตรภาพ จากคนที่ไม่เคยพบหน้า “ ที่ส่งผ่านมาทาง ขนม สคส. บัตรอวยพร หนังสือ เสื้อผ้า โมเดลรถแข่ง ปากกา มีหลายท่านขับรถผ่านจังหวัดกำแพงเพชร ก็มาแวะหาผม เพื่อขอบคุณ เอาหนังสือมาให้เซนต์ชื่อ เอาขนมผลไม้มาฝาก บางท่านก็ส่งเมล์เชิญชวนให้ไปเที่ยวไปพักที่บ้าน ซึ่งมีทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มันอาจเป็นสิ่งที่น่าแปลกที่ใครจะชวนคนที่ไม่เคยเห็นหน้า มาเที่ยวบ้าน แต่ว่ามิตรภาพ ความรู้สึกดี ๆ แบบนี้ ก็เกิดขึ้นได้ผ่านโลกออน์ไลน์

อีกประเด็นที่สำคัญ ก็คือ ผมก็ได้เห็นมุมมอง ทัศนคติ ผ่านการแสดงความเห็นในกระทู้ จาก ผู้ป่วย หรือ ญาติ ซึ่งในชีวิตจริง คงไม่มีใครมาพูดเรื่องแบบนี้ให้ หมอฟัง แต่ในเนตมีเยอะมาก โดยเฉพาะคำติ บางอย่างก็เกิดจากปัญหาของระบบบริการ บางอย่างก็เกิดจากตัวแพทย์เอง บางอย่างก็เกิดจากความไม่รู้ของผู้ป่วย(ญาติ)เอง

ในแง่ร้าย ๆ ก็มีเหมือนกันนะครับ เคยมีคนตั้งกระทู้ว่า จะฟ้องแพทย์ ได้หรือไม่ เพราะแนะนำแล้วไม่หาย ??? ฟังแล้วอึ้ง ให้คำแนะนำฟรี ๆ ตามหลักวิชาการ ยังจะมาฟ้องอีก แต่ก็มีแค่ครั้งเดียวที่เจอแบบนี้

ที่พบบ่อยกว่า คือ บางคนที่มีประสบการณ์ที่ไม่ได้กับแพทย์ แล้วก็มาตั้งกระทู้ กล่าวหา ด่าว่า แพทย์แผนปัจจุบัน ทุกคนไม่ดี รักษาไม่หาย เห็นแก่เงิน ฯลฯ พอมีหมอคนไหนเข้าไปชี้แจงก็จะถูกตอบโต้ด้วยคำรุนแรง เสมือนว่า หมอที่เข้าไปตอบนั้นเป็นคนผิด จนกลายเป็นการทะเลาะผ่านทางหน้าจอ

ถ้าเจอคนแบบนี้ ผมก็จะไม่เข้าไปร่วมด้วย เพราะ ผมคิดว่า ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะเข้าไปชี้แจงแสดงความคิดเห็น หรือ ถ้าเป็นครั้งแรก ก็จะเข้าไปแสดงความคิดเห็น ถ้าเขาไม่ฟัง ผมก็หยุด เพราะ ผมไม่สามารถที่จะไปเปลี่ยนความเชื่อของเขา จากตัวอักษรไม่กี่ตัว แล้วผมก็คิดว่า ผมเอาเวลาไปช่วยเหลือคนอื่นที่เขาต้องการดีกว่า แต่อย่างน้อย ผมก็ได้รับรู้ว่า มีผู้ป่วย(ญาติ) บางคนคิดอย่างไรกับแพทย์ ถึงแม้ว่าคนเหล่านั้นจะมีจำนวนน้อยมาก ๆ แต่มีโอกาสเหมือนกันที่ผมจะแจ๊กพ๊อดเจอกับผู้ป่วย(ญาติ) แบบนั้น

มีหลายครั้งเหมือนกันที่พอได้รับคำอธิบาย ก็เกิดความเข้าใจ ยกตัวอย่างกรณีหลังสุด เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว มีลูกผู้ป่วยผ่าตัด TKA ปรึกษาว่า หลังผ่าเข่าแล้วเป็นหนอง นอน รพ.มาสามอาทิตย์แล้ว มีคนบอกเขาว่า เกิดจากแพทย์เย็บไหมละลายแน่นเกินไป เป็นความผิดของแพทย์ ต้องฟ้องร้อง เขาเลยอยากปรึกษาว่า จริงหรือไม่ ??? ก็ถามตอบกันไปหลายรอบ เขาก็เข้าใจมากขึ้น แล้วก็คิดว่า ไม่ฟ้องหมอแล้ว ความเข้าใจผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ คำพูดของคนบางคน ก็ทำให้กลายเป็นเรื่องฟ้องร้องได้เหมือนกัน



