Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ปลายนิ้วตก ( มาลเล็ทฟิงเกอร์ , Mallet Finger )

 

Mallet Finger (มาลเล็ทฟิงเกอร์) หรือ Dropped Finger (ปลายนิ้วตก)



 
Mallet finger (Baseball finger, Dropped finger) มีลักษณะข้อปลายนิ้วงอลง ไม่สามารถเหยียดปลายนิ้ว (กระดกไม่ขึ้น) อาจเกิดจากเส้นเอ็นขาด หรือ กระดูกแตก
เกิดจากการกระแทกปลายนิ้ว ขณะที่เหยียดนิ้ว เช่น นิ้วกระแทกกับประตู ลูกบอลกระแทกปลายนิ้ว
ตำแหน่งที่พบบ่อย นิ้วกลาง นิ้วนาง และ นิ้วก้อย ( มากกว่าร้อยละ 90 )
ส่วนใหญ่พบในมือข้างที่ถนัด ( ร้อยละ 74 )
 
ตรวจวินิจฉัย

  • ข้อปลายนิ้ว บวม ผิดรูป ปลายนิ้วตก กระดกไม่ขึ้น ( อาจกดเจ็บหรือไม่เจ็บ ก็ได้ )
  • ถ่ายภาพเอกซเรย์ ข้อปลายนิ้ว อาจไม่พบความผิดปกติ หรือ พบมีกระดูกแตก ข้อเคลื่อน
 
การรักษา
  • ผลการรักษามักจะได้ผลดี แต่ ปลายนิ้วอาจกระดกขึ้นไม่สุด (ปลายนิ้วงอลงเล็กน้อย 5-10 องศา)
  • ถ้าไม่รักษา หรือ รักษาแล้วไม่ได้ผล ข้อปลายนิ้วจะผิดรูป ปลายนิ้วงอ กระดกไม่ขึ้น อาจมีปัญหาในเรื่องของความสวยงาม แต่มักจะไม่มีปัญหาในการทำงาน
 
  • วิธีไม่ผ่าตัด ใส่อุปกรณ์ตรึงข้อปลายนิ้ว 6-8 อาทิตย์ (ห้ามถอดออก)
ข้อบ่งชี้            - เส้นเอ็นขาด ในระยะเวลาน้อยกว่า 12 อาทิตย์ และ ไม่มีปัญหาข้อติด
                   - กระดูกแตกแต่ไม่เคลื่อนที่
*** หลักสำคัญของการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด ก็คือ ต้องให้ข้อปลายนิ้วกระดกขึ้นและอยู่นิ่งตลอดเวลา
ไม่ควรถอดอุปกรณ์ตรึงข้อปลายนิ้วออกตลอดการรักษา (ถ้าจะเอาอุปกรณ์ออกก็ต้องให้ปลายนิ้วกระดกไว้)
แพทย์จะนัดตรวจ ครั้งแรก 1 อาทิตย์ หลังจากนั้นจะนัดทุก 2 - 4 อาทิตย์
หลังจาก 6 – 8 อาทิตย์ เอาอุปกรณ์ตรึงข้อปลายนิ้วออกแล้ว
- ถ้าปลายนิ้วจะอยู่ในท่าเหยียด ให้ใส่อุปกรณ์ เฉพาะตอนนอนและขณะเล่นกีฬา หรือ ทำกิจกรรม และ ต้องค่อย ๆ ทำกายภาพบำบัดต่ออีก 3 – 4 เดือน เพื่อให้ปลายนิ้ว งอ-เหยียด ได้ดีขึ้น
- ถ้าปลายนิ้วอยู่ในท่างอ (ปลายนิ้วตก) ต้องใส่อุปกรณ์ต่ออีก 4 - 6 อาทิตย์
 
