Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

อย. ยัน "ไม่เคยรับรอง" ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลดอ้วนได้จริง ..วิธีตรวจสอบ แอบอ้างเลข อย. (ปลอมทุกอย่าง)













ค้นเนตไปเจอบทความเรื่องนี้ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ ... แต่ดูแล้ว ก็คงเป็นบทความที่คงไม่ค่อยมีใครได้อ่าน ปัญหาเรื่อง ยาลดความอ้วน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร(อาหารเสริม) ก็ยังมีเกลื่อนกลาด คนก็ยังเชื่อโฆษณาทั้งหลาย ... โดยเฉพาะชอบอ้างกันเหลือเกินว่า "ผ่าน อย. แล้ว " " อย. รับรอง " ทำให้คนเข้าใจผิด

แต่ พูดกันตรง ๆ จะว่าเขา(เธอ) โกหก ก็ไม่ได้ เพราะผ่าน อย. จริง ๆ ( แต่ เป็นการพูดครึ่งเดียว .. เอ.. เแบบนี้ ก็แสดงว่า คนซื้อ คนใช้ " โง่ " เองงั้นหรือ ???

เลยนำมาลงอีกรอบ ให้อ่านกันชัด ๆ อีกที .. เผื่อจะได้ ไม่ตกเป็นเหยื่อให้เขาหลอก เสียทั้งเงิน เสียทั้งสุขภาพ ยังไม่เท่าไหร่ เสียรู้ โดนหลอก นี่สิ เจ็บใจ กว่า ...

....................................

อย. แฉ ? ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร? โกหก หลอกลวง ลักลอบโฆษณา โปรยใบปลิว อวดอ้างลดความอ้วนได้
ยัน ไม่เคยรับรองว่าลดอ้วนแค่รับรองว่ามีมาตรฐานการผลิตปลอดภัยต่อผู้บริโภค เท่านั้น


นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการตรวจสอบโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และ ปัจจุบันยังพบการลักลอบโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่าสามารถลดความอ้วนได้ โดยใช้ใบปลิวแนะนำผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งจะเป็นลักษณะรูปแบบขายตรง ทำให้เข้าใจว่าลดน้ำหนักได้ผลและไม่กลับมาอ้วนอีก ทั้งมีการอ้างบุคคลว่าใช้แล้วได้ผล พร้อมกับแสดงชื่อและหมายเลขโทรศัพท์มือถือสำหรับติดต่อ

นพ. นิพนธ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีการกล่าวอ้างว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นๆ เชื่อถือได้เพราะได้รับการรับรองจาก อย. โดยมีเลขสารบบอาหารในเครื่องหมาย อย.ติดอยู่ที่ฉลากผลิตภัณฑ์ จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพราะอาจถูกหลอกหรือได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ขอยืนยันว่า ไม่เคยรับรองผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่าสามารถลด ความอ้วนได้ สำหรับ เลขสารบบอาหารในเครื่องหมาย อย. ที่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับเป็นการประเมินเบื้องต้นว่า ผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ผ่านการตรวจประเมินสถานที่ ว่าได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบหรือวัตถุดิบที่พิจารณาแล้วว่าปลอดภัย และฉลากอาหารแสดงข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนด? นพ.นิพนธ์กล่าว

รอง เลขาธิการ อย.กล่าวอีกว่า การลดหรือควบคุมน้ำหนักที่ดีและได้ผล คือ ผู้บริโภคควรควบคุมการบริโภคอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย โดยบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันโรคได้ด้วย โดยไม่ต้องรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ทั้งนี้ หากผู้บริโภคจะซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรดูรายละเอียดบนฉลากอาหาร ว่าให้ส่วนประกอบหรือมีสารอาหารอะไรตรงตามที่ ต้องการหรือไม่

ไม่ควรหลงเชื่อการโฆษณาจูงใจต่างๆ จากการขายตรง เพราะโฆษณาดังกล่าวจะมุ่งเน้นขายผลิตภัณฑ์โดยอ้างสรรพคุณต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับอนุญาตให้โฆษณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอวดอ้างสรรพคุณว่ามีผลในการป้องกัน บำบัด บรรเทา หรือรักษาโรคได้

หากผู้บริโภคพบเห็นโฆษณาในลักษณะผิดกฎหมายดังกล่าว สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย.1556 เพื่อ อย.จะได้ดำเนินการต่อไป


โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 มีนาคม 2550 12:47 น.

"""""""""""""""""""""""""""""""

อย. ยัน...ไม่เคยรับรอง .... ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร .... ลดอ้วนได้จริง    //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-11-2008&group=7&gblog=8

อย.มีหน้าที่รับรองเฉพาะส่วนผสม สถานที่ผลิต และระบบการผลิต ไม่ได้รับรองสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรคต่าง    //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-09-2011&group=7&gblog=148

หนังสือ เคล็ด(ไม่)ลับ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างรู้เท่าทันโฆษณา ( หนังสือ pdf แจกฟรี)    //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2012&group=7&gblog=160

หนังสือ ทุกข์ล้นเหลือ เหยื่อโฆษณา ............ของดี ฟรีด้วย โหลดอ่านกันได้เลยครับ     //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-10-2012&group=7&gblog=163


................................








https://www.facebook.com/fanemouth/posts/1546437185431718

ระวัง ! ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอ้างว่า กินแล้วผอม ช่วยลดน้ำหนัก บอกว่าปลอดภัย มีเลข อย ด้วย
แต่เมื่อเช็คเลขที่ อย แล้ว ปรากฎว่า ไม่มีเลข อย. นี้ในระบบข้อมูลของ อย.

พฤติกรรมเยี่ยงนี้ เลวร้ายมาก
ทำมาหากิน บนชีวิตคน
พ่อค้า แม่ค้า คงคิดว่า คนซื้อของเค้า "โง่"
แค่บอกว่า "มีเลข อย". ก็คิดว่าปลอดภัยแล้ว
แค่บอกว่า "กินแล้วผอม" ก็ซื้อกินกัน ไม่กลัวผลกระทบ

....

ถึง ทุกท่าน ....
อย่าให้ใครมาหลอกเราได้อีก ....

เบื้องต้น สามารถตรวจสอบเลข อย ได้ที่เวป อย. ตามนี้
• เช็ค อย.อาหาร //fdaolap.fda.moph.go.th/logistics/food/FSerch.asp…
• เช็ค เลขทะเบียนยา //fdaolap.fda.moph.go.th/logistics/drgdrug/DSerch.asp
• เช็ค ข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง //164.115.28.102/FDA_SEARCH_CENT…/…/FRM_SEARCH_CMT.aspx

อีกประเด็นนึงค่ะ เรื่องการโฆษณาว่า คำโฆษณานั้น อย. อนุญาตจริงหรือไม่ จะต้องสังเกตว่า การโฆษณาที่เราเห็น แบบบรรยายสรรพคุณนั้น มีการขออนุญาตโฆษณาหรือไม่

- เลขอนุญาตโฆษณาอาหาร = ฆอ. ..../....
- เลขอนุญาตโฆษณายา = ฆท. .../....
- เลขอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ ฆพ. .../....
- เครื่องสำอาง ไม่มีเลขขออนุญาตโฆษณา เนื่องจาก กฎหมายกำหนดว่า เครื่องสำอางไม่ต้องขออนุญาตโฆษณา

เราจะสังเกตได้ว่า การโฆษณาใน social media ส่วนใหญ่ ไม่มีแสดงเลขอนุญาตโษฆณาจาก อย. - แสดงว่า เป็นโฆษณาเข้าข่ายผิดกฎหมายเกินจริง - แล้วเรายังจะซื้อมากิน มาใช้หรือ ???

และที่สำคัญ เราควร Double check - Triple Check ....
1.เช็คเลขที่ อย

2.เช็คการตรวจสารประกอบ
ได้ที่ หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ ของกรมวิทยาศาตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข www.tumdee.org/alert
แต่ในหน้าต่างเตือนภัย ก็ยังไม่ได้มีผลิตภัณฑ์ทุกตัวในประเทศไทยนะคะ อย่าเข้าใจไปว่า ในระบบหน้าต่างเตือนภัยไม่มีแจ้งเตือน ก็จะคิดว่าปลอดภัยแล้ว
และอีกอย่าง สารประกอบบางตัว มันไม่สามารถตัวเจอได้ด้วยกรรมวิธีการตรวจสอบของประเทศไทยนะคะ

3.ถ้าต้องการส่งผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตรวจสอบว่ามีสารอันตรายหรือไม่ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามช่องทางต่างๆ ดังนี้

• กทม. - กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ที่อยู่ : 88/7 บำราศนราดูร ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 0-2951-0000,0-2589-9850-8

• กรณีต่างจังหวัด ส่งไปตรวจสอบได้ที่ ศูนย์วิทยาศาตร์การแพทย์จังหวัด //www.dmsc.moph.go.th/dmscnew/regional_agencies.php

.....
ถ้าเราไม่ปกป้องตัวเอง แล้วใครจะมาปกป้องเรา


::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::



หลายๆคนคงสงสัยว่า ทำไมเวลาพวกยาลดความอ้วนที่ขายดีๆ แล้วเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจเจอสารอันตราย เช่นไซบูทรามีนในนั้น พวกแม่ค้ามันถึงอ้างว่า เฮ้ย ของที่กรูขายมี อย นะเว้ย แล้วมันจะอันตรายได้ไง บลาๆ ไอ้ที่ตำรวจจับไปมันของปลอมทั้งนั้น บลาๆ แล้วพอเอาเลข อย แม่งไปตรวจก็พบว่ามันเสือกเป็นของจริงซะด้วย ทำไมเป็นงั้นรู้มะ

เพราะ เลข อย ของอาหารเสริมพวกนี้ ของ่ายครับ ขอผ่านเน็ทก็ได้ ขอตอนเช้า ตอนเย็นได้ก็มี แค่กรอกเอกสารให้ครบ ลงรายละเอียดองค์ประกอบในอาหารเสริมแค่ให้เจ้าหน้าที่อ่านแล้วเห็นว่า เออ กินแล้วไม่ตายห่าก็ผ่านได้เลข อย ละ

เลข อย มันของ่ายกันประมาณนั้นแหละ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าถ้าจะเจอพวกอาหารเสริมที่มีสารอันตรายถึงตาย มีเลข อย กันเต็มไปหมด

คำถามคือ อย ไม่ต้องเอาอาหารพวกนี้ส่งตรวจหาองค์ประกอบในอาหารเสริมเรอะ

ไม่ว่ะครับ อันนี้เคยคุยกับ จนท ระดับผู้บริหารของ อย มา เขาอธิบายคอนเซ็ปท์ว่า ระบบนี้เดิมทีมันยึดหลักว่า ผู้ผลิตสินค้า เขาก็อยากให้มีลูกค้าอุดหนุนสินค้าเขานานๆ ก็ต้องใส่วัตถุดิบตามส่วนผสมที่กรอกเอกสารส่ง อย เพราะถ้าไม่ทำงั้นเกิดใส่สารไรที่อันตรายลงไปแล้วจับได้ตอนหลัง ผู้ผลิตก็จะซวยเอง หากินกันไม่ได้

แต่คอนเซ็ปท์ทุกวันนี้แม่งเปลี่ยนไป ระบบเดิมมันตามโลกไม่ทัน เพราะผู้ผลิตแม่งไม่สนหรอกครับ ว่าจะโดนจับโดนปรับกี่บาท

เพราะโทษปรับแม่งเบาเหี้ยๆ


เบาแบบไม่ถึง 0.001% ของรายได้ที่มันจะมีหากขายอาหารเสริมที่ใส่สารอันตรายลงไป

หรือต่อให้ อย เอามาตรวจก่อนจด เลข อย ก็ใช่ว่าจะทำไรได้
เพราะมันมีผู้ผลิตนกรู้ ผลิตอาหารเสริมแบบธรรมดาๆไม่มีสารอันตรายห่าไร ส่งให้ อย ตรวจ พอตรวจเสร็จ รับรองผ่านได้เลข อย

