Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ทำไมจึงคัดค้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองฯ .... โดย พญ. เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธาน สผพท.



ทำไมจึงคัดค้านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....


พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)



สาเหตุที่แพทย์ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ของแพทย์ที่มาออกหน้าคัดค้านร่างพ.ร.บ.นี้ ก็เพราะว่า


1.เราเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเสียประโยชน์มากกว่าที่จะได้ประโยชน์จากพ.ร.บ.นี้ ประชาชนส่วนหนึ่งคาดหวังว่า ถ้าไปโรงพยาบาลแล้วเกิดความเสียหาย จะได้เงินช่วยเหลือและชดเชยอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมากกว่าเพดาน 200,000 บาท ที่เคยได้จากมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

แต่ความจริงที่จะเกิดขึ้นก็คือ

1.1 รพ.กระทรวงสธ.ขาดเงิน ขาดคน ขาดเตียง ยา เวชภัณฑ์ เทคโนโลยีใหม่ๆอยู่แล้ว เมื่อต้องถูกบังคับให้จ่ายเงินเข้ากองทุน ก็จะยิ่งขาดเงินจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ เตียง และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย จึงจะมีผลให้ประชาชนส่วนใหญ่จะเสียประโยชน์ เพราะจะไม่ได้รับการดูแลรักษาเต็มที่

1. 2.โรงพยาบาลเอกชนต้องเพิ่มเงินค่าบริการประชาชนมากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนเพิ่มจากการถูกจ่ายเข้ากองทุน ประชาชนที่ไปใช้บริการรพ.เอกชนก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น



2.เรามองเห็นว่ากลุ่มที่จะได้ประโยชน์อย่างมากจากการมีพ.ร.บ.นี้ คือกลุ่มผู้อยู่เบื้องหลังการเขียนและผลักดันร่างพ.ร.บ.นี้

จากการที่เขียนล็อกสเป็คให้ NGO มาเป็นกรรมการเสียงข้างมาก ในบทเฉพาะกาล (มต.50) ซึ่งต้องมาวางระเบียบกฎเกณฑ์การใช้เงิน รวมทั้งสามารถตั้งกรรมการถาวรมาสืบทอดอำนาจได้อีก เรียกว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน เหมือนกองทุน สปสช. สสส.สช.และกองทุนปฏิรูปประเทศ 600 ล้านบาทของราษฎรอาวุโส



3. การอ้างว่า พ.ร.บ.นี้ จะทำให้การฟ้องร้องลดลง และสามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งสามารถพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขนั้นไม่สามารถเป็นจริงได้ ทั้งนี้เพราะว่า

3.1 การอ้างว่าไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิดนั้น ทำไม่ได้ เพราะมาตรา 6 บอกว่า ถ้าไม่ผิด จะไม่จ่ายเงิน ฉะนั้นถ้ากรรมการให้จ่ายเงิน แสดงว่ามีความผิด

และที่อ้างว่าไม่เพ่งโทษบุคคล ก็ไม่จริง เพราะโรงพยาบาลต้องส่งรายงาน ฉะนั้นประชาชนที่ได้รับเงินก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าแพทย์คนไหนทำผิด อาจจะไปฟ้องศาล เพราะหวังจะได้เงินมากกว่า(เงินจากกองทุน)ก็เป็นได้ การร้องเรียนและฟ้องร้องกลับจะมากขึ้น

3.2 การที่มีคณะกรรมการและอนุกรรมการมาตัดสินว่าจะจ่ายเงิน(เพราะมีความผิด)หรือไม่ โดยไม่อาศัยความเห็นของผู้มีความรู้ในวิชาชีพเฉพาะ ทำให้เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพไม่มีความหมายเป็นที่เชื่อถือของประชาชนและประเทศชาติอีกต่อไป แพทย์ก็เลยขาดความมั่นใจในการรักษาผู้ป่วย ฉะนั้นแพทย์ก็จะพยายามไม่รักษาผู้ป่วยที่อาจจะเกิดปัญหา เช่นผู้ป่วยอาการหนัก ผู้ป่วยที่คาดว่าจะมีโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยที่ต้องการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่มากขึ้น ผู้ป่วยจะต้องเดินทางไกลขึ้นกว่าจะได้รับการรักษา เช่นในปัจจุบัน โรงพยาบาลอำเภอก็จะส่งผู้ป่วยไปรพ.จังหวัด ต่อไปถ้ามีพ.ร.บ.นี้ รพ.จังหวัดก็อาจส่งผู้ป่วยไปรพ.ของมหาวิทยาลัยมากขึ้น เพราะเป็นรพ.ที่มีมาตรฐานดีที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยอาจสูญเสียเวลานาทีทองที่จะรอดชีวิต

