Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

บทเรียนจากประเทศสวีเดน ว่าด้วยการชดเชยความเสียหายจากบริการสาธารณสุข .. มติชน




////www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1281004573&grpid=01&catid

วันที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 17:33:26 น. มติชนออนไลน์

บทเรียนจากประเทศสวีเดน ว่าด้วยการชดเชยความเสียหายจากบริการสาธารณสุข

คาร์ล เอสเพอร์สสัน ที่ปรึกษากฎหมาย สมาคมประกันสุขภาพแห่งสวีเดน

ประเทศไทยกำลังพิจารณาว่า จะสร้างระบบชดเชยแก่ผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขอย่างกว้างขวางหรือไม่. ขณะที่ในปัจจุบัน, ผู้ป่วยในประเทศไทยที่หวังว่าจะได้รับค่าชดเชยความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ไม่มีทางเลือกอื่น ยกเว้นการนำเรื่องขึ้นสู่ศาล, ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบุคลากรทางการแพทย์นั้นเป็นผู้กระทำผิดพลาดหรือ ละเลย. ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องยาก สาเหตุหนึ่งก็คือ บริบทในการดูแลสุขภาพมักมีความซับซ้อน ยากในการสืบสวนโดยปราศจากผู้เชี่ยวชาญพิเศษ. นอกจากนี้, ในกระบวนการทางศาลก็มักจะต้องใช้เวลายาวนาน, และต้องใช้เงินจำนวนมาก.



มีหลายแนวคิดที่เสนอเรื่องการชดเชยนี้ในประเทศไทย. แนวคิดใหม่ก็คือ การจ่ายค่าชดเชยโดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีบุคลากรทางการแพทย์ผู้กระทำผิดหรือ ไม่. เป็นระบบหนึ่งที่รู้จักกันในนาม "a no-fault system,” (ระบบที่ไม่มีผู้ผิด)ซึ่งที่ถูกควรเรียกว่า "a no-blame system”(ระบบที่ไม่มีการคาดโทษ).


จากการถกเถียงกันในประเทศไทยถึงขณะนี้, ระบบนี้จะดูแลโดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะที่จะรับมือกับการชดเชย ความเสียหาย. แนวคิดคือใช้กระบวนการบริหารจัดการแทนที่จะขึ้นศาลเพื่อประหยัดเวลาและ ประหยัดเงิน. ระบบนี้ของประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงระหว่างระบบชดเชยกับการ ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากบริการสาธารณสุข.



การออกแบบระบบชดเชยความเสียหายฯของประเทศไทยอาศัยบทเรียนจากประเทศใน กลุ่มสแกนดิเนเวีย, รวมถึงประเทศสวีเดน, ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปีค.ศ.1975.

ในปีค.ศ.1975, ระบบประกันสุขภาพโดยสมัครใจถือกำเนิดขึ้นในประเทศสวีเดนทั้งในภาครัฐและ เอกชน. เพียงสองสามปีผ่านไป, เกือบร้อยละ 99 ของผู้ให้บริการก็เข้าสู่ระบบนี้.

ในปีค.ศ.1997, ระบบประกันสุขภาพโดยสมัครใจถูกแทนที่ด้วยพ.ร.บ.ผู้เสียหายจากบริการสาธารณ สุข(Patient Injury Act). กฎหมายนี้มีพื้นฐานมาจากระบบประกันสุขภาพโดยสมัครใจและผลกระทบจากระบบนั้น. จากพ.ร.บ.ผู้เสียหายฯ, ผู้ให้บริการทุกแห่งในประเทศสวีเดนจะต้องรับประกันความเสียหายที่เกิดขึ้น กับผู้ป่วย. ผู้ให้บริการจะชดเชยความเสียหายผ่านระบบประกันสุขภาพซึ่งเชื่อมโยงโดยตรงกับ การดูแลรักษา. ทำให้ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เสียหายไม่ไปฟ้องศาลเพื่อพิสูจน์ความผิด. การจ่ายค่าชดเชยความเสียหายเป็นไปอย่างสมเหตุผลโดยไม่ต้องพิจารณาว่ามีความ ผิดพลาดเกิดขึ้นหรือไม่.



