Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง ... รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (นำมาฝาก)





slideประกอบการบรรยาย "ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง"
สำหรับเพื่อนแพทย์ทุกท่าน
ขอบคุณความรู้จากท่านผู้พิพากษา ท่านอัยการ และเพื่อนนักกฎหมาย
แต่ไม่ว่าอย่างไรดี การไม่ถูกฟ้องคือสุดยอดปรารถนา

รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ

สรุปการบรรยาย "ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง"
https://www.facebook.com/methee.wong.7/posts/6175808509113328

ไฟล์ดาวโหลด
https://drive.google.com/file/d/12JQnIFAqBGXWIfhNrzlbr23an18sRkf5/view?fbclid=IwAR2ThNeoWDtzMyryyegaUYPT8CZMw6vVsiGdz9akjq7O23hEkeaqULFM31U

..........................................

สำหรับเพื่อนแพทย์ทุกท่าน
คงไม่มีใครอยากโดนฟ้อง

คนที่โดนฟ้อง...มักเป็นคนที่ไม่คิดว่าจะโดนฟ้อง...และมักเป็นคนที่ไม่สนใจเรื่องนี้มาก่อนเลย !!!

ถ้าท่านคิดว่าท่านเป็นฝ่ายผิด...ดีที่สุดคือ "ไกล่เกลี่ย"
หากท่านมั่นใจว่าเป็นฝ่ายถูก...การต่อสู้คดี เป็นทางออกหนึ่งที่จะพิสูจน์ความจริงต่อสาธารณชน และรักษาเกียรติศักดิ์ของท่าน...แต่ต้องอดทนและต้องต่อสู้โดยมีเข็มทิศที่ถูกต้องนำทาง



(๑) การที่คดีแพทย์ถูกจัดให้เป็นคดีผู้บริโภค ทำให้เกิดภาระหนักตกอยู่ที่แพทย์ เพราะ “แพทย์มีหน้าที่ต้องพิสูจน์” + “พิสูจน์ว่าตนเองไม่ได้ประมาทตามที่โจทก์กล่าวอ้าง”



(๒) สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อโดนฟ้องคือ “สติ”

ท่านจะต้องมีสติ และอาจไม่มีเวลาสำหรับ “ทำใจ” เท่าใดนัก เพราะตามกฎหมายแล้วจะมีเงื่อนเวลาหลายอย่างที่แพทย์ต้องรีบทำให้ทันภายในกำหนด โดยเฉพาะ “การทำคำให้การแก้ฟ้อง” ดังนั้นคนที่จะช่วยท่านได้ คือ ทีมแพทย์พยาบาลที่เกี่ยวข้องในคดีและที่สำคัญที่สุดคือ “ทีมนักกฎหมาย” ไม่วาจะเป็น อัยการ ทนายความ หรือนิติกร ...ท่านต้องรีบหาทีมAvengersเหล่านี้มาช่วยเหลือท่าน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องข้อกฎหมายและระเบียบวิธีการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านไม่อาจรู้ได้เอง


(๓) ตรวจสอบ Checklists ที่ต้องเตรียมตัวในการต่อสู้คดี (เมื่อท่านมั่นใจว่าท่านมิได้กระทำผิดตามคำกล่าวฟ้องของโจกท์)
- สรุปเรื่องราว ... และควรทำเป็น TimeLine ให้ชัดเจนสำหรับคนนอกที่ไม่ใช่แพทย์จะได้ลำดับเหตุการณ์ได้ง่ายและถูกต้อง....ประเด็นคำฟ้อง ทุนทรัพย์ มาตราที่ใช้ฟ้อง
- ตรวจสอบเบื้องต้น .. วันครบกำหนดยื่นคำให้การ อายุความ อำนาจฟ้อง ฟ้องผิดตัว ฟ้องไม่ครบคน
- ตรวจสอบโดยละเอียด .. ข้อเท็จจริงในคำฟ้องคลาดเคลื่อนหรือไม่ พยานหลักฐาน พยานบุคคล พยานเอกสาร
- พยาน .. พยานบุคคลที่เป็นกลาง มีความน่าเชื่อถือพร้อมแสดงให้ศาลเห็นว่าทำไมพยานเราจึงน่าเชื่อกว่าพยานโจทก์ พยานเอกสารมีความสอดคล้องกันหรือไม่ พยานที่ศาลไม่อาจปฏิเสธการรับฟัง เช่น ภาพถ่าย คลิปVDO
- การต่อสู้คดี ...ต้องร่วมมือกับทนายหรืออัยการ อย่าปล่อยให้เขาสู้คดีตามลำพัง ทำลายความน่าเชื่อถือพยานที่โจทก์นำมาทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารด้วยพยานฝ่ายเรา (ซึ่งควรเตรียมพยานเอกสาร ตำราวิชาการไว้ด้วย)