กลับถึงโรงงานแม่งเทไซบูทรามีนและยาอันตรายสารพัดลงเครื่องปั๊มยาเลยครับ ไอ้ฉิบหาย

แล้วพอมีคนร้องเรียนมา อย ไปจับไอ้พวกนี้ส่งตรวจ แม่งก็จะแถด้วยข้ออ้างเดิมๆ ที่ อย จับคือของปลอม ของจริงที่ชั้นขายไม่มีสารอันตราย บลาๆ บางคนแม่งก็ห้าวถึงขั้นขู่ฟ้อง อย สสจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เอาเรื่องมาเปิดโปงเลยก็มี บางรายโดนดำเนินคดี จ่ายค่าปรับไม่กี่บาท แล้วแม่งก็จ้างโรงงานเดิมผลิตแบรนด์ใหม่ ขอเลข อย กันใหม่ แล้วก็หลอกประชาชนกันอีกรอบวนไปวนมาอยู่แบบนี้

อันนี้ถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาลตรงๆเลยนะ
ทำไรก็ได้ ให้ อย ตำรวจ ที่ทำงานในด้านนี้ เขามีอำนาจในมือเด็ดขาดกว่านี้ และมี จนท มาดูแลปัญหานี้ให้เยอะกว่านี้หน่อยเหอะว่ะ เห็นที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้แล้วสงสารฉิบหาย ขายอาหารเสริมยาลดความอ้วนกันเต็มบ้านเต็มเมือง จนท แม่งมีกันกี่คนเชียว ปัญหาที่เกิดขึ้นตอนนี้ไม่ใช่เพราะเจ้าหน้าที่ไม่กวดขันแล้ว แต่มันเกิดเพราะโครงสร้างแม่งหละหลวม ระบบมันมีปัญหา จนไม่สามารถปกป้องประชาชนจากพวกยาลดความอ้วนได้

ส่วนประชาชนก็เหมือนกัน มึงต้องเลิกมองว่า เลข อย เป็นอะไรที่เชื่อถือได้ไม่ว่าคนขายมันจะอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงแค่ไหนก็ตามได้แล้ว มันก็แค่เป็นเลขที่การันตีว่า ตอนมันไปจดเลข อย มันไม่ได้กรอกเอกสารใส่สารอันตรายลงไปแค่นั้นเอง นอกนั้นมันไม่ได้บอกเชี่ยไรเล้ยยยย

ที่มา https://www.facebook.com/DramaAdd/photos/a.411063588290.186101.141108613290/10155862656683291/?type=3&theater

ต้นเรื่อง.. อ่านแล้วอืมมมมมมมมมม
๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ สุโขทัย : จับแล้วผลิตภัณฑ์ มิซมี่ (Mizme) มิซยู ออร่า (Mizz U Aura) ... สสจ.แจงอัตรายถึงตาย
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10207608735096531&id=1835498228&pnref=story
https://www.facebook.com/prsukhothai/posts/795364583969498·





Create Date : 24 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 13 กันยายน 2560 12:59:50 น. 17 comments
Counter : 21706 Pageviews.  

 
ขอบคุณกับความรู้ค่ะ

ตั้งแต่ผ่าตัดเนื้องอกมา นิ่มก็ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากินหลายตัว ประเภทวิตามินและเกลือแร่ค่ะ ต้องการเสริมสุขภาพจริงๆ ไม่ใช่ต้องการลดความอ้วน

อยากได้ความรู้จากหมอหมูถึงการทานวิตามิน เกลือแร่เสริมอาหารจัง ว่าที่ถูกต้องควรกินอะไรคู่กับอะไร และไม่ควรกินอะไรคู่กับอะไร ไม่รู้ถามให้งงหรือเปล่าคะหมอ


โดย: คุณน้ำตาล วันที่: 25 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:33:32 น.  

 

แถม ..

ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณพึงระลึกอยู่เสมอเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-04-2008&group=4&gblog=33


อาหารเสริม ดีจริงหรือ ??? กินกูลต้าไธโอน ขาวจริงป่ะ ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=4


โดย: หมอหมู วันที่: 25 กันยายน 2552 เวลา:14:49:59 น.  

 

อาหารเสริม ยาลดอ้วน อาจกลายเป็นปัญหาที่เรื้อรัง เพราะความไม่เข้าใจของผู้บริโภค

//www.thaihealth.or.th/node/13354



ทุก วันนี้อาหารเสริมเป็นสินค้าที่ท๊อปฮิตติดตลาดในบ้านเรา เพราะกระแสการรักสุขภาพกำลังมาแรง จึงทำให้มีการผลิตสินค้าเหล่านี้ และเพื่อเอาใจคนทำงานที่ไม่ค่อยมีเวลาใส่ใจตัวเองมากนักให้มีช่องทางในการ เลือกดูแลตัวเองด้วยวิธีที่ง่ายและประหยัดเวลาได้อีกด้วย แม้ช่องทางดังกล่าวอาจจะดูเหมือนเป็นไปได้ในทิศทางที่ดี แต่การหากำไรนอกกติกาของผู้ประกอบการที่เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วน รวมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง



จากการสรุปสถานการณ์การตรวจจับ “ยาลดอ้วน- อาหารเสริมไร้มาตราฐาน ในรอบปี 2551 – 2552 ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) พบว่ามี อาหารเสริม-การแฟลดอ้วน ที่เข้าข่าย “โฆษณาเกินจริง” และ “มีสารต้องห้ามเจือปน” 10 รายการ คือ

1.ผลิตอาหารเสริม Pink Lady และ Peeya Pink

2.ผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดอ้วน ขจัดไขมันส่วนเกิน Theya Pink

3.ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ทเวนตี้ โฟร์ อินซ์ และอาหารเสริมควบคุมน้ำหนัก ViteSlend)

4.ผลิตภัณฑ์กาแฟลดอ้วน VASANE

5.ผลิตภัณฑ์กาแฟ Sexy Coffee

6.ผลิตภัณฑ์อาหารลดอ้วน Lady Slen

7.ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดอ้วน L-Carnitine

8.ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดอ้วน L-carnitine Plus

9.ผลิตภัณฑ์อาหารลดอ้วน Balance

10.ผลิตัณฑ์อาหารเสริมลดอ้วนBody Balance



เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.พิพิฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า อาหารเสริมเป็นสินค้าที่มีกลุ่มผู้บริโภคต้องการมาก เนื่องจากการทำงานของคนในยุคปัจจุบันเวลาในการพักผ่อนมีน้อยและอาจไม่เพียงพอต่อพลังงานที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน อาหารเสริมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของร่างกาย จึงไม่แปลกที่ตามท้องตลาดมีอาหารเสริมวางขายเป็นจำนวนมาก แต่การกระทำผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับอาหารและยา ก็ยังเกิดขึ้นอยู่ แม้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีการควบคุมอย่างเข้มงวดแล้วก็ตาม แต่ผู้ประกอบการบางกลุ่มก็มีหนทางในการหลีกเลี่ยง หรือกระทำได้ โดยหวังเพียงแค่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่คำนึงถึงส่วนรวมเลย



“กฎหมาย ห้ามโฆษณายาลดความอ้วนผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์ แต่สำหรับอาหารเสริม หรือกาแฟ สามารถประกาศโฆษณาผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์ได้ ทำให้ผู้ประกอบการบางกลุ่มแอบจดทะเบียนยาลดความอ้วนเป็นอาหารเสริมแทน เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านทางสื่อได้ เพราะไซบูทรามีนตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 จัด อยู่ในกลุ่มยาที่ลดความอยากกินอาหาร ซึ่งจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง สามารถขายได้ในสถานพยาบาล และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนสั่งจ่ายเท่านั้น และต้องอยู่ภายใต้มาตราการติดตามความปลอดภัยของสถานพยาบาลด้วย จึงมีอาหารเสริมบางยี่ห้อเจือปนสารไซบูทรามีนลงไปด้วย และคนส่วนใหญ่คงเข้าใจว่ายากับอาหารเสริมคือสิ่งเดียวกัน รวมถึงการอวดอ้างสรรพคุณของอาหารเสริมบางยี่ห้อที่เกินจริง ส่งผลต่อผู้บริโภคที่ซื้อไปรับประทานและเกิดอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งก็มีร้องเรียนมาอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้ทางอ.ย.เอง กำลังดำเนินการตรวจสอบและเอาผิดต่อผู้ประกอบการเหล่านั้นอย่างเข้มงวด”



สำหรับแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการควบคุมอาหารและยา หากตรวจพบว่ามีการกระทำผิดดังกล่าว จะมีด้วยกัน 3 แนวทาง คือ การปราบปราม การให้ความรู้แก่ประชาชน และการสร้างจิตสำนึกให้แก่ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิต ซึ่งแนวทางทั้ง 3 นี้ เป็นการปกป้องประชาชน ผู้บริโภคได้ในเบื้องต้น เพราะสิทธิ์ในความพึงพอใจในการรับซื้อสิ้นค้าทั้งหมดอยู่ที่การตัดสินใจของ ผู้บริโภคเอง แต่หากผู้บริโภคมีความรู้ ก็สามารถช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ถูกต้อง



นพ.พิ พิฒน์ ยิ่งเสรี ได้กล่าวต่ออีกว่า นอกจากปัญหาการประกาศอ้างสรรพคุณของอาหารเสริมที่เกินจริงและการเจือปนสาร ต้องห้ามลงในอาหารเสริม และกาแฟแล้ว ยังพบอีกว่ามีผลิตภัณฑ์บางบริษัทไม่ได้จดทะเบียนเลขสารรบบกับอ.ย. ได้วางจำหน่ายแล้วตามท้องตลาด โดยการนำเลขสารรบบของผู้ประกอบการรายอื่นมาแสดงบนฉลากแทน เพื่อล่วงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ซึ่งกรณีแบบนี้หากมีการตรวจพบจะมีการดำเนินคดีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 100,000 บาท



หาก จะพูดถึงความเป็นจริงแล้วเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมออกมาวางขายจนเกลื่อนตลาดนั้น ก็มาจากความต้องการของผู้บริโภคเองแทบทั้งสิ้น ที่มีค่านิยมว่า “ต้องสวย ผอม หุ่นดี ผิวพรรณดี” ซึ่งค่านิยมเหล่านี้ทำให้เกิดช่องว่าง และเป็นช่องทางแอบแฝงให้ผู้ประกอบการหัวใสที่ใช้การสื่อสารการตลาดที่ผิด วิธีโปรโมทสินค้าเพื่อสร้างความเข้าใจที่ผิดให้แก่ผู้บริโภคหลงเชื่อ และหันมาบริโภคสินค้าของตน



เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.เกียรติคุณ พญ.ชนิกา ตู้จินดา ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันนี้กระแสของเกาหลีกำลังมาแรงในประเทศไทย ทำให้วัยรุ่นส่วนใหญ่ที่ชื่นชอบ จึงพยายามทำตัวเลียนแบบศิลปินเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทรงผม เสื้อผ้า รวมถึงรูปร่างต้อง ผอม ขาว เพื่อให้เกิดการยอมรับในหมู่เพื่อนฝูง เหตุนี้จึงทำให้มีการนำเอาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ มาใช้กันเอง เพราะหลงเชื่อคำโฆษณา และไม่ได้ปรึกษาพ่อ-แม่ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างจริงจัง



“สมัยนี้กระแสเกาหลี Fever กำลัง มาแรง และอินเทรนด์มากในหมู่วัยรุ่น สินค้าใดก็ตามที่นำเข้าจากเกาหลีก็มักจะขายดีในตลาด แต่โดยพื้นฐานของคนไทยเองจะทำให้ผิวขาวใสเหมือนชาวเกาหลีนั้นมีความเป็นไป ได้น้อยมาก

ไม่ว่าอาหารเสริมชนิดใดก็ตามที่อวดอ้างสรรพคุณต่างๆ นาๆ อาจช่วยได้แต่คงไม่มากนัก หรือยาลดอ้วนก็ตาม แม้จะช่วยให้มีรูปร่างผอมเพียวลงจริง แต่ผลข้างเคียงคงมีมากกว่า

ซึ่งต่างจากสมัยก่อนคนไทยเรามีค่านิยมในการเลี้ยงลูกว่าต้องอุดมสมบูรณ์ ตุ้ยนุ้ย จะได้ดูน่ารัก น่าชัง แก้มป่องเหมือนตุ๊กตา และทำให้คนที่ถูกเลี้ยงดูมาแบบนั้นกลายเป็นโรคอ้วน จนเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต

