Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

งานนบพระเล่นเพลงในฝัน และ ข้อมูลการจัดงาน ปี 50-52-53



งานนบพระเล่นเพลงในฝัน และ ข้อมูลการจัดงาน ปี 50-52-53
งานนบพระ แบบที่ (เคย) ฝันถึง
๑. สถานที่ ปรับแบบใหม่ จัดในสนามหน้าเมืองและสนามฟุตบอล (แบบเดิม จัดบนถนนและลานโพธิ์)
๑.๑ โซนวัฒนธรรมประเพณี บริเวณสนามหน้าเมือง(หน้าศาลเยาวชน เรือนไทยฯ) สินค้าท้องถิ่น OTOP
๑.๒ โซนขายสินค้า คอนเสิร์ต บริเวณสนามฟุตบอล (หน้าวิทยาลัยเทคนิค)
๑.๓ โซนนิทรรศการส่วนกลาง บริเวณถนนและลานหน้าพระบรมรูป ร.๕ จัดนิทรรศการของส่วนราชการ เวทีกาชาด เวทีกลาง พื้นที่ศิลปะดนตรีกีฬา พื้นที่แสดงออกของเยาวชน
- ข้อดี คือ ถนนโดยรอบ ให้สัญจรผ่านได้เหมือนปกติ (ไม่ต้องปิดถนน) เพิ่มที่จอดรถ การเดินทางสะดวก ธุรกิจร้านค้าตลาด ไม่มีผลกระทบ (น่าจะค้าขายดีขึ้น) มีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ (แบ่งโซน) ชัดเจน ผู้มาร่วมงานสามารถเลือกได้เลยว่าชอบแบบไหน
- ข้อเสีย คือ ต้องเสียเงินเพื่อปรับปรุง สนามหญ้า สนามฟุตบอล (แต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว?)
๒. เจดีย์วัดพระบรมธาตุจำลอง ตั้งอยู่กลางสนามหน้าเมือง รอบ ๆ เป็นเวที การละเล่น และ หมู่บ้านวัฒนธรรม
- การจำลองวิถีชีวิต คนไทย จีน ชนเผ่า ฯลฯ การแต่งกาย อาหาร ขนม ขายหรือชิม อาจมีแสดงนิดหน่อย เน้นพูดคุย ถ่ายภาพ
- จัดพื้นที่แสดงสินค้าพื้นบ้าน สินค้าศิลปะ ถนนคนเดิน เปิดหมวก ฯลฯ
- หมู่บ้านโอทอป จำหน่ายสินค้า สาธิต หรือ สอน ในช่วงตอนค่ำ
- ตลาดย้อนยุคนครชุม ตลาดย้อนรอยชากังราว พ่อค้าแม่ค้าแต่งกายย้อนยุค ขายอาหารของกินของกินเล่นขนมย้อนอดีต คัดเลือกเฉพาะที่หาซื้อหากินได้ยาก คล้าย ๆ กับ ที่เคยจัด เมื่อ พ.ศ.2552 , 2553 ขอเชิญเที่ยวหมู่บ้านย้อนอดีต ชมวิถีชีวิตชนเผ่าในจังหวัดกำแพงเพชร https://www.gotoknow.org/posts/3347... หมู่บ้านวัฒนธรรมย้อนยุคของจังหวัดกำแพงเพชร https://www.gotoknow.org/posts/2673...
๓. การแสดง แสงสีเสียง โขน หรือ ดนตรี (วงออร์เคสตร้าดงซ่อม หรือ วงแจ๊ส มรภ.กพ ) ที่วัดพระแก้ว หรือ วัดพระธาตุ ทำเส้นทางเดินต่อจากงานฯ ข้างทางเดินมีของขาย ของเล่นศิลปะไทย ตลาดย้อนยุค จุดถ่ายภาพ การแสดงภาพถ่ายภาพวาดศิลปวัฒนธรรม ชมรมถ่ายภาพ ชมรมศิลปะ ฯลฯ
- ศิลปะการแสดง ทางวัฒนธรรม ในกำแพงเพชร แต่ละวัน แบ่งเป็นธีม ที่ไม่เหมือนกัน เช่น ดนตรีไทย รำวงย้อนยุค วิถีชีวิตชนเผ่า (อาหาร การละเล่น การแต่งกาย) ชาวเขา ปากะยอ เมียน ลีซอ ไทยทรงดำ ไทยลื้อ ลาวครั่ง ฯลฯ เพลงพื้นบ้าน แจ้งรายละเอียดให้ชัดเจนว่าวันไหนมีอะไรบ้าง
- ศิลปะการแสดง ร่วมสมัย เช่น การแสดงมายากล ( street magic ) การแสดงภาพถ่าย การวาดภาพ การสอนศิลปะวาดภาพพับกระดาษ จำหน่ายสินค้าทำมือ เล่นดนตรีเปิดหมวก ฯลฯ (ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่) รูปแบบจะคล้ายกับ ถนนคนเดิน หรือ ศิลป์ในสวน เน้นการมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ไม่เน้นการซื้อขาย
๔. การประชาสัมพันธ์ ป้ายประชาสัมพันธ์งาน มีรายละเอียดงาน การแสดง ขบวนแห่ ฯลฯ สถานที่ เวลา ให้ชัดเจน โดยเฉพาะ กำหนดการกิจกรรม ที่สำคัญ เช่น พิธีเปิด ขบวนแห่ (ควรเดินช่วงสี่ห้าโมงเย็น อากาศไม่ร้อนมาก) การแสดงเวทีกลาง การแสดงแสงสีเสียง โขน ฯลฯ
๕. พื้นที่แสดงสินค้า โอท๊อป สินค้าศิลปะ ถนนคนเดิน เปิดหมวก ฯลฯ เวทีกลาง -ค่ำ การแสดง ศิลปะ ดนตรี ของเยาวชน ศิลปะพื้นบ้าน ลิเก การละเล่นของเด็กสมัยก่อน
-เย็น มีเสวนาพูดคุยเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี (คนฟังน้อย แต่ก็ถือว่าพูดให้พ่อค้าแม่ค้าแถวนั้นฟัง)
๖. ทางเข้างาน มีป้ายประชาสัมพันธ์ ว่า กิจกรรมเด่น เมื่อไหร่ ที่ไหน เบอร์โทรฯ ติดต่อ ประสานงาน
ป้าย ผังการจัดพื้นที่ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ตรงไหน มีอะไรบ้าง ใครที่สนใจเรื่องไหน ก็จะได้เข้าไปดูได้
๗. เช้าตักบาตร ค่ำเวียนเทียน ที่วัดพระแก้ว หรือ วัดพระธาตุ จะได้มีกิจกรรมต่อเนื่องในบริเวณเดียวกัน
๘. การเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นเช่น เรือนไทย พิพิธภัณฑ์ อุทยานประวัติศาสตร์ วัด แม้กระทั่งบริเวณงาน เช่น ความเป็นมาของต้นโพธิ์ ใบเสมากลางวงเวียน ต้นสักที่ในหลวง-ราชินีทรงปลูก แผงพระเครื่องตลาดเช้า เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น การจัดขบวนแห่ การสาธิต การแสดง มัคคุเทศก์น้อยนำเที่ยว
๙. จัดเพิ่มถังขยะ ให้เพียงพอ รวมไปถึงการรณรงค์ทิ้งขยะให้ถูกที่ และ ลดการใช้ถุงพลาสติก อย่างจริงจัง
๑๐. ทำวิจัย เก็บข้อมูลวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปรับปรุงรูปแบบงานในปีต่อไป เพื่อพิจารณาว่าตรงเป้าประสงค์ของการจัดงานหรือไม่ เช่น รายได้ของพ่อค้าแม่ค้า ร้านค้า โรงแรม นักธุรกิจ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากอุบัติเหตุ-การบาดเจ็บทำร้ายร่างกายในช่วงคอนเสิร์ตตอนกลางคืน
หมายเหตุ สำหรับการขายสินค้า (ตลาดนัด) กับ คอนเสิร์ต โดยผู้รับเหมาจัดงาน ถ้าจะยังคงอยู่ ก็ควรจะมีการแบ่งพื้นที่ให้ชัดเจน บริเวณไหนจะเก็บเงิน ก็ควรมีป้ายแจ้งให้ชัดเจน
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
รวบรวมความเห็นบางส่วนจากเฟซบุ๊ก รักษ์กำแพง อัลบั้ม งานนบพระ-เล่นเพลง (ข้อคิดเห็น)
เดียว ปัฏฐยา เวทีกลางขอให้หลากหลายเลยค่ะ วงดังๆเช่นคณะประสานเสียงสวนพลู ทึ่ไปได้รางวัลระดับโลกมาเยอะแยะ ละครหุ่นสายเสมา ก็ที่หนึ่งของโลก คืออะไรที่เป็นทีเด็ดของกระทรวงวัฒนธรรม ในแนวร่วมสมัย แล้วไปโด่งดังระดับโลก เอามาเลยค่ะ เอาละครเวทีดีๆมาทำproduction ดีๆ เล่นหลายๆรอบให้คนเสพบ้างค่ะ
Lotus Kpp งานควรโฟกัสในเรื่องการสืบสานวัฒนธรรมของจังหวัดเรา ความเป็นมา ความยิ่งใหญ่ในอดีตในแง่มุมอื่นด้วย ไม่ใช่แค่ที่เคยเสนอมา ขอให้ยังคง การแสดงโขนไว้นะคะ ที่สำคัญ ควรมีการประชาสัมพันธ์รายละเอียดของงาน ให้ประชาชนได้รู้ ได้เห็น
เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ กำแพงเพชร งานขายของเรามีมากพอสมควรแล้ว ถ้าจะมีบ้างขอให้เป็นงานพื้นบ้านเช่น ผ้าทอ งานไม้ ข้าวหลาม ต้นไม้
Suppawad Kaewkhow ตีความเรื่องประเด็นของงานนพพระอย่างไรครับ อยากให้เห็นความสวยงามของอารยะธรรมหรือขายของ วิธีการนำเสนอด้วยครับ การประชาสัมพันธ์ด้วย อยากให้ทุกคนในทุกอำเภอมีส่วนร่วมครับ
Chuktripob Noonphet ผมเคยรับผิดชอบงานนบพระฯมา10 กว่าปี ได้รับฟังความคิดเห็นหลากหลายและสรุปแล้วความเห็นเหมือนกันคือให้เน้นวัฒนธรรมประเพณีของเมืองกำแพงเพชรทั้งวิถีชีวิตและการแสดง ไม่เน้นตลาดนัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่ผู้บริหารของจังหวัดซึ่งแต่ละท่านก็คิดไม่เหมือนกัน
Namfon Rattanasoi ส่วนงานนพพระปีนี้เท่าที่ทราบมาก็น่าจะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มานะคะเพราะเห็นว่าจะมีพิธีเปิดงาน ณ วัดพระบรมธาตุ นครชุม วันที่ 14 กพ. เวลา 17.30 น.และมีการทำบุญใส่บาตรตอนเช้า ณ วัดพระแก้ว เวลา 8.00 น.ทุกวัน เวียนเทียน ณ วัดพระสี่อิริยาบถ เวลา 18.00 น. ทุกคืน(แต่ยังไม่เห็นเค้า Promote เลยกิจกรรมดีๆ แบบนี้น่าจะโฆษณาเชิญชวนแต่เนิ่นๆ) เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ ภาคกลางคืนได้ทุกวัน (ไม่รู้ว่ามีรถพาเช้าชมหรือเปล่า และน่าจะฟรีหรือเปล่า?) ปีนี้ตลาดนัดน่าจะน้อยลงนะคะ
แต่อย่างที่หมอว่า เรื่องการประชาสัมพันธ์ ของเรายังน้อยไปหน่อย ประชาชนยังไม่ค่อยทราบเรื่องรายละเอียดต่างๆ ของงานที่น่าสนใจ เห็นมีแต่ป้ายโฆษณาวงดนตรีอย่างเดียวว่าคืนนี้มีใครมาบ้าง!!
ส่วนที่อยากจะเพิ่มเติมนะคะ เคยเที่ยวงานนพพระเมื่อหลายยๆ ปีก่อน จัดได้ดีมาก ที่เอาหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ มาจัดแสดงความเป็นอยู่ วัฒนธรรมท้องถิ่น ตลาดย้อนยุค มีการใช้เบี้ย แทนเงินสด มีการแสดงประวัติความเป็นมาของเมืองกำแพง ผ่าน light&sound ที่เมืองเก่า มีมัคคุเทศน์น้อย นำเที่ยวในตที่อุทยานประวัติศาตร์ เป็นภาพเก่าๆ ที่น่ารำลึกมาก อยากได้ภาพเหล่านั้นกลับมาอีกสักครั้งนะคะ
ปล.ฝากอีกนิต เรื่องการจัดนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆจัดได้ดีจัดได้สวย แต่ขอให้อยู่ให้ครบจนถึงงานวันสุดท้าย
กาญจนา สุมานนท์ ที่คนดูโขนน้อยเพราะคนส่วนมากไม่รู้ว่ามี ถ้าประชาสัมพันธ์ดีๆก็จะมีคนดูมาก ปีก่อนๆรถที่มาประกาศจะพูดค่อยๆและวิ่งเร็ว ขนาดบ้านอยู่ข้างถนนยังไม่รู้เรื่องเลย บางทีได้ยินฟังไม่ทันรู้เรื่องอ้าวรถผ่านไปเสียแล้ว
Wi Wi Chai เอ้ามีโขนด้วยหรือไม่รู้ ปีที่ผ่านมาเห็นมีลิเก(อยู่ข้างถนน)แต่ไม่ได้ดูเพราะไม่รู้เวลาต้องรออีก 3 ชม. สรุปประชาสัมพันธ์ และ ประชาสัมพันธ์ครับ ตรงจุด...
วสันต์ ติกะโกศล added photos to น่าเสียดาย. วันนี้ตั้งใจไปดูขบวนนบพระฯ ยืนคอยดูอยู่หน้าปั้ม ปตท.ต้นโพธิ์ ยอมรับว่าทุกขบวนสวยมาก แต่งกายอลังการ เสียดายที่ไม่มีคนดู ผมมองดูข้างทางเท่าที่สายตากวาดไปถึง ตั้งแต่ 7-11 ต้นโพธิ์ ผ่านหมอวิโรจน์ มายังจุดที่ผมยืนอยู่ และยาวไปทางสะพาน ไม่มีคนดูเลย มีแต่พี่เลี้ยงขบวนและผู้สื่อข่าวจำนวนหนึ่งเดินตาม สมัยก่อน ขบวนนบพระฯผ่านตรงนี้ คนดูจะแน่นเลย ปีนี้เกิดอะไรขึ้น??? เสียดายงบประมาณ และสงสารคนที่เดินในขบวน
Wanchai Thanootongsampan ลองถามคนในตัวเมืองดูเถอะ คำตอบที่ได้รับ "มหกรรมงานตลาดนัด" ตั้งแต่ลูกเรียบจบ ป6ก็ไม่เคยเข้าไปเดินในงานเลย ขบวนเค้ามาแต่งตัวในวัดบางตั้งแต่9โมงเช้า ก็ทำไปตามหน้าที่ที่ได้รับการว่าจ้างมา เหมือนลิเกแก้บนเล่นๆไปมีคนดู5-10คนก็เล่นหมดเวลาก็เลิก
