สพฉ. จับมือ สธ. พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์
สพฉ. จับมือ สธ. พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์ เปิด 6 อาการฉุกเฉินวิกฤติที่เสี่ยงต่อชีวิตรักษาได้ฟรีในรพ.ที่ใกล้ที่สุดพร้อมประสานรพ.เอกชนลดข้อขัดแย้งในการปฏิเสธผู้ป่วยฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมเพื่อเตรียมพิจารณาปรับปรุงแนวทางในการให้บริการประชาชนตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์

นายแพทย์อนุชาเศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)กล่าวว่า แนวทางการให้บริการตามนโนบายนี้นั้นประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ทันทีเพื่อป้องกันการพิการและเสียชีวิตได้โดยจะไม่มีภาระค่าใช้จ่ายที่กระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วยแต่ที่ผ่านมาการให้บริการก็ยังพบปัญหาอยู่พอสมควร อาทิประชาชนไม่กล้าเข้าไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากกลัวไม่มีค่ารักษาอีกทั้งมียังมีกรณีที่หลายโรงพยาบาลมีข้อขัดแย้งเรื่องการรับรักษาประชาชนเนื่องจากเห็นว่าไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤติ ดังนั้นสพฉ.ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการประชุมหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้นและทำให้ประชาชนมั่นใจว่าจะได้รับการรักษาในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นไปตามนโยบายอย่างแท้จริง ทั้งนี้ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาเพื่อปรับปรุงแนวทางการให้บริการดังนี้
1. กระทรวงสาธารณสุขและสพฉ.ได้ร่วมกันกำหนดคำนิยามของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลว่าอาการในลักษณะใดบ้างที่หมายถึงภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที
2. มีการจัดทีมแพทย์ให้ประจำการที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อวินิจฉัยถึงอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินของประชาชนที่เข้ารับการรักษาในกรณีที่มีความขัดแย้งถึงอาการเจ็บป่วยว่าเข้าข่ายกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติหรือไม่เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการคัดแยกให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
3. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อประสานการทำงานและหารือกับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อให้เข้าใจถึงแนวทางตามนโนบายดังกล่าวและแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉิน เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่าสำหรับแนวทางในการให้บริการตามนโนบาย เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ์ นั้น ประชาชนที่พบว่าตนเองมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้าไปขอรับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ได้ทันทีโดยเมื่อประชาชนไปถึงโรงพยาบาลแล้วเจ้าหน้าที่จะตรวจดูสภาพอาการพร้อมทั้งวินิจฉัยตามเกณฑ์ว่าเข้าข่ายของการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติหรือไม่หากเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติก็จะได้รับการรักษาในทันทีโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้หากมีข้อขัดแย้งทางอาการก็จะรีบส่งต่อให้ทีมแพทย์ที่ประจำการอยู่ที่สพฉ.วินิจฉัยอาการและหากเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติก็จะรีบรักษาอย่างทันท่วงทีจนกว่าจะพ้นภาวะวิกฤติที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะสามารถทำได้ภายในเวลารวดเร็วส่วนประชาชนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ก็สามารถโทรแจ้งสายด่วน1669 เพื่อขอรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อส่งต่อไปผู้ป่วยไปเข้ารับการรักษาตามสิทธิของผู้ป่วยได้ต่อไป ต่อจากนี้เรื่องที่ต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนคือภาวะแบบไหนเรียกว่าเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤติและต้องได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ใกล้อย่างทันท่วงทีซึ่งสังเกตได้จาก 6อาการที่ส่งผลต่อชีวิตและอวัยวะสำคัญ ดังนี้ 1.หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที 2.การรับรู้สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน 3.ระบบหายใจมีอาการดังนี้ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆหรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ 4.ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤติอย่างน้อย2 ข้อคือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น 5.อวัยวะฉีกขาดเสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ 6.อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรงแขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด ชักเกร็ง เป็นต้น
//www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=574&auto_id=7&TopicPk
"""""""""""""""""""""""""