พอมาถึงยุคสมัยที่คนนิยมความผอม หุ่นดี ทำให้วิธีการลดน้ำหนักด้วยการหายาลดความอ้วนมารับประทานเองกลายเป็นที่นิยม เพราะหาซื้อง่ายและสะดวก ซึ่งอาจจะไม่ได้รับรองมาตราฐานความปลอดภัยจากที่ใดเลย และส่งผลอันตรายต่อร่างกายถึงขั้นรุนแรงได้ และนี่คงเป็นอีกปัญหาหนึ่งเกี่ยวกับอาหารเสริม และยาลดอ้วนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย”



ในขณะเดียวกันอาหารเสริมกับยาลดอ้วนคือสิ่งที่คู่กันในความเข้าใจของคนทั่วไป แต่อาหารเสริม คือ สิ่งที่ทางการแพทย์ยอมรับมากกว่าและเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยน้อยกว่ายาลดอ้วน อีกทั้งยาลดอ้วนก็ไม่ถือว่าเป็นอาหารด้วย ดังนั้นการหาซื้อรับประทานเองความปลอดภัยคงมีไม่มากนัก การออกกำลังกายหรือควบคุมอาหารน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของปัญหานี้ เพราะจากรายงานขององค์การอนามัยโลกใน พ.ศ. 2549 ระบุว่าในประเทศพบเด็กอ้วนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 5 ปี จากปี 2539 – 2544 เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี อ้วนเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 40 ส่วนเด็กอนุบาลและประถมศึกษามีแนวโน้มอ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.3 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 15 ในปี 2550



ซึ่ง ในเรื่องนี้ ศ.เกียรติคุณ พญ.ชนิกา ตู้จินดา ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า หากใครที่มีเพื่อนหรือบุคคลที่รู้จักเป็นโรคอ้วน และเขาเองต้องการที่จะลดน้ำหนักสิ่งเดียวที่สามารถทำให้เกิดผลได้สำเร็จนั้น คือการให้กำลังใจเขามากๆ เพื่อลดปมด้อยที่มีอยู่ แต่สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่อยากให้ลูกหลานของท่านเป็นโรคอ้วนนั้น ก็ควรเลี้ยงด้วยโภชนาการที่ถูกต้อง ซึ่งหากเขาได้รับโภชนาการที่ถูกต้องตั้งแต่เด็กนอกจากรูปร่างจะดีสมส่วนแล้ว จะส่งผลถึงระบบสมองให้ฉลาดได้ ด้วยหลัการ 3 อ. ขั้นพื้นฐาน คือ

อาหาร ต้องปลูกฝังให้เขาเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานด้วยปริมาณที่พอดี

อ.ตัวที่สอง คือ อารมณ์ ต้องปลูกฝังให้เขาปรับอารมณ์รับรู้ได้ว่าหิว หรือว่าอิ่มแล้ว เพื่อการรับประทานอาหารได้ตามปริมาณที่เหมาะสม

อ.ตัวสุดท้ายคือ ออกกำลังกาย ซึ่งการปลูกฝังเรื่องนี้จะช่วยให้สุขภาพร่างกายของเขาแข็งแรง สมบูรณ์ และเติบโตสมวัยด้วย



อย่าง ไรก็ตามแม้ตอนนี้อาหารเสริม และยาลดอ้วนกำลังเป็นปัญหา แต่หากผู้บริโภคสามารถแยกแยะระหว่าง ยาซึ่งเป็นที่ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น กับอาหารเสริมที่มีการยอมรับทางการแพทย์ว่าปลอดภัยได้ ปัญหาดังกล่าวคงหมดไปได้ในที่สุด




แถม ..

อย. ยัน...ไม่เคยรับรอง .... ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร .... ลดอ้วนได้จริง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-11-2008&group=7&gblog=8

อาหารเสริม เลือดจระเข้ ดีจริงหรือ ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-12-2009&group=7&gblog=41


ยา กับ อาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ต่างกันอย่างไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=5


อาหารเสริม ดีจริงหรือ ??? กินกูลต้าไธโอน ขาวจริงป่ะ ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-08-2008&group=7&gblog=4




โดย: หมอหมู วันที่: 6 มกราคม 2553 เวลา:16:02:57 น.  

 

//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000024953

เตือนอาหารเสริม3ยี่ห้อใส่สารลดอ้วนควบคุมผิดกม."ไซบูทรามีน"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 กุมภาพันธ์ 2553 13:39 น.


สาวอวบอย่า เสี่ยง! สธ.เตือนอาหารเสริม3รายการอันตราย ลักลอบใส่ยาลดความอ้วนควบคุมพิเศษ "ไซบูทรามีน" ชี้ผลข้างเคียงอื้อ ส่งผลความดันสูง หัวใจเต้นเร็ว เป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และขายได้เฉพาะในสถานพยาบาล

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จากสถานที่จำหน่ายอาหาร

บริษัท เฮลท์ ดี ดี อินเตอร์ จำกัด เลขที่ 48/22 ซ.รุ่งเรือง ถ.รัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม.

มาส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางวิชาการ ที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลปรากฏว่า พบ “ไซบูทรามีน” (sibutramine) ซึ่ง เป็นยาลดความอ้วนและเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และขายได้ เฉพาะในสถานพยาบาลเท่านั้น นอกจากนี้ ยาดังกล่าวเป็นยาที่ยังต้องอยู่ภายใต้มาตรการการติดตามความปลอดภัยในสถาน พยาบาลอีกด้วย

ดังนั้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2553 อย.ได้ออกประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหารที่ตรวจพบไซบูทรามีนจำนวน 3 รายการ ดังนี้

1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทเวนตี้โฟร์ เชฟ

สารสกัดจากส้มแขก ผสมแอล-ออร์นิทีน, แอล-ไลซีน, แอล-อาร์จินีน, เคลป์, สารสกัดจากมะขามป้อม, วิตามินซี, วิตามินบี 6 และโครเมียม เลขสารบบอาหาร 12-1-05551-1-0001 ผลิตโดยบริษัทไอพรีเฟอร์ยู จำกัด เลขที่ 333/37 หมู่ 3 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี จัดจำหน่ายโดยบริษัทเฮลท์ ดีดี อินเตอร์ จำกัด เลขที่ 48/22 ซ.รุ่งเรือง ถ.รัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม. รุ่น 01A09 MFD 09/04/52 EXP09/04/54 ตรวจพบ “ไซบูทรามีน”

2. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไฟว์ เชฟ

สรรพคุณ อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ควบคุมน้ำหนัก ติดสติ๊กเกอร์ Manufactured by I Prefer You Co., Ltd. จัดจำหน่ายโดยบริษัท เฮลท์ ดี ดี อินเตอร์ จำกัด เลขที่ 48/22 ซ.รุ่งเรือง ถ.รัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม. บรรจุ 40 แคปซูล ฉลากไม่ระบุเลขสารบบอาหาร บนแผงพิมพ์แจ้ง “5 SHAPE BATCH 001 MFG.25/05/52 EXP.25/05/54” พบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเลขสารบบอาหารจากสำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา ไม่แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตเป็นภาษาไทย และไม่แสดงคำเตือน อีกทั้งตรวจพบ “ไซบูทรามีน”

และ 3. ผลิตภัณฑ์กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง กาแฟคาปูชิโน่ ตรา ทเวนตี้โฟร์

เลขสารบบอาหาร 12-1-05551-2-0001 ผลิตโดยบริษัทไอพรีเฟอร์ยู จำกัด เลขที่ 333/37 หมู่ 3 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี จัดจำหน่ายโดยบริษัท เฮลท์ ดี ดี อินเตอร์ จำกัด เลขที่ 48/22 ซ.รุ่งเรือง ถ.รัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม. BATCH 002 MFG. 11/06/09 EXP. 11/06/11 มีสติ๊กเกอร์ติด “กาแฟ 24 คาปูชิโน่ สูตรเห็ดหลินจือ” ตรวจพบ “ไซบูทรามีน”

นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า การพบยาไซบูทรามีนในอาหาร ถือว่ามีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ซึ่งผู้ใดผลิต นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับกรณีการผลิตหรือจำหน่ายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง จะมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และกรณีเข้าข่ายการผลิตหรือจำหน่ายอาหารปลอม ซึ่งเป็นอาหารที่มีการแสดงฉลากเพื่อลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าได้รับเลข สารบบอาหารแล้ว จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปีและปรับตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 100,000 บาท

ทั้งนี้ อย. ได้สั่งให้ทางบริษัทงดจำหน่ายและเรียกคืนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว พร้อมดำเนินการตามกฎหมาย ต่อไปแล้ว ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอย่าซื้อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้ง 3 รายการในรุ่นการผลิตดังกล่าวมาบริโภค เนื่องจากอาจเป็นอันตรายหรือไม่ปลอดภัยต่อร่างกายและยังไม่ได้รับอนุญาตเลข สารบบอาหารจาก อย.” นายจุรินทร์กล่าว

นายจุรินทร์กล่าวต่ออีกว่า ยาไซบูทรามีนที่พบลักลอบผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น เป็นยาที่ผู้บริโภคไม่ควรบริโภคเองโดยไม่ได้อยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะเป็นยาที่มีผลข้างเคียง ที่พบบ่อยคือ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว แม้จะไม่มากนัก แต่มีผลให้ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5 จำเป็นต้องหยุดยา

ส่วน ผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก ยานี้ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ดี ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีโรคต้อหิน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เป็นต้น

ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์รุ่นดังกล่าววางจำหน่าย หรือแม้กระทั่งพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลอกลวงผู้บริโภค เช่น อ้างสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออ้างว่าสามารถลดความอ้วนได้ ขอให้ร้องเรียนมายัง

สายด่วน อย. โทร 1556

อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th

หรือสามารถมาร้องเรียนได้ด้วยตัวเองที่ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. อาคาร 1 ชั้น 1 ทุกวันเวลาราชการ

เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมาย


โดย: หมอหมู วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:18:50:14 น.  

 
//manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000077155&#Opinion

เตือน “กาแฟ” ลอบใส่ยาลดความอ้วน...สุดอันตราย!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มิถุนายน 2553 13:55 น.

จุรินทร์ เตือน อย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์กาแฟขี้โม้โอ้อวดลดความอ้วนแถมเคยตรวจพบลักลอบใส่ยาลดความอ้วน... สุดอันตราย!

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในปัจจุบันยังคงพบโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมทั้งผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปจำนวนมากโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณในการลดความอ้วน หรือมีผลในการลดน้ำหนัก

เช่น โฆษณาแสดงตัวอย่างบุคคลก่อนและหลังใช้ผลิตภัณฑ์ว่า ทำให้น้ำหนักลดลงภายในระยะเวลาหนึ่ง หรืออ้างว่า เมื่อบริโภคแล้วน้ำหนักลดลง 15 กิโลกรัม ภายใน 2 สัปดาห์ หรือการโฆษณาโดยใช้ผู้แสดงแบบเป็นผู้หญิงอ้วน หรือผู้หญิงรูปร่างดี แล้วทำให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีผลในการลดน้ำหนัก เป็นต้น

ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างและโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เพื่อจูงใจให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้ ก่อนการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรพิจารณาฉลากที่ข้างบรรจุภัณฑ์อย่าง ถี่ถ้วน

ต้องมีข้อความภาษาไทยแสดงชื่ออาหาร โดยมีคำว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นส่วนหนึ่งของชื่ออาหาร

สำหรับอาหารที่ผลิตในประเทศให้แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่ง บรรจุเพื่อจำหน่าย

สำหรับอาหารที่นำเข้าให้แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิต

ปริมาณสุทธิ ส่วนประกอบที่สำคัญ วันเดือนปีที่ผลิตและวันเดือนปีที่หมดอายุ คำแนะนำในการเก็บรักษา

เลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. ข้อความคำเตือน

และที่ฉลากต้องมีข้อความระบุว่าควรกินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ และไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค เนื่องจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยา จึงไม่สามารถรักษาโรค

ส่วนผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปก็เช่นกันขอให้ผู้บริโภคอ่านฉลากให้ถี่ถ้วน โดยต้องมีข้อความภาษาไทยระบุชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิตอย่างชัดเจน มีเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. และส่วนประกอบที่สำคัญ

