Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

วิปรัฐบาลรับลูกภาคีวิชาชีพแพทย์ เสนอ ครม.ทบทวน กม.ค้มครองผู้เสียหายฯ


วิปรัฐบาลรับลูกภาคีวิชาชีพแพทย์ เสนอ ครม.ทบทวน กม.ค้มครองผู้เสียหายฯ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กุมภาพันธ์ 2554 15:25 น

//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000026148



ภาคีสภาวิชาชีพแพทย์ ยื่นวิปรัฐบาลเสนอทำประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรักษาพยาบาล พร้อมเสนอให้นำเงินจากองค์กรหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาช่วยเหลือผู้เสียหาย ขยายวงเงินช่วยเป็น 2 ล้าน ประธานวิปรัฐบาลรับลูกเตรียมเสนอให้ ครม.ทบทวน อ้างกลัวปัญหาบานปลาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (28 ก.พ.) ภาคีสภาวิชาชีพสุขภาพประกอบด้วย นายกแพทย์สภา นายกสภาการพยาบาล นายกสภาเภสัชกรรม นายกทันตแพทยสภา นายกสภากายภาพบำบัด นายกสภาเทคนิคการแพทย์ และนายกสัตวแพทย์สภา ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เกี่ยวกับข้อเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการจากสาธารณสุข พ.ศ. ... โดยมีข้อเสนอแนะประกอบด้วย

1.ขอให้ชะลอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการจากสาธารณสุข พ.ศ. ... เข้าสู่สภา เพื่อทำประชาพิจารณ์ ในกลุ่มผู้รับบริการและผู้ให้บริการทั้ง 5 กระทรวงและการศึกษาปัญหา ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขอย่างรอบคอบก่อน ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีเพียงบางส่วนเท่านั้นไม่ใช่ทั้งหมด

2.ภาคีสภาวิชาชีพฯ สนับสนุนการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการไม่ว่า จะเกิดจากเหตุใด จึงขอค้านการจำกัดสิทธิไม่จ่ายเงินช่วยเหลือในเหตุสุดวิสัยในร่าง พ.ร.บ.ที่รัฐบาลควรขยายให้ช่วยมากขึ้น และสนับสนุนให้มีการพิสูจน์ถูกผิดทางการแพทย์ โดยกลไกต้องเป็นอิสระต่อการพิสูจน์

3.ภาคีสภาวิชาชีพฯ มีความเห็นว่า ควรพิจารณาขยายเพดานวงเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5-10 เท่า เป็นการเร่งด่วนเพื่อนำเงินไปช่วยเหลือที่กันไว้ในกฎหมายเดิม ควรตั้งคณะกรรมการร่วม 3 สิทธิ คือ เพิ่มสวัสดิการข้าราชการ 4.5 ล้านคนและประกันสังคม 9 ล้านคน ให้อยู่ในระบบเดียวกัน โดยใช้ลักเกณฑ์ร่วมกันหรือผ่านคณะกรรมการ มาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ซึ่งเรียกเก็บเงินจากต้นสังกัด ไม่ใช่งบประมาณจาก พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ

และการเสนอให้วางมาตรการการแก้ไขปัญหาตามกลไกของกฎหมายทางการแพทย์ในต่าง ประเทศที่จะมีผลระยะยาว เพราะวิชาชีพมีความจำเพาะและหลากหลายต้องใช้ความชำนาญ ไม่สามารถพิจารณาตามสามัญสำนึกได้ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการ จึงควรมีการออก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ให้บริการสาธารณสุขโดยเฉพาะ และตั้งศาลคดีพิเศษทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้เสียหายและผู้ให้บริการได้รับความช่วยอย่างเป็นธรรม