(๔) ประเด็นสำคัญที่สุดต่อการแพ้ชนะในคดี ที่ท่านต้องต่อสู้(ชี้แจง)ให้ศาลเห็นด้วยกับท่าน คือ

(๑) มาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานวิชาการ เข่นภาวะวิสัยพฤติการณ์ ประสบการณ์ สถานที่ทำงาน ว่าเป็นอย่างไร (ท่านมีประสบการณ์มากี่ปี ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์จบใหม่ รพ.มีข้อจำกัดอะไร ภาระงานที่ท่านมีคืออะไร หรือ ณ วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ มีสถานการณ์พิเศษอะไรเช่น คนไข้เทกระจาดมาพร้อมกัน ท่านเป็นแพทย์เวรเพียงคนเดียวแต่ต้องรับมือผู้ป่วยพร้อมกันหลายคน เป็นต้น) ท่านอดหลับอดนอนมาเท่าไร ท่านอยู่เวรปฏิบัติงานในช่วงเวลาดังกล่าวมากน้อยเพียงใด ..ทั้งนี้เพื่อให้ศาลเห็นว่าท่านมีข้อจำกัดอะไร ....เพราะโจทก์มักบรรยายฟ้องเสมือนว่าท่านเป็นแพทย์ที่เลอเลิศ เป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง วัน ๆ ท่านไม่ทำอะไร ท่านมีภาระงานไม่มาก หรือคิดเอาเองว่ารพ.ที่ท่านทำงานมีความพร้อมเหมือนกับ รร.แพทย์...

ประเด็นต่าง ๆเหล่านี้ศาลมิอาจรู้ได้เอง...ท่านต้องบรรยายให้ศาลทราบถึงข้อจำกัดเหล่านี้
หากมีเอกสารต้องเตรียมไปให้เรียบร้อยพร้อมแปลเป็นไทยให้ศาลเข้าใจ

(๒) ข้อยกเว้นความรับผิดทางละเมิด เช่นการให้ความยินยอม เหตุสุดวิสัย และความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล




(๕) ไม่ว่าท่านมั่นใจว่าจะชนะคดีมากแค่ไหนก็ตาม

ในคำแก้ฟ้อง และในการต่อสู้ในชั้นศาล ...ท่านต้องต่อสู้ในประเด็นนี้ด้วยเสมอ

ไม่อย่างงั้น...หากท่านแพ้คดี... ท่านอาจต้องจ่ายสินไหมในฐานกระทำละเมิดมากกว่าที่ควรจะต้องเสีย



(๖) ระมัดระวังเรื่อง “ค่าเสียหายเชิงลงโทษ (Punitive damage)” ซึ่งศาลอาจสั่งให้ท่านจ่ายหากเห็นว่าท่านกระทำการเข้าข่าย เช่น เจตนา ประมาทเลินเล่อร้ายแรง เอาเปรียบผู้ป่วยโดยไม่เป็นธรรม ไม่นำพาต่อความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ป่วย .....ถ้าท่านมีพฤติการณ์เหล่านี้...ศาลอาจมีคำพิพากษาเกินคำขอได้



(๗) slideนี้ เป็นขั้นตอนมาตรฐานที่ "ต้อง" เกิดขึ้น และ "ต้อง" เป็นไปตามนี้ หากท่านปฏิบัติงาน ณ รพ.ของรัฐ และท่านเป็นพนักงานของรัฐ (ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ) และคดีที่เกิดขึ้นเกิดเนื่องจากการปฏิบัติงานในหน้าที่รัฐ

หากนิติกร หรือทีมที่รับผิดชอบในรพ.ที่ท่านปฏิบัติงานอยู่ไม่ทำตามขั้นตอนนี้...ท่านอาจแพ้คดีแบบ Technical KnockOutได้ (แพ้แบบไม่ควรแพ้)

แต่แม้ท่านปฏิบัติงานในภาคเอกชน ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยตัดส่วนราชการที่ไม่เกี่ยวข้องออก และเปลี่ยนจากอัยการที่จะทำคดี เป็นทนายความแทน

และ "อย่า"ปล่อยให้การต่อสู้คดีเป็นหน้าที่ของนักกฎหมาย โดยที่ท่านปล่อยปละละเลยไม่ติดตามรายละเอียด ...แม้จะมี พรบ.ความรับผิดทางละเมิด คุ้มครองท่านอยู่ในกรณีที่ท่านทำงานในรพ.รัฐก็ตาม (อย่าลืมว่า หากแพ้คดี ก็ยังมีสิทธิโดนไล่เบี้ย !!ได้)


..................................................