ซึ่งแม้ว่าที่ฉลากจะมีการระบุส่วนประกอบว่ามีไฟเบอร์ คอลลาเจน แอลคาร์นีทีน หรือโครเมียม แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยทางวิชาการ ยืนยันว่า สารดังกล่าวมีผลในการลดน้ำหนัก หรือทำให้ผิวสวย หรือเพิ่มความงาม


ส่วนเลขสารบบอาหารที่แสดงบนฉลากอาหารไม่ได้รับรองการโฆษณาแต่อย่างใด และอย.ไม่อนุญาตให้กล่าวอ้างสรรพคุณลดความอ้วน ในขณะที่หากดื่มกาแฟมากอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ จากการเติมน้ำตาล ครีม หรือนม อีกทั้งทำให้หัวใจทำงานหนัก เนื่องจากได้รับกาเฟอีนมากเกินไป โดยเฉพาะในรายที่มีความไวต่อกาเฟอีน

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อไม่นานมานี้ทาง อย.ยังได้รับแจ้งผลการตรวจพิสูจน์อาหาร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์กาแฟ โดยพบการลักลอบใส่ยาลดความอ้วน ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่าย และอยู่ในความดูแลของแพทย์ โดยขายได้เฉพาะสถานพยาบาลเท่านั้น

ทั้งนี้ยาดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อาทิ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว และมีผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ท้องผูก รวมทั้งยานี้ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ดี ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีโรคต้อหิน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ขอให้ผู้บริโภคติดตามข่าวประสัมพันธ์จาก อย.ที่จะเผยถึงผลการตรวจพิสูจน์อาหาร รวมทั้งผลิตภัณฑ์ปลอมที่ตรวจจับ และอย่าซื้อผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายดังกล่าวที่ อย.ประกาศชื่อ รวมทั้งอย่าได้หลงเชื่อการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์กาแฟ ที่อวดอ้างว่าสามารถลดน้ำหนักหรือลดความอ้วนได้

หากพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างลดความอ้วน หรือพบการโฆษณาเกินจริงที่คาดว่าอาจมีการใส่ยาลดความอ้วน ขอให้แจ้งไปยังสายด่วน อย.1556 หรืออีเมล์ 1556@fda.moph.go.th หรือจดหมายไปที่ตู้ ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004

“อย่างไรก็ตาม หากต้องการลดหรือควบคุมน้ำหนักอย่างได้ผลไม่ต้องใช้หรือกินผลิตภัณฑ์ที่ เสี่ยงอันตรายดังกล่าว ผู้บริโภคควรควบคุมการบริโภคอาหารร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที และควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันโรคได้ด้วย” เลขาธิการ อย.กล่าวในที่สุด


ปล. เรื่องก็วนไปวนมา ซ้ำไปซ้ำมา .. ข่าวก็มีเยอะแยะ แต่ก็ยังมีคนไปซื้อหามากินกันอยู่ .. มันแปลกดีนะ


โดย: หมอหมู วันที่: 5 มิถุนายน 2553 เวลา:12:58:17 น.  

 

//manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000179275

อย.จับมือตำรวจทลายแหล่งขายกาแฟลดอ้วนพบผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายอื้อ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 ธันวาคม 2553 16:40 น.


“จุรินทร์” เดินหน้างานคุ้มครองผู้บริโภค ทลายแหล่งขายปลีกและขายส่งผลิตภัณฑ์กาแฟอันตราย ย่านบึงกุ่มหลังพบมีผู้เสียชีวิตจากการกินกาแฟลดความอ้วนคอฟฟี่ สลิมมิ่ง โดย อย.ประสานความร่วมมือกับตำรวจ บก.ปคบ.ในการสืบสวน พบผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายจำนวนมาก เตือนผู้บริโภค อย่าได้หลงเชื่อการโฆษณาโอ้อวด

วันนี้ (21 ธ.ค.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมคณะร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่มีผู้บริโภคได้กินกาแฟลด ความอ้วนยี่ห้อ Coffee Slimming แล้วเสียชีวิต ซึ่งกาแฟยี่ห้อดังกล่าวเคยตรวจวิเคราะห์พบว่าใส่สารไซบูทรามีน กระทรวง สาธารณสุขไม่นิ่งนอนใจ ได้มอบให้ อย.ร่วมกับตำรวจ บก.ปคบ.สืบสวนสอบสวนขยายผลแหล่งจำหน่ายขายผลิตภัณฑ์กาแฟผิดกฎหมายอย่างเร่ง ด่วน และจากการสืบสวนหาข้อมูลผู้กระทำผิดของตำรวจ บก.ปคบ.พบว่า มีแหล่งค้าปลีกและขายส่งรายหนึ่งมีการนำกาแฟยี่ห้อดังกล่าวจำหน่ายด้วย ดังนั้น ตำรวจ บก.ปคบ.พร้อมด้วย อย.ได้นำหมายค้นของศาลแขวงพระนครเหนือ ที่ ค.234/2553 ไปตรวจสอบสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร เลขที่ 10/430 เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ซึ่งได้มีนายสุวโรจน์ พิพิธเดชาพัฒน์ เป็นผู้รับหมายและนำตรวจค้น โดยจากการตรวจสอบพบเป็นสถานที่ขายปลีกและขายส่งผลิตภัณฑ์อาหารผิดกฎหมายหลาย รายการ แยกเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้

1. กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้องจำนวนทั้งสิ้น 28 รายการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (21 รายการ) กาแฟ (6 รายการ) และเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท จำนวน 1 รายการ

- กรณีไม่แสดงเลขสารบบอาหาร ได้แก่ L-Glutathione H๑ & 10 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (บรรจุขวดพลาสติกสีขาว), L-slim 750g Doctor Rescarch, Fomulatrd & Approved dietary supplement

- กรณีชื่ออาหารไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควบคุมน้ำหนักแอล-คาร์นิทีนพลัสซี ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน ขจัดไขมันส่วนเกินควบคุมน้ำหนัก กระชับสัดส่วน เลขสารบบอาหาร 12-1-08152-1-0051

- กรณีไม่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Sexy Vite เซ็กซี่ ไวท์ ฉลากระบุ ช่วยให้ผิวขาวเนียน กระจ่างใส ไร้สิว ลดฝ้า.....

- กรณีแสดงข้อความที่อาจทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลูตาไธโอน ฉลากระบุ ช่วยลดรอยด่างดำ กระ สิว ฝ้า ริ้วรอย....

2. กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่เข้าข่ายอาหารปลอมจำนวน 3 รายการ โดยแสดงเลขสารบบอาหารที่ยกเลิกแล้ว ได้แก่ 3 -เอส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จากสาหร่าย เลขสารบบอาหาร 10-1-10548-1-0006, แสดงเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์อื่น ได้แก่ L-Health Coffee Plus+ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลขสารบบอาหาร 12-1-08152-2-0038 แสดงเลขสารบบอาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหรและยาไม่เคยอนุญาต ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อผิวขาว แอล-กลูตาไธโอน พลัสวิตามินซี เลขสารบบอาหาร 10-2-16152-2-0039

3. กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่เคยมีประวัติพบ Sibutramine จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ จำนวน 1 รายการ ได้แก่ กาแฟ Coffee…SLIMMING กล่องโลหะสีน้ำตาล

4. กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง จำนวน 80 รายการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กาแฟ Fashion Slimming Coffee กล่องเหล็ก 8 เหลี่ยม จำนวน 40 รายการ และผลิตภัณฑ์กาแฟในกลุ่ม Slimming Coffee ซึ่งเป็นฉลากภาษาจีน กล่องรูปทรงกระป๋องนม จำนวน 40 รายการ

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จึงได้ยึดและอายัดผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าว และส่งผลิตภัณฑ์ตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 21 รายการ ในส่วนของการดำเนินคดีกระทำผิดด้านอาหาร มีโทษ จำหน่ายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้องมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท จำหน่ายอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 100,000 บาท และหากผลการตรวจวิเคราะห์พบยาลดความอ้วนไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์อาหาร จะจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวต่อว่า เจ้าหน้าที่ได้ขอตรวจสอบใบอนุญาตขายยาในสถานที่ดังกล่าวด้วย พบสถานที่แห่งนี้ไม่มีใบอนุญาตขายยาแต่อย่างใด รวมถึงเจ้าหน้าที่ยังได้ยึดยาที่ตรวจพบดังกล่าว เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตขายยา รวมทั้งยึดโปสเตอร์และแผ่นผ้าใบโฆษณาขายยาจิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนังดัง กล่าว เนื่องจากเป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต และยังได้เก็บตัวอย่างยาจิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนังที่ตรวจพบ เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์หาตัวยาในกลุ่ม Sildenafil Tadalafil และยาในกลุ่ม Steriod เช่น Dexamethasone และ Prednisolone และผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว เพื่อส่งตรวจหาตัวยา Sibutramine โดยผลิตภัณฑ์ยาที่ตรวจพบมีรายละเอียด ดังนี้

1. ยาแผนโบราณจิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนัง เลขทะเบียนตำรับยาที่ G 289/49 จำนวน 238 กล่อง x 6 แคปซูล

2. พบแผ่นโปสเตอร์กระดาษโฆษณายาจิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนัง ซึ่งมีข้อความระบุว่า สมุนไพร เพื่อชีวิตยาบำรุงตับ ไต ช่วยการหมุนเวียนโลหิตให้ดีขึ้น บรรเทาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก โรคเก๊าท์ ลดน้ำตาลในเลือดและรักษาต่อมลูกหมากอักเสบ จำนวน 1 แผ่น ติดแสดงอยู่ที่ผนังด้านในของตัวอาคารดังกล่าว จำนวน 1 แผ่น

3. แผ่นผ้าใบโฆษณายาจิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนัง ซึ่งมีข้อความระบุว่า ยาบำรุงรักษา ตับไต และเสริมสร้างสมรรถภาพท่านชาย โรคเก๊าท์ รูมาตอยด์ เบาหวาน ต่อมลูกหมากอักเสบ จำนวน 1 แผ่น ติดแสดงอยู่บริเวณด้านหน้าของตัวยาแผนปัจจุบัน Sibutramine อยู่ด้วย

4. ยาแผนโบราณจำนวนหนึ่งและผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ยังไม่ได้มีการจดแจ้งเลขสารบบอาหารต่อกองควบคุมอาหาร และมีข้อมูลในเบื้องต้นว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีการใส่ตัวยาแผนปัจจุบัน Sibutramine

จากกรณีดังกล่าวพบว่า สถานที่ผลิตเป็นสถานที่ค้าปลีกและส่ง มีการขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาตขายยา แต่มีการลักลอบขายยาจิ่วเจิ้งปู่เซินเจียวหนัง อย. จึงเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบและดำเนินคดี ในข้อหา ขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท โฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท รวมมูลค่าผลิตภัณฑ์อาหารและยาผิดกฎหมายกว่า 600,000 บาท

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวมาบริโภค เนื่องจากอาจเป็นอันตราย หรือไม่ปลอดภัย และหากพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีการลักลอบใส่ยาไซบูทรามีน ผู้บริโภค ไม่ควรซื้อมาบริโภคเองอย่างยิ่ง เพราะยาดังกล่าวมีผลข้างเคียงสูงต้องใช้โดยความดูแลของแพทย์โดยผลข้างเคียง ที่พบบ่อยคือ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว แม้จะไม่มากนักแต่มีผลให้ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5 จำเป็นต้องหยุดยา ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน อย. ได้เพิกถอนยาไซบูทรามีนออกจากตลาดแล้ว หากต้องการลดหรือควบคุมน้ำหนักไม่จำเป็นต้องเสี่ยงบริโภคผลิตภัณฑ์เสริม อาหารต่างๆ ควรควบคุมการบริโภคอาหารร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

ดังนั้น จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ยาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง อวดอ้างรักษาโรค เพราะนอกจากจะเสียโอกาสในการรักษาโรคแล้วยังอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หากผู้บริโภคพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย แจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบปัญหา


โดย: หมอหมู วันที่: 22 ธันวาคม 2553 เวลา:11:42:53 น.  

 

//www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakk0TURJMU5BPT0=§ionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE1TMHdNaTB5T0E9PQ==

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7396 ข่าวสดรายวัน


กาแฟลดความอ้วน?

