Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

กฤตขาดแพทย์ผ่าตัดสมอง 30 จังหวัด! ใครป่วยตายสถานเดียว-ชี้หมอแบกคนไข้ 1 ต่อ 3.5แสน



วิกฤตขาดแพทย์ผ่าตัดสมอง 30 จังหวัด! ใครป่วยตายสถานเดียว-ชี้หมอแบกคนไข้ 1 ต่อ 3.5แสน

โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 21 กรกฎาคม 2554 08:38 น.

//www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9540000089665


วิกฤตหมอประสาท-ผ่าตัดสมอง! ประชาชนในพื้นที่ 30 จังหวัด มีความเสี่ยงสูงจากโรคหลอดเลือดสมองแตก-อุบัติเหตุทางสมอง แต่ไร้แพทย์รักษา พร้อมมีโอกาสเป็นอัมพาต และเสียชีวิตสูง

ส่วนอนาคตยิ่งน่าห่วง เพราะหมอด้านอายุรกรรม-ศัลยกรรมระบบประสาทแบกงานหนัก ชี้หมอ 1 คนดูแลคนไข้ถึง 350,000 คน อีกทั้งเสี่ยงต่อการโดนฟ้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ถึงขั้นติดคุก คาดอีก 4 ปีเปิดเสรีอาเซียนโรงพยาบาลเอกชนทุ่มดึงหมอสมองไปเพียบ

เลขาธิการแพทย์สภาชี้ หมอรุ่นใหม่ แห่เรียน “ผิวหนัง-ความงาม” เหตุรายได้ดี เสี่ยงน้อย งานไม่หนัก จี้ ก.พ.ตั้ง คณะกก.ดูแลอัตราบรรจุขรก.สายแพทย์เหมือน 'ครู -ตำรวจ' ด้านเด็กรุ่นใหม่เมินอาชีพแพทย์ สอบติดแต่สละสิทธิ์สูงถึง 20%..

การรักษาพยาบาลในสังคมไทยที่มองผิวเผินเสมือนว่าจะมีการยกระดับมากขึ้นทั้งมาตรการรักษาฟรีกับโรงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า รักษาฟรี และการไหลบ่าของชาวต่างชาติที่เข้ามารับการรักษาในไทยเนื่องจากมีมาตรฐานการรักษาที่สูงในราคาที่คุ้มค่าอย่างมาก

ทว่า ในเบื้องลึกกับพบว่า ปัญหาในวงการแพทย์อยู่ในระดับที่สูงโดยเฉพาะภาวะขาดแคลนแพทย์และปัญหาการฟ้องร้องดำเนินคดีระหว่างคนไข้และแพทย์ผู้ทำการรักษาซึ่งอาจจะต้องตกใจเมื่อพบว่าแพทย์ในสาขาที่สำคัญต่อชีวิตอย่างมากกำลังจะขาดแคลนโดยไม่รู้ตัว


แหล่งข่าวนายแพทย์ด้านศัลยกรรมสมอง เปิดเผยถึงภาวะความขาดแคลนแพทย์ระบบประสาทและด้านศัลยกรรมสมอง ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยในภาวะเส้นเลือดในสมองแตก รวมไปถึงเลือดออกในสมองอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ซึ่งการรักษาผู้ป่วยอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรอดชีวิต หรือลดโอกาสที่จะพิการที่จะนำไปสู่การเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ หรือในกรณีของเส้นเลือดในสมองตีบตัน ที่อาจทำให้สมองบวมหรือเสียหาย ซึ่งต้องใช้แพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาเท่านั้น มิฉะนั้นก็จะมีความเสี่ยงต่อสมองเสียหาย หรือนอนเป็นผัก ซึ่งแพทย์สาขาดังกล่าวอยู่ในภาวะขาดแคลนอย่างหนักและส่งผลโดยตรงต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก





ตามข้อมูลจากแพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุข พบว่า เกือบ 30 จังหวัดทั่วประเทศไม่มีแพทย์สาขานี้ประจำ ขณะที่อีกประมาณ 30จังหวัดมีไม่เกินสองคน และมีไม่ถึง10 จังหวัดที่มีประมาณ 3 คน แพทย์เหล่านี้ต้องรับภาระการผ่าตัดและดูแลรักษาคนไทยที่มีปัญหาทางสมองและไขสันหลังในอัตราส่วนที่น่าตกใจ กล่าวคือ ทั่วประเทศไทยมีแพทย์ผ่าตัดสมองไม่เกิน 400 คน