🎯หัวข้อ
“ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง” และ
“practical point in drug allergy for physicians”
.
📅วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565⏰
เวลา 13.00 น. - 16.00น.
รับชมผ่าน Facebook live เพจแพทยสภา ที่
https://www.facebook.com/thaimedcouncil
...........................................
กำหนดการ
⏰13.00 - 13.10 น. :
กล่าวความเป็นมาการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 5
โดย พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ
เลขาธิการแพทยสภา
⏰13.10 - 13.20 น. :
กล่าวเปิดการบรรยาย
โดย ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์
นายกแพทยสภา
⏰13.20 - 13.40 น. :
ความรู้สำหรับ แพทย์โดนฟ้องร้อง ในมุมมองจากแพทยสภา
โดย พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ
เลขาธิการแพทยสภา
⏰13.40 - 14.10 น. :
ความรู้สำหรับ แพทย์เมื่อโดนฟ้องร้อง ในมุมมองจากอัยการ
โดย นาย อังคาร เพชรอาวุธ
อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
⏰14.10 - 15.00 น. :
เสวนา ความรู้ทางกฎหมาย สำหรับที่แพทย์ต้องทราบ
โดย นาย อังคาร เพชรอาวุธ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด รศ.นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ รองเลขาธิการแพทยสภา
รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
ผศ.นพ.ต่อพล วัฒนา ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
⏰15.00 - 15.10 น. :
ช่วงถาม - ตอบ Q&A
⏰15.15 - 15.45 น. :
practical point in drug allergy for physicians
โดย รศ.นพ.เจตทะนง แกล้วสงคราม
ผู้แทนสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
⏰15.45 - 16.00 น. :
กล่าวปิดการบรรยาย
โดย พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ
เลขาธิการแพทยสภา
.
ดำเนินรายการโดย นายแพทย์ภาสกร วันชัยจิระบุญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
...................................................
แพทยสภาขอขอบพระคุณทุกท่าน
ที่เข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมของแพทยสภามาโดยตลอด



 




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2565   
Last Update : 17 ตุลาคม 2565 14:41:26 น.   
Counter : 1563 Pageviews.  

ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?

เคยสงสัยกันหรือเปล่าครับว่า " เวลาไปคลินิก แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นคลินิก ที่ถูกต้องตามกฏหมาย ??? คนที่ตรวจเราเป็นหมอจริง ??? "

จะดูหน้าตา ก็บอกยาก หมอก็มีทั้งหน้าตาท่าทางสมกับเป็นหมอ แต่บางคนก็ไม่ใช่ ... หน้าตาดูดีเหมือนเป็นดารานักร้อง  ...

การแต่งกาย ก็ดูไม่ได้อีก ... แต่งตัวดูดี ภูมิฐาน มีเสื้อกาว์นสีขาว แต่ไม่ใช่หมอ ก็มี .. หมอบางคนก็อาจแต่งตัวสบาย ๆ ( สบายเกินไป ??? ) ...

ยิ่งสถานที่ ยิ่งลำบาก .. บางคลินิก ก็หรูหรา จนน่าตกใจ โดยเฉพาะคลินิกผิวหนังทั้งหลาย .. แต่บางแห่ง ก็ซอมซ่อซะ


ผม เสนอ ๓ ข้อสังเกต ง่าย ๆ ที่เมื่อไปคลินิกแล้ว สามารถตรวจสอบได้ในเบื้องต้น .. เข้าไปปุ๊บ มองหาหลักฐานเหล่านี้ก่อนเลย ...

ถ้ามี ก็สบายใจหน่อยว่า น่าจะได้รับการตรวจรักษากับ หมอตัวจริง ... แต่ถ้าไม่มี หรือ ดูหน้าตาแล้วไม่เหมือนในรูป ก็ตัดสินใจเองว่า จะรักษาต่อ หรือ จะกลับบ้านก่อน ?

๑. แบบแสดงรูปถ่าย แสดงรายละเอียด ผู้ประกอบวิชาชีพ ..




ตามกฏหมาย ทุกคลินิกต้องมีติดไว้

ซึ่งในกรณีมีแพทย์ หลายคนตรวจรักษาในคลินิกเดียวกัน ก็ต้องมีแบบแสดงฯ ของ แพทย์ทุกคน ..