รู้ไปโม้ด
nachart@yahoo.com



กินกาแฟลดความอ้วนได้ไหมคะ ตอบด้วยนะ อยากทราบ

ปอย

ตอบ ปอย

เกี่ยวกับกาแฟโฆษณาสรรพคุณลดความอ้วน ภก.ดร.วิรัตน์ ทอง รอด ประชาสัมพันธ์สภาเภสัชกรรม ตอบเรื่องนี้ไว้ในนิตยสารหมอชาวบ้าน สรุปความว่า จากกระแสสังคม 2 ประการ ได้แก่
1.หุ่นผอม เพรียวลม และ 2.บริโภคนิยม

ทำให้เกิดแรงกดดันในสังคมที่ต้องการความผอมเป็นสรณะ เกิดความต้องการ หรืออุปสงค์ ต่อความผอมหุ่นดีเป็นจำนวนมหาศาล ที่เฝ้ารอคอยความหวังว่าเมื่อใดจะมียาดีหรือของวิเศษที่จะช่วยตอบสนองเติมเต็มความอยากผอม อยากสเลนเดอร์เหมือนนางแบบ เหมือนดารา

สำหรับกาแฟลดความอ้วนที่ส่วนใหญ่โฆษณาด้วยการขายตรงแบบปากต่อปาก หรือโฆษณาแอบแฝงตามสื่อมวลชนที่ไม่ได้พูดตรงๆ แต่ใช้กิจกรรมหรือท่าทางสื่อสารให้เข้าใจว่ากาแฟนั้นช่วยลดความอ้วนได้

โดยผลิตภัณฑ์กาแฟจำนวนมากอ้างว่าได้เพิ่มเติมสารอาหารดีๆ บางอย่างที่ช่วยให้ลดความอ้วน เช่น ไฟเบอร์ ช่วยเพิ่มกากอาหารในอุจจาระ, คอลลาเจน ที่พบได้ในเนื้อสัตว์ และจะถูกย่อยเป็นโปรตีนขนาดเล็ก ก่อนถูกดูดซึมเหมือนโปรตีนทั่ว ไป หรือ แอล-คาร์นิทีนและโครเมียม (ไม่มีผลต่อการลดน้ำหนัก) เป็น ต้น

ซึ่งล้วนแต่เป็นการอวดอ้าง โฆษณาเกินจริงทั้งสิ้น เพราะยังไม่มีหลัก ฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันว่าสารเหล่านี้มีคุณสมบัติลดความอ้วนได้



อีกเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ คือเครื่องหมาย "อย." ซึ่งผู้ผลิตอ้างว่าได้ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว

ทั้งที่การได้เครื่องหมาย อย. นั้น หมายความว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ไม่ใช่ยา) และรับรองว่าได้ผ่านการผลิตตามหลักการผลิตที่ดีแล้ว คือผลิตมาอย่างมีสุข ลักษณะ เป็นการควบคุมขั้นตอนการผลิตเท่านั้น ไม่ได้รับรองสรรพคุณเหมือนหรือเทียบเท่ากับยาที่สามารถลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน ดังที่โฆษณาหรือแอบอ้าง


ทั้งนี้ เคยมีรายงานข่าวว่า อย.เคยเข้าจับกุมผลิตภัณฑ์กาแฟที่เติมยาลดความอ้วน ลงไปผสม และเมื่อนำไปตรวจพบว่าเป็น ยาไซบูทรามิน (sibutramine) ซึ่งเป็นยาลดความอ้วนที่มีอันตรายสูง ในทางกฎหมายจัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่จะต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถหาซื้อได้ในร้านขายยาทั่วไป ผลข้างเคียงของยาไซบูทรามินที่พบบ่อย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ท้องผูก ที่สำคัญห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ดี ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีโรคต้อหิน รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรด้วย

นอกจากนี้ มีบทความทางการแพทย์รายงานว่า เครื่องดื่มมีส่วนสำคัญถึงครึ่งหนึ่งของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือครึ่งหนึ่งของความอ้วนเกิดจากเครื่องดื่ม

โดยปัจจุบันมีเครื่องดื่มหลากหลายรูปแบบ ทั้งชนิดที่เป็นชา สมุนไพร กาแฟ ฯลฯ ซึ่งมีการปรุงสี กลิ่นและรสให้น่ากิน และในจำนวนนั้นก็มีน้ำตาลที่ช่วยให้หวาน หรือครีมที่ช่วยให้เข้มข้นน่ากิน ทั้งน้ำตาลและครีมตลอดจนสารปรุงแต่งอื่นๆ ที่มีอยู่ในเครื่องดื่ม ล้วนเป็นต้นเหตุถึงครึ่งหนึ่งของความอ้วนของมนุษย์



สรุปว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีเครื่องหมาย อย. ไม่ได้หมายความว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรคได้ และย้ำว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น กาแฟ ถึงแม้จะผสมสารอาหารใดๆ ก็ตาม ก็ไม่มีคุณสมบัติในการลดความอ้วนได้ ตรงกันข้าม อาจทำให้เกิดโทษต่อสุขภาพ ถ้าบริโภคมากเกินไปหรือไม่เหมาะสม อาจต้องทนทุกข์กับผลข้างเคียงของยาอันตรายที่ลักลอบเติมมาในผลิตภัณฑ์เหล่านั้นด้วย และบางครั้งอันตรายถึงชีวิต

การเลือกผลิตภัณฑ์จึงควรอ่านฉลากให้ชัดเจน ใช้วิจารณญาณด้วยความรอบคอบ อย่าเชื่อคำกล่าวอ้างของผู้ขายหรือโฆษณาที่เกินความจริง ไม่เช่นนั้นจะตกเป็นเหยื่อของผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต




โดย: หมอหมู วันที่: 21 พฤษภาคม 2555 เวลา:15:31:12 น.  

 
ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณพึงระลึกอยู่เสมอเกี่ยวกับ การลดน้ำหนัก
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-04-2008&group=4&gblog=33

โรคอ้วน Obesity
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-04-2008&group=4&gblog=31

สาวฮ่องกง.... จำนวนมาก ถูกบริษัทลดน้ำหนัก หลอกโกงเงิน .... แล้วเมืองไทยละ ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-12-2009&group=7&gblog=42

อย. ยัน...ไม่เคยรับรอง .... ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร .... ลดอ้วนได้จริง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-11-2008&group=7&gblog=8

สุดยอดการหลอกลวงด้านสุขภาพ ... จาก อเมริกา ดูแล้วก็ไม่ต่างอะไร กับเมืองไทย ...
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-12-2009&group=7&gblog=40


โดย: หมอหมู วันที่: 20 มิถุนายน 2555 เวลา:13:34:09 น.  

 


ผลตรวจจับกาแฟเถื่อน พบ 19 ยี่ห้อง ผสมไซบูทรามีน-ใช้ฉลากภาษา ตปท.-อ้างลดอ้วน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 สิงหาคม 2555 14:17 น.

//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000099815




อย.เผยผลตรวจจับกาแฟเถื่อน พบกาแฟผสมไซบูทรามีน จำนวน 19 ยี่ห้อ ใช้ฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ อ้างลดน้ำหนัก

ย้ำเพิกถอนยาไซบูทรามีนออกจากตลาดแล้ว ระบุ ที่ผ่านมาได้ทำลายแหล่งผลิต/จำหน่าย ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ฝากเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อและควรซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทย พร้อมแนะควบคุมน้ำหนักควบคู่กับการออกกำลังกาย แจงประเทศไทยไม่ได้นำเข้านมทารกจากญี่ปุ่นที่มีปัญหา และทางการฮ่องกงสั่งเก็บออกจากท้องตลาดนั้น



ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ พบกาแฟผสมไซบูทรามีน อวดสรรพคุณลดน้ำหนักขายเกลื่อนตามท้องตลาด นั้น ทาง อย.ได้มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์กาแฟอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่โฆษณาสรรพคุณลดน้ำหนัก ส่วนใหญ่พบเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟอวดอ้างสรรพคุณลดน้ำหนัก นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขออนุญาตนำเข้า และจดทะเบียนอาหารกับ อย.

ทั้งนี้ ผลจากการตรวจสอบกาแฟที่มีปัญหาดังกล่าวช่วงรอบปีที่ผ่านมา พบกาแฟผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่ฉลากระบุเป็นภาษาต่างประเทศ โดยผลตรวจวิเคราะห์พบผสมสารไซบูทรามีน จำนวน 19 ยี่ห้อ เช่น

1.กาแฟบรรจุในกระป๋องกลมปิดสนิทสีม่วง ฉลากระบุ “SLIMMING COFFEE REDUCE WEIGHT COFFEE”

2.กาแฟบรรจุในกระป๋องสามเหลี่ยมปิดสนิทสีแดงน้ำตาล ฉลากระบุ “SLIMMING COFFEE”

3.กาแฟบรรจุในกล่องกระดาษปิดสนิทสีแดง ฉลากระบุ “Fashion Slimming Coffee AMERICANH.S-STRENGTH HEALTH PRODUCE INTERNATIONAL GROUP CO., LTD.”

4.ผลิตภัณฑ์กาแฟบรรจุกล่องสีแดงน้ำตาล ลักษณะเป็นกล่องเหล็ก มีรูปถ้วยกาแฟและรูปผู้หญิงนั่ง ฉลากระบุ SLIMMING 100%

5.กาแฟบรรจุในกระป๋องปิดสนิทสีแดง ฉลากระบุ “กาแฟมหัศจรรย์ 26 วันผอม เผาไขมัน 26 วันผอม เผาไขมันส่วนเกินของร่างกาย slimming coffee เป็นต้น ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์กาแฟที่ผิดกฎหมายดังกล่าว อย.ได้ดำเนินคดีกับผู้จำหน่าย/ผู้นำเข้าอย่างเข้มงวดแล้ว

“หากจะซื้อผลิตภัณฑ์กาแฟ หรือผลิตภัณฑ์อาหารใดๆ ก็ตาม ควรเลือกซื้อที่มีฉลากภาษาไทยระบุข้อความครบถ้วน เพื่อจะได้ติดตามหาต้นผู้ผลิตได้

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กาแฟสำเร็จรูปที่บรรจุในกระป๋องโลหะ ฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ กำลังระบาดหนักในหมู่ผู้นิยมบริโภคกาแฟ

ดังนั้น จึงขอเตือนมายังผู้บริโภคให้ระมัดระวังในการเลือกซื้อกาแฟดังกล่าวมาบริโภค อย่าได้หลงคารมผู้ขายว่าเป็นกาแฟจากต่างประเทศ และสามารถลดความอ้วนได้ เพราะกาแฟเหล่านี้ อย.เคยส่งตรวจวิเคราะห์และผลตรวจพบใส่ยาลดความอ้วนไซบูทรามีน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการบริโภค เนื่องจากยาดังกล่าวมีผลข้างเคียงสูง ต้องใช้โดยความดูแลของแพทย์ โดยผลข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว แม้จะไม่มากนัก แต่มีผลให้ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5 จำเป็นต้องหยุดยา ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และท้องผูก เป็นต้น” รองเลขาธิการ อย.กล่าวและว่า

ปัจจุบัน อย.ได้เพิกถอนยาไซบูทรามีนออกจากตลาดแล้ว หากต้องการลดหรือควบคุมน้ำหนัก ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงบริโภคผลิตภัณฑ์กาแฟ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ

ควรควบคุมการบริโภคอาหารร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

หากผู้บริโภคพบเห็นการผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย แจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบปัญหานั้น




โดย: หมอหมู วันที่: 23 สิงหาคม 2555 เวลา:15:39:37 น.  