ด้าน นายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล แถลงภายหลังการชี้แจงจากกลุ่มภาคีสภาวิชาชีพสุขภาพ ว่า ทางกลุ่มภาคีสภาวิชาชีพ ได้ยื่นหนังสือต่อวิปรัฐบาลขอให้ชะลอ การนำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการจากสาธารณสุข พ.ศ. ... เข้าสู่สภา ทั้งนี้ จากการรับฟังความคิดเห็น ตนเห็นว่า

1.เนื่องจากภาคีสภาวิชาชีพหลายท่านเป็นคณะกรรมการอยู่ในหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่เห็นว่า ถ้าองค์กรหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีงบประมาณเองที่จะดูแลผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล และมีการตั้งงบปีละประมาณ 1 พันล้านบาท ใช้จริงปีละไม่ถึง 100 ล้านบาท จึงน่าจะขยายความช่วยเหลือไปยังประชาชนในระดับที่จะทำให้ยุติความขัดแย้งได้ ในเบื้องต้น และขอให้ตัวแทนที่มายื่นหนังสือต่อสู้ในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น ผู้เสียจากการรักษาพยาบาลอาจได้รับการช่วยเหลือถึง 2 ล้านบาท หรือตามสภาพความเป็นจริง

2.นอกจากนี้ หากปฏิบัติในทิศทางที่ทำได้ตนจะหารือกับนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อนำกลับไปหารือกับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการที่จะมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขได้กลับไปทบทวนทำประชาพิจารณ์ปัญหาที่ เกิดขึ้นทั้งหมดเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้เสร็จสิ้นภายในกระทรวง เพราะเป็นกฎหมายฉบับแรกที่มีความขัดแย้งมาก ก่อนนำเข้าสู่สภาและไม่มีทีทีท่าจะยุติ ฉะนั้น ผู้เสนอกฎหมายจะต้องกลับไปทบทวนและทำความเข้าใจกับบุคลากรในองค์กร ทั้งนี้ตนรับปากว่าจะฝากให้นายสาทิตย์นำไปหารือกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับ คณะรัฐมนตรี






 

Create Date : 01 มีนาคม 2554   
Last Update : 1 มีนาคม 2554 15:29:12 น.   
Counter : 2014 Pageviews.  

"แพทยสภาปกป้องทั้งคนไข้-แพทย์"


"แพทยสภาปกป้องทั้งคนไข้-แพทย์"

//www.komchadluek.net/detail/20110222/89596/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C.html


คมชัดลึก : รับตำแหน่งนายกแพทยสภาคนใหม่อย่างเต็มตัวและสมศักดิ์ศรี ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภาวาระ พ.ศ.2554-2556 วัย 65 ปี หลังได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการแพทยสภาจากแพทย์ทั่วประเทศด้วยคะแนนอันดับ 2 ได้รับเลือกจากคณะกรรมการแพทยสภาด้วยคะแนน 33 เสียงจาก 52 เสียงให้เป็นนายกแพทยสภา และศาลปกครองยกฟ้องกรณีมีผู้ร้องว่าการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาไม่โปร่งใส

ก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ หรือ "หมออำนาจ" เคยรับตำแหน่งเลขาธิการแพทยสภาในปี 2550-2552 และอุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 ถึง 2 วาระ แม้จะเป็นนายกแพทยสภาในยุคที่ภาพของแพทย์ถูกมองในทางลบมากขึ้น แต่ “หมออำนาจ” บอกด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มว่า “ไม่หนักใจ แต่เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขให้ได้”

หากจะย้อนถึงจุดหักเหที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้แปรเปลี่ยนจาก ญาติมิตร เป็น คนแปลกหน้า หมออำนาจ เล่าว่า ปรากฏการณ์แบบนี้เริ่มเด่นชัดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อาจเป็นผลจากการที่แพทย์ไม่มีศิลปะในการสื่อสารให้คนไข้เข้าใจแนวทางการรักษาที่เป็นเทคนิคเฉพาะ บวกกับในระยะหลังแพทย์ต้องตรวจรักษาผู้ป่วยจำนวนมากที่แห่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ภาระงานแพทย์เท่าทีวีคูณ เวลาตรวจรักษาต่อคนจึงน้อยมาก การพูดคุย ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบใกล้ชิดแบบญาติด้วยความห่วงใยจึงค่อยๆ ลดน้อยลง

