Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

คลังคุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ขรก. ... กรมบัญชีกลาง ยังไม่ให้เบิกยารักษาข้อเข่าเสื่อม ???




คลังคุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ขรก. ... กรมบัญชีกลาง ยังไม่ให้เบิกยารักษาข้อเข่าเสื่อม ??? vote [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน

//www.thairath.co.th/content/eco/178822

ไทยรัฐออนไลน์ โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
14 มิถุนายน 2554, 05:15 น.




คลังคุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ขรก.


กระทรวงการคลัง คุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ พบ 8 เดือนยอดพุ่งแค่ 4 หมื่นล้าน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาก...

นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้ากลุ่มภารกิจรายจ่าย เปิดเผยถึงยอดการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคคลในครอบครัวใน 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 54 หรือ ณ สิ้นเดือน พ.ค.54 ว่า มียอดการเบิกจ่ายรวม 40,000 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาก แต่คาดว่ายอดการเบิกจ่ายในปีงบ 54 จะอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 62,000 ล้านบาท

สาเหตุที่ทำให้ยอดการเบิกจ่ายลดลง มาจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่าย ทั้งการควบคุมการเบิกจ่ายยาที่ไม่จำเป็น เช่น คุมการเบิกจ่ายยานอกบัญชียาหลัก และการตรวจสอบการเบิกจ่ายยาที่ไม่เป็นไปตามระเบียบย้อนหลังของโรงพยาบาล รวมถึงการออกระเบียบใหม่เพื่อป้องกันการทุจริต

“ที่ผ่านมา ยอดการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลพุ่งขึ้นเฉลี่ยปีละ 20-25% ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีมากถึง 50,000-60,000 ล้านบาท ในปัจจุบัน หากไม่ควบคุมการเบิกจ่ายส่วนนี้ ประเมินกันว่า ยอดการเบิกจ่ายจะทะลุถึง 100,000 ล้านบาทในแต่ละปี ซึ่งจะทำให้การจัดทำงบประมาณสมดุลไม่เป็นไปตามเป้าหมาย”

นางสาวสุภา กล่าวต่อถึงแนวทางของกรมบัญชีกลางที่จะใช้ระบบประกันมาดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพื่อคุมให้งบประมาณรายจ่ายส่วนนี้อยู่ในเป้าหมายว่า กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างการศึกษาข้อดีข้อเสีย คาดได้ข้อสรุปเร็วๆนี้


ส่วนข้อเรียกร้องที่จะให้ยกเลิกระเบียบห้ามการเบิกจ่ายยารักษาข้อเข่าเสื่อมนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ได้มอบหมายให้แพทย์ที่วิจัยการใช้ยาดังกล่าว และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคนี้ ไปหาข้อสรุปให้ตรงกันว่า ควรจะใช้ยาดังกล่าวรักษาคนไข้ต่อไปหรือไม่ ซึ่งหากได้ข้อสรุปว่า ยานี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก็พร้อมที่จะยกเลิก

สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในแต่ละปีจะอยู่ที่ราว 800-900 ล้านบาท.








ผมนำไปตั้งกระทู้ในห้องสวนลุม ด้วย ..


//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L10689825/L10689825.html#3

ความคิดเห็นที่ 1

เมื่อ ๑๐ พค. ๕๔


อาทิตย์หน้าขรก.เบิกจ่ายยา กลูโคซามีนซัลเฟตได้แล้ว

//breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=508809



นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากกระทรวงการคลังว่า

สัปดาห์หน้า กรมบัญชีกลาง จะแก้ไขระเบียบให้ข้าราชการให้สามารถเบิกจ่ายยา กลูโคซามีนซัลเฟต ( Glucosamine sulfate) ที่จะใช้รักษาโรคไขข้อเสื่อม ให้กับข้าราชการสูงอายุได้แล้วตั้งแต่สัปดาห์หน้า เป็นต้นไป

หลังจากที่เคยมีปัญหาถูกตัดออกจากสิทธิการรักษาและมีการข้าราชการออกมาร้องเรียน



ปล. หรือว่า เป็นแค่ การสยบ ความแรง ของกระแส ความไม่พึงพอใจ เลยออกมาให้ข่าวแบบนั้น .. พอผ่านไป คนลืม ๆ เลือน ๆ .. กรมบัญชีกลาง เลยกลับลำอีกรอบ ???