ในจำนวนนี้ยังมีแพทย์ที่เตรียมเลิกการผ่าตัด เนื่องจากเพราะอายุมาก กลัวการฟ้องร้อง เปลี่ยนอาชีพจากแพทย์ไปสู่งานขายตรงหรืออาหารเสริม รวมไปถึงเปลี่ยนไปอยู่ในสายงานการบริหารแทน สุดท้ายแล้วจึงจะเหลือแพทย์ผ่าตัดสมองไม่เกิน 300 คน และเมื่อหักแพทย์ที่เป็นอาจารย์แพทย์ในโรงเรียนแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดใหญ่หรือกทม. จะเหลือแพทย์ประมาณไม่เกิน 250 คน และเมื่อเทียบกับประชากรชาวไทยในปัจจุบันที่มีอยู่ราวๆ 70 ล้านคนเท่ากับว่าแพทย์ผ่าตัดสมองหนึ่งคนต้องดูแลผู้ป่วยทั่วประเทศถึง 280,000 คน !!

ซ้ำร้ายอย่างยิ่งเมื่อหักแพทย์ที่มีแนวโน้มจะลาออกจากระบบราชการ แล้วหันไปทำงานในภาคเอกชนจะเหลือแพทย์ผ่าตัดสมองในระบบราชการไม่ถึง 200 คน เท่ากับว่าในสถานพยาบาลรัฐนั้น แพทย์หนึ่งคนต้องรับผิดชอบคนไทยทั้งประเทศประมาณ 350,000 คน ยิ่งหากคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงว่า ผู้ป่วยเหล่านี้มักเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินที่ชีวิตต้องแข่งกับเวลา ซึ่งในทุกๆนาทีจะมีคนพิการหรือตายเพราะได้รับการรักษาไม่ทันอยู่ตลอดเวลา




เตียงเต็ม หาที่ส่งต่อไม่ได้

อย่างไรก็ดี ในวงการสาธารณสุขโดยเฉพาะกลุ่มแพทย์ทั่วประเทศทราบปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี และรู้ดีว่าคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และอุบัติเหตุทางสมอง จะต้องเผชิญปัญหาและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก และยิ่งเวลามีผู้ป่วยหนักทางสมอง ที่จำเป็นต้องส่งต่อไปพบแพทย์เฉพาะทางระบบประสาท สิ่งที่ทั้งแพทย์ พยาบาล และญาติผู้ป่วยต้องทำคือ “สวดมนต์” เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้แพทย์เจ้าของไข้สามารถหาโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและส่งต่อคนไข้รายนี้ไปได้โดยง่ายและทันเวลา

เพราะหากไม่สามารถดำเนินการส่งต่อได้ แพทย์พยาบาลต้นทางมีสิทธิถูกฟ้อง ในกรณีทอดทิ้งไม่รักษาผู้ป่วยหรือ รักษาล่าช้า ขณะที่ในฝ่ายญาติผู้ป่วยก็มีความขัดแย้งเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะทุกคนย่อมคิดว่า “ปัญหาของตนยิ่งใหญ่ที่สุด”

ส่วนแพทย์ปลายทาง (รพท.รพศ.) ก็มีปัญหาไม่ยอมรับการส่งต่อคนไข้เช่นกันพร้อมกับอ้างเหตุผลว่า “เตียงเต็ม” “ห้องผ่าตัดไม่ว่าง” เนื่องจากหวั่นเกรงปัญหาการถูกฟ้องร้องแทนต้นทาง จึงนำไปสู่ปัญหาคนไข้นอนค้างอยู่ตามห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลต่างๆ หรืออยู่บนรถพยาบาลที่ตระเวนหาโรงพยาบาลที่พร้อมที่จะรับตัวผู้ป่วยไปรักษา ภายใต้สโลแกนดั้งเดิมว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” หรือสโลแกนที่จะกำลังจะออกมาใหม่ว่า “บัตรเดียวรักษาทั่วไทย”