  • วิธีผ่าตัด ใส่ลวดดามกระดูก

ข้อบ่งชี้           - ขนาดกระดูกแตกเข้าข้อ เกินกว่า 1 ใน 3 ของผิวข้อ
                             - ข้อเคลื่อนข้อหลุด
- ใส่อุปกรณ์ตรึงข้อปลายนิ้วแล้วไม่ได้ผล (ปลายนิ้วงอ มากกว่า 40 องศา )
- มีปัญหาในการทำงานหรือความสวยงาม
- เป็นมานานกว่า 12 อาทิตย์

 

 

 

อ้างอิง ..

https://emedicine.medscape.com/article/1242305-overview

https://emedicine.medscape.com/article/98168-overview

https://www.assh.org/Public/HandConditions/Pages/Mallet-Finger-Baseball-Finger.aspx

https://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=A00018

https://www.eatonhand.com/hw/hw015.htm

https://www.eorthopod.com/content/mallet-finger-injuries

https://www.rcsed.ac.uk/fellows/bcpaterson/mallet_finger.htm

 

 

 

 

 

 

 

 




 

Create Date : 25 พฤษภาคม 2555   
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2562 16:36:25 น.   
Counter : 55014 Pageviews.  

เส้นเอ็น เข่า ฉีกขาด .... knee ligament sprain / injury







เส้นเอ็น เข่า ฉีกขาด

ข้อเข่าประกอบด้วย

กระดูก ๓ ส่วน
    กระดูกต้นขา ( femur )
    กระดูกหน้าแข้ง ( tibia )
    กระดูกสะบ้า ( patella )

เส้นเอ็นหลัก ๔ เส้น
    เอ็นไขว้หน้า ( ACL )
    เอ็นไขว้หลัง ( PCL )
    เอ็นข้าง ด้านใน ( MCL )
    เอ็นข้างด้านนอก ( LCL )

หมอนรองกระดูกเข่า ( meniscus ) ๒ ชิ้น เป็นกระดูกอ่อน มีหน้าที่ลดแรงกระแทกต่อกระดูก
    ด้านใน ( Medial Meniscus )
    ด้านนอก ( Lateral Meniscus )


การตรวจวินิจฉัย

ประวัติ

เช่น ลักษณะของอุบัติเหตุ ลักษณะท่าทาง ตำแหน่งของเข่า ข้อเท้า ลำตัว ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ มีเสียงข้อลั่น ลักษณะของอาการปวด ระยะเวลาที่มีอาการ การรักษาที่ผ่านมา ฯลฯ

การตรวจร่างกาย

ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจหลัง สะโพก ข้อเท้า และ การตรวจ เข่า เช่น ตำแหน่งที่กดเจ็บ บวม การตรวจด้วยวิธีดัดเข่า หมุนเข่า งอเหยียด ท่าตรวจเฉพาะของเส้นเอ็นแต่ละเส้น และ หมอนรองกระดูก เป็นต้น

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

เช่น เอกซเรย์(X-ray) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)



แนวทางรักษาทั่วไป

ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ กิจกรรมในการดำเนินชีวิต ชนิดจำนวนเส้นเอ็นที่ขาด การบาดเจ็บร่วม เป็นต้น


วิธีไม่ผ่าตัด ดูแลตนเอง บริหาร กายภาพบำบัด ใส่อุปกรณ์พยุงเข่า ยา

วิธีผ่าตัด มีหลายวิธีแตกต่างกัน เช่น ผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่าตัดเปิด ใช้เส้นเอ็นกล้ามเนื้อใกล้เคียงทดแทน ใช้กระดูกเส้นเอ็น ใช้เส้นเอ็นเทียม เป็นต้น

......................

หลักทั่วไป ... ถ้ามีอุบัติเหตุ แล้ว


รู้สึกได้ยินเสียงลั่นในเข่า

ปวดเข่ามากทันที

เดินลงน้ำหนักไม่ได้ เดินกะเผลก

เล่นกีฬาต่อไม่ได้

เข่าบวม

เข่าหลวม รู้สึกว่าเข่าไม่มั่นคง

...


ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจว่า มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นเอ็นเข่าหรือไม่

.......................

เส้นเอ็นไขว้หน้า ฉีกขาด Anterior Cruciate Ligament Injuries

การรักษาขึ้นอยู่กับ ความมั่นคงข้อเข่า อายุ ลักษณะการดำเนินชีวิต ความคาดหวังของผู้ป่วย และ การบาดเจ็บของอวัยวะอื่น

เช่น ผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะ ไม่ค่อยได้เล่นกีฬา ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด

แต่ควร ผ่าตัด ใน คนอายุน้อย ผู้ที่ต้องการเล่นกีฬา เข่าหลวมมากเนื่องจากมีเส้นเอ็นขาดหลายเส้น มีหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด หรือ มีกระดูกแตก ร่วมด้วย เป็นต้น

ถ้าไม่ผ่าตัด ก็จะทำให้รู้สึกว่า เข่าไม่มั่นคง ทำให้เพิ่มความเสี่ยง ที่จะเกิด ข้อเสื่อมและหมอนรองกระดูก ฉีกขาด

มักทำการผ่าตัด หลังจากอุบัติเหตุ 1 – 6 เดือน

การทำกายภาพบำบัด ใส่กายอุปกรณ์ อุปกรณ์พยุงเข่า เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน จะต้องสอบถามแพทย์ที่ผ่าตัดว่า ต้องทำอย่างไรบ้าง ...

โดยส่วนใหญ่กว่าจะกลับไปเล่นกีฬาได้ ใช้เวลารักษาประมาณ 6 เดือน

50 % มี หมอนรองกระดูก ฉีกขาด ร่วมด้วย

ผลการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดได้ผลค่อนข้างดี ( 75 – 95 % )

ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด เช่น ข้อเข่าเคลื่อนไหวได้น้อยลง ปวดเข่า ข้อหลวม การติดเชื้อหลังการผ่าตัด เป็นต้น




เส้นเอ็นไขว้หลัง เส้นเอ็นข้างด้านใน หรือ เส้นเอ็นข้างด้านนอก ฉีกขาด Posterior Cruciate Ligament Injuries Medial or Lateral Collateral Ligament Injuries

โดยส่วนใหญ่มักไม่ต้องผ่าตัด ยกเว้นมีกระดูกแตกร่วมด้วย หรือในผู้ที่รักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วมีอาการข้อหลวมหรือปวดเข่า

แต่จะต้อง ทำกายภาพบำบัด และ ใส่อุปกรณ์พยุงเข่า ประมาณ 3 – 4 เดือน


.....................


อ้างอิง

https://knol.google.com/k/justin-d-harris-md/knee-surgery/3moakismmkmno/2#

https://uwmedicine.washington.edu/PatientCare/LOC/RehabilitationMedicine/conditions/KneeLigamentInjuries/index.htm?print=true

https://emedicine.medscape.com/article/89442-overview

https://www.webmd.com/pain-management/knee-pain/knee-ligament-injuries

https://www.sirirajmedj.com/content.php?content_id=2418#




เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ปวดเข่า
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2008&group=5&gblog=13

ส่องกล้องข้อเข่า
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-01-2009&group=5&gblog=42

ข้อเคล็ด
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-05-2008&group=6&gblog=14

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-06-2008&group=6&gblog=16

หมอนรองกระดูกฉีกขาด
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2009&group=6&gblog=30

การรักษาด้วยวิธีใส่เฝือก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-02-2008&group=6&gblog=5

ควรบอกหรือ ถามอะไร แพทย์ก่อนที่จะผ่าตัด ???

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-01-2008&group=4&gblog=7

คำถามที่ควรถามแพทย์ของท่านก่อนที่จะผ่าตัด

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=12-01-2008&group=4&gblog=6

ผ่าตัดเสี่ยงหรือเปล่าครับหมอ ???.... " หมอรับรองหรือเปล่าว่าจะหาย ???" ....