พนมกร หมอหมู ดิษฐสุวรรณ์ มีคนบอกว่า นัดสื่อมวลชน บ่ายสามโมง ทำข่าวกาชาด บ่ายสี่โมง ทำข่าวพิธีเปิดที่วัดพระบรมธาตุ .. แต่ไม่มีนัดถ่ายภาพขบวน ? แถมพอขบวนไปถึงวัดพระบรมธาตุ ก็ไม่มีอะไร ต่างคนต่างแยกย้ายกันกลับ ? (ทุกคนไปนั่งรอทำพิธีที่วัด รอขบวนไปถึงวัด แต่ไม่มีใคร รอชม ขบวน?) เสียงเงินไปกับขบวนแห่ เท่าไหร่ เพื่ออะไร เพราะ คนในเมือง ยังไม่รู้ ไม่ออกมาดู ( บ่ายสอง ร้อนมาก ทำไม ไม่เดินตอนเย็น สี่โมงเย็นเหมือนเมื่อก่อน ? )
Vanich Thongtim เห็นด้วยกับข้อเสนอครับ
Apisit Suksup คนมีฝีมือเขานึกถึงครับฝากจัดให้เหมือนอดีต...ย้อนยุค
เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ กำแพงเพชร เห็นด้วยขอให้เป็นรุบแบบอนุรักษ์วัฒนธรรม ไม่ใช่แบบตลาดขายของและดนตรีที่ทำให้วัยรุ่นทะเลาะกัน
พนมกร หมอหมู ดิษฐสุวรรณ์ เรื่องการขายของ ก็พอเข้าใจ ระบบ (ประมูล เช่าเหมา เช่าช่วง) .. ไม่ถึงขนาด ไม่ให้มีขายของแบบตลาดนัด หรอกครับ เพียงแต่ ที่เป็นอยู่ มันเยอะมากจนรู้สึกว่า เป็นตลาดนัด มากกว่า งานนบพระ นะครับ .. ปรับพื้นที่ลงให้เท่า ๆ กัน และ จัดโซนให้เหมาะสม ก็ดีแล้วครับ เทียบเคียงได้กับบริเวณริมปิง .. ถ้าไม่มีป้ายงาน ให้เห็น ก็เหมือนกันทั้งหมด https://www.facebook.com/photo.php?fbid=431177663672433&set=a.426377800819086.1073741850.146082892181913&type=3&theater
Chuktripob Noonphet ทราบมาว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้แก้ไขกิจกรรมของงาน/ผังจัดงานใหม่หลายกิจกรรม น่าจะดีกว่าหลายๆปีที่ผ่านมาโดยเน้นกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีทำบุญตักบาตร การแสดงพื้นบ้านที่เวทีกลาง ตลาดย้อนยุค ตลาดเกษตร ออกร้านมัจฉากาชาด ฯลฯ ผมเพิ่งได้เข้าไปร่วมกิจกรรมในฐานะทีมงานฝ่ายประชาสัมพันธ์และพิธีกร ก็คอยดูกันต่อไปครับ
เดียว ปัฏฐยา โหย.... ไม่กล้าพิมพ์ค่ะ จะยาวววว เอาเรื่องแรกนะคะ เปลี่ยนที่จัดงาน ไปจัดที่อุทยานค่ะ และใช้ระบบการจัดการ และให้ content เกี่ยวกับนบพระเล่นเพลงที่อยู่ในศิลาจารึกจริงๆ ไม่ต้องเน้นขายของ เน้นวัฒนธรรม และหาข้อมูลจริงๆ อาจจะมีคนบอกว่า นบพระเค้าทำกันที่วัดพระบรมธาตุ ใช่ค่ะ แต่มันต้องต่อเนื่องกันไปแหละค่ะ วัดในอุทยานไม่รู้กี่สิบวัด สร้างกันต่อเนื่องมา เราเชื่อมโยงได้ด้วย content ที่เกี่ยวเนื่องกันค่ะ
Potus Potus ประทับใจมากในสมัยผู้ว่าเชาวัศน์ สุดลาภา หลังจากนั้นให้เอกชนดำเนินการ เลยไม่เคยนึกอยากไปเที่ยวเลยครับ เป็นธุรกิจไปหมด Muay Heng คนกำแพงที่อยู่ไกล ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน ...
คุ ณ ท ำ ไ ด้ Teera Lekphed ตลาดนัดเช่นเคย
สุนทร แสงแก้ว หาเงินค่าเช่าสถานที่งานจบเงินหมดมาเป็นสิบปีแล้วไม่รู้ว่าเงินทั้งหมดหายไปไหนเทศบาลมีหน้าที่เก็บขยะก้เท่านั้น
Afnop Jamo เดี่ยวนี้ คนแต่ละอำเภอไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดขบวน เป็นการรับเหมาของ ออแกนไนท์ ทำให้ คนไม่ไห้ความสนใจ ร่วมงานเพราะว่าไม่มีหน้าที่หรืออะไรที่เกี่ยวข้องถ้า ให้ประชาชนคนในอำเภอต่างๆๆได้มีส่วนร่วมในขบวนหรือมีลูกมีหลานในขบวน คนก็จะมาร่วมกันมากขึ้น แต่นี่ ไม่มีส่วนร่วมอะไรเลย
Lotus Kpp งานควรโฟกัสในเรื่องการสืบสานวัฒนธรรมของจังหวัดเรา ความเป็นมา ความยิ่งใหญ่ในอดีตในแง่มุมอื่นด้วย ไม่ใช่แค่ที่เคยเสนอมา ขอให้ยังคง การแสดงโขนไว้นะคะ ที่สำคัญ ควรมีการประชาสัมพันธ์รายละเอียดของงาน ให้ประชาชนได้รู้ ได้เห็น
Kunwee Bornoi มีแค่ปีแรกเท่านั้นที่พอจะสมภาคภูมิกับงานระดับจังหวัด
Mongkol Munketwit ต้องจัดให้เป็นประเพณีอารยะธรรม ไม่ใช่ประเพณีฟุ่มเฟือย หากิจกรรมที่เป็นประเพณีหลักๆของงานให้ประชาชนมีศรัทธามาร่วมงานให้ได้ จนเป็นอารยะธรรม ให้ลืมเรื่องไปงานตลาดนัดไปเลย
Chuktripob Noonphet เห็นด้วยกับอจ.มงคลครับ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ กำแพงเพชร งานขายของเรามีมากพอสมควรแล้ว ถ้าจะมีบ้างขอให้เป็นงานพื้นบ้านเช่น ผ้าทอ งานไม้ ข้าวหลาม ต้นไม้
Suppawad Kaewkhow ตีความเรื่องประเด็นของงานนพพระอย่างไรครับ อยากให้เห็นความสวยงามของอารยะธรรมหรือขายของ วิธีการนำเสนอด้วยครับ การประชาสัมพันธ์ด้วย
Suppawad Kaewkhow อยากให้ทุกคนในทุกอำเภอมีส่วนร่วมครับ
Chuktripob Noonphet ผมเคยรับผิดชอบงานนบพระฯมา10 กว่าปี ได้รับฟังความคิดเห็นหลากหลายและสรุปแล้วความเห็นเหมือนกันคือให้เน้นวัฒนธรรมประเพณีของเมืองกำแพงเพชรทั้งวิถีชีวิตและการแสดง ไม่เน้นตลาดนัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่ผู้บริหารของจังหวัดซึ่งแต่ละท่านก็คิดไม่เหมือนกัน
Charin Sriwangrach มีแต่มุ่งหาผลประโยชน์แอบแฝง เอากำไรขาดทุนเป็นที่ตั้งผลงานออกมาก็อย่างที่เห็นทุกปี
เหมียว ค่าของฅน อยู่ที่ฅนของคราย ขบวนแห่ในสมัยผู้ว่าเชาวัศน์ สุดลาภา อลังการมาก
Charin Sriwangrach ตรงประเด็นที่สุด .. ถ้าไม่เห็นแก่เงินมากนัก ก็จะคิดจะทำอะไรได้อีกเยอะ
เหมียว ค่าของฅน อยู่ที่ฅนของคราย ขบวนแห่งอลังการ ดีครับ แต่ก็ต้องประเมินจุดคุ้มทุนด้วย ถ้าทำเพื่อให้คนต่างบ้านต่างเมืองมาเที่ยวชมขบวน ชมงาน มาอยู่บ้านเราเยอะ ๆ นานๆ ก็น่าจะคุ้ม .. ไม่ใช่ ทำเอง ดูกันเอง แบบที่เป็นอยู่
นาย สมชัย ผ่องจิต จัดเป็นโซนๆ ชอบซื้อของก็ไปที่นึง ชอบนิทัศน์การไปที่นึ่ง ชอบมหรสพไปที่นึง ไม่วุ่นวายดี รถไมติด ครับ
พนมกร หมอหมู ดิษฐสุวรรณ์ อ.สันติ เคยแสดงความเห็นเกี่ยวกับ งานสารไทยกล้วยไข่ฯ ซึ่งปัญหาก็คล้าย ๆ กัน .. นำความห่วงใยจาก อ.สันติ อภัยราช มาฝาก ...... " น่าเสียดายยิ่ง งานประเพณี สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง นี้ ได้เปลี่ยนรูปแบบ จากงานเกษตร และศาสนา กลายเป็นมหกรรมสินค้า ไปแล้วอย่างไม่มีวันที่ จะกลับมาอย่างเก่า กล้วยไข่ กำลังจะสูญไปจากกำแพงเพชร ใครจะเยียวยา ดนตรีหมาบ้า ที่ทำให้เยาวชนกำแพงเพชร ฆ่ากัน ตีกัน มาแทนที่ สงสารผู้ริเริ่มงานกล้วยไข่ เจตนาเพื่อพัฒนาสินค้าการเกษตร และ ส่งเสริมศาสนาพุทธ อนิจจา " https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=607676919275081&id=100000983356949
วสันต์ ติกะโกศล ขอฝากเรื่องที่จอดรถ ที่สาธารณะให้มีการเก็บเงินค่าจอดรถได้ไง เช่น บริเวณถนนปิ่นดำริห์ตั้งแต่หน้าอำเภอเมืองยาวถึงแยกตันมะม่วง โดนเก็บเงินทุกปี ถ้าเป็นที่บ้านส่วนตัวไม่ว่ากัน
Jarouyporn Rew ถ้าอยากได้งานในรูปแบบมีศิลปวัฒนธรรมจังหวัด ต้องใจกว้างขอความร่วมมือจากททท.แต่มันต้องมีค่าใช้จ่าย เคยคุยกับเจ้าหน้าที่ททท.ทีมาเก็บภาพ ช่วงแรกๆยุคผู้ว่าเชาววัส เขาใช้บริการททท.ซึ่งเขาสามารถวางแผนและประสานกับหน่วยงานได้คล่องกว่า....เราคิดแล้วจะแก้ไขได้เหรองานถ้าจะจัดให้ดีมันยาก นี่ได้ข่าวว่าปีนี้จะตัดโขนออกไปมีคนดูน้อย แทนที่จะคิดประชาสัมพันธ์ให้คนมาดูมากๆเพื่อเผยแพร่ศิลปดีๆรักษาไว้ ลองเช็คข่าวดูคนยุคใหม่เขาทำงานให้เสร็จพูดลำบาก.....
Namfon Rattanasoi เห็นด้วยกับอาจารย์จรวยพรค่ะ เหมือนอย่างที่สุโขทัยเค้าจัดการลอยกระทงเค้าจัดได้อลังมาก ทั้งๆที่เราก็มีของดีไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ ส่วนงานนพพระปีนี้เท่าที่ทราบมาก็น่าจะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มานะคะเพราะเห็นว่าจะมีพิธีเปิดงาน ณ วัดพระบรมธาตุ นครชุม วันที่ 14 กพ. เวลา 17.30 น.และมีการทำบุญใส่บาตรตอนเช้า ณ วัดพระแก้ว เวลา 8.00 น.ทุกวัน เวียนเทียน ณ วัดพระสี่อิริยาบถ เวลา 18.00 น. ทุกคืน(แต่ยังไม่เห็นเค้า Promote เลยกิจกรรมดีๆ แบบนี้น่าจะโฆษณาเชิญชวนแต่เนิ่นๆ) เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ ภาคกลางคืนได้ทุกวัน (ไม่รู้ว่ามีรถพาเช้าชมหรือเปล่า และน่าจะฟรีหรือเปล่า?)
ปีนี้ตลาดนัดน่าจะน้อยลงนะคะ แต่อย่างที่หมอว่า เรื่องการประชาสัมพันธ์ ของเรายังน้อยไปหน่อย ประชาชนยังไม่ค่อยทราบเรื่องรายละเอียดต่างๆ ของงานที่น่าสนใจ เห็นมีแต่ป้ายโฆษณาวงดนตรีอย่างเดียวว่าคืนนี้มีใครมาบ้าง!!
ส่วนที่อยากจะเพิ่มเติมนะคะ เคยเที่ยวงานนพพระเมื่อหลายยๆ ปีก่อน จัดได้ดีมาก ที่เอาหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ มาจัดแสดงความเป็นอยู่ วัฒนธรรมท้องถิ่น ตลาดย้อนยุค มีการใช้เบี้ย แทนเงินสด มีการแสดงประวัติความเป็นมาของเมืองกำแพง ผ่าน light&sound ที่เมืองเก่า มีมัคคุเทศน์น้อย นำเที่ยวในตที่อุทยานประวัติศาตร์ เป็นภาพเก่าๆ ที่น่ารำลึกมาก อยากได้ภาพเหล่านั้นกลับมาอีกสักครั้งนะคะ
ปล.ฝากอีกนิต เรื่องการจัดนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆจัดได้ดีจัดได้สวย แต่ขอให้อยู่ให้ครบจนถึงงานวันสุดท้ายนะคะ
กาญจนา สุมานนท์ ที่คนดูโขนน้อยเพราะคนส่วนมากไม่รู้ว่ามี ถ้าประชาสัมพันธ์ดีๆก็จะมีคนดูมาก ปีก่อนๆรถที่มาประกาศจะพูดค่อยๆและวิ่งเร็ว ขนาดบ้านอยู่ข้างถนนยังไม่รู้เรื่องเลย บางทีได้ยินฟังไม่ทันรู้เรื่องอ้าวรถผ่านไปเสียแล้ว
Wi Wi Chai เอ้ามีโขนด้วยหรือไม่รู้ ปีที่ผ่านมาเห็นมีลิเก(อยู่ข้างถนน)แต่ไม่ได้ดูเพราะไม่รู้เวลาต้องรออีก 3 ชม. สรุปประชาสัมพันธ์ และ ประชาสัมพันธ์ครับ ตรงจุด...
Saynum Talk ขบวนแห่ มันเริ่มตอนกลางวันมันร้อน เปลี่ยนมาตอนเย็นหรือค่ำ แบบ แห่ สิงโต นครสวรรค์ จะมีคนไปร่วมงามมากกว่านี้ ควรมีการ จัดการแสดงในชุดแห่ ต่างๆไปด้วย ไม่ใช่แค่เดินถือป้าย ที่สำคัญ พวกจัดอีเว้น ต้องเลือกหน่อย ว่ามีองค์ความรู้เก๋วกับ ประวัติ ของเมืองแต่ละเมืองอย่างไร
งานนบพระเล่นเพลงในผัน และ ข้อมูลการจัดงาน ปี 50-52-53
ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร แบบ pdf
ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร แบบ word