หลักการสำคัญในระบบของประเทศสวีเดนก็คือ จ่ายชดเชยในทุกกรณีความเสียหายแม้จะหลีกเลี่ยงความเสียหายได้ด้วยวิธีอื่น.

อย่างไรก็ตาม, ความเสียหายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แม้จะใช้เทคนิคและความรู้สมัยใหม่ล่าสุดตามมาตรฐานแล้ว จะไม่ได้รับค่าชดเชย. มาตรฐานการดูแลรักษาที่ว่านี้หมายถึง มาตรฐานที่ผู้เชี่ยวชาญผู้มีประสบการณ์ ในด้านนั้นๆเคยใช้อยู่.

บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบการเรียกร้องค่าเสียหายในเบื้องต้น. บริษัทประกันรายเดียวคือ County Councils’ Mutual Insurance Company (LÖF), รับผิดชอบมากกว่าร้อยละ 90 ของการเรียกร้องค่าชดเชย.

ถ้าคนไข้รายใดไม่พอใจการประเมินของบริษัทประกัน, เขาสามารถขอให้คณะกรรมการพิจารณาข้อร้องเรียนของคนไข้(Patient Claims Panel) ทำการทบทวนใหม่ได้. แม้ว่าคณะกรรมการฯนี้จะเป็นเพียงที่ปรึกษา, แต่บริษัทประกันต่างๆก็มักจะยอมรับการตัดสินนั้นๆ.

การประเมินทั้งของบริษัทและคณะกรรมการฯดังกล่าวไม่มีค่าใช้จ่ายที่เกิดกับคนไข้, ดังนั้นคนไข้จึงไม่มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจในการยื่นข้อร้องเรียน. ถ้าคนไข้ไม่พอใจการประเมินของคณะกรรมการฯ, ก็สามารถไปยื่นฟ้องต่อศาลต่อไปได้. อย่างไรก็ตาม, คนไข้ก็จะมีความเสี่ยงที่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการดำเนินคดีที่เกิดขึ้น ทั้งสองฝั่งถ้าแพ้คดี.

จากการเรียกร้องค่าเสียหาย 10,000 รายต่อปี, มีเพียง 5 – 10 รายเท่านั้นที่ไปยื่นฟ้องต่อศาล.


เนื่องจากมากกว่าร้อยละ 90 ของการดูแลทางการแพทย์ในประเทศสวีเดนเป็นภาครัฐ, ดังนั้นระบบการชดเชยนี้ส่วนใหญ่จึงจ่ายด้วยภาษีอากร.





ระบบประกันสุขภาพของชาวสวีเดนทำงานอย่างไร, และประเทศไทยจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากประเทศสวีเดน?


จ่ายชดเชยตามความเสียหายที่ปรากฎ

จากหลักการสำคัญของระบบสวีเดน, ทุกความเสียหายที่หลีกเลี่ยงได้จะได้รับค่าชดเชย. คนไข้ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่ามีบุคลากรการแพทย์ที่กระทำความผิดพลาด.


คนไข้จำนวนมากขึ้นได้รับค่าชดเชยความเสียหาย

ก่อนหน้าระบบประกันสุขภาพจะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1975, มีคนไข้ประมาณ 100 รายต่อปีได้รับค่าชดเชยความเสียหายตามบทบัญญัติในกฎหมายความเสียหาย(tort law rules). ขณะนี้, คนไข้ประมาณ 5,000 รายต่อปี ได้รับค่าชดเชยความเสียหาย.

ดังนั้น ผลก็คือจึงมีคนไข้ในสวีเดนจำนวนมากขึ้นอย่างมากที่ได้รับค่าชดเชยความเสียหายภายใต้ระบบไม่คาดโทษ(no-blame system)ในปัจจุบัน.



จัดการปัญหาการร้องเรียนได้เร็วขึ้น


คดีในศาลใช้เวลาหลายปี. แต่เมื่อใช้วิธีบริหารจัดการแบบนี้แทน จะใช้เวลาไม่ถึงปี. ร้อยละ 50 ของการร้องเรียนเรียกค่าเสียหาย, คนไข้จะได้รับแจ้งว่าจะได้รับค่าชดเชยหรือไม่ภายใน 6 เดือนนับจากวันยื่นร้องเรียน. ร้อยละ 80 ของทั้งหมดจะได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในหนึ่งปี.


เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของบริษัทประกันในการจัดการนี้คือประมาณ 1,100 US$, ขณะที่การพิจารณาของคณะกรรมการฯมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,200 US$ต่อราย. เมื่อเปรียบเทียบกับคดีทางศาลซึ่งมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 27,000 US$.ดังนั้นวิธีทางการบริหารแบบนี้จึงมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามากๆ.



ไม่มีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจสำหรับคนไข้

ดังได้กล่าวแล้วว่า วิธีทางการบริหารไม่มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับคนไข้, คนไข้จึงไม่มีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่จะยื่นร้องเรียนในระบบประกันของ ประเทศสวีเดน.



สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบระบบของประเทศสวีเดนกับระบบ ของประเทศสหรัฐอเมริกา, ซึ่งใช้กฎหมายความเสียหาย(tort law)ก็คือ ประมาณร้อยละ 70 ของเงินในระบบประกันของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นค่าทนายและค่าบริหารจัดการ. ส่วนระบบของประเทศสวีเดนมีค่าบริหารจัดการน้อยกว่าร้อยละ 20 , ดังนั้นคนไข้จึงรับไปมากกว่าร้อยละ 80 ของเงินในระบบประกัน.

ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งในระบบของประเทศสหรัฐอเมริกาก็คือ ทนายสหรัฐฯทำงานด้วยความหวังเงินสำรอง,คอยรับส่วนแบ่งบางส่วน (ระหว่างร้อยละ 30 ถึง 40) ของเงินที่คนไข้ควรจะได้รับจากความเสียหาย. ดังนั้น, จึงไม่มีทนายความผู้ใดรับว่าความคดีที่จะได้รับค่าชดเชยน้อยกว่า 200,000 US$. ส่งผลให้คนไข้ผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมากในสหรัฐอเมริกายากที่จะหาทนายมาว่าความ ให้ตนได้.


ลูกจ้างผู้ประกันตนเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกัน, ดังนั้นจึงไม่มีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจสำหรับแพทย์

ในระบบของสวีเดน, การที่ลูกจ้างเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันในระบบประกันสุขภาพเป็นการขจัดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจแก่แพทย์แต่ละคน.


ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนไข้กับบุคลากรทางการแพทย์

การแก้ปัญหาของสวีเดน, โดยแยกเรื่องออกจากกันระหว่างเรื่องสิทธิของคนไข้ในการเรียกร้องค่าชดเชยกับ เรื่องความผิด, มิเพียงแต่ทำให้คนไข้ได้รับค่าชดเชยความเสียหายจากการรักษาทางการแพทย์ได้ ง่ายขึ้น, แต่ยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับบุคลากรทางการแพทย์ดีขึ้นอย่างมีนัย สำคัญด้วย.

คนไข้ที่ต้องการเรียกค่าชดเชยไม่จำเป็นต้องค้นหาสาเหตุของความผิดพลาดหรือ ความประมาทในการรักษา.

คนไข้เข้าใจได้มากขึ้นว่า ความเสียหายอาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการรักษาโดยที่ไม่ได้มีแพทย์หรือเจ้าหน้าที่คนใดละเลยหรือกระทำการผิดพลาด.

ในทางตรงข้าม, คนทำงานในทีมดูแลรักษา, ก็ไม่ต้องระแวงว่าจะเกิดการเรียกร้องค่าชดเชยได้ในทุกขณะ, หรือเกรงว่าจะถูกตรวจสอบพฤติกรรมอย่างเข้มข้นเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผู้ใด ละเลยหรือกระทำผิดพลาด. ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์เต็มใจช่วยเหลือคนไข้ผู้เคราะห์ร้ายจากการรักษา ของตนให้ได้รับค่าชดเชยโดยไม่ต้องกังวลว่าใครจะเป็นผู้รับผิดในความเสียหาย นั้น.



ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น, ระบบของประเทศสวีเดนได้ให้ประสบการณ์เชิงบวกมากมาย, ซึ่งระบบนี้ทำงานได้อย่างดีเยี่ยมมาเป็นเวลามากกว่า 30 ปี. อย่างไรก็ตาม,
ต้องเน้นย้ำว่า ประเทศหนึ่งประเทศใดไม่ควรลอกเลียนแบบระบบของประเทศอื่นในทุกแง่ทุกมุม. แต่ต้องพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ เช่น ระบบสวัสดิการสังคมของประเทศ, ระบบการดูแลรักษาสุขภาพ, และปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม, ซึ่งอาจแตกต่างอย่างมากระหว่างประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง. การชดเชยความเสียหายแก่คนไข้ในสวีเดนเกิดขึ้นในบริบทที่มีระบบสวัสดิการ สังคมอย่างกว้างขวางแล้ว.



อย่างไรก็ตาม มีแนวคิดพื้นฐานมากมายในระบบประกันสุขภาพของประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียที่ ประเทศไทยสามารถนำมาใช้ในการพิจารณาได้เนื่องจากระบบคล้ายกัน. ข้อดีประการหนึ่งที่มีในระบบของประเทศไทยก็คือ ความเชื่อมโยงอย่างเหนียวแน่นระหว่างระบบชดเชยกับกิจกรรมต่างๆที่มุ่ง ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับคนไข้ในอนาคต. นี่คือองค์ประกอบที่ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียสามารถเรียนรู้จากประเทศไทย.

ที่น่าประทับใจก็คือ การที่ประเทศไทยกำลังพิจารณานำระบบไม่คาดโทษ(no-blame system)มาใช้ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป, สหรัฐอเมริกา, และประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆอย่างเช่น ญี่ปุ่น ยังไม่ได้นำระบบนี้มาใช้เพื่อชดเชยคนไข้อย่างเป็นธรรม.

ถึงวันนี้, มีเพียงประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียและนิวซีแลนด์เท่านั้นที่มีระบบบริหาร จัดการอย่างรอบด้านเพื่อการชดเชยความเสียหายที่เกิดกับคนไข้. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า, ประเทศไทยจะเข้ามาร่วมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วยในไม่ช้า.



ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบนี้ในประเทศสวีเดนได้จาก //www.patientforsakring.se และ “Medical Liability in the Land of the Midnight Sun” by Kaj Essinger, CEO, The Regions’ (The County Councils) Mutual Insurance Company for Patient Injuries (LÖF). สำหรับเนื้อหาใน พ.ร.บ.ผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ของประเทศสวีเดน และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระบบของประเทศสวีเดน ดูได้ที่ //www.pff.se .




ข้อน่าสังเกต ...


๑. สวีเดน ใช้เวลาพัฒนาระบบ ๒๐ ปี ( ๑๙๗๕ - ๑๙๙๗ ) และ เริ่มด้วย ระบบ สมัครใจ

.............เมืองไทย ไม่ใช้เวลาเรียนรู้พัฒนาระบบ แต่ใช้วิธี ออกกฎหมายมาบังคับ ???


๒. จำนวนผู้ได้รับค่าชดเชยเพิ่มขึ้นจาก ๑๐๐ รายต่อปี เป็น ๕๐๐๐ รายต่อปี จากจำนวนผู้ร้องเรียน ๑๐,๐๐๐ รายต่อปี

............ บ้านเรา ก็คงไม่ต่างกันนัก ( ถ้าดูจาก มต.๔๑ ผ่านไป ๕ ปี จำนวนผู้ได้รับการชดเชยเพิ่มจาก ๑๐๐รายต่อปี เพิ่มเป็น ๘๐๐ ราย เงินช่วยเหลือจาก ๕ ล้านบาทเป็น ๙๐ ล้านบาทต่อปี และ ๙๗ % เป็นภาครัฐ )

............. ซึ่งถ้ามองในแง่ดี ก็คือ ผู้ได้รับความเสียหายฯ ได้รับการชดเชยมากขึ้น ทั่วถึงขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งก็คือ แสดงว่า ระบบนี้ ทำใหคนเข้ามาเรียกร้องมากขึ้น แล้วก็มีค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ..