มติบอร์ดสพฉ.ตั้งอนุ กก.จัดระบบเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน แก้ปัญหารพ.เอกชนเรียกเก็บเงินผู้ป่วย //www.hfocus.org/content/2015/05/10017 Fri,2015-05-22 16:51 -- hfocus บอร์ดสพฉ.ตั้งอนุกรรมการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในโรงพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลไกแก้ไขปัญหาการเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉิน3 กองทุน โดยพัฒนาระบบร่วมกับ 3 กองทุน ช่วยให้เกิดค่ารักษาที่สมเหตุสมผล ไม่สร้างภาระให้ประชาชนโดยจะแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน กึ่งฉุกเฉินออกจากผู้ป่วยทั่วไปมีกติกาเรื่องเงินที่ชัดเจน ใน 72 ชั่วโมงแรก เร่งให้เสร็จภายใน 1 เดือนและเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว วันนี้ (22 พฤษภาคม 2558) นพ.สมศักดิ์ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการดูแลคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน(บอร์ดสพฉ.)ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการเรียกเก็บเงินค่ารักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลเอกชนว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคณะกรรมการได้ตั้งคณะอนุกรรมการบริหารระบบการแพทย์ฉุกเฉิน1 ชุด เป็นคณะทำงานในเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อพัฒนาระบบร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 3 กองทุนรวมทั้งภาคเอกชนและโรงพยาบาลรัฐ เพื่อให้เกิดการบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ดี ในรพ.ทั้งภาครัฐและเอกชน มีกติกาที่ชัดเจน ไม่สร้างภาระทางการเงินแก่ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินและจะช่วยให้เกิดค่ารักษาพยาบาลที่สมเหตุสมผลมากขึ้น นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่าในการดำเนินการการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามนโยบายป่วยฉุกเฉินรักษาได้ทุกที่ ดีทุกสิทธิ์ ได้กำหนดกรอบดำเนินการ 3 ส่วน ได้แก่
1.การแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน กึ่งฉุกเฉินออกจากผู้ป่วยทั่วไปซึ่งจะเริ่มทำพร้อมกันทั่วประเทศและจัดระบบให้มีความพร้อมตามความเหมาะสมหากพื้นที่ใดมีความพร้อมพัฒนาเข้าสู่ระบบได้เร็วจะให้เป็นแบบอย่างและช่วยเหลือพื้นที่อื่นๆทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
2.การจัดการเรื่องเงินจะต้องมีกติกาที่ชัดเจนและมีความพร้อมทุกสถานการณ์
3.การกำหนดขอบเขตการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินภายใน 72ชั่วโมงและการสร้างระบบดูแลต่อเนื่องหลัง 72 ชั่วโมงแรก
จะพยายามปรับให้เข้าสู่ระบบให้ได้ แม้จะมีความยุ่งยากก็ตามโดยคาดว่าจะได้แนวทางที่ชัดเจนภายใน 1 เดือนนี้และจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุดจากนั้นจะเริ่มลงมือปฏิบัติการและพัฒนาระบบไปเรื่อยๆรวมทั้งจะหารือกับกระทรวงพาณิชย์ในส่วนของมติครม.ให้ราคาบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่อยู่ในรายการที่ต้องควบคุมราคาและมีมาตรการตามรูปแบบระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่จะพัฒนาขึ้นโดยคณะอนุกรรมการด้วย นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่าสำหรับสาเหตุค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนที่แพงขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากทุกแหล่ง ซึ่งมีองค์ประกอบจากหลายปัจจัยไม่เฉพาะค่ายาอย่างเดียว อาจมีทั้งค่าบริการ ค่าดูแล รวมทั้งปริมาณตัวยา วัสดุและการตรวจที่เกิดขึ้นแต่ในระหว่างนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เชิญโรงพยาบาลเอกชนเดินหน้าทำระบบให้ประชาชนสามารถทราบและเปรียบเทียบราคาค่ายาและค่าบริการที่มีอยู่โดยมอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพหารือกับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อจัดทำระบบข้อมูลให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ """"""""""""""""""""""""" แถม เรื่องที่เกี่ยวข้อง .. infographic9 ข้อควรรู้เรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=06-06-2017&group=7&gblog=216 นพ.ธีระ วรธนารัตน์ : เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อนโยบายยังไม่ชัด ต้องคิดก่อนเข้า //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=21-02-2017&group=7&gblog=212 เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียว นโยบายดีแต่การปฏิบัติล้มเหลว ?... //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-10-2014&group=7&gblog=185 สพฉ. จับมือ สธ.พัฒนาการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ดีทุกสิทธิ์ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=02-04-2015&group=7&gblog=186 คำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแสนแพง... ( นำมาฝาก ) //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2015&group=7&gblog=189 โรงพยาบาลเอกชน "แพง" ..ข้อมูลที่ยังไม่รู้ หรือว่า แกล้งไม่รู้ ? ( ฟังความอีกข้าง ^_^ ) //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-06-2015&group=7&gblog=190 ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล Online ได้ที่//www.hospitalprice.org หรือ สายด่วนสุขภาพ 02 193 7999