 
Utai Sukviwatsirikul ที่ PharmaTree Villa Market Sukhumvit Soi 49

https://www.facebook.com/utai.sukviwatsirikul/posts/1081400101891137

‪#‎เภสัชกรเตือนภัย‬ ‪#‎ยาลดความอ้วนสูตรคลีนิค‬

แต่เดิมยาลดความอ้วนสูตรนี้ จะขายผ่านโรงพยาบาล (ชื่อดัง) สภาวิชาชีพ ไม่ไปทำอะไรเพราะเส้นใหญ่ ต่อมาคลีนิคก้อเอามาขาย อย. ไม่ทำอะไร

ตอนนี้ แม่ค้าใน Facebook, Line & IG ก้อเอามาขายกันเพียบ

1. ‪#‎ยาในซองมีอะไรบ้าง‬? กินแล้วเสี่ยงตายแค่ไหน?
‪#‎เภสัชกร‬ ขอมาแจกแจงให้คุณๆได้รับรู้เท่าทันถึงผลต่อการลดความอ้วนและผลข้างเคียงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างละเอียดดังต่อไปนี้ อาจแตกต่างไปบ้างแล้วแต่ที่แม่ค้าจะหามาได้ ...ตามไปดูกัน

1.1 ‪#‎ยาควบคุมความหิวในกลุ่มแอมเฟตามีน‬ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มยาบ้าที่คุณๆกลัวกันอยู่แล้ว โดยยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นศูนย์ควบคุมความอิ่มทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร แต่ผลจากยาประเภทนี้ออกฤทธิ์ต่อสมองโดยตรง ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนตามมาค่อนข้างมาก เช่น นอนไม่ค่อยหลับ รู้สึกกระสับกระส่าย อารมณ์หงุดหงิด ใจสั่นเต้นเร็ว ปากแห้ง คอแห้งจนกระหายน้ำบ่อย

1.2. ‪#‎ยาในกลุ่มไทรอยด์‬ ซึ่งเราจะสั่งจ่ายสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ แต่ยาตัวนี้มีฤทธิ์ทำให้เบื่ออาหารและมีการเพิ่มการเผาผลาญพลังงานในร่างกายมากขึ้น เพื่อเร่งเอาไขมันที่สะสมออกมาใช้เป็นพลังงาน ยาตัวนี้หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้การหลั่ง ฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายผิดปกติ และมีผลกระตุ้นต่อระบบหัวใจและและตับ อีกด้วย

ใครบอกว่ากินแล้วไม่เป็นอะไร แม่ค้ามันโหดสาดดดดด เห็นไหมครับ

1.3. ยากลุ่ม ‪#‎Beta_Blockers‬ มักมีการเติมยาตัวนี้ไปเพื่อลดอาการใจสั่นที่เป็นผลข้างเคียงของยากลุ่มอนุพันธ์แอมเฟตามีนและไทรอยด์ฮอร์โมน ความจริงแล้วยากลุ่มนี้จะใช้เพื่อการรักษาความดันโลหิตสูง โดยยาไปออกฤทธิ์ยับยั้งที่หัวใจ จะลดอัตราการเต้นของหัวใจ ผลข้างเคียงโดยตรงของยาอีกอย่างเช่นหัวใจที่เต้นผิดปกติ การทำงานของระบบไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ ถือว่าเป็นการใช้ยาผิดประเภทอีกตัวหนึ่ง

1.4. ‪#‎ยากลุ่มยารักษาอาการซึมเศร้า‬ ที่เห็นบ่อยๆ มักอยู่ในรูปแคปซูลเขียว-ขาว น่านดิ แต่ยาตัวนี้มีผลข้างเคียงคือทำให้ไม่ค่อยอยากอาหาร จึงมีการนำยาตัวนี้มาใช้ลดความอ้วน แต่มีอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้เยอะมากได้แก่ คลื่นไส้ ง่วงซึม นอนไม่หลับ ลดแรงขับทางเพศ และอื่นๆอีกมากมาย ก่อนใช้ยาตัวนี้จึงสมควรต้องขอคำปรึกษาจากผุ้เชี่ยวชาญก่อนนะครับ

1.5. ‪#‎ยาระบาย‬ ใช่ครับเม็ดเหลืองๆเล็กน่านแหละครับ กินไปให้ขี้บ่อยๆ เนื่องจากยาตัวนี้มีฤทธฺิ์ไปกระตุ้นทางเดินอาหารเร่งการถ่ายอุจจาระออก คนไข้จะรู้สึกพอใจเพราะน้ำหนักลดได้เร็ว แต่น้ำหนักที่ลดไปจะเป็นกากอาหารและน้ำที่ร่างกายขับออกมา แต่ความจริงแล้วสารอาหารต่างๆ ถูกดูดซึมเข้าไปสะสมในร่างกายก่อนที่จะระบายออกไป แล้ว หากไม่กินยาต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไปไม่เกิน 48 ชั่วโมงคุณก็จะมีน้ำหนักกลับมาเพิ่มขึ้นเท่าเดิมได้อีก นอกจากนี้การใช้ยาระบายเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ และทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุที่สำคัญไป ถ้าใช้บ่อยๆ ยาระบายจะทำให้ถ่ายบ่อยจนลำไส้ใหญ่ดื้อจนไม่ถ่ายหากไม่ได้รับยา จนกลายเป็นท้องผูกตามมาในที่สุด

1.6. ‪#‎ยาขับปัสสาวะ‬ เป็นยาที่เลือกใช้กันอย่างมาก เพราะจะได้ผลเร็วและน้ำหนักลดลงมากในระยะแรกๆ เพราะสิ่งที่ลดลงได้ไม่ใช่ไขมัน แต่เป็นน้ำภายในร่างกาย ผลข้างเคียงที่ตามมาของยาขับปัสสาวะจะทำให้ฉี่บ่อยจนทำให้ขาดเกลือแร่ที่สำคัญ ดังนั้นที่ลดเร็วๆ ไม่ใช่น้ำหนักนะครับ แค่ฉี่น้ำออกไปต่างหาก

1.7. ‪#‎ยาที่ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น‬ มักจะเป็นพวกเส้นใยอาหารที่ไปบวมน้ำในกระเพาะจนเต่ง หลอกให้ไม่รู้สึกหิว หรือกินอาหารได้น้อยลง แต่ผลข้างเคียงที่ตามมามักจะทำให้เกิดอาการท้องอืด หรือถ่ายได้ลำบากหากดื่มน้ำน้อยเกินไป

1.8. ‪#‎คาเฟอีน‬ ตัวเดียวกับที่อยู่ในกาแฟน่านแหละครับ บางรายก้อจะใส่สารสกัดจาก green tea ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกัน คือ คาเฟอีนน่านเอง ตัวมันจะออกฤทธิ์เพิ่มการใช้พลังงานของร่างกาย แต่ต้องใช้ในปริมาณมากๆ มากกว่าการที่ไปอวดอ้างว่าในกาแฟสามารถลดความอ้วนได้ ผลข้างเคียงได้แก่ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ความดันเลือดสูง หัวใจเต้นผิดปกติเป็นต้น

1.9. ‪#‎อาหารเสริมต่างๆ‬ ล้านแปดตามสมัยนิยมที่จะนำมาอวดอ้างกัน ด้วยความเชื่อว่าจะช่วยให้ช่วยลดน้ำหนัก เช่น ไคโตซาน ส้มแขก ถั่วขาว ตะบองเพชร พริกไทยดำ อีกมากมายหลายตัวเหลือเกินจนนำมาสรุปให้ไม่ไหวครับ ด้วยเชื่อกันว่าจะไปลดการดูดซึมอาหารและเร่งการเผาไขมันในร่างกาย ซึ่งความจริงแล้ว ยังไม่มีผลการวิจัยว่าจะได้ผลแต่อย่างใดเลยครับ

1.10. ‪#‎วิตามิน‬ เป็นทางเลือกที่นำมาจ่ายควบคู่มาด้วยไปด้วยกับกลุ่มยาต่างๆข้างบน เพราะเมื่อใช้ยาเหล่านั้นซึ่งมักมีผลข้างเคียงต่างๆ มากมายที่ทำให้ไม่รู้สึกหิว ทำให้กินอาหารไม่ครบหมู่เพียงพอ หรือผลจากยาขับปัสสาวะหรือยาระบายที่ขับน้ำออกจากร่างกายมากไป ทำให้ร่างกายสูญเสียเกลือแร่และวิตามิน

1. 11. ‪#‎ยากลุ่มที่ลดการดูดซึมของไขมัน‬ ตัวนี้เวลากินแล้ว อุจจาระของคุณที่ออกมาจะมีคราบไขมันเต็มโถอึออกมาด้วย ยาตัวนี้แท้จริงแล้วออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ปกติจะใช้ช้ในการย่อยไขมัน พอไขมันไม่ย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ ก็เป็นผลให้ไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย ซึ่งจะเป็นผลให้ร่างกายไม่สะสมพลังงานในรูปแบบไขมัน แต่ผลที่ตามมาร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมวิตามินกลุ่มที่ละลายในไขมันไปใช้ได้ ทำให้ผู้ที่ได้รับยากลุ่มนี้มักมีอาการขาดวิตามินกลุ่มที่ละลายได้ในไขมันได้ในที่สุด

แหล่งข้อมูล
//www.oknation.net/blog/DIVING/2010/02/11/entry-1

2. ‪#‎ถามว่าจะทำอย่างไรดี‬? ไม่รู้ซิครับ!! หน่วยงานที่รับผิดชอบ จะไม่ทำอะไร จนกว่าลูกหลานของคุณไปซื้อมากิน แล้วเกิดผลข้างเคียงจนเสียชีวิต

ดังนั้น เตือนลูกสาว หลานสาว เพื่อนสาว ให้ดีๆ แล้วกัลลลลล

รูปมาจาก:
//bonitalangsamdkaz.blogspot.com/2015/09/7_5.html


โดย: หมอหมู วันที่: 30 กันยายน 2558 เวลา:21:59:28 น.  

 
Fda Thai ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 12 ภาพ
https://www.facebook.com/FDAThai/posts/1103629539704207

อย. ลุยร่วมกับ บก.ปคบ และ สสจ.ชลบุรี บุกจับ “แหล่งผลิต/จำหน่าย ยาลดความอ้วนผิดกฎหมาย ทำให้เด็กเสียชีวิต” ยึดของกลางมหาศาล มูลค่ากว่า 11 ล้านบาท

สนองนโยบายรัฐปราบปรามผู้กระทำผิดด้านโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง หลังมีข่าวเด็ก ม. 5 เสียชีวิต คาดว่าสาเหตุอาจเกิดจากการกินยาลดความอ้วนที่ซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต อย. รุกจับมือกับตำรวจ บก.ปคบ. , ตำรวจ สภ.ปากเกร็ด และ สสจ.ชลบุรี ตรวจสอบเข้มหาแหล่งขายยาลดความอ้วนผิดกฎหมาย ทั้งสั่งซื้อและสืบสวนสอบสวน พบเด็กสาวกินยาลดความอ้วนยี่ห้อ “บิวตี้ชิคค์ (Beauty Chic)” สั่งซื้อผ่านเฟซบุ๊ก ผู้ขายยาและผู้ผลิตอยู่ในพื้นที่ จ.ชลบุรี ยึดของกลางกว่า 11 ล้านบาท แจ้งข้อหาผู้กระทำผิดทันที เตือนสาวอยากผอม อย่าหลงเชื่อโฆษณาขายยาลดความอ้วน โดยเฉพาะผ่านทาง Social media เพราะยาลดความอ้วนมักมีการลักลอบใส่สารออกฤทธิ์ เสี่ยงต่อผลข้างเคียงสูงทั้งหัวใจและหลอดเลือด อาจทำให้เสียชีวิตได้ พร้อมเตือนผู้ที่โพสต์ขายยาลดความอ้วนทางสื่อสังคมออนไลน์และทุกสื่อ ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ยา ควรมีคุณธรรมจริยธรรม หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดี มีโทษทั้งจำและปรับในอัตราโทษที่สูง

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษก อย. ร่วมกับ ตำรวจ บก.ปคบ. กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นำทีมโดย พล.ต.ต.ประเสริฐ พัฒนาดี ผบก.ปคบ. , พ.ต.อ.ทรงโปรด สิริสุขะ ผกก.4 บก.ปคบ.และ พ.ต.ท.อภิชัย ไลออน รอง ผกก. 4 บก.ปคบ. แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จากนโยบายรัฐบาลในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาของประชาชนผู้ได้รับความเดือนร้อนจากการสั่งซื้อสินค้า รวมทั้งการกระทำความผิดอาญาอื่นทางอินเทอร์เน็ต ประกอบกับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการปราบปรามจับกุมผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ล่าสุด ตามที่มีข่าวนักเรียนหญิง ม.5 เสียชีวิตอาจเกิดจากผลข้างเคียงของการกินยาลดความอ้วน

