Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ถอดความ รายการสามัญชน คนไทย ตอน กฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบทางสาธารณสุข ... ชเนษฎ์ ศรีสุโข



ถอดความ รายการสามัญชน คนไทย ตอน กฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบทางสาธารณสุข ... ชเนษฎ์ ศรีสุโข

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10154755129950844&set=a.10150267473640844.380803.655195843&type=3&theater


ก่อนอื่นเลย ขอแสดงความเสียใจ อย่างยิ่ง และ เห็นใจน้องที่ประสบอุบัติเหตุ เสียค่าใช้จ่าย และสูญเสียคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งเห็นใจผู้ที่มีความเสียหายในวิดีโอนี้ทุกคน การถอดความนี้ ไม่ได้มีเจตนาไปขัดแย้งกับประชาชน หากจะมีเจตนาขัดแย้ง คงเป็นเจตนาขัดแย้งกับ กลุ่มมนุษย์ NGOs ที่แอบอ้างประชาชน

[ถอดความ ตามความเข้าใจ เท่าที่ได้รับข้อมูล จากคลิปนี้]

1.เริ่มแรก ดร.เจษฎา พิธีกร พาไปดู กรณีน้องชายคนหนึ่ง

และเนื้อหาของรายการ กล่าวถึงน้องคนนี้ ในลักษณะ "รถชน หมอผ่าช้า อ้างเครื่องมือไม่พร้อม หมอผิด"

"ไม่มีการช่วยเหลือเยียวยาจากหมอ ฟ้องหมอ ขึ้นศาล ศาลชั้นต้นยกฟ้อง"

2.พิธีกร คุณมาโนช พุฒตาล โยงเข้าไปเรื่อง หมอคือบ่อเกิดความเสียหายทางการแพทย์มากมายหลายอย่าง ไปสัมภาษณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล และถามหาความรับผิดชอบจากแพทย์หากเกิดความเสียหาย จะดำเนินการอย่างไร และบอกว่าสิ่งสำคัญคือการร่วมมือกันระหว่างประชาชนกับแพทย์ และคนไข้ ไม่ตกเป็นเหยื่อหนังสือพิมพ

3.ต่อมาพิธีกรอีกท่าน ชื่อ ดร.เจษฎา ได้แนะนำ หนังสือเรื่องปีศาจร้ายในสายตาหมอ

4.ดร.เจษฎา ไปสัมภาษณ์ คุณปรียนันท์ ซึ่งพูดอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญ ถึงความเสียหายทางการแพทย์ หลายคดี
มีกรณีผู้ที่เสียสายตาจากการแพ้ยา และได้รับเงินชดเชยเพียง 50,000 บาท จากการเรียกร้องไป 2 ล้านบาท

5.กลับมาที่ คุณปรียนันท์ พูดถึงการฟ้องร้อง และบอกว่า เราต้องพึ่งศาลเป็นที่พึ่งสุดท้าย

6.นำไปสู่คดีเด็กอีกคนที่ เกิดปัญหาการคลอดธรรมชาติ และขาดออกซิเจนระหว่างคลอด และมีการบาดเจ็บแขน นำไปสู่ปัญหาพัฒนาการและการต้องบำบัด กายภาพ

7.ดร.เจษฎา สัมภาษณ์ คุณปรียนันท์ต่อ บอกกันว่าฟ้องคดีแพ้เป็นส่วนใหญ่ และใช้เวลานาน ถูกบีบให้รับค่าชดเชยจำนวนน้อย อาทิ เด็กขาดออกซิเจนคนดังกล่าว ได้รับเงินเพียงห้าแสนบาท

ดร.เจษฎา ถามว่าถ้าผมเป็นคนไข้ และมีปัญหากับหมอจะทำอะไรได้บ้าง คุณปรียนันท์ตอบว่า มี มาตรา 41 แต่เพดานการเยียวยา 4 แสนบาท เป็นเงินน้อยเกินไป

ได้ที เธอจึง โฆษณาการรณรงค์ พรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย ซึ่งรายการนี้ให้ทีท่าการสนับสนุน อย่างดี