แพทย์ ที่ตรวจคุณอยู่ ต้องมีรูปภาพ ตรงกับในแบบแสดงฯ ..

*************************************

๒. ใบอนุญาต ให้ดำเนินการ ..



ตามกฏหมาย ทุกคลินิกต้องมีติดไว้

เป็นแพทย์ที่ขอนุญาต ดำเนินการ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ เวลาเกิดปัญหาในคลินิกนั้น โดยส่วนใหญ่ ก็คือ แพทย์ที่ตรวจในคลินิก ( แต่ ในกรณีที่มีแพทย์ตรวจหลายคน ..อาจไม่ใช่ แพทย์ที่กำลังตรวจอยู่ก็ได้ )


ข้อ ๒ (ต่อ )  ใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล .. ซึ่งอาจเป็นแพทย์ หรือ ไม่ใช่แพทย์ ก็ได้ คิดง่าย ๆ ก็คือ เป็นเจ้าของคลินิก ...




โดยส่วนใหญ่ ก็จะเป็นแพทย์ คนเดียวกันกับ ที่ดำเนินการฯ

**************************************

๓.ใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ( ใบ ว. ) ของแพทย์ ผู้ตรวจรักษา




ออกให้โดย แพทยสภา เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่า จบเป็นแพทย์จริง  ... จะมีเลขที่ ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ชื่อสกุล รูปภาพ


สามารถตรวจสอบเพิ่มเติม ว่าตรงกับข้อมูลที่เวบแพทยสภา หรือไม่ ???

https://www.tmc.or.th/check_md/


กรณีตรวจสอบไม่พบ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อแพทยสภาที่ โทรศัพท์: 0-2590-1887 หรือ e-mail: tmc@tmc.or.th
โทรสอบถาม ฝ่าย จริยธรรม 02-590-1886-7 ต่อ 210-270 Email : contact@tmc.or.th

สำนัก งานเลขาธิการแพทยสภา
อาคาร 6 ชั้น 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ จ.นนทบุรี
โทร.: 02-5901880-1,3


ถ้าเข้าไปในคลินิกแล้ว หาทั้ง ๓ ข้อ ไม่พบ ... ผมคิดว่า น่าจะกลับบ้านก่อน ดีกว่า หรือเปลี่ยนไป คลินิกอื่น ..

อย่าเสี่ยงเลย เราไม่รู้ว่า เขาเป็น แพทย์จริงหรือไม่ ??? ขนาดกฏหมายกำหนดไว้ เขายังไม่ทำ แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า เขาสามารถรักษาเราได้จริง ถ้าเกิดอะไรขึ้นมา ไม่คุ้ม  ( แต่ถ้า รู้แล้ว อย่าจะเสี่ยงรักษา ก็ไม่ว่ากัน นะครับ )


ปล.

สำหรับรูปภาพแพทย์ .. ก็ต้องเตรียมใจไว้นิดหนึ่งว่า อาจไม่เหมือนร้อยเปอร์เซนต์ ... เพราะ เป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัย นะครับ ... จากหนุ่มสาว หน้าตาสดใส ตอนจบแพทย์ใหม่ๆ   กลายเป็นคุณหมอ สูงวัย จะให้หน้าใสเหมือนตอนจบคงไม่ได้ ...


วิธีตรวจสอบรายชื่อแพทย์และเลขที่ใบอนุญาตคลินิกศัลยกรรมเสริมความงาม

❤ตรวจสอบข้อมูลแพทย์
ตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นแพทย์จริงหรือไม่ที่ เว็บไซด์ แพทยสภา โดยกรอกชื่อ-นามสกุล ข้อมูลของแพทย์ที่รับใบอนุญาตให้ถูกต้อง ซึ่งจะสามารถตรวจสอบรายชื่อแพทย์ และมีการแสดงรูปภาพของแพทย์ด้วย

กรณีชื่อถูกต้อง และหากทราบเลขที่ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ สามารถกรอกข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลตรงกันหรือไม่ เข้าเว็บไซต์ของแพทยสภาที่

➡เว็บไซต์ : https://www.tmc.or.th/check_md/
➡โทร : 02-5901886
➡แพทยสภา

❤ตรวจสอบสถานประกอบการ (โรงพยาบาล/คลินิก)
การตรวจสอบโดยเฉพาะสถานประกอบการคลินิกเสริมความงามศัลยกรรม เนื่องจากปัจจุบันมีคลินิกศัลยกรรมเปิดใหม่จำนวนมาก ทั้งที่ถูกกฎหมาย และ ไม่ถูกกฎหมาย โดยคลินิกจะมีป้ายชื่อคลินิกและเลขใบอนุญาต 11 หลัก ให้นำข้อมูลเหล่านี่ตรวจสอบคลินิกได้ที่