ผมสรุปเอาเอง ประเด็นน่าสนใจ ในเวทีเสวนา " นบพระเล่นเพลง : วัฒนธรรมที่งดงาม " กับ มุมมองคนกำแพงเพชร
๑๔ กย.๖๐ เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๘.๓๐ น. ณ ลานจอดรถไฟฟ้า อบจ. ริมปิงกำแพงเพชร
๑. ย้อนกลับไปดูวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่ออะไร เพื่อใคร .. การจัดงานในปัจจุบัน ไม่ตอบโจทย์
- อดีต สมัย ผวจ. เชาวัศ สุดลาภา เริ่มจัด พ.ศ. ๒๕๒๖ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว วัฒนธรรม ประเพณี จัดแค่ ๓ วัน
- ขบวนแห่ จำลองขึ้นโดยอิงข้อมูลประวัติศาสตร์ แต่ละขบวน แตกต่างกัน ชื่อเมืองโบราณ การแต่งกาย เครื่องนมัสการพระธาตุ งานหัตถศิลป์ ฯลฯ แตกต่างกัน บอกได้ชัดเจนว่า ขบวนเจ้า ขบวนประชาราษฎร ( ปัจจุบันแต่ละขบวนไม่แตกต่าง?)
- การแสดงแสงสีเสียง ทำให้มีการค้นข้อมูลประวัติศาสตร์ เด็กเยาวชนได้เรียนรู้รากเหง้าของตนเอง ผู้ร่วมแสดงมีประสบการณ์ตรง ประทับใจ จดจำได้นาน
- การสนับสนุนงบจากรัฐ ลดลง ทำให้แต่ละจังหวัดต้องหางบกันเอง เป็นที่มาของ การเปิดประมูลจัดงาน เพื่อนำรายได้จากผู้รับเหมาประมูลฯ มาสนับสนุนการจัดงาน
๒. ประเด็นเสนอ
- อยากให้การจัดงานเหมือนในอดีต เน้นวัฒนธรรมประเพณี การมีส่วนร่วมของชุมชน
- สถานที่จัดงาน แบ่งพื้นที่จัดงานให้ชัดเจน หรือ เปลี่ยนไปจัดสถานที่อื่น เพื่อลดผลกระทบการจราจร
- ขาดการเชื่อมโยง กับ เยาวชน นักเรียน ครู อาจารย์ในสถานศึกษา ผู้รู้ในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่จะสืบต่องานทางวัฒนธรรม ควรให้สถาบันวิชาการ (โรงเรียน วิทยาลัย ) มาร่วมแสดง ออกร้าน เพื่อนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ลดจำนวนวันจัดงาน (ทั้งหมด) เหลือ ๓ วัน จะได้ลดผลกระทบทั้งการค้าขายและการเดินทาง
- แบ่งการจัดงาน ตลาดนัด-ดนตรี กี่วันก็จัดไป แต่ จัดงานประเพณีวัฒนธรรมแค่ ๓ วัน
- วางแผนล่วงหน้า ว่าปีหน้าจะจัด ธีมอะไร กำหนดการกิจกรรมสำคัญ และ ประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าสัก ๖ เดือน จะได้ขายทัวร์นักท่องเที่ยวได้
- กำหนดการจัดงาน วันไหนเดือนไหน ให้เป็นประจำเหมือนกันทุกปี (ปัจจุบัน แต่ละปีไม่เหมือนกัน เปลี่ยนไปตามวันทางจันทรคติ)
- ควรมีการแสดงแสงสีเสียง
- ตลาดชาวบ้านมีแล้ว (ตลาดย้อนยุค ตลาดย้อนรอย) เสนอให้มี ตลาดชาววังบ้าง
- หน่วยงานเอกชน-ราชการ ที่ได้พื้นที่แสดงผลงาน ควรอยู่ให้ตลอดการจัดงาน

ภาพกิจกรรม ...เฟส สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียดเพิ่มเติม .. งานนบพระ-เล่นเพลง (ข้อคิดเห็น)

บันทึก งานนบพระเล่นเพลงในฝัน และ ข้อมูลการจัดงาน ปี 50-52-53

งานนบพระเล่นเพลงในฝัน และ ข้อมูลการจัดงาน ปี 50-52-53
ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร แบบ pdf
ดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร แบบ word




 

Create Date : 18 กันยายน 2560   
Last Update : 18 กันยายน 2560 14:39:24 น.   
Counter : 2025 Pageviews.  