คุณปรียนันท์ บอกว่า ที่ผ่านมา ตนเองแพ้คดีส่วนตัว แต่ชนะในทางสังคม และปลายทางทำให้สังคมงอกงาม

8.รายการได้ไปสัมภาษณ์ประธานกรรมธิการสาธารณสุข คนปัจจุบัน ซึ่งกล่าวถึงข้อกฎหมาย พรบ.ที่ คุณปรียนันท์ผลักดัน

9.ต่อมา รายการ เอาภาพคลิป การประชุมของ คุณสารี อ๋องสมหวัง (ผู้เขียน - คุณสารีเป็นคนที่คุณปรียนันท์สนับสนุนให้มาเป็นกรรมการแพทยสภาโดยวิธีพิเศษ แต่สังคมไม่เอาด้วย จึงเงียบไป) และรายการ ยังสัมภาษณ์แนวร่วมที่สนับสนุน มาวิจารณ์ข้อกฎหมาย ในลักษณะการสนับสนุน โดยมีคำพูดทำนองว่า บอกว่าแพทย์ควรชดเชย ทั้งการรักษาที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐาน

10.ต่อมา รายการอ้างว่าติดต่อแพทยสภาไม่ได้จึงไปสัมภาษณ์ หมอชื่อดัง คือ หมอวิทวัส ศิริประชัย เจ้าของเพจ Drama-Addict แทน

คุณหมอวิทวัส ก็พูดถึงเคสคุณปอ ทฤษฎี บอกว่าหมอเสียใจที่รักษาคนไข้ไม่ได้ และจะใช้เป็นบทเรียนต่อไป

คุณหมอวิทวัส พูดว่า เพราะมีการรักษาเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงเกิดความผิดพลาดได้ และเนื่องจากความคาดหวังของผู้ป่วยที่มากขึ้นด้วย

คุณหมอวิทวัส กล่าวถึงว่า การฟ้องร้องไม่น่ากังวล หากทำงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นการทำงานภายใต้กระทรวงหากถูกร้องเรียน ก็จะเป็นการร้องเรียนกระทรวงสาธารณสุขแทน

เขากล่าวอีกว่า ในฐานะเคยเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล สิ่งสำคัญคือการไกล่เกลี่ย และการสร้างความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย แพทย์รับความผิด ก็เข้าใจกันได้

ให้คุยเรื่องการพัฒนาระบบ ร่วมกัน จะดีกว่า

11.พิธีกร คุณมาโนช จึงกลับมาพูดว่า รายการสามัญชนคนไทย จะได้เสนอมุมมองที่ดี ในการเสนอ "คุณภาพชีวิตที่ดี" แก่สังคมไทย เราจะแก้ไขความผิดพลาดอย่างไร โดยเฉพาะความผิดพลาดทางการแพทย์

12.พิธีกร ไปสัมภาษณ์ คุณหมอวิรุฬ บอกว่า ปัญหาคือการที่แพทย์ไม่ยอมรับความผิดพลาด ถูกซ้ำเติม จึงทำให้เกิดความเสียใจ พิธีกรแทรก "อาจก่อให้เกิดกรณีการปกปิดกันมากขึ้นด้วย"

13.ดร.เจษฎา ได้กลับมาพูดถึงความเสียหายทางการแพทย์ และผลกระทบ 5 ด้าน ต่อร่างกาย จิตใจ ค่าใช้จ่าย ครอบครัวแตกแยก และเวลาของชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป

ย้ำว่า ความเสียหายทางการแพทย์ ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมาก

คุณมาโนช พูดว่า คุณหมอได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง และพูดว่าผู้ป่วยเป็นคนรับกรรม มากกว่าแพทย์

คุณมาโนช และ ดร.เจษฎา ยังพูดถึงเรื่อง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ว่าจะผลักดันกฎหมายนี้ต่อไปได้อย่างไร และมีความหวังว่าจะ พรบ.จะถูกผลักดันได้ เพื่อ คุณภาพชีวิตของสามัญชน คนไทย

ที่มา https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157860748035085&id=3307435