"แพทย์เป็นวิชาชีพที่ทำงานกับร่างกายมนุษย์ที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อน เมื่อแพทย์ไม่ได้อธิบาย หรือสื่อสารให้เข้าใจ คนไข้ก็จะไม่รู้และไม่เข้าใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิต เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทางการแพทย์ กลับกลายเป็นเข้าใจว่าเป็นความผิดของแพทย์ทั้งหมด จนนำสู่การฟ้องร้องแพทย์" หมออำนาจกล่าว

แนวทางในการแก้ปัญหานี้ แพทยสภาจะเดินหน้าด้วยการเน้นหลักสูตรจริยธรรมแพทย์ตั้งแต่เป็นนักศึกษา รวมถึงสนับสนุนการฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อให้เป็นแพทย์ประจำครอบครัว สามารถดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและผูกพัน จากที่ปัจจุบันมีแพทย์สาขานี้จำนวนไม่มากและไม่เพียงพอ

แต่ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... "ไม่ใช่คำตอบในเรื่องนี้"



หมออำนาจ แพทย์ที่มีดีกรีนิติศาสตรบัณฑิต เนติบัณฑิตไทยและวุฒิบัตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (ศาลยุติธรรม) พ่วงด้วย ขยายความว่า หากเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่มีเนื้อหาที่ดีและเหมาะสมจริงๆ ก็จะเป็นประโยชน์ แต่เนื้อหาในร่าง พ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันยังไม่ใช่คำตอบของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วยหรือลดการฟ้องร้องแพทย์ เนื่องจากยังมีเนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม จึงควรนำมาปรับปรุงแก้ไขและทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะหยิบวาระนี้ขึ้นมาพิจารณา เพื่อให้ได้กฎหมายที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรปรับปรุงใน 3 ประเด็นหลัก คือ

1.หลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายเงินที่ยังมีรายละเอียดที่ยากแก่การตีความ อาจทำให้คนไข้เข้าใจผิดว่าหากเกิดเหตุไม่ประสงค์จากการรักษาสามารถรับเงินได้ทั้งหมด เมื่อไม่ได้ก็ไปฟ้องร้อง

2.องค์ประกอบของคณะกรรมการทั้งชุดใหญ่และเล็กยังไม่มีความเหมาะสม

และ 3.ภายหลังการจ่ายเงินแล้ว การยุติการฟ้องร้องไม่เป็นรูปธรรม



การขับเคลื่อนจากนี้แพทยสภาได้ประสานงานกับสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จัดสัมมนาและประชาพิจารณ์เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ร่วมกัน ตามที่คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลหรือวิปรัฐบาลเคยมอบหมายให้กระทรวง สาธารณสุขดำเนินการ โดยจะเริ่มวันที่ 1 มีนาคม ในภาคใต้เป็นภูมิภาคแรก จากนั้นจะวนไปจนครบ 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยจะสอบถามความคิดเห็นทั้งในส่วนของประชาชนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ และจะรีบดำเนินการให้เร็วที่สุด หากแล้วเสร็จจะนำเสนอผลการประชาพิจารณ์ต่อรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อใช้ประกอบในการดำเนินการต่อไป

"อยากให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และวิปรัฐบาลชะลอการหยิบยกร่าง พ.ร.บ.นี้ขึ้นมาพิจารณาในวาระแรกของสภาผู้แทนราษฎรไว้ก่อน เพื่อรอผลการทำประชาพิจารณ์ เพราะการพิจารณาเรื่องนี้ไม่ใช่วาระด่วนที่จะต้องเร่งรีบ แต่ควรเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อประเทศชาติ หากได้ร่าง พ.ร.บ.ที่ดีและมีประโยชน์ที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนก็ยอมรับได้" หมออำนาจ กล่าว