ตรวจสอบโรงพยาบาล (ใส่ข้อมูลชื่อภาษาไทย)
❤หากค้นข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ จะได้ข้อมูลครบถ้วนกว่าการค้นผ่านโทรศัพท์มือถือ
➡เว็บไซต์ : https://hssdemo.1mediasoft.net/hospital
➡โทร 02-193-7999
➡กองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ตรวจสอบคลินิก (ใส่ข้อมูลชื่อภาษาไทย)
❤หากค้นข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ จะได้ข้อมูลครบถ้วนกว่าการค้นผ่านโทรศัพท์มือถือ
➡เว็บไซต์ : https://hssdemo.1mediasoft.net/clinic
➡โทร 02-193-7999
➡กองสุขภาพระหว่างประเทศ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ตรวจสอบโรงพยาบาล/คลินิก (ใส่ข้อมูลชื่อภาษาไทย)
❤หากค้นข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ จะได้ข้อมูลครบถ้วนกว่าการค้นผ่านโทรศัพท์มือถือ
➡เว็บไซต์ : https://privatehospital.hss.moph.go.th/
➡โทร : 02-1937000
➡สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ถ้าไม่มีอาจเป็น "คลินิกเถื่อน" โทรสอบถามได้ที่สำนักสถานพยาบาลฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-1937999 (🚨Hotline มือปราบสถานพยาบาล และ หมอเถื่อน)

📣📍กรณี พบ หมอเถื่อน คลินิกเถื่อน ผิดพระราชบัญญัติสถานพยาบาล 🚨ให้แจ้งที่ Hotline มือปราบสถานพยาบาล และ หมอเถื่อน โทร. 02-193-7999 หรือ 02-590-2999 ต่อ 1280-1282

*** สำนักสถานพยาบาล จะมีอำนาจตามกฎหมาย เป็นเจ้าพนักงานไปจับได้ที่เห็นตามข่าว โดยจะมีทีมออกไปจับ ร่วมกับแจ้งความดำเนินคดีกับตำรวจ และจะรายงานมาที่แพทยสภาเป็นพยาน เพื่อดำเนินคดีร่วมกันต่อไป (ℹแพทยสภาไม่มีอำนาจไปจับเองต้องผ่านพรบ.สถานพยาบาลกับตำรวจ)

*** ยกเว้นกรณีคลินิกถูกต้องแต่หมอจริงยอมให้หมอเถื่อนเข้าไปทำงานในคลินิก ทางแพทยสภาจะดำเนินคดีจริยธรรมกับหมอเช่นเดียวกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
📍กระทรวงสาธารณสุข
📍กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
📍สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ

เครดิต https://www.facebook.com/MantisKcompanylimited/posts/642598479405477/

*********************************************



" ร้องคลินิก ต้องไปที่ไหน ? "  ( ๑๙ พค.๖๒ )
Ittaporn Kanacharoen

มีปัญหา สงสัยคลินิกเถื่อน ค่ารักษาพยาบาลที่คลินิกไม่ถูกต้อง ค่ารักษา รวมถึงคลินิกไม่รับผิดชอบผลของการผ่าตัดต่างๆ จะรักษา ด้วยการเจาะเลือดแปลกๆ สเต็มเซลล์ที่ยังไม่อนุญาต และไม่เป็นมาตรฐาน ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล อยู่ในความรับผิดชอบของกรม สบส. สามารถแจ้งได้ตาม โปสเตอร์ หรือ โทร 02193 7057 หรือ Facebook มือปราบสถานพยาบาลเถื่อน

ขอบคุณหลายท่านที่ส่งมาที่แพทยสภา ผมได้ส่งต่อให้แล้วนะครับ แต่ถ้าเป็นไปได้ส่งตรงเลย แพทยสภา จะดูแลได้ตามอำนาจ ใน พรบ วิชาชีพเวชกรรม ซึ่งจะดูเฉพาะตัวแพทย์ไม่เกี่ยวกับตัวคลินิก และลงโทษได้เฉพาะผู้ถือใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่มีอำนาจในการไกล่เกลี่ย ขอเงินคืนต่างๆ รวมถึงให้จ่ายชดเชย อันนั้นของ สบส.และ สคบ.ครับ