๓. ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของบริษัทประกันในการจัดการนี้คือประมาณ 1,100 US$ ขณะที่ การพิจารณาของคณะกรรมการฯมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,200 US$ต่อราย


๔. เนื่องจากมากกว่าร้อยละ 90 ของการดูแลทางการแพทย์ในประเทศสวีเดนเป็นภาครัฐ, ดังนั้น ระบบการชดเชยนี้ส่วนใหญ่จึงจ่ายด้วยภาษีอากร

............ บ้านเราก็คงไม่ต่างกัน กองทุนนำมาจาก พรบ.๔๑ ( สองพันล้าน) และเก็บจากสถานบริการ ซึ่งเก็บรายหัวจากผู้ป่วยที่มารับบริการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นภาครัฐ อยู่ดี ( รพ.รัฐ + คณะแพทย์) ... เงินกองทุนจึงเป็น ภาษี ที่รัฐเก็บจากทุกคนนั่นเอง ประชาชนทุกคนเป็นผู้จ่ายทางอ้อมเข้ากองทุนนี้ ...



ไหน ๆ เราจะเลียนแบบเขา .. ก็น่าจะเริ่มด้วยการ " ทดลอง" แบบสมัครใจก่อน ถ้ามันดีจริง แบบในสวีเดน ไม่กี่ปี ทุกคนก็จะเข้ามาร่วมด้วย (เหมือนในสวีเดน)

การทดลอง เป็นบางส่วน ก็จะช่วยให้มองเห็นปัญหา และ แก้ไข ได้ง่ายกว่าที่จะนำ ระบบสุขภาพ ของคนทั้งประเทศ เข้าไปเสี่ยง โดยที่เรายังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร

ถ้า พรบ.นี้ผ่านจริง ๆ .. เอาแค่ ข้อมูลของประชาชนที่มารับการรักษาผู้ป่วยนอก (ไม่นอน รพ.) ๒๐๐ ล้านครั้งต่อปี ก็มหาศาลกว่าทุกระบบที่มีในประเทศไทยขณะนี้แล้วนะครับ ไม่ใช่แค่ข้อมูลอย่างเดียว ยังต้องมีระบบบริหารจัดการข้อมูลเหล่านั้น อีกด้วย ..

รวมไปถึง ระบบความปลอดภัยของข้อมูล เพราะ ข้อมูลสุขภาพเหล่านี้ถือว่าเป็น "ข้อมูลส่วนบุคคล" เราคงไม่อยากให้ข้อมูลความเจ็บป่วยของเรา รั่วไปข้างนอก เช่น ผลตรวจ HIV การรักษาตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์ อาการทางจิต การใช้ยาบางอย่าง ฯลฯ


... เรื่องนี้ เกี่ยวข้องกันทุกคน ไม่ใช่แค่ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (หมอ ทันตะ เภสัช พยาบาล เทคนิก ฯลฯ ) กับ NGO (หมอ+ตัวแทนผู้เสียหาย???) ... บ้านเรา คนเก่ง ซุปเปอร์ฮีโร่เยอะ โน่นก็ใช่ นี่ก็ดี มั่วไปหมด คนนั้นก็พูดดี แต่ไม่ได้ทำ (อดีตเคยเป็นหมอ ตอนนี้ไม่แน่ใจว่ายังเป็นหมอหรือเปล่า ??? ) ... ขณะที่คนทำ พูดไม่ค่อยดี ??? .. เอาเป็นว่า ค่อย ๆ หาข้อมูลกันไปเรื่อย ๆ ใจเย็น ๆ อย่างพึ่งปักใจเชื่อว่า ฝ่ายโน้นถูก ฝ่ายนี้ผิด ..

แต่ละทางเลือก มีข้อดี ข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น ..ก็ได้แต่หวังว่า เรา คงมีทางออก ที่ดี มีข้อเสียน้อยที่สุด นะครับ





Create Date : 07 สิงหาคม 2553
Last Update : 7 สิงหาคม 2553 11:57:05 น. 0 comments
Counter : 2490 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]