ยิ่งกว่านี้ แพทยสภาในยุค หมออำนาจ จะผลักดันเรื่องค่าตอบแทนแพทย์ให้เหมาะสมกับภาระงาน เสนอแยกบัญชีเงินเดือนแพทย์ออกมาจากระบบของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แก้ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ทางอาญา ดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทางการแพทย์และสาธารณสุข และเร่งการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดและวิธีพิจารณาความเพื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ

สำหรับการคุ้มครองประชาชน แพทยสภาจะเสนอคณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบอร์ด สปสช. ให้ดำเนินการช่วยเหลือโรงพยาบาลเล็กๆ ในต่างจังหวัดที่ประสบปัญหาการมีหนี้สิน จนทำให้ขาดแคลนและไม่มียาหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์มาช่วยประชาชน อีกทั้งเสนอช่องทางช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาล โดยเพิ่มการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้ครอบคลุมคนไทยทั้งประเทศและเพิ่มเพดานการจ่ายเงิน

คดีจริยธรรมที่ประชาชนร้องเรียนเกี่ยวกับแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่อง แพทย์รักษาไม่ดีไม่ถูกต้อง จะมีอนุกรรมการช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนแห่งแพทยสภา โดยมีระบบดูแลประชาชนที่เข้าใจว่าแพทย์มีพฤติกรรมผิดจริยธรรม อาจนำไปสู่การเปลี่ยนใจไม่ร้องเรียนหากเข้าใจการทำงานของแพทย์ แต่กรณีที่แพทย์เข้าข่ายการกระทำผิดจริยธรรม จะเร่งรัดขั้นตอนการพิจารณาความผิดให้แต่ละคดีเสร็จภายใน 1 ปี

“แพทยสภาเป็นองค์กรที่มุ่งดูแล ปกป้อง คุ้มครองทั้งประชาชนและแพทย์อย่างเท่าเทียมกัน แพทย์ที่ทำหน้าที่ที่ดีต้องได้รับการปกป้อง ขณะเดียวกันแพทย์ที่ทำผิดต้องได้รับการลงโทษอย่างเหมาะสม และในช่วงที่ผมอยู่ในตำแหน่งจะแก้ไขปัญหาการมองแพทย์ในแง่ลบให้ได้ จะทำให้ประชาชนเข้าใจแพทย์ และแพทย์เข้าถึงประชาชน" หมออำนาจ ให้ความเชื่อมั่น

0 พวงชมพู ประเสริฐ 0 รายงาน





 

Create Date : 01 มีนาคม 2554   
Last Update : 1 มีนาคม 2554 15:17:19 น.   
Counter : 2152 Pageviews.  

ด้วยรัก..ถึงนักโฆษณา... โดย Panrudee Yung ( นำมาฝากจาก FB )




ด้วยรัก..ถึงนักโฆษณา...

โดย Panrudee Yung

ณ วันที่ 30 มกราคม 2011 เวลา 1:35 น.





เดี๋ยวนี้..โลกเรากว้างไกล..ใกล้กัน..

จะยากจน..ข้นแค้นยังไง..

โทรทัศน์...หนังสือพิมพ์...อย่างน้อยก็วิทยุ..เข้าถึงง่าย..



นักโฆษณาทั้งหลาย..ก็สร้างสรรค์ผลงานได้น่าสนใจ..

สร้างสีสันให้ชีวิตคนปัจจุบัน..มากขึ้น..

แต่สิ่งเล็กๆ..ซึ่งคุณนักโฆษณาทั้งหลายอาจจะไม่ทันคิด..



คือการโฆษณา..เพื่อให้คน"รู้".."รู้จัก"...สินค้า..

มันมีความเสี่ยงค่ะ!!...