ความคิดเห็นผู้ถอดความ (หากขาดข้อมูลรายละเอียดบางอย่างบ้าง ขออภัย) :

1. ไม่แน่ใจว่า ทำไมคดีแรกในคลิป ผู้เสียหายถูกรถชนจึงเกิดความเสียหายมิใช่หรือ ทำไมจึงไม่ฟ้องรถที่ชน แต่ไปฟ้องหมอที่รักษาแทน ว่าทำให้ทุพพลภาพ ควรเสนอในรายละเอียด

2. หนังสือเรื่องปีศาจร้ายในสายตาหมอ ผมอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว ตั้งแต่สมัยก่อน เป็นการบรรยายความทุกข์ระทมในชีวิตของสตรีท่านหนึ่งที่ทวงถามจากหมอผู้ทำคลอด ให้ดูแลลูกชายที่มีปัญหาข้อสะโพก ไปตลอดชีวิต (เพราะการไม่เชื่อฟังคำแนะนำจากแพทย์) จริงๆสตรีท่านนี้ได้รับการเยียวยาจาก ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็นบ้านมูลค่าหลายล้านบาท และ การผ่าตัดข้อเทียม พอควรแล้ว แต่เธอก็ยังถามหาความรับผิดชอบจากผู้เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อการชดเชยต่อเนื่อง

3.ความเสียหายทางการแพทย์ ฝั่งหมอและบุคลากรสาธารณสุข (หมอไม่ได้ทำงานคนเดียว จริงๆทำงานในลักษณะสหวิชาชีพ หมอ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ เภสัชกร เจ้าหน้าที่ต่างๆ)

ฝั่งนี้ก็ไม่ต้องการให้เกิดความเสียหายขึ้น หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ การรักษา 100 - 200 ล้านครั้งต่อปี มีข้อผิดพลาดไปร้องเรียน คุณปรียนันท์ ปีละหลักสิบเคส ถือ ว่าเป็นเปอร์เซ็นต์น้อยมาก รายการนี้กลับพยายามใช้แว่นขยายให้เห็นกรณีผิดพลาด ชัดขึ้น และรายการนี้คงไม่ทราบข้อมูลว่า มีแพทย์ถูกพิจารณาลงโทษจากแพทยสภา ตลอด 48 ปีที่ผ่านมาเป็นพันราย

4.มีการขอขยายการชดเชยเงินช่วยเหลือประชาชน โดยแพทยสภา เพียงแต่รายการไม่ได้มีโอกาสถามแพทยสภา

และกรรมการแพทยสภาเอง จำนวนมากเลย ที่คอยเป็นกลไกขับเคลื่อนการชดเชยเยียวยา ทั่วประเทศ ผ่านคณะกรรมการ ม.41 ทุกจังหวัด เยียวยาผู้คนได้มาก จำนวนมากมายกว่าที่ไปร้องคุณปรียนันท์ รวมทั้งแพทยสภาขอขยายวงเงินชดเชย และขอให้มีการขยายลักษณะกฎหมายเดียวกันไปยังสิทธิการรักษาอื่นๆด้วย

5.ทำไมแพทยสภาไม่ออกรายการนี้ สงสัยกลัวจะไปเข้าเกม NGOs

จริงๆปัญหาหลักที่แพทยสภา ไม่สนับสนุน พรบ. ของ NGOs ฉบับนี้ ไม่ใช่เพราะอะไร เพราะกลัวประโยชน์ทับซ้อน และการคอรัปชั่นเอาเงินส่วนรวมไปเข้าพวกตนเอง ดังเช่นประวัติของเครือข่ายคนกลุ่มนี้ในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งถูกรัฐบาลทหาร ปลดไปก็เยอะ และเป็นคดีกันอยู่มาก

6.เรื่อง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข จริงๆแล้วเรื่องนี้ยาว รายละเอียดมาก แต่รายการนี้แสดงให้เห็นข้อดี ของ พรบ.ที่่คุณปรียนันท์สนับสนุน อย่างฉาบฉวย ในด้านเดียว ว่า ช่วยเยียวยาผู้เสียหายทางการแพทย์ได้

โดยไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด บอกถึงข้อเสีย หรือข้อวิพากษ์วิจารณ์ ที่ทำให้รัฐบาล ในรอบสิบๆ ปี ไม่ยอมผ่าน พรบ. ที่คนกลุ่มนี้สนับสนุน เป็นเพราะรัฐบาลเหล่านั้นทุกรัฐบาล ไม่เห็นแก่ประชาชน หรือเปล่า?

