Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาถือเป็นละเมิด ... แล้วทำไม "แพทยสภา" ถึงบอกว่า หมอมีสิทธิปฏิเสธคนไข้ได้ ?

โรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาถือเป็นละเมิด

Sun, 2016-01-17 13:55 -- hfocus

สยามธุรกิจ : อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะเป็นเหตุให้ผู้ประสบสูญเสียทรัพย์สิน ได้รับบาดเจ็บ ตลอดจนสูญเสียชีวิต และเมื่ออุบัติเหตุได้อุบัติขึ้น ญาติผู้ประสบเหตุ พลเมืองดี หรือเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิ (กู้ภัย) มักจะนำผู้บาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาเยียวยาให้เร็วที่สุด

เคยมีคดีที่โรงพยาบาลเอกชนปฏิเสธการรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เพราะหวั่นเกรงจะไม่มีใครรับผิดชอบค่ารักษา และเป็นเหตุทำให้ผู้บาดเจ็บได้เสียชีวิตในที่สุด บิดาผู้เสียชีวิตจึงฟ้องร้องเป็นคดี และได้มีคำพิพากษาของศาลไว้ในเรื่องนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11332/2555  "จำเลยเป็นผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล บุตรของโจทก์ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่นั่งซ้อนท้ายชนแผงเหล็กกั้นทางโค้งปากทางเข้าหมู่บ้านเมืองเอก และผู้ขับขี่ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ บุตรของโจทก์มีอาการเจ็บปวด มีภาวะการบอบช้ำของสมองและโลหิตออกในสมอง จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แม้ไม่ปรากฏบาดแผลร้ายแรงที่มองเห็นจากภายนอก แต่พยาบาลเวรซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยกลับให้ผู้ช่วยพยาบาลตรวจค้นหลักฐานในตัวบุตรของโจทก์ว่ามีบัตรประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ 30 บาท หรือบัตรประกันชีวิตหรือไม่

เมื่อไม่พบหลักฐานใด จึงสอบถามเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิที่เป็นผู้นำส่งว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เมื่อไม่มีคำตอบ จึงปฏิเสธที่จะรับบุตรของโจทก์ไว้รักษา โดยแนะนำให้ไปรักษายังโรงพยาบาลของรัฐ การที่พยาบาลเวรลูกจ้างของจำเลยปฏิเสธไม่รับบุตรของโจทก์เข้ารับการรักษาดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงที่ทำให้บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตาย

จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล มีหน้าที่ต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 36 แต่กลับไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของลูกจ้างดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์

ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,600,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง"

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานพยาบาลเอกชน เป็นการประกอบธุรกิจที่หวังผลกำไร และการรักษาพยาบาลนั้นมีค่าใช้จ่ายทั้งทางด้านบุคลากร เครื่องมือ เวชภัณฑ์ และค่าวิชาชีพแพทย์และพยาบาล หากรักษาไปแล้วค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บไม่มีผู้รับผิดชอบ สถานพยาบาลจะไปเรียกร้องค่าใช้จ่ายเหล่านี้จากใคร แม้แต่รัฐเองก็ให้คำตอบหรือแก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้ สิ่งที่สถานพยาบาลทำได้ก็คือฟ้องร้องเรียกค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วย หรือญาติผู้เสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธช่วยเหลือชีวิตคนนั้นก็เป็นเรื่องที่ขัดกับธรรมจรรยาของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ หรือพยาบาล ซึ่ง "ธรรมจรรยา" นี้ควรจะฝังลึกไปในมโนสำนึกของผู้บริหารสถานพยาบาล เพื่อที่จะกำหนดนโยบายของสถานพยาบาลและปลูกฝังเจ้าหน้าที่ให้เห็นความสำคัญของ "ชีวิต" มากกว่า "กำไร" นะครับ

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 - 22 ม.ค. 2559 จากคอลัมน์ หมอบ้าน ทนายเมือง

...............................




สืบเนื้องจากข่าวนี้ .. มีผู้สอบถามว่า แล้วทำไม "แพทยสภา" ถึงบอกว่า หมอมีสิทธิปฏิเสธคนไข้ได้  ?