คนไข้และลูกหลาน..จำนวนมาก..

เข้าใจว่านมยี่ห้อหนึ่งเป็นของดี..วิเศษ..เสริมสร้างแคลเซียม..

ดื่มเป็นยา..รักษาเข่าเสื่อม...(ซึ่งไม่ได้เกิดจากการขาดแคลเซียม)

จนเบาหวานขึ้น..ไขมันขึ้น..ท้องผูก..น้ำหนักขึ้น..และปวดเข่ามากขึ้น..



อีกกลุ่มหนึ่ง..ฟังและดูโฆษณากระเช้าปีใหม่..ซุปสกัดใส่ขวด..

ซื้อให้กันด้วยหวังดี..ดื่มด้วยความชื่นใจที่ลูกหลานใส่ใจ..

ผลที่ได้คือความดันสูงปรี๊ด..และไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว..เข้าเกณฑ์ล้างไต



ล่าสุด..คนไข้เบาหวานรายหนึ่ง..เล่าให้หมอฟังท่าทางกังวลใจว่า..

น้ำตาลขึ้น..ทั้งๆที่พยายามเสี่ยงน้ำตาลอย่างเต็มที่..

ผลไม้ไม่กิน..เลี่ยงไปซื้อน้ำผักผลไม้ในร้านสะดวกซื้อที่แปะป้ายหน้ากล่อง

และโฆษณาออกโทรทัศน์..ว่าไม่"เติม"น้ำตาล..



นี่ไม่รวมเหล่าน้ำผลไม้รักษาทุกโรค..แก้ปวดเข่า..เผามะเร็ง..

ที่ออกโฆษณาผ่านเคเบิ้ลท้องถิ่นและวิทยุชุมชน..

ขวดละสองร้อยไปจนหลักพัน..

ที่พาคนไข้มาหาหมอด้วยตัวบวม..อาเจียนเป็นเลือด..ปวดตามตัว..

เลิกกินแล้วทุรนทุราย..น้ำตาลในเลือดพุ่งเฉียดหกร้อย...ไตวาย

และบางคน..เสียชีวิต..



หมอเข้าใจ..ว่านักโฆษณาทั้งหลาย..อาจไม่รู้..ไม่ทราบ..

ข้อดี..มักเผยแพร่..แต่ข้อควรระวัง..ไม่เปิดเผย..หรือบอกผ่าน..

คำบางคำ..ที่ทำให้เข้าใจผิด..



ทำให้ความหวังดีของลูกหลาน...กลายเป็นผลร้าย..

ความพยายามดูแลสุขภาพของคนไข้..ต้องสูญเปล่า..



เสียทั้งเงินทองคนไข้..ทั้งงบประมาณชาติ..

เสียทั้งกำลังใจ..เสียทั้งความรู้สึก..เสียสุขภาพร่างกาย..

เสียโอกาสในการรักษาโรค..และสำหรับบางคน..

สูญเสียโอกาส..ที่จะมีชีวิต!!



ในส่วนของหมอ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข..บางครั้ง.."เราท้อแท้!!"..

เพราะไม่รู้จะสู้..กับโทรทัศน์..วิทยุ..

ที่ฉายภาพ..ออกประกาศ..กรอกหูผ่านตาคนไข้ทั้งวันทั้งคืนได้อย่างไร..





ส่วนหนึ่ง..หมอ ยอมรับ..เป็นความผิดของหมอที่สอนคนไข้ตัวเองไม่ดี..

และคนไข้บางคนต้องอธิบายทุกเรื่อง..ทุกชนิดสินค้า..ซึ่งยิ่งเป็นไปไม่ได้..

ในวันที่หมอรพช.สามคน..ดูแลคนไข้ห้าหมื่นกว่าคน..

เบาหวานเกือบสองพันคน..และความดันที่มากกว่าเบาหวาน..

และโรคไตเสื่อม..หรือไตวาย..ที่มากขึ้นทุกวันๆ..