ความคิดเห็นที่ 2

นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้ากลุ่มภารกิจรายจ่าย

" ส่วนข้อเรียกร้องที่จะให้ยกเลิกระเบียบห้ามการเบิกจ่ายยารักษาข้อเข่าเสื่อมนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ได้มอบหมายให้แพทย์ที่วิจัยการใช้ยาดังกล่าว และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคนี้ ไปหาข้อสรุปให้ตรงกันว่า ควรจะใช้ยาดังกล่าวรักษาคนไข้ต่อไปหรือไม่ ซึ่งหากได้ข้อสรุปว่า ยานี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก็พร้อมที่จะยกเลิก " ...


..............................................................................

ทั้งที่ ราชวิทยาลัย ออร์โธฯ ซึ่งน่าจะเป็น องค์กรวิชาชีพ เป็น องค์กรวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ออกมาแถลงฯ แล้ว ??? จะให้ แพทย์เชี่ยวชาญ ที่ไหนมาสรุปอีก ???

ถ้าจะรอให้เห็นตรงกัน ( ไม่มี คนค้าน ) .. แบบนี้ ข้าราชการ ก็คงต้องทำใจ ... ระเบียบ ห้ามเบิกจ่ายยา ก็คงไม่มีทางยกเลิกแน่ ๆ ...

งานนี้ ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า "ข้าราชการ" ที่ใช้ยาเหล่านี้ จะทำอย่างไร ...



ปล. แจ้งไว้ก่อนเลยนะครับ ....

ผม ลาออกจากราชการ เปิดคลิินิก .. ตัดปัญหา เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวไปได้เลยนะครับ แถม ถ้าเบิิกไม่ได้ ผมกลับได้ประโยชน์มากกว่า ด้วยซ้ำ เพราะ ข้าราชการ ที่เคยใช้ยา ไป รพ.ก็เบิกไม่ได้ จะไปเสียเวลารอ เสียเวลาเดินทาง ไป รพ.รัฐ ทำไม .. ก็ไปซื้อยาที่คลินิก จ่ายถูกกว่า ด้วยซ้ำไป ..





ความคิดเห็นที่ 3 [

ผมลงข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในบล๊อก ..ว่าง ๆ ก็แวะไปอ่านกันนะครับ ..



คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม ..(ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-04-2011&group=7&gblog=132



คำชี้แจง จาก ราชวิทยาลัยออร์โธฯ เกี่ยวกับยารักษาข้อเข่าเสื่อม (ที่กรมบัญชีกลางสั่งห้ามเบิก)..( ต่อ )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-04-2011&group=7&gblog=134



ข้อเข่าเสื่อม

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15





จากคุณ : หมอหมู [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 15 มิ.ย. 54 17:31:14 [แก้ไข]










Create Date : 15 มิถุนายน 2554
Last Update : 15 มิถุนายน 2554 17:34:52 น. 3 comments
Counter : 2544 Pageviews.  

 


อย.ค้านตั้งคณะอนุ กก.พิจารณายาข้อเสื่อม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

22 มิถุนายน 2554 09:56 น.

//manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000075854&#Opinion

อย.ส่งหนังสือถึงกรมบัญชีกลาง ค้านการตั้งคณะอนุ กก.พิจารณาประสิทธิภาพยาข้อเข่าเสื่อม แจงสรุปประสิทธิภาพแล้ว ได้ผลจริง

จากกรณีกรมบัญชีกลาง มีคำสั่งไม่ให้มีการเบิกจ่ายยากลุ่มบรรเทาอาการข้อเสื่อมนั้น ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำหนังสือ เรื่อง ขอให้พิจารณาหลักการในการดำเนินการของคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพย าบาลช้าราชการในการทบทวนรายการยากลุ่มบรรเทาอาการข้อเสื่อม ส่งให้ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อขอให้ทบทวนบทบาทของคณะอนุกรรมการ

อนึ่ง รายละเอียดของหนังสือดังกล่าว ระบุว่า จากการที่กรมบัญชีกลางจะไม่ให้มีการเบิกจ่ายยากลุ่มบรรเทาอาการข้อเสื่อมที่ ออกฤทธิ์ช้า และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม และมีประเด็นโต้แย้งอย่างกว้างขวาง ซึ่งต่อมาคณะกรรมการบริการระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาหาข้อสรุปเกี่ยวกับประสิทธิผลความคุ้มค่า ของยานั้น อย.พิจารณาแล้ว จึงขอให้กรมบัญชีกลางทบทวนบทบาทของคณะอนุกรรมการดังกล่าว เนื่องจาก