การอ้างว่าจะเอาความผิดเป็นบทเรียน ไปพัฒนาระบบบริการจึงเป็นไปไม่ได้ เพราะถ้าไม่ชี้ถูกผิดจริง จะเกิดบทเรียนหรือจะรู้ว่าแก้ไขอย่างไรนั้นไม่สามารถทำได้

3.3 การขยายอายุความจาก 1 ปี เป็น 3 ปี และขยายอายุความจากเมื่อเกิดเหตุการณ์ มาเป็นเมื่อผู้เสียหาย “รู้สึก” ว่าเกิดความเสียหายได้ยาวนานถึง 10 ปีนั้น เป็นการขยายอายุความโดยไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ ย่อมจะขยายเวลาการฟ้องร้องโดยไม่มีที่สิ้นสุด

3.4 บุคลากรทางการแพทย์เกิดความโกรธ น้อยใจ เสียใจ ท้อใจ อึดอัดคับข้องใจ และหมดกำลังใจในการทำงาน เมื่อได้รู้ว่าพวกผู้บังคับบัญชาของเราเอง เห็นดีเห็นงามว่า พวกเราเป็นผู้ร้าย ทำให้ประชาชนเกิดความเสียหาย แล้วไม่ขอโทษ ไม่สำนึกผิด ไม่ช่วยเหลือผู้เสียหายอย่างรวดเร็วทันใจ

จึงหันไปร่วมมือกับประชาชนส่วนหนึ่งที่อ้างว่าเป็นพวกผู้เสียหายและพวกอ้างว่าอยากคุ้มครองประชาชน ไปร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายตามหลักการและเหตุผลว่าจะคุ้มครองประชาชน แต่ในบทบัญญัติแต่ละมาตรานั้น มันขัดแย้งกับเหตุผลที่เขียนไว้โดยสิ้นเชิง และมีแนวโน้มว่า บุคลากรที่ทุ่มเททำงานหนักตามมาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพ จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 80(2)

ประชาชนจะเห็นได้ว่า กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ออกมาประท้วงนั้น เป็นคนของกระทรวงสาธารณสุขทั้งสิ้น เพราะ รัฐมนตรีสาธารณสุขบอกว่า ถ้าไปรวบรวมรายชื่อมาว่า 80%ของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขไม่สบายใจกับพ.ร.บ.นี้ จึงจะถอนร่างพ.ร.บ.นี้ออกไป

จึงทำให้พวกเราที่อ่านพ.ร.บ.แล้ว ต้องเผยแพร่ให้เพื่อนร่วมชะตากรรม (ที่ต้องทำงานหนัก จนไม่มีเวลาสนใจว่า จะมีใครเขียนพ.ร.บ.คาดโทษเราไว้ก่อน) ได้หันมาสนใจในสาระสำคัญของพ.ร.บ.ด้วยว่า มันมีความนัยอะไรที่แอบแฝงอยู่บ้าง

ที่สำคัญก็คือ รัฐมนตรีและปลัดกระทรวง ไม่เคยเอาใจใส่ว่า บุคลากรใต้บังคับบัญชาของตน ต้องทำงานบริการรับใช้ประชาชน โดยมีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดสูง เพราะขาดทั้งคน เงิน สิ่งของ และที่สำคัญคือขาดขวัญกำลังใจ แทนที่เจ้านายผู้บังคับบัญชาจะช่วยดูแลแก้ไขและรับฟังปัญหาอุปสรรคของเราบ้าง รัฐมนตรีก้ไม่ยอมให้เข้าพบ สั่งปลัดมาบีบแพทย์ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา จนไม่กล้าหือ

