Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯเพื่อใคร?! ... คอลัมน์: บันทึก...บ้านเมือง จาก หนังสือพิมพ์ บ้านเมือง


//www.ryt9.com/s/bmnd/977973



คอลัมน์: บันทึก...บ้านเมือง: พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯเพื่อใคร?!
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์บ้านเมือง --
อาทิตย์ที่ 5 กันยายน 2553 00:00:58 น.


คมชน

ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ยังมีข้อขัดแย้งหลายประเด็น มีรายละเอียดถกเถียงกันได้หลากหลายมุม แต่โดยรวมแล้วที่เห็นต่างกันอยู่ 2 ประเด็นหลักคือ ประเด็น มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ กับ ประเด็น สัดส่วนของคณะกรรมการฯ ที่จะเข้ามามีบทบาทใน พ.ร.บ. นี้ ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นมีนัยสำคัญเรื่องราว ผู้คน และสังคมโดยรวมที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย

ถ้ายึดเอา "ผลประโยชน์สังคม" เป็นที่ตั้ง มุ่งให้ความเป็นธรรมเพื่อสร้างความผาสุกของสังคมโดยรวมแบบทั่วถ้วน ทั้งฝ่ายหมอ ผู้ป่วย และผู้รับผลกระทบในมิติต่างๆ (ที่ไม่ใช่แค่มุ่งมาฟาดฟันล้างแค้นหมอพยาบาล ที่ ผู้นำเครือข่ายฯ คนป่วย! มักกร้าวให้เห็นบ่อยๆ ด้วยวาจาจิกฝ่ายหมอ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย และมักอ้างตัวเป็นภาคประชาชนที่น่าระอาสุดๆ!) หากมองผ่านมิตินี้จะพบว่า ทั้ง หมอ และ คนไข้ไม่น่าจะได้รับผลดีจากร่างกฎหมายนี้! เพราะ

หนึ่ง สัดส่วนของหมอต่อประชากร ที่ต้องรับผิดชอบมีสัดส่วนสูงมาก พูดง่ายๆ ว่าบ้านเรายังขาดแคลนหมออีกมาก ทั้งยังมีการกระจุกตัวของแพทย์บางกลุ่มอยู่ในบางพื้นที่ ซึ่งเหมือนกับทุกประเทศในโลกที่มักเป็นเช่นนี้

สอง สภาพแรงกดดันจากร่างกฎหมายนี้ต่อปัจเจกบุคคลซึ่งหากมีการนำใช้กฎหมายตามที่ ยกร่างฉบับนี้ ก็น่าจะมีผลกระทบต่อปัจเจกบุคคลทั้งหมอและผู้ป่วยอย่างแน่นอน ซึ่งมีรายละเอียดที่สามารถนำมาพิจารณาได้มากมายหลายประการ ที่ไม่อาจสาธยายในพื้นที่อันจำกัดนี้ได้

สาม มาตรฐานการในเรื่องกองทุนฯ ของร่างกฎหมายนี้ เมื่อพิจารณา สัดส่วนกรรมการฯ ดูแล้วจะพบว่า สัดส่วน กรรมการฯ จะมีผลต่อ มาตรการ และ มาตรฐาน ที่พึงมีผลกระทบต่อบุคลากรทางการสาธารณสุข รวมถึงการใช้เงินตามร่างกฎหมายนี้ ซึ่งสังคมต่างค้างคาใจมากว่า ทำไม เอ็นจีโอ?จึงมีบทบาทสูงพอกับกลุ่มวิชาชีพ พวกนี้สร้างความก้าวหน้าให้กับวิชาชีพทางการแพทย์มามากหรืออย่างไร?!!

สี่ การสร้างทางออกที่ต้องหนีจากความรับผิดชอบตามกฎหมาย หมอคงต้องพยายามเอาตัวเองให้พ้นความรับผิดชอบ เพื่อรักษาตัวและอนาคตไว้โดยธรรมชาติของคนเรา เช่น ระบบการส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อความก้าวหน้าของวิชาชีพและต่อตัวผู้ป่วยเองในที่สุด อย่างแน่นอน


ภายใต้เงื่อนปมปัญหาที่ผูกติดมากับกฎหมายนี้ น่าจะฟันธงได้ว่ากฎหมายร่างนี้ไม่น่าจะส่งผลดีต่อ "แพทย์และผู้ให้บริการทางสาธารณสุข" และแน่นอนว่าจะไม่เป็นผลดีต่อ "ผู้ป่วย"ในฐานะผู้รับบริการอย่างแน่นอน! แปลว่าแย่ทั้ง ผู้ให้บริการ และ ผู้รับบริการ

คงมีก็แต่ เอ็นจีโอ (รวมทั้งกลุ่มหมอนักเคลื่อนไหวนักล่าตำแหน่งบางคนบางกลุ่ม) ที่จะได้ประโยชน์ และได้ภาพที่ช่วยเสริมสร้างทุนทางสังคมให้ตัวเองไปเต็มๆ ในฐานะที่เป็นผู้ยืนข้างประชาชน (อีกแล้ว!) ทั้งยังจะได้เข้าไปนั่งคุม กองทุนฯ ที่มีงบมากมายนับพันล้าน
ซึ่งต่อไปอาจยกร่างมาตรการเพื่อหยิบมาใช้ในนาม "การพัฒนาสาธารณสุข" แต่จากประสบการณ์ของสังคมที่ได้รู้เห็นมา พบว่าสังคมส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ประโยชน์มากมายอะไรจากการใช้เงินตามแบบของ เอ็นจีโอที่ผ่านๆ มา

บ้านเรามีบทเรียนเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจาก เอ็นจีโอ ที่มักจะออกมาเคลื่อนไหว สร้างภาพตัวเองเป็นนักบุญผู้หวังดี ชี้นำสังคมอยู่เสมอๆ แต่สุดท้ายมักจะจบลงด้วยการจัดตั้งกลุ่ม ตั้งกรรมการ หรือตั้งองค์กรอิสระ แล้วเอาเงินหลวงไปใช้กันสบายมือ ขาดเพียงประโยชน์รูปธรรม และความโปร่งใสเท่านั้น ที่ไม่ค่อยจะได้คืนกลับให้สังคม!

เรื่องนี้ต้องพิจารณาให้รอบคอบ การออกกฎหมายมาล้างแค้นใครกลุ่มใดนั้น ไม่อาจสร้างประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นได้ มีเพียงการไม่ทำร้ายใครเท่านั้นที่จะช่วยให้สังคมไม่เลวร้ายลงไปกว่าเดิม อีก!






Create Date : 08 กันยายน 2553
Last Update : 8 กันยายน 2553 12:04:00 น. 1 comments
Counter : 2218 Pageviews.  

 


ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:11:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]