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-09-2009&group=7&gblog=35

วิธีบริหาร เข่า    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=5





 

Create Date : 24 กรกฎาคม 2552   
Last Update : 1 สิงหาคม 2561 12:57:59 น.   
Counter : 68869 Pageviews.  

หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด [ meniscus , เมนิคัส ]



หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด [ meniscus , เมนิคัส ]




หมอนรองกระดูกเข่า จะมี ๒ ชิ้น (ด้านใน กับ ด้านนอก ) มีส่วนประกอบเป็นกระดูกอ่อน

มีหน้าที่รับน้ำหนัก แรงกดที่ผ่านข้อเข่า ลดแรงกระแทกต่อกระดูกอ่อนข้อเข่า ทำให้เข่ามั่นคง เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น



มีเส้นเลือดเข้าไปเลี้ยงประมาณ 25 % ของหมอนรองกระดูกเท่านั้น เมื่อเกิดฉีกขาดทำให้หายยาก



อาการและอาการแสดง

มักเกิดในขณะที่เข่าบิดหมุน มีการลงน้ำหนักในขณะที่เข่างอ หรือถูกกระแทกด้านข้างขณะที่เข่างอ

มีอาการปวดเป็น ๆ หายๆ หรือ รู้สึกว่ามีข้อติด (เข่าล๊อก) เข่าเคลื่อนไหวไม่เต็มที่ ข้อลั่น อาจมีข้อเข่าบวมเล็กน้อย มีจุดกดเจ็บตามแนวข้อ

การวินิจฉัย ส่วนใหญ่สามารถวินิจฉัยได้จาก ประวัติและการตรวจร่างกาย

เอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) สามารถพบความผิดปกติได้ 80 – 95 %

การส่องกล้องข้อเข่า เป็นวิธีที่ช่วยวินิจฉัยโรคได้แม่นยำที่สุด





แนวทางรักษา

พิจารณาจากปัจจัย เช่น ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ตำแหน่งและลักษณะของหมอนรองกระดูกที่ฉีกขาด อายุ กิจกรรมในการดำเนินชีวิต นักกีฬา เป็นต้น


รักษาแบบ ไม่ผ่าตัด
เช่น ประคบเย็น รับประทานยาต้านการอักเสบ กายภาพบำบัด

ใช้ในผู้ที่มีอาการไม่มาก รอยฉีกขาดน้อยกว่า 1 ซม. เป็นแนวยาว อยู่บริเวณขอบ


ผ่าตัด (ส่องกล้อง หรือ แบบเปิด)

เช่น เย็บซ่อม ตัดออกบางส่วน หรือ หมอนรองกระดูกเทียม [ Human allograft meniscal transplantation ] ถ้ามีเส้นเอ็นเข่าขาด โดยเฉพาะ เส้นเอ็นไขว้หน้าขาดก็จะต้องเย็บซ่อมด้วย

โดยส่วนใหญ่มักจะต้องผ่าตัด โดยเฉพาะในผู้ที่รักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ได้ผล มีอาการมาก มีเข่าล๊อก นักกีฬา ถ้าไม่ผ่าตัด อาจทำให้รอยฉีกขาดมากขึ้น กระดูกอ่อนอักเสบ ข้อเสื่อมเร็วขึ้น

การดูแลหลังผ่าตัด และ ผลการรักษา ขึ้นอยู่กับ ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ตำแหน่งและลักษณะของหมอนรองกระดูกที่ฉีกขาด วิธีการรักษา วิธีผ่าตัด ซึ่งในผู้ป่วยแต่ละคน ก็จะแตกต่างกันไป ต้องสอบถามแพทย์ที่ผ่าตัดอีกครั้ง..