คำตอบ ยาวหน่อย แต่ อยากจะทำความเข้าใจให้ตรงกัน ค่อย ๆ อ่าน ไม่ต้องรีบ  ^_^ 

ประเด็นที่ ๑   ประกาศแพทยสภา เรื่อง ข้อเท็จจริงทางการแพทย์  ต้องอ่านเพิ่มเติมให้ละเอียด ไม่ใช่จำแค่ หมอปฏิเสธผู้ป่วยได้ แล้วก็ตีความต่อ ตามใจตนเอง ..


//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-08-2009&group=7&gblog=29

ข้อ 5 เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเอง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอาจปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในสภาวะฉุกเฉิน อันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต โดยต้องให้คำแนะนำหรือส่งต่อผู้ป่วย ตามความเหมาะสม


กรณีนี้ เคยมีการโต้เถียงกันมากมาย ทั้ง ๆ ที่ ปกติ แล้วก็มีการปฏิบัติกันทั่วไป ... เพียงแต่ ติดที่คำว่า " ปฎิเสธ การรักษา " เท่านั้นเอง ...

ในเมื่อ หมอเห็นว่า รักษาไม่ได้ ( คนไม่พอ เครื่องมือไม่พร้อม เลือดไม่มี ฯลฯ ) หมอก็ส่งต่อ ผู้ป่วยไปรักษา รพ.อื่น ที่มีความพร้อมมากกว่า ซึ่งทุกท่าน ก็คงได้ยินว่า " หมอ ส่งต่อ ไปรักษาที่อื่น "


ข้อนี้ จะมีประเด็นสำคัญ ๓ ประเด็นคือ

๑. เพื่อประโยชน์ ของ ผู้ป่วย

๒. ไม่เร่งด่วน ฉุกเฉิน หรือ อันตรายถึงชีวิต ... หรือพูดกันง่าย ๆ ถ้าไม่รักษา ตอนนี้ ก็ไม่ตาย ไม่เจ็บป่วยหนักมากขึ้น

๓. ต้องให้คำแนะนำ และ ส่งต่อ อย่างเหมาะสม ...

จะเห็นได้ว่า กว่าแพทย์ จะปฎิเสธ การรักษานั้น มีเงื่อนไข เยอะแยะ ไม่ใช่ว่า อยู่ดี ๆ ก็มาอ้างข้อนี้ ปฏิเสธ คนไข้ ..



ประเด็นที่สอง  ถึงแม้ว่า หมอ จะปฏิเสธ ผู้ป่วย  แต่ ก็ต้องรับผิดชอบ ถ้าเกิดอะไรขึ้นมาอยู่ดี  ไม่ใช่ว่า ปฏิเสธ แล้วถือว่า ไม่เคยพบเจอกัน ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น

เรื่องนี้ ถ้าคิดแบบทั่วไป ก็คือ " ความรับผิดชอบ ต่อ คำพูด ของตนเอง " เพียงแต่ "แพทย์ " จะมีเรื่องกฏหมายระเบียบต่าง ๆ เช่น จริยธรรมทางการแพทย์ พรบ.วิชาชีพเวชกรรม รวมไปถึง แพทยสภา ที่เป็นองค์กรดูแลแพทย์เพิ่มขึ้น

และ ในฐานะที่ แพทย์ ก็ถือว่าเป็นประชาชนคนไทย จึงต้องอยู่ภายไต้กฏหมายทั้ง แพ่ง และ อาญา เหมือนกันคนไทยทุกคน


ประเด็นที่สาม ในกรณีที่เป็นข่าว ผมเห็นด้วยกับคำตัดสินของศาล ถ้าเห็นว่า ฉุกเฉิน อันตรายถึงชีวิต ก็ต้องช่วย ถ้าไม่ช่วย (นิ่งเฉย) ก็ถือว่า ผิด ต้องรับผิดชอบ ( แพ่ง อาญา )

ประเด็นนี้ รวมถึง บุคคล ทั่วไป ด้วยนะครับ .. ถ้าเห็นผู้อื่น ตกอยู่ในอันตราย แล้วนิ่งเฉย ไม่ช่วยเหลือ มีหลักฐานชัดเจน ก็ต้องรับผิดชอบ เหมือนกัน

ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา ๓๗๔ (ไม่ช่วยผู้อื่นซึ่งเผชิญภยันตรายทั้งที่ช่วยได้หรือควรช่วย)

ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้น ในประเด็นที่เป็นข่าว จึงเป็นคนละกรณีกับ ประกาศของแพทยสภา การตีความ จึงต้องพิจารณาถึงรายละเอียดอื่น ๆ ประกอบด้วยเสมอ

แนะนำอ่านเพิ่มเติม ในเวบสยามธุรกิจ  "ช่วยได้ แต่ไม่ช่วย"
//www.siamturakij.com/main/news_content.php?nt=4&nid=1588


แถม ..


หมอ ...มีสิทธิ... ที่จะปฏิเสธ .... คนไข้ที่ไม่ฉุกเฉิน..... หรือเปล่า ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-08-2009&group=7&gblog=29

เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวนโยบายดี แต่การปฏิบัติล้มเหลว ? ...

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185

แพทย์ต้องมีจรรยาแพทย์ (จรรยาบรรณ) แล้วคนอื่น อาชีพอื่น ไม่ต้องมีหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-08-2009&group=7&gblog=31

กฏหมายแพทย์ต้องรู้ ( ผู้ป่วยและญาติ ก็ควรรู้ )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-10-2014&group=7&gblog=184

การระมัดระวังการใช้SocialMedia สำหรับแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข... โดย หมอแมว

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-06-2014&group=7&gblog=179

แพทยสภา เตือนแพทย์ ระมัดระวังก่อนโพสต์รูปตนเอง/คนไข้หรือความเห็นส่วนตัวลง socialmedia

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-06-2014&group=7&gblog=178

Facebook, Line, Tweeter….จริยธรรมบนโลกออนไลน์.... โดย doctorlawyer"

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-06-2014&group=7&gblog=181


สิทธิผู้ป่วย... คำประกาศ"สิทธิ"และ"ข้อพึงปฏิบัติ" ของผู้ป่วย .... วันที่ประกาศ ๑๒สค. ๒๕๕๘

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=23-12-2007&group=4&gblog=1



""""""
นำไปตั้งกระทู้ ในห้องสวนลุม พันทิบ ด้วย  เชิญแวะแจมได้เลย  ^_^
//pantip.com/topic/34698782






Create Date : 20 มกราคม 2559
Last Update : 20 มกราคม 2559 16:04:07 น. 2 comments
Counter : 3167 Pageviews.  

 
วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.18 น.
หน้าแรก > วิเคราะห์-บทความ [ฉบับที่ 1399 ประจำวันที่ 2013-05-04 ถึง 2013-05-07]

//www.siamturakij.com/main/news_content.php?nt=4&nid=1588


"ช่วยได้ แต่ไม่ช่วย"

การเห็นคนตกน้ำ คนจะโดนรถชน หรือตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งอาจช่วยได้แต่ไม่ช่วยมีความผิดหรือไม่

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 374 บัญญัติว่า ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิตซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แม้ผู้นั้นจะไม่มีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันหรือดูแลผู้ที่ตกอยู่ในภยันตรายก็ตาม เรียกได้ว่ากฎหมายกำหนดไว้เป็นหน้าที่ของพลเมืองดี ไม่ใช่เห็นคนตกอยู่ในอันตราย ตนเองสามารถช่วยได้ โดยการช่วยนั้นก็ไม่ได้เสี่ยงอันตรายเกินควร แต่กลับไม่ช่วย ปล่อยให้ผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายจนถึงแก่ชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บ จึงมีโทษจำคุกหรือปรับ เหตุเพราะเป็นคนใจดำ หรือภาษากฎหมายเรียกการกระทำเช่นนี้ว่าเป็นการ "ละเว้น" ในการที่จะช่วยเหลือ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของพลเมือง หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "General Duty"

แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้นั้นมีหน้าที่ที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะ แต่ไม่กระทำตามหน้าที่นั้น เช่นบิดามารดาต้องดูแลบุตร พี่เลี้ยงต้องดูแลเด็ก พยาบาลต้องดูแลคนไข้ ครูต้องดูแลนักเรียน หรือคนดูแลความปลอดภัยของผู้มาว่ายน้ำ มีหน้าที่ที่ต้องดูแลและป้องกันไม่ให้ผู้ที่อยู่ในความดูแลของตนเกิดอันตราย แต่ไม่ได้กระทำหรือนิ่งเฉย ถ้าหากผู้ที่อยู่ในความดูแลได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บผู้นั้นจะมีความผิดฐาน เจตนา หรือประมาทแล้วแต่ กรณี อย่างนี้ถือว่าเป็นการ "งดเว้น" ไม่กระทำการตามหน้าที่ของตน หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Specific Duty"

ทั้งนี้ การกระทำโดยงดเว้น เพราะตนมีหน้าที่นั้นอาจไม่ใช่หน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญา ตามหน้าที่ที่ได้รับค่าจ้าง แต่อาจจะเป็นการอาสาสมัคร หรือการกระทำก่อนๆ ของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น กำลังยืนรอรถเมล์เห็นคนตาบอดจะข้ามถนน จึงช่วยจูงคนตาบอดข้ามถนน ในระหว่างนั้นเห็นรถเมล์สายที่ตนรอกำลังมา จึงปล่อยคนตาบอดทิ้งไว้กลางถนนบอกให้ข้ามต่อไปเอง แล้วรีบวิ่งกลับมาขึ้นรถเมล์ หากคนตาบอดถูกรถชนเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ ผู้นั้นมีความผิดฐานประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายหรือได้รับบาดเจ็บโดยการงดเว้นตามกฎหมาย เรียกได้ว่าช่วยแล้วแต่ไม่ช่วยให้ตลอด จึงทำให้เขาเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ จากการกระทำของตนที่ไม่ทำหน้าที่ที่ตนเข้าไปอาสาให้เสร็จสิ้น

อย่างนี้ก็ไม่น่าจะเข้าไปช่วยตั้งแต่แรกหน่ะสิ....ถ้าช่วยต้องช่วยให้ถึงที่สุดครับ เพราะช่วยแค่ครึ่งๆ กลางๆ แล้วปล่อยให้เค้าประสบอันตรายนั้นถือว่าสาเหตุเกิดเพราะตัวท่านด้วยครับ

จะเห็นได้ว่ากรณีแรก คือการ "ละเว้น" เป็นหน้าที่ของพลเมืองดีที่จะต้องช่วยหากพบเห็นผู้ตกอยู่ในอันตรายอาจถึงแก่ชีวิตแต่ไม่ช่วย จะมีโทษทางกฎหมายแต่เป็นเพียงแค่ลหุโทษ

แต่หากเป็นการที่ผู้นั้นมีหน้าที่ตามกฎหมาย ตามหน้าที่เพราะงาน หรือเพราะการอาสาเข้าไปช่วยเหลือ แล้วได้ทำการ "งดเว้น" หรือไม่กระทำการใดเพื่อป้องไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ที่อยู่ในความดูแลของตนนั้น จะต้องรับโทษอาญาฐานกระทำโดยเจตนา หรือกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายหรือได้รับบาดเจ็บแล้วแต่กรณี

อีกกรณีหนึ่งของหน้าที่พลเมืองดีคือ เมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือสาธารณภัยอื่น และเจ้าหน้าที่เรียกให้ช่วยระงับ ถ้าผู้นั้นสามารถช่วยได้แต่ไม่ช่วย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เห็นไหมครับว่า การที่เป็นพลเมืองอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง นอกจากมีสิทธิต่างๆ จะต้องมีหน้าที่ตามกฎหมายด้วย และที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงหน้าที่บางส่วนของการเป็นพลเมืองดี

ถ้าเห็นคนตกอยู่ในอันตรายและสามารถช่วยได้ ก็ช่วยกันเถอะครับ ไม่เพียงแต่เป็นหน้าที่ตามกฎหมาย แต่เป็นหน้าที่ตามศีลธรรมด้วยนะครับ



โดย: หมอหมู วันที่: 20 มกราคม 2559 เวลา:15:33:43 น.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:11:40:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]