ขอบคุณท่าน Akom Praditsuwan ณัฐวุฒิ ประเสรฺิฐสิริพงศ์


"สบส.ฮอทไลน์"
เบอร์โทรศัพท์สายด่วนกรณีปัญหาจากคลินิกและ รพ.เอกชน ตามพระราชบัญญัติ สถานพยาบาลครับ

1. ร้องเรียน/ปรึกษา จากการไปรับบริการกับคลินิก และ รพ.เอกชน และได้รับความเสียหายหรือเกิดผลกระทบจากการไปใช้บริการ
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18833

2. แจ้งเบาะแส คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18822

3. ตรวจสอบคลินิกที่ไปใช้บริการได้รับอนุญาตถูกต้องหรือไม่
เบอร์โทร 02-193-7000 ต่อ 18407

4. ปรึกษาเรื่องอื่นๆ
เบอร์โทร 02-193-7000 หรือ 02-590-2999

" มือปราบสถานพยาบาลเถื่อน "  คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน
เฟสบุ๊ค  https://goo.gl/F1MjlO
โทร 02-193-7999  ,  02-590-2999  ต่อ 1280

*************************************************************




#หมอชวนรู้ โดย แพทยสภา
ตอนที่ 120 "แพทย์จริง แพทย์ปลอม และสาขาเฉพาะทาง" 
.
ตรวจสอบง่ายๆ ได้ แบบ online ได้ที่
https://checkmd.tmc.or.th/
.
บทความโดย
นายแพทย์ภาสกร วันชัยจิระบุญ
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
กรรมการแพทยสภา

https://www.facebook.com/thaimedcouncil/posts/3006309486300603


............................................

คู่มือประชาชนในการเลือก คลินิก ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=07-07-2017&group=15&gblog=80
ช่องทางร้องเรียนเกี่ยวกับ ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18
ไปคลินิกแล้ว จะดูอย่างไรว่า ผู้ที่ตรวจรักษา เป็น หมอจริง ?
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-07-2020&group=7&gblog=238
แขวนป้ายแขวน ใบว. ถ้ารู้แล้วยืนยันจะเสี่ยงก็ไม่ว่ากัน
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=12-11-2015&group=7&gblog=193
ข้อแนะนำก่อนจะพบแพทย์กระดูกและข้อ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2008&group=7&gblog=3
ข้อแนะนำเมื่อต้องรับการรักษา
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-12-2007&group=4&gblog=2
คำถาม..ที่ควรรู้..คำตอบ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2008&group=4&gblog=3
เคล็ดลับ20 ประการ ที่จะช่วยคุณ "ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ "...
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=10-2010&date=19&group=27&gblog=52
หมอคนไหนดี“ ??? .... คำถามสั้น ๆ ง่ายๆ แต่ ไม่รู้จะตอบอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=14-01-2012&group=15&gblog=42
ผลของการรักษาโรค
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=01-2008&date=05&group=27&gblog=22
 
ข้อเท็จจริงในการดูแลรักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยแพทย์
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cmu2807&month=06-2013&date=11&group=27&gblog=12
ฉลาดเลือกใช้...การแพทย์ทางเลือกโดยอ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-09-2011&group=7&gblog=149
หน้าที่อันพึ่งปฏิบัติของผู้ป่วย(มิย.๖๓) สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย(สค.๕๘) สิทธิผู้ป่วย(เมย.๔๑)https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1
ความรู้เกี่ยวกับใบรับรองแพทย์
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5
 

 




 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2563   
Last Update : 17 ธันวาคม 2564 15:14:31 น.   
Counter : 4993 Pageviews.  

รู้ไว้ใช้สิทธิ์เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน การเรียกเก็บค่ามัดจำหรือลงนามรับผิดชอบค่ารักษา เองฯ อาจทำไม่ได้




รู้ไว้ใช้สิทธิ์เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน
 
การเรียกเก็บค่ามัดจำหรือลงนามรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน อาจเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยมาตรา ๒๘ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ อันอาจส่งผลให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๕๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้

ทั้งนี้เทียบเคียงกับ การที่ผู้ป่วยลงนามในหนังสือยินยอมสละการใช้สิทธิ์ประกันสังคม ในการเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลซึ่งตนมีสิทธิ์อยู่ ทำให้ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลซึ่งเกิดขึ้นเอง ต่อมาได้มีการฟ้องให้ศาลวินิจฉัยหนังสือสัญญาการสละสิทธิ์ดังกล่าว

ศาลฎีกาพิพากษาให้ #หนังสือยินยอมสละสิทธิ์ดังกล่าวเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ "มาตรา ๑๕๐ การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ"

ดูรายละเอียดใน https://drive.google.com/open?id=1GHcZYhMrt4Nr6CMfi_N_fRDonViThSUE

พิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยฉุกเฉิน  · 31 ธันวาคม 2019 ·
https://www.facebook.com/106194100902130/photos/a.106208517567355/106200370901503/?type=3&theater


**************************************

รู้ไว้ เผื่อจำเป็นต้องใช้

แถม .. infographic 9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ ( UCEP )    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216




 

Create Date : 02 มกราคม 2563   
Last Update : 2 มกราคม 2563 12:53:13 น.   
Counter : 2398 Pageviews.  