หมอที่ไม่ดี ก็มี คนไข้(ญาติ)ที่ไม่ดี ก็มีเช่นกัน สภาพในตอนนี้ และ ในอนาคตก็เลยกลายเป็นว่า ต่างฝ่ายต่างระแวง หมอก็กลัวคนไข้ กลัวญาติ ฟ้องร้อง คนไข้ก็กลัวเจอหมอชุ่ย หมอดูแลไม่ดี พอมีอะไรนิดหน่อยก็เลยฟ้องร้องไว้ก่อน มีตัวอย่างเยอะแยะ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ และ ทีวี ก็หวังว่า พวกเราคงไม่มีใครเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนะครับ


โลกออนไลน์ ก็ไม่แตกต่างอะไรกับชีวิตจริงนัก มีทั้งคนดี คนไม่ดี มีความจริง มีความลวง จะมีที่ต่างกันก็คือ ไม่ได้เห็นหน้า ไม่ได้พูดคุยกันโดยตรงเท่านั้นเอง บางคนบอก ดูจากรูป หรือ ผ่านเวบแคม ก็ได้ แต่แน่ใจหรือครับว่า ที่เห็นนะ ของจริง ทำปลอมได้ทั้งนั้น แล้วก็ทำได้ง่ายมากด้วย ขนาดเจอหน้ากันคุยกันทุกวัน บางคนยังไว้ใจไม่ได้เลย ประสาอะไรกับคนที่ไม่เคยเจอกันจริง ๆ บางคนในเนตกล้ามาก ตอบโต้ชวนทะเลาะไปทั่ว แต่พอเจอตัวจริง กลับขี้อายมาก เป็นแค่ นักเลงตัวอักษร เท่านั้น


ในบางครั้ง เราอาจรู้จักตัวตน บางคน อย่างแท้จริง ผ่านโลกออนไลน์ มากกว่าชีวิตจริง ก็ได้ เพราะในโลกออนไลน์ ไม่มีใครรู้ว่า ใครเป็นใคร จึงสามารถแสดงตัวตน แสดงความรู้สึก ความคิดเห็นกันได้เต็มที่ ทำให้คนกล้าแสดงความคิดเห็น มีช่องทางระบายความไม่พอใจ รวมไปถึงการชี้ให้เห็นความผิดปกติหรือกลโกงต่าง ๆ ให้กับสังคมในวงกว้างได้รับรู้


ผมเชื่อว่า อีกไม่นาน โลกออน์ไลน์ก็จะเป็นชีวิตประจำวันของคนรุ่นหลัง ตอนนี้ เด็กในเมือง ก็เข้าเนตเล่นเกม แชตกัน เล่นเฟสบุ๊ก เราคงไม่สามารถไปต้านทานอะไรได้ ผมอยากจะบอกว่า แพทย์เราเองก็ต้องปรับตัวด้วยเหมือนกัน


สำหรับแพทย์ ที่ได้พบ ได้ตรวจผู้ป่วยโดยตรง

เนื่องจากตอนนี้มีข้อมูล มีการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับโรคต่างๆ แนวทางรักษา อยู่ในเนตเยอะแยะ ผู้ป่วย(ญาติ) สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่ายมาก

จึงอยากให้คุณหมอรับฟังคำถาม รับฟังสิ่งที่ผู้ป่วย(ญาติ)เล่าให้ฟัง อย่าพึ่งตัดบทว่า อย่าไปเชื่อ ไม่จริง หรือ อย่าพึ่งรำคาญว่า เรื่องมาก รู้มาก หรือตอบกลับไปว่า คุณเป็นหมอหรือไง ??? คุณไม่เชื่อผมก็ไปรักษาที่อื่น ??? คิดไปว่า ที่ผู้ป่วย(ญาติ)ถามนั้น เพราะ ไม่เชื่อถือตนเอง ไม่เชื่อว่าตนเองเก่ง ซึ่งบางทีก็จะทำให้เกิดความไม่พอใจ เกิดปัญหาตามมา