ภาวะแทรกซ้อน จากการส่องกล้องข้อเข่า เช่น การให้ยาระงับความรู้สึก เส้นเลือดเส้นประสาทบาดเจ็บ การติดเชื้อ ข้อเข่าติด ปวดเข่าเรื้อรัง ข้อเข่าบวมเรื้อรัง

ตัดหมอนรองกระดูกออก โอกาสเกิด 0.5 – 1 %

เย็บซ่อมหมอนรองกระดูก โอกาสเกิด 1 – 30 % มีโอกาสที่เย็บแล้วไม่ติด 5 – 10 %


แหล่งอ้างอิงข้อมูล

https://emedicine.medscape.com/article/308054-overview
https://emedicine.medscape.com/article/90661-overview
https://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00358
https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001071.htm
https://www.patient.co.uk/showdoc/27000672/
https://www.healthsystem.virginia.edu/uvahealth/adult_orthopaedics/torn.cfm
https://www.sportsinjuryclinic.net/cybertherapist/front/knee/medialmeniscus.htm
https://www.bosta.ac.uk/article.asp?article=44
https://www.meniscalstudygroup.com



เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ปวดเข่า
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-05-2008&group=5&gblog=13

ส่องกล้องข้อเข่า
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-01-2009&group=5&gblog=42

ข้อเคล็ด
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-05-2008&group=6&gblog=14

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-06-2008&group=6&gblog=16

หมอนรองกระดูกฉีกขาด
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=04-07-2009&group=6&gblog=30

การรักษาด้วยวิธีใส่เฝือก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-02-2008&group=6&gblog=5

ควรบอกหรือ ถามอะไร แพทย์ก่อนที่จะผ่าตัด ???

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-01-2008&group=4&gblog=7

คำถามที่ควรถามแพทย์ของท่านก่อนที่จะผ่าตัด

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=12-01-2008&group=4&gblog=6

ผ่าตัดเสี่ยงหรือเปล่าครับหมอ ???.... " หมอรับรองหรือเปล่าว่าจะหาย ???" ....

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-09-2009&group=7&gblog=35

วิธีบริหาร เข่า    
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=5




 

Create Date : 04 กรกฎาคม 2552   
Last Update : 1 สิงหาคม 2561 12:58:56 น.   
Counter : 42396 Pageviews.  

เส้นเอ็นร้อยหวาย...ขาด [ Achilles tendon ruptures ]







เส้นเอ็นร้อยหวายขาด Achilles tendon ruptures

พบบ่อยในผู้ชาย อายุ 30 – 50 ปี โดยที่ไม่เคยมีปัญหาของเอ็นร้อยหวายมาก่อน

อาจพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะ ยาสเตอรอยด์ ฉีดยาสเตอรอยด์ที่เอ็นร้อยหวาย ผู้ที่ออกกำลังกายมากเกินไปทันทีทันใด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน รูมาทอยด์ เกาต์ หรือ เกิดอุบัติเหตุ

ตำแหน่งที่ขาด จะอยู่สูงกว่า กระดูกส้นเท้า 2 – 6 ซม. เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มีเลือดมาเลี้ยงน้อยที่สุด



อาการและอาการแสดง

รู้สึกลั่น และ ปวดมากทันทีทันใด (คล้ายถูกเตะ หรือ ถูกยิง) ที่เอ็นร้อยหวาย ด้านหลังข้อเท้า

ยืนเขย่งปลายเท้า (ยกส้นเท้าขึ้น) ไม่ได้ ขึ้นบันไดลำบาก เดินกะเผลก

ปวดบวมที่เอ็นร้อยหวาย และน่อง อาจคลำได้ รอยบุ๋ม (ช่องว่าง)ที่เส้นเอ็น

ส่วนใหญ่ แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ โดยไม่ต้องเอกซเรย์ มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่ อาจต้องตรวจ อัลตร้าซาวน์เส้นเอ็น หรือ เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI )



แนวทางรักษา

ไม่ผ่าตัด เช่น ยาบรรเทาอาการ ใส่เฝือก ( 6 - 8 อาทิตย์) จะต้องเปลี่ยนเฝือกให้ปลายเท้ากระดกขึ้น เป็นระยะ(ทุก 2 อาทิตย์) เมื่อถอดเฝือกแล้วต้องทำกายภาพบำบัดต่ออีก 4-6 เดือน