Create Date : 02 เมษายน 2558 |
Last Update : 6 มิถุนายน 2560 22:10:49 น. |
|
4 comments
|
Counter : 5076 Pageviews. |
|
 |
|
บอร์ดบัตรทองอนุมัติรูปแบบจ่ายค่ารักษาฉุกเฉินกรณีเข้ารพ.นอกสิทธิ คาดเริ่มใช้ก่อนสิ้นปีนี้ ประกาศเป็นของขวัญปีใหม่คนไทย
//www.komchadluek.net/news/edu-health/252119
ของขวัญปีใหม่คาดใช้ก่อนสิ้นปี บอร์ดบัตรทองอนุมัติรูปแบบจ่ายค่ารักษาฉุกเฉินกรณีเข้ารพ.นอกสิทธิ พรบ.สถานพยาบาลใหม่บังคับใช้ รพ.เอกชนทุกแห่งต้องเข้าร่วมเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ดสปสช.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้บอร์ดสปสช.มีมติเห็นชอบรูปแบบการจ่ายชดเชยกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินของผู้ที่อยู่ในสิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉินในโรงพยาบาลที่ไม่ได้ระบุไว้ตามสิทธิ์
โดยภายในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) จะส่งรายละเอียดตารางราคาและอัตราจ่าย(Fee Schedule)ที่เพิ่มเติมค่ายาและเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยามาให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จากนั้นภายในวันที่ 23 ธันวาคม 2559 สปสช.จะลงนามบันทึกความร่วมมือ(เอ็มโอยู:MOU)กับสพฉ. รพ.เอกชน และรพ.นอกระบบที่จะเข้าตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ
นอกจากนี้ จะประสานไปยังกรมบัญชีกลางที่รับผิดชอบสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการและประกันสังคมที่รับผิดชอบผู้ประกันให้เข้าร่วมการลงนามดังกล่าวพร้อมกัน เพื่อจะเริ่มดำเนินการเรื่องนี้ได้ทันทีและประกาศเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนไทย แต่หากกรมบัญชีกลางและประกันสังคมยังไม่พร้อม สิทธิบัตรทองก็จะเริ่มดำเนินการก่อน
ด้านนพ.ประจักษวิช เล็บนาค รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวว่า รูปแบบการจ่ายชดเชยกรณีการเข้ารักษาพยาบาลฉุกเฉินในโรงพยาบาลนอกสิทธิ แยกเป็น 3 กรณี คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินระดับสีแดง สีเหลือง และสีเขียว สำหรับกรณีที่เจ็บป่วยฉุกเฉินสีแดง คือ ระดับวิกฤติ ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ไปสถานบริการที่มีการทำเอ็มโอยู
โดยใน 72 ชั่วโมงแรกให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้จ่ายในอัตราตามตารางราคาและอัตราจ่าย(Fee Schedule)ตามที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน(กพฉ.)กำหนด หลังจาก 72 ชั่วโมงหากผู้ป่วยสามารถย้ายกลับสถานพยาบาลตามสิทธิ์ได้ให้ย้ายกลับ เว้นกรณีที่ไม่สามารถย้ายกลับได้ทั้งในกรณีที่สถานพยาบาลต้นสังกัดไม่มีเตียงรองรับหรือและอาการผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้น กองทุนฯจะจ่ายให้ตามอัตราตารางราคาฯ แต่หากย้ายได้แต่ผู้ป่วยไม่ต้องการย้ายเองนั้น ผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลในส่วนหลัง 72 ชั่วโมงเอง
กรณีไปสถานบริการอื่นที่ไม่มีการทำเอ็มโฮยูร่วมกับสปสช.ให้กองทุนฯจ่ายตามอัตราจ่ายเดิมตามข้อบังคับฯคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วย การใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข กรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุหรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2558 โดยผู้ป่วยนอก จ่าย 700 บาทต่อครั้ง ผู้ป่วยในจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าห้องและค่าอาหาร ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน รายละ 4,500 บาทต่อครั้ง กรณีผ่าตัดใหญ่ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง จ่ายตามจริงแต่ไม่เกินรายละ 8,000 บาท ต่อครั้ง กรณีผ่าตัดใหญ่และใช้เวลาเกินกว่า2ชั่วโมงหรือรักษาในไอซียู จ่ายตามจริงแต่ไม่เกินรายละ 14,000 บาท ต่อครั้งและค่ารถพยาบาล หรือเรือพยาบาลนำส่งจ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง
ส่วนผู้ป่วยฉุกเฉินระดับสีเหลืองหรือฉุกเฉินเร่งด่วน และสีเขียวคือฉุกเฉินไม่เร่งด่วน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกให้กองทุนฯจ่ายตามอัตราตามข้อบังคับฯ และหลังจาก 24 ชั่วโมง กรณีไม่สามารถย้ายกลับเข้าระบบได้ทั้งไม่มีเตียงรองรับและอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้นให้กองทุนจ่ายตามราคาเรียกเก็บ แต่หากไม่ย้ายกลับเพราะผู้ป่วยไม่ย้าย ผู้ป่วยจะต้องจ่ายค่ารักษาเอง
นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ กรรมการบอร์ดสปสช. กล่าวว่า ขณะนี้มีรพ.เอกชนจะเอ็มโอยูกับสปสช.เพื่อเข้าร่วมนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯด้วยความสมัครใจแล้ว 90 % แต่หลังจากที่พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ... ฉบับใหม่ที่ผ่านสภนิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)แล้ว มีผลบังคับใช้ รพ.เอกชนทุกแห่งจะต้องเข้าร่วมนโยบายนี้ทั้งหมด