ระบบสุขภาพสหรัฐฯ ทำ แพทย์-พยาบาล ‘หมดไฟทำงาน’ เหตุจากภาระงานเกินตัว เทคโนโลยีล้าหลัง ( เน้น สหรัฐ )

อ่านพาดหัวข่าว ให้ชัด ๆ  " สหรัฐอเมริกา " ...  ไม่ใช่ " ไทยแลนด์ " นะครับ   
เหตุการอาจคล้าย ๆ กัน แต่ยืนยันว่าเป็นเรื่องที่อเมริกา

ระบบสุขภาพสหรัฐฯ ทำ แพทย์-พยาบาล ‘หมดไฟทำงาน’ เหตุจากภาระงานเกินตัว เทคโนโลยีล้าหลัง

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 businessinsider.com รายงานผลสำรวจโดยสถาบันแพทยศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกาเผยแพทย์และพยาบาลราวร้อยละ 30-50 กำลังประสบปัญหาหมดไฟในการทำงาน สาเหตุสำคัญมาจากภาระงานเกินตัว เทคโนโลยีล้าหลัง และขาดการสนับสนุน ขณะที่พยาบาลรวมตัวประท้วงผละงานแล้วใน 4 รัฐ

ความเสี่ยงภาวะหมดไฟการทำงานในวงการแพทย์อเมริกันสูงสุดเป็นประวัติการณ์

รายงานจากสถาบันแพทยศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกาพบว่า แพทย์และพยาบาลราวร้อยละ 35-54 มีอาการของภาวะหมดไฟการทำงาน

การศึกษาระบุว่าสาเหตุของภาวะหมดไฟที่ระบาดในบุคลากรสาธารณสุขประกอบด้วยภาระงานล้นมือ เทคโนโลยีที่ล้าหลัง และขาดการสนับสนุน รายงานความยาว 321 หน้ายังได้แนบข้อมูลการศึกษาทบทวนปัญหาหมดไฟในบุคลากรสาธารณสุขด้วย

นักวิจัยเปิดเผยว่า ภาวะหมดไฟในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขเป็นปัญหาเชิงระบบที่เกิดขึ้นทั่ววงการสาธารณสุข เช่น เทคโนโลยีล้าหลัง นักศึกษาแพทย์ต้องรับภาระงานเกินตัว ค่าเล่าเรียนราคาแพงซึ่งทำให้นักศึกษาแพทย์ต้องแบกหนี้สินก้อนใหญ่ และขาดการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานในโรงพยาบาล

ปัญหาหมดไฟการทำงานในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขดำเนินมาถึงจุดวิกฤติในปีนี้ ภาวะหมดไฟในกลุ่มแพทย์ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2562 หลังมีรายงานว่าแพทย์โรงพยาบาลระดับปฐมภูมิร้อยละ 79 กำลังประสบปัญหาความเครียดจากการทำงาน อีกด้านหนึ่งพยาบาลใน 4 รัฐรวมตัวประท้วงผละงานแล้วในช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมาเพื่อเรียกร้องให้จัดสรรอัตรากำลังให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วย

ตัวแทนพยาบาลเผยว่าสาเหตุสำคัญมาจากการต้องรับผิดชอบผู้ป่วยจำนวนมากพร้อมกัน โดยมีการศึกษาวิจัยจากออสเตรเลียเสนอว่าการจัดสรรให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยไม่เกิน 4 คนสัมพันธ์กับผลลัพธ์ด้านการรอดชีพที่ดีขึ้นและอัตราการนอนโรงพยาบาลที่ลดลง และจนถึงขณะนี้แคลิฟอร์เนียเป็นเพียงรัฐเดียวในสหรัฐอเมริกาที่มีระเบียบกำหนดจำนวนผู้ป่วยสูงสุดที่พยาบาลสามารถรองรับได้