และอีกส่วนหนึ่งไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

แน่นอนว่าเกิดจากท่าน..เหล่านักโฆษณาทั้งหลาย!!..



ด้วยความรัก..และความเป็นห่วงอย่างยิ่ง..

จึงขอบอกเล่าแก่นักโฆษณาทั้งหลาย..

เพื่อให้เกิดความระมัดระวังมากขึ้น..

อย่าได้เผลอเรอ..ตกเป็นเครื่องมือของใคร..

ในการทำให้เพื่อนร่วมชาติสูญเสียทั้งเงินทอง..ร่างกาย..และจิตใจ..

อย่า...ให้เกิดบาปกรรมโดยที่ท่านไม่เจตนาอีกเลย..





ปล. เป็นบทความที่คุณหมอ ได้เขียนลงใน FB .. ผมอ่านแล้วก็อยากนำมาแบ่งปันกัน ..




 

Create Date : 31 มกราคม 2554   
Last Update : 31 มกราคม 2554 1:22:24 น.   
Counter : 2275 Pageviews.  

เชิญชม รายการ Business Week ทาง TNN 01...สัมภาษณ์ น.อ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา






รายการ Business Week ทาง TNN 01

น.อ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภาได้กล่าวถึงปัญหาของระบบสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน

เมื่อมองในภาพรวมเทียบกับระบบเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ... ออกอากาศเมื่อวันที่ 16-11-53

รายการที่สัมภาษณ์ง่ายๆหลายประเด็นครับ หลายคำถามพิธีกรน่าสนใจมาก





ตอนที่ 1

https://www.youtube.com/watch?v=TTvyMkWlw8o&feature=mfu_in_order&list=UL





ตอนที่2

https://www.youtube.com/watch?v=4lxQn1QcBlY&feature=mfu_in_order&list=UL





ตอนที่3

https://www.youtube.com/watch?v=5WHVd6CHwJQ&feature=mfu_in_order&list=UL





ตอนที่4

https://www.youtube.com/watch?v=CGBUiksN5Z8&feature=mfu_in_order&list=UL





ตอนที่5 ตอนสุดท้าย

https://www.youtube.com/watch?v=_Qsytq7UNMc&feature=mfu_in_order&list=UL





คำตอบ อาจทำให้ประชาชนเข้าใจวงการแพทย์ไทย ในข้อเท็จจริงมากขึ้น และ เกิดการเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อสุขภาพที่ดีและความผาสุขของสังคมไทยแบบยั่งยืนครับ











 

Create Date : 03 มกราคม 2554   
Last Update : 3 มกราคม 2554 11:10:24 น.   
Counter : 3037 Pageviews.  

ขอนแก่นโมเดล .. ดีจริงหรือ ??? .. ลองมาฟังความเห็น ข้อกังวลใจ ของจักษุแพทย์

หลายท่านคงได้ทราบข่าว ผู้ป่วยที่ตาบอดหลังจากไปผ่าตัดต้อกระจก ที่ รพ.ขอนแก่น ..

ถ้าจำไม่ได้ ก็ลองแวะไปอ่านข่าวนี้ในเวบมติชนออน์ไลน์ ก็ไดครับ พาดหัวนี้เลย ..

" ผ่าตัดตาต้อกระจกบอดสนิทอีก 3รวมเป็น 10ราย รพ.ขอนแก่นควักลูกตาใส่ตาเทียมจ่ายเงินชดเชยคนละ 5 หมื่น "

วันที่ 07 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 17:54:34 น

//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1262862364&grpid=00&catid=00


หรือจะใช้คำค้นว่า " ผ่าตัดต้อกระจก ขอนแก่น" ในกูเกิล ก็ได้ มีเพียบ ..