“ไม่เคยได้ยินใครออกมาพูดเพื่อปกป้องหมอ ให้ไม่ต้องกลัว เราจะดูแลคุณเอง เพราะคุณทำงานให้รัฐบาล แต่จริงๆ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลอำเภอ ก็ทำได้เท่านี้เพราะมีกำลังเท่านี้จริงๆ” แหล่งข่าวระบุ

อย่างไรก็ดี การที่แพทย์ปฏิเสธการรับส่งต่อก็เพราะแพทย์ผ่าตัดด้านสมองกลัวการถูกฟ้องร้องอย่างมาก รวมถึงความยากลำบากในการผ่าตัด ยังต้องเผชิญปัญหาเตียงเต็ม ความไม่พร้อมของสถานพยาบาลรัฐ ขาดผู้บริหารที่ปกป้องแพทย์ พยาบาลในสังกัดยามเกิดปัญหา แต่ผู้บริหารกลับพร้อมที่จะตั้งกรรมการสอบ และคอยปลอบใจผู้ป่วยว่าจะทำเรื่องร้องขอเงินช่วยเหลือตาม ม.41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขณะที่ฝ่ายสำนักงานหลักประกันสุขภาพฯ (สปสช.) ก็ไม่เคยออกมายอมรับหรือแก้ปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด




หมอใหม่แห่เรียนเสริมความงาม

ขณะที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับประเทศที่ได้ยินกันอยู่บ่อยครั้งว่า “ขาดหมอก็เพิ่มการผลิต” หรือ “ขาดหมอก็เพิ่มค่าปรับการใช้ทุน” แต่ยังไม่มีการพูดถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาว่า เหตุใดแพทย์จึงขาดแคลน และจะรักษาแพทย์เหล่านี้ไว้ในระบบให้ได้ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านรวมให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมาแทนที่จะเพิ่มแรงจูงใจแพทย์เพื่อให้อยู่ในระบบต่อไป กลับพยายามออกกฎหมาย ระเบียบที่เคร่งครัดแทน รวมไปถึงสภาพความเป็นจริงทุกวันนี้ แม้โรงเรียนแพทย์อยากเพิ่มจำนวนผลิตแพทย์ด้านอายุรกรรมระบบประสาท และศัลยกรรมประสาท แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากแพทย์ที่ต้องการเรียนต่อเป็นผู้เชี่ยวชาญ ต่างไม่สนใจจะเรียนด้านนี้ โดยให้เหตุผลว่าเป็นสาขาที่เรียนยาก และเรียนหนัก พูดง่ายๆ ก็คือ “งานหนัก เงินน้อย ฟ้องเรื่อย ตายเร็ว” รวมถึงยังมีสิทธิ์ติดคุกฐานพยายามช่วยชีวิตผู้อื่น ตามมาตรฐานนักกฎหมายไทย โดยอ้างแต่ว่าต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ป่วยและญาติ แต่ไม่มีผู้ใดพูดถึง “ความเป็นธรรมของคนที่พยายามช่วยชีวิตผู้อื่น” ที่ยังเป็นปัญหาที่ต้องหาคำตอบโดยเร็วเช่นกัน



ในทางกลับกัน แพทย์สาขาที่มีความนิยมสูงในยุคปัจจุบันก็คือ สาขาที่ไม่มีการผ่าตัด งานไม่เสี่ยง ไม่เร่งด่วน ผลตอบแทนสูงรวมถึงยังได้ชื่อเสียงไม่ยากเพราะรู้จักกลุ่ม Celeb (ผู้มีชื่อเสียง) ได้ง่าย คือ สาขาความงามทั้งหลาย จึงเป็นเหตุให้ทั่วประเทศเต็มไปด้วยป้าย “สวยด้วยแพทย์” ทั้งจากแพทย์ผิวหนังหรือศัลยกรรมความงามทั้งหลาย ซึ่งอาจมีเพียงวุฒิบัตรที่เกี่ยวข้องเท่านั้นก็สามารถทำงานสาขานี้ได้ทันที