ส่วนตัวผู้เขียนเอง เป็นข้าราชการบำนาญแล้ว เดี๋ยวนี้ก็รักษาผู้ป่วยน้อยลง ความเสี่ยงต่อความผิดพลาดและเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องก็น้อยลง แต่ก็เป็นห่วงแพทย์รุ่นหลังที่ต้องทำงานรักษาประชาชนอยู่ รวมทั้งเป็นห่วงระบบการแพทย์และสาธารณสุขแบบไทยๆ ที่มีความห่วงใยเอื้ออาทรกัน จะสูญสลายไปมากขึ้น หลังจากเริ่มสูญสลาย เมื่อมีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ สปสช และมาตรา 41ที่ทำให้มีการฟ้องร้องเพิ่มขึ้น

รัฐมนตรีและปลัดต้องหันมา “ปฏิรูป” ระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของกระทรวงให้มีมาตรฐาน มีความพอเพียง ทั้งคน เงิน สิ่งของ เทคโนโลยีที่จำเป็นให้เหมาะสม พอเพียง มีมาตรฐานก่อน เพื่อป้องกันความผิดพลาดและความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้บุคลากรทำงานอย่างชาดแคลนและสุ่มเสี่ยง จนทำให้ประชาชนตาย พิการ แล้วจึงมาชดเชยด้วยเงิน ที่ไม่สามารถซื้อชีวิตและสุขภาพให้ดีคืนกลับมาได้


ปล. เมื่อนายอภิสิทธิ์ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สื่อมวลชนหลายสำนักต่างก็เปรียบเทียบเขากับประธานาธิบดีโอบามา แต่เดี๋ยวนี้ โอบามาสามารถปฏิรูประบบบริการด้านสุขภาพได้ด้วยทีมงานของเขาเอง สำเร็จแล้ว แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ต้องไปยืมมือคนแก่สองคน มาวางแผน “ปฏิรูป”ประเทศ หรือยอมให้ NGO มาสั่งการปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์แทนรัฐบาล แต่การปฏิรูปนี้น่ากลัวว่าจะเลวร้ายลงกว่าเดิม เพราะรัฐบาล ไม่ฟังเสียงคนทำงานเลย






ปล. แร๊งงงงงงง แต่ ตรงประเด็น รพ.เอกชน คลินิกส่วนตัว .. ไม่ต้องไปกังวล สงสัยแทนเขา

ที่น่าห่วง ก็คือ รพ.รัฐ ( แพทย์ พยาบาล เภสัช ทันตะ เทคนิกการแพทย์ ฯลฯ) ถ้า พรบ.นี้ ออกมา จะปรับตัวอย่างไร .. ในสภาวะ ที่ เงิน ก็มีน้อย (แต่ต้องแบ่งเข้ากองทุน) คนก็น้อย (แต่ต้องให้บริการผู้ป่วยจำนวนมาก) ของก็มีน้อย ( วัสดุอุปกรณ์ ยา เครื่องมือเครื่องใช้ ขาดแคลน ไม่มีเงินซื้อ ) .. ทุกอย่างทำให้ความเสี่ยง ที่จะเกิดความผิดพลาด สูงมากขึ้น ...แล้วจะทำอย่างไร


Create Date : 18 สิงหาคม 2553
Last Update : 18 สิงหาคม 2553 11:12:35 น. 2 comments
Counter : 1984 Pageviews.  

 
ผมอยากตอบทีละประเด็นถ้ามันสื่อไปถึงหมอเชิดชู...

โดยเฉพาะประเด็นฟ้องร้อง

ที่ตั้งแต่ปี 45 ไม่มีการเพิ่มขึ้นของการฟ้องร้องเลย....


โดย: Epinephrine วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:12:19:26 น.  

 
ใครสนใจก็ลองแวะไปโหลดมาอ่านกันนะครับ ...

ร่างใหม่ จาก สภาทนายความ
//www.mediafire.com/?4lyz3rpl37pa8xc

เปรียบเทียบ ๓ ร่าง พรบฯ
//www.mediafire.com/?slodsosamvks28e

รวมบทความ พรบฯ
//www.mediafire.com/?p7r6az6gk19ot



โดย: หมอหมู วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:2:18:26 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]