งานกล้วยไข่ จังหวัดกำแพงเพชร ... งานประเพณีประจำจังหวัด ? ... ข้อเสนอแนะ





รวบรวมแนวคิด ข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น จากเฟสรักษ์กำแพง นำมาบันทึกและเผยแผ่ เผื่อว่าจะมีใครสนใจ นำไปปรับใช้ ขอบคุณผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นทุกท่านด้วยนะครับ
ปล. ข้อเสนอจะแยกตามปีที่จัดงาน เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีที่ผ่านไป(พ.ศ.
2557-2558)

สนใจแวะไปอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่
https://www.facebook.com/notes/พนมกร-หมอหมู-ดิษฐสุวรรณ์/งานสารทไทยกล้วยไข่-เมืองกำแพง-แนวคิด-ข้อเสนอแนะ/1090891670943075/

ข้อเสนอแนะงานกล้วยไข่ 2557

งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงปีนี้ น่าจะเป็นปีแรกที่ได้รับคำชมเยอะกว่าติ ^_^ ขอบคุณ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการเจ้าหน้าที่ทุกท่าน รวมถึง สื่อมวลชน พ่อค้าแม่ค้า ทุกท่าน ด้วยนะครับ

แต่ผม ก็ขอแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เกี่ยวกับงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง เพื่อช่วยกันปรับปรุงให้ งานนี้เป็นงานประเพณี ที่เราชาวกำแพงเพชร รู้สึกภาคภูมิใจ และมั่นใจกล้าชวนคนไกลมาเที่ยวบ้านเรา ^_^

๑. เต็นท์ หรือจุดจำหน่ายกล้วยไข่ และ กระยาสารท (ตลาดกล้วยไข่ กระยาสารท) แต่ ต้องคัดเลือกร้านกระยาสารทอร่อย ๆมาให้ชิมด้วยนะครับ

ใครอยากจะมาชิม มาช๊อปก็มาที่จุดเดียวได้เลย (ตอนนี้ จะหาซื้อ กล้วยไข่ กินกับกระยาสารท ในงานฯ หาไม่ได้?)

อาจจัดเป็นชุดเลยก็ได้ ชุดเล็ก ๆมีกระยาสารทสัก ๒ ชิ้น กล้วยไข่ ๒ ลูก เดินชมงานก็ชิมไปด้วย

๒. การแปรรูปกล้วยไข่ เช่นประกวดทำอาหาร ขนม ไอศครีม จาก กล้วยไข่ (คล้าย ๆ กับรายการ เชฟกระทะเหล็กวัตถุดิบหลัก คือ กล้วยไข่)

การเก็บรักษากล้วยไข่สุกให้อยู่ได้นาน ? กล้วยไข่ตาก ? เพื่อส่งออก หรือส่งไปจำหน่ายที่จังหวัดอื่น

ประกวดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ กล้วยไข่ กับกระยาสารท (ในกล่องเดียวกัน ) กระยาสารทอย่างเดียว

ตอนนี้มีประกวดกล้วยไข่สุก-ดิบ และ ประกวดกระยาสารท (รสชาติ และ ลีลา)จึงอยากเสนอกิจกรรมเพิ่มเติม และอาจต่อยอดการทำธุรกิจได้อีกด้วย

๓. สอน (สาธิต) วิธี ทำอาหารขนม จากกล้วยไข่ วันละ ๑ เมนูเรียนฟรี ( กศน ? ศูนย์ฝึกอาชีพ?)

ประกวด / สอน วาดภาพ ปั้น ฯลฯเกี่ยวกับกล้วยไข่

๔. จัดกิจกรรม บนเวทีใหญ่ในช่วงบ่าย ๆ ของทุกวัน เช่น

เสวนา วิชาการเกษตร กล้วยไข่ ( ปลูก ดูแลจำหน่าย ฯลฯ) ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนวทางแก้ไข แจกหน่อกล้วยไข่

ประวัติศาสตร์กล้วยไข่กับกำแพงเพชร

สารอาหารคุณประโยชน์ของกล้วยไข่

โต้วาที

๕. จุดจอดรถจัดพื้นที่ให้ชัดเจน ป้ายชัดเจน อาจให้นักเรียน นักศึกษา มาจัดรับฝากรถจักรยานยนต์รถยนต์ ในนามของสถานศึกษา หรือจะให้หน่วยงานราชการ ก็ได้

พื้นที่รับฝากรถ อาจใช้ที่วิทยาลัยเทคนิค หน้าที่ว่าการอำเภอเมือง หน้า สนง.ที่ดินเก่า ฯลฯ หรือให้จอดรถที่ หลังโรงรถไฟฟ้าแล้วใช้รถไฟฟ้ารับส่ง

๖. นำเที่ยว ประวัติศาสตร์บริเวณใกล้เคียง ด้วย รถไฟฟ้า สอง-สามรอบต่อวัน (คนละ ๑๐ บาท?) เช่น บรมนุสาวรีย์ ร.๕ ต้นสักร.๙ ที่ว่าการอำเภอเมือง (ศาลากลางเก่า) กำแพงเมือง คูเมือง (หลังไปรษณีย์เก่า)วัดเสด็จ บ้านสาวห้อม อาคาร สพม.๔๑ (ร.ร.วัชรราษฎร์ ๗๐+ ปี ) ต้นสัก ร.๖ กาชาด(ศาลากลางเก่า) ต้นโพธิ์ จารึกวงเวียน ร.๖

๗. แผนผัง การจัดงาน ร้านไหนอยู่ตรงไหนบ้าง อาจทำเป็นแผ่นพับ ความเป็นมาของงานจุดที่น่าสนใจ กิจกรรมที่น่าสนใจ เพื่อ ประชาสัมพันธ์งานฯ ( แจกล่วงหน้า และแจกภายในงาน)

๘. ป้ายจุดข้อมูลท่องเที่่ยวเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับท่องเที่ยว แผ่นพับ ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ททท อบจ.อุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ อุทยานฯ (ปีนี้ ก็มีแผ่นพับแจก แต่ มีน้อย และไม่มีป้ายบอก)

๙. ตกแต่งบริเวณ ต้นโพธิ์หน้างาน (ป้ายงาน) ให้สวยงาม ถ่ายภาพได้ด้วย (จุดถ่ายภาพ สามมิติ)

ปล. งดแสดงความเห็นเรื่องคอนเสิร์ต และ ตลาดนัด นะครับ เพราะ ผมถือว่า นั่นไม่ใช่ งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง และผมก็ไม่เคยเข้าไปชมว่าเป็นอย่างไร เลยขอผ่านนะครับ ^_^

หมายเหตุ ..อยากแสดงความเห็นเกี่ยวกับการประมูลจัดงานฯ ประเพณีประจำปี ของจังหวัด

๑. ตลาดย้อนยุคตลาดย้อนรอยชากังราว ควรชี้แจง ทำความเข้าใจกับพ่อค้าแม่ค้าก่อนเลยว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องจ่ายเพิ่ม เช่น ผู้รับเหมาจัดฟรีค่าเต้นท์กับค่าไฟฟ้า 1 ดวงต่อ 1 เต้นท์ เท่านั้นถ้าเกินนั้นเขาขอเก็บเพิ่ม ดวงละ 10 บาท ถ้ามีตู้แช่ พัดลมเตาปิ้งย่าง และอื่นๆ ที่ต่อปลั๊กพ่วงก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เป็นต้น

ควรมีข้อมูล หรือภาพผู้ที่จะมาเก็บเงิน และ ออกใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน

๒. ควรมีข้อมูลหรือภาพของผู้ที่ได้รับประมูล (ผู้รับเหมาจัดงาน) จากจังหวัดให้กับผู้ประสานของหน่วยงานรัฐและเอกชนที่มาร่วมออกร้าน เพื่อเวลาติดต่อประสานงานจะได้สะดวกรู้ว่าใครเป็นใคร

๓.ควรแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจนไปเลยว่า ส่วนไหนเป็นความรับผิดชอบของผู้รับเหมาจัดงาน และส่วนไหนเป็นความรับผิดชอบของจังหวัด (หน่วยงานไหน?)

๔. การจัดงาน ต้องมีค่าใช้จ่ายแต่อาจต้องลองช่วยกันคิดว่า จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมี การประมูลจัดงาน ? คุ้มหรือไม่กับเงินที่ได้มา ? ภาครัฐเอกชนคนกำแพงร่วมมือทำกันเองดีกว่าหรือเปล่า ?

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่..

งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง๒๓ กย. - ๒ ตค.๒๕๕๗

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.574980022625529.1073741868.146082892181913&type=3


ข้อเสนอแนะงานกล้วยไข่ 2558

งาน สารทไทยกล้วยไข่ และ ของดีเมืองกำแพงแต่เดินแค่ เตนท์ใหญ่ ตรงไปหน้าเวทีกลาง ตลาดย้อนยุคตลาดย้อนรอย และโซนสินค้าโอทอป เท่านั้นนะคร้บ

ขอแสดงความคิดเห็น เสนอแนะฯเพื่อช่วยกันปรับปรุงให้ งานนี้ เป็นงานประเพณี ที่เราชาวกำแพงเพชรรู้สึกภาคภูมิใจ และมั่นใจ กล้าชวนคนไกลมาเที่ยวบ้านเรา ^_^

๑. บริเวณทางเข้า มีรถพยาบาลรถตำรวจ รถกู้ภัย ?จอดเต็ม ถ้าเปิดให้โล่ง จะได้ถ่ายภาพฉากด้านหน้าทางเข้าให้เห็นได้เต็ม ๆ ผู้ที่ขับรถผ่านไปมาก็จะได้เห็นความสวยงามของฉากด้านหน้า

๒. ภายในเต็นท์ ปีนี้มีจำหน่ายกล้วยไข่สุก และ กระยาสารท (ตลาดกล้วยไข่ กระยาสารท) มีการกวนกระยาสารทให้เห็นกันชัดๆ อีกด้วย

ใครอยากจะมาชิม มาช๊อปก็มาที่จุดเดียวได้เลย เป็นการปรับปรุงให้สมกับเทศกาล (สารทไทย-กล้วยไข่)ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่าปีก่อน

ข้อเสนอ -เพิ่มกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ "กล้วยไข่" เช่น การแปรรูปกล้วยไข่ ทำเป็นอาหารขนม ไอศครีม ประกวดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ หรือ งานศิลปะ เป็นต้น

๓. พอเดินออกจากเตนท์ใหญ่สิ่งที่เห็นก็คือ ร้านค้าเต็มไปหมด ทางเดินคับแคบ มองไม่เห็นเวทีกลาง

ข้อเสนอ - เปิดพื้นที่ตรงกลางสี่แยกไฟจราจร ให้โล่ง พอออกจากเตนท์ใหญ่ ก็มองเห็นเวทีกลาง ที่นั่ง

๔. ที่นั่งหน้าเวทีกลาง(กินอาหาร+นั่งชมการแสดงบนเวที) จำนวนน้อยและพื้นที่แคบ คนที่จะมาชมการแสดงก็นั่งไม่สะดวก เดินไปหน้าเวทีก็ลำบาก เสียดายการแสดงที่เตรียมกันมาอย่างดีแต่ไม่ค่อยมีคนชม ?