เอาเป็นว่า ลองฟังไปก่อน เมื่อฟังแล้ว เห็นว่า อะไรไม่ถูกต้องก็แนะนำ แก้ไขให้เข้าใจถูกต้อง ยังไง หมอที่ได้ตรวจได้พูดคุยกับผู้ป่วย(ญาติ) ก็ได้เปรียบกว่าหมอทางเนตที่ไม่ได้ตรวจผู้ป่วยอยู่แล้ว



สำหรับหมอทางเนต ที่ให้ข้อมูล คำแนะนำ ผ่านเนต ไม่ได้ตรวจผู้ป่วย

ข้อมูลตัวอักษรที่ได้รับมา อาจไม่ครบถ้วน หรือ อาจเข้าใจคลาดเคลื่อน ทำให้ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยโรค ดังนั้นอย่าสรุปฟันธงว่า ต้องเป็นโรคนั้น ต้องรักษาแบบนี้ ขอให้คุณหมอตอบแบบกลาง ๆ ว่า อาจเป็น น่าจะเป็น แล้วให้ความรู้ให้แหล่งข้อมูลว่า จะไปหาเพิ่มเติมที่ไหนได้บ้าง หรือในกรณีที่ไม่แน่ใจก็ควรแนะนำไปตรวจกับแพทย์

ผมก็เคยเจอคนไข้(ญาติ) หลายคนเหมือนกันที่มาตรวจกับผมแล้วก็ฝังใจไว้เลยว่าต้องเป็นโรคนี้ เพราะไปค้นในเนต และ ถามหมอในเนตมาแล้ว ซึ่งบางคนก็ไม่ยอมเปลี่ยนความคิด อันนี้ ก็ต้องเลยตามเลย ปล่อยเขาไป หรือไม่ก็ส่งมาให้อาจารย์จัดการต่อ



คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ญาติ หรือ ประชาชนทั่วไป ที่ได้รับข้อมูลผ่านเนต

สำคัญที่สุดเลย ก็คือ อย่างเชื่ออะไรง่าย ๆ ให้ถามตัวเองเสมอว่า “ จริงหรือ ???” ข้อมูลในเนตทำขึ้นได้ง่ายมาก ดังนั้นก็จะมีโอกาสสูงมาก ที่จะได้รับข้อมูลที่ผิด ๆ ซึ่งอาจเกิดจากความตั้งใจของผู้ให้ข้อมูล หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ก่อนเสมอ มีข้อแนะนำง่าย ๆ เช่น

แหล่งข้อมูลมาจากไหน แพทย์ หน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน และต้องตรวจสอบต่อว่า แหล่งข้อมูลนั้น จริงอย่างที่อ้างไว้หรือไม่ ผมเคยพบอ้างชื่อเป็นแพทย์ แต่พอเข้าไปตรวจสอบรายชื่อของแพทยสภา กลับไม่มีชื่อที่อ้างถึง

เนื้อหาน่าเชื่อถือหรือไม่ อาจลองหาข้อมูลจากเวบอื่น ว่าตรงกันใกล้เคียงกันหรือไม่ เดี๋ยวนี้มีการนำมาอ้างอิงแก้ไขบางตอน อ้างสถาบัน อ้างคนที่มีชื่อเสียง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น ที่พบบ่อยที่สุดก็คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อ้างว่า ผ่าน อย. (องค์การอาหารและยา) ได้รับการรับรอง จาก อย.แล้ว ประชาชนก็เข้าใจผิดว่า อย.รับรองว่าได้ผลจริงตามที่โฆษณา แต่ความเป็นจริงคือ อย. แค่รับรองว่า ส่วนผสม ขั้นตอนการผลิตไม่เป็นอันตราย ไม่ได้รับรองว่า จะได้ผลจริง ตามโฆษณา สินค้าบางอย่าง ตอนส่งไปขออนุญาต โฆษณาให้ อย. ส่งไปอย่างหนึ่ง แต่พอตอนโฆษณาจริง กลับเป็นอีกอย่าง ที่หนักสุดเลยก็คือ อ้าง อย. มีเลขที่ อย. แต่เป็นของปลอมทั้งหมด

สรุป ก็คือ “ อย่าเชื่อ อะไร ง่าย ๆ “ ไม่เช่นนั้นนอกจาก เสียเงิน เสียสุขภาพแล้ว ยังจะเจ็บใจ ที่ถูกหลอก อีกต่างหาก ...