โดยทั่วไป จะใช้ในผู้สูงอายุ ที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมนอกบ้าน อยู่กับบ้าน ทำงานบ้าน หรือในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการผ่าตัด เช่น เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น


ข้อดี ไม่ต้องเสี่ยงกับการผ่าตัด การให้ยาดมยาสลบหรือบล็อกหลัง ประหยัดค่าใช้จ่าย

ข้อเสีย เส้นเอ็นแข็งแรงน้อยลง มีโอกาสเกิดเส้นเอ็นขาดซ้ำสูง ( 40 %)


ผ่าตัด

โดยทั่วไป จะแนะนำให้ผ่าตัดในคนหนุ่มสาว กลุ่มนักกีฬา มีช่องว่างระหว่างเส้นเอ็นที่ขาดมากกว่า 5 ซม.

หลังผ่าตัด ก็จะต้องใส่เฝือก ( 6 - 8 อาทิตย์) เปลี่ยนเฝือกให้ปลายเท้ากระดกขึ้น เป็นระยะ(ทุก 2 อาทิตย์) เมื่อถอดเฝือกแล้วต้องทำกายภาพบำบัดต่ออีก 4-6 เดือน

ข้อดี ความแข็งแรงของเส้นเอ็นใกล้เคียงปกติ โอกาสเกิดเส้นเอ็นขาดซ้ำต่ำ (5 %)

ข้อเสีย แผลติดเชื้อ (1-2 %) เส้นประสาทบาดเจ็บ (1-2 %)



อ้างอิง ...

//www.emedicinehealth.com/achilles_tendon_rupture/article_em.htm

//emedicine.medscape.com/article/85024-overview

//www.mayoclinic.com/health/achilles-tendon-rupture/DS00160

//www.bosta.ac.uk/article.asp?article=21




บทความเรื่อง " กลุ่มอาการปวดส้นเท้า .... เอ็นร้อยหวาย อักเสบ "

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=24-07-2008&group=5&gblog=34




 

Create Date : 21 มิถุนายน 2552   
Last Update : 22 มิถุนายน 2552 15:00:46 น.   
Counter : 29036 Pageviews.  

ต้องผ่าเอาเหล็กออกหรือไม่ ???




ต้องผ่าเอาเหล็กออกหรือไม่ ?

เป็นคำถามสั้น ๆ ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีกระดูกหักแล้วต้องผ่าตัดใส่เหล็กเอาไว้ ...

แต่คำตอบ อาจยืดยาวและยุ่งยาก กว่าที่คิด


ก่อนอื่น ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า กระดูกที่เราเห็นว่า แข็งแรง จริงๆ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการสร้างกระดูกขึ้นใหม่ และ ทำลายกระดูกบางส่วน เพื่อปรับรูปร่างให้เหมาะสมกับการทำงาน (รับน้ำหนักตัว หรือ รับแรงของกล้ามเนื้อ)

กระดูกส่วนที่ต้องรับแรง รับน้ำหนักมาก ก็จะมีการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น ทำให้แข็งแรงมากขึ้น

กระดูกส่วนที่ไม่ต้องรับแรง ก็จะค่อยๆ บางลงไปเรื่อย ๆ หรือ อาจเปลี่ยนแปลงเลือนหายไปในที่สุด




เมื่อเกิดกระดูกหัก ในบางครั้งจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูก ซึ่งเหล็กที่ใช้ จะเป็นเหล็กผสม หรือ ไททาเนียม ที่มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กทั่วไป แต่มีปฏิกิริยากับร่างกายน้อยมาก ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้

เหล็กดามกระดูก จะมีหลายรูปแบบ เช่น แผ่นเหล็ก แท่งเหล็ก เส้นลวด แท่งเหล็กดามกระดูกด้านนอก เป็นต้น