บาร์บารา แมคแอนนีย์ อดีตประธานสมาคมแพทย์อเมริกันชี้ให้เห็นความจำเป็นที่ระบบสุขภาพจะต้องหามาตรการลดภาวะหมดไฟและความอ่อนล้าในหมู่แพทย์ โดยชี้ว่าแพทย์ที่กระปรี้กระเปร่าและกระตือรือร้นเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายด้านสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา

ปัญหาหมดไฟในการทำงานกำลังเป็นวิกฤติในประชากรวัยทำงาน

ปัญหาหมดไฟกำลังไหม้ลามไปทั่วทุกภาคธุรกิจของสหรัฐ ผลสำรวจล่าสุดรายงานว่าแรงงานกว่าครึ่งมองว่างานที่ทำอยู่ส่งผลกระทบตอสุขภาพจิต องค์การอนามัยโลกเองก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของภาวะหมดไฟในการทำงานและระบุว่าเป็น ‘ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาวะและอาจนำไปสู่โรคต่างๆ ได้’ อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก

(Burn out หรือภาวะหมดไฟเป็นปรากฏการณ์ทางอาชีพ (occupational phenomenon) ไม่ใช่เป็นโรค (medical condition) และเกิดจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงาน ซึ่งได้จัดอยู่ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรค และปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับที่ 11 โดยมีรหัสกำหนดในหมวด Z คือ “ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาวะ” เพราะเล็งเห็นว่าประเด็นนี้มีความสำคัญ คุกคามสุขภาวะ และอาจจะนำไปสู่โรคต่าง ๆ ได้ เช่น ภาวะโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือแม้กระทั่งปวดหัวชนิดเทนชั่น หรือโรคนอนไม่หลับ เป็นต้น)

ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าจากการทำงานยิ่งสูงขึ้นในผู้ที่ทำงานเป็นกะ โดยเฉพาะในกลุ่มแพทย์ โดยมีการศึกษาของมหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์รายงานว่าผู้ที่มีชั่วโมงการทำงานเปลี่ยนไปมาหรือทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าสูงกว่าคนทั่วไปราวร้อยละ 33

ความทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้าและหมดไฟการทำงานอาจส่งผลร้ายแรง ข้อมูลจากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานดิเอโกพบว่าความเสี่ยงการฆ่าตัวตายสูงกว่าในกลุ่มพยาบาลเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป

เจอราด โบรแกน พยาบาลวิชาชีพและผู้อำนวยการสถาบันการฝึกหัดพยาบาลเผยว่า ปัญหาหลายอย่างล้วนมีสาเหตุจากนโยบายของโรงพยาบาลหรือผู้บริหารสาธารณสุขที่ไม่เป็นผลดีต่อบุคลากรด้านการแพทย์ ตัวอย่างเช่น การกำหนดรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยซึ่งทำให้แพทย์และพยาบาลไม่สามารถให้การดูแลรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

“แพทย์ พยาบาล และบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพไม่ได้เข้ามาทำงานเพราะหวังชื่อเสียงนะครับ” โบรแกนเผย “พวกเขาเป็นผู้ที่อุทิศตนเพื่อสังคมและเข้าสู่วิชาชีพพยาบาลเพื่อช่วยเหลือสังคมของตน และค่านิยมของพวกเขาก็แตกต่างจากระบบสุขภาพที่ขับเคลื่อนด้วยกำไร มันไม่ใช่เลยครับ”

แปลและเรียบเรียงจาก

Half of all US nurses and doctors are burned out — and they say the healthcare system is to blame [www.businessinsider.com]

ที่มา    https://www.hfocus.org/content/2019/10/17970




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2562   
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2562 21:28:35 น.   
Counter : 1847 Pageviews.  

คดีทางปกครอง เกี่ยวกับ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล กับ เวชระเบียนในความครอบครองควบคุมดูแลรักษา ของ รพ









คดีทางปกครอง เกี่ยวกับ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล กับ เวชระเบียนในความครอบครองควบคุมดูแลรักษา ของ รพ
ที่มา FB@สมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2525433490879939&id=658454437577863


สิทธิผู้ป่วย ...  คำประกาศ "สิทธิ"และ"ข้อพึงปฏิบัติ" ของผู้ป่วย .... วันที่ประกาศ ๑๒ สค. ๒๕๕๘
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1

กฏหมาย แพทย์ต้องรู้ ( ผู้ป่วยและญาติ ก็ควรรู้ )    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-10-2014&group=7&gblog=184

ความรู้เกี่ยวกับ ใบรับรองแพทย์     
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5


 




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2562   
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2562 13:36:55 น.   
Counter : 1885 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]