หรือ เป็นเพราะเขาเห็นไส้พุง NGOs ที่ผลักดันกฎหมายที่ยังน่าเคลือบแคลง สงสัยนี้ เลยไม่ผ่าน พรบ. กันแน่ รายการกลับไม่ได้พูดถึง

7.หากรายการไม่ได้มีเป้าหมายแอบแฝง เอง เช่น กรรมการของ ไทยพีบีเอส บางคนเป็นอดีต คนในองค์กรตระกูล สอ พวกเดียวกับที่ถูกทหารปลด และมีส่วนในการผลักดันรายการนี้นั้น

และ บังเอิญ มากว่า เป็นที่ทราบดีว่า พิธีกรรายการ กับผู้มาให้สัมภาษณ์ ในรายการนี้หลายท่านสนิทกัน (พูดง่ายๆคือพวกเดียวกัน และเห็นพ้องในลักษณะเดียวกันเป็นส่วนใหญ่)

ก็จะถือว่า ยังเป็นการนำเสนอ ที่ไม่ครบถ้วน และเป็นการนำเสนอในด้านเดียว มากกว่าจะฟังความรอบด้าน หรือสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนจริงๆ ครับ

(ขาด สัมภาษณ์ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข , อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ที่ดูแลสถานพยาบาล , ขาดตัวแทนสภาวิชาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแพทยสภา ทันตแพทยสภา, สภาเภสัชกร, สภาเทคนิคการแพทย์ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องในการร่วมรักษา, แล้วก็ขาดนักวิชาการ หรือแนวร่วมที่รู้ทัน NGOs จำนวนมากด้วยครับ)

ป.ล. ถือโอกาสถอดความ วิจารณ์ และประชาสัมพันธ์รายการไปในตัว หากปรับปรุงในบางส่วนได้ จะเกิดประโยชน์กับสังคมยิ่งขึ้นครับ


....................................


แถม .....


ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ... ปัญหา หรือ โอกาส ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-07-2010&group=7&gblog=61



เมื่อแพทย์และพยาบาลต้องล้มละลายเพราะถูกไล่เบี้ย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-11-2016&group=7&gblog=207

การกระทำของแพทย์ในการรักษาโรค

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-09-2016&group=7&gblog=204


ประกันภัยภาระรับผิดชอบในวิชาชีพ(Professional LiabilityInsurance) ทางออกหนึ่งสำหรับคดีทางการแพทย์

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2016&group=7&gblog=197

ได้ไม่เท่าเสีย....โดย สุนทร นาคประดิษฐ์ ( ความเห็น เกี่ยวกับ การฟ้องร้องแพทย์ )

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-03-2009&group=7&gblog=21

ฟ้องร้องแพทย์ความยุติธรรมแก่ใคร ฤๅ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-01-2009&group=7&gblog=12






Create Date : 21 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2559 14:00:32 น. 1 comments
Counter : 3127 Pageviews.  

 
สธ.ยันไม่ทอดทิ้งบุคลากรเหตุเสียหายทางการแพทย์ หากถูกไล่เบี้ย หาเงินบริจาคจ่ายคืนคลัง
Mon, 2016-11-21 21:34 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2016/11/13017

กระทรวงสาธารณสุข กำหนดยุทธศาสตร์แก้ปัญหาความขัดแย้งทางการแพทย์ครบวงจร ยืนยันไม่ทอดทิ้งบุคลากร ดูแลช่วยเหลือทั้งไกล่เกลี่ย ดำเนินการชั้นศาล ดูแลจิตใจลดความวิตกกังวล หากแพ้คดี ถูกไล่เบี้ย หาเงินบริจาคช่วยในการจ่ายคืนกระทรวงการคลัง โดยบุคลากรอาจมีส่วนร่วมบางส่วนเท่านั้น แนะหากบุคลากรช่วยกันขอ ก.พ.ให้เพิ่มอัตราข้าราชการสาขาต่างๆ และสำนักงบประมาณจัดสรรงบจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์

นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลคดีทางการแพทย์ที่บุคลากรทางการแพทย์ถูกไล่เบี้ยจากกระทรวงการคลัง จากการรักษาพยาบาลหรือให้บริการสาธารณสุข จำนวน 5 คดี ซึ่งอาจทำให้บุคลากรสาธารณสุขและประชาชน เกิดความสงสัยถึงเหตุผลที่แพทย์พยาบาลต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายหรือถูกไล่เบี้ย รวมทั้งการช่วยเหลือของกระทรวงสาธารณสุข ว่า กระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยและต้องการช่วยเหลือทั้งบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากบริการทางการแพทย์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการแพทย์อย่างครบวงจร ตั้งแต่การพัฒนาระบบบริการ การบริหารความเสี่ยงทางการแพทย์ การเจรจาไกล่เกลี่ย การต่อสู้คดี ตลอดจนการช่วยเหลือกรณีถูกไล่เบี้ย

“ขอยืนยันว่าไม่เคยทอดทิ้งบุคลากร เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นทุกโรงพยาบาลจะส่งเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมเป็นนักเจรจาไกล่เกลี่ยพูดคุยกับผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยได้ เมื่อได้รับฟังเหตุผลและเห็นความจริงใจของเจ้าหน้าที่ จึงเข้าใจดีว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย”

อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยได้ เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีความ การดำเนินการต่างๆ จะเป็นไปขั้นตอนตามกฎหมาย กระทรวงสาธารณสุขจะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเป็นทนายความสู้คดี ขอสนับสนุนพยานผู้เชี่ยวชาญจากกรมการแพทย์และสภาวิชาชีพมาให้ความเห็นทางวิชาการในคดี และดูแลช่วยเหลือบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความกังวล และจะมีการเจรจาไกล่เกลี่ยในศาลอีก

ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้อง 261 คดี กว่าครึ่งสามารถเจรจาไกล่เกลี่ยได้ ส่วนคดีที่ถึงที่สุด 47 คดี ชนะ 27 คดี แพ้ 20 คดี ซึ่งกรณีที่แพ้คดี จะมีการทบทวนสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และส่งกระทรวงการคลังพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ และเป็นผู้ชี้ขาดความรับผิดชอบทางแพ่ง กระทรวงสาธารณสุขไม่มีอำนาจแก้ไขหรือตัดสินใจได้เอง ซึ่งส่วนใหญ่คดีที่ถูกไล่เบี้ย กระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลที่เกิดเหตุไม่ได้ทอดทิ้ง จะหาเงินบริจาคช่วยในการจ่ายคืนกระทรวงการคลัง บุคลากรอาจมีส่วนร่วมบางส่วนเท่านั้น

“ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงมีผู้นำข้อมูลคดีทางการแพทย์ดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ผ่านมา 5-6 ปี การดำเนินการต่างๆ ทางกฎหมายก็ยุติลงแล้ว ขอให้กำลังใจบุคลากรสาธารณสุขทุกคน ที่ทุ่มเททำงานในการดูแลสุขภาพประชาชนท่ามกลางข้อจำกัดต่างๆ และภาระงานที่มีมาก ขณะที่จำนวนบุคลากรในสถานพยาบาลส่วนใหญ่ยังไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ อาจนำไปสู่การฟ้องร้อง จึงขอให้พวกเราช่วยกันขอให้ ก.พ.เพิ่มอัตราข้าราชการสาขาต่างๆ และสำนักงบประมาณจัดสรรงบจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ขณะเดียวกัน ต้องไม่ท้อถอย ทำงานอย่างละเอียดรอบคอบ ให้ความสนใจ พูดคุยให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติอย่างเป็นมิตร จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งลงได้มาก” นพ.มรุต กล่าว



โดย: หมอหมู วันที่: 22 พฤศจิกายน 2559 เวลา:23:13:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]