1.อย.ได้พิจารณาประสิทธิผลและความปลอดภัยของยา ตามที่กรมบัญชีกลางได้มีข้อสงสัยและทำหนังสือสอบถามมาครั้งหนึ่ง ตามหนังสือเลขที่ กค 0422.2/00173 ลงวันที่ 6 ม.ค.โดย อย.ได้จัดประชุมหารือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปว่า ยาดังกล่าวมีข้อมูลสนับสนุนวิชาการที่เชื่อถือได้ ทั้งด้านประสิทธิผลในการรักษาและความปลอดภัย และมีหนังสือแจ้งกลับให้กรมบัญชีกลางแล้ว เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา

2.การพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ว่า ยากลุ่มดังกล่าวจะสามารถเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการข้าราชการได้หรือไม่ ควรพิจารณาเฉพาะประเด็นความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ หรือความพร้อมทางการคลังของประเทศ ไม่ควรนำเรื่องข้อสงสัยในการทบทวนประสิทธิผลทางการรักษามาพิจารณา เนื่องจากปัจจุบัน อย.ได้อนุมัติทะเบียนตำรับยาเฉพาะยากลูโคซามีน รวมทั้งสิ้น 131 ตำรับ จำนวน 44 บริษัท หากมีการพิจารณาประเด็นเรื่องประสิทธิผลของการรักษาของยา และผลการพิจารณาของอนุกรรมการออกมา จะก่อให้เกิดความสับสนต่อประชาชนและผู้ป่วย รวมทั้งความน่าเชื่อถือต่อระบบการขึ้นทะเบียนยาของประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ในตอนท้ายของหนังสือระบุเพิ่มเติมว่า หากคณะกรรมการวิชาการภายใต้คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราช การ มีประเด็นที่เป็นข้อสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิผล หรือผลการรักษาของยากลูโคซามีน ควรส่งให้ อย.เป็นผู้พิจารณาการแต่งตั้งอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองข้อมูลทางวิชาการ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับประสิทธิผลของกลุ่มยาบรรเทาอาการข้อเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้าและกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม โดย อย.เห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ก้าวล่วงภารกิจของ อย.และจะทำให้เกิดความสับสนกับประชาชนในบทบาทภารกิจของหน่วยงาน


โดย: หมอหมู วันที่: 23 มิถุนายน 2554 เวลา:1:50:03 น.  

 
//www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99.pdf

อย. แจงขั้นตอนการขึ้นทะเบียนยารัดกุม

ยืนยัน “ยากลูโคซามีน ซัลเฟต” ผ่านขั้นตอนการขึ้นทะเบียนตามกระบวนการที่ถูกต้องครบถ้วน

อย. ย้ำ มาตรการเข้มก่อนอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยา เพราะจะพิจารณาคุณภาพมาตรฐาน ประสิทธิภาพ
และความปลอดภัย รวมทั้งผลการศึกษาวิจัย เพื่อยืนยันว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการรักษาจริง อีกทั้งยัง
สุ่มเก็บตัวอย่างหลังออกสู่ท้องตลาดเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสม่ำเสมอ เผย “ยากลูโคซามีน ซัลเฟต”
ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. ผ่านกระบวนการและขั้นตอนการขึ้นทะเบียนตำรับยาอย่างครบถ้วนและถูกต้อง

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา อย. เปิดเผยถึงกรณีมีการกล่าวอ้างว่า การขึ้น
ทะเบียนยาในประเทศไทย พิจารณาจากเอกสารทางวิชาการที่บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ยื่นเสนอเพื่อให้ตรวจสอบ
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยเท่านั้น

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าว ไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะขณะนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) มีนโยบายให้ความสำคัญกับการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งการขึ้นทะเบียนตำรับยาของ อย. มีการทำงาน
อย่างเป็นระบบ และรอบคอบ ทั้งก่อนและหลังออกสู่ท้องตลาด โดย “ยาที่จะอนุญาตให้จำหน่ายในท้องตลาด
จะต้องมีคุณภาพ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคและอาการของโรค”

ขั้นตอนคือ ผู้ที่จะผลิตและนำเข้ายาจะต้องยื่นคำขอขึ้นทะเบียนพร้อมข้อมูลด้านการควบคุมมาตรฐาน เช่น สูตร ส่วนประกอบ กระบวนการผลิตยา วิธีการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐาน เป็นต้น , ด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัย โดยต้องมีข้อมูลการศึกษาวิจัยในมนุษย์เพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัย หรือข้อมูลทางวิชาการจากเอกสารอ้างอิง ตำราที่เชื่อถือได้

เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า กรณีเป็นยาใหม่ที่ยังไม่เคยมีการขึ้นทะเบียนในประเทศ จะต้องมีการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาและความเป็นพิษของยาในสัตว์ทดลอง และการวิจัยทางคลินิกในคนเพิ่มเติมด้วย ในการประเมินเอกสารขอขึ้นทะเบียน ทั้งข้อมูลการควบคุมคุณภาพมาตรฐานยาและเอกสารการศึกษาแสดงประสิทธิภาพความปลอดภัย จะดำเนินการโดยนักวิชาการของ อย. และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะพิจารณาในรายละเอียดเช่น ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษา จำนวนตัวอย่าง การประเมินทางสถิติและการแปรผล การตีพิมพ์เผยแพร่ เป็นต้น รวมทั้ง มีการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ มาประกอบการพิจารณาร่วมด้วย ซึ่งเมื่อประเมินรอบด้านแล้วเห็นว่า ยาที่มาขอขึ้นทะเบียนตำรับยามีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย อย. จึงจะรับขึ้นทะเบียนตำรับยา และออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาให้แก่ผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ แม้ว่ายาจะผ่านการประเมินและขึ้นทะเบียน
ตำรับยาแล้วก็ตาม อย. ก็จะติดตามตรวจสอบทั้งคุณภาพ และความปลอดภัยของยาในท้องตลาด โดยการเก็บตัวอย่าง
เพื่อติดตามคุณภาพมาตรฐานสม่ำเสมอทุกปี เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของยา

เลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า มาตรการดังกล่าว ได้ใช้กับ “ยากลูโคซามีน ซัลเฟต” ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้องกับ อย. จึงถือว่า เป็นยาที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย สำหรับการจ่ายยาดังกล่าวให้แก่คนไข้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่ตรวจวินิจฉัย ส่วนเรื่องการให้เบิกค่ายาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกรมบัญชีกลางจะพิจารณาเนื่องจากการดำเนินการขึ้นทะเบียนตำรับยาของ อย. นั้น อย. ได้ดำเนินงานอย่างรอบคอบและคำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ข่าวแจก 27 / ปีงบประมาณ 2554



โดย: หมอหมู วันที่: 23 มิถุนายน 2554 เวลา:17:12:51 น.  

 
แวะมาทักทาย เป็นกำลังใจให้เสมอนะจ้า EIS BIO SCAN Morpheus Morpheus8 ยกกระชับ ICELAB ลดร่องแก้ม Harmonyca ฟิลเลอร์ ดูดไขมัน P-SHOT สมรรถภาพทางเพศ ฉีดฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องชาย Ultherapy Prime Profhilo ฉีดฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์น้องสาว เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า ฉีดฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฉีดฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์ขมับ เลเซอร์บิกินี่ Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Ultraformer III Ultraforme Ultraformer MPT Ultraformer ฉีดโบลดกราม โบลดกราม Radiesse ร้อยไหม เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน บราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์ขน ฟิลเลอร์หน้าผาก O-Shot Aviclear Aviclear Laser IV DRIP ดริปวิตามิน ฉีดโบรักแร้ โบรักแร้ ปลูกผม LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผม ผมบาง ปลูกผมเทคนิคแขนกล รักษาผมร่วง ผมร่วง Hair Restart ผมร่วง ผมบาง ปลูกผม ปลูกผมถาวร ปลูกผม ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ใต้ตา เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก ยกกระชับ Ulthera อัลเทอร่า Thermage Thermage FLX ฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ปาก โบลดริ้วรอย ฉีดโบลดริ้วรอย สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite Coolsculpting Sculptra ฟิลเลอร์ ปลูกผม ปลูกผม FUE Pico Pico Majesty Pico Majesty Laser ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม Radiesse ฟิลเลอร์ โบลดริ้วรอย โบลดริ้วรอย Oligio เลเซอร์ขน วีเนียร์ AviClear Laser AviClear เลเซอร์รักษาสิว ปลูกผมเทคนิคแขนกล ปลูกผม เลเซอร์รักษาสิว Accure Laser Accure เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา Emface Skinvive Oligio เลเซอร์รักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ กำจัดขนถาวร กำจัดขน เลเซอร์ขน เลเซอร์ขน กำจัดขน ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ Reepot Laser Reepot Sculptra Hifu ยกกระชับ ยกกระชับหน้า Ulthera ยกกระชับ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Apex ให้ใจ สุขภาพ


โดย: น้องเมย์น่ารัก วันที่: 18 พฤศจิกายน 2567 เวลา:17:42:43 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]