๕. ร้านอาหาร ตลาดย้อนยุคนครชุมตลาดย้อนรอยชากังราว จำนวนร้านเยอะมากไปหรือเปล่า ? เพราะจัดร้านเป็นสามแถว ทางเดินแทบไม่มี แถมที่นั่งกินอาหาร ก็ไม่มี

๕. บริเวณร้านค้าโอทอป ปีนี้ทางเข้า ด้านหน้า ด้านหลัง ทางเดิน สะดวกกว่าปีที่ผ่านมา มีคนเดินผ่านไป-มาพอสมควร

ข้อเสนอ - นำสินค้าผลิตภัณฑ์โอทอป มาประกอบเป็นอาหารคาวหวาน (โอทอปชวนชิม) เพื่อให้ทดลองชิมรสชาติถ้าถูกปากถูกใจ ก็จะได้ซื้อสินค้าโอทอปไปทำเองที่บ้านน่าจะเป็นจุดดึงดูดให้คนเข้ามาเดินในโซนนี้มากขึ้น

๖. ตัวแทนของผู้ประมูลจัดงานฯที่มาเดินเก็บค่าไฟฟ้า น่าจะมีเครื่องหมาย สัญลักษณ์ และ ควรออกใบเสร็จรับเงินให้เป็นหลักฐาน แล้วถ้าเป็นไปได้ ตอนมาเก็บเงิน ก็เพิ่มความสุภาพอีกหน่อย

๗. ราคาสินค้า อาหารในบริเวณงาน(ส่วนผู้รับเหมา) ควรมีป้ายและมีการควบคุมกำกับ ไม่ให้แพงเกินไป (โซนตลาดย้อนยุคตลาดย้อนรอย ราคาปกติ )

๘. ปีนี้ ยังไม่มีใครบ่นเรื่องการเก็บเงินค่าจอดรถ ริมถนน หรือ หน้าอำเภอเมือง .. น่าจะมีการแก้ไขจัดการก็ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้

๙. มีข่าวเรื่องการทะเลาะวิวาทมีผู้บาดเจ็บ (เสียชีวิต?)หลังงานคอนเสิร์ต แต่ยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลข

ข้อเสนอ -สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และ รพ.กำแพงเพชร ควรมีการศึกษา การเก็บตัวเลขจำนวนผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตในช่วงการจัดงาน " ๑๐ วันอันตราย "

๑๐. มีการประมูลจัดงานแล้วนำพ่อค้าแม่ค้าจากต่างจังหวัด มาขาย เงินรายได้ นำออกไปนอกพื้นที่

ข้อเสนอ - สถิติจังหวัดมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ควรมีการศึกษาผลกระทบจากการจัดงานกล้วยไข่ งานนบพระในแง่ทางเศรษฐศาสตร์ เช่น จำนวนเงินหมุนเวียนในงาน จำนวนเงินที่ตกอยู่กับคนกำแพง(รายได้ที่ควรจะหมุนเวียนภายในจังหวัด) ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการบาดเจ็บ(เสียชีวิต) การปิดถนน ฯลฯ

๑๑. ข้อเสนออื่น ๆ เช่นการจัดแบ่งพื้นที่ (แบ่งโซน) ป้ายประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ก็เหมือนกับ ปีโน้น ปีนู้น สนใจก็แวะไปแจมกันได้

ถ้าให้สรุปสั้น ๆ ก็คือถ้าอยากจะมา ก็แนะนำ ช่วง หกโมงเย็น ถึง สองทุ่ม .. เดินชม เต็นท์ใหญ่(จัดนิทรรศการ) ชมการแสดงเวทีกลาง ชิมอาหารตลาดย้อนยุคตลาดย้อนรอยชมช๊อปสินค้าโอทอป ... อย่ากลับดึกนะครับ อันตราย เพราะที่อื่น อุปกรณ์ประกอบการดูคอนเสิร์ต เป็น ป้ายไฟ ส่วนของวัยรุ่นกำแพง แรงกว่าเยอะ มีทั้ง มีดทั้ง ปืน T_T

ปล. บ่นเรื่องเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาเดี๋ยว งานนบพระ งานกล้วยไข่ ครั้งหน้า ก็บ่นกันใหม่ ?

- งดแสดงความเห็นเรื่องคอนเสิร์ต และ ตลาดนัด นะครับ เพราะ ผมถือว่า นั่นไม่ใช่ งานสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงและผมก็ไม่เคยเข้าไปชมว่าเป็นอย่างไร เลยขอผ่านนะครับ ^_^

- การจัดงานต้องมีค่าใช้จ่าย แต่อาจต้องลองช่วยกันคิดว่า จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการประมูลจัดงาน ? คุ้มหรือไม่กับเงินที่ได้มา ? ภาครัฐเอกชนคนกำแพง ร่วมมือทำกันเองดีกว่าหรือเปล่า ?

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่.. งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง ๑๒ - ๒๑ ตค.๒๕๕๘

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.749777355145794.1073741894.146082892181913&type=3


หมายเหตุ ปี 2559 ไม่มีข้อเสนอแนะความเห็นเพิ่มเติม ปิดท้ายด้วยข้อความ ประมาณนี้ .. “ คุยกันมา ๓ ปี ประเด็นอาจซ้ำๆ บ้าง ถ้าพอชี้แจงได้ก็จะช่วยชี้แจงให้ .. ส่วนที่เหลือ ก็คงต้องทำใจ ยอมรับ กันไปนะครับ( ผมก็ถือว่าได้พยายามเต็มที่ แต่มันได้แค่นี้จริง ๆ ..เอาเวลาไปคิดทำเรื่องอื่นดีกว่า ^_^ ) “

งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง ๑- ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๙

https://www.facebook.com/146082892181913/photos/?tab=album&album_id=949287985194729


มีผู้มองอีกด้าน เขาบอกว่า .." ขนาดจัดแบบนี้ คนยังมาเที่ยวกันแน่น แสดงว่า คนที่มาเที่ยวงานส่วนใหญ่ชอบแบบนี้ ... พวกที่ บ่น ๆ กันในเนต เป็นแค่คนส่วนน้อย ที่ไม่ชอบ "...

ฟังแล้ว อืมมมมม ..ก็อาจเป็นแบบนั้น ก็ได้ จังหวัดถึงจัดงานแบบนี้ เหมือนกัน ทั้งงานกล้วยไข่งานนบพระ เอาใจคนส่วนใหญ่ ไม่เห็นต้องสนใจ .. " พวกคนส่วนน้อย " T_T

ที่พูดที่ติ ก็เพราะอยากให้งานออกมาดี เป็นหน้าเป็นตา เป็นที่ภาคภูมิใจ พูดได้เต็มปากว่าเป็นงานประจำจังหวัดกำแพงเพชรบ้านเรา ..

คนกำแพง ที่มาทำงานเตรียมการแสดง จัดขบวน จัดสินค้าอาหารฯลฯ ทำเต็มที่ เพื่อให้งานออกมาดีถึงแม้จะต้องรถติด ปิดถนน ค้าขายไม่ได้ ก็ยอม ... แต่ ท่าน ๆ กลับให้ความสำคัญกับคนที่อื่น มาขายของเอาเงินเอากำไร แล้วก็กลับไปบ้านเขา ทิ้งขยะ และ ทิ้งชื่อเสีย(เสีย) ไว้ให้ มันสมควรแล้วหรือ ?

สนใจแวะไปอ่านและร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่
https://www.facebook.com/notes/พนมกร-หมอหมู-ดิษฐสุวรรณ์/งานสารทไทยกล้วยไข่-เมืองกำแพง-แนวคิด-ข้อเสนอแนะ/1090891670943075/


.....................

แถม ..

ปัญหากล้วย(ไข่) ที่ไม่ง่ายเหมือนปอกกล้วย

เคยคิดไว้ นำมาแบ่งปัน เผื่อช่วยกันดัดแปลงตกแต่งเสริมเพิ่มเติม ^_^

๑. ทำอย่างไร เกษตรกร กำแพงเพชร ถึงจะปลูกกล้วยไข่ เพิ่มมากขึ้น

- แก้ไขปัญหา เช่น น้ำท่วม ลมพัดต้นหักโค่นง่าย รวมถึงโครงการประกันราคา ประกันความเสียหาย ฯลฯ

- ส่งเสริม ความรู้วิชาการ วิธีการปลูกการดูแล การคัดเลือกพันธุ์

- เพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย ( อาจไม่ค่อยจำเป็น เพราะ ตอนนี้ ก็มีไม่พอขายอยู่แล้ว )

- ใช้กลไกการตลาด สำคัญที่สุด เพราะ ถ้ากล้วยไข่ราคาแพงกว่ากล้วยอื่นสองสามเท่า เกษตรกรก็จะสนใจมาปลูกเพิ่มขึ้นเอง แต่ถ้าขายไม่ได้ ไม่คุ้มทุน ก็ไม่มีใครสนใจปลูก

๒. ทำอย่างไร ถึงจะให้ผู้ซื้อรับรู้ว่าเป็น “ กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร” ครั้งหนึ่งในชีวิต ต้องลองกินให้ได้ (สร้างแบรนด์) ... ปัจจุบันกล้วยไข่ลูกใหญ่ ผิวสวย ที่ขายในกำแพง ส่วนใหญ่นำมาจากที่อื่น พอนักท่องเที่ยว คนต่างถิ่น ซื้อไปกิน ก็เข้าใจว่า เป็นกล้วยไข่กำแพง แต่กินแล้วก็เหมือนกันกับกล้วยไข่ที่อื่น (แล้วทำไมต้องซื้อกล้วยไข่กำแพงเพชร ?)

- ประชาสัมพันธ์ ออกสื่อ ว่า มีข้อสังเกต ความแตกต่าง จากกล้วยไข่ที่อื่นอย่างไร ลักษณะภายนอก รสชาติ จะอร่อยสุดถ้ามีลักษณะเปลือก เป็นอย่างไร ต้องกินช่วงเดือนไหน

– ส่งเสริมการตลาด เพื่อสร้างแบรนด์ เช่น ออกร้านใน กทม. หรือ อีเวนท์ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้ทดลองชิมกล้วยไข่ หรือ ทดลองชิมคู่กับกระยาสารท (รางวัลชนะเลิศของจังหวัด) ทำเป็นคำเล็ก ๆ ( เฟรบเป้ ) การแปรรูปกล้วยไข่สุก เป็นไอศกรีม เค้ก เครป กล้วยบวชชี ฯลฯ

- การออกแบบ Packaging Logo ฯลฯ

- เครื่องหมายรับรอง (ที่น่าเชื่อถือ) ว่า กล้วยไข่ ที่มีเครื่องหมายนี้เป็นกล้วยไข่จากกำแพงเพชร ของแท้ เป็นสินค้าเฉพาะ สินค้าแบนร์เนม limited edition ถึงราคาสูง คนก็ซื้อ อยากทดลองซื้อ เช่น สตอเบอรี่ของคิวชู ใช้โลโก้ AOMORI ราคาสูงกว่าทั่วไปประมาณ ๒ เท่า มีเท่าไหร่ ก็ขายหมด อร่อยสุดถ้าจะไปกินที่สวนแต่งต้องจองล่วงหน้า เป็นต้น




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2560   
Last Update : 18 กันยายน 2560 14:29:49 น.   
Counter : 1822 Pageviews.  