ความแตกต่าง ระหว่าง แท่งเหล็กดามกระดูก กับ แผ่นเหล็กดามกระดูก



แผ่นเหล็ก ดามกระดูก ... แผ่นเหล็กจะอยู่ขอบกระดูก ... แรงที่เกิดขึ้น จากน้ำหนักตัว หรือ การหดตัวของกล้ามเนื้อ เมื่อมาถึงตรงตำแหน่งแผ่นเหล็ก แรงเกือบทั้งหมดจะเปลี่ยนแนว มาผ่านที่แผ่นเหล็ก กระดูกที่อยู่ไต้แผ่นเหล็กจะรับแรงน้อยลง ( load bearing )

แท่งเหล็ก ดามกระดูก ... แท่งเหล็กจะอยู่ในแกนกลางกระดูก ... แรงบางส่วนจะผ่านที่แท่งเหล็ก บางส่วนก็จะผ่านที่กระดูก ทำให้กระดูกยังต้องรับแรงอยู่ ( load sharing )





จะเห็นได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไป ความแข็งแรงของ " กระดูก " ที่อยู่ไต้ "แผ่นเหล็ก" จะลดลง ทำให้ บริเวณรอยต่อของกระดูกที่แข็งแรงปกติ (นอกแผ่นเหล็ก) กับ กระดูกที่ไม่แข็งแรง (ไต้แผ่นเหล็ก) เมื่อมีแรงบิดหรือกระแทก ก็จะทำให้เกิดกระดูกหักในบริเวณรอยต่อนี้ได้ (กระดูกจะหักบริเวณปลายแผ่นเหล็ก)


เมื่อไหร่ที่ต้องเอาเหล็กออก

• เหล็กที่มีบางส่วน โผล่ออกมานอกผิวหนัง เช่น ลวดดามกระดูก เหล็กดามกระดูกด้านนอก

• อยู่ในข้อ หรือ ขัดขวางการเคลื่อนไหวของข้อ กล้ามเนื้อเส้นเอ็น

• เกิดการติดเชื้อ แผลบวมแดง เป็นหนอง

• เกิดอาการผิดปกติ เช่น ปวดบริเวณเหล็กเวลาอากาศเย็น ผิวหนังมีผื่นแดง เป็นต้น

ถ้าไม่มีปัญหา แนะนำให้รอจะกระทั่งกระดูกติดสนิทและกระดูกกล้ามเนื้อแข็งแรงดีแล้ว โดยทั่วไป ประมาณ ๑ - ๒ ปี หลังผ่าตัด


สรุปเบื้องต้น

• ถ้าเป็น แผ่นเหล็กดามกระดูกในบางตำแหน่ง เช่น กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง เป็นต้น
ถึงแม้ " ไม่มีอาการผิดปกติ " ก็ควรผ่าตัดเอาแผ่นเหล็กออก เนื่องจาก ถ้าใส่แผ่นเหล็กไว้นานเกิน จะทำให้กระดูกที่อยู่ไต้แผ่นเหล็ก ไม่แข็งแรง จนเกิดกระดูกหักบริเวณรอยต่อของกระดูกปกติกับกระดูกไต้แผ่นเหล็ก ตำแหน่งที่กระดูกหักจึงจะอยู่ที่บริเวณปลายของแผ่นเหล็ก

• แต่ถ้าเป้น แท่งเหล็กดามกระดูก ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาแผ่นเหล็กออก

ถ้าไม่แน่ใจ สงสัย ก็อย่าลืมสอบถามแพทย์ที่ผ่าตัดใส่เหล็กว่า จำเป็นต้องผ่าเอาเหล็กออกหรือไม่ เมื่อไหร่ แพทย์ที่ผ่าตัดให้ จะตอบได้ดีที่สุด




 

Create Date : 08 เมษายน 2552   
Last Update : 29 กรกฎาคม 2561 21:50:54 น.   
Counter : 56669 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]