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยในเรื่องดังกล่าว หลังทราบข่าวจึงรุดขอข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตที่ตำรวจ สภ.ปากเกร็ด และประสานไปยังตำรวจ บก.ปคบ. ให้สืบสวนการขายยาลดความอ้วนดังกล่าวทันที ซึ่งตรวจพบหญิงสาวซื้อยาที่มีการโฆษณาชวนเชื่อผ่านทางเฟซบุ๊ก ชื่อ “Beauty Chic By noon” ทางตำรวจ บก.ปคบ. จึงได้ติดต่อขอซื้อผลิตภัณฑ์จากเฟซบุ๊กดังกล่าวมาตรวจสอบ พบเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สูตรผอมขาวชื่อ “บิวตี้ชิคค์ (Beauty Chic) มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง และขยายผลต่อพบแหล่งผลิต/จำหน่าย คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนเจอร์คอส แลบอราทอรี่ เลขที่ 99/116 ม.6 ต.บ้านปึก อ.เมือง จ.ชลบุรี และสถานที่โฆษณาบ้านเช่าเลขที่ 47 ห้องที่ 4 หมู่ 2 ต.หนองขยาด อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ดังนั้น เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจ , อย. และ สสจ.ชลบุรี ได้กระจายกำลังนำหมายค้นของศาลแขวงชลบุรีเข้าตรวจค้นสถานที่2 แห่ง ดังนี้

1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนเจอร์คอส แลบอราทอรี่ เลขที่ 99/116 ม.6 ต.บ้านปึก อ.เมือง จ.ชลบุรีพบ น.ส.มณษา อังกูรชวะนน แสดงตนเป็นเจ้าของสถานที่และนำการตรวจค้น ผลการตรวจสอบ พบไม่มีใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน และสถานที่ผลิตไม่ผ่านมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) พบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในลักษณะเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุแคปซูลสีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบผลิตภัณฑ์บรรจุในขวดพลาสติกใส ฉลากสีฟ้าระบุข้อความ lishou และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Ishou บรรจุในกระป๋องโลหะสีฟ้า ทั้งหมดนี้ไม่พบการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์ รวมทั้งยังพบยาชุด และยาอันตรายจำนวนมาก
2. บ้านเช่าเลขที่ 47 ห้องที่ 4 หมู่ 2 ต.หนองขยาด อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี โดยมี น.ส.ศิริรัตน์ พรบุญมารุ่ง เป็นผู้นำการตรวจค้น พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดต่าง ๆ ที่โฆษณาลดน้ำหนักจำนวนมาก ซึ่งได้สั่งซื้อมาจาก หจก. เนเจอร์ คอส แลบอราทอรี และเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอม แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์แคปซูลบรรจุขวดพลาสติกสีทอง ฉลากสีเหลือง ระบุข้อความ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร: สูตรผอมขาว บิวตี้ชิคค์ Beauty Chic สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 7 ชนิด
2. ผลิตภัณฑ์แคปซูลบรรจุขวดพลาสติกสีเงิน ฉลากสีน้ำตาล ระบุข้อความ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร : สูตรดื้อยา บิวตี้ชิคค์ Beauty Chic สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 7 ชนิด
3. ผลิตภัณฑ์บรรจุกระปุกสีขาว ฉลากสีเหลือง ระบุข้อความ บิวตี้ชิคค์ Beauty Chic สมุนไพรลดเฉพาะส่วน ลดกระชับ ต้นแขน ต้นขา สะโพก ช่วยกระชับสัดส่วนได้เป็นอย่างดี
4. แคปซูลสีส้มบรรจุแผงบริสเตอร์
5. แคปซูลสีแดงเหลืองบรรจุแผงบริสเตอร์

เจ้าหน้าที่ได้ยึดของกลางและส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมมูลค่าของกลางกว่า 11 ล้านบาท
ส่วนผลดำเนินคดี ในเบื้องต้นแจ้งข้อหา ดังนี้
1. กรณีเป็นยา
1.1 ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
1.2 ขายยาโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1.3 ขายยาบรรจุเสร็จหลายขนาดโดยจัดเป็นชุดในคราวเดียวกัน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. กรณีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
2.1 ผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
2.2 ผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท

ภก.ประพนธ์ อางตระกูล กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนมายังหญิงสาว หรือผู้ที่ต้องการลดความอ้วนอย่าหลงเชื่อโฆษณาขายยาลดความอ้วนผ่านทางสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะทางเว็บไซต์ และทาง Social media หรือไปหาซื้อยามากินเองเด็ดขาด การใช้ยาลดความอ้วนอย่างไม่ถูกต้องจะไม่สามารถทำให้หายจากโรคอ้วนได้ เพราะหากใช้ติดต่อกันระยะหนึ่ง น้ำหนักจะกลับขึ้นได้อีก (yo-yo effect) และเสี่ยงจากผลข้างเคียงของยา โดยจะมีอาการนอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่า ท้องผูก ฯลฯ ที่สำคัญคือ อันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ฉะนั้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อแก้ปัญหาโรคอ้วน ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น และขอเตือนผู้ขายยาผ่านทาง Social Media หรือร้านขายยาต่าง ๆ อย่าได้กระทำผิดกฎหมาย หากผู้บริโภคต้องการลดน้ำหนัก ควรหันมาออกกำลังกายทุกวัน ดื่มน้ำมาก ๆ บริโภคอาหารประเภท แป้ง น้ำตาล และไขมันจากสัตว์ให้น้อยลง บริโภคผลไม้ ผักหลายสี ทุกวัน หากพบเบาะแสการโฆษณา การผลิต/จำหน่าย ยาลดความอ้วนผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือ สายด่วน บก.ปคบ 1135 เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด

ข้อมูล //goo.gl/QLOmpz
‪#‎fdathai‬ ‪#‎oryornews‬


โดย: หมอหมู วันที่: 4 มิถุนายน 2559 เวลา:0:20:26 น.  

 
Utai Sukviwatsirikul ได้แชร์โพสต์ของ Krittiya Lomas
https://www.facebook.com/utai.sukviwatsirikul/posts/1372131142818030

#เภสัชกรเตือนภัย

1. มี case เสียชีวิตจาก #ผลิตภัณ์เสริมอาหารที่ใช้ลดความอ้วน ชื่อ #Mang_Luk เกิดขึ้นกับน้องจพ.เภสัชฯ รพ.แห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น

...เริ่มต้นจากน้องมีอาการชัก น้ำลายฟูมปาก เป็นลม หมดสติ คลำชีพจรไม่เจอ หมอ พยาบาล จนท. ช่วยกัน CPR ร่วม 2 ชั่วโมงสุดท้ายยื้อไว้ไม่ได้ เบื้องต้นแพทย์วินิจฉัย MI , sudden cardiac arrest โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หลังจากสืบสาวราวเรืองและเชื่อมโยงข้อมูลแล้ว พบว่าสาเหตุเกิดจากยาลดนน.ยี่ห้อแมงลัก ซึ่งผสม sibutramine

2. ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ "แมงลัก" เป็นอาหารเสริมผสมยาอันตรายที่เพิกถอนไปแล้วในไทย กำลังระบาดหนักในกลุ่มผู้บริโภคที่หวังลดน้ำหนักซึ่งพบว่าผู้ที่ขายส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

3. สสจ.ขอนแก่นได้ดำเนินคดีตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ไปแล้ว ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในวงการสาธารณสุขของเราเองโดยมีโทษทั้งจำและปรับ แต่ยังพบการระบาดอยู่ทั่วไปในขณะนี้ จึงขอแจ้งมาเพื่อเฝ้าระวัง

และอยากให้เป็นกรณีศึกษา...เป็นอุทาหรณ์...ก่อนที่คนใกล้ตัวจะกลายเป็น..."เหยื่อ"

ช่วยกันเป็นหูเป็นตาด้วยนะคะ

Credit : สสจ.ขอนแก่น, เพื่อน Rx16 จังหวัดขอนแก่น

4. รายละเอียดของยาตัวนี้ ตามไปดูได้ที่นี่
https://www.facebook.com/utai.sukviwatsirikul/posts/908744455823370


โดย: หมอหมู วันที่: 25 พฤศจิกายน 2559 เวลา:13:39:52 น.  

 
Drama-addict
https://www.facebook.com/DramaAdd/photos/a.411063588290.186101.141108613290/10154863076343291/?type=3&theater

รายที่เสียชีวิตเพราะยาลดความอ้วนรายล่าสุดนี่
ท่าจะหนักว่ะ เพราะเจ้าตัวเป็น จนท ของ รพ แล้วหัวใจหยุดเต้นหลังกินยาลดความอ้วน พอหัวใจหยุดเต้น เหตุเกิดใน รพ นั่นล่ะ

หมอก็มาช่วยกันทันควัน แต่ขนาดนี้แล้วยังไม่รอดชีวิตเลย ที่น่ากลัวคือ มี จนท รายอื่นๆใน รพ กินยาลดความอ้วนตัวเดียวกันด้วย ตอนนี้เห็นว่าสั่งให้หยุดกินยาลดความอ้วนแล้วไปตรวจสุขภาพกันรัวๆเลย เห็นว่านักข่าวกำลังลงพื้นที่นะ

แต่อันนี้เป็นอุทาหรณ์ นอกจากประชาชนทั่วไปแล้ว
เตือนถึงพ่อแม่พี่น้องร่วมอาชีพด้วย ไม่ว่าจะหมอ พยาบาล จนท สาธารณสุข
อย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจเหี้ยนี่เด็ดขาด พวกเราเป็นอาชีพบริบาล มีหน้าที่ทำให้คนสุขภาพดี ไม่ใช่ไปถีบหัวส่งเขาให้ใกล้ความตายเร็วยิ่งขึ้น

ที่พูดนี่ไม่ใช่อะไร หลังๆเห็นหมอ พยาบาล หลายคนไปเอาดีด้านขายอาหารเสริมหรือยาลดความอ้วนกัน คนก็หลงเชื่อซื้อไปใช้เพราะเห็นว่า ขนาดหมอพยาบาลยังโฆษณาขายกันเลยนี่นะ

เดบิทภาพจาก //pantip.com/topic/35399702


โดย: หมอหมู วันที่: 25 พฤศจิกายน 2559 เวลา:13:40:46 น.  

 
ซอกแซกสื่อ (มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค) ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 2 ภาพ
https://www.facebook.com/fanemouth/posts/1546437185431718

ระวัง ! ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอ้างว่า กินแล้วผอม ช่วยลดน้ำหนัก บอกว่าปลอดภัย มีเลข อย ด้วย
แต่เมื่อเช็คเลขที่ อย แล้ว ปรากฎว่า ไม่มีเลข อย. นี้ในระบบข้อมูลของ อย.

พฤติกรรมเยี่ยงนี้ เลวร้ายมาก
ทำมาหากิน บนชีวิตคน
พ่อค้า แม่ค้า คงคิดว่า คนซื้อของเค้า "โง่"
แค่บอกว่า "มีเลข อย". ก็คิดว่าปลอดภัยแล้ว
แค่บอกว่า "กินแล้วผอม" ก็ซื้อกินกัน ไม่กลัวผลกระทบ

....

ถึง ทุกท่าน ....
อย่าให้ใครมาหลอกเราได้อีก ....

เบื้องต้น สามารถตรวจสอบเลข อย ได้ที่เวป อย. ตามนี้
• เช็ค อย.อาหาร //fdaolap.fda.moph.go.th/logistics/food/FSerch.asp…
• เช็ค เลขทะเบียนยา //fdaolap.fda.moph.go.th/logistics/drgdrug/DSerch.asp
• เช็ค ข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง //164.115.28.102/FDA_SEARCH_CENT…/…/FRM_SEARCH_CMT.aspx

อีกประเด็นนึงค่ะ เรื่องการโฆษณาว่า คำโฆษณานั้น อย. อนุญาตจริงหรือไม่ จะต้องสังเกตว่า การโฆษณาที่เราเห็น แบบบรรยายสรรพคุณนั้น มีการขออนุญาตโฆษณาหรือไม่

- เลขอนุญาตโฆษณาอาหาร = ฆอ. ..../....
- เลขอนุญาตโฆษณายา = ฆท. .../....
- เลขอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์ ฆพ. .../....
- เครื่องสำอาง ไม่มีเลขขออนุญาตโฆษณา เนื่องจาก กฎหมายกำหนดว่า เครื่องสำอางไม่ต้องขออนุญาตโฆษณา

เราจะสังเกตได้ว่า การโฆษณาใน social media ส่วนใหญ่ ไม่มีแสดงเลขอนุญาตโษฆณาจาก อย. - แสดงว่า เป็นโฆษณาเข้าข่ายผิดกฎหมายเกินจริง - แล้วเรายังจะซื้อมากิน มาใช้หรือ ???