ผลก็คือ เมื่อจบแพทย์หรือแพทย์เฉพาะทางมาแล้ว และเข้าไปอยู่ในโลกของความเป็นจริงที่พบ ว่า “คนไทยรู้จักแต่สิทธิ รู้แต่การเรียกร้อง เห็นใจคนอื่นน้อยลง แม้ว่าคนๆนั้นจะมีบุญคุณกับตนเอง หรือ มีเจตนาดีก็ตาม” บวกกับ “เงินไม่เข้าใครออกใคร” ทั้งหมอทั้งผู้ป่วยจึงต้องเห็นแก่ตัวเป็นอันดับแรก โดยหมอหากมีทางไปก็เลิกอาชีพ ส่วนผู้ป่วยหากมีช่องทางก็ร้องเรียนหรือฟ้องร้องไว้ก่อน ยิ่งหาก “พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” ผ่านออกมา บังคับใช้คู่กับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ไม่รู้ว่าจะเหลือแพทย์สาขานี้อีกกี่คน ไม่แน่ว่าโรงเรียนแพทย์บางแห่งอาจต้องยุบการสอนแพทย์สาขานี้เพราะหาคนสมัครใจเรียนน้อยลงเรื่อยๆ




แพทย์ถูกฟ้องเพิ่ม 2-3 เท่า

สอดคล้องกับที่ นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ เลขาธิการแพทยสภา ระบุว่า อุปสรรคในการทำงานของแพทย์ก็คือ อัตราการฟ้องร้องโดยทางด้านกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบใน 2 ทาง ทั้งผู้ป่วยที่ต้องแบกรับความเสี่ยงการรักษา เนื่องจากแพทย์ก็ไม่ต้องการที่จะเสี่ยงในการรักษาที่ค่อนข้างยากหรือมีความเสี่ยงสูงจึงทำให้ ภาวะการ “ส่งต่อ” คนไข้ไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่าเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า ซึ่งทำให้โรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งมีความพร้อมทั้งบุคลากรทางการแพทย์และอุปกรณ์ในการรักษาต้องรับการรักษาผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

“โรงพยาบาลอุดรฯ หรือขอนแก่นที่เคยมีการผ่าตัดหรือทำคลอดวันละ 10 รายก็เพิ่มเป็น 20 ราย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการที่โรงพยาบาลอำเภอ หรือโรงพยาบาลชุมชนไม่เสี่ยงที่จะทำการรักษาก็ส่งต่อคนไข้มายังโรงพยาบาลที่ใหญ่กว่า”

ดังนั้น โรงพยาบาลขนาดเล็กที่เคยสามารถแบ่งเบาภาระการรักษาคนไข้ ในบางกรณี เช่น การทำคลอด ผ่าตัดไส้ติ่ง หรืออื่นๆที่พอสามารถทำได้ แต่เมื่อพบกับปัญหาการถูกฟ้องร้องก็เลือกที่จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่แทนเพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการถูกฟ้องร้อง




แนะ ก.พ.แยกหมอคุมอัตราเอง

เลขาธิการแพทยสภากล่าวต่ออีกว่า ภาวะแพทย์ขาดแคลนในหลายสาขา ซึ่งใน 3 สาขาที่สำคัญ เช่น สูติแพทย์ ศัลยแพทย์ ประสาทศัลยแพทย์ มีแนวโน้มที่จะมีอัตราที่ลดลงเนื่องจากเป็นสายที่ค่อนข้างยาก โดยส่วนหนึ่ง ยังต้องยอมรับว่าปัญหาการบรรจุข้าราชการสายสุขภาพค่อนข้างมีปัญหา และถือว่ายังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง แม้ว่าในแต่ละปีจะมีแพทย์จบใหม่เฉลี่ย 2,000 คน และสามารถบรรจุได้ทั้งหมดแต่ก็อยู่บนพื้นฐานของความไม่แน่นอน

แต่คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณแพทย์ที่จบเพิ่มขึ้น 10,000 อัตรา ซึ่งคาดว่าจะเกิดปัญหาในการบรรจุแพทย์จบใหม่เหล่านี้ รวมไปถึง ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งมีมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนราชการจึงทำให้อัตราการบรรจุข้าราชค่อนข้างน้อย รวมไปถึงในสายสุขภาพ และใช้วิธีการไกล่เกลี่ยอัตราบรรจุซึ่งทำให้เกิดปัญหาค่อนข้างมาก แม้ว่าในแต่ละปีแพทย์จะสามารถบรรจุได้แต่ก็ยังมีปัญหาในรายละเอียดทั้งการ บรรจุแพทย์ไม่ตรงสาย การวิ่งเต้นเพื่อหาอัตราบรรจุ ขณะที่ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆก็ยังไม่มีอัตราที่บรรจุได้แน่นอน

ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหาการจัดสรรอัตรากำลังและประเมินความจำเป็นในการบรรจุข้าราชการแพทย์ ก็มีแนวคิดว่า ควรที่จะแยกการจัดการบรรจุข้าราชการแพทย์ออกจากทางก.พ.ทำการจัดสรรอัตรากำลังภายใน เนื่องจากมีความพร้อมและเข้าใจมากกว่า เหมือนเช่นตำรวจ ครู หรือ ทหาร




ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่ว่าอัตราของนักเรียนแพทย์จึงค่อยๆ ลดลง ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะแพทยศาสตร์ก็มีอัตราการสละสิทธิสูงขึ้นเป็น 20 %ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ และเลือกที่จะเรียนในสายอื่นๆที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าแพทย์ อาทิ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมแทน




อีก 4 ปี เอกชนดูดเกลี้ยง

นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ถือว่าค่อนข้างน่าเป็นห่วงก็คือ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในช่วงปี พ.ศ. 2558 ที่จะถึงในอีก 4 ปีข้างหน้าย่อมส่งผลกระทบต่อวงการแพทย์แน่นอน ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าคุณภาพของแพทย์ไทยค่อนข้างสูงและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้ภาวะแพทย์ขาดแคลนจะวิกฤตหนักมากขึ้น เนื่องจากการถูกซื้อตัวไปยังภาคเอกชนและย่อมส่งผลกระทบต่อโรงพยาบาลรัฐโดยตรง เพราะถึงแม้จะมีการรักษาฟรีแต่ก็จะนำไปสู่ปัญหาเรื่องขาดแคลนแพทย์ที่จะทำการรักษา แม้ภาวการณ์ปัจจุบันจะยังมีแพทย์สามารถทำการรักษาได้แต่ก็ต้องล่าช้าเนื่องจากปริมาณผู้ป่วยที่สูงมาก และเสียเวลาในการส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลขนาดใหญ่โดยที่ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยังไม่มีแนวทางที่เป็นรูปธรรมที่จะแก้ปัญหาที่เผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ นอกจากการเรียกร้องให้แพทย์เสียสละ




ดังนั้น ปัญหาที่บุคลากรในแวดวงสาธารณสุขต่างก็แสดงความเป็นห่วงถึงภาวะความขาดแคลนประสาทศัลยแพทย์ ซึ่งจากการประชุมครั้งล่าสุดในช่วงเดือน มิ.ย. 2554 ที่ผ่านมา ก็พบว่าจำเป็นต้องมีนโยบายรักษาแพทย์เหล่านี้ให้อยู่ในระบบราชการให้ได้ มิใช่สรรหานโยบายกักขังมิให้ลาออกจากราชการ เช่น การเพิ่มค่าปรับเป็นเงินหลายสิบล้านหากไม่ทำงานใช้ทุนรัฐบาล ขณะที่การเพิ่มการผลิตแพทย์สาขานี้จำเป็นต้องปลูกฝังอุดมการณ์ในการอุทิศตน และค่านิยมที่ถูกต้องไม่ใช่เน้นเฉพาะวัตถุนิยมที่พบมากในแพทย์รุ่นใหม่ พร้อมกับมีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้เหมาะสมเพื่อให้มีผู้สนใจมาเรียนมากขึ้น ซึ่งหากไม่ทำอย่างจริงจังแล้ว อนาคตอาจได้เห็นภาพคนไทยนอน “สมองตาย” เพราะหาแพทย์ผ่าตัดสมอง หรือหาที่ส่งต่อไม่ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะ “แพทย์สมอง สมองไหล” กันหมดแล้ว!!...





หมายเหตุ ภาพประกอบ จากเวบ //www.thaihospital.org/board/index.php?topic=1969




Create Date : 22 กรกฎาคม 2554
Last Update : 22 กรกฎาคม 2554 15:09:06 น. 2 comments
Counter : 2257 Pageviews.  

 
น่ากลัวจังค่ะ


โดย: phanet วันที่: 22 กรกฎาคม 2554 เวลา:15:30:43 น.  

 


โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic วันที่: 23 กรกฎาคม 2554 เวลา:2:42:14 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]