หลังจากนั้น ก็มีหลายคนออกมาชื่นชม การบริหารจัดการ ของ รพ.ขอนแก่น ทั้ง ผอ. แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกคน ที่ช่วยกันดูแลจัดการปัญหานี้ จนผลออกมาเป็นที่มาพึงพอใจ จนเรียกกันว่า " ขอนแก่นโมเดล "..

//mx.kkpho.go.th/uc/index.php?option=com_content&task=view&id=700&Itemid=2




ผมได้อ่านหนังสือ " เหตุเกิดที่ขอนแก่น เมื่อ รพ.พลาดแต่คนไข้ให้พร " ก็ต้องขอชื่นชม ผอ. แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น ..

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ดีมาก รพ. ควรมีทุกแห่ง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ( แพทย์ ทันตะ เภสัช พยาบาล ฯลฯ ) ควรได้อ่าน เพราะจะได้เห็นแนวทาง วิธีจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น (ผลข้างเคียง ภาวะแทรกซ้อน ) ในการรักษา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้น และ ทุกคนก็มีโอกาสได้พบกับปัญหาทำนองนี้


นอกจากคำชื่นชมแล้ว สิ่งที่ผมอยากจะเสนอก็คือ " ความคิดเห็น ข้อกังวลใจ ของจักษุแพทย์ " ซึ่งผมก็คิดว่า ถ้าแทนคำว่า "จักษุแพทย์ " เป็นคำว่า " ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ( แพทย์ ทันตะ เภสัช พยาบาล ฯลฯ ) " ก็คงได้อารมณอย่างเดียวกัน

ลองอ่านดูก่อนนะครับ ..














ถ้ามาตรการเพิ่มคุณภาพ ลดความเสี่ยง ป้องกันการติดเชื้อ ของ รพ.ขอนแก่น ในขอนแก่นโมเดล เป็นสิ่งที่หลายท่านชื่นชม ..

- วัสดุอุปกรณ์ ใช้แล้วทิ้ง .. ไม่นำไปทำความสะอาดแล้วกลับมาใช้ใหม่

- ลดปริมาณผู้ป่วยผ่าตัด ไม่เกิน ๗ คน ต่อวัน





ลองมาคิดต่อกันว่า ..

๑. รพ.รัฐ ทุกแห่ง ควรทำแบบนั้น ถ้าไม่ทำก็แสดงว่า คุณภาพไม่ดี มีความเสี่ยงสูง ไม่ได้คุณภาพ ใช่หรือไม่ ???


๒. แล้วถ้า รพ.ทำแบบนั้นเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ดีขึ้น

- ค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้น จะเอามาจากไหน ในเมื่อ รพ.ไม่มีเงิน ???

- ผู้ป่วยที่ รอคิวผ่าตัด นาน ๆ จะทำอย่างไร ???

( ถ้าจำกัด ปริมาณผู้ป่วยนอก จากที่ต้องตรวจ เกือบร้อยคนต่อวัน เหลือสัก ๑๐ คนต่อวัน มาตรฐาน คุณภาพ ก็คงดีขึ้นเหมือนกัน )


๓. ขอนแก่นโมเดล เป็นวิธีการจัดการปัญหา ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม และ เอาแบบอย่าง ... แต่ว่าในแง่ของมาตรการเพิ่มคุณภาพ ลดความเสี่ยง เป็นสิ่งที่เหมาะสม น่าชื่นชม จริงหรือ ???



คำถามเหล่านี้ ก็คงต้องฝากช่วยกันคิดต่อ นะครับ ..




แถม ..


ห้องตรวจในโรงพยาบาลของรัฐ ... กับ ... ความลับของผู้ป่วย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-05-2010&group=7&gblog=55


เมื่อร่างพรบ.คุ้มครองฯ เป็นกฎหมาย การดูแลผู้ป่วยโดยหลักการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-10-2010&group=7&gblog=110





 

Create Date : 20 ธันวาคม 2553   
Last Update : 20 ธันวาคม 2553 12:16:02 น.   
Counter : 3125 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]