และที่สำคัญ เราควร Double check - Triple Check ....
1.เช็คเลขที่ อย

2.เช็คการตรวจสารประกอบ
ได้ที่ หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ ของกรมวิทยาศาตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข //www.tumdee.org/alert
แต่ในหน้าต่างเตือนภัย ก็ยังไม่ได้มีผลิตภัณฑ์ทุกตัวในประเทศไทยนะคะ อย่าเข้าใจไปว่า ในระบบหน้าต่างเตือนภัยไม่มีแจ้งเตือน ก็จะคิดว่าปลอดภัยแล้ว
และอีกอย่าง สารประกอบบางตัว มันไม่สามารถตัวเจอได้ด้วยกรรมวิธีการตรวจสอบของประเทศไทยนะคะ

3.ถ้าต้องการส่งผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตรวจสอบว่ามีสารอันตรายหรือไม่ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามช่องทางต่างๆ ดังนี้

• กทม. - กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ที่อยู่ : 88/7 บำราศนราดูร ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 0-2951-0000,0-2589-9850-8

• กรณีต่างจังหวัด ส่งไปตรวจสอบได้ที่ ศูนย์วิทยาศาตร์การแพทย์จังหวัด //www.dmsc.moph.go.th/dmscnew/regional_agencies.php

.....
ถ้าเราไม่ปกป้องตัวเอง แล้วใครจะมาปกป้องเรา


โดย: หมอหมู วันที่: 16 พฤษภาคม 2560 เวลา:14:05:01 น.  

 
๑๑ กันยายน ๒๕๖๐
จับแล้วนะ มีสมี มีสยู ... สสจ.แจงอัตรายถึงตาย
นางสมจิตร ทองสุข หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคสาธารณสุขสุโขทัย ประสานกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดสุโขทัย และ พตท.มนเทียน กระทงนรเศษฐ์ รองผกก.(ป.)สถานีตำรวจภูธรบ้านสวนสุโขทัย เข้าค้นและรวบตัวนางพรภิรมย์ รัตนรมย์ อายุ 51 ปี ที่บ้านเลขที่ 116/1 ม.2 ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.สุโขทัย ซึ่งเช่าไว้เพื่อเป็นโกดังและเป็นสถานที่บรรจุ ยาลดความอ้วนปลอมแปลงอย. ยี่ห้อ “มีสมี “ และยากินปรับสภาพผิว ชื่อ “มีสยู” พบของกลางเก็บไว้เต็มบ้านเช่า 2 ชั้น เบื้องต้นนางพรภิรมย์ไม่ยอมรับ อ้างว่าเป็นการรับมาบรรจุเท่านั้น แต่ต้องยอมจำนนด้วยหลักฐานที่พบ คือเลข อย.ที่ระบุไม่ใช่เลข อย.ของสุโขทัย ไม่ได้ขอตั้งโรงงานผลิต และเจ้าหน้าที่เคยส่งตรวจวิเคราะห์พบยาชื่อฟลูออกซิติน ที่ใช้กับคนไข้จิตเวช มีผลทำให้ไม่อยากอาการ หากใช้ไปนานๆระยะยาว จะทำให้เกิดมีอาการข้างเคียง มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย อีกทั้งมีการโฆษณาขายทางออนไลน์อย่างแพร่หลายอีกด้วย

โดยเบื้องต้นนับของกลางได้ประมาณ 1000 ลัง บรรจุลังละ 500 กล่อง กล่องละ 10 เม็ด ราคาขายกล่องละ 450 บาท เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งข้อหา 4 ข้อหา คือ
1.ตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอณุญาต
2.ผลิตอาหารปลอม
3. โฆษณาโอ้อวดสรรพคุณอันเป็นเท็จเป็นการหลอกลวงให้เกิดความเชื่อโดยไม่สมควร
4.ผลิตหรือนำเข้า หรือจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธ์

ซึ่งของกลางทั้งหมดได้ถูกอายัดไว้ที่โรงพยาบาลสุโขทัย เพื่อตรวจขยายผลต่อไป

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10207608735096531&id=1835498228&pnref=story


โดย: หมอหมู วันที่: 11 กันยายน 2560 เวลา:15:04:32 น.  

 
Kitsana Kingkaew ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 16 ภาพ
https://www.facebook.com/prsukhothai/posts/795364583969498·

ตำรวจ ทหาร และสาธารณสุขสุโขทัย แถลงข่าวยึดของกลางผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในข้อหาตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตซึ่งอาหารปลอมเพื่อจำหน่าย หลังมีการสืบพบแหล่งบรรจุ ระบุมีส่วนผสมยา ฟลูออกซีติน (Fluoxetine)

วันนี้ (12 กันยายน 60) เวลา 10.00 น. ที่ โรงแรมสุโขทัย เทรเชอร์ แอนด์สปา เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และสาธารณะสุขจังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย พลตรีทรงวุฒิ จิตตานนท์ ผู้บัญชากองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยจังหวัดสุโขทัย พลตำรวจตรีสมจิตร์ ทองแท่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย พันตำรวจเอกอัมพล วงศ์ใหญ่ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย นายแพทย์สมศักดิ์ นุกูลอุดมพานิชย์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย และนางสมจิตร ทองสุขดี หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข ร่วมกันจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนจากกรณีการเข้าตรวจค้นและสามารถยึดของกลางผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ที่จังหวัดสุโขทัย
โดยคณะแถลงข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2560 เวลาประมาณ 10.00 น. พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขสุโขทัย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ได้เข้าตรวจค้น บ้านเลขที่ 116 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้มีนโยบายการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย จึงได้มีการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่วางจำหน่ายในท้องตลาดภายในจังหวัดสุโขทัย ผลการสุ่มตรวจและวิเคราะห์ผล พบว่า ผลิตภัณฑ์มิซมี่ (Mizme) มีการผสมยา ฟลูออกซีติน (Fluoxetine) ซึ่งจัดประเภทเป็นยาอันตราย มีผลต่อสารเคมีในสมองใช้รักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งมีอาการเบื่ออาหาร วิตกกังวล อาหารไม่ย่อย จึงจัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องติดตามและเฝ้าระวัง และได้มีการสืบทราบว่ามีการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย จึงได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเข้าตรวจค้น พบนางพรภิมล รัตนรมย์ พร้อมด้วยคนงานกำลังช่วยกันบรรจุแผงแคปซูลใส่ซอง และใส่กล่อง แล้วห่อหุ้มด้วยพลาสติก โดยใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เพื่อบรรจุกล่องลังใหญ่ เจ้าหน้าที่จึงได้ตรวจค้นและจับกุมตัวนางพรภิมล รัตนรมย์ พร้อมของกลางที่อยู่ภายในบ้านเลขที่ดังกล่าว ได้แก่
1.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มิซมี่ (Mizme) จำนวน 234,980 แผง คิดเป็นมูลค่า 93,992,000 บาท
2.ผลิตภัณฑ์ มิซยู ออร่า (Mizz U Aura) จำนวน 6,300 กล่อง คิดเป็นมูลค่า 2,457,000 บาท
3.เครื่องมือ ได้แก่ เครื่องเป่าลมร้อนพลาสติกหุ้มห่อ เครื่องปิดปากถุง เครื่องรัดกล่อง รวม 5 เครื่อง
4.วัสดุอุปกรณ์สำหรับการบรรจุ เช่น ลังบรรจุผลิตภัณฑ์ กล่องเปล่าบรรจุผลิตภัณฑ์ พลาสติกสำหรับซีล
กล่อง สติกเกอร์ QR Code และสายรัดกล่องสีดำ
5.อุปกรณ์สำหรับโฆษณาผลิตภัณฑ์ จำนวน 780 ชิ้น

ซึ่งใน นางพรภิมล รัตนรมย์ ไม่ยอมรับว่าของกลางดังกล่าวเป็นของตนเอง กล่าวว่าไม่ทราบว่าเป็นของใคร เจ้าหน้าที่จึงได้ยึดของกลางทั้งหมดไว้เป็นหลักฐาน และเบื้องต้นได้แจ้งข้อกล่าวหาให้นางพรภิมล รัตนรมย์ ทราบว่ามีความผิดฐาน ตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ ข้อหาผลิตซึ่งอาหารปลอมเพื่อจำหน่าย มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 100,000 บาท อย่างไรก็ตาม จะได้มีการสืบสวนและสอบสวนเพิ่มเติมหากพบการกระทำผิดอื่นจะได้มีการแจ้งข้อหาเพิ่มเติมและดำเนินการในส่วนอื่นต่อไป เพราะเป็นการกระทำที่มีผลกระทบต่อประชาชนหลายด้าน และอาจมีประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก


โดย: หมอหมู วันที่: 13 กันยายน 2560 เวลา:13:00:05 น.  

 
10 Jan 2019
อย. เตือน อย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อวดอ้างสรรพคุณลดความอ้วนทางสื่อต่าง ๆ เสี่ยงต่อผลข้างเคียงสูง อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ แนะผู้มีน้ำหนักเกินควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายแทนการใช้ยา

นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงกรณีปรากฏเป็นข่าวอยู่เป็นระยะว่ามีผู้ได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาอวดอ้างลดน้ำหนัก และบางรายถึงขั้นเสียชีวิต นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนแล้วซื้อยามารับประทานเองตามร้านค้าออนไลน์ต่างๆ จึงขอเตือนมายังผู้ที่ต้องการลดความอ้วน อย่าหลงเชื่อโฆษณาจำหน่ายยาลดความอ้วนผ่านทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะทางอินเทอร์เน็ต และทาง Social media หรือไปหาซื้อยามารับประทานเอง เพราะเสี่ยงต่อผลข้างเคียง โดยยาลดความอ้วนส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ลดความอยากอาหารและกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำให้น้ำหนักลดลงขณะรับประทานยา แต่จะเพิ่มขึ้นเมื่อหยุดยา หรือที่เรียกว่า YO - YO Effect
นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย. มักตรวจพบว่ามีการลักลอบใส่สารไซบูทรามีน ซึ่งเป็นสารอันตรายและมีผลข้างเคียงร้ายแรง คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ตาพร่า และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ไซบูทรามีน เป็นยาที่ยกเลิกทะเบียนตำรับไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2553 อย. ขอยืนยันว่า สารไซบูทรามีนไม่สามารถใส่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือเป็นยา และได้ยกระดับไซบูทรามีนขึ้นเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทที่ 1 ผู้ใด ผลิต นำเข้า หรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีนเป็นส่วนผสมจะมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 20 ปี และปรับถึง 2 ล้านบาท

ดังนั้น ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวัง การใช้ยาลดความอ้วนจะต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ อย่าซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและควบคุมอาหาร รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรมีส่วนช่วยในการสอดส่องดูแลบุตรหลานที่กังวลเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักตัวมากเกินไป และ มีแนวโน้มในการใช้ยาลดความอ้วนให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ยา

รองเลขาธิการ ฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอเตือนว่าการซื้อยาต้องซื้อจากร้านขายยาแผนปัจจุบันที่ได้รับอนุญาต และมีเภสัชกรให้คำแนะนำในการใช้ยา ไม่สามารถซื้อหรือขายยาทาง Social media ได้ เพราะผิดกฎหมาย และเสี่ยงต่อการเกิดผลร้ายต่อผู้บริโภค หากผู้บริโภคพบเห็นเบาะแสการโฆษณา การผลิต/จำหน่าย ยาลดความอ้วนผิดกฎหมาย ขอให้ร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11000 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด

https://oryor.com/digi_dev/detail/media_news/1538?fbclid=IwAR2Fn_HNAXfpg7WrBNiRw0jtL0Vi_Jkz9-WmACeengoukRzJZV2EiQTzx_s


โดย: หมอหมู วันที่: 11 มกราคม 2562 เวลา:7:11:25 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]