ถ้ายังพอมีเวลา อยากจะพูดเรื่อง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ฯ หน่อยนะครับ ผมเชื่อว่า ส่วนใหญ่ก็คงพอทราบกันมาบ้างแล้ว เรื่องนี้ก็เป็นตัวอย่างของสิ่งที่คนคิดว่า ดี แต่พอออกมาแล้วมันไม่ดีอย่างที่คิด ซึ่งที่ผ่านมาก็มีตัวอย่างเช่น ระบุให้แพทย์ต้องออกไปชันสูตรพลิกศพ ในกรณีเสียชีวิตผิดธรรมชาติ ใน มต. 150 แห่งกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีเจตนาดี คือ ให้แพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ไปช่วยคานอำนาจของฝ่ายตำรวจ อัยการ ช่วยทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น แต่เมื่อกฎหมายนี้ออกมา สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หลายแห่งทำไม่ได้ ปัญหาที่ตามมาก็คือ ถ้าแพทย์ไม่ออกไปชัณสูตร แพทย์ก็มีความผิดถูกปรับ หรือจำคุกได้ ตอนนี้ยังไม่มีตัวอย่างแพทย์ที่โดนฟ้องด้วยข้อหานี้ แต่ในอนาคตก็ไม่แน่เหมือนกัน ถ้าเกิดมีใครฟ้องร้องต่อศาลขึ้นมา แพทย์ ก็รับไปเต็ม ๆ


เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนของ เรื่องดี ๆ ที่ทำไม่ได้ในชีวิตจริง เหมือนบอกว่า รถเบนซ์ดี หมอทำไมไม่ขับเบนซ์ละ ผมรู้ว่าเบนซ์ดี แต่ที่ไม่ขับก็เพราะว่า ผมไม่มีเงิน ไม่ใช่ไม่รู้ว่า มันดี

ขอบคุณครับ ..














 

Create Date : 09 พฤศจิกายน 2553   
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2553 12:25:57 น.   
Counter : 2187 Pageviews.  

เชิญชาวออร์โธ เชียงใหม่ ร่วมประชุมวิชาการและแสดงมุฑิตาจิตเกษียณอายุราชการ ..ในวันเสาร์ ๒๕ กย. นี้





เชิญศิษย์เก่า ออร์โธ เชียงใหม่ ร่วมประชุมวิชาการและแสดงมุฑิตาจิตเกษียณอายุราชการ


อ.นริศ ทิรานนท์ อ.วัชระ รุจิเวชพงศธร และ อ.วริยา สาคเรศ

วันเสาร์ที่ ๒๕ กย ๒๕๕๓

ณ กรีนเลค รีสอร์ท แอนด์ สปา
230 หมู่ 2 ถ.เลียบคลองชลประทาน (ทางไปสนามกีฬา ๗๐๐ ปี จ.เชียงใหม่)
โทร. (66) 053 112888 (10 lines)

//www.greenlakechiangmai.com




กำหนดการ

๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓ - ๑๔.๐๐ น. สปสช to Hospital director
โดย นพ.ปิยะ เนตรวิเชียร

๑๔ - ๑๕.๐๐ น. ประสบการณ์ ๑๐ ปี .. เมื่อผมมาเป็นหมอทางเนต
โดย นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์

๑๕ - ๑๖.๐๐ น. From orthopedist to Pilot
โดย นพ.สุดจิต เพชรสุสมวิไล

๑๖ - ๑๗.๐๐ น. VAC for wound
โดย นพ.สำราญ ภูฆัง


๑๘ - ๒๓.๐๐ น. งานเลี้ยงแสดงมุฑิตาจิต

การบรรยาย ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพันธ์ ผดุงเกียรติ

การบรรยาย ของ นส.อารียา ศิริโสภา (อดีตนางสาวไทย)

การแสดง ของ นักศึกษาแพทย์ ปี ๔ , ๕ และ ๖

การแสดง ของ แพทย์ประจำบ้าน



สนใจรายละเอียด ติดต่อสอบถามได้ที่ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ 053 - 945 544

เพื่อนพ้องน้องพี่ พบกัน ๒๕ กย. นี้ นะครับ .. อย่าลืม อย่าพลาด





 

Create Date : 01 กันยายน 2553   
Last Update : 1 กันยายน 2553 19:21:08 น.   
Counter : 1972 Pageviews.  

1  2  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]