ท้องถิ่นคือ "บ้านเมือง" ... ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์



ท้องถิ่นคือ "บ้านเมือง"

ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
วันพฤหัสบดี ที่ 01 กันยายน 2559 เวลา 07:00 น  

//www.isranews.org/isra-news/item/49666-anekthongtin.html

"...เรื่องของท้องถิ่นนั้นผมเห็นว่าควรคิดใหม่ให้เป็นเรื่องของ"บ้านเมือง" ด้วย บ้านเมืองนั้น คำนี้ บัดนี้ควรจะคิดมันให้เป็น “พหูพจน์” ไม่ควรคิดเป็น เพียง “เอกพจน์” บ้านเมืองนั้น ขอย้ำมีสองระดับคือ ชาติ ประเทศ นี่ระดับหนึ่ง และ ท้องถิ่นอีกระดับหนึ่ง..."

anak 010959

ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โพตส์บทความในเฟซบุ๊คส่วนตัว เอนก เหล่าธรรมทัศน์ AnekLaothamatasเรื่อง ท้องถิ่นคือ "บ้านเมือง"

----------

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน สามเดือนมาแล้ว ผมไปบรรยายให้สถาบันพระปกเกล้าหลักสูตรการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน ตามคำเชิญชวนของ ดร. อรทัย ก๊กผล รองเลขาธิการสถาบัน มีสาระบางตอนที่เห็นว่าน่าจะเรียบเรียงมาถ่ายทอดต่อให้ฟังเพื่อนำไปคิดและพัฒนาต่อกันให้กว้างขวางดังนี้

ขอเริ่มต้นว่าชาวท้องถิ่นนั้นต้องสนใจศึกษาเรื่องยากๆ เรื่องโลกและการต่างประเทศด้วย อย่าเอาแต่พูดคุยและศึกษาเรื่องง่ายๆเท่านั้น

เราถูกสอนกันมานานว่า องค์กรปกครองท้องถิ่นนั้นคิดเรื่องใหญ่ไม่ได้ ต้องคิดแต่เรื่องเล็กเท่านั้น เพราะใหญ่กว่าเราคือส่วนภูมิภาค ใหญ่กว่าส่วนภูมิภาคคือส่วนกลาง

เรื่องของท้องถิ่นนั้นผมเห็นว่าควรคิดใหม่ให้เป็นเรื่องของ"บ้านเมือง" ด้วย บ้านเมืองนั้น คำนี้ บัดนี้ควรจะคิดมันให้เป็น “พหูพจน์” ไม่ควรคิดเป็น เพียง “เอกพจน์” บ้านเมืองนั้น ขอย้ำมีสองระดับคือ ชาติ ประเทศ นี่ระดับหนึ่ง และ ท้องถิ่นอีกระดับหนึ่ง

ให้คิดว่าเรากำลังทำงานให้ "บ้านเมือง" อย่าไปคิดแต่ว่าเราทำแค่"ท้องถิ่น" มองเสียใหม่ว่า "องค์กรปกครองท้องถิ่น"นั้น เป็น "บ้านเมือง" ของเราจริงๆ อาจจะจริงยิ่งกว่าประเทศเสียอีก ไม่ได้หมายความว่าประเทศไม่สำคัญ แต่ประเทศนั้นอยู่ห่างเราออกไป และมีส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคดูแลอยู่แล้ว

ท้องถิ่นเป็นบ้านเมืองของเราจริงๆ ส่วนใหญ่ท่านที่เป็นผู้บริหารท้องถิ่น ท่านที่เป็นนักการเมืองเป็นชาวท้องถิ่นโดยภูมิลำเนาอยู่แล้ว ส่วนท่านที่เป็นพนักงานหรือเป็นข้าราชการนั้น ถึงท่านอาจเป็นคนต่างถิ่น แต่ท่านก็อยู่กับท้องถิ่นนั้นๆมานานกว่าข้าราชการจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคที่ประจำอยู่ที่นั่นแล้ว ท่านคงซึมซับและซาบซึ้งกับท้องถิ่นที่ไปอยู่มามากแล้ว อนุโลมได้ว่าเป็นคนท้องถิ่นด้วย ท้องถิ่นเป็นบ้านเมืองของท่านด้วย

ท้องถิ่นไม่จำเป็นต้องตาม "ประเทศ" เสมอไปในทางสติปัญญานะครับ จำเป็นต้องทำให้เขาดูว่าเราตามถ้าจำเป็น แต่ก็ไม่ต้องตามอย่างไร้เดียงสา ความจริงท้องถิ่นต้อง "นำ" ทุกส่วนราชการในทางความคิด สติปัญญา และนำในทางยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ และพัฒนาคน ด้วย

เพราะอะไรครับ ? เพราะในที่สุดแล้ว มันเป็นบ้านเมืองของเราจริงๆ ตรงๆแท้ๆ บางคนอยู่ อบต.ปากมูล นี่คือบ้านเมืองของท่าน เรื่องของการสร้างคน สร้างเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สร้างความภูมิใจ สร้างวัฒนธรรม ควรเป็นเรื่องของ อบต.ปากมูล บางท่านเป็นนายกเทศมนตรี สมมติว่าเมืองทุ่งสง ท่านจะต้องคิดว่าเทศบาลเมืองทุ่งสงเป็นบ้านเมืองของท่าน ควรทำงานเสมือนเป็น "นายกรัฐมนตรี" ของทุ่งสงเอง แค่ "เสมือน" นะครับ ย้ำ ท่านไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของทุ่งสงจริงๆ

อย่าไป "หลง" อยู่ในการปกครองที่เป็นทางการจนเกินไปนะครับ เราก็ไม่ได้ไปละเมิด ไม่ได้ไปต่อสู้ ไม่ได้ไปขัดขวาง ไปแข็งขืนเขา ทำอะไรที่ผิดกฏระเบียบ

จะต้องเอาวิธีคิดแบบ "หยิน-หยาง" ของ"เต๋า" มาใช้ เอาการปกครองทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการมาคลุกเคล้า อย่าเอาแต่การปกครองทางการเท่านั่น มิฉะนั้นท้องถิ่นแทบทำอะไรสำคัญไม่ได้ ซึ่งเราจะยอมจำนนไม่ได้เช่นกัน

เพราะเหตุไรจึงจำนนไม่ได้ ? ก็เพราะว่าท้องถิ่นจริงๆ แล้ว มันเป็นบ้านเมืองของเราไง เราจะต้องมี "ความรัก" ต่อบ้านเมืองท้องถิ่นของเราไม่ควรให้น้อยไปกว่าความรักชาติสักเท่าไร จะต้องสร้าง "ท้องถิ่นนิยม" ขึ้นมา คู่ไปกับ "ชาตินิยม" ต้องภาคภูมิใจในท้องถิ่นไม่น้อยไปกว่าชาติสักเท่าไร

ท้องถิ่นทำไมมันไม่เก๋ล่ะครับ ทำไมไม่เท่ห์ล่ะครับ ที่ผ่านมา ? ก็ เพราะมันไม่มีหลักนิยมเรื่องท้องถิ่น ไม่มีความภูมิใจอยู่ในตัวท้องถิ่นอะไรนัก ท่านๆเราๆ รู้จักวีรบุรุษหรือคนดีท้องถิ่นของเราเองสักกี่คน แทบไม่รู้ เรามักรู้จักแต่วีรบุรุษหรือคนดีของชาติ ส่วนคนของท้องถิ่นที่เก่งๆ ดีๆ ท่านรู้จักบ้างไหม ไม่รู้จัก หรือ รู้จักน้อย

ทำไมถึงไม่รู้จัก ? ท่านอาจตำหนิครูโรงเรียน และกระทรวงศึกษาธิการว่าไม่สอน แต่ถ้าคิดแบบสร้างโอกาสให้ตนเอง ท้องถิ่นทั้งหลายต้องสร้างมันขึ้นมาเอง ต้องสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่นต้องเริ่มต้นเรียนเรื่องพวกนี้ก่อนใครเพื่อให้คนอื่นเห็นและทำตาม ควรจะต้องสั่งให้ครูของท่านไปสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นด้วย

ประชุมชาวบ้านชาวเมืองเมื่อไร จงพูดถึงความภูมิใจต่อท้องถิ่น แต่ละที่ย่อมมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนได้ จะต้องไปรื้อฟื้น ฟื้นฟู พัฒนาประวัติท้องถิ่นขึ้นมา ท่านทำเองไม่ได้ ก็จ้างคนอื่นไปทำให้ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ในวิทยาลัยต่างๆ มีมากมาย สามารถที่จะจ้างได้

เวลานี้รัฐทั้งภูมิภาคและส่วนกลางไม่ค่อยเพียงพอที่จะทำงานอะไรให้แก่บ้านเมืองมากนัก ดูเหมือนเป็นเครื่องบินใบพัดที่เติมใบพัด จากเดิมใบพัดเดียวมาเป็นสองใบพัด สี่ใบพัด แปดใบพัด จะให้เร็วกว่านี้ต้องเติมเป็นสิบหกใบพัด แต่ก็จะกลายเป็นเครื่องบินพิลึกกึกกือ เปลี่ยนให้เป็นไอพ่นก็ยังไม่ได้ที่ส่วนกลาง แต่ตอนนี้สิ่งที่ท่านทำได้คือทำท้องถิ่นของท่านเองให้เป็นเจ็ทลำจิ๋วๆ ก็แล้วกัน

ที่บอกว่าส่วนภูมิภาคและส่วนกลางไม่ค่อยเพียงพอและไม่สามารถนั้น ดูจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ดูจากรัฐมนตรี ล้วนแต่เป็นผู้ที่ทำอะไรไม่ได้มากทั้งนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่ไม่ถึงปีก็ย้ายแล้ว และก็ย้ายมาจากไหน บางทีก็ย้ายมาจากภาคอื่น ท่านจะไปหวังอะไรในตัวเขามากไม่ได้ ว่าจะทำอะไรมากมายแก่พื้นที่ได้ นายอำเภอก็คล้ายกัน แต่ อยู่นานกว่าหน่อย ราวสองปี นายอำเภอที่อยู่ประจำที่นานหน่อย นับวันจะน้อยลงไปเรื่อยๆ จะพาเหรดกันไปสู่อำเภอที่ใหญ่กว่าเดิม จะพาเหรดจากนายอำเภอไปเป็นปลัดจังหวัด จนไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด

ทั้งผู้ว่าฯ และนายอำเภอที่ทำงานอยู่กับพื้นที่ แต่ตาของพวกเขาไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้นหรอก ตาอยู่ที่สถานีต่อไป คนที่ไปเป็นนายอำเภอที่สิชล ก็มักไม่ได้คิดถึงแต่เรื่องสิชล แต่คิดมากกว่าว่าจะไปเป็นนายอำเภอเมือง คนที่เป็นนายอำเภอเมืองก็คิดว่าอยู่ไปสักพักหนึ่งเดี๋ยวหาทางวิ่งไปเป็นปลัดจังหวัด

รัฐมนตรีก็เหมือนกันครับ อยู่กันสั้นยิ่งกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดอีก แค่เข้ามา แล้วมาฟังบรีฟ (Brief) ให้ทัน ย่อยให้ทัน ก็หมดเวลาแล้ว สองเดือน ย้ายอีกแล้ว

ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ฉลาดจึงมักไม่ทำอะไรเองมาก หากจะปล่อยให้นายกเทศมนตรีทำ ให้ นายก อบจ ทำ เพราะเหตุว่าคนในทั้งสองตำแหน่งหลังนี่เป็นคนในพื้นที่ เป็นคนของพื้นที่แท้ๆ หรือแท้กว่า ได้รับการยอมรับมากกว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ฉลาดต้องทำตัวเสมือนเป็น "ข้าหลวง" จากกรุงเทพฯ พอ อย่าเข้าไปยุ่งอะไรมากนัก ปล่อยให้พื้นที่เขาว่าอะไรกันไปเอง แล้วตัวเองทำตัวเป็นหลักชัย เป็นมิ่งขวัญ เป็นความสง่างาม แต่พร่ำบอกตนเองว่าอย่าทำอะไรมากนัก เพราะทำมากๆแล้วอาจยุ่งไปหมด

มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่ทำเป็นแล้วและรู้สบาย ท่านจะอาศัยความคิดความรู้ที่สั่งสมเอาไว้ในท้องที่ อาศัยนายกเทศมนตรี อาศัยนายก อบจ. นั่นแหละทำงานให้มาก จะใช้ราชการส่วนภูมิภาคได้บ้างแต่ว่าส่วนภูมิภาคนั้นเอาเข้าจริงคุมคนคุมพื้นที่ไม่ค่อยได้ ท้องถิ่นต่างหากที่คุมคนได้คุมพื้นที่ได้

ในทางกลับกัน ผมได้เห็นท้องถิ่นที่เก่ง ที่ก้าวหน้า ที่สร้างสรรค์ ระยะหลังๆ มานี้ เป็นผู้ที่มีลักษณะประกอบการสูง วันไหนที่ผมออกต่างจังหวัด ได้ไปคุยกับท้องถิ่น ได้ไปคุยกับสังคมในต่างจังหวัด รู้สึกเบิกบาน เห็นอะไรใหม่ๆเห็นหน่ออ่อนที่กำลังเติบโตได้อีกเยอะแต่ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ แทบจะไม่เห็นอะไรเลย มีแต่ปัญหา มีแต่หมกมุ่นกับวิธีการทำงานเดิมๆ คิดแบบเดิมๆ

เราอาจจะมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญนะผมคิดว่าโลกมันเปลี่ยนไปเยอะ ตอนผมเด็กๆ ถ้าอยากรู้ว่าประเทศชาติจะไปทางไหน ต้องไปถามเทคโนแครต เช่น ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สุนทร หงส์ลดารมภ์ พจน์ สารสิน คิดยังไง ต่อมาอีกสมัยหนึ่ง ถ้าอยากรู้ว่าบ้านเมืองจะไปทางไหน ต้องรู้ว่าหัวหน้าพรรคคิดยังไง นายกรัฐมนตรีคิดยังไง ผู้ท้าชิงนายกรัฐมนตรีคิดยังไง ถ้าอยากรู้ในเชิงปฏิบัติเชิงเทคนิคเชิงวิชาการต้องถามจากข้าราชการ

เวลานี้คนทุกประเภททั้งหมดที่ผมว่ามา ค่อนข้างจะหมดแรง แต่ที่ผมเห็นคึกคัก หนักแน่น ดั่งแผ่นผา ก็คือพวกเรา (ท้องถิ่น) นี่เอง ซึ่งพวกเราก็ดูกันได้หลายแบบ ถ้าดูแบบหนึ่งซึ่งส่วนกลางวาดให้ดู ก็จะมองว่าโกงทุกบาททุกสตางค์ ทำผิดระเบียบทุกเรื่องทุกราว ทำอะไรบ้านน๊อกบ้านนอก นั่นเป็นเรื่องของเขา เราอย่าไปทำตัวตามที่เค้าพูดก็แล้วกัน และที่สำคัญ รักษาความสร้างสรรค์ เก็บความรักบ้านรักเมืองเอาไว้ จงทำงานเสมือนเพื่อบ้านเมือง เพราะท้องถิ่นเป็นบ้านเมืองของเราเองด้วย จำเอาไว้เลย

ท่านทำเรื่องการศึกษาของท้องถิ่นให้ดี ท่านก็ทำเพื่อลูกหลานของท่านเองนั่นแหละ ลูกหลานจริงๆ ญาติจริงๆ พี่น้องจริงๆ เพื่อนบ้านจริงๆ ของท่าน ถ้าการศึกษาของราชการส่วนกลางทำให้คนในระดับประเทศโง่ ท่านจงอย่ายอมโง่ตาม ถ้าส่วนกลาง "นำ" ผิด ท่านอย่าผิด "ตาม" ส่วนกลาง

ท่านต้องคิดว่าบ้านเมืองของเราจริงๆ คือท้องถิ่น ถึงส่วนกลางจะทำอะไรที่สำคัญไม่ได้มากเรื่องนัก แต่ที่ท้องถิ่นเราจะต้องทำให้ได้ เช่น ในเรื่องปฏิรูปการศึกษา ท่านก็ไม่ต้องรอส่วนกลางปฏิรูป ทำเลย ถ้าส่วนกลางไม่ได้พูดถึงบูรพาภิวัตน์ ท่านพูดเลย ถ้าส่วนกลางไม่พูดเรื่องตะวันออก - ตะวันตก ท่านพูดเลย แล้วถ้าส่วนกลางสอนให้คนพึ่งตนเองไม่ได้ เราอย่าสอนตามทำตาม ตรงข้าม ต้องสอนคนของเราเองให้เข้มแข็ง ให้ "ตกเบ็ด" จนเป็น ไม่ใช่เอาแต่ "กินปลา" ที่คนอื่น "แจก" ให้อย่างเดียว

ท่านลองดูครอบครัว ครอบครัวเป็นสถาบันสำคัญ ข้างนอกครอบครัวนั้นสมมติมีแต่เรื่องอาชญากรรม ท่านก็จะไม่สอนลูกของท่านหรอกว่า งั้นไปเป็นอาชญากรกันเถอะลูก ดูจะเป็นอาชีพที่ดี มีใครสอนลูกอย่างนั้นบ้าง มีไหม? ไม่มี เห็นแต่สอนว่าลูกต้องเป็นคนดี ต้องป้องกันอาชญากรรม ต้องหากินสุจริต ถูกไหมครับ? คนข้างนอกครอบครัวเขาขี้เกียจเรียนหนังสือ ท่านจะสอนลูกท่านไหมครับว่า ใครๆเขาก็ขี้เกียจเรียนทั้งนั้นแหละลูก เราอย่าไปขยันอยู่คนเดียวเลย เราต้องขี้เกียจตามสังคมบ้าง มีไหมครับ?

สิ่งที่ต้องทำคือให้คิดว่า "ท้องถิ่น" คือ "บ้าน" คือ "ครอบครัวขนาดใหญ่" จงรู้สึกและปฏิบัติต่อคนที่ท่านปกครอง ที่ท่านบริหาร ที่ท่านดูแล เสมือนพวกเขาเป็นลูกเป็นหลานของท่านจริงๆ ถ้าในระดับชาติ เขามีเรื่องยาเสพติด หรือ ผู้หญิงท้องก่อนวัยอันเหมาะสม ก็จงอย่าไป "คล้อยตาม" หากยิ่งจะต้อง "ฝืน" ยิ่งจะต้อง "ขัด" ยิ่งจะต้อง "สู้" อย่าไปบอกว่า อันนี้ไม่ใช่งานในหน้าที่ของเรา หรือว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้สั่งให้ทำ หรือ พรบ. ไม่ได้สั่งให้ทำ ดังนั้นเราไม่ทำดีกว่า

น่าเสียดายถ้าเป็นเช่นนั้น เพราะท้องถิ่นคือใคร คือพวกท่าน"เอง" คือพวกเรา "แท้ๆ" คือประชาชนชาวท้องถิ่น เพราะฉะนั้น ท้องถิ่นอย่าไปตามอะไรที่ "ผิดๆ" ไม่ต้องถึงกับไปเถียงเขา ไปเป็นขบถ ไปเป็นอะไร แต่ทำยังไงจะให้เนื้อหานโยบายและมาตรการรัฐกลายไปเป็นสิ่งดีกับ"ท้องถิ่น"ให้ได้มากที่สุด

ยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งนะครับ เรื่องภาษาต่างประเทศไงล่ะ ถ้ามองจากส่วนกลางนะครับ ภาษาอังกฤษสำคัญ แต่ถ้ามองจากท้องถิ่น ผมกลับคิดว่าโรงเรียนในภาคอีสาน โดยเฉพาะที่ติดแม่น้ำโขงควรสอนภาษาลาว ให้อ่านออกเขียนได้ ให้คนของเรากลายเป็นกำลังสำคัญที่จะบุกเบิกเศรษฐกิจของไทยในลาว
อีสานใต้ต้องให้เด็กเรียนภาษาเขมร อย่าทิ้งเขมร อีสานก็อย่าทิ้งลาว แต่ส่วนกลางคิดเป็นอื่นได้ยากต้องทำให้ทุกคนเป็นไทย ให้ลืมลาว ให้ลืมเขมร แต่นั่นไม่เกิดประโยชน์กับเราเลยขณะนี้ อย่าลืมว่าเรามีคนที่พูดเขมรได้อยู่ในบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์จำนวนไม่น้อยนะ และเรายังมีคนอีสานที่พูดลาวอีกเยอะแยะ

ต้องคิดว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ ลมมันจะพัดมาจากด้านนอกประเทศมากขึ้น คิดว่าจะทำยังไงไปรับลมนี้ เราอาจจะแพ้ฝรั่งเศส แพ้เวียดนาม แพ้จีน ในเรื่องการทำธุรกิจ หลายๆอย่าง แต่เราไม่แพ้หรอกในเรื่องของกิจการที่เน้นสันถวไมตรี ใช้ภาษา มีความไว้วางใจ อ่านวัฒนธรรมให้ออก อีสานของเรากับลาวนั้นเกือบจะเหมือนกัน ก่อนที่จะฝึกให้ลูกๆ พูดภาษาไทยกลางไปจนลืมภาษาอีสาน หมด ต้องทำให้เขาเป็นไทยด้วยและก็เป็นลาวด้วย เป็นลาวเพื่อจะได้เข้าไปมีโอกาสใหม่ๆ

ท่านทำท้องถิ่นในภาคอีสาน อย่าคิดแต่ว่าจะส่งคนมาให้กรุงเทพ ต้องคิดว่าจะสร้างคนอีสานให้เข้าไปทำงานในลาว ถ้าเขามีความรู้ภาษาลาวดี รับรองว่าบริษัทใหญ่ที่จะเข้าไปทำธุรกิจในลาว จะต้องมาควานเอาตัวพวกเขา

เขมรนี่ก็เหมือนกันนะครับ กัมพูชากำลังเจริญเติบโตมากๆนะ พนมเปญโตเอา โตเอา ประชากรหลายล้านและเพิ่มขึ้นไม่หยุดยั้ง คนเกาหลีเข้าไปเยอะ เกาหลีอยู่ไกลมาก แต่รู้จักในโอกาสนี้ เรานี่อยู่ติดชายแดนเขากลับมองโอกาสไม่ออก เราเองนั้นมีคนพูดเขมรได้ตั้งเยอะ ผมคิดว่าท้องถิ่นที่บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์นี่ต้องฝึกให้คนที่นั่นพูด อ่าน เขียน ภาษาเขมรให้ดี แล้วส่งเข้าไปทำงานอยู่ในกัมพูชา เราต้องใช้โอกาสนี้

ท้องถิ่นตามชายแดนและภูมิภาคต้องเพิ่มความทันสมัย เพิ่มการรู้โลก รู้รอบ รู้ข้ามเขตแดนให้มากขึ้น งานของท่านอาจเป็นงานที่น่าตื่นกว่างานของรัฐบาลเสียอีก ท่านทำเพื่อใครครับ เพื่อบ้านเมืองของท่าน บ้านเมืองของท่านเองแท้ๆ บ้านเมืองที่เป็นส่วนหนึ่งของไทย ใช่ แต่มันเป็นบ้านเมืองของท่านจริงๆ ด้วย





 

Create Date : 02 กันยายน 2559   
Last Update : 2 กันยายน 2559 21:19:25 น.   
Counter : 1107 Pageviews.  

My Profile



ประวัติ

ชื่อ นพ. พนมกรดิษฐสุวรรณ์

อายุ 46 ปี วันเดือนปีเกิด 29 ตุลาคม 2510

การศึกษา

ประถมศึกษา ร.ร.วัฒนศิริวิทยา ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร

มัธยมศึกษา ร.ร. กำแพงเพชรพิทยาคม

อุดมศึกษา แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติการทำงานและ การฝึกอบรม

..2534-2537 แพทย์ใช้ทุน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่

..2538-2548 แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อรพ.กำแพงเพชร

..2539-2542 หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและวิชาการร.พ.กำแพงเพชร

พ.ศ.2540 แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ (Occupational medicine )

พ.ศ.2542 ผู้บริหารระดับกลาง (ผบก. รุ่นที่ ๑๓ )

พ.ศ.2541 Mini MPA in Health administration มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ.2542 แพทย์เวชศาสตร์การกีฬา( Sport medicine )

พ.ศ.2550 สมาชิกราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

และ 2550 แพทย์เวชศาสตร์การกีฬา ( Sport medicine )


การทำงาน

ประกอบธุรกิจส่วนตัว (คลินิกแพทย์พนมกร ) และเป็นแพทย์ที่ปรึกษา รพ.เอกชน ที่จังหวัดกำแพงเพชร

ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคต่าง ๆ ในเวบ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔ - ปัจจุบัน

www.pantip.com/cafe/lumpini/index.php

www.thaiclinic.com/health

//cmu2807.bloggang.com

https://www.facebook.com/phanomgon

รางวัล อันดับ 3 Health,Sports & Family Blog Thailand Blog Award 2010

รางวัล อันดับ 2 Health, Sports & Family Blog Thailand Blog Award 2011

รางวัล อันดับ 2 Health,Sports & Family Blog Thailand Blog Award 2012

ผู้แต่งหนังสือ “ รู้เท่าทันป้องกันโรคกระดูก “ และ “ คำถามฮอต สกัดกระดูกเสื่อม “

กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม วาระ พ.ศ. 2554-2558

กรรมการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 วาระ พ.ศ. 2550 และ พ.ศ.2554

นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม(วัชระ นารี) วาระ พ.ศ. 2556

ประธานศิษย์เก่าโรงเรียนกำแพงเพชรรุ่นศิลาแลง 2527 วาระ พ.ศ. 2552-2556

รางวัลศิษย์เก่าผู้บำเพ็ญประโยชน์ดีเด่น งาน๑๐๐ปี ร.ร.กำแพงเพชรพิทยาคม (วัชระ นารี) พ.ศ.2554

กรรมการชุมนุมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดกำแพงเพชร วาระ พ.ศ.2555

กรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดกำแพงเพชร (ศพม.กพ.) วาระพ.ศ.2556

กัลยาณมิตร ป.ป.ช.จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. ๒๕๕๕

 

อนุกรรมการ สมาชิกมวลชนสัมพันธ์แพทยสภา วาระ พ.ศ. 2556 -2558

อนุกรรมการ จริยธรรม ชุดที่ ๗ แพทยสภาวาระ พ.ศ. 2556 -2558





 

Create Date : 18 สิงหาคม 2556   
Last Update : 18 สิงหาคม 2556 14:12:24 น.   
Counter : 1824 Pageviews.  

การเมืองเป็นเรื่องจริงจังกว่า ที่เราจะปล่อยให้นักการเมืองเล่นกันเอง ...( ร่าง )

การเมืองเป็นเรื่องจริงจังกว่าที่เราจะปล่อยให้นักการเมืองเล่นกันเอง

 

 

๑. การเมือง คือ อะไร ?

การเมืองเป็นเรื่องของ อำนาจ และ ผลประโยชน์

- อำนาจ : อำนาจในการตัดสินใจ ว่า ใครจะได้อะไร เมื่อไหร่ อย่างไร

- ผลประโยชน์ :  เนื่องจาก ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด

ผลประโยชน์ของส่วนรวมไม่ใช่ของตนเอง

 

 

๒. การเมืองที่ดี

ทำเพื่อคนอื่น( เมือง ) ไม่ใช่ ทำเพื่อตนเอง และครอบครัว ( บ้าน )

-ถูกต้อง ถูกกฎหมาย

ถูกหลักการมีเหตุผล

-ถูกใจ ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิดตัดสินใจ(ถูกใจประชาชน)

มีความหวังมองเห็นอนาคต

- โปร่งใสตรวจสอบได้

 

 

๓. สิทธิ และ หน้าที่

-สิทธิ : สิ่งที่พึงได้รับ

-หน้าที่ : สิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้ได้สิทธิ

 

 

 

เงิน ๑๐ ล้านบาท ทำอะไรได้บ้าง ?

 

ถ้ามีเงิน ๑๐ ล้านบาท อยากจะทำอะไรให้กับ เมือง ชุมชนสังคม ?

 

 

 

งบประมาณของรัฐสูญเสียไปกับการร่วมมือทุจริตของนักการเมือง ข้าราชการ และ นักธุรกิจ

สมัยก่อนร้อยละ ๑๐ เดี๋ยวนี้ ร้อยละ ๓๐ ?

ถ้าไม่มีการทุจริต ถนนทุกสายของเมืองไทยคงปูด้วยทองคำได้

 

คุณภาพของนักการเมือง สะท้อนคุณภาพของประชาชน ด่านักการเมืองก็สะท้อนคำด่านั้นมายังประชาชนด้วยเช่นกัน

นักการเมืองทุจริต ก็เกิดจาก ประชาชนทุจริต

การที่เราได้นักการเมืองทุจริต ก็อาจเป็นเพราะเราไม่ทำอะไร (ไม่รับเงินซื้อเสียง ไม่ไปเลือกตั้ง ฯลฯ) หรือ ทำแล้วแต่ยังไม่พอ(เราเลือกคนดี แต่ไม่ได้ชักชวน ไม่ได้ให้ความรู้กับคนอื่นฯลฯ) เราอยู่ในสังคมเดียวกันเรือเราเดียวกัน เราก็ต้องร่วมรับผลกรรมนี้ด้วย

 

นักการเมือง คิดถึง การเลือกตั้งครั้งหน้า

รัฐบุรุษ คิดถึง อนาคตของเยาวชนรุ่นต่อไป
 

อนาคต ฝากไว้กับ เยาวชน แล้ว ผู้ใหญ่ในปัจจุบันได้ทำอะไรให้กับเยาวชนบ้างหรือเปล่า ?

 

 

หมายเหตุ .. อ้างอิง

 

ชาร์ลส์ เดอ กอลล์ : “ การเมืองเป็นเรื่องจริงจังกว่าที่เราจะปล่อยให้นักการเมืองเล่นกันเอง “

 

ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ : “ การเมือง คือ การได้มาซึ่งอำนาจเพื่อที่จะตัดสินว่าใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร “

(Politicsis,who gets “What”, “When”, and “How”)




" นักการเมืองเป็นอย่างไร .. ประชาชน(ส่วนใหญ่) ก็เป็นอย่างนั้น "

คุณภาพของนักการเมือง สะท้อนคุณภาพของประชาชน ด่านักการเมืองก็สะท้อนคำด่านั้นมายังประชาชนด้วยเช่นกัน

นักการเมืองทุจริต ก็เกิดจาก ประชาชนทุจริต เราอยู่ในสังคมเดียวกันเรือลำเดียวกัน เราก็ต้องร่วมรับผลกรรมนี้ด้วย แก้ที่คนอื่นไม่ได้ก็มาแก้ไขที่ตัวเรา หรือ คนใกล้ชิด เพราะสาเหตุอาจเกิดจาก
   - ตัวเราไม่ทำ เช่น ไม่ไปเลือกตั้ง ไม่ให้ความสนใจ ไม่ค้นหาข้อมูล ไม่ร่วมกิจกรรมทางการเมือง ฯลฯ
   - ตัวเราทำแล้วแต่ยังไม่พอ เช่น เราเลือกคนดี ไม่รับเงินซื้อเสียงแต่ไม่ได้ชักชวน ไม่ได้ให้ความรู้กับคนอื่นให้คิดแบบเราฯลฯ


นอกจากไปเข้าคูหาเลือกตั้ง สิ่งที่สำคัญสำหรับประชาชนคนธรรมดาแบบเรา ๆ ทำได้ ก็คือ การคิดพิจารณา ค้นประวัติ หาข้อมูลที่ผ่านมา ว่า ที่ผ่านมา ผู้สมัครคนนั้นเป็นอย่างไร ? และ พรรคการเมืองนั้นเป็นอย่างไร ? แล้วค่อยเลือก ..

รับเงินมา แต่ ไม่เลือก ก็ได้ ... เอาเงินบาป ไปทำบุญ ก็ยังได้ ..หรือ ถ้าดีกว่านั้น ก็ไปแจ้ง กกต. อาจได้เงินมาทำบุญเพิ่มอีก ^_^


เลือกตั้ง ส.ส. ๒๕๖๖ การเมืองเรื่องสำคัญเกินกว่า ปล่อยให้เล่นกัน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.6809068715775413&type=3

การเมืองเป็นเรื่องจริงจังเกินกว่าที่เราจะปล่อยให้นักการเมืองเล่นกันเอง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-12-2012&group=19&gblog=20

FB โพส ๒๙เมย๖๖
https://www.facebook.com/phanomgon/posts/pfbid02iCDpmvvWXUFG8hiDCgXMFrjuXDRUUEGgiwA8WzUvucu4NeZUrXxmVnpmntKdPxHkl

*************************************************


เลือกตั้ง ส.ส. ๒๕๖๖ การเมืองเรื่องสำคัญเกินกว่า ปล่อยให้เล่นกัน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.6809068715775413&type=3

เลือกตั้ง ส.ส. ๒๕๖๒ การเมืองเรื่องสำคัญเกินกว่า ปล่อยให้เล่นกัน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2461674700514858&type=3

เลือกตั้ง ส.ว. ๒๕๖๒ การเมืองเรื่องสำคัญเกินกว่า ปล่อยให้เล่นกัน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.2320304841318512&type=3

องค์ความรู้การเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
https://www.ect.go.th/ect_th/news_page.php?nid=865&filename=

การเมืองเป็นเรื่องจริงจังเกินกว่าที่เราจะปล่อยให้นักการเมืองเล่นกันเอง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=11-12-2012&group=19&gblog=20

 

 

 




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2555   
Last Update : 29 เมษายน 2566 15:37:46 น.   
Counter : 2083 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]